สารบัญ
17 ความสัมพันธ์: ฟือเรอร์บุงเคอร์การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ครัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกียรัฐเอกราชโครเอเชียลุฟท์วัฟเฟอสงครามโลกครั้งที่สองฮันส์-เกออร์ก ฟอน ฟรีเดอบูร์กคาร์ล เดอนิทซ์ประเทศเยอรมนีนาซีเยอรมนีแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โยเซฟ แทร์โบเฟินโอมาร์ แบรดลีย์เบียร์ลิน - 1945เฟลิกซ์ ชไตเนอร์เยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตรเนเธอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สอง
ฟือเรอร์บุงเคอร์
ำลองแผนผังของบุงเคอร์ฟือเรอร์ใต้ทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ ฟือเรอร์บุงเคอร์ (Führerbunker "บังเกอร์ท่านผู้นำ") เป็นที่หลบภัยการโจมตีทางอากาศ ตั้งอยู่ในสวนของทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสองเฟส คือในปี 1936 และ 1944 ฮิตเลอร์เข้าพำนักในฟือเรอร์บุงเคอร์เมื่อวันที่ 16 มกราคม..
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและฟือเรอร์บุงเคอร์
การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค
ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน..
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค
รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกีย
รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกีย, หรือมีชื่ออย่างเป็นการการคือ รัฐบาลชั่วคราวแห่งเชโกสโลวาเกีย (Prozatímní státní zřízení československé), เป็นรัฐบาลที่จัตตั้งขึ่นโดย คณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยเชโกสโลวาเกีย รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกียได้รับการยอมรับครั้งแรกทางการทูตของอังกฤษ ชื่อนี้ถูกนำมาใช้โดยฝ่านสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองในขณะที่พวกเขารู้จักกันในภายหลัง คณะกรรมาธิการก่อตั้งขึ้นโดยอดีตประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกีย Edvard Beneš ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม 1939Crampton, R.
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและรัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกีย
รัฐเอกราชโครเอเชีย
รัฐเอกราชโครเอเชีย (Nezavisna Država Hrvatska, NDH; Unabhängiger Staat Kroatien; Stato Indipendente di Croazia) เป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี และอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองโดยรัฐนี้ก่อตั้งขึ่นในวันที่ 10 เมษายน 1941 หลังบุกครองยูโกสลาเวียได้สำเร็จโดยรัฐนี้มีดินแดนคือในประเทศโครเอเชีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, เซอร์เบีย และ สโลวีเนียในปัจจุบันโดยในยุคนี้ชาวเซิร์บ, ชาวยิว, ชาวโรมา, ประชาชนที่ต่อต้านฟาสซิสต์, ถูกจับเป็นจำนวนมากและส่งเข้าค่ายกักกันยาเชโนวั.
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและรัฐเอกราชโครเอเชีย
ลุฟท์วัฟเฟอ
ลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เป็นเหล่าทัพการสงครามทางอากาศของกองทัพเยอรมันเวร์มัคท์ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพอากาศเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ลุฟท์ชไตรท์แครฟเทอ (Luftstreitkräfte) แห่งกองทัพจักรวรรดิเยอรมัน และหน่วยนักบินทหารเรือ มารีเนอ-ฟีเกอร์อับไทลุงของไคแซร์ลีเชอ มารีเนอ (Kaiserliche Marine), ได้ถูกยุบในเดือนพฤษภาคม..
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและลุฟท์วัฟเฟอ
สงครามโลกครั้งที่สอง
งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี.
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและสงครามโลกครั้งที่สอง
ฮันส์-เกออร์ก ฟอน ฟรีเดอบูร์ก
ันส์-เกออร์ก ฟรีดริช ลุดวิจ รอแบร์ท ฟอน ฟรีเดอบูร์ก (Hans-Georg Friedrich Ludwig Robert von Friedeburg) เป็นนายพลเรือชาวเยอรมัน, รองผู้บัญชาการของกองกำลังเรือดำน้ำ-อูของนาซีเยอรมนีและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนสุดท้ายของครีกซมารีเนอ เขาเป็นคนเดียวที่เป็นตัวแทนของกองกำลังที่จะนำเสนอในการลงนามในตราสารยอมจำนนของเยอรมนีในเมืองแรมส์ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมและในเบอร์ลินเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ปี 1945.พลเรือตรีฟรีเดอเบิร์กได้กระทำอัตวินิบาตกรรมได้ไม่นาน,ภายหลังจากการล่มสลายของรัฐบาลเฟลนซบูร์ก หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ.
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและฮันส์-เกออร์ก ฟอน ฟรีเดอบูร์ก
คาร์ล เดอนิทซ์
ร์ล เดอนิทซ์ (Karl Dönitz; 16 กันยายน 1891 – 24 ธันวาคม 1980) เป็นจอมพลเรือชาวเยอรมันผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์กองทัพเรือสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เดอนิทซ์สืบทอดตำแหน่งประมุขแห่งรัฐเยอรมนีต่อจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เขาเริ่มอาชีพในกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี 1918 ขณะที่เขาบังคับการเรือดำน้ำ UB-68 เรือถูกกองทัพบริติชจมและเดอนิทซ์ถูกจับเป็นเชลย ระหว่างอยู่ในค่ายเชลยศึก เขาสรุปสิ่งที่ต่อมาเขาเรียกว่ารูเดลทักทิค ("ยุทธวิธีฝูง" หรือเรียกทั่วไปว่า "ฝูงหมาป่า") เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เขาเป็นนายทหารเรือดำน้ำอาวุโสในครีกส์มารีเนอ ในเดือนมกราคม 1943 เขาได้ยศกรอสส์อัดมีรัล (จอมพลเรือ) และสืบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือจากจอมพลเรือ เอริช แรดเดอร์ วันที่ 30 เมษายน 1945 หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ถึงแก่อสัญกรรมและตามพินัยกรรมฉบับหลังสุดของฮิตเลอร์ เดอนิทซ์ถูกเสนอชื่อเป็นผู้สืบทอดประมุขแห่งรัฐจากฮิตเลอร์ ทั้งตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมนีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด วันที่ 7 พฤษภาคม 1945 เขาสั่งให้อัลเฟรด โยเดิล หัวหน้าเสนาธิการของกองบัญชาการทหารสูงสุด ลงนามตราสารยอมจำนนในแรมส์ ประเทศฝรั่งเศส เดอนิทช์ยังเป็นหัวหน้ารัฐบาลเฟลนซ์บุร์กจนถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยุบเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก เขาถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมสงครามและตัดสินลงโทษจำคุกสิบปี หลังการปล่อยตัว เขาใช้ชีวิตเงียบ ๆ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้ฮัมบุร์กจนเสียชีวิตในปี 1980.
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและคาร์ล เดอนิทซ์
ประเทศเยอรมนี
ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและประเทศเยอรมนี
นาซีเยอรมนี
นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและนาซีเยอรมนี
แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)
แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)
โยเซฟ แทร์โบเฟิน
ซฟ อันโทนีอุส ไฮน์ริช แทร์โบเฟิน (Josef Antonius Heinrich Terboven) เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซี ที่ได้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ตรวจการไรช์ประจำดินแดนนอร์เวย์ในยึดครอง ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศนอร์เวย์ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนีและได้บริหารการปกครองร่วมกับรัฐบาลควิสลิง(Quisling regime) ในช่วงที่แทร์โบเฟินปกครองในนอร์เวย์ได้กระทำผิดเอาไว้มากมายด้วยการสังหารหมู่และการสร้างค่ายกักกันในนอร์เวย์ ภายหลังสงครามได้ยุติลงและเยอรมนีได้ยอมจำนน แทร์โบเฟินได้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม..
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและโยเซฟ แทร์โบเฟิน
โอมาร์ แบรดลีย์
อมาร์ เนลสัน แบรดลี่ย์ (Omar Nelson Bradley12 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1893 – 8 เมษายน ค.ศ.1981), ชื่อเล่น แบรด เป็นเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของ กองทัพสหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงมาจากการรบในการทัพตูนิเซียและแนวรบด้านตะวันตก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและเข้ามารับตำแหน่งนายพลตั้งแต่การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีไปจนถึงตราสารยอมจำนนของเยอรมนี แบรดลี่ย์สามารถคุมกองทัพอเมริกาได้ทั้งหมดในการบุกครองเยอรมนีโดยฝายสัมพันธมิตรเขาคุมกองทัพอเมริกาทั้งหมด 43 กองพลและกำลังทหาร 1.3 ล้านคน แนวของกองทัพสหรัฐอเมริกาถูกสั่งการโดยจอมพลคนนี้คนเดียว ช่วงหลังสงคราม แบรดลี่ย์ได้ดูแล กองทหารผ่านศึกและมารับตำแหน่งเสนาธิการกองทัพสหรัฐอเมริกาใน..
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและโอมาร์ แบรดลีย์
เบียร์ลิน - 1945
นตร์ฉบับเต็ม เบียร์ลิน - 1945 (Берлин - 1945) หรืออีกชื่อหนึ่งในชื่อ บีตวาซาเบียร์ลิน 1945 (Битва за Берлин 1945 г.) เป็นภาพยนตร์สารคดีของสหภาพโซเวียต มีเนื้อหาเกี่ยวกับยุทธการที่เบอร์ลินซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพจริงจากแนวรบ ภาพยนตร์กำกับโดย Yuli Raizman และ Yelizaveta Svilova เนื้อเรื่องของภาพยนตร์นี้เริ่มเล่าด้วยความล้มเหลวของกองทัพฟาสซิสต์เยอรมนี ในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพแดงเรื่มบุกยุโรปตะวันออก โดยได้ข้ามแม่น้ำวอลกา, ดอน, Desna, นีเปอร์, Bug, ดิวิน่า, Neman, วิสวา, และที่สุดท้ายคือแม่น้ำโอเดอร์ ในตอนนั้นเองที่กองทัพแดงเปิดฉากโจมดีกรุงเบอร์ลินด้วยปืนใหญ่และจรวด Katyusha จากนั้นหลังข้ามแม่น้ำโอเดอร์กองทัพแดง ได้บุกกรุงเบอร์ลินและต่อสู้กับกองทัพฟาสซิสต์เยอรมนี จากนั้นภาพตัดมาเป็นภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อของเยอรมนีเป็นระยะ ตอนสุดท้ายกองทัพแดงสามารถยึดอาคารรัฐสภาไรชส์ทาค และชูธงเหนือไรชส์ทาคได้ ภาพยนตร์จบลงโดยภาพการเซ็น ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี และชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรและสหภาพโซเวียต.
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและเบียร์ลิน - 1945
เฟลิกซ์ ชไตเนอร์
ฟลิกซ์ มาร์ทิน ยูลีอุส ชไตเนอร์ (Felix Martin Julius Steiner) เป็นโอเบอร์กรุพเพินฟือเรอร์ (พลโท)ในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นผู้บังคับบัญชาหลายหน่วยกองพลและเหล่าเอ็สเอ็ส เขาได้รับกางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ๊คและดาบร่วมกับพอล เฮาเซอร์ เขามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส เป็นกองกำลังทหารที่สร้างขึ้นจากอาสาสมัครและทหารเกณฑ์จากทั้งสองดินแดนที่ยึดครองและไม่ถูกยึดครอง.
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและเฟลิกซ์ ชไตเนอร์
เยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร
มื่อนาซีเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะจึงได้แสดงสิทธิ์การปกครองเหนือดินแดนของรัฐเยอรมัน (เยอรมันไรช์) ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแนวโอเดอร์-ไนเซอ (Oder–Neisse line) และล้มล้างรัฐบาลภายใต้การปกครองของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ลง (ดูที่ปฏิญญาเบอร์ลิน ค.ศ.
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและเยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร
เนเธอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สอง
การเข้าร่วมสงครามโดยตรงของเนเธอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการรุกรานโดยนาซีเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม..
ดู ตราสารยอมจำนนของเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สอง
หรือที่รู้จักกันในชื่อ การยอมจำนนของเยอรมนี