โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวแคระเหลือง

ดัชนี ดาวแคระเหลือง

ดวงอาทิตย์ ตัวอย่างดาวฤกษ์ชนิด G V ดาวแคระเหลือง (Yellow dwarf) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ดาว G-V คือดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักซึ่งมีชนิดสเปกตรัมเป็นแบบ G และความส่องสว่างในระดับ V ดาวแคระเหลืองมักมีขนาดเล็ก (ประมาณ 0.8 - 1.0 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) และมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,300-6,000 เคลวิน, G. M. H. J. Habets and J. R. W. Heintze, Astronomy and Astrophysics Supplement 46 (November 1981), pp.

11 ความสัมพันธ์: มู แท่นบูชาระบบสุริยะดวงอาทิตย์ดาวแคระดาวแคระส้มเอชดี 147018เคปเลอร์-10ซีเคปเลอร์-452บีเคปเลอร์-69ซี51 ม้าบิน55 ปู

มู แท่นบูชา

มู แท่นบูชา (μ Ara, μ Arae) หรือที่มักเรียกตามการกำหนดใน Henry Draper Catalogue ว่า HD 160691 เป็นดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักประเภทดาวแคระเหลือง อยู่ห่างจากโลกประมาณ 50 ปีแสง โดยอยู่ในกลุ่มดาวแท่นบูชา ดาวดวงนี้มีระบบดาวเคราะห์ซึ่งเท่าที่ทราบในปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ดวง ในจำนวนนี้ 3 ดวงมีมวลเทียบเท่าดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ด้านในสุดของระบบเป็น "ดาวเนปจูนร้อน หรือ ซูเปอร์เอิร์ธ" ดวงแรกที่ถูกค้น.

ใหม่!!: ดาวแคระเหลืองและมู แท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดาวแคระเหลืองและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดาวแคระเหลืองและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระ

ำว่า ดาวแคระ สามารถหมายถึงดาวฤกษ์หลายประเภท.

ใหม่!!: ดาวแคระเหลืองและดาวแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระส้ม

วแคระส้ม (orange dwarf) หรือ ดาวแคระ K (orange dwarf) มีชื่อเป็นทางการว่า ดาวฤกษ์แถบลำดับหลักประเภท K (K-type main-sequence star) เป็นดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักซึ่งมีชนิดสเปกตรัมเป็นแบบ K และความส่องสว่างในระดับ V ดาวเหล่านี้เป็นตัวกลางขนาดระหว่างดาวฤกษ์แถบลำดับหลักประเภท M สีแดง และดาวฤกษ์แถบลำดับหลักประเภท G สีเหลือง มีมวล 0.6-0.9 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และอุณหภูมิพื้นผิวอยู่ระหว่าง 3,900 และ 5,200 เคลวิน ตัวอย่างดาวที่รู้จักกันดี เช่น อัลฟาคนครึ่งม้า และเอปไซลอน อินเดียนแดง, G. M. H. J. Habets and J. R. W. Heintze, Astronomy and Astrophysics Supplement 46 (November 1981), pp.

ใหม่!!: ดาวแคระเหลืองและดาวแคระส้ม · ดูเพิ่มเติม »

เอชดี 147018

อชดี 147018 (HD 147018) เป็นดาวแคระเหลืองตั้งอยู่ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยมใต้ มันมีขนาดที่มองเห็นได้ปรากฏประมาณ 8.4 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 ได้พบ 2 ดาวเคราะห์นอกระบบ เอชดี 147018 บี และเอชดี 147018 ซี กำลังโคจรอยู่รอบ ๆ ดาวฤกษ์ของมัน ดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบโดยใช้ดอปเลอร์สเปกโตรสโคฟี ที่หอดูดาวลาซียา,ประเทศชิลี.

ใหม่!!: ดาวแคระเหลืองและเอชดี 147018 · ดูเพิ่มเติม »

เคปเลอร์-10ซี

ปเลอร์-10ซี (Kepler-10c) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบโคจรรอบดาวแคระเหลือง เคปเลอร์-10 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 560 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวมังกร การค้นพบโดยมีการประกาศยานอวกาศเคปเลอร์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ทีมงานได้รับการยืนยันการสังเกตโดยใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์แห่งนาซ่า และเทคนิคที่เรียกว่าปั่นที่ปกครองออกมาผลบวกปลอมมากที่สุด เคปเลอร์-10c เป็นดาวเคราะห์ที่ทรานซิติงที่ 3 ได้รับการยืนยันทางสถิติ (ขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็นมากกว่าการสังเกตที่เกิดขึ้นจริง) หลังจาก เคปเลอร์-9ดี และเคปเลอร์-11จี ทีมงานเคปเลอร์พิจารณาวิธีการทางสถิติที่นำไปสู่​​การค้นพบของเคปเลอร์-10c ว่าสิ่งที่จะเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อยืนยันดาวเคราะห์จำนวนมากในบริเวณเคปเลอร์ของมุมมอง.

ใหม่!!: ดาวแคระเหลืองและเคปเลอร์-10ซี · ดูเพิ่มเติม »

เคปเลอร์-452บี

ปเลอร์-452บี (Kepler-452b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวดาวแคระเหลือง ตรวจจับโดย กล้องโทรทรรศน์อวกาศ ''เคปเลอร์''และประกาศค้นพบครั้งแรกโดย นาซา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2015 ซึ่งเป็นดาวดวงแรกที่ใกล้เคียงกับโลกมากที่สุดตั้งแต่การค้บพบ และโคจรอยู่ในเขตที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: ดาวแคระเหลืองและเคปเลอร์-452บี · ดูเพิ่มเติม »

เคปเลอร์-69ซี

ปเลอร์-69ซี (ชื่อเดิม KOI-172.02, K00172.02) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบซูเปอร์เอิร์ธที่ได้รับการยืนยันไปประมาณ 70% มีขนาดใหญ่กว่าโลก โคจรรอบดาวฤกษ์ดาวแคระเหลือง เคปเลอร์-69 ตั้งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 2,700 ปีแสง ในกลุ่มดาวหงส์ ค้นพบโดยยานอวกาศเคปเลอร์ ของนาซา การค้นพบครั้งแรกของดาวเคราะห์ที่ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2013 ได้ยืนยันประกาศเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2013 เคปเลอร์-69ซี เป็นเรื่องน่าทึ่ง เพราะช่วงเวลาของการค้นพบ ผู้เป็นหนึ่งในที่สุดดาวเคราะห์คล้ายโลก.

ใหม่!!: ดาวแคระเหลืองและเคปเลอร์-69ซี · ดูเพิ่มเติม »

51 ม้าบิน

ว 51 ม้าบิน 51 ม้าบิน (51 Pegasi) เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 15.4 พาร์เซ็ก (50.1 ปีแสง) ในกลุ่มดาวม้าบิน เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ดวงแรกที่ตรวจพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ โดยมีการประกาศการค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: ดาวแคระเหลืองและ51 ม้าบิน · ดูเพิ่มเติม »

55 ปู

55 ปู หรือ โร1 ปู (55 Cancri) เป็นระบบดาวคู่ที่อยู่ห่างจากโลกราว 41 ปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวปู ระบบดาวนี้ประกอบด้วยดาวแคระเหลือง 1 ดวง และดาวแคระแดงขนาดเล็กกว่าอีก 1 ดวง ทั้งสองดวง นี้อยู่ห่างกันมากกว่าระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์มากกว่า 1,000 เท่า นับถึง..

ใหม่!!: ดาวแคระเหลืองและ55 ปู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ดาว G V

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »