โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวเทียมสื่อสาร

ดัชนี ดาวเทียมสื่อสาร

วเทียม Milstar ดาวเทียมสื่อสารของกองทัพสหรัฐอเมริกา ดาวเทียมสื่อสาร (หรือเรียกสั้นๆ ว่า comsat) เป็นดาวเทียมที่มีจุดประสงค์เพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม จะถูกส่งไปในช่วงของอวกาศเข้าสู่วงโคจรโดยมีความห่างจากพื้นโลกโดยประมาณ 35,786 กิโลเมตร ซึ่งความสูงในระดับนี้จะเป็นผลทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดาวเทียม ในขณะที่โลกหมุนก็จะส่งแรงเหวี่ยง ทำให้ดาวเทียมเกิดการโคจรรอบโลกตามการหมุนของโลก.

13 ความสัมพันธ์: มาร์สวันวงโคจรค้างฟ้าสกอร์ (ดาวเทียม)สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3ออร์บิทัล เอทีเคทักษิณ ชินวัตรดาวเทียมดาวเทียมซินนั่ว 3ดาวเทียมไทยคมโลกาภิวัตน์โทรทัศน์ในประเทศไทยไทยคม 6ไทยคม 8

มาร์สวัน

รงการมาร์สวัน มาร์สวัน คือองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ต้องการให้มนุษย์สามารถไปตั้งถิ่นฐานอยู่บนดาวอังคารได้จริง โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันจากผู้นำด้านอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยในอนาคตจะมีการถ่ายทอดสดทุกแง่มุมของโครงการให้ทั้งโลกได้เห็น เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกนักบินอวกาศ และการเตรียมความพร้อมเพื่อไปใช้ชีวิตบนดาวอังคาร โครงการ Mars One เกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กร Mars One และบริษัท Interplanerary Media Group โดยบริษัทนี้จะเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญ และเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการฝึกนักบินอวกาศไปจนถึงการขึ้นไปตั้งถิ่นฐาน นอกจากนี้ยังมีนักลงทุนอีกหลายรายจากทั่วโลกที่ร่วมถือหุ้นในโครงการนี้ด้วย นำโดย บัส ลันสดอร์ป (Bas Lansdorp) ผู้ประกอบการชาวดัตช์ เพื่อสร้างนิคมมนุษย์ถาวรบนดาวอังคาร โครงการดังกล่าวประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2555 แผน คือ ส่งดาวเทียมสื่อสารและส่วนลงจอดของแพธไฟน์เดอร์ ไปยังดาวอังคารภายในปี 2563 และ หลังจากหลายขั้นตอน ส่งมนุษย์สี่คนไปยังดาวอังคารเพื่อการตั้งถิ่นฐานถาวรภายในปี 2570 นักบินอวกาศชุดใหม่อีกสี่คนจะส่งไปทุกสองปี โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากนักฟิสิกส์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล เจอร์ราร์ด ฮุฟท์ (Gerard 't Hooft).

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและมาร์สวัน · ดูเพิ่มเติม »

วงโคจรค้างฟ้า

วงโคจรค้างฟ้าจากมุมมองด้านบน ซึ่งดาวเทียมทั้งสองจะอยู่ตำแหน่งเติมตลอดเมื่อมองจากพื้นโลก วงโคจรค้างฟ้าจากมุมมองด้านข้าง วงโคจรค้างฟ้า (geostationary orbit หรือ Geostationary Earth Orbit, อักษรย่อ: GEO) เป็นวงโคจรที่มีระยะทางห่างจากพื้นโลก 35,786 กิโลเมตร (22,236 ไมล์) ขึ้นไปเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลก มีทิศทางการโคจรทวนเข็มนาฬิกาเหมือนทิศทางการหมุนของโลก วัตถุที่อยู่ในวงโคจรดังกล่าวจะมีคาบการโคจรเกือบเท่ากับของโลก คือ 23 ชั่วโมง 56 นาที 4 วินาที และนั่นเองทำให้เมื่อสังเกตวัตถุที่อยู่ในวงโคจรนี้จากโลก วัตถุจะปรากฏนิ่งในตำแหน่งเดิมตลอดเวลา เราจึงเรียกดาวเทียมในวงโคจรค้างฟ้านี้ว่า ดาวเทียมประจำที่ ซึ่งส่วนมากเป็น ดาวเทียมสื่อสาร และ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา วงโคจรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับวงโคจรค้างฟ้าคือ วงโคจรพ้องคาบโลก ที่แตกต่างกันตรงที่ไม่ได้โคจรในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตร แนวคิดเรื่อง วงโคจรพ้องคาบโลก เพื่อการสื่อสารนั้นถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและวงโคจรค้างฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

สกอร์ (ดาวเทียม)

รวดแอตลาสบีกับสกอร์บนฐานปล่อย ตัวจรวดประกอบ (ไม่นับเครื่องยนต์เพิ่มกำลัง) เป็นดาวเทียมสกอร์ โครงการสกอร์ (สื่อสารสัญญาณโดยอุปกรณ์รีเลย์โคจร) เป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก ปล่อยขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดแอตลาสเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม..

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและสกอร์ (ดาวเทียม) · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

นีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ..ม.ท. เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งที่ 4 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการโดยบริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ภายใต้สัญญาสัมปทานกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 เวลา 10:00 น. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ความถี่ต่ำ ทางช่องสัญญาณที่ 3 จนถึงปี พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 32 โดยที่เริ่มแพร่ภาพคู่ขนาน (simulcast) กับโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ช่องหมายเลข 33 ภาพคมชัดสูง ของบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ตามคำสั่งของศาลปกครอง ตั้งแต่เวลา 21:19 น. ของวันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 มีคำขวัญประจำสถานีฯ ว่า คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3 โดยมีประสาร มาลีนนท์ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555 แทนประวิทย์ มาลีนนท์ ที่ขอลาออกเนื่องจากมีปัญหาเรื่อง.

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 · ดูเพิ่มเติม »

ออร์บิทัล เอทีเค

Orbital ATK Inc. เป็นบริษัทผู้ผลิตด้านการบินและอวกาศและการป้องกันประเทศสัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่อยู่ในเขตดัลเลส รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและออร์บิทัล เอทีเค · ดูเพิ่มเติม »

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544 ถึง 2549 และเป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา และ ศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร ปี 2537 ทักษิณเข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรี จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ทักษิณใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดช่วยให้เขามีความนิยมอย่างสูง ทักษิณเริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพีในเดือนมกราคม 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน 2549 รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่างปี 2544 และ 2549 ทักษิณดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระคนแรก และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวหารัฐบาลทักษิณหลายประการเช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน และควบคุมสื่อ ส่วนข้อกล่าวหาของตัวทักษิณเอง ก็มีว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้นักลงทุนต่างชาติThe Star,, 2 April 2006The Nation,, 23 March 2006 องค์การนิรโทษกรรมสากลวิจารณ์ทักษิณว่า มีประวัติเชิงสิทธิมนุษยชนไม่สู้ดี และเขายังถูกกล่าวหาว่าปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่งการเมือง ฟอรีนพอลิซี ยกตัวอย่างว่า เขาเป็นอดีตผู้นำของโลกที่ประพฤติไม่ดี เกิดการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2549 และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ศาลที่ คม.

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและทักษิณ ชินวัตร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียม

นีบนพื้นโลก ดาวเทียม (satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเป็นสิ่ง ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่าง.

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและดาวเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียมซินนั่ว 3

ซินนั่ว 3 (Sinosat-3) เป็นดาวเทียมสื่อสาร ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งขึ้นวงโคจรเมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 จากศูนย์ส่งดาวเทียมซีชัง ใช้จรวดพาหะ "ฉางเจิง 3".

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและดาวเทียมซินนั่ว 3 · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียมไทยคม

วเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ.

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและดาวเทียมไทยคม · ดูเพิ่มเติม »

โลกาภิวัตน์

ลกาภิวัตน์ (มักเขียนผิดเป็น โลกาภิวัฒน์) หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น" โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก โลกาภิวัตน์ หมายถึงกระบวนการที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็นสังคมเดี่ยว กระบวนการนี้เกิดจากแรงของอิทธิพลร่วมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคม-วัฒนธรรมและการเมือง.

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและโลกาภิวัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

โทรทัศน์ในประเทศไทย

ทรทัศน์ในประเทศไทย ออกอากาศทางภาคพื้นดินเป็นช่องทางหลัก โดยแพร่ภาพผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งระยะแรกที่ออกอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เริ่มใช้ย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ซึ่งประกอบด้วย ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 2-4 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 5-12 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 จึงเริ่มใช้ย่านความถี่สูงยิ่ง (Ultra High Frequency; UHF) คือช่องสัญญาณที่ 26-60 (ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 26-34 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 35-60) ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มออกอากาศ จนถึง พ.ศ. 2517 ใช้ระบบสัญญาณแอนะล็อก ในการส่งแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (National Television System Committee; NTSC) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Committee; FCC ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเต็มเป็น Federal Communications Commission) ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จึงเริ่มนำระบบการส่งแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที (Phase Alternating Line; PAL) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยคลื่นวิทยุ (Consultative Committee on International Radio; CCIR ปัจจุบันคือ ภาควิทยุคมนาคมโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ International Telecommunication Union Radiocommunication Sector; ITU-R) เข้ามาใช้ในประเทศไทย และเริ่มออกอากาศด้วยภาพสี ภายใต้ระบบดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีบริการโทรทัศน์แห่งชาติ ภายใต้กำกับของกรมประชาสัมพันธ์ เริ่มจากส่วนภูมิภาคตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 และเริ่มดำเนินการในส่วนกลางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน จากนั้นก็เริ่มนำระบบดิจิทัล เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตรายการ และควบคุมการออกอากาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และนำมาใช้กับกระบวนการส่งแพร่ภาพ ผ่านโครงข่ายอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยจะยุติการออกอากาศด้วยสัญญาณแอนะล็อก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ส่วนระบบการออกอากาศด้วยช่องทางอื่น ซึ่งนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย ประกอบด้วย บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง (Multichannel multipoint distribution service; MMDS) ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2556, ผ่านคลื่นวิทยุไมโครเวฟ ระหว่างปี..

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและโทรทัศน์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ไทยคม 6

ทยคม 6 (THAICOM 6) เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทยของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และถือเป็นดาวเทียมไทยคมดวงที่ 6 โดยถูกยิงขึ้นจากฐาน ณ แหลมคะแนเวอรัล ในรัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2557 โดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ ดาวเทียมไทยคม 6 โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ตำแหน่งเดียวกับดาวเทียมไทยคม 5 ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก มีจานรับส่งสัญญาณ ซี-แบนด์ (C-Band) จำนวน 18 ช่องรับส่ง และเคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 6 ช่องรับส่ง ซึ่งครอบคลุมการแพร่สัญญาณในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด การส่งดาวเทียมไทยคม 6 ถือเป็นภารกิจที่ 8 ของจรวด Falcon 9 และเป็นการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรค้างฟ้าเป็นครั้งที่สองของบริษัทสเปซเอ็กซ์ โดยดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นไปก่อนหน้าคือ SES-8.

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและไทยคม 6 · ดูเพิ่มเติม »

ไทยคม 8

ทยคม 8 (THAICOM 8) เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทยจากดาวเทียมไทยคมซีรีส์ ประกอบการโดยบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน), บริษัทสาขาของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และถือเป็นดาวเทียมไทยคมดวงที่ 8.

ใหม่!!: ดาวเทียมสื่อสารและไทยคม 8 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »