สารบัญ
การบินไทย เที่ยวบินที่ 114
การบินไทย เที่ยวบินที่ 114 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินโบอิง 737-4D7 ของการบินไทย เดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปท่าอากาศยานเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เวลา 14:48 น.
ดู ซีโฟร์และการบินไทย เที่ยวบินที่ 114
ระเบิดพลาสติก
ระเบิดพลาสติก (Plastic explosive หรือ plastique) คือวัตถุระเบิดชนิดพิเศษอย่างหนึ่ง ที่อ่อนนุ่ม ใช้มือกดดัดให้เปลี่ยนรูปได้ ทั้งยังเก็บไว้ในช่วงอุณหภูมิสูงที่กว้างกว่าระเบิดชนิดบริสุทธิ์ ระเบิดพลาสติกนั้นเหมาะเป็นพิเศษกับการระเบิดทำลาย เพราะสามารถขึ้นรูปได้ง่าย สำหรับการตัดโครงสร้างที่แข็งแรง และมีความเร็วสูงพอสำหรับการชุดชนวนและมีความรุนแรงสำหรับการตัดโลหะ แต่จะไม่นิยมใช้ระเบิดพลาสติกสำหรับการทำลายทั่วไป เพราะระเบิดพลาสติกมีราคาแพงกว่าวัตถุระเบิดชนิดอื่นๆ ซึ่งทำงานได้ดีในขอบข่ายงานดังกล่าว นอกจากนี้เมื่อห่อระเบิดไว้ในพลาสติก อานุภาพมักจะต่ำกว่าเมื่อไม่ห่อหุ้ม ระเบิดพลาสติกที่เก่าแก่ที่สุด คือ โนเบล 808 (Nobel 808) ที่พัฒนาขึ้นมาด้วยดีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และใช้อย่างแพร่หลายโดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษของอังกฤษ ในช่วงสงครามดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีใช้โดยบรรจุในระเบิดทำลายรถถังแบบ HESH ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองและหลังจากนั้น มีการพัฒนาระเบิดแบบใหม่ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง โดยมีส่วนประกอบเป็น RDX ได้แก่ Composition C, C2 และสุดท้ายก็เป็น C3 การใช้ระเบิดที่มี RDX เป็นส่วนประกอบ สามารถผลิตพลาสติกได้หลากหลาย เพื่อลดความไวในการระเบิด และผลิตพลาสติกเป็นส่วนประกอบ ระเบิดซีทรี (C3) มีประสิทธิภาพสูงก็จริง แต่มีจุดอ่อนเมื่ออยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็น จะทำให้เกิดการร่วนแตกง่าย เมื่อถึงทศวรรษ 1960 จึงมีการพัฒนาระเบิดซีโฟร์ (C-4) ขึ้นมา เพื่อใช้แทนระเบิดพลาสติก ซึ่งมีส่วนผสมของอาร์ดีเอกซ์เช่นเดียวกัน แต่ใช้ร่วมกับโพลีไอโซบิวทีลีน (polyisobutylene) และได (2-เอทิลเฮกซีล) ซีเบเคต (di (2-ethylhexyl) sebacate) นอกจากนี้ ในช่วงเวลายังมีการพัฒนา Semtex ขึ้น โดยสตานิสลาฟ เบรเบรา จากการผสมสาร RDX กับ PETN และจากนั้นก็เพิ่มเครื่องห่อหุ้มและอุปกรณ์เพิ่มเสถียรภาพ ระเบิดพลาสติกที่มีใช้ในปัจจุบันด้วยกันหลายแบบ ได้แก่ ซีโฟร์ (C-4), PENO, พรีมาชีต (Primasheet) และ Semtex.
ทุ่นระเบิดเคลย์มอร์
ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล เอ็ม18เอ1 เคลย์มอร์ (M18A1 Claymore anti-personnel mine) เป็นทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ที่ใช้งานโดยกองทัพสหรัฐ ออกแบบโดยนอร์แมน แม็กลีออด ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อทุ่นระเบิดชนิดนี้ ตามศัพท์ภาษาแกลิกแบบสกอต "เคลย์มอร์" ระเบิดรุ่นแรกใช้ชื่อว่า เอ็ม18 เคลย์มอร์ ออกแบบขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950 เริ่มใช้งานครั้งแรกในสงครามเวียดนาม ประกอบด้วยกล่องพลาสติกรูปโค้ง ภายในบรรจุซีโฟร์ และสะเก็ดสังหารเป็นลูกกลมเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/8 นิ้ว จำนวน 700 ลูก เมื่อถูกจุดระเบิดลูกเหล็กจะพุ่งเป็นแนวรูปพัด ระยะประมาณ 100 เมตร ทำมุมประมาณ 60 องศา ความสูงประมาณ 2 เมตร ด้วยความเร็วประมาณ 1,200 เมตร/วินาที การจุดระเบิดทำได้สามวิธีคือ ใช้ผู้ควบคุม ไม่ใช้ผู้ควบคุม (ทำงานโดยใช้สายลวด หรือระบบอื่นๆ เช่น สวิทช์แสง สวิทช์จับความเคลื่อนไหว สวิทช์สั่นสะเทือน) และระบบหน่วงเวลา สามารถทำความสูญเสียกับทหารราบและยานยนต์ไม่หุ้มเกราะ ในประเทศไทย บางครั้งมีผู้เรียกระเบิดชนิดนี้ว่า "เคโม".
ดู ซีโฟร์และทุ่นระเบิดเคลย์มอร์
นรกระฟ้า
นรกระฟ้า (Die Hard) เป็นภาพยนตร์โลดโผน/ระทึกขวัญ กำกับโดยจอห์น แมคเทียร์แนน เขียนบทโดยสตีเฟ่น อี.
แสบคูณสอง
แสบคูณสอง เป็นรายการเกมโชว์ในประเทศไทยที่ออกอากาศมาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 และยุติการออกอากาศในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ C-4