โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตินโตเรตโต

ดัชนี ตินโตเรตโต

“ทินโทเร็ตโต” (ค.ศ. 1588) โดย ทินโทเร็ตโต ทินโทเรตโต หรือ จาโคโป ทินโทเรตโต (Tintoretto หรือ Jacopo Comin หรือ Jacopo Tintoretto; 29 กันยายน ค.ศ. 1518 — 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1594) เป็นจิตรกรสมัยเรอเนสซองซ์แบบเวนิสคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน และอาจจะถือว่าเป็นจิตรกรคนสุดท้ายของเรอเนสซองซ์อิตาลี ทินโทเรตโตเติบโตในเวนิส ภาพวาดมากมายของเขาถูกแสดงลักษณะอย่างหนักแน่นโดยชีวิตและประเพณีต่างๆ ของราชินีแห่งทะเลอาเดรียติก จิตรกรได้ชื่อเล่นของเขาจากความสูงน้อยของเขาและจากการค้าของพ่อเขา เขาเป็นบุตรชายของคนย้อมผ้า และชื่อของเขาหมายถึง “คนย้อมผ้าน้อย” แต่ชื่อเล่นถ่อมตัวนี้เป็นนามแฝงซึ่งทำให้เขากลายเป็นมีชื่อเสียง เขามีแรงกระตุ้นที่สร้างสรรค์และวาดภาพใหญ่ๆ ทินโทเรตโตเป็นที่รู้จักกันในชื่อจาโคโป โรบัสติ (Jacopo Robusti) เมื่อยังหนุ่ม เพราะพ่อของทินโทเรตโตป้องกันประตูเมืองปาดัวจากทหารหลวงอย่างค่อนข้างจะไม่เหมือนใคร นามสกุลจริงของทินโทเรตโตคือ “Comin” ซึ่งเพิ่งพบโดยมิเกล ฟาโลเมียผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ปราโดที่มาดริดเมื่อเร็วๆ นี้ “Comin” มาจากคำว่า “cumin” ซึ่งเป็นชื่อของเครื่องเทศ ทินโทเรตโตได้ชื่อว่า “Il Furioso” จากความที่วาดภาพอย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยพลัง การใช้ช่องว่างและแสงสีทำให้ถือกันว่าทินโทเรตโตเป็นผู้นำทางศิลปะแบบบาโรก.

11 ความสัมพันธ์: พระคัมภีร์คนยากยกกางเขน (รือเบินส์)รายชื่อจิตรกรวังเชอนงโซอย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์จิตรกรชั้นครูจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีซันซักกาเรีย เวนิสปาโอโล เวโรเนเซ29 กันยายน

พระคัมภีร์คนยาก

หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อาจจะสร้างจากชิ้นส่วนของบานหน้าต่างเดิมสองบาน รายละเอียดจากหน้าต่างสองหน้าต่างจากมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่เป็นเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน แต่ตัวแบบสองตัวในภาพทางด้านซ้ายเป็นตัวเดียวกัน และเสา โต๊ะ เชิงเทียน และหนังสือ ภาพซ้ายสร้างในสมัยกลาง และภาพขวาในสมัยวิกตอเรีย พระคัมภีร์คนยาก (Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ใหม่!!: ตินโตเรตโตและพระคัมภีร์คนยาก · ดูเพิ่มเติม »

ยกกางเขน (รือเบินส์)

"ยกกางเขน" กลางบานพับภาพ ยกกางเขน (Kruisoprichting; The Elevation of the Cross) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เป็นส่วนหนึ่งของบานพับภาพที่เขียนโดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จิตรกรสมัยบาโรกชาวดัตช์ ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในมหาวิหารแอนต์เวิร์ป ในเมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม รือเบินส์เขียนภาพ "ยกกางเขน" ราวระหว่างปี ค.ศ. 1610 ถึงปี ค.ศ. 1611 หลังจากกลับมายังฟลานเดอส์จากอิตาลี เป็นงานที่แสดงอิทธิพลของจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและบาโรกของอิตาลี เช่น การาวัจโจ, ตินโตเรตโต และมีเกลันเจโลอย่างเห็นได้ชัด แผงกลางแสดงแรงดึงระหว่างกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของทุกคนที่พยายามยกกางเขนที่หนักด้วยน้ำหนักของพระเยซูที่ทรงถูกตรึงอยู่บนกางเขน อิทธิพลของลักษณะการเขียนแบบทัศนมิติของมีเกลันเจโลเห็นได้อย่างชัดเจนจากความบิดเบี้ยวของร่างแต่ละร่างที่ต่างก็ใช้ความพยายามอย่างหนักในการยกกางเขนให้ตั้งขึ้น ร่างของพระเยซูแผ่ทแยงอย่างเต็มที่อยู่กลางภาพคล้ายกับการวางภาพ "ชะลอร่างจากกางเขน" โดยการาวัจโจ ที่ทั้งการยกลงและยกขึ้นปรากฏในชั่วขณะเดียวกัน รือเบินส์ใช้สีที่เต็มไปด้วยพลังและค่าต่างแสงอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นลักษณะการเขียนที่ค่อยอ่อนลงต่อมา ในปัจจุบันภาพเขียนนี้ตั้งอยู่ภายในมหาวิหารแอนต์เวิร์ปในเมืองแอนต์เวิร์ปพร้อมกับงานเขียนอื่นของรือเบินส์ ระหว่างการยึดครองของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 พระองค์ก็ทรงนำภาพเขียนภาพนี้และภาพ "ชะลอร่างจากกางเขน" ของรือเบินส์ไปยังปารีส จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1800 ทางมหาวิหารจึงได้ภาพเขียนคืน.

ใหม่!!: ตินโตเรตโตและยกกางเขน (รือเบินส์) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อจิตรกร

รายชื่อจิตรกร.

ใหม่!!: ตินโตเรตโตและรายชื่อจิตรกร · ดูเพิ่มเติม »

วังเชอนงโซ

วังเชอนงโซ (Château de Chenonceau) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเชอนงโซ (Chenonceaux) ในจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส วังเดิมสร้างบนโรงป่นแป้งเก่าบนฝั่งแม่น้ำแชร์ และสร้างมาก่อนหน้าที่จะมีหลักฐานทางเอกสารเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 วังปัจจุบันออกแบบโดยฟีลีแบร์ เดอ ลอร์ม (Philibert De l'Orme) สถาปนิกเรอเนซองซ.

ใหม่!!: ตินโตเรตโตและวังเชอนงโซ · ดูเพิ่มเติม »

อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้

“Noli me Tangere” (อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้)โดยฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก) อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้ หรือเดิมใช้ว่า อย่าแตะต้องเรา (Noli me tangere; Do not cling to meNew Testament, John, Chapter 20, Paragraph 17:"Jesus said to her, Do not cling to me, for I have not yet ascended to the Father; but go to my brothers and say to them, 'I am ascending to my Father and your Father, to my God and your God." หรือ Do not touch me หรือ Touch me not) เป็นถ้อยคำที่พระเยซูกล่าวกับมารีย์ชาวมักดาลา เมื่อทรงพบนางหลังจากที่ทรงฟื้นขึ้นจากความตายตามที่บันทึกใน ประโยคนี้เป็นที่นิยมในเพลงสวดเกรกอเรียน (Gregorian chant) ในยุคกลาง และเป็นหัวข้อที่นิยมกันในงานจิตรกรรมที่เกี่ยวกับการคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection) ประโยคเดิม “Μή μου ἅπτου” ในพระวรสารนักบุญยอห์นซึ่งเป็นภาษากรีกแปลว่า “จะหยุดยั้งเรานั้นหาได้ไม่” หรือ “จงอย่าหยุดยั้งเรา” มากกว่าที่จะแปลว่า “อย่าแตะต้องเรา” (Don't touch me) เช่นที่เคยแปลกันในบางฉบั.

ใหม่!!: ตินโตเรตโตและอย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์

อห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ (ภาษาอังกฤษ: John Singer Sargent) (12 มกราคม ค.ศ. 1856 - 14 เมษายน ค.ศ. 1925) เป็นจิตรกรคนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพภูมิทัศน์, ภาพเหมือน และ การใช้สีน้ำ ซาร์เจนท์เกิดที่ฟลอเรนซ์ ที่ประเทศอิตาลี บิดามารดาเป็นชาวอเมริกัน ซาร์เจนท์ศึกษาที่อิตาลีและเยอรมนี ต่อมาที่ปารีสกับอีมิล โอกุสต์ คาโรลุส-ดูแรง (Emile Auguste Carolus-Duran) ในชีวิตซาร์เจนท์เขียนจิตรกรรมสีน้ำมันด้วยกันทั้งสิ้นราว 900 ภาพ และอีก 2,000 ภาพเขียนด้วยสีน้ำ นอกจากนั้นก็ยังมีงานเขียนภาพร่าง และภาพวาดลายเส้นด้วยถ่านอีกด้ว.

ใหม่!!: ตินโตเรตโตและจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรชั้นครู

วีนัสหลับ” (ราว ค.ศ. 1510) โดย จอร์โจเนที่หอจิตรกรชั้นครูแห่งเดรสเดน จิตรกรรมที่เขียน ราว ค.ศ. 1440 ที่ไม่ทราบนามจิตรกรที่ได้รับการระบุว่าเป็นงาน “ไม่ทราบนามครูบา” จิตรกรชั้นครู (Old Master) เป็นคำที่ใช้เรียกภาพเขียนที่เป็นงานเขียนของจิตรกรที่ถือกันว่าเป็นจิตรกรชั้นครู ผู้มีงานเขียนก่อราวปี..

ใหม่!!: ตินโตเรตโตและจิตรกรชั้นครู · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: ตินโตเรตโตและจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ซันซักกาเรีย เวนิส

ซันซักกาเรีย เวนิส (San Zaccaria) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองเวนิสในประเทศอิตาลี เป็นโบสถ์ที่อุทิศแก่นักบุญเศคาริยาห์ผู้เป็นบิดาของนักบุญยอห์นผู้ให้รับบัพติสมาและเชื่อกันว่าเป็นที่ฝังศพของนักบุญเศคาริยาห์องด้วย สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบผสมระหว่างกอธิค และ ฟื้นฟูศิลปวิทยาที่สร้างระหว่าง ค.ศ. 1444 ถึง ค.ศ. 1515 โดยมีอันโตนิโอ กัมเบลโลเป็นสถาปนิกเอกแต่ด้านหน้าสร้างโดยมอโร โคดุซซิ โบสถ์เดิมสร้างโดยดยุกจุสตินาโน พาร์ติชิอาโนในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โบสถ์ซันซักกาเรียเป็นที่ฝังศพของดยุกแห่งเวนิส 8 องค์ วัดโรมาเนสก์เดิมมาได้รับการสร้างใหม่เมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1170 เมื่อมีการสร้างหอระฆังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน และมาสร้างเป็นแบบกอธิคในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ตัววัดตั้งติดกับอารามของคณะเบเนดิกตินที่ดยุกแห่งเวนิสมาทำพิธีเทศกาลอีสเตอร์ประจำปีทุกปีที่รวมทั้งพิธีการมอบหมวกดยุก (cornu) ด้วย ซึ่งเป็นพิธีที่เริ่มขึ้นหลังจากนักบวชจากโบสถ์มอบที่ดินสำหรับการขยายจตุรัสซันมาร์โกในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ภายในตัวโบสถ์เป็นมุขโค้งด้านสกัดที่ล้อมด้วยจรมุขประดับด้วยหน้าต่างกอธิคสูง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบตอนเหนือของยุโรปโดยทั่วไป ซึ่งกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของโบสถ์นี้ใน เวนิส ผนังทางด้านทางเดินประดับด้วยภาพเขียนโดยทินโทเรตโต อันเจโล เทรวิซานี จุยเซปเป ซาลวิอาติ โจวันนี เบลลินี อันโตนีโอ บาเลสตรา, โจวันนี โดเมนนิโก ตีเอโพโล, พาลมาผู้อาวุโส และ แอนโทนี แวน.

ใหม่!!: ตินโตเรตโตและซันซักกาเรีย เวนิส · ดูเพิ่มเติม »

ปาโอโล เวโรเนเซ

ปาโอโล เวโรเนเซ (Paolo Veronese) หรือ ปาโอโล กาลยารี (Paolo Cagliari; ค.ศ. 1528 - 19 เมษายน ค.ศ. 1588) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีที่ทำงานอยู่ในเวนิสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมสีน้ำมัน งานชิ้นสำคัญของเวโรเนเซก็ได้แก่ "งานแต่งงานที่เคนา" และ "งานเลี้ยงที่บ้านของลีวาย" (The Feast in the House of Levi) เวโรเนเซใช้ชื่อ "ปาโอโล กาลยารี" และมารู้จักกันว่า "ปาโอโล เวโรเนเซ" ตามชื่อเมืองเกิดที่เวโรนาในประเทศอิตาลี เวโรเนเซ, ทิเชียน และตินโตเรตโต เป็นจิตรกรคนสำคัญสามคนของเวนิสในปลายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เวโรเนเซมีชื่อเสียงในการใช้สีและการเขียนตกแต่งแบบลวงตาทั้งในการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมสีน้ำมัน งานเขียนสำคัญของเวโรเนเซเป็นงานเขียนที่เต็มไปด้วยนาฏกรรมและการใช้สีแบบจริตนิยม (mannerist) เต็มไปด้วยฉากสถาปัตยกรรมและขบวนที่หรูหรา งานเขียนชิ้นใหญ่ของงานเลี้ยงฉลองในคัมภีร์ไบเบิลที่เขียนสำหรับหอฉัน (refectory) ของสำนักสงฆ์ในเวนิสและเวโรนาเป็นงานเขียนชิ้นสำคัญที่ควรจะกล่าวถึง.

ใหม่!!: ตินโตเรตโตและปาโอโล เวโรเนเซ · ดูเพิ่มเติม »

29 กันยายน

วันที่ 29 กันยายน เป็นวันที่ 272 ของปี (วันที่ 273 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 93 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตินโตเรตโตและ29 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Jacopo CominJacopo TintorettoTintorettoจาคโคโป ทินโทเรตโตทินโทเรตโตทินโทเร็ตโต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »