โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตะโขงอินเดีย

ดัชนี ตะโขงอินเดีย

ตะโขงอินเดีย หรือ กาเรียล (Gharial, Indian gavial, Gavial; ฮินดี: घऱियाल; มราฐี: सुसर Susar) เป็นสมาชิกเพียงไม่กี่ชนิดที่เหลืออยู่ของวงศ์ตะโขง (Gavialidae) ซึ่งเป็นกลุ่มของจระเข้ที่มีปากแหลมเรียวยาว ตะโขงอินเดียได้รับการจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามอยู่ในขั้นวิกฤตโดย IUCNChoudhury, B.C., Singh, L.A.K., Rao, R.J., Basu, D., Sharma, R.K., Hussain, S.A., Andrews, H.V., Whitaker, N., Whitaker, R., Lenin, J., Maskey, T., Cadi, A., Rashid, S.M.A., Choudhury, A.A., Dahal, B., Win Ko Ko, U., Thorbjarnarson, J & Ross, J.P. (2007) Gavialis gangeticus. In: IUCN 2010.

4 ความสัมพันธ์: ชนิดใกล้สูญพันธุ์วงศ์ตะโขงอันดับจระเข้ตะโขง

ชนิดใกล้สูญพันธุ์

ันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ คือสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ วลีนี้ถูกใช้เรียกอย่างคลุมเครือถึงสปีชีส์ที่มีคำอธิบายเป็นดังข้างต้น แต่สำหรับนักชีววิทยาอนุรักษ์จะหมายถึงสปีชีส์ที่อยู่ในกลุ่มใกล้การสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นสถานะการอนุรักษ์ที่มีความร้ายแรงเป็นลำดับที่สอง รองจากกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ ปัจจุบันมีสัตว์และพืช 3079 และ 2655 ชนิดตามลำดับที่จัดอยู่ในกลุ่มใกล้สูญพันธุ์ เทียบกับในปี..

ใหม่!!: ตะโขงอินเดียและชนิดใกล้สูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ตะโขง

วงศ์ตะโขง (Gharial, Gavial; วงศ์: Gavialidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodylia) วงศ์หนึ่ง มีลักษณะที่แตกต่างไปจากจระเข้ในวงศ์อื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ มีส่วนปลายของหัวเรียวยาวและยาวมากที่สุดจนเป็นลักษณะเฉพาะ เมื่อหุบปากแล้วจะยังเห็นฟันครึ่งทางของด้านหน้าของขากรรไกรทั้งด้านบนและด้านล่าง กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชิดกับแถวฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยเข้าไปในช่องเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้นหรือมีก็มีขนาดที่เล็กมาก จากปากที่เรียวยาวและแคบทำให้จระเข้ในวงศ์ตะโขงนี้กินได้เฉพาะสัตว์น้ำอย่าง ปลาเท่านั้น แบ่งออกเป็นได้อีก 3 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) ซึ่งเดิมเคยมีจำนวนสมาชิกที่หลากหลายกว่านี้ แต่ในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว จึงเหลือเพียงแค่ 2 ชนิด คือ ตะโขงอินเดีย (Gavialis gangeticus) ซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อย Galavinae พบได้ในเอเชียใต้ และตะโขงมลายู หรือ ตะโขงปลอม (Tomistoma schlegelii) ที่พบได้ในแหลมมลายู ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Tomistominae แต่ในบางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Crocodylidae.

ใหม่!!: ตะโขงอินเดียและวงศ์ตะโขง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับจระเข้

อันดับจระเข้ (Crocodile, Gharial, Alligator, Caiman) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocodilia หรือ Crocodylia ที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จระเข้" โดยอันดับนี้ปรากฏขึ้นมาบนโลกมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียส (84 ล้านปีมาแล้ว) จนถึงปัจจุบัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนังซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้นและแข็งแรงและมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด แต่ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระห่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis เพราะการวิเคราะห์ทางกายภาคจัดว่า Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า (ในบางข้อมูลอาจจะยังจัดให้อยู่ในวงศ์ Crocodylidae) เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย ภาพของสัตว์ในอันดับจระเข้ชนิดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับมนุษย์ (สีแดง & สีส้ม-สูญพันธุ์ไปแล้ว) ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม.

ใหม่!!: ตะโขงอินเดียและอันดับจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

ตะโขง

ตะโขง หรือ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขงมลายู (Malayan gharial, False gharial) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในอันดับจระเข้ อยู่ในวงศ์ตะโขง (Gavialidae) จัดเป็นหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นี้ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน แต่จัดว่าเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Tomistoma อนึ่ง บางข้อมูลได้จัดให้ตะโขงอยู่ในวงศ์จระเข้ (Crocodylidae).

ใหม่!!: ตะโขงอินเดียและตะโขง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GavialisGavialis gangeticusIndian GharialIndian gavial

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »