โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตราสารอนุพันธ์

ดัชนี ตราสารอนุพันธ์

ตราสารอนุพันธ์ (derivative บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาอนุพันธ์) เป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบมาตรฐาน (futures), สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มาตรฐาน (forward), ตราสารแลกเปลี่ยน (swap), ตราสารสิทธิ (option) เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น โลหะมีค่า สินค้าเกษตร น้ำมัน หรือสินค้าอื่นใดที่มีดัชนีแน่นอนรองรับการออกตราสารอนุพันธ์ได้.

9 ความสัมพันธ์: กฎหมายวาณิชธนกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าอนุพันธ์ (แก้ความกำกวม)คณิตศาสตร์การเงินตราสารสิทธิตราสารทางการเงินDerivative

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

วาณิชธนกิจ

วาณิชธนกิจ (Investment banking) คือ สถาบันทางการเงินซึ่งทำหน้าที่ระดมเงินทุน, ซื้อขายหลักทรัพย์, บริหารการควบรวมและซื้อกิจการ รวมถึงให้คำปรึกษาในธุรกรรมข้างต้นและธุรกรรมทางการเงินประเภทอื่น เช่น การปรับโครงสร้างหนี้, การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ, ทำรายงานวิจัย, ออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เป็นต้น วาณิชธนกิจได้กำไรจากบริษัทและรัฐบาลโดยการหาเงินผ่านการออกและขายหลักทรัพย์ชนิดต่างๆ ในตลาดทุน ซึ่งรวมถึงทั้งหุ้นและพันธบัตร ในขณะที่รวมไปถึงการค้ำประกันพันธบัตร (โดยขายตราสารอนุพันธ์ประกันการผิดนัดชำระ: Credit Default Swap/CDS) และบริการให้คำแนะนำในธุรกรรมการควบรวมและซื้อกิจการ การให้บริการเหล่านี้ในสหรัฐอเมริกา ผู้ให้คำแนะนำจะต้องได้รับใบอนุญาตเป็นบริษัทโบรกเกอร์และดีลเลอร์ และจะต้องปฏิบัติตามสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (United States Securities and Exchange Commission: SEC) วาณิชธนกิจส่วนใหญ่ให้บริการคำแนะนำเชิงกลยุทธ์สำหรับการควบรวม การซื้อขายกิจการ หรือบริการทางการเงินให้แก่ลูกค้า เช่น การซื้อขายตราสารอนุพันธ์, ตราสารรายได้คงที่, เงินตราต่างประเทศ, สินค้าโภคภัณฑ์และหุ้น การซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อแลกกับเงินหรือหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ (เช่น การอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมซื้อขาย) หรือการประชาสัมพันธ์ตราสารหลักทรัพย์ต่างๆ เช่น การค้ำประกันการออกหลักทรัพย์หรือการทำรายงานวิจัย เป็นต้น ถูกเรียกว่าเป็นกิจกรรม ด้านขาย (Sell side) ในขณะที่การบริหารจัดการกองทุนเงินบำเหน็จบำนาญ, กองทุนรวม, เฮดจ์ฟันด์ (Hedge funds) และนักลงทุนทั่วไปที่บริโภคผลิตภัณฑ์และบริการของด้านขาย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงที่สุดจะเรียกว่า ด้านซื้อ (Buy side) บริษัทวาณิชธนกิจที่เป็นผู้รับค้ำประกันการออกหลักทรัพย์รายใหญ่สองรายสุดท้ายของวอลล์สตรีท คือ โกลด์แมน แซคส์และมอร์แกน สแตนลีย์ ทั้งสองบริษัทได้ตัดสินใจปรับเปลี่ยนเป็นสถาบันธนาคารทั่วไปแทนเมื่อวันที่ 22 กันยายน..

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และวาณิชธนกิจ · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures contract บางตำราอาจเรียกว่า ตราสารซื้อขายล่วงหน้า หรือ ตราสารล่วงหน้า) ในทางการเงินหมายถึงสัญญามาตรฐานที่ใช้ในการซื้อหรือขายสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) หรือ ตราสารทางการเงิน (financial instrument) ตามปริมาณมาตรฐานที่ระบุ ในเวลาที่ระบุไว้ในอนาคต และตามราคาตลาดที่ระบุในอนาคต (“ราคาล่วงหน้า”) การซื้อขาย “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ทำกันในตลาดซื้อขายล่วงหน้า (futures exchange) “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” มิใช่ ตราสารโดยตรงเช่นหุ้น พันธบัตร ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือ ใบค้ำประกัน ตามที่ระบุในรัฐบัญญัติหลักทรัพย์มาตรฐาน (Uniform Securities Act) ของสหรัฐอเมริกา แต่ก็เป็นตราสารประเภทหนึ่งของประเภทที่เรียกว่าสัญญาอนุพันธ์ (derivative contract).

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า

ัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า หรือ โกลด์ฟิวเจอร์ส (gold futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ หรือเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ผู้ลงทุนสามารถใช้เก็งกำไรจากการผันผวนของราคาทองคำ ทั้งในภาวะขาขึ้นและภาวะขาลงของราคาทองคำ คุณลักษณะเด่นของตราสารอนุพันธ์ชนิดนี้คือ เป็นตราสารที่สามารถซื้อก่อนขายหรือขายก่อนซื้อก็ได้ และที่สำคัญที่สุดของการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ประเภทนี้คือ ใช้เงินลงทุนน้อยประกอบกับราคาทองคำมีการเคลื่อนไหวทุกวัน จะทำให้โอกาสในการรับผลตอบแทนนั้นมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง แต่ผู้ลงทุนต้องไม่ลืมที่ว่า การลงทุนใดที่ให้ผลตอบแทนสูง โอกาสในการรับความเสี่ยงก็จะสูงด้วยเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า · ดูเพิ่มเติม »

อนุพันธ์ (แก้ความกำกวม)

อนุพันธ์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และอนุพันธ์ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์การเงิน

วิศวกรรมการเงิน เป็นสาขาหนึ่งของพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ที่ศึกษาทางด้านการเงิน โดยอาศัยเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์ โดยธรรมชาติแล้วจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเศรษฐศาสตร์การเงิน แต่วิศวกรรมการเงินนั้นแคบกว่าและมีลักษณะเป็นนามธรรมมากกว่า วิศวกรรมการเงิน จะใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์โดยเฉพาะเครื่องมือทางสถิติ ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงิน และ ประเมินมูลค่าของตราสารทางการเงิน เช่น ตราสารอนุพัน.

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และคณิตศาสตร์การเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ตราสารสิทธิ

ตราสารสิทธิ หรือ ออปชัน (option บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาสิทธิ หรือ ตราสารทางเลือก) เป็นหนังสือสัญญาหรือตราสารระหว่างบุคคลสองคนตามที่ระบุในหนังสือสำคัญ มีรายละเอียดคือ ชื่อผู้ซื้อสิทธิและชื่อผู้ขายสิทธิในสินค้าอย่างหนึ่ง มีการกำหนดหมดอายุสัญญา การกำหนดราคา ในอดีตการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าบุคคลเริ่มต้นทำกันเอง เมื่อมีความเจริญติดต่อกันซื้อขายมากขึ้น จึงมีสถานที่เป็นตลาดกลาง ตราสารสิทธิก็ได้พัฒนามาจนได้รับความนิยมมากขึ้น สำหรับตราสารสิทธิของประเทศไทย เป็นหนังสือสัญญาหรือตราสารทางการเงินประเภทตราสารอนุพันธ์ โดยมีสินค้าอ้างอิงเป็นดัชนี SET50 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีลักษณะให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารเมื่อเปิดสถานะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายที่จะใช้สิทธิซื้อหรือขายในวันที่กำหนด วันสิ้นสิทธิแต่ละงวดแบ่งเป็นสี่งวดในหนึ่งปี หรือจะปิดสถานะแบบมีสิทธิก่อนวันหมดอายุก็ได้ตามตราสารสิทธิแบบอเมริก.

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และตราสารสิทธิ · ดูเพิ่มเติม »

ตราสารทางการเงิน

ตราสารทางการเงิน (financial instrument) คือ เอกสารทางการเงินที่ผู้ออกหลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน อาจนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ตราสารทางการเงินอาจแบ่งออกได้เป็นตราสารแห่งหนี้ ตราสารแห่งทุน ตราสารอนุพันธ์ และ ตราสารที่มีลักษณะผสม (เช่น กึ่งหนี้กึ่งทุน) ตัวอย่างตราสารทางการเงินได้แก.

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และตราสารทางการเงิน · ดูเพิ่มเติม »

Derivative

derivative หรือ derivatives อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และDerivative · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สัญญาอนุพันธ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »