โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์

ดัชนี ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์

็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์ (Jean-Auguste-Dominique Ingres; 24 สิงหาคม ค.ศ. 1780 - 14 มกราคม ค.ศ. 1867) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูคลาสสิกชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนประวัติศาสตร์และภาพเหมือน แอ็งกร์เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1780 ในจังหวัดตาร์เนการอน ประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1867 ที่ปารีส แอ็งกร์ถือว่าตนเองเป็นจิตรภาพประวัติศาสตร์ตามแบบนีกอลา ปูแซ็ง และฌัก-หลุยส์ ดาวิด (Jacques-Louis David) แต่ในบั้นปลายความสามารถในการเขียนภาพเหมือนภาพเหมือนทั้งภาพเขียนและการวาดเส้นเป็นสิ่งที่ทำให้แอ็งกร์เป็นที่รู้จัก แอ็งกร์เป็นผู้ที่นับถือชื่นชมประวัติศาสตร์และเป็นผู้ที่พยายามพิทักษ์ความรู้แบบสถาบันต่อขบวนการลัทธิจินตนิยมที่กำลังคืบคลานเข้ามาที่นำโดยเออแฌน เดอลาครัว แอ็งกร์กล่าวสรรเสริญจิตรกรรมของจิตรกรสำคัญ ๆ ที่ผ่านมาเช่นราฟาเอล และประกาศตนว่าเป็นผู้รักษากฎเกณฑ์การวาดภาพที่สูงส่งเช่นนั้นและไม่ใช่เป็นผู้ “คิดค้น” วิธีใหม่ แต่อย่างไรก็ตามในความเห็นสมัยใหม่เห็นว่าแอ็งกร์และศิลปินฟื้นฟูคลาสสิกเป็นผู้ที่โอบอุ้มปรัชญาจินตนิยมของสมัยนั้น นอกจากนั้นการแสดงความบิดเบือนของรูปทรงและช่องว่างของแอ็งกร์เป็นแนวโน้มของของศิลปะสมัยใหม่ที่จะมาถึง.

8 ความสัมพันธ์: มาร์ก ไรเดนวีนัสหลับ (จอร์โจเน)อาสนวิหารโอเติงอีดิปัสฮาเร็มจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์แมรี เคแซตแอดการ์ เดอกา

มาร์ก ไรเดน

มาร์ก ไรเดน (Mark Ryden เกิด 20 มกราคม ค.ศ. 1963) เป็นจิตรกรชาวอเมริกัน ส่วนหนึ่งของศิลปะใต้ดินKen Johnson,, The New York Times, May 6, 2010.

ใหม่!!: ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์และมาร์ก ไรเดน · ดูเพิ่มเติม »

วีนัสหลับ (จอร์โจเน)

วีนัสหลับ หรือ วีนัสแห่งเดรสเดน (Sleeping Venus หรือ Dresden Venus, I tre filosofi) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอร์โจเนจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอจิตรกรรมชั้นครูแห่งเดรสเดนในประเทศเยอรมนี ภาพ “วีนัสหลับ” เขียนเสร็จราวระหว่างปี ค.ศ. 1510 ภาพ “วีนัสหลับ” เป็นภาพที่มีอิทธิพลต่องานเขียนอื่นๆ หลายชิ้น ในปัจจุบันเชื่อกันว่าทิเชียนเป็นผู้เขียนฉากหลังที่เป็นภูมิทัศน์ ที่มาเขียนหลังจากที่จอร์โจเนเสียชีวิตไปแล้ว ตามที่วาซาริตั้งข้อสังเกต ภาพ “วีนัสหลับ” เป็นงานหนึ่งในงานเขียนสุดท้ายของจอร์โจเนที่เป็นภาพสตรีเปลือย ที่ดูเหมือนร่างจะมีส่วนโค้งเว้าตามแนวเนินในฉากหลัง ดูเหมือนว่าจอร์โจเนจะเขียนรายละเอียดของแสงเงาของฉากหลังอย่างบรรจง การเลือกเขียนสตรีเปลือยเป็นแนวการเขียนที่เป็นการปฏิวัติทางศิลปะและเป็นจุดที่ผู้เชี่ยวชาญบางท่านถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของศิลปะยุคใหม่ จอร์โจเนมาเสียชีวิตเสียก่อนที่ภาพเขียนนี้จะเขียนเสร็จ ซึ่งทำให้เชื่อกันว่าทิเชียนมาเขียนภูมิทัศน์และท้องฟ้าในฉากหลัง ที่ทิเชียนนำมาเขียนต่อมาในภาพ “วีนัสแห่งเออร์บิโน” ความยั่วยวนของวีนัสในภาพนี้อยู่ที่การวางท่าและตำแหน่งของมือซ้ายที่วางระหว่างต้นขา ผ้าปูเขียนเป็นสีเงินและเป็นเงาเหมือนผ้าซาตินซึ่งเป็นสีเย็นแทนที่จะเป็นสีร้อนของผ้าลินนินที่นิยมเขียนกัน ลักษณะของผ้าดูแข็งเมื่อเทียบกับที่พบในภาพเขียนของทิเชียนหรือเดียโก เบลัซเกซ ภูมิทัศน์โค้งตามส่วนโค้งของร่างของวีนัสที่เป็นการสะท้อนให้เห็นความคิดของความเกี่ยวข้องระหว่างร่างกายของมนุษย์ว่าเป็นสิ่งธรรมชาติที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตและเจริญเติบโตได้ มีผู้อ้างว่าการวางท่าของวีนัสมีลักษณะคล้ายกับภาพพิมพ์แกะไม้ The pose of the figure has been connected with a figure in one of the ภาพพิมพ์แกะไม้ประกอบของหนังสือ “Hypnerotomachia Poliphili” (โพลิฟิลิตามความรักในฝัน) ที่พิมพ์ในปี..

ใหม่!!: ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์และวีนัสหลับ (จอร์โจเน) · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารโอเติง

อาสนวิหารโอเติง (Cathédrale d'Autun) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญลาซารัสแห่งโอเติง (Cathédrale Saint-Lazare d'Autun) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกอันเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโอเติง ตั้งอยู่ที่เมืองโอเติง จังหวัดโซเนลัวร์ แคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญลาซารัสแห่งแอ็กซ์ สร้างขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12 เพื่อเป็นอาสนวิหารหลังใหม่ทดแทน "อาสนวิหารนักบุญนาซาริอุสแห่งโอเติง" อาสนวิหารหลังเก่าซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 อาสนวิหารโอเติงเป็นหนึ่งในตัวอย่างของอาสนวิหารแบบโรมาเนสก์ที่ประกอบด้วยทั้งงานสถาปัตยกรรมและศิลปะตกแต่งภายในช่วงที่สมัยที่ศิลปะโรมาเนสก์มีความเจริญถึงขีดสุด และยังเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ในประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์และอาสนวิหารโอเติง · ดูเพิ่มเติม »

อีดิปัส

อีดิปัสกับสฟิงซ์ (Oedipus and the Sphinx) วาดโดยฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์ ค.ศ. 1805 ภาพ Oedipus at Colonus วาดโดย Fulchran-Jean Harriet ค.ศ. 1798 อีดิปัส หรือ ออยดิปุส(Oedipus, (อีดิปัส), (เอดิปัส); Οἰδίπους (ออยดิปุส) แปลว่า "เท้าบวม") เป็นกษัตริย์เมืองธีบส์ในเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของกษัตริย์ไลอัส (Laius) แห่งธีบส์ ที่เกิดแต่พระนางโยคัสตา (Jocasta) เมื่อแรกเกิดได้รับคำทำนายจากเทพพยากรณ์ว่า เมื่อโตขึ้นจะเป็นผู้ฆ่าบิดาและสมรสกับมารดาตัวเอง และนำหายนะมาสู่ครอบครัวและเมืองทีบส์ อีดิปัสมีชื่อเสีงเป็นที่จดจำได้ในฐานะวีรบุรุษกรีกผู้แก้ปริศนาของสฟิงซ์ได้ เรื่องราวของอีดิปัสเป็นแรงบัลดาลใจให้กับงานศิลปะมากมายทั้งในยุคโบราณและยุคต่อๆมา ผู้สืบสายเลือดของอีดิปัสถูกสาปให้มีชะตากรรมยากลำบาก และเป็นแนวคิดที่นำไปสู่การพัฒนาละครโศกนาฏกรรม ตำนานของอีดิปัสได้รับการเล่าขานต่อมา และได้รับการบันทึกเป็นครั้งแรกราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล โดยโฮเมอร์ ตำนานที่มีชื่อเสียงคือเรื่อง "Oedipus the King" (Οἰδίπους Τύραννος, Oedipus Rex, อีดิปุส จอมราชันย์) และ "Oedipus at Colonus" (Οἰδίπους ἐπὶ Κολωνῷ) โดยซอโฟคลีส ถูกนำมาเล่นเป็นละครไตรภาคในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล อีดิปัสถูกนำชื่อมาใช้ในการอธิบายภาวะการเติบโตทางจิตของวัยเด็ก.

ใหม่!!: ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์และอีดิปัส · ดูเพิ่มเติม »

ฮาเร็ม

ฉากใน “ฮาเร็ม” โดย จิโอวานนิ อันโตนิโอ กวาร์ดิ (Giovanni Antonio Guardi) ฮาเร็ม (Harem) เป็นตุรกีที่มาจากอาหรับ “حرم” (ḥaram) ที่แปลว่า “สถานที่ต้องห้าม, สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือที่ปลอดภัย” ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “حريم” (ḥarīm) ที่แปลว่า “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ห้ามเข้าสำหรับสมาชิกสตรีในครอบครัว” และคำว่า “حرام ” (ḥarām) ที่แปลว่า “ห้าม หรือ ศักดิ์สิทธิ์” ฮาเร็ม หมายถึงบริเวณสำหรับสตรีโดยเฉพาะสำหรับครอบครัวระบบพหุภริยา (polygyny) ที่เป็นบริเวณที่ต้องห้ามสำหรับบุรุษ คำว่าฮาเร็มมาจากตะวันออกใกล้และนำเข้ามาใช้ทางตะวันตกทางจักรวรรดิออตโตมัน การใช้คำนี้ในสมัยใหม่รวมถึงกลุ่มสตรีที่มีความสัมพันธ์กับบุรุษคนเดียวกัน.

ใหม่!!: ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์และฮาเร็ม · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์

อห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ (ภาษาอังกฤษ: John Singer Sargent) (12 มกราคม ค.ศ. 1856 - 14 เมษายน ค.ศ. 1925) เป็นจิตรกรคนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพภูมิทัศน์, ภาพเหมือน และ การใช้สีน้ำ ซาร์เจนท์เกิดที่ฟลอเรนซ์ ที่ประเทศอิตาลี บิดามารดาเป็นชาวอเมริกัน ซาร์เจนท์ศึกษาที่อิตาลีและเยอรมนี ต่อมาที่ปารีสกับอีมิล โอกุสต์ คาโรลุส-ดูแรง (Emile Auguste Carolus-Duran) ในชีวิตซาร์เจนท์เขียนจิตรกรรมสีน้ำมันด้วยกันทั้งสิ้นราว 900 ภาพ และอีก 2,000 ภาพเขียนด้วยสีน้ำ นอกจากนั้นก็ยังมีงานเขียนภาพร่าง และภาพวาดลายเส้นด้วยถ่านอีกด้ว.

ใหม่!!: ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์และจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ · ดูเพิ่มเติม »

แมรี เคแซต

แมรี สตีเวนสัน เคแซต (Mary Stevenson Cassatt; 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 - 14 มิถุนายน ค.ศ. 1926) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน และการทำภาพพิมพ์ มักจะวาดภาพชีวิตทั้งทางการสังคมและการส่วนตัวของผู้หญิงโดยเน้นความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างแม่และลูก แมรี เคแซตใช้เวลาส่วนใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส และเมื่อย้ายไปอยู่ปารีสแมรีก็ทำความรู้จักกับแอดการ์ เดอกา ผู้มีอิทธิพลต่องานเขียนของเคแซต ต่อมาแมรีก็ได้แสดงผลงานร่วมกับจิตรกรอิมเพรสชันนิสม์คนอื่น.

ใหม่!!: ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์และแมรี เคแซต · ดูเพิ่มเติม »

แอดการ์ เดอกา

“ภาพเหมือน” (ราวปี ค.ศ. 1854) โดย แอดการ์ เดอกา แอดการ์ เดอกา (Edgar Degas, 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 - 27 กันยายน พ.ศ. 2460) จิตรกร ประติมากร ช่างภาพพิมพ์ และช่างวาด สมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 เดอกาเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนก่อตั้งศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์แต่เดอกามาหันหลังให้และชอบให้เรียกตนเองว่าศิลปินสัจนิยม (Realist) มากกว่ากอร์ดอนและฟอร์จ,..

ใหม่!!: ฌ็อง-โอกุสต์-ดอมีนิก แอ็งกร์และแอดการ์ เดอกา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Jean Auguste Dominique Ingresฌอง โอกุสต์ โดมินิค อิงเกรส์ฌอง เอากุสต์ โดมินิค อิงเกรส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »