โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดยุก

ดัชนี ดยุก

ก (duke) หรือ ดุ๊ก หรือ แฮร์ซอก (Herzog) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางในทวีปยุโรป เป็นตำแหน่งทางปกครองที่เป็นรองจากกษัตริย์ซึ่งปกครองดินแดนที่เรียกว่า "ดัชชี" ส่วนตำแหน่งดยุกในหมู่เกาะอังกฤษเป็นเพียงตำแหน่งที่ตั้งไว้เป็นเกียรติยศเท่านั้น ไม่มีอำนาจในทางปกครองเหมือนในประเทศยุโรปอื่นๆ ปัจจุบันตำแหน่งดยุก(ที่ไม่ใช่ราชวงศ์)ปรากฏอยู่อย่างเป็นทางการเฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น ภริยาของดยุกมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส (Duchess) ตามสิทธิของคู่สมรส อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดยุกมีแต่บุตรสาว บุตรสาวจะได้ขึ้นสืบตำแหน่งแทนเมื่อดยุกถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งบุตรสาวที่ได้สืบตำแหน่งดยุกนี้จะมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส ด้วยเช่นกันแต่เป็นดัชเชสจากการสืบตระกูล ในกรณีนี้ สิทธิของคู่สมรสจะไม่ส่งผ่านไปยังสามี ยกตัวอย่าง ดยุกที่ 1 แห่งมาร์ลบะระ มีเพียงธิดาเท่านั้น เมื่อเขาถึงแก่อสัญกรรม ธิดาของเขาจึงขึ้นสืบตำแหน่งต่อเป็น ดัชเชสที่ 2 แห่งมาร์ลบะระ อย่างไรก็ตาม สามีของนางจะไม่มีสิทธิหรือเกียรติยศใดๆในมาร์ลบะระ เมื่อนางถึงแก่อสัญกรรม บุตรชายของนางจึงสืบตำแหน่งต่อเป็นดยุกที่ 3 แห่งมาร์ลบะระ คำว่าดยุกมาจากภาษาละตินว่า dux ซึ่งมีความหมายว่า 'ผู้นำ' คำนี้ถูกใช้ในยุคสาธารณรัฐโรมันเพื่อสื่อถึงผู้นำทางทหารที่ไม่มียศอย่างเป็นทางการ และต่อมาก็ใช้สื่อถึงผู้บัญชาการทหารประจำมณฑล.

78 ความสัมพันธ์: บรรดาศักดิ์อังกฤษบอร์โซ เดสเตบาร์บาทอสชนชั้นเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์คฟร็องซัว เดอ ซาลฟอลีแบร์แฌร์พระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซียพระเจ้าอัลเบรชท์ที่ 2 แห่งเยอรมนีพระเจ้าคอนราดที่ 1 แห่งเยอรมนีพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษกลุ่มดัชชีเออร์นิสทีนฐานันดรศักดิ์ยุโรปมาร์ควิสมูรมูรมูแลงรูจ!รัฐบาวาเรียรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ราชรัฐราชวงศ์ออร์เลอ็องราชวงศ์คอนราดราชวงศ์เวททินรายชื่อสนธิสัญญารายพระนามผู้ปกครองบาวาเรียรายพระนามผู้ปกครองลอแรนรายพระนามเจ้าผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์กลาดอนนาแอโมบีเลลำดับโปเจียมแห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงออทโท ฟอน บิสมาร์คอาร์ชดยุกอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันอาณาจักรอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก จักรพรรดินีแห่งบราซิลฌูล มาซาแร็งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ขุนนางอังกฤษดยุกแห่งยอร์กดยุกแห่งคอร์นวอลล์ดยุกแห่งนอร์ฟอล์กดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ดยุกแห่งแคลเรนซ์ดยุกแห่งเอดินบะระดยุกแห่งเคนต์ดัชชีดัชชีชเลสวิจดัชชีพอเมอเรเนียดัชชียือลิชดัชชีลิมบูร์กดัชชีลุกกา...ดัชชีเบอร์กันดีคฤหาสน์ชนบทคะโซะกุคาร์ล ฟรีดริช เกาส์ตระกูลพอเมอเรเนียตระกูลกอนซากาซัคเซิน-อัลเทนบูร์กแบร์ก (รัฐ)แพนโดร่า ฮาร์ทแกรนด์ดยุกแจ็กผู้ฆ่ายักษ์ไรชส์ทาค (รัฐสภาเยอรมัน)ไอแซก ซิงเกอร์เบราน์ชไวค์เบริธเกรโมรีเวพาร์เสรีนครจักรวรรดิเอลิกอสเอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์นเอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลีเอิร์ลเอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำเจ้าชายคาร์ล ฟิลิป ดยุกแห่งแวร์มลันด์เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเดนมาร์กเครื่องยอด (มุทราศาสตร์)เคานต์ ขยายดัชนี (28 มากกว่า) »

บรรดาศักดิ์อังกฤษ

รรดาศักดิ์อังกฤษ (Peerage of England) ประกอบด้วยบรรดาศักดิ์ที่พระราชทานให้ในสมัยของราชอาณาจักรอังกฤษช่วงก่อนสมัยพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งในปีนั้นเองบรรดาศักดิ์อังกฤษ และบรรดาศักดิ์สก็อตแลนด์ ได้ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกันคือบรรดาศักดิ์ของสหราชอาณาจักร บรรดาศักดิ์ของขุนนางอังกฤษประกอบไปด้วยบรรดาศักดิ์เรียงจากสูงไปต่ำดังนี้.

ใหม่!!: ดยุกและบรรดาศักดิ์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

บอร์โซ เดสเต

อร์โซ เดสเต (Borso d'Este) (ค.ศ. 1413 - 20 สิงหาคม ค.ศ. 1471) บอร์โซ เดสเตเป็นดยุกแห่งเฟอร์ราราของตระกูลเอสเตคนแรกที่ปกครองเฟอร์ราราตั้งแต่ปี ค.ศ. 1450 จนกระทั่งเสียชีวิต บอร์โซเป็นบุตรนอกสมรสนิคโคโลที่ 3 เดสเตมาร์ควิสแห่งเฟอร์รารา, โมเดนา และ เรจจิโอ และภรรยาน้อยสเตลลา เด โทโลเมอิ บอร์โซเป็นมาร์ควิสต่อจากเลโอเนลโล เดสเตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: ดยุกและบอร์โซ เดสเต · ดูเพิ่มเติม »

บาร์บาทอส

บาร์บาทอสตามที่ถูกอธิบายไว้ในหนังสือ ''นิรยภูมินุกรม'' ฉบับที่ 6 บาร์บาทอส (Barbatos) เป็นเอิร์ลและดยุกแห่งขุมนรก เขาปกครองนรกแดนใต้และมีปิศาจในอาณัติ 30 กอง เขาสามารถพูดคุยกับสัตว์ สามารถบอกอนาคต ทำให้สหายและผู้ปกครองคืนดีกัน และสามารถนำพาผู้คนให้พบสมบัติที่ถูกพรางไว้ด้วยอาคม เขามีราชาอยู่ 4 ตนเป็นสหายซึ่งช่วยบังคับบัญชากองปิศาจของเขา ชื่อของเขามาจากภาษาละตินว่า "บาร์บาตุส" (Barbatus) ซึ่งมีความหมายว่า "ปราชญ์ผู้เฒ่าเครายาวแห่งขุมนรก" บาร์บาทอสเป็นปิศาจตนที่ 8 ตามที่ระบุไว้ในหนังสือ กุญแจย่อยของโซโลมอน แต่ถูกจัดเป็นปีศาจตนที่ 6 ในหนังสือฐานานุกรมปิศาจ หมวดหมู่:ปิศาจ.

ใหม่!!: ดยุกและบาร์บาทอส · ดูเพิ่มเติม »

ชนชั้นเจ้า

ักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เจ้า เป็นชนชั้นที่สูงที่สุดในชนชั้นทางสังคม จัดอยู่ในชนชั้นปกครอง ประกอบด้วยญาติวงศ์ของเจ้าแผ่นดิน ซึ่งอาจปกครองแคว้น, อาณาจักร, หรือจักรวรรดิ เจ้าอาจมีฐานันดรเป็น จักรพรรดิ, จักรพรรดินี, พระเจ้า, พระนางเจ้า, เจ้าชาย หรือ เจ้าหญิง ในบางจักรวรรดิเช่นออสเตรียและรัสเซียอาจมีฐานันดรนำหน้าเป็น อาร์ชดยุก หรือ อาร์ชดัชเชส โดยไม่ถือว่าเป็นขุนนาง บุคคลที่เกิดมาเป็นเจ้ามักคงสถานะความเป็นเจ้าไปจนสิ้นชีพ สถานะเจ้าจะส่งต่อไปยังทายาทผ่านทางบิดาเป็นหลัก สามัญชนอาจขึ้นเป็นเจ้าได้ผ่านการอภิเษกสมรส เจ้าอาจตำรงตำแหน่งเป็นขุนนางด้วย อาทิเจ้าที่มีตำแหน่งเป็นดยุกต่างๆ ในประวัติศาสตร์แม้ว่าชนชั้นนี้จะมีอำนาจมากที่สุดแต่ก็จำเป็นต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากชนชั้นขุนนางอย่างมาก ชนชั้นเจ้ามอบสิทธิตลอดจนรับประกันสิทธิต่างๆแก่ขุนนางเพื่อแลกกับความจงรักภักดี จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 ระบอบเจ้าในหลายๆประเทศของยุโรปเริ่มอ่อนแอจากการเผชิญกับกระแสสังคมนิยมและความทุกข์ยากจากภัยสงคราม ในขณะที่ระบอบเจ้าในเอเชียและแอฟริกาก็เผชิญกับภัยลัทธิล่าอาณานิคม ทั้งสองสาเหตุนี้เป็นเหตุให้ราชวงศ์มากกว่าร้อยแห่งถูกล้มล้างในช่วงศตวรรษที่ 20 ในยุคสมัยใหม่ บางประเทศยังคงไว้ซึ่งราชวงศ์แต่ไม่ให้อำนาจบริหาร ในปี 2013 ทั้งโลกมีราชวงศ์ที่นั่งบัลลังก์อยู่ทั้งสิ้น 26 ราชวงศ์ซึ่งปกครองอยู่ใน 43 ประเทศ ในจำนวนนี้เป็น 7 ประเทศที่ยังคงปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิร.

ใหม่!!: ดยุกและชนชั้นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค

ฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค (Friedrich Wilhelm; Frederick William I, Elector of Brandenburg) (16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1620 - 29 เมษายน ค.ศ. 1688) ฟรีดริช วิลเฮล์มเป็นเจ้าชายผู้คัดเลือกของบรันเดินบวร์ค และดยุกแห่งปรัสเซียตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ดยุกและฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว เดอ ซาล

นักบุญฟร็องซัว เดอ ซาล (Saint François de Sales; 21 สิงหาคม ค.ศ. 1567 – 28 ธันวาคม ค.ศ. 1622) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งเจนีวา ผลงานที่สำคัญของท่านคือการดึงชาวเมืองชาเบลส์ซึ่งไปนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ลัทธิคาลวินให้หันกลับมานับถือนิกายโรมันคาทอลิกได้สำเร็จ นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างสรรค์วรรณกรรมไว้มากมายซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความศรัทธาในคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก จนต่อมาท่านได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร และเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ และนักเขียน.

ใหม่!!: ดยุกและฟร็องซัว เดอ ซาล · ดูเพิ่มเติม »

ฟอลีแบร์แฌร์

ษณาการแสดงของฟอลีแบร์แฌร์ในปี 1893 ฟอลีแบร์แฌร์ (Folies Bergère) เป็นไนต์คลับตั้งอยู่ที่สี่แยกถนนเทรวีซ (Trévise) กับถนนรีเช (Richer) เขตที่ 9 ในกรุงปารีส มีชื่อเสียงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 ถึง 1920 ในด้านการเป็นคู่แข่งของคลับมูแลงรูจ ในแสดงระบำแคนแคน ดนตรีและกายกรรม ฟอลีแบร์แฌร์เปิดดำเนินการตั้งแต่ ค.ศ. 1869 ใช้ชื่อว่า Folies Trévise ตามชื่อถนนที่ตั้งอยู่ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Folies Bergère ในปี..

ใหม่!!: ดยุกและฟอลีแบร์แฌร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย (Friedrich I; Frederick I of Prussia; 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1657 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1713) หรือ ฟรีดริชที่ 3 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก แห่งราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกของรัฐมาร์เกรฟบรันเดนบูร์กระหว่าง ค.ศ. 1688 จนถึง ค.ศ. 1713 และดยุกแห่งดัชชีปรัสเซียโดยการเป็นรัฐร่วมประมุข ตำแหน่งหลังได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นราชอาณาจักรโดยฟรีดริชเป็นปฐมกษัตริย์ของราชอาณาจักรปรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1701 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1713 สมเด็จพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 เป็นพระโอรสองค์ที่สามของฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก กับพระชายาองค์แรกหลุยส์ เฮนเรียตแห่งออเรนจ์-นาซอ พระธิดาองค์โตของเฟรเดอริค เฮนรี เจ้าชายแห่งออเรนจ์ และอมาเลียแห่งโซล์มส์-บราวน์เฟลส์ พระญาติสายพระมารดาคือสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ เมื่อฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 สวรรคตเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1688 ก็ทรงสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระบิดาเป็น ฟรีดริชที่ 3 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบูร์ก.

ใหม่!!: ดยุกและพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเบรชท์ที่ 2 แห่งเยอรมนี

ระเจ้าอัลแบรชท์ที่ 2 แห่งฮับส์บูร์ก''' ดยุกอัลแบรชท์ที่ 5 แห่งออสเตรีย (Albrecht V von Habsburg Albert V, Duke of Austria. -10 สิงหาคม พ.ศ. 1940 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 1982) กษัตริย์แห่งโรมัน (ผู้ครองเยอรมนีภายใต้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) จากปี พ.ศ. 1981 จนสิ้นพระชนม์ในปีถัดมา ทรงเป็นกษัตริย์แห่งโบฮีเมีย ฮังการี และเยอรมนี (ในพระนามอัลแบรชท์ที่ 2).

ใหม่!!: ดยุกและพระเจ้าอัลเบรชท์ที่ 2 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคอนราดที่ 1 แห่งเยอรมนี

ระเจ้าคอนราดที่ 1 (Konrad I) หรือ คอนราดผู้เยาว์ เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกผู้ครองราชย์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ดยุกและพระเจ้าคอนราดที่ 1 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ (Edward III of England; Édouard III d'Angleterre; 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1312 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1377) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1327 ถึงปี ค.ศ. 1377 พระองค์นับเป็นกษัตริย์อังกฤษผู้ประสบความสำเร็จที่สุดพระองค์หนึ่งในยุคกลาง โดยทรงฟื้นฟูความมั่นคงของราชบัลลังก์ หลังจากที่เสื่อมโทรมลงไปมากในรัชสมัยของพระราชบิดา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 และทรงเป็นผู้ที่ทำให้ราชอาณาจักรอังกฤษเป็นรัฐที่มีอำนาจทางทหารมากที่สุดในยุโรป และเป็นรัชสมัยที่มีการวิวัฒนาการทางการปกครองทางนิติบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิวัฒนาการของระบบรัฐสภา แต่ในสมัยเดียวกันนี้พระองค์ก็ทรงต้องเผชิญกับความหายนะจากกาฬโรคระบาดในยุโรป พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงครองราชย์เป็นเวลานานถึง 50 ปีซึ่งไม่มีพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดที่ครองราชย์นานเช่นนั้นตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 และต่อจากนั้นก็ไม่มีพระองค์ใดจนมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในฐานะกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้เพียง 14 พรรษา หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 พระราชบิดา ทรงถูกถอดจากการเป็นกษัตริย์ เมื่อพระชนมายุได้ 17 พรรษา พระองค์ก็ทรงเป็นผู้นำในรัฐประหารโค่นล้มโรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลแห่งมาร์ชที่ 1 ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงเริ่มครองราชย์ด้วยพระองค์เอง หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ก็ทรงประกาศอ้างสิทธิ์ของพระองค์ว่าเป็นผู้สืบทอดอันชอบธรรมต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: ดยุกและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดัชชีเออร์นิสทีน

ตราอาร์มของกลุ่มดัชชีซัคเซินเป็นเครื่องหมายเขตแดน กลุ่มดัชชีซัคเซิน หรือ กลุ่มดัชชีเออร์นิสทีน (Saxon duchies หรือ Ernestine duchies หรือ Albertine appanage of Weissenfels, Merseburg and Zeitz) กลุ่มดัชชีซัคเซินคือ 'กลุ่มดัชชี' ที่ตั้งอยู่ติดกันกับกับดัชชีซัคเซินอื่นๆ ที่เป็นอาณาจักรขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในบริเวณทือริงเงินในประเทศเยอรมนีปัจจุบันที่ปกครองโดยดยุกของสายเออร์นิสทีนของตระกูลเวททิน.

ใหม่!!: ดยุกและกลุ่มดัชชีเออร์นิสทีน · ดูเพิ่มเติม »

ฐานันดรศักดิ์ยุโรป

รรดาศักดิ์ยุโรป หมายถึงระบบชั้นและชั้นยศของขุนนางในทวีปยุโรป ปัจจุบันยังปรากฏมากอยู่ในสหราชอาณาจักรและยังปรากฏในประเทศอื่นๆ ที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิบไตยด้วย เช่นเดนมาร์ก และ สวีเดน เป็นต้น ระบบขุนนางในยุโรปนี้เป็นระบบขุนนางสืบตระกูล ทายาทที่อาวุโสที่สุดจะได้ขึ้นสืบบรรดาศักดิ์ มีสิทธิและเกียรติฐานะเทียบเท่ากับเจ้าบรรดาศักดิ์เดิม ซึ่งแตกต่างกับระบบขุนนางในประเทศในเอเชีย ที่บรรดาศักดิ์ขุนนางจะเป็นสิทธิเฉพาะบุคคลเท่านั้น ไม่มีการสืบทอดไปยังรุ่นลูกหลาน.

ใหม่!!: ดยุกและฐานันดรศักดิ์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ควิส

มาร์ควิส (marquess) หรือ มาร์กี (marquis) เป็นบรรดาศักดิ์สืบตระกูลแบบหนึ่งของยุโรป ซึ่งมักสืบทอดให้กับประเทศในอาณานิคมด้วย บรรดาศักดิ์นี้ยังใช้แปลเพื่อเทียบเคียงกับบรรดาศักดิ์ในประเทศในเอเชีย อาทิ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ในหมู่เกาะอังกฤษ มาร์ควิสมีฐานะสูงกว่า เคานต์หรือเอิร์ล แต่ต่ำกว่าดยุก มาร์ควิสเป็นหนึ่งในบรรดาศักดิ์ที่เริ่มหายไปในปัจจุบัน โดยความแตกต่างระหว่างบรรดาศักดิ์เคานต์กับมาร์ควิสอยู่ที่อาณาเขตที่ปกครอง ซึ่งเรียกว่า มาร์ก หรือ มาช อันอยู่นอกของอาณาบริเวณปกครองของเคานต์ที่เรียกว่า เคาน์ตี ทั้งนี้ เนื่องจากมาร์ควิสได้รับความไว้วางใจทางการทหารให้รักษาขอบราชอาณาจักรซึ่งมักจะอยู่ติดกับอาณาจักรเพื่อนบ้านที่ไม่เป็นมิตร มาร์ควิสจึงจัดได้ว่าเป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางที่มีความสำคัญกว่าเคานต์เสมอ ยกเว้นกับกรณีดยุกซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์ที่สงวนไว้สำหรับสมาชิกราชวงศ์หรือผู้ที่คู่ควรเท่านั้น ภริยาของมาร์ควิส หรือสุภาพสตรีที่มีบรรดาศักดิ์เป็นมาร์ควิส จะเรียกว่า มาร์เชอนิส (marchioness) ในหมู่เกาะอังกฤษ หรือ มาร์กีซ (marquise) ในประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ในเยอรมัน มาร์เกรฟเป็นตำแหน่งของผู้ปกครองอาณาจักร รวมถึงมาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก มาร์เกรฟแห่งบาเดิน และมาร์เกรฟแห่งเบรุธ และไม่สามารถเทียบเคียงได้กับบรรดาศักดิ์มาร์ควิสในประเทศแถบยุโรปตะวันตก และยุโรปใต้อื่น.

ใหม่!!: ดยุกและมาร์ควิส · ดูเพิ่มเติม »

มูรมูร

ในปิศาจวิทยา มูรมูร (Murmur) เป็นดยุกหรือเอิร์ลแห่งนรกผู้มีอสูรใต้บังคับบัญชา 30 กองและเป็นปิศาจตนที่ 54 ในบท อาร์สโกเอเทีย จากหนังสือกุญแจย่อยของโซโลมอน ชื่ออื่นๆของมูรมูรก็คือ มูรมุส (Murmus) และ มูรมุกซ์ (Murmux) มูรมูรจะสอนปรัชญาและสามารถเรียกวิญญาณของคนที่ตายไปแล้วให้ปรากฏต่อผู้อัญเชิญเพื่อถามคำถามต่างๆได้ตามต้องการ มูรมูรจะปรากฏตัวเป็นทหารผู้มีกริฟฟอนหรือแร้งเป็นพาหนะ ก่อนมูรมูรปรากฏตัวนั้นจะมีทูตเป่าแตรทรัมเป็ตนำมาด้วยสองตน ชื่อมูรมูรนั้นมาจากภาษาละติน หมายถึงเสียงกระซิบ เสียงพึมพำ หรือ เสียงแตร.

ใหม่!!: ดยุกและมูรมูร · ดูเพิ่มเติม »

มูแลงรูจ!

มูแลงรูจ! (Moulin Rouge!) เป็นภาพยนตร์เพลงเรื่องที่สามในภาพยนตร์ชุดไตรภาค "The Red Curtain Trilogy" ของบาซ เลอห์มานน์ ออกฉายในปี..

ใหม่!!: ดยุกและมูแลงรูจ! · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาวาเรีย

ตการปกครองในรัฐบาวาเรีย บาวาเรีย (Bavaria) หรือ ไบเอิร์น (Bayern) เป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 12.5 ล้านคน มีพื้นที่ประมาณ 70,548 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือเมืองมิวนิก เชื้อสายประชากรเป็นชาวบาวาเรีย 6.4 ล้านคน, ฟรังโคเนีย 4.1 ล้านคน, และสวาเบีย 1.8 ล้านคน รัฐบาวาเรียเป็นหนึ่งในรัฐที่เก่าแก่ที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป ก่อตั้งขึ้นเป็นดัชชีในกลางคริสศตวรรษที่ 17 ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิสรรเจ้า (Prince-elector) แต่งตั้งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วง ค.ศ. 1806 - ค.ศ. 1918 บาวาเรียมีสถานะเป็นราชอาณาจักรบาวาเรียต่อจากนั้นมากลายเป็นรัฐอิสระ (สาธารณรัฐ).

ใหม่!!: ดยุกและรัฐบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 แต่ละรัฐที่เห็นเป็นสีต่าง ๆ ต่างก็มีสิทธิทางการปกครองและทางด้านการยุติธรรมที่ต่างกันไปตามแต่จะระบุโดยพระจักรพรรดิ รัฐของจักรวรรดิ (โรมันอันศักดิ์สิทธิ์) (Reichsstand หรือ Reichsstände; Imperial State/Estate) คือ “หน่วย” ที่เป็น “รัฐ” ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีสิทธิในการออกเสียงในสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รัฐหลายรัฐไม่มีที่นั่งในจักรวรรดิ หรือเป็นรัฐที่มีที่นั่งแต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หรือมีสิทธิในการเป็นปกครองตนเองภายใต้การกำกับของจักรพรรดิ รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แต่ละรัฐไม่ขึ้นต่อประมุขของรัฐของจักรวรรดิอื่น ๆ แต่ขึ้นตรงต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ นอกจากนั้นประมุขของรัฐในจักรวรรดิก็ยังมีสิทธิและอภิสิทธิ์หลายอย่างที่รวมทั้งสิทธิในการปกครองดินแดนของตนเองบ้าง.

ใหม่!!: ดยุกและรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐ

ราชรัฐ เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกเขตการปกครองที่มีประมุขเป็นเจ้าซึ่งมีอิสริยยศต่ำกว่าพระมหากษัตริย์ ราชรัฐมี 4 ชั้น คือ.

ใหม่!!: ดยุกและราชรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ออร์เลอ็อง

ตระกูลออร์เลอ็อง (House of Orléans) “ออร์เลอ็อง” เป็นชื่อที่ใช้เรียกสาขาของราชวงศ์ฝรั่งเศสหลายสาขาที่สืบเชื้อสายมาจากอูก กาเปต์ผู้ก่อตั้ง ระหว่างสมัย “การปกครองระบบโบราณในฝรั่งเศส” ก็จะมีการประเพณีมอบบรรดาศักดิ์ดยุกแห่งออร์เลอ็องใหนแก่พระราชโอรสองค์รองของพระมหากษัตริย์ ฉะนั้นสาขาของตระกูลออร์เลอ็องจึงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสมากที่สุดเพราะสืบเชื้อสายมาจากพระราชโอรส และบางครั้งก็เป็นผู้ได้ขึ้นครองพระราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเองถ้าพระราชโอรสองค์โตมาสิ้นพระชนม์เสียก่อน สาขาสุดท้ายของตระกูลออร์เลอ็องที่มีบรรดาศักดิ์เป็นดยุกสืบเชื้อสายมาจากอองรีเดอบูร์บอง ดยุกแห่งแวงโดม (พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส) ผู้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: ดยุกและราชวงศ์ออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์คอนราด

ราชวงศ์คอนราด (Conradines หรือ Conradiner) เป็นราชวงศ์ของเคานท์และดยุกแห่งฟรังโคเนียของเยอรมนีที่รุ่งเรืองระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ที่ตั้งตามชื่อคอนราด ดยุกแห่งทูริงเกีย และบุตรชายคอนราดที่ 1 ดยุกแห่งฟรังโคเนียและพระมหากษัตริย์เยอรมัน.

ใหม่!!: ดยุกและราชวงศ์คอนราด · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เวททิน

ราชวงศ์เวททิน (House of Wettin) เป็นราชตระกูลเคานท์, ดยุก, พรินซ์อีเล็คเตอร์ (Kurfürsten) และ พระมหากษัตริย์เยอรมันที่เคยปกครองดินแดนที่ในปัจจุบันคือรัฐแซกโซนีในเยอรมนี เป็นเวลากว่า 953 ปี, ส่วนที่เป็นแซ็กซอนในแซกโซนี-อันฮาลท์ และ ทูริงเกีย เป็นเวลากว่า 800 ปี นอกจากนั้นในบางครั้งก็ยังครองโปแลนด์ และ ลิทัวเนีย, บริเตนใหญ่, โปรตุเกส, บัลแกเรีย และเบลเยียม ในปัจจุบันเหลือเพียงในบริเตนใหญ่ (สหราชอาณาจักร) กับเบลเยียมเท่านั้นที่ยังครองราชบัลลังก์อยู.

ใหม่!!: ดยุกและราชวงศ์เวททิน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: ดยุกและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามผู้ปกครองบาวาเรีย

ตราอาร์มของบาวาเรีย รายพระนามผู้ปกครองบาวาเรีย (List of rulers of Bavaria) บาวาเรียปกครองโดยประมุขทั้งที่มีตำแหน่งเป็นดยุกและเป็นพระมหากษัตริย์ ราชอาณาจักรได้รับการรวมหรือการถูกแบ่งตลอดมาในประวัติศาสตร์ของหลายราชวงศ์ที่ปกครอง แต่ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ดยุกและรายพระนามผู้ปกครองบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามผู้ปกครองลอแรน

ที่ตั้งของจังหวัดลอแรน รายพระนามผู้ปกครองลอแรน (List of rulers of Lorraine) ประมุขแห่งลอแรนดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งภายใต้รัฐบาลต่างในหลายภูมิภาค ตำแหน่งแรกของประมุขแห่งลอแรนเป็นตำแหน่งกษัตริย์แห่งชนแฟรงค์ในอาณาจักรที่เรียกว่าโลทาริงเกียที่แผลงมาเป็น “ลอแรน” ในภาษาฝรั่งเศส และ “โลทาริงเกีย” ในภาษาเยอรมัน หลังจากอาณาจักรต่างๆ ของคาโรแล็งเชียงถูกผนวกกับดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ตำแหน่งต่อมาของประมุขแห่งลอแรนเป็นตำแหน่ง “ดยุก” ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 ดัชชีก็แบ่งแยกออกเป็นลอแรนใต้ และ ลอแรนเหนือ ลอแรนใต้ต่อมาเป็นดัชชีแห่งลอแรนและดำรงอยู่ต่อมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์สมัยใหม.

ใหม่!!: ดยุกและรายพระนามผู้ปกครองลอแรน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเจ้าผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์ก

ประเทศลักเซมเบิร์กปกครองโดยเจ้าผู้ครองราชรัฐซึ่งมีฐานันดรศักดิ์เป็นเคานต์ ดยุก และแกรนด์ดยุก ตามลำดับ ในอดีตเป็นรัฐนี้ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเยอรมนีและจากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งได้ปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2358.

ใหม่!!: ดยุกและรายพระนามเจ้าผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ลาดอนนาแอโมบีเล

ลาดอนนาแอโมบีเล (La donna è mobile; Woman is fickle, อิสตรีนี้ช่างแปรปรวน) เป็นอาเรียจากองก์ที่หนึ่ง ของอุปรากรเรื่อง รีโกเลตโต (Rigoletto) ผลงานในปี..

ใหม่!!: ดยุกและลาดอนนาแอโมบีเล · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับโปเจียมแห่งสหราชอาณาจักร

ลำดับโปเจียมแห่งสหราชอาณาจักร คือ ลำดับความสูงต่ำแห่งฐานันดรของสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ ไม่ว่าพระราชาหรือพระราชินีจะอยู่ในลำดับที่ 1 แห่งโปเจียมเสมอ ถ้าสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสีของพระองค์ (คือสมเด็จพระราชินีในรัชกาล) จะเป็นลำดับที่ 1 แห่งฝ่ายใน ในทางตรงกันข้ามไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ สำหรับเจ้าชายพระราชสวามี ดังนั้นพระองค์จะทรงพระดำเนินในลำดับที่เท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับพระบรมราชโองการ.

ใหม่!!: ดยุกและลำดับโปเจียมแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง (queen mother สำหรับพระราชินี และ empress mother สำหรับพระจักรพรรดินี) คือ พระมเหสีม่ายของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน และเป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน คำนี้เกิดขึ้นในภาษาอังกฤษเมื่อราว..

ใหม่!!: ดยุกและสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ.

ใหม่!!: ดยุกและออทโท ฟอน บิสมาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ชดยุก

อาร์ชดุ๊ก หรือ อาร์ชดยุก (archduke) ถ้าเป็นสตรีเรียกว่าอาร์ชดัชเชส เป็นบรรดาศักดิ์ยุโรปที่มีศักดิ์สูงกว่าดยุก แต่ต่ำกว่าพระมหากษัตริย์ มีใช้เฉพาะกับเจ้าในราชวงศ์ฮับส์บูร์กและราชวงศ์ลอแรนเท่านั้น เขตปกครองของอาร์ชดยุกเรียกว่าอาร์ชดัชชี เช่น อาร์ชดัชชีออสเตรี.

ใหม่!!: ดยุกและอาร์ชดยุก · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน

อมพล อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) เป็นทหารและรัฐบุรุษ และเป็นหนึ่งในผู้กำหนดนโยบายทางการทหารและการเมืองของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เขาสามารถมีชัยเหนือนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วอเตอร์ลูในปี 1815 ซึ่งทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกองทัพอังกฤษ และมีสมญานามว่า ดยุกเหล็ก ทั้งนี้ ในปี 2002 ชื่อของเขาอยู่ในอันดับ 15 ของชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ เกิดที่ดับลินในไอร์แลนด์ เริ่มจากการเป็นนายธงในกองทัพอังกฤษในปี 1787 โดยประจำการในไอร์แลนด์ในฐานะทหารคนสนิทของข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาสามัญชน (สภาล่าง) ของไอร์แลนด์ และดำรงยศเป็นพันเอกในปี 1796 โดยเข้าร่วมราชการสงครามในเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง และในอินเดียในช่วงสงครามอังกฤษ-ไมซอร์ครั้งที่สี่ และจึงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงประจำศรีรังคปัฏนาและไมซอร์ในปี 1799 และต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพลตรีภายหลังชัยชนะเหนือจักรวรรดิมราฐาในปี 1803 เวลสลีย์เป็นผู้บัญชาการศึกคาบสมุทรในสงครามนโปเลียน และได้รับการเลื่อนขึ้นขึ้นเป็นจอมพลภายหลังสามารถนำกองทัพพันธมิตรมีชัยเหนือฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วิกตอเรียในปี 1813 ซึ่งตามมาด้วยการเนรเทศนโปเลียนในปีต่อมา เวลสลีย์เข้ารับตำแหน่งเป็นราชทูตประจำฝรั่งเศส และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุก ต่อมาระหว่างสมัยร้อยวันในปี 1815 กองทัพพันธมิตรของเขาร่วมกับกองทัพปรัสเซียที่นำโดยพลโทบลือเชอร์ มีชัยเหนือนโปเลียนในยุทธการที่วอเตอร์ลู ชีวิตทหารของเขานั้นเป็นที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง จากรายงานราชการสงคราม ตลอดชีวิตทหารของเขาได้ผ่านศึกสงครามมากว่า 60 ครั้ง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการปรับตัวและใช้กลยุทธ์ในการตั้งรับข้าศึกจนสามารถมีชัยนับครั้งไม่ถ้วนเหนือข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่า ในขณะที่ตัวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บน้อยมาก เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้บัญชาฝ่ายตั้งรับตลอดกาล กลยุทธ์และแผนการรบของเขาจำนวนมากถูกนำไปสอนในวิทยาลัยการทหารชั้นนำของโลก ภายหลังออกจากราชการทหาร เขาก็กลับคืนสู่งานการเมือง โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัยโดยสังกัดพรรคทอรี ระหว่างปี 1828 ถึง 1830 และอีกครั้งเป็นช่วงเวลาไม่ถึงเดือนในปี 1834 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้นำในสภาขุนนาง จนกระทั่งเกษียณอายุแต่ยังคงเป็นผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม.

ใหม่!!: ดยุกและอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักร

อาณาจักร (kingdom; dominion) หมายถึง เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของประเทศหนึ่ง อาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ดยุกและอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

อเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก จักรพรรดินีแห่งบราซิล

มเด็จพระจักรพรรดินีอเมลีแห่งบราซิล (Imperatriz Amélia do Brasil) หรือพระนามเดิม เจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก (Amélia Augusta Eugênia de Leuchtenberg; Amélie Auguste Eugénie de Leuchtenberg) เป็นดัชเชสแห่งเลาช์เทนเบิร์ก (31 กรกฎาคม 1812 – 26 มกราคม 1873) และเป็นจักรพรรดินีแห่งบราซิล พระองค์เป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล พระองค์เป็นพระราชนัดดาของโฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน จักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส พระราชบิดาของพระองค์เออแฌน เดอ โบอาร์แน เป็นโอรสของจักรพรรดินีกับอาแล็กซ็องดร์ เดอ โบอาร์แนพระสวามีองค์แรก และเป็นโอรสบุญธรรมของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 พระราชมารดาของเจ้าหญิงอเมลีเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามักซีมีเลียนที่ 1 พระมหากษัตริย์บาวาเรี.

ใหม่!!: ดยุกและอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก จักรพรรดินีแห่งบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ฌูล มาซาแร็ง

รูปของมาซาแร็ง ฌูล พระคาร์ดินัลมาซาแร็ง (Jules Cardinal Mazarin) ดยุกแห่งเรอแตล มาแยน และเนอแวร์ เกิดที่ราชอาณาจักรเนเปิลส์ ในปี..

ใหม่!!: ดยุกและฌูล มาซาแร็ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: ดยุกและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขุนนางอังกฤษ

นนางอังกฤษ แบ่งออกเป็น 5 บรรดาศักดิ์ คือ.

ใหม่!!: ดยุกและขุนนางอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งยอร์ก

กแห่งยอร์ก (Duke of York) เป็นบรรดาศักดิ์ชั้นดยุก ที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ โดยมักจะพระราชทานให้กับพระราชโอรสพระองค์รอง โดยมีศักดิ์เทียบเท่ากับบรรดาศักดิ์ "ดยุกแห่งอัลบานี"ในระบบบรรดาศักดิ์ของสก็อตแลนด์ ดยุกแห่งยอร์กพระองค์แรกคือเจ้าชายเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์ก และพระองค์ปัจจุบันคือเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก ในประวัติศาสตร์อังกฤษได้มีการพระราชทานบรรดาศักดิ์นี้ทั้งหมด 11 สมัย โดย 5 สมัยในฐานะ "ดยุกแห่งยอร์ก" ก่อนพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800, 3 สมัยในฐานะ "ดยุกแห่งยอร์กและอัลบานี" ในบรรดาศักดิ์ของบริเตนใหญ่ และอีก 3 สมัยในฐานะ "ดยุกแห่งยอร์ก" ในบรรดาศักดิ์ของสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2004 เมื่อทายาทของเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ ผู้ถือบรรดาศักดิ์นี้อีกสิบคนต่อมาไม่สามารถสืบทอดบรรดาศักดิ์นี้แก่ทายาทเลย โดยมักจะสิ้นพระชนม์โดยไร้ทายาทชาย หรือไม่ก็กลายเป็นพระมหากษัตริย์เสียเอง.

ใหม่!!: ดยุกและดยุกแห่งยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งคอร์นวอลล์

กแห่งคอร์นวอลล์ (Duke of Cornwall) เป็นบรรดาศักดิ์ดยุกบรรดาศักดิ์แรกที่ได้มีการสถาปนาในอังกฤษ โดยตามธรรมเนียมแล้วจะสงวนไว้เพื่อเป็นบรรดาศักดิ์เฉพาะสำหรับมกุฎราชกุมารของอังกฤษในอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ดัชชีแห่งคอร์นวอลล์ (Duchy of Cornwall) ถือเป็นดัชชีแห่งแรกในอังกฤษ โดยสถาปนาขึ้นในปี..

ใหม่!!: ดยุกและดยุกแห่งคอร์นวอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งนอร์ฟอล์ก

กแห่งนอร์ฟอล์ก (Duke of Norfolk) เป็นบรรดาศักดิ์ชั้นดยุกลำดับที่ 1 ของอังกฤษ และโดยตำแหน่งยังเป็นเอิร์ลแห่งแอรันเดิล (Earl of Arundel) ซึ่งเป็นเอิร์ลลำดับที่ 1 เช่นกัน ตามตำแหน่งแล้วดยุกแห่งนอร์ฟอล์กเป็นเอิร์ลมาร์แชล (Earl Marshal) หรือจอมพลทหารรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นตำแหน่งสืบตระกูล โดยศูนย์กลางอำนาจของดยุกแห่งนอร์ฟอล์กอยู่ที่ปราสาทแอรันเดิลในซัสเซกซ์ ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับเมืองนอร์ฟอล์กที่เป็นชื่อของบรรดาศักดิ์ ผู้ที่ใช้บรรดาศักดิ์ดยุกแห่งนอร์ฟอล์กคนปัจจุบันคือ เอ็ดเวิร์ด ฟิตซ์อลัน เฮาเวิร์ด ตั้งแต่อดีตดยุกแห่งนอร์ฟอล์กมีความเกี่ยวพันอย่างแน่นหนากับคริสต์จักรคาทอลิก โดยเป็นหนึ่งในกลุ่มต่อต้านนิกายแองกลิคัน ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันดยุกแห่งนอร์ฟอล์กเป็นผู้สืบตระกูลมาจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 โดยเฮนรี เฮาเวิร์ด เอิร์ลแห่งเซอร์รีย์ บุตรชายของโธมัส เฮาเวิร์ด ดยุกที่ 3 แห่งนอร์ฟอล์ก เป็นผู้สืบตระกูลมาจากทั้งพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4.

ใหม่!!: ดยุกและดยุกแห่งนอร์ฟอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งแลงแคสเตอร์

นรี เจ้าชายแห่งเวลส์ บุคคลสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งนี้ก่อนที่จะรวมเข้ากับส่วนพระมหากษัตริย์ ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ ดยุกแห่งแลงคาสเตอร์ (Duke of Lancaster) เป็นบรรดาศักดิ์ดยุกที่ใช้ออกพระนามถึงสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษอย่างลำลอง และผู้ครอบครองดัชชีแห่งแลงคาสเตอร์ โดยถือเป็นดัชชีที่แยกออกมาจากสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (Crown Property) ซึ่งมีส่วนในการสร้างรายได้ให้กับพระมหากษัตริย์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ได้มีการสถาปนาบรรดาศักดิ์ดยุกแห่งแลงคาสเตอร์ถึง 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่แรกเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1351 สำหรับ เฮนรีแห่งกรอสมอนท์ เอิร์ลแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 4 เหลนของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ รวมทั้งยังเป็นเอิร์ลแห่งเลย์เชสเตอร์ที่ 4, เอิร์ลแห่งดาร์บีที่ 1 และเอิร์ลแห่งลินโคล์นที่ 1 การสถาปนาครั้งแรกนี้สิ้นสุดลงเมื่อดยุกที่ 1 เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1361 ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1362 สำหรับ จอห์นแห่งกอนท์ เอิร์ลแห่งริชมอนด์ที่ 1 พระราชโอรสในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและพระราชินีฟิลลิปปาแห่งเอโนลต์ ได้อภิเษกสมรสกับธิดาของเฮนรีแห่งกรอสมอนท์ ดยุกแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 1 หลังจากเสียชีวิตในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1399 ตำแหน่งดยุกจึงถูกส่งผ่านไปยังเฮนรี โบลิงโบรค พระโอรส ต่อมาเมื่อพระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ ตำแหน่งจึงเข้ารวมกับส่วนพระมหากษัตริย์ ครั้งที่สามเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1399 สำหรับเฮนรีแห่งมอนมอธ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ ต่อมาในปี..

ใหม่!!: ดยุกและดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งแคลเรนซ์

กแห่งแคลเรนซ์ (Duke of Clarence) เป็นหนึ่งในบรรดาศักดิ์ดยุกของอังกฤษ โดยพระราชทานให้แก่สมาชิกที่มีอาวุโสน้อยกว่าในพระราชวงศ์ โดยมีการสถาปนาขึ้นมา 5 ครั้ง ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1362 สำหรับไลโอเนลแห่งอันทเวิร์พ พระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ต่อมาหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ การสถาปนาในครั้งแรกนี้จึงหมดลง ครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1412 สำหรับทอมัสแห่งแลงคาสเตอร์ พระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 แห่งอังกฤษ ตำแหน่งสิ้นสุดลงหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์เช่นเดียวกัน ครั้งที่สามในปี ค.ศ. 1461 สำหรับจอร์จ แพลนแทเจเนต พระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ ครั้งต่อไป (ในตำแหน่งดยุกแห่งแคลเร็นซ์และเซนต์แอนดรูว์) ในปี..

ใหม่!!: ดยุกและดยุกแห่งแคลเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งเอดินบะระ

กแห่งเอดินบะระ (Duke of Edinburgh) เป็นบรรดาศักดิ์ชั้นดยุกในบรรดาศักดิ์แห่งสหราชอาณาจักร (ตั้งตามชื่อเมืองเอดินบะระของสกอตแลนด์) โดยได้มีการพระราชทานบรรดาศักดิ์นี้ทั้งสิ้น 4 สมัย โดยในสมัยปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งนี้คือเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในอนาคตบรรดาศักดิ์นี้จะเป็นของเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ถ้าเจ้าชายชาลส์ยังไม่ได้สืบทอดราชบัลลังก์ ถ้าทรงสืบราชบัลลังก์เรียบร้อยแล้ว ตำแหน่งจะเป็นของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซ็ก.

ใหม่!!: ดยุกและดยุกแห่งเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งเคนต์

กแห่งเคนต์ (Duke of Kent) เป็นบรรดาศักดิ์ชั้นดยุกมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรบริเตนใหญ่ และสหราชอาณาจักร โดยครั้งล่าสุดมีการพระราชทานบรรดาศักดิ์นี้ให้แก่พระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ของพระเจ้าจอร์ที่ 5 และตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ดยุกและดยุกแห่งเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชี

ัชชี (duchy) เป็นอาณาเขตการปกครองหรือบริเวณที่ปกครองโดยดยุกหรือดัชเชส ดัชชีที่สำคัญบางแห่งในสมัยก่อนจะมีอธิปไตยปกครองบริเวณหนึ่ง ๆ ต่อมารวมกันเป็นที่มาของรัฐสมัยใหม่ในปัจจุบัน เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศอิตาลี ในทางตรงกันข้ามดัชชีอื่น ๆ ก็อาจจะเป็นเขตปกครองภายในราชอาณาจักรมาตั้งแต่สมัยกลาง เช่น ในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศสเปน ประวัติของแต่ละดัชชีแต่ละอาณาจักรก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของแต่ละรั.

ใหม่!!: ดยุกและดัชชี · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีชเลสวิจ

ัชชีแห่งชเลสวิจ (Duchy of Schleswig) หรือ ดัชชีแห่งจัตแลนด์ใต้ (Sønderjylland, Hertugdømmet Slesvig) เป็นดัชชีที่ตั้งครอบคลุมเนื้อที่ราว 60 ถึง 70 กิโลเมตรทางตอนใต้ของพรมแดนระหว่างเยอรมนี และ เดนมาร์ก ซึ่งเป็นบริเวณที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า "Sleswick" (ซเลสวิค) ความสัมพันธ์ของบริเวณนี้อยู่ที่การขนส่งสินค้าระหว่างทะเลเหนือ และ ทะเลบอลติก ที่เชื่อมเส้นทางการค้าของรัสเซียกับเส้นทางการค้าตามลำแม่น้ำไรน์และฝั่งทะเลแอตแลนติก.

ใหม่!!: ดยุกและดัชชีชเลสวิจ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีพอเมอเรเนีย

ัชชีพอเมอเรเนีย หรือ ดัชชีพอมเมิร์น (Herzogtum Pommern; Duchy of Pomerania) เป็นรัฐดัชชีที่ตั้งอยู่ในพอเมอเรเนียทางฝั่งทะเลตอนใต้ของทะเลบอลติก ที่ปกครองโดยดยุกแห่งตระกูลพอเมอเรเนีย (กริฟฟินส์) ก่อตั้งขึ้นจากดินแดนของวาร์ทิสลอว์ที่ 1 ดยุกแห่งชาวสลาฟพอเมอเรเนีย และได้รับการขยายดินแดนเพิ่มเติมต่อมาในปี..

ใหม่!!: ดยุกและดัชชีพอเมอเรเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชียือลิช

ัชชียือลิชในปี ค.ศ. 1477 ดัชชียือลิช (Duchy of Jülich, Herzogtum Jülich, Hertogdom Gulik) เป็นดัชชีของเครือราชรัฐนีเดอร์ไรน์-เวสท์ฟาเลินในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ยือลิชตั้งอยู่ในบริเวณนอร์ธไรน์-เวสต์ฟาเลียในเยอรมนี และมณฑลลิมบูร์กในเนเธอร์แลนด์ปัจจุบัน รัฐตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำรูห์รอบเมืองหลวงยือลิชในไรน์แลนด์ตอนใต้ ยือลิชรวมตัวกับเคาน์ตีแบร์กในปี..

ใหม่!!: ดยุกและดัชชียือลิช · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีลิมบูร์ก

ัชชีแห่งลิมบวร์ก (Herzogtum Limburg, Duchy of Limburg) เป็นดัชชีที่เป็นรัฐในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ปกครองโดยดยุกแห่งลิมบวร์ก ดัชชีแห่งลิมบวร์กตั้งอยู่ในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในบริเวณที่เป็นส่วนหนึ่งของเบลเยียม และ เนเธอร์แลนด์ และบางส่วนในเยอรมนีปัจจุบัน ในสมัยโรมันลิมบวร์กตั้งอยู่ในจังหวัดเจอร์มาเนียใต้ที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของเคลท์จนกระทั่งมาแทนด้วยชนเจอร์มานิคเมื่ออำนาจของจักรวรรดิโรมันเริ่มเสื่อมโทรมลง ดัชชีแห่งลิมบวร์กก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1065 และมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1794 เมื่อถูกยึดครองโดยฝรั่งเศสที่ผนวกลิมบวร์กเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเมิซใต้ (Meuse-Inférieure).

ใหม่!!: ดยุกและดัชชีลิมบูร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีลุกกา

ัชชีลุกกา (Duchy of Lucca) เป็นดัชชีที่ตั้งอยู่ตอนกลางคาบสมุทรอิตาลีที่ปกครองโดยดยุกแห่งลุกกา ดัชชีลุกกาก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1815 จากข้อตกลงในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาจากสาธารณรัฐลุกกา และราชรัฐลุกกาที่ปกครองโดยอีไลซา โบนาปาร์ต สาเหตุของการก่อตั้งก็เพื่อเป็นการตอบแทนการสูญเสียดัชชีปาร์มาของราชวงศ์บูร์บง-ปาร์มาที่ถูกยกให้แก่มารี หลุยส์แห่งออสเตรีย หลังจากการก่อตั้งแล้วในปี ค.ศ. 1817 มาเรีย ลุยซาแห่งสเปนอดีตพระราชินีแห่งอีทรูเรียก็มาปกครองดัชชีลุกกา มาเรีย หลุยซาเป็นพระราชมารดาของชาร์ลส์ หลุยส์ ทายาทของราชวงศ์บูร์บง-ปาร์มาของปาร์มา ซึ่งตรงกับสนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1817) ที่ระบุถึงอำนาจของมาเรีย ลุยซาในการปกครองลุกกา และฐานะของชาร์ลส์ หลุยส์ในการเป็นทายาทของปาร์มาต่อจากมารี หลุยส์ หลังจากมาเรีย ลุยซาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1824 แล้วชาร์ลส์ หลุยส์ก็ครองลุกกา ในฐานะดยุกชาร์ลส์ที่ 1 แห่งลุกกาสืบต่อมาจนกระทั่งชาร์ลส์ หลุยส์ไปเป็นดยุกแห่งปาร์มาหลังจากการเสียชีวิตของมารี หลุยส์ ดัชเชสแห่งปาร์มา ดัชชีลุกกาจึงถูกผนวกเข้ากับแกรนด์ดัชชีทัสกานีในปี ค.ศ. 1847.

ใหม่!!: ดยุกและดัชชีลุกกา · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีเบอร์กันดี

ัชชีเบอร์กันดี (Duchy of Burgundy) เป็นอาณาเขตการปกครองยุคศักดินาในฝรั่งเศสในสมัยกลาง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสปัจจุบันที่ใกล้เคียงกับบริเวณบูร์กอญในปัจจุบัน เป็นอาณาจักรที่เป็นอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: ดยุกและดัชชีเบอร์กันดี · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์ชนบท

คฤหาสน์โฮลค์แฮมเป็นคฤหาสน์ชนบทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอังกฤษ นอกจากจะเป็นการแสดงฐานะและรสนิยมของเจ้าของแล้วก็ยังเป็นศูนย์กลางของทรัพย์สินที่ดินที่ให้งานทำแก่ผู้คนเป็นจำนวนเป็นร้อย คฤหาสน์ชนบท (Country house หรือ English country house) โดยทั่วไปหมายถึงที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่หรือคฤหาสน์ที่เดิมเป็นสมบัติส่วนบุคคลผู้มักจะมีคฤหาสน์สำคัญ (great house) อีกหลังหนึ่งในเมือง ซึ่งทำให้สามารถใช้เวลาได้ทั้งในเมืองและในชนบท “คฤหาสน์ชนบท” และ “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางครั้งมักจะใช้สับสนกัน—คฤหาสน์ชนบทเป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่นอกเมือง แต่คฤหาสน์ภูมิฐานอาจจะตั้งอยู่ได้ทั้งในเมืองหรือนอกเมือง เช่นคฤหาสน์แอ็พสลีย์ (Apsley House) สร้างสำหรับอาเธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตันที่ 1 (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) ที่มุมหนึ่งของไฮด์พาร์ค (Hyde Park) หรือที่เรียกกันว่า “No.

ใหม่!!: ดยุกและคฤหาสน์ชนบท · ดูเพิ่มเติม »

คะโซะกุ

มสรขุนนาง กรุงโตเกียว ค.ศ. 1912 คะโซะกุ เป็นชนชั้นขุนนางของจักรวรรดิญี่ปุ่น ปรากฏอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: ดยุกและคะโซะกุ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ฟรีดริช เกาส์

ันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ (1777-1855) โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ (Johann Carl Friedrich Gauß) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2302 (ค.ศ. 1777) เสียชีวิต 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เป็นหนึ่งในตำนานนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ (นักคณิตศาสตร์บางท่านกล่าวว่าสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของวงการคณิตศาสตร์มี อาร์คิมิดีส นิวตัน เกาส์ และออยเลอร์) ได้รับฉายาว่า "เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์" (Prince of Mathematics) เนื่องจากอุทิศผลงานในทุก ๆ ด้านของคณิตศาสตร์ในยุคสมัยของเขา นอกจากนี้เกาส์ยังมีผลงานสำคัญทางด้านฟิสิกส์ โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์อีกด้ว.

ใหม่!!: ดยุกและคาร์ล ฟรีดริช เกาส์ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลพอเมอเรเนีย

ตราอาร์มของตระกูลพอเมอเรเนียเป็นรูปกริฟฟินที่ใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1194 ตระกูลพอเมอเรเนีย หรือ ตระกูลไกรเฟิน หรือ ตระกูลกริฟฟิน (Greifen, Gryfici, House of Pomerania หรือ House of Greifen) เป็นตระกูลของดยุกผู้ครองดัชชีแห่งพอเมอเรเนียตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 มาจนกระทั่งถึงปี..

ใหม่!!: ดยุกและตระกูลพอเมอเรเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลกอนซากา

ตราอาร์มของดัชชีแห่งมานตัว ตระกูลกอนซากา (House of Gonzaga) เป็นตระกูลที่ปกครองมานตัวทางตอนเหนือของอิตาลีระหว่าง..

ใหม่!!: ดยุกและตระกูลกอนซากา · ดูเพิ่มเติม »

ซัคเซิน-อัลเทนบูร์ก

ัชชีซัคเซิน-อัลเทนบูร์ก (Herzogtum Sachsen-Altenburg, Saxe-Altenburg) เป็นอดีตดัชชีซัคเซินที่เป็นส่วนหนึ่งของดัชชีเอิร์นเนสทีนสาขาของราชวงศ์เวททินที่ในปัจจุบันอยู่ในทือริงเงิน.

ใหม่!!: ดยุกและซัคเซิน-อัลเทนบูร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แบร์ก (รัฐ)

ตราอาร์มของแบร์กเป็นสิงโตแดงสองหางไขว้ เล็บ ลิ้น และมงกุฎสีน้ำเงิน แบร์ก (Berg) แบร์กที่ปัจจุบันตั้งอยู่ในนอร์ธไรน์เวสต์ฟาเลียในประเทศเยอรมนีเป็นดินแดนอิสระในยุคกลางที่มีบริเวณครอบคลุมตั้งแต่แม่น้ำไรน์, แม่น้ำรูห์ และ แม่น้ำซีก ในปัจจุบันแบร์กยังคงเป็นที่รู้จักกันในชื่อที่ใช้ในยุคกลางว่า "ดินแดนแบร์ก" (Bergisches Land).

ใหม่!!: ดยุกและแบร์ก (รัฐ) · ดูเพิ่มเติม »

แพนโดร่า ฮาร์ท

แพนโดรา ฮาร์ทส์ เป็น มังงะ โดย จุน โมจิซุกิ ได้ปรากฏครั้งแรกในนิตยสารการ์ตูน GFantasy ซึ่งต่อมา ได้ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ Square Enix ในเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ดยุกและแพนโดร่า ฮาร์ท · ดูเพิ่มเติม »

แกรนด์ดยุก

แกรนด์ดยุก หรือแกรนด์ดุ๊ก (grand duke) ถ้าเป็นสตรีเรียกว่าแกรนด์ดัชเชส เป็นฐานันดรศักดิ์ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเจอร์แมนิกเพื่อหมายถึงประมุขในระดับมณฑล มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชาแต่สูงกว่าดยุก แกรนด์ดยุกยังใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เพื่อหมายถึงแกรนด์พรินซ์ เพราะภาษาเหล่านี้ใช้ศัพท์ prince หมายถึงทั้งเจ้าชายราชนิกุลและเจ้าผู้ครองนครเหมือนกัน ขณะที่ภาษาเยอรมันเรียกเจ้าชายราชนิกุลว่า Prinz และเรียกเจ้าชายผู้ครองนครว่า Fürst เขตปกครองของแกรนด์ดยุกเรียกว่าราชรัฐชั้นแกรนด์ดัชชี ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก คือ ราชรัฐลักเซมเบิร์กซึ่งมีแกรนด์ดยุคอ็องรีที่ 1 เป็นเจ้าผู้ครองราชรั.

ใหม่!!: ดยุกและแกรนด์ดยุก · ดูเพิ่มเติม »

แจ็กผู้ฆ่ายักษ์

"แจ็กผู้ฆ่ายักษ์" (Jack the Giant Killer) เป็นเทพนิยายและตำนานของอังกฤษและคอร์นวอลล์ ว่าด้วยหนุ่มน้อยผู้กล้าที่ฆ่ายักษ์หลายตนในรัชสมัยพระเจ้าอาเธอร์ (King Arthur) เนื้อหามีความโหดร้ายป่าเถื่อนเลือดท่วม ทั้งมีองค์ประกอบและเหตุการณ์คล้ายคลึงกับในเทพปกรณัมนอร์สและฝรั่งเศส เรื่องราวของแจ็กหรือตัวแจ็กเองนั้นไม่มีในวรรณกรรมอังกฤษจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทั้งไม่ได้ตีพิมพ์จนปี 1711 เป็นไปได้ว่า สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งประมวลเรื่องราวเกี่ยวกับยักษ์ซึ่งเป็นอมนุษย์ยอดนิยมในอังกฤษ คอร์นวอลล์ และเวลส์ ขึ้น แล้วนำออกพิมพ์เมื่อปี 1711 นั้น นักวิชาการยังเสนอแนวคิดว่า ที่มีการพิมพ์เรื่องแจ็กผู้ฆ่ายักษ์ออกจำหน่ายในช่วงนั้น เพราะสาธารณชนเริ่มเบื่อหน่ายเรื่องราวของพระเจ้าอาเธอร์ผู้เยี่ยมยุทธ์ในการสังหารยักษ์ยิ่งกว่าบุคคลอื่น.

ใหม่!!: ดยุกและแจ็กผู้ฆ่ายักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไรชส์ทาค (รัฐสภาเยอรมัน)

รชส์ทาคในปี ค.ศ. 1889 ไรชส์ทาค (Reichstag) คือรัฐสภาของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และต่อมาของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือและของเยอรมนี จนกระทั่งถึง..

ใหม่!!: ดยุกและไรชส์ทาค (รัฐสภาเยอรมัน) · ดูเพิ่มเติม »

ไอแซก ซิงเกอร์

ียนไอแซก เมอร์ริต ซิงเกอร์ โดยเอดเวิร์ด แฮริสัน เมย์ ไอแซก เมอร์ริต ซิงเกอร์ (Isaac Merritt Singer - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2354 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2418) นักประดิษฐ์ นักแสดงและผู้ประกอบการชาวอเมริกัน ผู้ทำการออกแบบปรับปรุงส่วนสำคัญของจักรเย็บผ้าและเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทซิงเกอร์จักรเย็บผ้.

ใหม่!!: ดยุกและไอแซก ซิงเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เบราน์ชไวค์

ราน์ชไวค์ (Braunschweig; อังกฤษ, ฝรั่งเศส: Brunswick) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐนีเดอร์ซัคเซิน ประเทศเยอรมนี มีฐานะเป็นเมืองอิสระ (kreisfreie Stadt) ตามการบริหารเขตปกครองของเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ ปัจจุบันมีประชากรราว 247,000 คน ถือเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของรัฐนีเดอร์ซัคเซินรองจากฮันโนเวอร์ เมื่อรวมเขตปริมณฑลของเมืองเข้าด้วยจะมีประชากรราว 1 ล้านคน เบราน์ชไวค์เป็นเมืองศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของประเทศและสหภาพยุโรป, Ec.europa.eu, 2014.

ใหม่!!: ดยุกและเบราน์ชไวค์ · ดูเพิ่มเติม »

เบริธ

ในปิศาจวิทยา เบริธ(Berith) เป็นดยุกแห่งนรกผู้มีอสูรใต้บังคับบัญชา 26 กองและเป็นปิศาจตนที่ 28 ในบท อาร์สโกเอเทีย จากหนังสือกุญแจย่อยของโซโลมอน ชื่ออื่นๆของเบริธก็คือโบฟรี (Bofry) และบอลฟราย (Bolfry) เบริธสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน และ อนาคตได้อย่างแม่นยำ มีอำนาจเปลี่ยนโลหะใดๆเป็นทองคำ รวมทั้งสามารถมอบมอบศักดิ์ศรีให้แก่ผู้คนได้ ลักษณะของเบริธเป็นทหารชุดแดง ขี่ม้าสีแดง และสวมมงกุฎทองคำ น้ำเสียงของเบริธนั้นชัดเจนและนุ่มนวล แต่จะพูดเรื่องหลอกลวงในยามที่ไม่ได้ตอบคำถามของผู้อัญเชิญ ในพิธีอัญเชิญเบริธนั้น ผู้ทำพิธีเรียกจะต้องสวมแหวนเงินต่อหน้าเบริธด้วย ชื่อของเบริธมาจากบาอัลเบริธ ซึ่งเป็นปางของบาอัลที่นับถือกันในฟินิเชีย แถบเบรุตในปัจจุบัน เซบาสเตียน มิคาเอริส นักล่าแม่มดชาวฝรั่งเศสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้ระบุว่าเบริธเป็นปิศาจที่ชักนำมนุษย์สู่การฆาตกรรมและเรื่องเหลวไหล ศัตรูของเบริธก็คือนักบุญบาร์นาบัส ในการเล่นแร่แปรธาตุ ชิ่อเบริธเป็นธาตุที่ใช้ผสมเปลี่ยนโลหะเป็นทองคำได้.

ใหม่!!: ดยุกและเบริธ · ดูเพิ่มเติม »

เกรโมรี

ในปิศาจวิทยา เกรโมรี (Gremory)เป็นดยุกแห่งนรกผู้มีอสูรใต้บังคับบัญชา 26 กอง บางครั้งก็เรียกว่า โกโมรี (Gomory) หรือ เกโมรี (Gemory) ในบท อาร์สโกเอเทีย จากหนังสือกุญแจย่อยของโซโลมอน ระบุถึงเกรโมรีเป็นปิศาจตนที่ 56 ส่วน ซูโดโมนาร์เชีย แดโมนัม ระบุถึงเป็นตนที่ 51 เกรโมรีสามารถบอกเล่าเรื่องต่างๆในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ รวมถึงสามารถบอกผู้อัญเชิญเรื่องสมบัติที่ถูกซ่อนไว้ รวมทั้งยังทำให้สตรีทั้งเยาว์วัยและผู้มีอายุหลงรักได้ แต่พลังด้านความรักของเกรโมรีนี้จะได้ผลกับหญิงสาวมากกว่า เกรโมรีปรากฏกายเป็นสตรีผู้งดงามซึ่งคาดมงกุฏไว้รอบเอวและนั่งมาบนหลังของอูฐ ซึ่งในปิศาจ 72 ตนนั้นมีเพียงเกรโมรีและเวพาร์ที่มีลักษณะเป็นเพศหญิง.

ใหม่!!: ดยุกและเกรโมรี · ดูเพิ่มเติม »

เวพาร์

ในปิศาจวิทยา เวพาร์ (Vepar)เป็นดยุกแห่งนรกผู้มีอสูรใต้บังคับบัญชา 29 กอง บางครั้งก็เรียกว่า เซพาร์ (Separ) หรือ เวฟาร์ (Vephar) ในบท อาร์สโกเอเทีย จากหนังสือกุญแจย่อยของโซโลมอน ระบุถึงเวพาร์เป็นปิศาจตนที่ 42 ส่วน ซูโดโมนาร์เชีย แดโมนัม ระบุถึงเป็นตนที่ 33 เวพาร์มีอำนาจควบคุมห้วงน้ำและสามารถนำทางเรือรบได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้ทะเลเกิดพายุและสร้างภาพลวงตาให้ดูเหมือนมีเรือเต็มไปหมดได้ เวพาร์ยังมีอำนาจทำให้คนเกิดแผลเน่าเปื่อยซึ่งเต็มไปด้วยหนอนและตายในสามวัน แต่ถ้าผู้อัญเชิญต้องการ เวพาร์ก็จะสามารถทำให้แผลนั้นหายดีได้เช่นกัน เวพาร์มีลักษณะเป็นนางเงือก ซึ่ง72ปิศาจในอาร์สโกเอเทียนั้นมีเพียงเวพาร์และเกรโมรีที่เป็นเพศหญิง.

ใหม่!!: ดยุกและเวพาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนครจักรวรรดิ

รีนครของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 1648 เสรีนครจักรวรรดิ (Free imperial city; freie Reichsstadt) หมายถึงนครที่ปกครองโดยจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยตรง ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ที่มิใช่เสรีนครจะถูกปกครองโดย เฟือสท์ ที่อาจจะเป็นดยุก หรือเจ้าชายมุขนายก (prince-bishop) นอกจากนั้น เสรีนครยังมีตัวแทนในสภาไรช์ของจักรวรรดิอีกด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีความแตกต่างระหว่าง "จักรพรรดินคร" (Reichsstädte) กับ "เสรีนคร" (freie Städte) เสรีนครคือนครที่เดิมปกครองโดยเจ้าชายมุขนายก แต่ต่อมาได้รับอิสระจากการปกครองของบิชอปช่วงกลางสมัยกลาง (High Middle Ages) เมืองเหล่านี้ก็ได้แก่ บาเซิล (ค.ศ. 1000) เวิร์มส (ค.ศ. 1074) ไมนซ์ (ค.ศ. 1244 เปลี่ยนฐานะ ค.ศ. 1462) เรเกนส์บูร์ก (ค.ศ. 1245) สทราซบูร์ (ค.ศ. 1272) โคโลญ (ค.ศ. 1288) และชไปเออร์ (ค.ศ. 1294) แม้ว่ารายละเอียดทางกฎหมายของแต่ละรัฐเหล่านี้จะต่างกันไปแต่ "เสรีนครจักรวรรดิ" เดิมมีอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษต่างมากกว่า "นครจักรวรรดิ" ตัวอย่างเช่นในกรณีที่เกิดสงครามครูเสด เสรีนครจักรวรรดิก็จะมีความรับผิดชอบแต่เพียงให้การสนับสนุนทางการทูตและยุทธปัจจัยแก่ราชสำนักจักรพรรดิ แต่นครจักรวรรดิต้องเสียภาษีให้แก่จักรพรรดิและต้องส่งกองทัพไปช่วยในการทัพด้ว.

ใหม่!!: ดยุกและเสรีนครจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

เอลิกอส

อลิกอส ในปิศาจวิทยา เอลิกอส (Eligos)เป็นดยุกแห่งนรกผู้มีอสูรใต้บังคับบัญชา 60 กองและเป็นปิศาจตนที่ 15 ในบท อาร์สโกเอเทีย จากหนังสือกุญแจย่อยของโซโลมอน ชื่ออื่นๆของเอลิกอสก็คือ อบิกอร์ (Abigor) และ เอลิกอร์ (Eligor) เอลิกอสมีอำนาจในการเปิดเผยสิ่งที่ซ่อนอยู่ สามารถทำนายผลของสงครามในอนาคตและแนะนำยุทธศาสตร์ให้ผู้อัญเชิญได้ ผู้ที่อัญเชิญเอลิกอสจึงมักเป็นที่ชื่นชอบในบรรดาผู้มีชื่อเสียง โดยเฉพาะขุนศึกและพระราชา เอลิกอสมีลักษณะเป็นอัศวินขี่ม้า ถือหอก ธงตรา และไม้เท้าหรืองูพิษ.

ใหม่!!: ดยุกและเอลิกอส · ดูเพิ่มเติม »

เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์น

อลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์น (Elisabeth Christine von Braunschweig-Wolfenbüttel-Bevern) เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซียในฐานะพระอัครมเหสีของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย เมื่อแรกประสูติพระองค์ทรงมีศักดิ์เป็นดัชเชสแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล.

ใหม่!!: ดยุกและเอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล-เบเวิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี

อวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี (อิตาลี: Evangelista Torricelli, บางตำราออกเสียงภาษาอังกฤษว่า ตอร์ริเชลลี หรือ ทอร์ริเชลลี, 15 ตุลาคม พ.ศ. 2151 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2190) เป็นนักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ ชาวอิตาลี ผู้ประดิษฐ์คิดค้น บารอมิเตอร์ และภายหลังได้ถูกนำชื่อของเขาได้นำไปตั้งเป็น หน่วยของความดันในระบบ หน่วยเอสไอ บางตำรายกย่องให้เขาเป็น บิดาแห่งอุทกพลศาสตร.

ใหม่!!: ดยุกและเอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี · ดูเพิ่มเติม »

เอิร์ล

อิร์ล (Earl) เป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางในทวีปยุโรป เป็นภาษาแองโกล-ซัคเซินที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า ยาร์ล (Jarl) ในภาษานอร์สโบราณที่แปลว่า "หัวหน้าเผ่า" ซึ่งคอยประจำดินแดนต่างๆเพื่อปกครองแทนกษัตริย์ ตำแหน่งเอิร์ลกินเมืองนี้เริ่มล้าสมัยในยุคกลางและถูกแทนที่ด้วยตำแหน่งดยุก ตำแหน่งเอิร์ลของอังกฤษยุคกลางมีฐานะเทียบเท่ากับเคานต์ในยุโรปแผ่นดินใหญ่ ซึ่งตำแหน่ง "เอิร์ล/เคานต์" นี้ปรากฏอยู่ในระบบฐานันดรของประเทศอื่นด้วยเช่นกัน เช่นในระบบคะโซะกุของญี่ปุ่นเรียกว่า ฮะกุชะกุ ปัจจุบัน บรรดาศักดิ์นี้หลงเหลืออยู่เฉพาะในหมู่เกาะอังกฤษเท่านั้น โดยถือว่าเป็นตำแหน่งที่อยู่ต่ำกว่ามาร์ควิส แต่อยู่สูงกว่าไวเคานต์ เอิร์ลที่เป็นสตรีหรือภริยาของเอิร์ลจะถูกเรียกว่า เคาน์เตส (Countess).

ใหม่!!: ดยุกและเอิร์ล · ดูเพิ่มเติม »

เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์

อิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ (Earl of Wessex) เป็นบรรดาศักดิ์อังกฤษที่เคยพระราชทานให้สองครั้งในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ ครั้งหนึ่งในช่วงก่อนการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน และอีกช่วงหนึ่งคือในสมัยที่เป็นสหราชอาณาจักรแล้ว โดยเวสเซ็กซ์ นั้นมาจาก "West Saxons" ในบริเวณภาคใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ซึ่งครั้งหนึ่งนั้นเคยเป็นอาณาจักรของชาวแองโกล-แซกซันในช่วงเจ็ดอาณาจักร ซึ่งต่อมาได้มีการขยายอาณาเขตในช่วงศตวรรษถัดมาอันเป็นต้นกำเนิดของราชอาณาจักรอังกฤษในยุคต่อม.

ใหม่!!: ดยุกและเอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ

อ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ หรือ เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ หรือที่รู้จักกันในพระนาม เอ็ดเวิร์ดแห่งวูดสต็อค (Edward, the Black Prince หรือ Edward of Woodstock) (15 มิถุนายน ค.ศ. 1330 - 8 มิถุนายน ค.ศ. 1376) เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำเป็นพระราชวงศ์อังกฤษผู้มีบทบาทในการต่อสู้กับราชอาณาจักรฝรั่งเศสในสงครามร้อยปี เอ็ดเวิร์ดประสูติเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1330 เป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระราชินีฟิลลิปปา และเป็นพระบิดาของสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ เอ็ดเวิร์ดทรงเป็นผู้นำทางการทหารผู้มีความสามารถและทรงเป็นผู้ที่เป็นที่นิยมขณะที่ยังทรงมีชีวิตอยู่ เอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์เพียงปีเดียวก่อนที่พระราชบิดาจะเสด็จสวรรคต ทรงเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์องค์แรกที่ไม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ราชบัลลังก์จึงตกไปเป็นของริชาร์ด พระโอรสองค์โตของพระองค์เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 เสด็จสวรรคต.

ใหม่!!: ดยุกและเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายคาร์ล ฟิลิป ดยุกแห่งแวร์มลันด์

้าฟ้าชายคาร์ล ฟิลิปแห่งสวีเดน หรือ คาร์ล ฟิลิป เอ็ดมุนด์ เบอร์ติล เป็นดยุกแห่งวาร์มลานด์ ประสูติเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ณ พระราชวังหลวง กรุงสต็อกโฮล์ม เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองและพระองค์เดียวในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน และ สมเด็จพระราชินีซิลเวีย แรกประสูติพระองค์ทรงเป็นมกุฎราชกุมารแห่งสวีเดนและคงดำรงพระอิสริยยศนี้และรัชทายาทลำดับที่ 1 ในลำดับการสืบราชบัลลังก์เป็นเวลา 7 เดือนจนกระทั่งวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2523 ซึ่งได้ทรงถูกถอดถอนทั้งสองตำแหน่งจากการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติการสืบราชสมบัติเพื่อให้ทายาทของกษัตริย์สืบสันตติวงศ์ได้ไม่ว่าจะเป็นเพศใด นับแต่นั้นเจ้าชายทรงอยู่ลำดับที่ 2 ของลำดับการสืบราชบัลลังก์สวีเดน ต่อจากเจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน พระเชษฐภคินี แต่อย่างไรก็ดี เจ้าชายก็ทรงอยู่ลำดับก่อนหน้าในสายการสืบราชบัลลังก์อังกฤษเนื่องจากประเทศอังกฤษยังให้สิทธิบุรุษสืบราชสมบัติก่อนหน้าสตรีอยู่ เจ้าชายคาร์ล ฟิลิปทรงเข้ารับศีลจุ่มเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2522 ณ โบสถ์หลวง (Storkyrkan) กรุงสต็อกโฮล์ม โดยทรงมีพ่อและแม่ทูนหัวดังนี้คือ เจ้าชายเบร์ติล ดยุกแห่งฮัลลันด์ เจ้าชายเลโอโพลด์แห่งบาวาเรีย สมเด็จพระบรมราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และ เจ้าหญิงบีร์กิตตาแห่งสวีเดน.

ใหม่!!: ดยุกและเจ้าชายคาร์ล ฟิลิป ดยุกแห่งแวร์มลันด์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเดนมาร์ก

้าหญิงคริสตินาแห่งเดนมาร์ก (Christine af Danmark; พฤศจิกายน ค.ศ. 1521 - 10 ธันวาคม ค.ศ. 1590) เป็นเจ้าหญิงเดนมาร์ก ซึ่งได้เป็นดัชเชสพระมเหสีแห่งมิลาน จากนั้นเป็นดัชเชสพระมเหสีแห่งลอแรน พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งลอแรนในช่วงปี..

ใหม่!!: ดยุกและเจ้าหญิงคริสตินาแห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยอด (มุทราศาสตร์)

รื่องยอด (Crest) เป็นองค์ประกอบของตราอาร์มที่ได้ชื่อดังกล่าวเพราะตำแหน่งที่ตั้งอยู่เหนือหมวกเกราะเหมือนหงอนที่อยู่บนหัวนกบางชนิด เครื่องยอดแรกที่สุดของอิสริยาภรณ์เป็นภาพที่เขียนบนพัดโลหะ ที่มักจะนำมาใช้ในการประดับตราอาร์ม ที่เขียนบนโล่ ที่ต่อมาเลิกใช้ไป ต่อมาเครื่องยอดใช้แกะบนหนังหรือวัสดุอื่น เดิม “เครื่องยอด” มักจะติดต่อลงมายังพู่ประดับ แต่ปัจจุบันเครื่องยอดมักจะอยู่เหนือผ้าคาด (torse) ที่ประกอบด้วยสีหลักของโล่ (สีประจำเหล่า) แต่บางครั้งก็จะมีการใช้จุลมงกุฎแทนผ้าคาด แต่ก็มีบ้างในบางกรณีก็มีจุลมงกุฎเหนือผ้าคาดและเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยอด เครื่องยอดจุลมงกุฎที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือรูปสัญลักษณ์ของจุลมงกุฎดยุก ที่มีสี่แฉกแทนที่จะเป็นแปดแฉก ถ้าเป็นเครื่องยอดของเมืองก็มักจะเป็น “มงกุฎเชิงเทิน” (mural crown) หรือจุลมงกุฎในรูปของหยักเชิงเทิน สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องยอดก็อาจจะเป็นสัตว์โดยเฉพาะสิงโต ตามปกติมักจะเป็นครึ่งด้านหน้า, มนุษย์ที่มักจะเป็นรูปครึ่งตัว, แขนหรือมือถืออาวุธ หรือปีกนก ในเยอรมนีและประเทศใกล้เคียงเครื่องยอดมักจะนำมาจากเครื่องหมายประจำกลุ่มในรูปของหมวกสูง, ขนนกบนหมวกสลับสี หรือแตรงอนคู่ แตรอาจจะมีรูตรงปลายเพื่อเสียบช่อขนนกหรือช่อดอกไม้.

ใหม่!!: ดยุกและเครื่องยอด (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เคานต์

นต์ (Count) หรือ กราฟ (Graf) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางที่ใช้กันในยุโรป ภริยาของเคานต์เรียกว่า เคาน์เตส (Countess) เคานต์ปกครองดินแดนที่มีศักดิ์เป็นเคาน์ตี อำนาจในทางปกครองของเคานต์จะเรียกว่า "countship" ชื่อตำแหน่งมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า "comte" ที่มาจากภาษาลาติน "comes" ที่แปลว่าเพื่อน (companion) และต่อมาหมายถึง "สหายของจักรพรรดิ หรือผู้แทนของจักรพรรดิ" ในอังกฤษไม่ใช้ตำแหน่งเคานต์ แต่ใช้ตำแหน่งที่เท่าเทียมกันที่เรียกว่า "เอิร์ล" แต่ภริยาของเอิร์ลก็ยังคงเรียกว่าเคาน์เตส ตำแหน่งที่เท่ากับเคานต์ในประเทศอื่น เช่น กราฟ (Graf) ในเยอรมัน, ฮะกุชะกุ (伯爵)ในญี่ปุ่น พระราชวงศ์ยุโรปมักจะใช้ตำแหน่ง "เคานต์" เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์เพื่อพระราชทานแก่สมาชิกในพระราชวงศ์โดยเฉพาะ ตำแหน่งกิตติมศักดิ์นี้จะไม่มีอำนาจในทางปกครอง ในสหราชอาณาจักร "เอิร์ล" มักจะเป็นบรรดาศักดิ์ที่ได้แก่บุตรชายคนแรกของดยุก.

ใหม่!!: ดยุกและเคานต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Dukeดยุคดัชเชสดุ๊กแฮร์ซอก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »