โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวไมรา

ดัชนี ดาวไมรา

วไมรา (Mira) อยู่ในกลุ่มดาวซีตัส ห่างจากโลกเราประมาณ 200-400 ปีแสง เป็นระบบดาวคู่ที่ประกอบด้วยดาวยักษ์แดง 2 ดวงคือ ดาวไมรา เอ (Mira A) และดาวไมรา บี (Mira B) ดาวไมรา เอ ยังเป็นดาวแปรแสงและเป็นดาวแปรแสงซึ่งมิใช่ซูเปอร์โนวาดวงแรกที่มีการค้นพบอีกด้วย หากไม่นับรวม Eta Carinae ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือแล้ว ไมราจัดว่าเป็นดาวแปรแสงแบบมีวงรอบที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า แต่อาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นในบางช่วงของวงรอบการส่องสว่างของมัน.

4 ความสัมพันธ์: กลุ่มดาวซีตัสการตั้งชื่อดาวฤกษ์ดาวยักษ์ดาวฤกษ์

กลุ่มดาวซีตัส

กลุ่มดาวซีตัส หรือ กลุ่มดาววาฬ เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ หนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ในเทพปกรณัมกรีก กลุ่มดาวนี้แทนวาฬหรือสัตว์ทะเลร้าย อยู่ในบริเวณที่เรียกกันว่าทะเลท้องฟ้า ซึ่งได้ชื่อมาจากการที่กลุ่มดาวหลายกลุ่มในบริเวณนี้มีชื่อเกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ กลุ่มดาวปลา และกลุ่มดาวแม่น้ำ กลุ่มดาววาฬ หมวดหมู่:กลุ่มดาว.

ใหม่!!: ดาวไมราและกลุ่มดาวซีตัส · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อดาวฤกษ์

การตั้งชื่อดาวฤกษ์ (และวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ) ดำเนินการโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ชื่อดาวฤกษ์จำนวนมากที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้สืบทอดมาแต่อดีตก่อนจะมีการก่อตั้งสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล แต่ยังมีชื่ออื่นๆ โดยเฉพาะชื่อของดาวแปรแสง (รวมทั้งโนวาและซูเปอร์โนวา) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ดี ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่แล้วไม่มีชื่อเรียก แต่จะเรียกขานกันด้วยหมายเลขรหัสแคตาล็อก บทความนี้จะกล่าวถงกระบวนการที่ใช้ในการตั้งชื่อดาวฤกษ์โดยสังเขป.

ใหม่!!: ดาวไมราและการตั้งชื่อดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยักษ์

ESO'' ดาวยักษ์ (Giant star) คือดาวฤกษ์ชนิดหนึ่งที่มีรัศมีและความส่องสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีอุณหภูมิพื้นผิวเท่ากันGiant star, entry in Astronomy Encyclopedia, ed.

ใหม่!!: ดาวไมราและดาวยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: ดาวไมราและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ดาวมิรา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »