โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดัชชีชเลสวิจ

ดัชนี ดัชชีชเลสวิจ

ัชชีแห่งชเลสวิจ (Duchy of Schleswig) หรือ ดัชชีแห่งจัตแลนด์ใต้ (Sønderjylland, Hertugdømmet Slesvig) เป็นดัชชีที่ตั้งครอบคลุมเนื้อที่ราว 60 ถึง 70 กิโลเมตรทางตอนใต้ของพรมแดนระหว่างเยอรมนี และ เดนมาร์ก ซึ่งเป็นบริเวณที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า "Sleswick" (ซเลสวิค) ความสัมพันธ์ของบริเวณนี้อยู่ที่การขนส่งสินค้าระหว่างทะเลเหนือ และ ทะเลบอลติก ที่เชื่อมเส้นทางการค้าของรัสเซียกับเส้นทางการค้าตามลำแม่น้ำไรน์และฝั่งทะเลแอตแลนติก.

16 ความสัมพันธ์: ชาวจูตพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์กมหาสงครามเหนือรัฐร่วมประมุขรายชื่อสนธิสัญญาสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์สงครามชเลสวิจครั้งที่สองสงครามชเลสวิจครั้งที่หนึ่งสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียอังเงิลน์อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์กฮ็อลชไตน์จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซียประวัติศาสตร์เดนมาร์กโดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์คเดนมาร์ก–นอร์เวย์

ชาวจูต

มุทรจัตแลนด์ จูต (Jutes หรือ Iuti หรือ Iutae) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มชนเจอร์แมนิกที่นักบุญบีดกล่าวว่าเป็นหนึ่งในสามกลุ่มชนเจอร์แมนิกที่มีอำนาจมากที่สุดในขณะนั้น เชื่อกันว่าชาวจูตมาจากคาบสมุทรจัตแลนด์ (Iutum) ในเดนมาร์กปัจจุบัน, ชเลสวิกตอนใต้ (ตอนใต้ของจัตแลนด์) และบางส่วนของฝั่งทะเลอีสต์ฟริเซีย นักบุญบีดกล่าวว่าบ้านเกิดของชาวจูตอยู่ตรงกันข้ามกับชาวแองเกิลและไม่ไกลจากชาวแซกซันซึ่งก็หมายถึงทางตอนเหนือของคาบสมุทรจัตแลนด์ แทซิทัสกล่าวถึงชนที่เรียกว่า "ยูโดซีส" (Eudoses) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรจัตแลนด์ ซึ่งอาจจะเป็นชนกลุ่มเดียวกัน นอกจากนั้นก็ยังมีที่กล่าวว่าชาวจูตคือ "โอเทนาส" (Eotenas) ที่มาจากการขัดแย้งระหว่างฟริเซียนและชนเดนส์ที่บรรยายในโคลง เบวูล์ฟ (บรรทัดที่ 1068-1159) ผู้อื่นกล่าวว่าตีความหมายว่า "ēotenas" เป็น "jotuns" ที่แปลว่า "ยักษ์" หรือ "ศัตรู".

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและชาวจูต · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก

ระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก (ภาษาเดนมาร์ก: Frederik 7. Konge af Danmark, พระนามเดิม: เฟรเดอริก คาร์ล คริสเตียน) (6 ตุลาคม พ.ศ. 2351 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ตั้งแต..

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสงครามเหนือ

มหาสงครามเหนือ (Great Northern War; Северная война; Stora nordiska kriget) เป็นสงครามครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปีคริสต์ศักราชที่ 1700 ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 10 กันยายน ปีคริสต์ศักราช 1721 รวมระยะเวลาทั้งหมดเป็น 21 ปี นำโดยจักรวรรดิรัสเซียแห่งฝ่ายพันธมิตรเข้าปะทะกับจักรวรรดิสวีเดนในภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปเหนือ ก่อนจะนำมาด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตรและการก้าวขึ้นมามีอำนาจสูงสุดของรัสเซียเหนือคาบสมุทรบอลติก รวมถึงการเข้ามามีอิทธิพลในยุโรปของรัสเซียจวบจนปัจจุบัน ส่วนสวีเดนต้องตกอยู่ใต้ "ยุคแห่งเสรีภาพ" อันมีระบบรัฐสภาปกครองประเทศอันเนื่องมาจากเหตุสวรรคตของพระเจ้าชาลส์ที่ 12นำไปสู่ยุคไร้พระมหากษัตริย์ของสวีเดนถึง 54 ปี สงครามนี้นำด้วยกองทหารสองเหล่าทัพ โดยมีฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้เปิดฉากต่อสู้ก่อน นำโดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย พระเจ้าเฟรเดอริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ และพระเจ้าออกัสตัสที่ 2 แห่งแซกซ์-โปแลนด์-ลิทัวเนีย ซึ่งต่อมาได้ถอนกำลังออกในปี ค.ศ. 1700 และปี ค.ศ. 1706 ตามลำดับ แต่ในปี ค.ศ. 1709ก็ได้นำกองทัพเข้ามาสมทบต่อจนสิ้นสงคราม นอกจากนี้ยังมี พระเจ้าจอร์จที่ 1นำทัพจากฮาโนเวอร์เข้ามาร่วมสงครามในปี ค.ศ. 1714 และได้นำทัพจากบริเตนใหญ่เข้ามาสมทบภายหลังในปี ค.ศ. 1717 รวมทั้งพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งบรานเดนบูร์ก-ปรัสเซียที่นำกองทัพเข้ามาสมทบในปี ค.ศ. 1715 อีกด้วย ส่วนทางด้านฝ่ายสวีเดนนั้นนำด้วยพระเจ้าชาลส์ที่ 12 โดยมีกองทัพแห่งโฮลชไตน์-ก็อธธอร์ป รวมทั้งทัพโปแลนด์-ลิทัวเนียที่นำโดยกษัตริย์สตานิสลอว เลซซิงสกีในปี ค.ศ. 1704 ถึงปี ค.ศ. 1710 และกองทัพคอสแซคภายใต้การนำทัพของอีวาน มาเซปปา รองผู้บัญชาการทัพสูงสุดแห่งชนชาติยูเครน รวมถึงสุลต่านอาห์เมดที่นำทัพออตโตมันร่วมสงครามกับฝ่ายสวีเดนแล้วมุ่งหน้าปะทะกับกองทัพรัสเซียเป็นหลักอีกด้วย สงครามเปิดฉากด้วยการที่กองทัพพันธมิตรแห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ แซกโซนี โปแลนด์-ลิทัวเนีย และรัสเซียกรีฑาทัพเข้าโจมตีโฮลชไตน์-ก็อธธอร์ป ลิโวเนีย และอินเกรียอันเป็นดินแดนของจักรวรรดิสวีเดนซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 12ที่ในสมัยนั้นยังทรงพระเยาว์ จึงขาดความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างมาก ฝ่ายสวีเดนจึงได้แต่ตั้งหน้ารับการโจมตีของฝ่ายพันธมิตรอยู่ท่าเดียว จนกระทั่งยุทธการนั้นจบลงด้วยสนธิสัญญาสงบศึกแห่งทราเวนดอล นับตั้งแต่นั้นมหาสงครามเหนือก็ได้เริ่มขึ้น และกลายเป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์ยุโรปเลยทีเดียว หลังจากระยะสงครามที่ยืดเยื้อมาถึง 21 ปีแล้ว จักรวรรดิสวีเดนได้เริ่มทำสนธิสัญญาสตอกโฮล์มเพื่อสงบศึกกับฮาโนเวอร์และปรัสเซียในปี ค.ศ. 1719 ต่อมาในปี ค.ศ. 1720 ได้ทำสนธิสัญญาสงบศึกเฟรเดริกส์เบิร์กกับฝั่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ แต่ก็ยังยืนกรานที่จะเปิดสงครามกับรัสเซียต่อไป จนกระทั่งปี ค.ศ. 1721 สวีเดนแพ้สงครามในที่สุด จนสวีเดนต้องทำสนธิสัญญาสงบศึกนีสตาดกับรัสเซีย โดยสนธิสัญญาทั้งสามฉบับสวีเดนต้องเสียสินทรัพย์และดินแดนเป็นจำนวนไม่น้อยเป็นค่าปฏิกรรมสงครามเลยทีเดียว ท้ายที่สุดแล้วสวีเดนจึงต้องสูญเสียอำนาจในการปกครองดินแดนหลายๆ ส่วน นอกจากนั้นยังโดนลดอำนาจในคาบสมุทรบอลติกลงและยังต้องเปลี่ยนระบอบการปกครองเพราะสิ้นราชวงศ์ในสงครามอีกด้วย ส่วนรัสเซียนั้นหลังจบสงครามก็ได้เริ่มต้นยุคแห่งการแผ่ขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ก่อนที่จะหยุดลงในสองศตวรรษหลังจากนั้นเอง แต่อิทธิพลของรัสเซียที่มีต่อยุโรปและต่อประชาคมโลกยังคงมีอยู่ แม้จะน้อยลงบ้างก็ตาม.

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและมหาสงครามเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐร่วมประมุข

ียนฉลองรัฐร่วมประมุขระหว่างโปแลนด์และลิทัวเนียเป็นสหราชอาณาจักรโปแลนด์-ลิทัวเนีย รัฐร่วมประมุข หรือ การรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักร (personal union) เป็นการรวมรัฐอิสระมากกว่าสองรัฐขึ้นไปภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ในขณะที่พรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายของอาณาจักรในกลุ่มยังคงเป็นตัวของตัวเอง สหราชไม่ใช่ “สหพันธรัฐ” (federation) ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหลายรัฐที่รวมเข้ามาเป็นรัฐเดียวกันและมีพรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายส่วนใหญ่ร่วมกัน หรือ “สหราชวงศ์” (dynastic union) ซึ่งหมายถึงการรวมภายใต้ราชวงศ์เดียวกัน แต่กระนั้นความหมายระหว่าง “สหราช” และ “สหพันธรัฐ” ก็มีความเกี่ยวพันกัน และ “สหราช” มักจะวิวัฒนาการมาเป็น “สหพันธรัฐ” การรวมตัวกันเป็น “สหราช” อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุผลหลายประการตั้งแต่การเกิดขึ้นโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันเช่นการเสกสมรสระหว่าง “สมเด็จพระราชินีนาถ” (queen regnant) ของราชอาณาจักรหนึ่ง กับ พระมหากษัตริย์ของอีกราชอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งทำให้พระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ก็จะได้รับราชบังลังก์ของทั้งสองราชอาณาจักร ไปจนถึงการผนวกดินแดน การรวมตัวกันอาจจะเป็นตามบทบัญญัติทางกฎหมาย เช่นการผ่านพระราชบัญญัติในรัฐสภาระบุการรวมตัวกัน หรืออาจจะโดยพฤตินัยซึ่งง่ายต่อการแยกตัวกลับไปเป็นอาณาจักรเดิม เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์ของบรรดาอาณาจักรร่วมที่มีระบบการสืบสันตติวงศ์ที่ต่างกัน “สหราช” ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบราชาธิปไตยเท่านั้น และบางครั้งก็จะใช้คำว่า “สหราชาธิปไตย” (dual monarchy) ในการแสดงแสดงว่าเป็นการรวมอาณาจักรของสองราชบัลลังก์ รายการข้างล่างแสดงให้เห็นถึงรายระเอียดของการรวมเป็นสหราชอาณาจักรตลอดมาในประวัติศาสตร์ ยกเว้นแต่ในกรณีของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของเครือจักรภพบริติชเช่นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และแคนาดา ซึ่งไม่ใช่การรวมเป็นสหราชอาณาจักรของโลกยุคปัจจุบัน นอกจากนั้นคำว่า “การรวมสหอำนาจ” ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้โดยนาซีเยอรมนีในการรวมตำแหน่งระดับสูงในพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน เครื่องมือทางการเมืองเดียวกันนี้นำมาใช้โดยรัฐบาลอื่นๆ เช่นสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งคล้ายกันกับ “ผู้ได้รับการแต่งตั้ง” (persona designata) ที่เป็นระบบที่เจ้าหน้าที่ทางศาลสามารถแต่งตั้งให้ผู้ไม่มีหน้าที่ทางศาลมีความรับผิดชอบในหน้าที่กึ่งเกี่ยวกับระบบยุติธรรมภายใต้ระบบคอมมอนลอว.

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและรัฐร่วมประมุข · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์

มเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ (พระนามเดิม เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์กและไอซ์แลนด์ พระนามเต็ม คริสเตียน เฟรเดอริก คาร์ล จอร์จ วัลเดมาร์ แอกเซล; Christian Frederik Carl Georg Valdemar Axel, ต่อมาเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์) 3 สิงหาคม พ.ศ. 2415 - 21 กันยายน พ.ศ. 2500) พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก และ เจ้าหญิงหลุยส์แห่งสวีเดน ในปีพ.ศ. 2448 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์พระองค์แรกหลังการยุบสหภาพระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนโดยการสลายรัฐร่วมประมุขร่วมกับสวีเดน พระองค์เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์ชเลสวิก-ฮอลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์ก ในฐานะที่ทรงเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการเลือกตั้ง สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนได้ทรงชนะใจพสกนิกรด้วยความเคารพและความรักจากประชาชนของพระองค์ และทรงมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์รวมจิตใจชาตินอร์เวย์ในการทำการต่อต้านกองทัพนาซีที่ทำการรุกรานและต่อมายาวนานอีกห้าปีทรงต่อต้านการที่นาซียึดครองนอร์เวย์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในนอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงถือเป็นหนึ่งในชาวนอร์เวย์ที่มีความสำคัญสูงสุดในศตวรรษที่ 20 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยอมรับในความกล้าหาญของพระองค์ในระหว่างการรุกรานของเยอรมัน พระองค์ทรงขู่ว่าจะสละราชบัลลังก์ถ้ารัฐบาลร่วมมือกับผู้รุกรานชาวเยอรมัน และสำหรับความเป็นผู้นำของพระองค์ และยังทรงรักษาความเป็นสามัคคีของนอร์เวย์ได้ในระหว่างการยึดครองของเยอรมัน พระองค์เสด็จสวรรคตขณะมีพระชนมายุ 85 พรรษา ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 หลังจากทรงครองราชสมบัติมายาวนานเกือบ 52 ปี.

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง

งครามชเลสวิจครั้งที่สอง (2.; Deutsch-Dänischer Krieg) เป็นความขัดแย้งทางการทหารระหว่างเดนมาร์ก และ ปรัสเซีย เป็นผลพันธ์ของ ปัญหาชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์ โดยสงครามเริ่มขึ่นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1864, เมื่อ กองทัพปรัสเซียข้ามพรมแดนสู่ชเลสวิจ สงครามจบลงในวันที่ 30 ตุลาคม 1864 ด้วยความพ่ายแพ้ของเดนมาร์ก, โดยตาม สนธิสัญญาเวียนนา เดนมาร์กต้องคืนดัชชีชเลสวิก, โฮลชไตน์, และ Saxe-Lauenburg ให้กับ ปรัสเซีย และ ออสเตรี.

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและสงครามชเลสวิจครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามชเลสวิจครั้งที่หนึ่ง

งครามชเลสวิจครั้งที่หนึ่ง (Schleswig-Holsteinischer Krieg) หรือสงครามสามปี (Treårskrigen) เป็นสงครามแรกของกองทัพทางภาคใต้ และภาคเหนือของเยอรมนี เป็นการประกาศการควบคุมดัชชนีของรัฐชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์ สงครามซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2391 ถึง พ.ศ. 2394 ยังเกี่ยวข้องกับกองกำลังจากราชอาณาจักรปรัสเซีย และสวีเดน ท้ายที่สุดแล้วภายใต้แรงกดดันในราชอาณาจักรปรัสเซียจนต้องถอนกำลังออกไป เป็นผลให้สงครามสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของเดนมาร์ก ต่อมาสงครามชเลสวิจครั้งที่สองก็เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2407.

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและสงครามชเลสวิจครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย

งครามออสเตรีย-ปรัสเซีย (Austro-Prussian War) หรือ สงครามเจ็ดสัปดาห์ (Seven Weeks' War) หรือ สงครามรวมชาติ (Unification War) หรือ สงครามพี่น้อง (Brothers War) เป็นสงครามในปี..

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

อังเงิลน์

แผนที่ที่แสดงทั้งคาบสมุทรอังเงิลน์ (ทางตะวันออกของเฟลนสบูร์กและชเลสวิก) และคาบสมุทรชวันเซิน (ทางใต้ของทางน้ำเข้าชไล) อังเงิลน์ (Angeln) หรือ แองเกลีย (Anglia) คือคาบสมุทรเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่ยื่นออกไปในอ่าวคีล ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภูมิภาคชเลสวิก ทางตอนเหนือของรัฐชเลสวิก-โฮลชไตน์ในประเทศเยอรมนี คาบสมุทรอังเงิลน์แยกจากคาบสมุทรชวันเซินที่อยู่ใกล้เคียงกันโดยปากน้ำชไล และจากเกาะอัลส์ของเดนมาร์กโดยเฟลนบูร์เกอร์ฟยอร์ด (Flensburger Förde) ไม่เป็นที่ทราบว่าอาณาบริเวณในประวัติศาสตร์ของอังเงิลน์จะตรงตามอาณาเขตในปัจจุบันหรือไม่ อาจจะเป็นอาณาเขตที่กว้างใหญ่กว่า แต่ข้อมูลที่ตรงกันคือเนื้อที่อย่างน้อยครอบคลุมบริเวณอังเงิลน์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและอังเงิลน์ · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก

้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก ซึ่งภายหลังคือ สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร (อเล็กซานดรา แคโรไลนา มารี ชาร์ล็อต หลุยส์ จูเลีย; 1 ธันวาคม พ.ศ. 2387 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอินเดียในช่วงระหว่างรัชกาลของพระสวามี ก่อนหน้านี้ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ระหว่างปี พ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2444 (ยาวนานกว่าผู้ใดที่เคยดำรงพระอิสริยยศนี้) หลังการเสด็จสวรรคตของพระสวามีในปี พ.ศ. 2453 ตราบจนถึงการเสด็จสวรรคตของพระองค์เอง ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมราชชนนี ที่ทรงเป็นทั้งพระราชินีและพระราชชนนีของกษัตริย์ที่ทรงครองราชย์อยู่ คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร แต่ไม่โปรดใช้พระอิสริยยศเช่นนี้ จึงได้มีพระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา" (Her Majesty Queen Alexandra) ตลอดการเป็นหม้ายของพระอง.

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ฮ็อลชไตน์

มุทรจัตแลนด์และทางตอนเหนือสุดของเยอรมนีแสดงบริเวณชเลสวิจและโฮลชไตน์ในรัฐชเลสวิจ-โฮลชไตน์ของเยอรมนีปัจจุบัน ฮ็อลชไตน์ (Holstein) เป็นแคว้นระหว่างแม่น้ำเอลเบและแม่น้ำไอเดอร์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐชเลสวิจ-โฮลชไตน์ทางตอนเหนือสุดของเยอรมนี เดิมฮ็อลชไตน์เป็น “เคาน์ตีฮ็อลชไตน์” (Grafschaft Holstein) และต่อมาเป็น “ดัชชีฮ็อลชไตน์” (Herzogtum Holstein) และเป็นดินแดนบริวารทางตอนเหนือสุดของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ประวัติของฮ็อลชไตน์มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์ของดัชชีชเลสวิจของราชอาณาจักรเดนมาร์ก ฮ็อลชไตน์มีเมืองหลวงอยู่ที่คีล “ฮ็อลชไตน์” มาจากคำว่า “Holcetae” ซึ่งเป็นภาษาชาวแซกซันที่อาดัมแห่งเบรเมินกล่าวถึง ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำเอลเบ ทางตะวันตกของฮัมบูร์ก ที่แปลว่า “คนป่า”.

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและฮ็อลชไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย

ักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย (Catherine II of Russia) ซึ่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "แคทเธอรีนมหาราชินี" (หรือ Екатерина II Великая; Katharina die Große; 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2272 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2339) พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินีนาถที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและครองราชย์ยาวนานที่สุดของรัสเซีย ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2305 หลังจากการรัฐประหารและการปลงพระชนม์จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 พระราชสวามีของพระองค์เอง (ไม่นานหลังจากการสิ้นสุดของสงครามเจ็ดปี) จนกระทั่งเสด็จสวรรคต การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น ผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดที่ทรงเรืองปัญญา (enlightened despot) ทั้งยังทรงฟื้นฟูจักรวรรดิรัสเซียให้แข็งแกร่งและมีอาณาเขตกว้างกว่าเดิมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จนรัสเซียกลายมาเป็นชาติมหาอำนาจที่สำคัญมากที่สุดชาติหนึ่งในยุโรป ในการเข้าถึงขุมอำนาจและปกครองจักรวรรดิของพระองค์ พระนางแคทเธอรีนมักจะทรงพึ่งพาอำนาจจากเหล่าขุนนางที่ทรงโปรดปราน และผู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเช่นกริกอรี ออโลฟ และกริกอรี โปเตมคิน หรือเหล่านายพลผู้มีอำนาจบารมีสูงเช่น ปิออตร์ รูเมียนเซฟ และอเล็กซานเดอร์ ซูโวโลฟ หรือแม้แต่พลเรือเอกเช่น ฟิโอดอร์ อูชาโคฟ พระนางปกครองรัสเซียในช่วงเวลาที่จักรวรรดิได้ทำการแผ่ขยายอาณาเขตของตนโดยทั้งการศึกสงครามและการทูต ทางทิศใต้, อาณาจักรข่านแห่งไครเมียร์ถูกบดขยี้และตามมาด้วยชัยชนะเหนือจักรวรรดิออตโตมันในสงครามรัสเซีย-ตุรกี ต่อมารัสเซียได้ทำการเข้ายึดครองดินแดนอันว่างเปล่าแห่งโนโวรอสซิยาตลอดจนชายฝั่งทะเลดำและทะเลอะซอฟ ทางทิศตะวันตก, เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียซึ่งถูกปกครองโดยอดีตคนรักของพระนาง พระเจ้าสตานิส์ลอว์ ออกุส โปเนียโทว์สกี ในที่สุดก็ถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยรัสเซียได้ส่วนแบ่งของดินแดนมากที่สุด ทางทิศตะวันออก, รัสเซียเริ่มเข้ายึดครองอะแลสกาในรูปแบบของอาณานิคมจนนำไปสู่การก่อตั้งอเมริกาของรัสเซีย พระองค์ทรงทำการปฏิรูประบบราชการภายในของเขตกูเบอร์นิยา รวมไปถึงมีรับสั่งให้สถาปนาเมืองและหมู่บ้านขึ้นมากมาย และในฐานะที่ทรงเป็นผู้นิยมชมชอบพระราชกรณียกิจของจักรพรรดิปีเตอร์มหาราช พระองค์จึงได้ดำเนินพระราโชบายตามแนวทางของจักรพรรดิปีเตอร์มหาราชโดยการปฏิรูปรัสเซียให้เข้าสู่ความทันสมัยตามแบบฉบับชาติยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตามการเข้ารับราชการในกองทัพและระบบเศรษฐกิจของประเทศยังคงต้องพึ่งพาระบบทาสอยู่ต่อไป ในขณะที่ความต้องการใช้แรงงานของประเทศและของเหล่าผู้ครอบครองที่ดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้แรงงานทาสดำเนินไปถึงขั้นกดขี่แรงงานทาส และระบบทาสดังกล่าวก็เป็นหนึ่งในเหตุผลประการสำคัญของการก่อกบฏหลายต่อหลายครั้ง ดังเช่นกบฏปูกาเชฟที่มีกองทหารม้าและชาวนาจำนวนมากมายเข้าร่วมการกบฏ ตลอดระยะเวลาในการครองราชย์หรือ สมัยแคทเธอรีน ถูกพิจารณาว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิรัสเซียและของระบอบศักดินาในรัสเซีย แถลงการณ์ว่าด้วยเสรีภาพของขุนนางซึ่งเป็นที่โต้แย้งกันในรัชสมัยของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 ก็ได้รับการยินยอมในช่วงรัชสมัยของพระนางแคทเธอรีน โดยแถลงการณ์ฉบับนี้ได้ให้อิสรภาพแก่บรรดาขุนนางไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของกองทัพหรือการรับราชการสนองคุณประเทศ ให้อิสรภาพในการครอบครองที่อยู่อาศัย เช่น แมนชันรูปแบบคลาสสิก โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมดังกล่าวเป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนโดยพระนางเจ้าแคทเธอรีนอย่างมาก ก่อให้เกิดตึกรามบ้านช่องอันหรูหราขึ้นจำนวนมาก ซึ่งตลอดช่วงการครองราชย์ของพระองค์ได้ทรงทำให้โฉมหน้าของประเทศเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จึงกล่าวได้ว่ารัชสมัยของพระนางคือยุคเรืองปัญญาของรัสเซียก็ว่าได้.

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและจักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก

ตราแผ่นดินเดนมาร์ก ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก (History of Denmark) ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรเดนมาร์กมีจุดเริ่มต้นเมื่อย้อนกลับไป 12,000 ปีก่อน ในช่วงการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งช่วงสุดท้าย ด้วยจากหลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ เรื่องราวของชาวเดนส์ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารครั้งแรกในช่วงปี..

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและประวัติศาสตร์เดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

โดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค

รเธียแห่งบรันเดินบวร์ค (ค.ศ. 1430/1431 - 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1495) ทรงเป็นพระมเหสีในคริสโตเฟอร์แห่งบาวาเรียและพระเจ้าคริสเตียนที่ 1 แห่งเดนมาร์ก พระนางทรงดำรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก (ค.ศ. 1445 - 1448 และ ค.ศ. 1449 - 1481), สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ (ค.ศ. 1445 - 1448 และ ค.ศ. 1450 - 1481) และสมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน (ค.ศ. 1447 - 1448 และค.ศ. 1457 - 1464) ถึงสองครั้ง พระนางยังทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเดนมาร์กในช่วงที่พระสวามีเสด็จไปนอกราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและโดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

เดนมาร์ก–นอร์เวย์

นมาร์ก-นอร์เวย์ (Dänemark-Norwegen, Danmark-Norge, Denmark-Norway) เป็นรัฐร่วมประมุขที่เกิดจากการรวมตัวระหว่างประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์ และรวมทั้งดินแดนอิสระไอซ์แลนด์ของนอร์เวย์ หลังจากการล่มสลายของสหภาพคาลมาร์แล้ว สองราชอาณาจักรก็ทำการตกลงรวมกันเป็นราชอาณาจักรร่วมประมุขใหม่ในปี ค.ศ. 1536 และรุ่งเรืองมาจนถึง ค.ศ. 1814 บางครั้งคำว่า "ราชอาณาจักรเดนมาร์ก" ก็จะหมายถึงทั้งสองอาณาจักรระหว่างปี ค.ศ. 1536 จนถึง ค.ศ. 1814 เพราะอำนาจทางการเมืองและทางการเศรษฐกิจมีศูนย์กลางอยู่ที่โคเปนเฮเกนในเดนมาร์ก คำนี้ครอบคลุมส่วนที่เป็น "ราชอาณาจักร" โอลเดนบูร์กของปี..

ใหม่!!: ดัชชีชเลสวิจและเดนมาร์ก–นอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Duchy of SchleswigDuke of SchleswigSchleswigอาณาจักรดยุคแห่งชเลสวิกชเลสวิกดยุคแห่งชเลสวิกดัชชีชเลสวิก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »