โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซีเอนา

ดัชนี ซีเอนา

มืองเซียนายามค่ำ เซียนา (Siena) อยู่ในแคว้นตอสคานา ประเทศอิตาลี และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดเซียนา ในยุคกลางเซียนาเป็นเมืองคู่แข่งของฟลอเรนซ์ที่มีชื่อเสียงทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ใจกลางเมืองเก่าของเซียนาได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี..

45 ความสัมพันธ์: ชีมาบูเอกวีโด ดา ซีเอนากาเตรีนาแห่งซีเอนามหาวิหารซีเอนามหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมาเอสตะยุทธการที่ซานโรมาโนยุทธการที่ซานโรมาโน (อุชเชลโล)รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนรายชื่อธงในประเทศอิตาลีรายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปใต้รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศอิตาลีสกุลศิลปะเซียนาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีสีฝุ่นเทมเพอราสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1551-1559)อกอสติโน ชิจิอัมโบรโจ โลเรนเซตตีอารามมอนเตโอลีเวโตมัจโจเรอาสนวิหารจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีทอเร อังเดร โฟลดุชโชซานจีมิญญาโนซีโมเน มาร์ตีนีปาลัซโซปุบบลีโกปิซาปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกาปีเอโตร กาวัลลีนีปีเอโตร โลเรนเซตตีนิคโคโล เดลอาร์คาแม่พระและพระกุมารกับนักบุญยอห์นแบปติสต์แท่นเทศน์ของโบสถ์ซันตันเดรอาโบสถ์น้อยกีจีโกปปาอีตาเลีย ฤดูกาล 2016–17โจวันนี ปีซาโนเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซียเกลฟ์และกิเบลลิเนเมดีชีเวกกีเอตตาเจนตีเล ดา ฟาบรีอาโนเซเรียอา ฤดูกาล 2011–12เซเรียอา ฤดูกาล 2012–13007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก

ชีมาบูเอ

“จิตรกรรมมาเอสตา” ค.ศ. 1280-ค.ศ. 1285 ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ “Crucifix” ค.ศ. 1287-ค.ศ. 1288 ที่ บาซิลิกาดิซานตาโครเช (Basilica di Santa Croce)ฟลอเรนซ์ เชนนี ดิ เป็บโป (จิโอวานนี) ชิมาบูเย (ภาษาอิตาลี: Cenni di Pepo (Giovanni) Cimabue) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า เบนชิเวียนี ดิ เป็บโป (Bencivieni Di Pepo) หรือในภาษาอิตาลีสมัยใหม่ว่า เบนเวนูโต ดิ จุยเซ็พปี (Benvenuto Di Giuseppe) (ประมาณ ค.ศ. 1240-ประมาณ ค.ศ. 1302) เป็นจิตรกรและช่างโมเสกชาวอิตาลีจากเมืองฟลอเรนซ์ (ผู้เป็นอาจารย์ของจอตโต ดี บอนโดเน) ชิมาบูเยมีบทบาทสำคัญต่องานจิตรกรรมในประเทศอิตาลี และถือว่าเป็นจิตรกรคนสำคัญคนสุดท้ายของสมัยศิลปะไบแซนไทน์ ศิลปะยุคนี้ประกอบด้วยโครงสร้างและทิวทัศน์ที่ยังเป็นสองมิติและเป็นสมัยที่เน้นการตกแต่ง (highly stylized) คล้ายจิตรกรรมฝาผนังในวัดไทย ชิมาบูเยเป็นผู้ริเริ่มการวาดแบบใกล้เคืยงธรรมชาติดังจะเห็นได้จากรูปคนที่ขนาดสัดส่วนเท่าคนจริงและการเริ่มใช้แสงเงาบ้างเล็กน้อ.

ใหม่!!: ซีเอนาและชีมาบูเอ · ดูเพิ่มเติม »

กวีโด ดา ซีเอนา

กุยโด ดา เซียนา หรือ กุยโด ดิ กราเซียโน (Guido da Siena หรือ Guido di Graziano) เป็นจิตรกรยุคศิลปะไบแซนไทน์ของอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 13 กุยโด ดา เซียนาอาจจะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงลักษณะการเขียนจิตรกรรมเช่นเดียวกับชิมาบูเยที่สามารถทำสำเร็จต่อมา แต่ประเด็นนี้ยังไม่เป็นที่ตกลงกันได้ งานที่เป็นที่รู้จักกันของกุยโดเป็นงานจิตรกรรมแผงที่ปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายชิ้น วัดซานโดเมนนิโคในเซียนามีภาพเขียนชิ้นใหญ่ contains a large painting of the “” พร้อมกับเทวดาหกองค์ด้านบน คอนแวนต์เบ็นนาดิคตินในเซียนาเช่นกันมีส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมเหนือภาพเขียนเป็นภาพพระมหาไถ่ในท่าประทานพร (in benediction) กับเทวดาสององค์ ภาพสองชิ้นนี้เดิมเป็นภาพเดียวกันที่เดิมเป็นบานพับภาพ แผงหลังของภาพมีคำจารึกภาษาละตินที่บ่งชื่อจิตรกรว่าคือ “Guido de Senis” และปี..

ใหม่!!: ซีเอนาและกวีโด ดา ซีเอนา · ดูเพิ่มเติม »

กาเตรีนาแห่งซีเอนา

นักบุญกาเตรีนาแห่งซีเอนา (Caterina da Siena) เป็นสมาชิกคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม..

ใหม่!!: ซีเอนาและกาเตรีนาแห่งซีเอนา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซีเอนา

อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (cattedrale metropolitana di Santa Maria Assunta) หรือ มหาวิหารซีเอนา (Duomo di Siena) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองซีเอนาในประเทศอิตาลี เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลซีเอนา-กอลเลดีวัลเดลซา-มอนตัลชีโน มหาวิหารซีเอนาเริ่มออกแบบและสร้างเป็นครั้งแรกระหว่างปี ค.ศ. 1215 ถึง ค.ศ. 1263 บนฐานของโบสถ์หลังเดิม แผนผังมหาวิหารเป็นแบบกางเขนละตินโดยมีส่วนขวางด้านหนึ่งยื่นออกมากว่าปกติ พร้อมกับโดมและหอระฆัง โดมที่ตั้งอยู่บนหอแปดเหลี่ยมมาสร้างเพิ่มโดยจัน โลเรนโซ แบร์นีนี ทางเดินกลางแยกจากทางเดินข้างด้วยซุ้มโค้งครึ่งวงกลม ภายนอกและภายในตกแต่งด้วยแถบหินอ่อนขาวสลับเขียวดำยกเว้นด้านหน้าที่แทรกด้วยหินอ่อนสีชมพูแก่เกือบแดง สีขาวดำเป็นสีสัญลักษณ์ของเมืองเซียนาซึ่งตามตำนานกล่าวว่าเป็นสีของม้าของเซเนียสและอาสเคียสผู้ก่อตั้งเมือง.

ใหม่!!: ซีเอนาและมหาวิหารซีเอนา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (Basilica di San Francesco d'Assisi; Basilica of St.) ตั้งอยู่ที่เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกของคณะฟรันซิสกัน ซึ่งเป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีก่อตั้งขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชั้นบนและชั้นล่างของมหาวิหารมองจากจัตุรัสเดลเลลอจเจ (Piazza delle Logge).

ใหม่!!: ซีเอนาและมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

มาเอสตะ

มาเอสตะ (Maestà) แปลว่า “เดชานุภาพ” เป็นลักษณะการเขียนภาพรูปเคารพแม่พระและพระกุมารที่อาจจะมีนักบุญและทูตสวรรค์รวมอยู่ด้วย “มาเอสตะ” เกี่ยวข้องกับ “บัลลังก์แห่งปรีชาญาณ” (Seat of Wisdom) ซึ่งเป็นหัวเรื่องของภาพ “พระมารดาพระเจ้า” (Theotokos) ซึ่งเป็นภาพคู่กับพระคริสต์ทรงเดชานุภาพ (Christ in Majesty) ที่มีมาก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นภาพพระเยซูบนบัลลังก์ที่นิยมกันในงานโมเสกของสมัยไบเซนไทน์ หรือบางครั้งนักประวัติศาสตร์ศิลปะจะเรียกว่า “พระราชินีมารีย์” (Maria Regina) ที่เป็นพระแม่มารีย์นั่งบนบัลลังก์แต่ไม่มีพระกุมาร ทางตะวันตกงานเขียนประเภทนี้วิวัฒนาการมาจากศิลปะไบแซนไทน์ เช่น ภาพจักรพรรดินีเฟาสตาสวมมงกุฏอุ้มบุตรชายบนพระเพลาบนเหรียญคอนแสตนติน และในงานเขียนเช่นการฉลองการสวมมงกุฏของพระเจ้าจัสตินที่สองในปี..

ใหม่!!: ซีเอนาและมาเอสตะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ซานโรมาโน

ทธการที่ซานโรมาโน (Battaglia di San Romano) เป็นยุทธการในสงครามลอมบาร์ด ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1432 ที่ซานโรมาโนในอิตาลี เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของสาธารณรัฐฟลอเรนซ์ที่นำโดยนิกโกลอ ดา โตเลนตีโน และมีเกเลตโต อัตเตนโดโล และสาธารณรัฐเซียนาที่นำโดยฟรันเชสโก ปิชชีนีโน ผลของสงครามครั้งนี้สาธารณรัฐฟลอเรนซ์อ้างว่าเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ แต่ทางสาธารณรัฐเซียนาก็บันทึกว่าได้รับชัยชนะเช่นกัน ในด้านความเสียหายทหารม้า 400 คนของสาธารณรัฐฟลอเรนซ์ถูกจับเป็นเชลย ทหารม้า 400 ถูกจับเป็นเชลย ส่วนฝ่ายทหารม้า 600 คนของสาธารณรัฐเซียนาถูกจับเป็นเชลย และทหารราบอีกไม่ทราบจำนวน.

ใหม่!!: ซีเอนาและยุทธการที่ซานโรมาโน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ซานโรมาโน (อุชเชลโล)

ทธการที่ซานโรมาโน (Battaglia di San Romano) เป็นจิตรกรรมสีฝุ่นบนไม้สามภาพที่เขียนโดยปาโอโล อุชเชลโล จิตรกรสมัยเรอแนซ็องส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติในลอนดอน, หอศิลป์อุฟฟีซีในฟลอเรนซ์ และพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในปารีส ปาโอโล อุชเชลโลเขียนภาพ "ยุทธการที่ซานโรมาโน" ในปี ค.ศ. 1432 เป็นภาพที่บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุทธการที่ซานโรมาโน ในปี..

ใหม่!!: ซีเอนาและยุทธการที่ซานโรมาโน (อุชเชลโล) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน

แผนที่แสดงมหาวิทยาลัยในยุโรปยุคกลาง รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน ในบทความนี้ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตรงตามนิยามมหาวิทยาลัย ณ วันที่ก่อตั้ง และจะต้องก่อตั้งก่อน พ.ศ. 2043 (ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยามาแล้ว 150 ปี) และจะต้องมีการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้หยุดกิจกรรมอย่างสำคัญมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากการให้ปริญญาสำหรับการศึกษาขั้นสูงในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในยุโรปและตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ และนิยามมหาวิทยาลัยสมัยใหม่หมายถึงสถานศึกษาที่มีความสามารถในการให้ปริญญา มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีคุณสมบัติตรงนิยามสมัยใหม่ดังกล่าวจึงอยู่ในยุโรปหรือ ตะวันออกใกล้ แต่หากขยายนิยามให้กว้างขึ้นรวมไปถึงมหาวิทยาลัยโบราณที่เดิมไม่ได้มีการให้ปริญญาในขณะนั้นแต่ให้ในปัจจุบันด้วยแล้ว รายชื่อนี้อาจมีมากขึ้นโดยรวมไปถึงสถาบันอื่นๆ ทั้งในยุโรปและส่วนอื่นของโลกอีกหลายมหาวิทยาลัย สุดท้าย แม้ด้วยบทบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรปก็ยังมีข้อโต้เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการกำหนดว่ามหาวิทยาลัยใดกันแน่ที่เป็นมหาวิทยาลัยของแผ่นดินใหญ่ยุโรป มหาวิทยาลัยโบโลญญาที่เกิดก่อน มหาวิทยาลัยปารีสเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยนักศึกษาที่รวมตัวกันหาครูผู้สอน ในขณะที่มหาวิทยาลัยปารีสก่อตั้งโดยคณะผู้สอนแล้วจึงหานักศึกษามาเรียน บางแห่ง (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยปารีส) ก็ยังพยามยามอ้างว่าตนเองเริ่มต้นด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแท้มาแต่ต้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามหาวิทยาลัยโบโลนาตั้งขึ้นก่อนมหาวิทยาลัยปารีส การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ามีกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของมหาวิทยาลัยได้มีมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 1621 (ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย 170 ปี) ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุโรปอาจเป็นมหาวิทยาลัยซาลามังกา (University of Salamanca) ซึ่งเก่าแก่มากกว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยที่กล่าวมาแล้ว.

ใหม่!!: ซีเอนาและรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศอิตาลี

ทความนี้ว่าด้วยธงต่างๆ ในประเทศอิตาลีโดยสังเขป สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธงชาติ สามารถศึกษาได้จากบทความธงชาติอิตาลี.

ใหม่!!: ซีเอนาและรายชื่อธงในประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปใต้

รปใต้.

ใหม่!!: ซีเอนาและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศอิตาลี

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศอิตาลีทั้งสิ้น 53 แหล่ง เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 48 แห่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติอีก 5 แห่ง.

ใหม่!!: ซีเอนาและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

สกุลศิลปะเซียนา

“จิตรกรรมมาเอสตา พระแม่มารีและพระบุตรบนบัลลังก์และเทวดา 20 องค์และนักบุญ 19 องค์” โดยดุชโช (ค.ศ. 1308-ค.ศ. 1311) ที่พิพิธภัณฑ์ของมหาวิหารเซียนนา ตระกูลการเขียนภาพแบบเซียนนา (ภาษาอังกฤษ: Sienese School) เป็นการเขียนภาพจิตรกรรมที่รุ่งเรืองในเมืองเซียนนาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 15 และชั่วระยะเวลาหนึ่งเป็นฝีมือการเขียนที่เทียบเท่ากับตระกูลการเขียนภาพแบบฟลอเรนซ์ แต่ลักษณะของเซียนนาจะไปทางเชิงอนุรักษนิยมมากกว่าและมีแนวโน้มไปทางการตกแต่งที่งดงามแบบปลายศิลปะกอธิค ผู้ที่เป็นตัวแทนการเขียนของตระกูลนี้คนสำคัญก็ได้แก่ดุชโชซึ่งงานมีอิทธิพลมาจากศิลปะแบบ;ซิโมเน มาร์ตินิลูกศิษย์ของดุชโช; เปียโตร และ อัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติ; โดเม็นนิโค และ ทัดดิโอ ดิ บาร์โตโล; สเตฟาโน ดิ จิโอวานนิ และ มัตติโอ ดิ จิโอวานนิ ไม่เช่นการเขียนแบบธรรมชาตินิยมของตระกูลการเขียนแบบฟลอเรนซ์ งานเขียนของเซียนนาจะดูเป็นเชิงรหัสยะ (mystical streak) ซึ่งจะเห็นได้จากหัวเรื่องการวาดที่มักจะเป็นเรื่องเหตุการณ์การปาฏิหาริย์และไม่คำนึงถึงสัดส่วนเท่าใดนักและบิดเบือนเวลาและสถานที่และการใช้สีก็เป็นสีแบบเหมือนฝัน มาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จิตรกรแมนเนอริสม์เช่นโดเม็นนิโค ดิ พาเซ เบคคาฟูมิ และ อิลโซโดมา ก็ทำงานที่นั่น ขณะที่บาลดาสซาเร เปรูซซิ (Baldassare Peruzzi) เกิดและฝึกงานที่เซียนนาแต่งานเขียนแสดงให้เห็นฝีมือที่ได้มาจากที่ได้ทำงานที่กรุงโรมเป็นเวลานาน ฐานะทางเศรษฐกิจและการเมืองของเซียนนาเริ่มตกต่ำในคริสต์ทศวรรษ 1500 ซึ่งทำให้ความมีอิทธิพลทางด้านจิตรกรรมลดถอยตามลงไปด้ว.

ใหม่!!: ซีเอนาและสกุลศิลปะเซียนา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (ภาษาอังกฤษ: Italian Renaissance) เป็นจุดแรกของการเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งเป็นช่วงเวลาของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สูงสุดในยุโรปที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไปจนสิ้นสุดลงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นช่วงเวลาที่เชื่อมระหว่างยุคกลางของยุโรปกับยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Europe) คำว่า “เรอเนสซองซ์” เป็นคำสมัยใหม่ที่มาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในงานของนักประวัติศาสตร์เช่นเจคอป เบิร์คฮาร์ดท์ (Jacob Burckhardt) ที่มาของขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเริ่มจากการวิวัฒนาการทางวรรณกรรมของผู้ก่อตั้งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ วัฒนธรรมด้านอื่นๆของอิตาลีในขณะนั้นยังคงเป็นวัฒนธรรมของยุคกลาง ปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยามิได้แพร่หลายอย่างเต็มที่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 คำว่า “เรอเนสซองซ์” หรือ “Rinascimento” ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “เกิดใหม่” และเป็นสมัยที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในการฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมของกรีกโรมันหลังจากสมัยที่นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์ (Renaissance humanist) ตั้งชื่อว่ายุคมืด (Dark Ages) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแต่จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มชนชั้นสูงและทิ้งให้ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ต่างจากสมัยกลางที่ผ่านมา สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเริ่มในทัสเคนีโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ฟลอเรนซ์และเซียนา และต่อมาในเวนิสที่มีผลเป็นอันมาก เพราะงานต่างๆ ของกรีกโบราณถูกนำไปรวบรวมไว้ที่เวนิสซึ่งทำให้กลายเป็นแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ใหม่ๆ ให้แก่นักมนุษยนิยม ผู้คงแก่เรียนในเวนิสในขณะนั้น ต่อมาปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยาก็มามีอิทธิพลในกรุงโรม ที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ มากมายที่ส่วนใหญ่โดยการอุปถัมภ์ของพระสันตปาปาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นก็ลดถอยลงหลังจากการรุกรานจากต่างประเทศที่ก่อสงครามในอิตาลี แต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีก็มิได้หยุดนิ่งลงแต่เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือของยุโรปและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอังกฤษและประเทศอื่นๆ ในยุโรป สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในความสำเร็จทางด้านวัฒนธรรม วรรณกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรวมนักมนุษยนิยมผู้มีชื่อเสียงเช่นเปตรากที่รู้จักกันดีในงานซอนเน็ต “Il Canzoniere”; จิโอวานนิ บอคคาซิโอ (Giovanni Boccaccio) ในงานเรื่องเล่า “Decameron” และนักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์เช่นโปลิซิอาโน (Poliziano), มาร์ซิลิโอ ฟิซิโน (Marsilio Ficino), โลเร็นโซ วาลลา (Lorenzo Valla), อัลโด มานูซิโอ (Aldo Manuzio), โพจจิโอ บราชชิโอลินิ (Poggio Bracciolini) นอกจากนั้นก็มีนักประพันธ์มหากาพย์เรอเนสซองซ์เช่นบัลดัสซาเร คาสติกลิโอเน (Baldassare Castiglione) (“The Book of the Courtier”), ลุโดวิโค อริโอสโต (Ludovico Ariosto) (“Orlando Furioso”) และทอร์ควาโท ทาสโซ (Torquato Tasso) (“Jerusalem Delivered”) และนักประพันธ์ร้อยแก้วเช่นนิคโคโล มาเคียเวลลี (“The Prince”) จิตรกรรมเรอเนสซองซ์อิตาลีเป็นจิตรกรรมที่มีอิทธิพลต่อจิตรกรรมตะวันตกต่อมาอีกหลายร้อยปี โดยมีจิตรกรเช่นไมเคิล แอนเจโล, ราฟาเอล, ซานโดร บอตติเชลลี, ทิเชียน และเลโอนาร์โด ดา วินชี และเช่นเดียวกันกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีสถาปนิกเช่นอันเดรอา ปัลลาดีโอ และงานเช่นมหาวิหารฟลอเรนซ์ และมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเห็นว่าเป็นสมัยของความหดตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมามีความก้าวหน้ามากกว่าในวัฒนธรรมของโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: ซีเอนาและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

สีฝุ่นเทมเพอรา

ระแม่มารีและพระบุตรโดยดุชโช, เทมเพอราและทองบนไม้, ค.ศ. 1284, เซียนา นิคโคโล เซมิเทโคโล ค.ศ. 1367 สีฝุ่นเทมเพอรา (tempera, egg tempera) เป็นสิ่งที่ใช้ในการเขียนภาพที่แห้งง่ายและถาวรที่ประกอบด้วยรงควัตถุผสมกับของเหลวที่เป็นตัวเชื่อม (มักจะใช้สารกลูเตน (Gluten)) เช่นไข่แดงหรือสารที่เป็นตัวเชื่อม (Sizing) อื่นๆ นอกจากนั้นเทมเพอราก็ยังหมายถึงจิตรกรรมที่เขียนด้วยสารผสมดังกล่าวด้วย การเขียนด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้ภาพที่เขียนมีอายุยืนนานเช่นภาพที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งก็ยังมีอยู่ให้เห็น เทมเพอราที่ผสมด้วยไข่เป็นวิธีที่ใช้ในการเขียนภาพโดยทั่วไปมาจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อมาแทนที่ด้วยการเขียนด้วยสีน้ำมัน เทมเพอราอีกประเภทหนึ่งที่ผสมระหว่างรงควัตถุกับสารที่เป็นกาวที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและมักจะเรียกโดยผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกาว่าสีโปสเตอร.

ใหม่!!: ซีเอนาและสีฝุ่นเทมเพอรา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: ซีเอนาและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิตาลี (ค.ศ. 1551-1559)

งครามอิตาลี (ค.ศ. 1551-1559) หรือบางครั้งก็เรียกว่า สงครามฮับส์บูร์ก-วาลัว (Italian War of 1551–1559 หรือ Habsburg-Valois War) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1494-1559) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1551 จนถึง ค.ศ. 1559 สงครามอิตาลีครั้งนี้เป็นความขัดแย้งที่เริ่มขึ้นเมื่อพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศสผู้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฟร็องซัวทรงประกาศสงครามต่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะยึดอิตาลีคืน และสร้างเสริมพลานุภาพของฝรั่งเศสในยุโรปให้เหนือกว่าอำนาจของฮับส์บูร์ก ในระยะแรกของสงครามการเข้าไปโจมตีในดัชชีลอแรนของพระเจ้าอ็องรีประสบกับความสำเร็จ โดยทรงยึดนครของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้สามแห่ง คือ แม็ส ตูล และ แวร์เดิง แต่เมื่อทรงเดินทัพไปรุกรานแคว้นทัสกานีในปี..

ใหม่!!: ซีเอนาและสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1551-1559) · ดูเพิ่มเติม »

อกอสติโน ชิจิ

อกอสติโน ชิจิ (Agostino Chigi) (28 สิงหาคม พ.ศ. 2008 - 11 เมษายน พ.ศ. 2063) เป็นนายธนาคารชาวอิตาเลียนในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา อกอสติโน ชิจิ เกิดที่เมืองเซียนนา เป็นสมาชิกของตระกูลชิจิอันมีชื่อเสียงและมีประวัติยาวนาน เขาได้เดินทางเข้าสู่กรุงโรมเมื่อประมาณ พ.ศ. 2030 เพื่อทำงานร่วมกับ Mariano ผู้เป็นบิดา ในฐานะที่เป็นทายาทของกองทุนอันมั่งคั่งแห่งเมืองหลวง เขามีทรัพย์สินเพิ่มพูนมากขึ้นหลังจากได้ถวายเงินกู้ยืมจำนวนมากให้แด่สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และผู้ปกครองคนอื่นๆในสมัยนั้น และยังได้ทำธุรกิจผูกขาดด้านต่างๆ อย่างเช่น ธุรกิจเกลือแห่ง Papal States และ Kingdom of Naples รวมทั้งสารส้มที่ขุดพบใน Tolfa, Agnato และ Ischia di Castro โดยในธุรกิจสิ่งทอนั้น สารส้มเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นที่ช่วยให้สีย้อมติดเนื้อวัสดุสิ่งทอ left อกอสติโน ชิจิ ยังมีบทบาทเป็นผู้อุปถัมถ์ศิลปินและนักประพันธ์ โดยหนึ่งในนักประพันธ์ที่เขาอุปถัมภ์คือ Pietro Aretino และศิลปินชื่อดังส่วนใหญ่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็อยู่ในการอุปถัมภ์ของเขา ได้แก่ เปียโตร เปรูจิโน, Sebastiano del Piombo, Giovanni da Udine, Giulio Romano, Sodoma และราฟาเอล นอกจาก Perugino แล้ว ศิลปินชื่อดังเหล่านี้ได้รับมอบหมายจากอกอสติโน ชิจิ ให้เตรียมการตกแต่งบ้านพักที่เขาสร้างขึ้นริมฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ ซึ่งทุกวันนี้รู้จักกันในชื่อว่า Villa Farnesina โดยราฟาเอลได้วาดภาพปูนเปียกในชื่อว่า Triumph of Galatea ไว้บนฝาผนังของบ้านพัก อกอสติโน ชิจิ ได้มอบหมายให้ราฟาเอลสร้างวิหารชิจิภายในโบสถ์ซานตามาเรียเดลโปโปโล ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารแห่งนี้หลังจากเสียชีวิตเมื่อ..

ใหม่!!: ซีเอนาและอกอสติโน ชิจิ · ดูเพิ่มเติม »

อัมโบรโจ โลเรนเซตตี

อัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติ (ภาษาอังกฤษ: Ambrogio Lorenzetti หรือ Ambruogio Laurati) (ราว ค.ศ. 1290 - 9 มิถุนายน ค.ศ. 1348) เป็นจิตรกรสมัยกอธิคชาวอิตาลีของตระกูลการเขียนภาพแบบเซียนนา ของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง อัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติเกิดราวปี ค.ศ. 1348 ในประเทศอิตาลี และเสียชีวิตด้วยกาฬโรคเช่นเดียวกับเปียโตร ลอเร็นเซ็ตตีพี่ชายที่เป็นจิตรกรเช่นกันเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1348 อัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติเป็นหนึ่งในศิลปินที่มีชื่อเสียงที่จอร์โจ วาซารีลงบันทึกไว้ในหนังสือ “ชีวิตศิลปิน” อัมโบรจิโอมีผลงานระหว่างปี ค.ศ. 1348 ถึงปี ค.ศ. 1348 อัมโบรจิโอแสดงถึงอิทธิพลของซิโมเน มาร์ตินิแต่เป็นงานที่เป็นธรรมชาติมากกว่า งานชิ้นแรกๆ ที่สุดเท่าที่ทราบคืองานเขียน “พระแม่มารีและพระบุตร” (ค.ศ. 1319, พิพิธภัณฑ์ไดโอเซซาโน, ซานคาชิอาโน) หลักฐานเกี่ยวกับอัมโบรจิโอถูกบันทึกไว้ที่ฟลอเร็นซ์จนปี ค.ศ. 1321 แต่ก็กลับมาอีกหลังจากที่ไปทำงานที่เซียนนาเป็นเวลาหลายปี จิตรกรรมฝาผนังบนผนังใน “ศาลาแห่งเก้า” (Sala dei Nove) และ “ศาลาแห่งความสันติสุข” (Sala della Pace) ในศาลาว่าการเมืองเซียนาเป็นผลงานชิ้นเอกของยุคเรอเนสซองซ์ตอนต้นที่มิใช่งานที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา “เก้า” เป็นคณาธิปไตยของสมาคมช่างและผู้มีผลประโยชน์ทางการเงินเก้าสมาคมที่ปกครองสาธารณรัฐเซียนนาในขณะนั้น ผนังสามด้านเป็นภาพเขียนของการประชุมที่เป็นอุปมานิทัศน์ของคุณธรรมใน “อุปมานิทัศน์ของรัฐบาลที่ดี” (Allegory of Good Government) บนผนังอีกสองด้านอัมโบรจิโอเขียนภาพปริทัศน์ของ “ผลของการมีรัฐบาลที่ดีต่อบ้านเมือง” (Effects of Good Government on Town and Country) และภาพ “อุปมานิทัศน์ของรัฐบาลที่ไม่ดี” (Allegory of Bad Government) และภาพคู่กัน “ผลของการมีรัฐบาลที่ไม่ดีต่อบ้านเมือง” (Effects of Bad Government on Town and Country) ภาพผลของรัฐบาลที่ดีอยู่ในสภาพที่ดีกว่า ทำให้เป็นภาพที่แสดงสารานุกรมของชีวิตอันสงบสุขของชาวเมืองในยุคกลางและทิวทัศน์ชนบท หลักฐานแรกของนาฬิกาทรายนาฬิกาทรายจะพบได้ในภาพเขียนนี้.

ใหม่!!: ซีเอนาและอัมโบรโจ โลเรนเซตตี · ดูเพิ่มเติม »

อารามมอนเตโอลีเวโตมัจโจเร

อารามมอนเตโอลีเวโตมัจโจเร (Abbazia territoriale di Monte Oliveto Maggiore, Monte Oliveto Maggiore) เป็นอารามประจำดินแดนของคณะเบเนดิกตินที่ตั้งอยู่ราวสิบกิโลเมตรทางใต้ของเมืองอาชีอาโนในประเทศอิตาลี กลุ่มสิ่งก่อสร้างของ ส่วนใหญ่สร้างด้วยอิฐสีแดงที่โดดเด่นจากภูมิทัศน์รอบข้างที่เป็นสีนวลเทาของดินทรายของบริเวณที่เรียกว่าแคว้นเกรเตเซเนซีซึ่งบริเวณตอนใต้ของเมืองซีเอนา อารามมอนเตโอลีเวโตมัจโจเรเป็นอารามแม่ของคณะโอลิเวตัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออารามว่าเป็น “Monte Oliveto Maggiore” (อารามโอลีเวโตใหญ่) เพื่อให้ต่างจากอารามย่อยในฟลอเรนซ์, ซานจิมิยาโน, เนเปิลส์ และ อื่น.

ใหม่!!: ซีเอนาและอารามมอนเตโอลีเวโตมัจโจเร · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: ซีเอนาและอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: ซีเอนาและจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ทอเร อังเดร โฟล

ทอเร่ อังเดร โฟล (Tore André Flo) เกิด 15 มิถุนายน..

ใหม่!!: ซีเอนาและทอเร อังเดร โฟล · ดูเพิ่มเติม »

ดุชโช

นักบุญปีเตอร์ และ นักบุญแอนดรูจาก “Maestà” “พระแม่มารีและพระบุตร” ดุชโช ดี บูโอนินเซญญา (Duccio di Buoninsegna) (เกิดราว ค.ศ. 1255-ค.ศ. 1260 -- เสียชีวิตราว ค.ศ. 1318-ค.ศ. 1319) เป็นจิตรกรที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของประเทศอิตาลี เกิดที่เซียนนาในแคว้นทัสเคนี วัสดุที่ดุชโชใช้วาดส่วนใหญ่เป็นสีฝุ่นผสมไข่ (tempera) หัวข้อที่วาดเช่นเดียวกับศิลปินสมัยนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ดุชโชมีอิทธิพลต่อซิโมเน มาร์ตินิ พี่น้อง อัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติ และ เปียโตร ลอเร็นเซ็ตติ และอื่นๆ งานของดุชโชก็ได้แก่ “พระแม่มารีรูเชลไล” (Madonna Rucellai) ที่เขียนเมื่อ..

ใหม่!!: ซีเอนาและดุชโช · ดูเพิ่มเติม »

ซานจีมิญญาโน

ซานจีมิญญาโน ซานจีมิญญาโน (San Gimignano) เป็นเมืองเล็ก ๆ บนเนินเขา ตั้งอยู่ในแคว้นตอสคานา ประเทศอิตาลี ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเซียนาประมาณ 50 กิโลเมตรและอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองฟลอเรนซ์ ความสำคัญของซานจีมิญญาโนเป็นเมืองที่ยังรักษาลักษณะเมืองในยุคกลางไว้อย่างพร้อมมูลโดยเฉพาะหอคอยซึ่งจะมองเห็นได้แต่ใกล ตัวเมืองตั้งอยู่บนเนินสูงล้อมรอบด้วยกำแพงเมือง ตามลักษณะที่ยังพบในหลายเมืองและหมู่บ้านในบริเวณแคว้นตอสคานา เมืองซานจีมิญญาโนได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี..

ใหม่!!: ซีเอนาและซานจีมิญญาโน · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมเน มาร์ตีนี

หน้าแรกของ “Virgil” โดย เพทราค (Petrach) หนังสือวิจิตร วาดโดยซิโมเน มาร์ตินิราว ค.ศ. 1336 ปัจจุบันอยู่ที่มิลาน รายละเอียดจิตรกรรมฝาผนังที่ “ทีว่าการเมืองเซึยนนา” ซิโมเน มาร์ตินิ (Simone Martini, ราว ค.ศ. 1284 - ราว ค.ศ. 1344) เป็นจิตรกรสมัยยุคกลางคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 14 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และบานพับภาพ ซิโมเน มาร์ตินิเป็นจิตรกรคนสำคัญในการวิวัฒนาการการเขียนภาพในอิตาลีสมัยต้น มาร์ตินิได้รับอิทธิพลเป็นอันมากจากการวิวัฒนาการของศิลปะกอธิคนานาชาติ (International Gothic) เชื่อกันว่ามาร์ตินิเป็นลูกศิษย์ของดุชโช ผู้เป็นจิตรกรชาวเซียนนาที่มีความสำคัญในขณะนั้น พี่เขยของมาร์ตินิคือลิบโป เม็มมิ (Lippo Memmi) ผู้เป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงเช่นกัน หลักฐานเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของ มาร์ตินิมีไม่มากนักและที่มีอยู่ก็ยังเป็นการถกเถียงกัน มาร์ตินิเสียชีวิตที่อาวินยองเมื่อไปเป็นจิตรกรประจำราชสำนักพระสันตะปาปาที่นั่นเมื่อราวปี..

ใหม่!!: ซีเอนาและซีโมเน มาร์ตีนี · ดูเพิ่มเติม »

ปาลัซโซปุบบลีโก

ปาลัซโซปุบบลีโก (Palazzo Pubblico) เป็นสิ่งก่อสร้างแบบโรมาเนสก์ตั้งอยู่ที่ในเมืองซีเอนา ในแคว้นทัสกานีของประเทศอิตาลี ที่สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1297 จุดประสงค์เดิมของสิ่งก่อสร้างก็เพื่อใช้เป็นตึกที่ทำงานของรัฐบาลของเมืองซีเอนาที่ประกอบด้วยโปเดสตา (Podesta) และสภาเก้าผู้แทน (Council of Nine) ด้านนอกของสิ่งก่อสร้างเป็นตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างของยุคกลางของอิตาลีที่มีอิทธิพลของกอทิก ชั้นล่างสร้างด้วยหินและชั้นบนสร้างด้วยอิฐ ด้านหน้าของวังโค้งเว้าเล็กน้อยรอบโค้งนูนของจัตุรัสกัมโพ (Piazza del Campo) ซึ่งเป็นจัตุรัสใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางของเมือง หอระฆังมันจา (Torre del Mangia) สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1325 ถึงปี ค.ศ. 1344 ตอนบนออกแบบโดยลิปโป เมมมี หอออกแบบให้สูงกว่าหอของเมืองฟลอเรนซ์คู่อริ และในช่วงเวลานั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในอิตาลี ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ก็มีการติดตั้งนาฬิกาที่ทำด้วยเครื่องกล.

ใหม่!!: ซีเอนาและปาลัซโซปุบบลีโก · ดูเพิ่มเติม »

ปิซา

ปิซา (Pisa) เป็นเมืองเอกของจังหวัดปิซา อยู่ในแคว้นตอสคานา ฝั่งแม่น้ำอาร์โน ประเทศอิตาลี อยู่ทางตะวันตกของเมืองฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ) ประมาณ 100 กิโลเมตร และทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเซียนาปรมาณ 130 กิโลเมตร จตุรัสดูโอโมแห่งปิซาได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี ค.ศ. 1987.

ใหม่!!: ซีเอนาและปิซา · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา

ระเยซูคืนชีพ” (Resurrection) รายละเอียดจากภาพประวัติของสัตยกางเขน พระเยซูคืนชีพ เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา (ภาษาอังกฤษ: Piero della Francesca) (ราว ค.ศ. 1412 - 12 ตุลาคม ค.ศ. 1492) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง นอกจากจะเป็นจิตรกรแล้ว เปียโร เดลลา ฟรานเชสกาก็ยังเป็นนักคณิตศาสตร์และนักเรขาคณิต ลักษณะของภาพเขียนจะสงบและการใช้รูปเรขาคณิตโดยเฉพาะการเขียนแบบทัศนียภาพและการเขียนภาพลึกบนผนังแบนเรียบ (foreshortening) งานส่วนใหญ่ของเดลลา ฟรานเชสกาอยู่ที่เมืองอเรซโซในแคว้นทัสเคนี.

ใหม่!!: ซีเอนาและปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอโตร กาวัลลีนี

ปียโตร คาวาลลินิ (Pietro Cavallini) (ราว ค.ศ. 1250 - ราว ค.ศ. 1330) เป็นจิตรกรศิลปะกอธิคของยุคกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมและออกแบบงานโมเสก ประวัติชีวิตของคาวาลลินิไม่เป็นที่ทราบกันเท่าใดนัก แต่ที่ทราบคือทำงานอยู่ที่กรุงโรม งานชิ้นแรกที่สำคัญของคาวาลลินิคืองานโมเสกชุดสำหรับมหาวิหารเซนต์พอลนอกกำแพงในกรุงโรมที่เป็นเรื่องราวจาก with stories from the พันธสัญญาเดิม และ พันธสัญญาใหม่ที่สร้างระหว่าง..

ใหม่!!: ซีเอนาและปีเอโตร กาวัลลีนี · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอโตร โลเรนเซตตี

ปีเอโตร โลเรนเซตตี (Pietro Lorenzetti หรือ Pietro Laurati) (ราว ค.ศ. 1280 - ค.ศ. 1348) เป็นจิตรกรสมัยกอธิคชาวอิตาลีของตระกูลการเขียนภาพแบบเซียนนาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมแผง ปีเอโตร โลเรนเซตตีเกิดเมื่อราว ค.ศ. 1280 ที่ เซียนนา ในประเทศอิตาลี และเสียชีวิตด้วยกาฬโรคเช่นเดียวกับอัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติน้องชายที่เป็นจิตรกรเช่นกันเมื่อปี ค.ศ. 1348 ที่เซียนนา ปีเอโตรเป็นหนึ่งในศิลปินที่มีชื่อเสียงที่จอร์โจ วาซารีลงบันทึกไว้ในหนังสือ “ชีวิตศิลปิน” ปีเอโตรมีผลงานราวระหว่าง ปี ค.ศ. 1306 ถึงปี ค.ศ. 1345.

ใหม่!!: ซีเอนาและปีเอโตร โลเรนเซตตี · ดูเพิ่มเติม »

นิคโคโล เดลอาร์คา

นิคโคโล เดลอาร์คา (ภาษาอังกฤษ: Niccolò dell’Arca หรือ Niccolò da Ragusa หรือ Niccolò da Bari หรือ Niccolò d'Antonio d'Apulia) (ราว ค.ศ. 1435 - ค.ศ. 2 มีนาคม ค.ศ. 1494) เป็นประติมากรสมัยเรอเนซองส์ตอนต้นคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เดลอาร์คาเกิดเมื่อวันที่ ราว ค.ศ. 1435 อาจจะที่เมืองอพูเลียหรืออาจจะที่เมืองบารีในประเทศอิตาลี และอาจจะใช้เวลาระยะหนึ่งในดาลเมเชีย (Dalmatia) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1494 ชื่อสกุล “dell’Arca” มาจากงานชิ้นหนึ่งที่ทำชื่อ “Arca di San Domenico” (หีบแห่งซานโดเม็นนิโค) ซึ่งเป็นอนุสรณ์ของนักบุญโดมินิคที่ตั้งอยู่ภายในชาเปลโดมินิคที่บาซิลิกาซานโดเม็นนิโค (Basilica of San Domenico) ที่โบโลนยา ซี กนูดีกล่าวว่าเดลอาร์คาได้รับการฝึกโดยประติมากรจากดาลเมเชียชื่อจอร์จิโอ เซเบนิโค (Giorgio da Sebenico) นักประวัติศาสตร์ศิลปะบางคนสันนิษฐานว่ามีเชื้อสายมาจากชนชาวสลาฟ นักประวัติศาสตร์ศิลปะสันนิษฐานว่างานสลักที่มีลักษณะออกไปทางเบอร์กันดีเบอร์กันดีอาจจะเป็นที่เดลอาร์คามีส่วนร่วมในการสร้างประตูชัยแห่งคาสเตลนูโอโว (Castel Nuovo) ที่ เนเปิลส์ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1450 (ที่อาจจะรู้จักกับกุยล์เล็ม ซาเกรรา (Guillem Sagrera) ประติมากรจากแคว้นคาเทโลเนียผู้อาจจะมามีอิทธิพลต่อเดลอาร์คาต่อมา) แต่นักประวัติศาสตร์ศิลปะคนอื่นไม่เห็นด้วยกับการมีประสบการณ์ที่เนเปิลส์ และอ้างว่าเดลอาร์คาเดินทางไปฝรั่งเศสในปลายคริสต์ทศวรรษ 1460 และได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติมที่เซียนนาและได้รับอิทธิพลจากงานของจาโคโป เดลลา เควอร์เซีย (Jacopo della Quercia) และ โดนาเทลโล.

ใหม่!!: ซีเอนาและนิคโคโล เดลอาร์คา · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระและพระกุมารกับนักบุญยอห์นแบปติสต์

ระแม่มารีและพระบุตรในสวน หรือ พระแม่มารีและพระบุตรและนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ (La belle jardinière หรือ Madonna and Child with Saint John the Baptist) เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนไม้ที่เขียนโดยราฟาเอล จิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส “พระแม่มารีและพระบุตรในสวน” เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1507 ที่ได้รับจ้างโดยฟาบริซิโอ แซร์การ์ดิชาวเซียนา เป็นภาพของพระแม่มารี, พระบุตร และนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์เมื่อยังเด็ก ภาพนี้เป็นภาพพระแม่มารีที่มีความสำคัญที่สุดในบรรดาจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี ราฟาเอลศึกษางานของเลโอนาร์โด ดา วินชีและนำเทคนิคการเขียนของดา วินชีมาใช้ในงานเขียนของตนเอง ลักษณะเด่นของภาพนี้อยู่ที่การใช้ความตัดกันของแสงเงาและ ความดูสบายๆ ของตัวแบบในฉากที่เป็นสวนที่เห็นได้ชัดว่าเป็นอิทธิพลของดา วินชี.

ใหม่!!: ซีเอนาและแม่พระและพระกุมารกับนักบุญยอห์นแบปติสต์ · ดูเพิ่มเติม »

แท่นเทศน์ของโบสถ์ซันตันเดรอา

แท่นเทศน์ของโบสถ์ซันตันเดรอา (Pulpit of St.) เป็นงานประติมากรรมแท่นเทศน์ชิ้นเอกที่สร้างโดยโจวันนี ปีซาโน ประติมากรคนสำคัญชาวอิตาลี ในปี ค.ศ. 1301 ตั้งอยู่ที่โบสถ์ซันตันเดรอา เมืองปิสโตยา ประเทศอิตาลี งานชิ้นนี้มักจะได้รับการเปรียบเทียบกับแท่นเทศน์ที่แกะสลักโดยนีโกลา ปีซาโน บิดาของโจวันนีเอง ภายในหอล้างบาป เมืองปิซา และที่มหาวิหารซีเอนา ตามคำจารึกที่อยู่บนโค้งเหนือแท่นเทศน์กล่าวกันว่าเป็นงานที่ว่าจ้างโดยอาร์โนลโดและเหรัญญิกอันเดรอา วิเทลลี และ ทิโน ดี วิทาลเล เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่โจวันนี “มีความสามารถเหนือความรู้ความสามารถของบิดา” จากผลงานที่สร้าง ลักษณะโครงสร้างของแท่นเทศน์คล้ายคลึงกับแท่นเทศน์ที่ปิซา เป็นทรงหกเหลี่ยมบนเสาเจ็ดต้น ต้นที่เจ็ดอยู่กลางแท่น เสาสองเสารองรับด้วยสิงโต และอีกเสาหนึ่งโดยแอตลาส ขณะที่เสากลางตั้งอยู่บนกริฟฟอนที่มีปีกสามปีก เสาที่เหลือไม่มีการตกแต่ง ส่วนรูปสลักนูนบนแผงรอบแท่นเทศน์มีอิทธิพลมาจากแท่นเทศน์ที่ซีเอนา รูปเคารพที่ใช้ก็มีอิทธิพลมาจากงานของนีโกลา โดยการใช้อุปมานิทัศน์ในโค้งสแปนเดรลระหว่างช่วงโค้ง ผู้เผยพระวจนะและผู้เผยพระวจนะหญิงยืนบนหัวเสา แผงภาพห้าแผงเป็นภาพจากฉากชีวิตของพระเยซูที่รวมทั้ง.

ใหม่!!: ซีเอนาและแท่นเทศน์ของโบสถ์ซันตันเดรอา · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยกีจี

วิหารชิจิ โบสถ์ซานตามาเรียโปโปโล กรุงโรม 250px ชาเปลชิจิ (Chigi Chapel) เป็นชาเปลหนึ่งในหกชาเปลที่ตั้งอยู่ภายในวัดซานตามาเรียเดลโปโปโล ที่ออกแบบโดยราฟาเอล เพื่อมอบให้แก่อากอสติโน ชิจิ นายธนาคารชาวเมืองเซียนา ผู้เป็นเพื่อนและผู้อุปถัมภ์ สร้างเสร็จสมบูรณ์โดยจานลอเรนโซ เบร์นินี หลังจากการเสียชีวิตของราฟาเอลเมื่อปี พ.ศ. 2063 ผ่านไปแล้วกว่าหนึ่งศตวรรษ โดยได้รับมอบหมายการสร้างจากฟาบิโอ ชิจิ ผู้ซึ่งกลายมาเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 ในปี พ.ศ. 2198 โดมของวิหารประดับด้วยแผ่นโมเสกเป็นภาพพระเจ้าสร้างโลกที่ออกแบบโดยราฟาเอล เป็นตัวอย่างที่หาได้ยากของผลงานโมเสกในยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมชั้นสูง.

ใหม่!!: ซีเอนาและโบสถ์น้อยกีจี · ดูเพิ่มเติม »

โกปปาอีตาเลีย ฤดูกาล 2016–17

การแข่งขันฟุตบอล โกปปาอีตาเลีย ฤดูกาล 2016–17, หรือที่รู้จักใน ติมคัพ ด้วยเหตุผลด้านผู้สนับสนุน, เป็นฤดูกาลที่ 70 ของฟุตบอลถ้วยแห่งชาติในฟุตบอลอิตาลี.

ใหม่!!: ซีเอนาและโกปปาอีตาเลีย ฤดูกาล 2016–17 · ดูเพิ่มเติม »

โจวันนี ปีซาโน

แท่นเทศน์ภายในมหาวิหารเซียนนา แท่นเทศน์ในมหาวิหารปิซา จิโอวานนี ปิซาโน (ภาษาอังกฤษ: Giovanni Pisano) (ราวปี ค.ศ. 1250 – ราวปี ค.ศ. 1315) เป็นประติมากร จิตรกร และ สถาปนิกชาวอิตาลีผู้เป็นลูกของประติมากรผู้มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของอิตาลี--นิโคลา ปิซาโน จิโอวานนีได้รับการศึกษาและฝึกฝนในเวิร์คช็อพของพ่อ.

ใหม่!!: ซีเอนาและโจวันนี ปีซาโน · ดูเพิ่มเติม »

เบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย

นักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย (Benedict of Nursia; Benedetto da Norcia) เป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ เกิดราว..

ใหม่!!: ซีเอนาและเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

เกลฟ์และกิเบลลิเน

ทธการเลญาโนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเกลฟ์และกิเบลลิเน เกลฟ์ และ กิเบลลิเน (Guelphs and Ghibellines) เป็นฝักฝ่ายทางการเมืองทางตอนกลางและตอนเหนือของอิตาลีผู้หนุนหลังฝ่ายพระสันตะปาปาและสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตามลำดับระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ความขัดแย้งกันทางอำนาจระหว่างสถาบันพระสันตะปาปาและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก่อตัวขึ้นจากปัญหาข้อขัดแย้งในอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 11.

ใหม่!!: ซีเอนาและเกลฟ์และกิเบลลิเน · ดูเพิ่มเติม »

เมดีชี

ตระกูลเมดีชี (Medici) เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมาชิกจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา (สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, และ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11) และนักปกครองของฟลอเรนซ์เองโดยเฉพาะโลเรนโซ เด เมดีชี ก็เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญๆ ในสมัยเรอเนซองส์ ต่อมาตระกูลเมดีชีก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ ความมีอิทธิพลของตระกูลเมดีชีสามารถทำให้ฟลอเรนซ์กลายมามีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองของศิลปะและสถาปัตยกรรม ตระกูลเมดีชีและตระกูลสำคัญอื่นๆของประเทศอิตาลีในสมัยนั้นเช่น ตระกูลวิสคอนติ (Visconti) ตระกูลสฟอร์เซ (Sforza) ตระกูลต่างๆ จากมิลาน ตระกูลเอสเตแห่งเฟอร์รารา (Este of Ferrara) ตระกูลกอนซากาจากมานตัว (Gonzaga of Mantua) และตระกูลอื่นๆ ต่างก็มีส่วนสำคัญในความเจริญของศิลปะเรอเนซองส์ และ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ ธนาคารเมดีชีเป็นธนาคารที่มั่งคั่งที่สุดในทวีปยุโรปและกล่าวกันว่าตระกูลเมดีชีเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งทำให้สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองโดยเริ่มจากฟลอเรนซ์และอิตาลีจนในที่สุดก็ขยายไปทั่วยุโรป สิ่งที่ตระกูลเมดีชีเป็นต้นตำรับทางการบัญชีคือการปรับปรุงวิธีทำบัญชีโดยการลงหลักฐานที่สามารถทำให้ติดตามเงินเข้าเงินออกได้ง่ายขึ้น (double-entry bookkeeping system).

ใหม่!!: ซีเอนาและเมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

เวกกีเอตตา

| สี.

ใหม่!!: ซีเอนาและเวกกีเอตตา · ดูเพิ่มเติม »

เจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน

็นทิเล ดา ฟาบริอาโน (Gentile da Fabriano) (ราว ค.ศ. 1370 - ราว ค.ศ. 1427) เป็นจิตรกรที่มีลักษณะการเขียนแบบกอธิคนานาชาติของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และจิตรกรรมสีฝุ่นบนไม้ เจ็นทิเล ดา ฟาบริอาโนเกิดราว ค.ศ. 1370 ใกล้เมืองฟาบริอาโนในประเทศอิตาลีปัจจุบัน มารดาของฟาบริอาโนเสียชีวิตก่อน..

ใหม่!!: ซีเอนาและเจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน · ดูเพิ่มเติม »

เซเรียอา ฤดูกาล 2011–12

ลกาเซเรียอา (หรือ ทิม เลกาเซเรียอา ด้วยเหตุผลทางผู้สนับสนุน) ฤดูกาล 2011-12 เป็นฤดูกาลที่ 2 นับตั้งแต่ถอนตัวออกจากฟุตบอลลีกในฤดูกาล 2010-11 ซึ่งแต่เดิมจะเปิดฤดูกาลใน เดือนสิงหาคม ปี 2011 แต่เนื่องจากเกิดการประท้วงของ นักฟุตบอล ทำให้ต้องเลื่อนเปิดลีกซึ่งลีกจะปิดฤดูกาลในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 โดยแชมป์ปัจจุบันคือ ยูเวนตุส ซึ่งเป็นแชมป์สมัยที่ 28 ของสโมสร.

ใหม่!!: ซีเอนาและเซเรียอา ฤดูกาล 2011–12 · ดูเพิ่มเติม »

เซเรียอา ฤดูกาล 2012–13

ลกาเซเรียอา (หรือ ทิม เลกาเซเรียอา ด้วยเหตุผลทางผู้สนับสนุน) ฤดูกาล 2012-13 เป็นฤดูกาลที่ 3 นับตั้งแต่ถอนตัวออกจากฟุตบอลลีกในฤดูกาล 2010-11 ซึ่งจะเริ่มต้นเปิดฤดูกาลในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012 โดยแชมป์ปัจจุบันคือ ยูเวนตุส ชนะเลิศได้สำเร็จเป็นสมัยที่ 29 ของสโมสร.

ใหม่!!: ซีเอนาและเซเรียอา ฤดูกาล 2012–13 · ดูเพิ่มเติม »

007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก

007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก (Quantum of Solace) เป็นภาพยนตร์ชุดที่ 22 ของภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ซึ่งชื่อ Quantum Of Solace มาจากตอนหนึ่งในหนังสือนิยายของเอียน เฟลมมิ่งเรื่อง For Your Eyes Only ซึ่งเป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น 5 เรื่องที่ตีพิมพ์ในปี 1960 (แต่เนื้อเรื่องในภาพยนตร์ไม่ได้มาจากเนื้อเรื่องของเรื่องสั้น) และชื่อ Quantum ก็เป็นชื่อหน่วยของฝ่ายร้ายในภาคนี้อีกด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้ นำแสดงโดย แดเนี่ยล เคร็ก กำกับโดย มาร์ก ฟอร์สเตอร์ ถ่ายทำที่อิตาลี ออสเตรีย และอเมริกาใต้ ในเดือนพฤศจิกายน 2012 ภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ในอันดับที่ 3 ของภาพยนตร์ในชุด เจมส์ บอนด์ ที่ทำเงินสูง.

ใหม่!!: ซีเอนาและ007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sienaสาธารณรัฐเซียนาเซียนาเซียนนา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »