เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ตัวแปรกวน

ดัชนี ตัวแปรกวน

แสดงตัวแปรกวนแบบง่าย ๆ คือถ้ารู้ "Z" ก็จะเห็นได้ว่า ''X'' ไม่สัมพันธ์กับ ''Y'' แต่ถ้าไม่เห็น ''Z'' ก็จะปรากฏความสัมพันธ์เทียมระหว่าง ''X'' กับ ''Y'' ซึ่งในกรณีนี้ ''Z'' จะเรียกว่า ปัจจัยกวนหรือตัวแปรกวน ในสถิติศาสตร์ ตัวแปรกวน (confounding variable) ปัจจัยกวน (confounding factor) หรือ ตัวกวน (confounder) เป็นตัวแปรนอก (extraneous variable) ในแบบจำลองทางสถิติที่มีสหสัมพันธ์โดยตรงหรือโดยผกผัน กับทั้งตัวแปรตาม (dependent variable) และตัวแปรอิสระ (independent variable) ความสัมพันธ์ปลอม (spurious relationship) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ที่ประเมินอย่างผิดพลาด เพราะไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยกวน เป็นการประเมินที่ประกอบด้วย omitted-variable bias (ความเอนเอียงโดยละเว้นตัวแปร).

สารบัญ

  1. 11 ความสัมพันธ์: การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา)การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอกการทารุณเด็กทางเพศการควบคุมทางวิทยาศาสตร์รายชื่อความเอนเอียงทางประชานวิตามินบี12อาหารกับโรคมะเร็งผลต่อสุขภาพจากเสียงความสมเหตุสมผลภายในโรคซึมเศร้าCYP2B6

การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา)

การรับมือโดยใช้อารมณ์ (Emotional approach coping) เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่ใช้การประมวลทางอารมณ์ในสมองและการแสดงอารมณ์เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ก่อความเครียด เทียบกับการหลีกเลี่ยงอารมณ์ ที่การมีอารมณ์ถือเป็นเรื่องลบ เป็นปฏิกิริยาที่ไม่ต้องการในสถานการณ์เครียด การรับมือวิธีนี้ใช้การแสดงอารมณ์และการประมวลอารมณ์เพื่อให้รับมือกับสถานการณ์เครียดได้ดีกว่า แนวคิดนี้พัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายความไม่คล้องจองกันในวรรณกรรมทางจิตวิทยาเรื่องความเครียด (stress) และวิธีการรับมือ (coping) คือการรับมือโดยเพ่งอารมณ์ (emotion-focused coping) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีก่อนแล้ว โดยมากสัมพันธ์กับผลที่ถือเป็นการปรับตัวที่ไม่ดี (maladaptive) แต่การประมวลและแสดงอารมณ์กลับมีหลักฐานว่ามีประโยชน.

ดู ตัวแปรกวนและการรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา)

การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก

หลอกที่ใช้ในงานวิจัยและการปฏิบัติจริง การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก (Placebo-controlled studies) หรือ การศึกษาควบคุมด้วยการรักษาหลอก เป็นวิธีการทดสอบการรักษาทางการแพทย์ ที่นอกจากจะมีกลุ่มบุคคลที่ได้รับการรักษาที่เป็นประเด็น ก็ยังมีกลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาหลอก (placebo) ที่ออกแบบไม่ให้มีผลอะไร การรักษาหลอกมักจะใช้ในการทดลองแบบอำพราง ที่คนไข้ไม่รู้ว่าตนกำลังได้รับการรักษาแบบจริงหรือหลอก บ่อยครั้งจะมีกลุ่มอีกลุ่มหนึ่ง (natural history) ที่ไม่ได้รับการรักษาอะไรเลย จุดมุ่งหมายของกลุ่มรักษาหลอกก็เพื่อที่จะแก้ปรากฏการณ์ยาหลอก (placebo effect) ซึ่งหมายถึงผลจากกระบวนการรักษาที่ไม่ได้เกิดจากการรักษาที่เป็นประเด็น เป็นผลที่อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งการรู้ว่ากำลังได้รับการรักษา ความใส่ใจจากแพทย์พยาบาล และความคาดหวังถึงประสิทธิผลการรักษาของผู้ทำงานวิจัย และถ้าไม่มีกลุ่มรักษาหลอกเพื่อใช้เปรียบเทียบ ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่า การรักษามีผลอะไรจริง ๆ หรือไม่ เพราะคนไข้บ่อยครั้งจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาแบบหลอก การรักษาแบบหลอกอาจมีหลายแบบรวมทั้ง ยาที่มีแต่น้ำตาล การผ่าตัดที่ไม่ทำอะไรที่ได้ผลจริง ๆ (เช่น เพียงแต่ผ่า และบางครั้งจับหรือจัดการอวัยวะเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ) หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ (เช่น การใช้เครื่องอัลตราซาวนด์) ที่ไม่ได้เปิดจริง ๆ นอกจากนั้นแล้ว เพราะเหตุที่ร่างกายสามารถดีขึ้นได้โดยธรรมชาติ หรือเพราะผลทางสถิติอื่น ๆ เช่น regression to the mean (คือโรคที่อาการหนักมากมักจะดีขึ้น) คนไข้เป็นจำนวนมากจะดีขึ้นแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษาโดยประการทั้งปวง ดังนั้น คำถามที่เป็นประเด็นเมื่อประเมินการรักษาไม่ใช่ "การรักษาได้ผลหรือไม่" แต่เป็น "การรักษาได้ผลดีกว่าการรักษาหลอก หรือเมื่อไม่ได้การรักษาอะไรเลยหรือไม่" นักวิจัยที่ทำการทดลองทางคลินิกในยุคต้น ๆ คนหนึ่งเขียนไว้ว่า "จุดประสงค์แรกของการทดสอบการรักษาก็คือเพื่อสืบหาว่า คนไข้ที่ได้รับการรักษาที่กำลังสืบสวนหายได้เร็วกว่า ได้สมบูรณ์กว่า ได้บ่อยครั้งกว่า ที่จะเป็นเมื่อไม่ได้" หรือกล่าวโดยกว้าง ๆ ก็คือ จุดมุ่งหมายของการทดลองทางคลินิกก็เพื่อจะกำหนดว่า การรักษาอะไร ทำอย่างไร ต่อคนไข้ประเภทไหน ในสภาวะอะไร ที่ได้ผลดีที่สุด ดังนั้น การใช้การรักษาหลอกเป็นองค์ควบคุมมาตรฐานในการทดลองทางคลินิกโดยมาก ซึ่งพยายามทำการประเมินเชิงปริมาณ (quantitative assessment) ของประสิทธิผลของยาหรือการรักษา การตรวจสอบหรือการทดลองทางคลินิกอย่างที่ว่า เรียกว่า การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก (placebo-controlled study) โดยมีกลุ่มควบคุมเป็นแบบลบ (คือเป็นกลุ่มที่ไม่ควรได้ผล) ส่วนงานศึกษาที่ควบคุมโดยการรักษาที่เคยตรวจสอบมาก่อนแล้ว จะเรียกว่า positive-control study เพราะว่า กลุ่มควบคุมเป็นแบบบวก (คือควรจะได้ผลดังที่เคยพบมาก่อนแล้ว) องค์กรควบคุมของรัฐจะอนุมัติยาก็ต่อเมื่อมีการตรวจสอบที่ไม่ใช่เพียงแค่แสดงว่ามีผลต่อคนไข้ แต่ว่าผลต่างที่ได้มีมากกว่าที่ได้จากการรักษาหลอก (คือมีผลต่อคนไข้จำนวนมากกว่า มีผลต่อคนไข้ในระดับสูงกว่า หรือทั้งสอง).

ดู ตัวแปรกวนและการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก

การทารุณเด็กทางเพศ

การทารุณเด็กทางเพศ (Child sexual abuse ตัวย่อ CSA, child molestation) หรือ การกระทำทารุณต่อเด็กทางเพศ หรือ การทำร้ายเด็กทางเพศ เป็นรูปแบบการกระทำทารุณต่อเด็กที่ผู้ใหญ่, หรือเยาวชนหรือวัยรุ่นที่มีอายุมากกว่าและต่างระดับพัฒนา ใช้เด็กกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ มีรูปแบบตั้งแต่การขอหรือบังคับให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศ (ไม่ว่าจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่), การแสดงสิ่งลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเพศ หัวนมหญิง เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการทางเพศของตน เพื่อขู่ขวัญเด็ก หรือเพื่อปะเหลาะประเล้าประโลมเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรม, การสัมผัสเด็กทางเพศ, หรือการใช้เด็กเพื่อผลิตสื่อลามกอนาจาร ทารุณกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายที่หลายสถาน รวมทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือสำนักงานที่มีเด็กทำงานเป็นปกติ การจับเด็กแต่งงานเป็นรูปแบบการทารุณหลักอย่างหนึ่ง ที่กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้กล่าวไว้ว่า "อาจเป็นรูปแบบการทารุณและฉวยผลประโยชน์จากเด็กหญิงทางเพศที่แพร่หลายที่สุด" ทารุณกรรมต่อเด็กส่งผลทางจิตใจ ให้เกิดความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจแบบซับซ้อน (complex post-traumatic stress disorder) ความโน้มเอียงที่จะตกเป็นเหยื่อทารุณกรรมอีกในวัยผู้ใหญ่ รวมทั้งการบาดเจ็บทางกาย และเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมด ทารุณกรรมโดยสมาชิกครอบครัวซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการร่วมประเวณีกับญาติสนิท จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงยิ่งกว่าต่อเด็ก ส่งผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาว โดยเฉพาะในกรณีที่ทำโดยผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง พ่อบุญธรรม แม่บุญธรรม ความแพร่หลายทั่วโลกของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กประเมินอยู่ที่ 19.7% ในหญิง และ 7.9% ในชาย ผู้กระทำผิดส่วนมากรู้จักเหยื่อ ราว 30% เป็นญาติ บ่อยที่สุดเป็นพี่ชาย พ่อ ลุง หรือลูกพี่ลูกน้อง ราว 60% เป็นคนรู้จักอื่นอย่างเช่น "เพื่อน"ของคนในครอบครัว พี่เลี้ยงเด็ก หรือเพื่อนบ้าน และราว 10% เป็นคนแปลกหน้า ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นชาย จากการศึกษาพบว่า หญิงทำผิดต่อ 14-40% ของเหยื่อเด็กชาย และ 6% ของเหยื่อเด็กหญิง(โดยที่เหลือของเหยื่อทำโดยผู้ทำผิดเพศชาย) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า pedophile (คนใคร่เด็ก) มักจะใช้อย่างไม่เลือกกับทุก ๆ คนที่ทารุณเด็กทางเพศ แต่ผู้ทำผิดต่อเด็กทุกคนไม่ใช่คนใคร่เด็ก ยกเว้นถ้ามีความรู้สึกทางเพศที่รุนแรงกับเด็กที่อยู่ในวัยก่อนหนุ่มสาว และคนใคร่เด็กทุกคนก็ไม่ใช่ผู้ทำผิดต่อเด็ก ในกฎหมายบางประเทศ คำว่า child sexual abuse (การทารุณเด็กทางเพศ) ใช้เป็นคำคลุมทั้งการละเมิดกฎหมายอาญาและแพ่ง ที่ผู้ใหญ่ทำกิจทางเพศร่วมกับผู้เยาว์ หรือฉวยประโยชน์จากผู้เยาว์เพื่อสนองความรู้สึกทางเพศ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ยืนยันว่า "เด็กไม่สามารถยินยอมมีกิจกรรมทางเพศร่วมกับผู้ใหญ่" และประณามการทำเช่นนั้นของผู้ใหญ่ คือ "ผู้ใหญ่ที่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกับเด็ก กำลังละเมิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม ที่ไม่มีทางพิจารณาได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ปกติหรือที่ยอมรับได้ในสังคม".

ดู ตัวแปรกวนและการทารุณเด็กทางเพศ

การควบคุมทางวิทยาศาสตร์

แบ่งพืชเหมือนกันเป็นสองกลุ่มแล้วให้ปุ๋ยกับกลุ่มเดียว ถ้าเกิดความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้ปุ๋ย และ "กลุ่มควบคุม" ที่ไม่ได้ ความแตกต่างอาจจะเกิดจากปุ๋ย การควบคุมทางวิทยาศาสตร์ (scientific control) หรือ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์ เป็นการทดลอง หรือการสังเกตการณ์อันหนึ่ง ที่ทำเพื่อใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองว่า การกระทำหรือความต่างอย่างอื่นที่มีในกลุ่มทดลองแต่ไม่มีในกลุ่มควบคุม มีผลต่างต่อกลุ่มทดลองอย่างไร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นกลุ่มที่ทำเพื่อลดผลต่างของตัวแปรอื่น ๆ ยกเว้นตัวแปรอิสระเดียวที่เป็นประเด็นการศึกษา เป็นวิธีการที่เพิ่มความน่าเชื่อถือของผลต่างที่พบ (ที่ควรจะเกิดจากความต่างของตัวแปรอิสระอย่างเดียว) บ่อยครั้งโดยเปรียบเทียบค่าวัดจากกลุ่มควบคุมและค่าวัดในกลุ่มอื่น ๆ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างกลุ่มควบคุม (บางครั้งเรียกว่า กลุ่มควบคุมของการทดลอง) ที่ใช้ตรวจสอบผลของปุ๋ย โดยให้ปุ๋ยกับพืชเพียงครึ่งเดียวในแปลง พืชที่ไม่ได้รับปุ๋ยก็คือกลุ่มควบคุม เพราะว่าเป็นกลุ่มแสดงระดับการเติบโตพื้นฐาน ที่จะใช้เปรียบเทียบกับพืชที่ใส่ปุ๋ย ถ้าไม่มีกลุ่มควบคุม การทดลองจะไม่สามารถกำหนดได้ว่า พืชที่ใส่ปุ๋ย โตได้ "ดีกว่า" พืชที่ไม่ใส่หรือไม่ ในการทดลองสมบูรณ์แบบ ตัวแปรทั้งหมดจะมีการควบคุม (คือโดยเปรียบเทียบค่าวัดต่าง ๆ กับกลุ่มควบคุม) และดังนั้น ถ้าตัวแปรอื่น ๆ ควบคุมได้อย่างที่คาดหวัง ก็จะสามารถสรุปได้ว่า การทดลองนั้นดำเนินไปอย่างที่ตั้งใจ และผลที่พบในการทดลอง มาจากความต่างของตัวแปรอิสระที่เป็นประเด็นศึกษา ซึ่งก็คือ เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ทำงานอ้างได้ว่า "สถานการณ์ 2 อย่างเหมือนกันทุกอย่าง จนกระทั่งปัจจัย ก เกิดขึ้น และเนื่องจากปัจจัย ก เป็นความแตกต่างอย่างเดียวที่มีในสองสถานการณ์ ผลที่พบจึงเกิดจากปัจจัย ก".

ดู ตัวแปรกวนและการควบคุมทางวิทยาศาสตร์

รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive biase) เป็นความโน้มเอียงที่จะคิดในรูปแบบที่มีผลเป็นความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ จากความมีเหตุผลโดยทั่วไป หรือจากการประเมินการตัดสินใจที่ดี บ่อยครั้งเป็นประเด็นการศึกษาในสาขาจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม แม้ว่าความเอนเอียงเหล่านี้จะมีอยู่จริง ๆ โดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำได้ แต่ก็มักจะมีข้อโต้เถียงว่า ควรจะจัดประเภทหรืออธิบายความเอนเอียงเหล่านี้ได้อย่างไร ความเอนเอียงบางอย่างเป็นกฎการประมวลข้อมูล หรือเป็นทางลัดการประมวลผลที่เรียกว่า ฮิวริสติก ที่สมองใช้เพื่อการประเมินและการตัดสินใจ ปรากฏการณ์เหล่านี้เรียกว่า ความเอนเอียงทางประชาน ความเอนเอียงในการประเมินหรือการตัดสินใจ อาจจะเกิดจากแรงจูงใจ เช่นเมื่อความเชื่อเกิดบิดเบือนเพราะเหตุแห่งการคิดตามความปรารถนา (wishful thinking) ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะอธิบายได้โดยหลักทางประชาน (cognitive หรือที่เรียกว่า cold) หรือโดยหลักทางแรงจูงใจ (motivational หรือเรียกว่า hot) แต่เหตุทั้งสองสามารถเกิดร่วมกัน ยังมีข้อถกเถียงกันอีกด้วยว่า ความเอนเอียงเหล่านี้จัดเป็นความไม่สมเหตุผลโดยส่วนเดียว หรือว่า จริง ๆ มีผลเป็นทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ เรามักจะถามคำถามที่ชี้คำตอบที่ต้องการ ที่ดูเหมือนจะเอนเอียงไปเพื่อยืนยันสันนิษฐานของเราเกี่ยวกับบุคคลนั้น ๆ แต่ว่า ปรากฏการณ์ที่บางครั้งเรียกว่า ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) เช่นนี้ สามารถมองได้ว่าเป็นทักษะทางสังคมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ งานวิจัยในเรื่องความเอนเอียงเหล่านี้ มักจะทำในมนุษย์ แต่ผลที่พบในมนุษย์ บางครั้งก็พบในสัตว์อื่นเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น hyperbolic discounting (การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราให้ค่าของที่ได้ในปัจจุบันสูงกว่าที่จะได้ในอนาคต ก็พบด้วยในหนู นกพิราบ และลิง.

ดู ตัวแปรกวนและรายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

วิตามินบี12

วงแหวง corrin ที่เป็นโครงสร้างประกอบของวิตามิน methylcobalamin (ดังที่แสดง) เป็นรูปแบบของวิตามินบี12 อย่างหนึ่ง แต่ก็ยังคล้ายกับรูปแบบอื่น ๆ ของวิตามิน ปรากฏเป็นผลึกสีแดงซึ่งละลายน้ำเป็นสีแดงเข้ม วิตามินบี12 (12, cobalamin) เป็นวิตามินละลายน้ำได้ที่เป็นกุญแจสำคัญในการทำงานเป็นปกติของสมองกับระบบประสาท และการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี 8 อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมนุษย์ โดยมีผลเฉพาะต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ เมแทบอลิซึมของกรดไขมันและกรดอะมิโน ไม่มีเห็ดรา พืช หรือสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) ที่สามารถสร้างวิตามินบี12ได้ มีแต่สิ่งมีชีวิตประเภทแบคทีเรียและอาร์เคียที่มีเอนไซม์เพื่อสังเคราะห์มันได้ แหล่งของวิตามินที่ได้พิสูจน์แล้วเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์รวมทั้งเนื้อ ปลา ผลิตภัณฑ์นม และอาหารเสริม แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่มาจากสัตว์บางอย่างอาจเป็นแหล่งธรรมชาติของวิตามินได้ เพราะอยู่ร่วมกับแบคทีเรีย (bacterial symbiosis) วิตามินบี12 เป็นวิตามินที่ใหญ่ที่สุด มีโครงสร้างซับซ้อนที่สุด และสามารถสังเคราะห์โดยหมักแบคทีเรีย (bacterial fermentation-synthesis) แล้วใช้เสริมอาหารและเป็นวิตามินเสริม วิตามินบี12 เป็นกลุ่มสารประกอบที่มีโครงสร้างเคมีเกี่ยวข้องกัน (หรือที่เรียกว่า vitamer) ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพ และมีธาตุโคบอลต์ (Co) ที่ไม่สามัญทางเคมี-ชีวภาพ อยู่ตรงกลางวงแหวนเชิงระนาบแบบ tetra-pyrrole ที่เรียกว่าวงแหวน corrin (ดูรูป) ซึ่งสามารถผลิตได้โดยแบคทีเรีย hydroxocobalamin แต่ร่างกายสามารถแปรรูปแบบวิตามินไปในแบบต่าง ๆ ได้ วิตามินค้นพบโดยความสัมพันธ์ของมันกับโรคภาวะเลือดจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเอง และมีผลทำลายเซลล์ผนัง (parietal cell) ที่มีหน้าที่หลั่งไกลโคโปรตีน คือ intrinsic factor ในกระเพาะอาหาร เซลล์เหล่านี้ยังมีหน้าที่หลั่งกรดย่อยอาหารในกระเพาะอีกด้วย เพราะว่า intrinsic factor จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินตามปกติ การขาดโปรตีนนี้เพราะโรค จึงทำให้ขาดวิตามินบี12 ยังมีรูปแบบการขาดวิตามินแบบเบากว่าอื่น ๆ ที่ผลติดตามทางชีวเคมีก็ปรากฏชัดแล้ว.

ดู ตัวแปรกวนและวิตามินบี12

อาหารกับโรคมะเร็ง

ษณานี้เสนอว่า อาหารที่ถูกสุขภาพจะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาหารมีผลสำคัญต่อความเสี่ยงโรคมะเร็ง โดยอาหารบางอย่างอาจเพิ่มและบางอย่างอาจลดความเสี่ยง และโดยรวม ๆ แล้ว ปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งอาหาร การไม่ออกกำลังกาย และโรคอ้วนอาจจะสัมพันธ์กับความตายจากมะเร็งในอัตราถึง 30-35% แต่ก็มีงานทบทวนวรรณกรรมปี 2554 ที่เสนอว่า พลังงานจากอาหารที่บริโภคมีอิทธิพลต่ออุบัติการณ์ของมะเร็ง และอาจมีผลต่อการเติบโตของมะเร็งด้วย ไม่ใช่อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ แม้ว่าจะมีคำแนะนำมากมายหลายอย่างเกี่ยวกับอาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง แต่มีน้อยอย่างที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดี แต่ทั้งโรคอ้วนและการดื่มเหล้า มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นเหตุของมะเร็ง ดังนั้น รายงานปี 2557 ขององค์การอนามัยโลก จึงแนะนำให้ลดการบริโภคเครื่องดื่มหวาน ๆ เพื่อแก้ปัญหาโรคอ้วน แม้ว่าอาหารที่มีผักผลไม้น้อยและมีเนื้อแดงมากอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจน และอาจมีผลน้อยต่อบุคคลที่ทานอาหารสมบูรณ์และมีน้ำหนักที่เหมาะสม แต่ก็มีอาหารบางประเภทโดยเฉพาะ ที่สัมพันธ์กับมะเร็งบางอย่าง คือ มีงานศึกษาที่สัมพันธ์การบริโภคเนื้อแดง หรือเนื้อที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตเพื่อเพิ่มรสชาติหรือเพื่อให้เก็บได้นาน (processed meat) กับการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งตับอ่อน ซึ่งอธิบายเป็นบางส่วนได้ว่าเป็นเพราะมีสารก่อมะเร็งที่เกิดขึ้นเพราะผ่านความร้อนสูง และเพราะมีอะฟลาทอกซินที่เป็นสารปนเปื้อนสามัญและทำให้เกิดมะเร็งตับ ส่วนการดื่มกาแฟสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับที่ต่ำกว่า การเคี้ยวหมากก่อให้เกิดมะเร็งปาก และการบริโภคอาหารที่ต่าง ๆ กันอาจอธิบายอุบัติการณ์ของมะเร็งที่ต่าง ๆ กันในประเทศต่าง ๆ ได้โดยบางส่วน ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นเรื่องสามัญกว่าในประเทศญี่ปุ่นเพราะทานอาหารที่เค็มกว่า และมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นอย่างสามัญกว่าในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่อพยพย้ายถิ่นฐานมักจะเกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเหมือนกับคนพื้นเมือง บางครั้งแม้ภายในชั่วยุคคนเดียว ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างอาหารกับมะเร็ง คำแนะนำทางอาหารเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปกติจะรวมการรักษาน้ำหนักตัว การรับประทานพืชผักผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ขัดสี และปลา เป็นหลัก และการลดการบริโภคเนื้อแดง ไขมันสัตว์ และน้ำตาล.

ดู ตัวแปรกวนและอาหารกับโรคมะเร็ง

ผลต่อสุขภาพจากเสียง

การจราจรเป็นแหล่งมลภาวะทางเสียงหลักในเมือง ผลต่อสุขภาพจากเสียง (Noise health effects) เป็นผลต่าง ๆ จากการได้รับเสียงดังจากที่ทำงานหรือที่อื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้การได้ยินพิการ เกิดความดันสูง โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ความรำคาญ และปัญหาในการนอน นอกจากนั้น ปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน และความพิการของทารกแรกเกิด อาจมีเหตุจากเสียงดัง แม้ว่า หูตึงเหตุสูงอายุ (presbycusis) ก็อาจเกิดตามธรรมชาติได้เหมือนกัน แต่ว่าในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ ปัญหาสะสมจากเสียงก็พอสร้างความเสียหายต่อประชากรเป็นจำนวนมากภายในชั่วชีวิตแล้ว การได้รับเสียงดังยังก่ออาการเสียงในหู (tinnitus) ความดันสูง การตีบของหลอดเลือด (vasoconstriction) และปัญหาทางหัวใจหลอดเลือดอื่น ๆ นอกจากผลเหล่านี้ เสียงดังยังสามารถทำให้เครียด เพิ่มอัตราอุบัติเหตุในที่ทำงาน และก่อความก้าวร้าวและพฤติกรรมต้านสังคมอื่น ๆ แหล่งเสียงที่สำคัญที่สุดคือจากรถยนต์กับเครื่องบิน การฟังเสียงดนตรีดัง ๆ บ่อย ๆ และเสียงจากอุตสาหกรรม ในประเทศนอร์เวย์ เสียงจราจรพบว่า เป็นเหตุต่อความรำคาญเสียงถึง 88% ที่รายงาน เสียงอาจจะมีผลให้เกิดโรคจิตอีกด้วย เช่น เสียงประทัดอาจทำทั้งสัตว์เลี้ยงสัตว์ป่า หรือบุคคลที่ได้รับความบอบช้ำทางจิตใจให้แตกตื่น (คนที่บอบช้ำทางจิตใจรวมทั้งคนที่ผ่านสงครามมา) แต่เพียงแค่กลุ่มคนเสียงดังก็อาจจะก่อการร้องทุกข์หรือปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ แล้ว แม้ทารกก็ตื่นเสียงได้ง่ายอีกด้วย ค่าเสียหายทางสังคมเนื่องจากเสียงจราจรในประเทศยุโรป 22 ประเทศอาจมีค่าถึง 4 หมื่นล้านยูโรต่อปีโดยปี 2550 (ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท) โดยรถโดยสารและรถบรรทุกเป็นเหตุหลักของปัญหา เสียงจราจรอย่างเดียวทำให้สุขภาพของคนเกือบ 1/3 ในเขตยุโรปเสียหาย โดยประชากรยุโรป 1 ใน 5 จะได้รับเสียงตอนกลางคืนเป็นปกติในระดับที่อาจทำให้สุขภาพเสียหายอย่างสำคัญ เสียงยังเป็นอัตรายต่อระบบนิเวศทั้งทางบกและทางน้ำอีกด้ว.

ดู ตัวแปรกวนและผลต่อสุขภาพจากเสียง

ความสมเหตุสมผลภายใน

ในงานศึกษาวิทยาศาสตร์ ความสมเหตุสมผลภายใน (Internal validity) เป็นคุณลักษณะที่สะท้อนถึงขอบเขตหรือระดับ ที่ข้อสรุปในงานศึกษาหนึ่ง มีความสมเหตุสมผล (validity) ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของงานศึกษาที่จะลดความคลาดเคลื่อนเป็นระบบ (systematic error) หรือความเอนเอียงหรืออคติ (bias).

ดู ตัวแปรกวนและความสมเหตุสมผลภายใน

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ดู ตัวแปรกวนและโรคซึมเศร้า

CYP2B6

ซโทโครม P450 2B6 (Cytochrome P450 2B6; ชื่อย่อ: CYP2B6) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีน CYP3A5 ในมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP2B6 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บนแขนด้านยาวของโครโมโซมคู่ที่ 19 โลคัส 19q13.2 โดย CYP2B6 จะทำงานร่วมกับ CYP2A6 ในการเมแทบอไลซ์นิโคติน รวมไปถึงยาหรือสารเคมีอื่นๆ CYP2B6 มีอยู่ด้วยกันหลายไอโซฟอร์ม แต่ก็ยังไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าไอโซฟอร์มเหล่านั้นถูกสร้างมาจากยีน CYP2B6 หรือยีนเทียมของ CYP2B6 โดยทั้ง CYP2B6 และยีนเทียมของมันมีตำแหน่งอยู่ระหว่างกลางของยีนเทียม CYP2A ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีนขนาดใหญ่ของ cytochrome P450 บนโครโมโซม 9q ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์สกุลย่อย CYP2A, CYP2B และ CYP2F.

ดู ตัวแปรกวนและCYP2B6

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ConfounderConfoundingConfounding factorConfounding variableการกวนตัวสับสนตัวแปรสับสน