สารบัญ
27 ความสัมพันธ์: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีพื้นดินกลีเซอ 581 จีกลีเซอ 876 ดีการย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์การระดมชนหนักครั้งหลังภูเขาไฟรูปโล่ยูโรปา (ดาวบริวาร)สิ่งมีชีวิตนอกโลกธรรมชาติดาวพลูโตดาวศุกร์ดาวอังคารดาวเคราะห์นอกระบบความเอียงของวงโคจรซูเปอร์เอิร์ธน้ำเหลวนอกโลกแทรปพิสต์-1โลก (ดาวเคราะห์)เอชดี 69830 บีเขตอาศัยได้เคปเลอร์ (ยานอวกาศ)เคปเลอร์-10บีเคปเลอร์-69ซีCOROTMOA-2007-BLG-192Lb55 ปู
พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี
ร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี (Proxima Centauri b) หรือเรียก พร็อกซิมา บี (Proxima b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในเขตอาศัยได้ โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า และถือเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยห่างจากโลกราว 4.2 ปีแสง (1.3 พาร์เซก หรือ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพต่อการอยู่อาศัยได้ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จัก ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ประกาศการค้นพบในเดือนสิงหาคม..
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี
พื้นดิน
แผนที่แสดงเนื้อที่ของพื้นดินบนโลก โดยใช้เฉดสีเขียวและเหลือง พื้นดิน หรือ แผ่นดิน (Land หรือ dry land) คือ พื้นผิวที่เป็นของแข็งบนโลกซึ่งไม่ได้ครอบคลุมถึงพื้นน้ำ พื้นดินเป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ตลอดประวัติศาสตร์ซึ่งมีคุณูปการต่อการเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ สิ่งมีชีวิตบนพื้นดินบางชนิด เช่น พืชบกและสัตว์บก ได้พัฒนาจากสายพันธ์ดั้งเดิมซึ่งเคยอาศัยอยู่ในน้ำมาก่อน พื้นที่ซึ่งเป็นบริเวณที่พื้นดินติดกับพื้นน้ำจะถูกเรียกว่าพื้นที่ชายฝั่ง การแบ่งแยกระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำเป็นแนวคิดพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งแตกต่างออกไปตามเขตอำนาจในแต่ละท้องที่หรือปัจจัยอื่น ๆ เขตแดนทางทะเลเป็นตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งแยกโดยใช้หลักทางการเมือง มีเขตแดนทางธรรมชาติหลายอย่างซึ่งช่วยในการกำหนดพื้นน้ำและพื้นดินได้อย่างชัดเจน ธรณีสัณฐานที่เป็นหินแข็งจะแบ่งแยกได้ง่ายกว่าเขตแดนที่เป็นบึงหรือแอ่งน้ำเมื่อไม่มีตำแหน่งที่ชัดเจนของบริเวณที่เป็นจุดสิ้นสุดของพื้นดินและจุดเริ่มต้นของพื้นน้ำ การแบ่งแยกอาจแตกต่างกันไปตามกระแสน้ำและสภาพอาก.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและพื้นดิน
กลีเซอ 581 จี
กลีเซอ 581 จี (Gliese 581 g) หรือ Gl 581 g เป็นดาวเคราะห์นอกระบบโคจรรอบดาวแคระแดง กลีเซอ 581 อยู่ห่างจากโลก 20.5 ปีแสง ในกลุ่มดาวคันชั่ง มันเป็นดาวเคราะห์ดวงที่หกที่ถูกค้นพบในระบบดาวเคราะห์กลีเซอ 581 และเป็นดาวบริวารลำดับที่สี่นับจากกลีเซอ 581 ดาวเคราะห์ดังกล่าวค้นพบโดยลิก-คาร์เนกีเอ็กโซแพลเน็ตเซอร์เวย์หลังจากมีการสำรวจมานับทศวรรษ ดาวเคราะห์ดังกล่าวอยู่ในเขตอาศัยได้จากดาวฤกษ์ ที่ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าจะมีน้ำในสภาพของเหลว การค้นพบกลีเซอ 581 จี ได้รับการประกาศเมื่อปลายเดือนกันยายน..
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและกลีเซอ 581 จี
กลีเซอ 876 ดี
กลีเซอ 876 ดี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำประมาณ 15 ปีแสง ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ดวงที่สามที่ค้นพบอยู่ในวงโคจรรอบดาวแคระแดง กลีเซอ 876 ณ ตอนที่ค้นพบนั้นนับได้ว่าดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลต่ำที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ใด ๆ ที่รู้จักกัน ถ้าไม่นับดาวเคราะห์พัลซาร์ที่โคจรรอบ PSR B1257+12 จากการที่มันมีมวลต่ำมากนี่เองจึงถูกจัดประเภทว่าเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกหรือซูเปอร์เอิร.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและกลีเซอ 876 ดี
การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์
การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์ (Planetary migration) เกิดขึ้นเมื่อดาวเคราะห์หรือดาวบริวารอื่นๆ ได้รับผลกระทบจากจานของแก๊สหรือพลาเนเตซิมัล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะบางอย่างของดาวบริวารนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกึ่งแกนเอก การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์เป็นการอธิบายถึงสาเหตุที่ดาวเคราะห์ขนาดประมาณดาวพฤหัสบดี โคจรเข้าไปใกล้ดาวฤกษ์แม่ของมันมาก จนมีระยะเวลาโคจรเพียงไม่กี่วัน ซึ่งทฤษฎีการก่อตัวของดาวเคราะห์จากจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด กล่าวว่าดาวเคราะห์เหล่านี้ไม่สามารถที่จะก่อตัวขึ้นใกล้กับดาวแม่ของมันได้มากขนาดนั้น เนื่องจากในบริเวณนั้นมีมวลแก๊สน้อย และอุณหภูมิสูงเกินกว่าที่จะทำให้ดาวเคราะห์หินหรือน้ำแข็งก่อตัว มันยังเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าดาวเคราะห์หินมีโอกาสที่จะเคลื่อนเข้าไปใกล้ดาวแม่ ขณะที่จานของแก๊สยังคงมีอยู่ในบริเวณใกล้ดาวแม่ ทำให้มันอาจเป็นการก่อตัวของแกนกลางของดาวเคราะห์ยักษ์ (ที่มีมวลประมาณ 10 เท่าของโลก) ถ้าดาวเคราะห์นั้นก่อตัวจากกลไกการขยายตัวของแกนกลาง หมวดหมู่:กลศาสตร์ท้องฟ้า หมวดหมู่:ทฤษฎีพลวัตของระบบสุริยะ.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและการย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์
การระดมชนหนักครั้งหลัง
การระดมชนหนักครั้งหลัง (Late Heavy Bombardment, ย่อ: LHB) หรือวินาศภัยดวงจันทร์ (lunar cataclysm) เป็นเหตุการณ์ซึ่งคาดว่าเกิดเมื่อประมาณ 4.1 ถึง 3.8 พันล้านปีก่อน ตรงกับบรมยุคเฮเดียนและมหายุคอีโออาร์เคียนบนโลก มีทฤษฎีว่าในช่วงนี้ดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากผิดปกติพุ่งชนดาวเคราะห์คล้ายโลกยุคต้นในระบบสุริยะชั้นใน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลกและดาวอังคาร การระดมชนหนักครั้งหลักเกิดหลังโลกและดาวเคราะห์หินอื่นก่อรูปขึ้นและรวบรวม (accrete) มวลส่วนใหญ่ของดาวนั้น ๆ แล้ว แต่ยังถือเป็นช่วงต้นในประวัติศาสตร์ของโลก หลักฐานของการระดมชนหนักครั้งหลังมาจากตัวอย่างดวงจันทร์ที่นักบินอวกาศโครงการอะพอลโลนำกลับมาด้วย การหาอายุด้วยไอโซโทปของหินดวงจันทร์บ่งว่า เศษหลอมละลายจากการพุ่งชน (impact melt) ส่วนใหญ่เกิดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ มีหลายสมมติฐานพยายามอธิบายการเพิ่มขึ้นเฉียบพลันของสิ่งพุ่งชน (ทั้งดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง) ในระบบสุริยะชั้นใน แต่ยังไม่มีมติ แบบจำลองไนซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่าดาวเคราะห์ยักษ์กำลังมีการย้ายวงโคจร และระหว่างนั้นเองก็ทำให้วัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อย และ/หรือ แถบไคเปอร์กระจัดกระจายเป็นวงโคจรเยื้องศูนย์กลาง และเข้าสู่วิถีของดาวเคราะห์คล้ายโลก นักวิจัยบางส่วนแย้งว่าข้อมูลตัวอย่างดวงจันทร์ไม่จำเป็นว่าเหตุการณ์พุ่งชนจะต้องเกิดในช่วง 3.9 พันล้านปีก่อน และการกระจุกของเศษหลอมละลายจากการพุ่งชนที่มีอายุใกล้เคียงช่วงนี้เป็นผลจากการสุ่มตัวอย่างวัสดุที่เก็บมาจากแอ่งพุ่งชนขนาดใหญ่แห่งเดียว พวกเขายังสังเกตว่าอัตราการเกิดแอ่งพุ่งชนอาจแตกต่างกันได้มากระหว่างระบบสุริยะชั้นนอกและใน.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและการระดมชนหนักครั้งหลัง
ภูเขาไฟรูปโล่
ูเขาไฟรูปโล่ เป็นภูเขาไฟชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยลาวาแข็งตัวเป็นหลัก ไม่มีเถ้าที่พ่นจากปากปล่องภูเขาไฟประกอบด้วยหรือหากมีก็ไม่มาก ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้มีความสูงไม่มากนักแลดูเหมือนโล่นักรบเมื่อมองจากด้านบน ภูเขาไฟรูปโล่พบได้ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ภูเขาไฟเวซูวีโย ภูเขาไฟเมานาเคอา นอกจากนี้ยังพบได้บนดาวเคราะห์หิน หรือดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอเก็บแมกมาไว้ภายใน เช่นดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดวงจันทร์ไอโอ ภูเขาไฟรูปโล่ต่างจาก ภูเขาไฟเชิงประกอบตรงที่ภูเขาไฟเชิงประกอบมีเถ้าถ่านทับถมสลับกับลาวาเย็นตัว ทำให้่ภูเขาไฟเชิงประกอบมีความสูงมากกว่าภูเขาไฟรูปโล.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและภูเขาไฟรูปโล่
ยูโรปา (ดาวบริวาร)
ูโรปา (Europa; Ευρώπη) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ค้นพบในปี..
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและยูโรปา (ดาวบริวาร)
สิ่งมีชีวิตนอกโลก
นหุ่นยนต์รถสำรวจคิวริออซิตี้โรเวอร์) มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการของคนส่วนใหญ่ มนุษย์ต่างดาว (alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra และ terrestris) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและสิ่งมีชีวิตนอกโลก
ธรรมชาติ
ฟ้าผ่าระหว่างภูเขาไฟกาลองกังปะทุ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2525 ธรรมชาติ ในความหมายอย่างกว้างสุด เทียบเท่ากับโลกธรรมชาติ โลกกายภาพ หรือโลกวัตถุ "ธรรมชาติ" หมายถึง ปรากฏการณ์ของโลกกายภาพ และยังหมายถึงชีวิตโดยรวม มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าอะตอมไปจนถึงจักรวาล คำว่า nature มาจากคำภาษาละติน natura หรือ "คุณสมบัติสำคัญ, พื้นนิสัยสืบทอด" และในสมัยโบราณ ตามตัวอักษรหมายถึง "กำเนิด" natura เป็นคำแปลภาษาละตินของคำภาษากรีก physis (φύσις) ซึ่งเดิมเกี่ยวข้องกับลักษณะภายในซึ่งพืช สัตว์และลักษณะเฉพาะ (feature) อื่นของโลกพัฒนาแนว (accord) ของตน มโนทัศน์ธรรมชาติโดยรวม จักรวาลทางกายภาพ เป็นหนึ่งในหลายการต่อขยายของความคิดดั้งเดิม เริ่มต้นด้วยการประยุกต์ใช้แก่นบางอย่างของคำว่า φύσις โดยนักปรัชญายุคก่อนโสเครติส และได้รับความแพร่หลายอย่างต่อเนืองนับแต่นั้น การใช้นี้ได้รับการยืนยันระหว่างการมาถึงของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในหลายศตวรรษหลัง ปัจจุบัน "ธรรมชาติ" มักหมายถึง ธรณีวิทยาและสัตว์ป่า ธรรมชาติอาจหมายถึงอาณาจักรของพืชและสัตว์หลายชนิดทั่วไป และในบางกรณีหมายถึง ขบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุไร้ชีวิต คือ วิถีซึ่งสิ่งบางประเภทโดยเฉพาะดำรงและเปลี่ยนแปลงแนวของตน เช่น ลมฟ้าอากาศและธรณีวิทยาของโลก และสสารและพลังงานอันประกอบขึ้นเป็นทุกสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังใช้หมายถึง "สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ" สัตว์ป่า หิน ป่า ชายหาด และโดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้ที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยอันตรกิริยาของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ยกเว้นถูกจัดเป็น อย่างเช่น "ธรรมชาติมนุษย์" มโนทัศน์เก่ากว่าของสิ่งธรรมชาติซึ่งยังพบในปัจจุบันอยู่ชี้ข้อแตกต่างระหว่างธรรมชาติกับที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial) โดยสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นจากความรู้สึกตัวหรือจิตของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ คำว่า "ธรรมชาติ" ยังอาจแตกต่างจากไม่เป็นธรรมชาติ เหนือธรรมชาติหรือสังเคราะห.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและธรรมชาติ
ดาวพลูโต
วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและดาวพลูโต
ดาวศุกร์
วศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและดาวศุกร์
ดาวอังคาร
วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและดาวอังคาร
ดาวเคราะห์นอกระบบ
accessdate.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและดาวเคราะห์นอกระบบ
ความเอียงของวงโคจร
แสดงความเอียงของวงโคจร ความเอียงของวงโคจร (inclination) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างระนาบของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง ความเอียงของวงโคจร เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของวงโคจร ใช้อธิบายถึงรูปร่างและทิศทางของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า นับเป็นระยะเชิงมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบอ้างอิง (โดยมากมักใช้เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นสุริยวิถีของดาวฤกษ์แม่ในระบบ และมีหน่วยเป็นองศา) สำหรับระบบสุริยะ ความเอียงของวงโคจร (คือ i ในภาพด้านข้าง) ของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งๆ จะเท่ากับมุมระหว่างระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นกับเส้นสุริยวิถี ซึ่งเป็นระนาบที่เป็นเส้นทางโคจรของโลก นอกจากนี้ยังสามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับระนาบอื่นๆ เช่น เทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ หรือเทียบกับระนาบโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่การใช้เส้นสุริยวิถีในการอ้างอิงจะเหมาะสมกับผู้สังเกตการณ์บนโลกมากกว่า วงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะของเรามีค่าความเอียงของวงโคจรค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกันเองหรือเทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ก็ตาม มีข้อยกเว้นก็เพียงในบรรดาดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต และ อีรีส ซึ่งมีค่าความเอียงของวงโคจรเทียบกับสุริยวิถีสูงถึง 17 องศาและ 44 องศาตามลำดับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่น พัลลัส ก็มีความเอียงของวงโคจรสูงถึง 34 องศา สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบ ยังไม่ค่อยมีการวัดความเอียงของวงโคจร ทราบได้แต่เพียงมวลต่ำสุดของมันเท่านั้น ซึ่งหมายถึง ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงที่แท้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือเป็นดาวแคระแดงที่จางมากๆ ก็ได้ มีแต่เพียงดาวเคราะห์ที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และที่ตรวจจับด้วยวิธีมาตรดาราศาสตร์ จึงสามารถทราบถึงความเอียงของวงโคจร และบางทีอาจทราบถึงมวลที่แท้จริงได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 ข้างหน้านี้ น่าจะมีการตรวจวัดความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การสังเกตการณ์ในอวกาศผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น Gaia mission, Space Interferometry Mission, และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและความเอียงของวงโคจร
ซูเปอร์เอิร์ธ
วาดแสดงซูเปอร์เอิร์ธตามสมมุติฐาน 2 ดวง แต่ละดวงมีความหนาแน่นเฉลี่ยมากกว่าโลก แต่ทั้งสองดวงก็จัดว่าเป็น "ซูเปอร์เอิร์ธ" เพราะมีมวลมากกว่ามวลของโลก ซูเปอร์เอิร์ธ (super-Earth) หมายถึง ดาวเคราะห์คล้ายโลกที่มีมวลมากกว่าโลก แต่มีมวลน้อยกว่าดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ คำนี้จะใช้ในความหมายทางด้านมวลของดาวเคราะห์เท่านั้น ไม่มีความหมายในแง่เงื่อนไขด้านพื้นผิวของดาวหรือความสามารถในการอยู่อาศัยของดาวนั้นๆ กล่าวคือมันมิได้มีความหมายว่าดาวเคราะห์นั้นจะมีอุณหภูมิหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโลกแต่อย่างใด หากกล่าวตาม Valencia et al.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและซูเปอร์เอิร์ธ
น้ำเหลวนอกโลก
กระแสน้ำพุร้อนใน Palikir Crater (ภายใน Newton crater) ของดาวอังคาร ในขณะที่มีหลักฐานที่สนใจ แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นข้อมูลของน้ำจากดาวข้างนอก,จนถึงขณะนี้ได้มีการยืนยันโดยตรง น้ำเหลวนอกโลก (Extraterrestrial liquid water) คือน้ำในสภาพของเหลวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินอกโลก เป็นที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตตามที่เรารู้จักและเป็นที่คาดเดาอย่างสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตนอกโลก ด้วยน้ำในมหาสมุทรที่ปกคลุม 71% ของพื้นผิว, โลกยังเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่รู้จักกันดีว่ามีแหล่งน้ำที่เป็นของเหลวบนพื้นผิวของมัน และน้ำที่เป็นของเหลวเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกเผ่าพันธุ์บนโลก การปรากฏตัวของน้ำบนผิวโลกเป็นผลมาจากความดันบรรยากาศ และวงโคจรที่เสถียรในเขตอาศัยได้ของดวงอาทิตย์ แม้ว่าต้นกำเนิดของน้ำบนโลกยังไม่ทราบแน่ชัด วิธีการหลักที่ใช้ในการยืนยัน คือ การดูดซึมของสเปกโทรโฟโตเมตรี (Absorption spectroscopy) และทางธรณีเคมี (Geochemistry) เทคนิคเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพสำหรับบรรยากาศไอน้ำ และน้ำแข็ง อย่างไรก็ตามการใช้วิธีการปัจจุบันของ สเปกโทรสโกปีทางดาราศาสตร์ (Astronomical spectroscopy) ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะตรวจจับน้ำเหลวบนดาวเคราะห์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของน้ำใต้ดิน เนื่องจากนี้นักดาราศาสตร์ชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ได้ใช้ทฤษฎีเขตอาศัยได้, ทฤษฎีแรงโน้มถ่วง และทฤษฎีน้ำขึ้นน้ำลง, รูปแบบของความแตกต่างของดาวเคราะห์ และเรดิโอมิตรี (Radiometry) เพื่อตรวจสอบศักยภาพของน้ำเหลว น้ำที่สังเกตได้จากภูเขาไฟสามารถให้หลักฐานทางอ้อมที่น่าสนใจมากขึ้น, เป็นคุณสมบัติของแม่น้ำและการปรากฏตัวของสารป้องกันการแข็งตัว เช่น เกลือหรือแอมโมเนีย การใช้วิธีการดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์หลายคนอนุมานว่าน้ำของเหลวเคยปกคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ไว้ของ ดาวอังคาร และดาวศุกร์ ที่คิดว่าน้ำเป็นของเหลวใต้พื้นผิวของดาวเคราะห์บางดวง, คล้ายกับน้ำบาดาลของโลก,ไอน้ำถือเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีของเหลวอยู่ในน้ำ แม้ว่าไอน้ำในชั้นบรรยากาศอาจพบได้ในหลายแห่งที่น้ำของเหลวไม่ได้.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและน้ำเหลวนอกโลก
แทรปพิสต์-1
แทรปพิสต์-1 (TRAPPIST-1) หรือ 2MASS J23062928-0502285 เป็นดาวฤกษ์แคระเย็นจัด (ultra-cool dwarf star) ตั้งอยู่ห่างออกไป 39.5 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ทีมนักดาราศาสตร์นำโดยมีกาแอล ฌียง (Michaël Gillon) แห่งสถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์และธรณีฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยลีแยฌ ประเทศเบลเยียม ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กสำหรับตรวจจับการผ่านหน้าของดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แรกเริ่ม (Transiting Planets and Planetesimals Small Telescope; TRAPPIST) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ในหอดูดาวลาซียาในทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี เพื่อสังเกตดาวฤกษ์และค้นหาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์นี้ เทคนิคที่ใช้ค้นหาคือการตรวจสอบการเคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ ทำให้พวกเขาค้นพบดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับโลกจำนวน 3 ดวงโคจรรอบดาวฤกษ์แคระแดงดวงนี้ ดาวเคราะห์ชั้นในสุดสองดวงอยู่ใต้ภาวะไทดัลล็อกกับดาวฤกษ์แม่ คือจะหันหน้าเพียงด้านเดียวเข้าหาดาวฤกษ์แม่ตลอดเวลา ส่วนอีกหนึ่งดวงอยู่ในเขตอาศัยได้ (habitable zone) ทีมนักดาราศาสตร์เฝ้าสังเกตการณ์ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม..
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและแทรปพิสต์-1
โลก (ดาวเคราะห์)
ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและโลก (ดาวเคราะห์)
เอชดี 69830 บี
อชดี 69830 บี (HD 69830 b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลเนปจูน หรือ ซูเปอร์เอิร์ธ ที่โคจรรอบดาวฤกษ์เอชดี 69830 ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวล 10 เท่า มากกว่าโลก ทำให้มันมีขนาดใหญ่น้อยที่สุดในระบบ นอกจากนี้ยังมีวงโคจรที่ค่อนข้างใกล้กับดาวฤกษ์แม่ของตนและใช้เวลา 82/3 วันในการโคจร เป็นดาวเคราะห์หินไม่ใช้ดาวแก๊สยักษ.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและเอชดี 69830 บี
เขตอาศัยได้
ตัวอย่างของระบบตาม ความสว่างของดาวฤกษ์ เพื่อคาดการณ์ที่ตั้งของโซนอาศัยอยู่รอบ ๆหลายประเภทของดาวฤกษ์,ขนาดดาวเคราะห์,ขนาดดาวฤกษ์,ระยะโคจร และขนาดโซนอาศัยไม่ได้ระดับ เขตอาศัยได้ (habitable zone) ในทางดาราศาสตร์ หมายถึง ย่านหนึ่งในอวกาศที่ซึ่งดาวเคราะห์คล้ายโลกสามารถดำรงน้ำในสถานะของเหลวได้บนพื้นผิว และสามารถมีสิ่งมีชีวิตคล้ายกับสิ่งมีชีวิตบนโลก เขตอาศัยได้เป็นจุดตัดกันระหว่างสองเขตที่ต่างก็เอื้อต่อการให้กำเนิดชีวิต คือหนึ่ง ภายในระบบดาวเคราะห์ และสอง คือภายในดาราจักร ดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวารของมันที่อยู่ในเขตนี้มีโอกาสมากที่จะเป็นแหล่งอยู่อาศัยของมนุษย์ได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวลักษณะคล้ายคลึงกับเราอยู่ที่นั่น จะต้องไม่สับสนปนเประหว่าง เขตอาศัยได้ กับ ดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้ (planetary habitability) ซึ่งในข้อหลังนี้จะคำนึงถึงเงื่อนไขต่างๆ ของดาวเคราะห์ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน (carbon-based life) ขณะที่ เขตอาศัยได้ คำนึงถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับดาวฤกษ์ซึ่งส่งอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและเขตอาศัยได้
เคปเลอร์ (ยานอวกาศ)
นอวกาศเคปเลอร์ (Kepler) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศเปิดตัวโดย นาซ่า ในการค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกโคจรอยู่รอบๆ ดาวฤกษ์อื่น ๆ การตั้งชื่อยานอวกาศนำมาจากนักดาราศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 โยฮันเนส เคปเลอร์ ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและเคปเลอร์ (ยานอวกาศ)
เคปเลอร์-10บี
ปเลอร์-10บี (Kepler-10b) เป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกแรกที่ได้รับการยืนยันการค้นพบนอกระบบสุริยะ ค้นพบหลังจากหลายเดือนของการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างนั้นของนาซ่าที่กำกับภารกิจเคปเลอร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกข้ามในด้านหน้าของดาวฤกษ์พื้นที่ของตน ค้นพบดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกประกาศเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและเคปเลอร์-10บี
เคปเลอร์-69ซี
ปเลอร์-69ซี (ชื่อเดิม KOI-172.02, K00172.02) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบซูเปอร์เอิร์ธที่ได้รับการยืนยันไปประมาณ 70% มีขนาดใหญ่กว่าโลก โคจรรอบดาวฤกษ์ดาวแคระเหลือง เคปเลอร์-69 ตั้งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 2,700 ปีแสง ในกลุ่มดาวหงส์ ค้นพบโดยยานอวกาศเคปเลอร์ ของนาซา การค้นพบครั้งแรกของดาวเคราะห์ที่ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2013 ได้ยืนยันประกาศเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2013 เคปเลอร์-69ซี เป็นเรื่องน่าทึ่ง เพราะช่วงเวลาของการค้นพบ ผู้เป็นหนึ่งในที่สุดดาวเคราะห์คล้ายโลก.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและเคปเลอร์-69ซี
COROT
COROT (ย่อมาจาก COnvection ROtation and planetary Transits; หรือ "การพา การหมุน และการเคลื่อนผ่านของดาวเคราะห์") คือปฏิบัติการทางอวกาศ นำโดยองค์การอวกาศฝรั่งเศส (CNES; French Space Agency) ร่วมมือกับองค์การอวกาศยุโรปและองค์กรนานาชาติอื่น มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ การค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีคาบโคจรสั้น โดยเฉพาะดวงที่มีลักษณะเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลก และการตรวจวัดคาบการแกว่งตัวของดาวฤกษ์ (asteroseismology) ที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ COROT ถูกส่งออกสู่อวกาศเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม..
MOA-2007-BLG-192Lb
MOA-2007-BLG-192Lb บางครั้งจะเรียกสั้นๆว่า MOA-192 b เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 3,000 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ดาวดวงนี้ค้นพบการโคจรรอบดาวแคระน้ำตาล หรือมวลต่ำ MOA-2007-BLG-192L โดยมีมวลประมาณ 3.3 เท่าของโลก และเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์นอกระบบที่เล็กที่สุดเท่าที่ทราบมา มันถูกพบเมื่อเกิดจากไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง เหตุการณ์ในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.
ดู ดาวเคราะห์คล้ายโลกและMOA-2007-BLG-192Lb
55 ปู
55 ปู หรือ โร1 ปู (55 Cancri) เป็นระบบดาวคู่ที่อยู่ห่างจากโลกราว 41 ปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวปู ระบบดาวนี้ประกอบด้วยดาวแคระเหลือง 1 ดวง และดาวแคระแดงขนาดเล็กกว่าอีก 1 ดวง ทั้งสองดวง นี้อยู่ห่างกันมากกว่าระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์มากกว่า 1,000 เท่า นับถึง..
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดาวเคราะห์หิน