โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซาโลมอน

ดัชนี ซาโลมอน

ซาโลมอน (ศัพท์คริสต์ศาสนา) หรือ โซโลมอน (ศัพท์ประวัติศาสตร์) (ละติน: Solomon; שְׁלֹמֹה) มาจากราก S-L-M ที่แปลว่า ความสงบ ในอิสลามว่า สุลัยมาน หรือตามฉายาคือ ซาโลมอนผู้ทรงปัญญา ชื่ออีกชื่อหนึ่งที่ใช้ในคัมภีร์ฮีบรูคือ เจดิดิอา (יְדִידְיָהּ) ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งอิสราเอล ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูหมวดทานัคของศาสนายูดาห์ คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ และในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม คัมภีร์กล่าวว่ากษัตริย์ซาโลมอนเป็นบุตรของดาวิด และกล่าวว่าเป็นกษัตริย์องค์ที่สามของสหราชอาณาจักรอิสราเอลและกษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่จะแยกเป็นราชอาณาจักรอิสราเอลทางเหนือและราชอาณาจักรยูดาห์ทางใต้ หลังจากการแยกตัวผู้ที่สืบเชื้อสายก็ปกครองแต่เพียงราชอาณาจักรยูดาห์เท่านั้น พระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าซาโลมอนเป็นผู้สร้างวิหารแห่งซาโลมอน ในกรุงเยรูซาเลมที่ถือกันว่าเป็นพระวิหารแห่งเยรูซาเลมหลังแรก และเป็นผู้มีความฉลาด มั่งคั่ง และอำนาจอย่างมากในยุคนั้น.

32 ความสัมพันธ์: พระราชินีแห่งชีบาพระวิหารในกรุงเยรูซาเลมกุญแจย่อยของโซโลมอนภาวะผู้นำภาษาฮีบรูมัสยิดซิวเลย์มานีเยราชอาณาจักรอิสราเอล (ซามาเรีย)ลำดับพงศ์ของพระเยซูศาสดาในศาสนาอิสลามสมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปียหีบแห่งพันธสัญญาหนังสือปัญญาจารย์อาณาจักรยูดาห์ธรรมศาลาดันทาเลียนดาวิดคัมภีร์ไบเบิลคำพิพากษาของซาโลมอน (จอร์โจเน)ฉากแท่นบูชาเมรอดซาโลมอน (แก้ความกำกวม)ประวัติของไม้กางเขนแท้ปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกานบีนกกะรางหัวขวานนาธันนิรยภูมินุกรมโซโลมอน (แก้ความกำกวม)เยรูซาเลมเรโหโบอัมเซดอกเดอะพรีสต์เนินพระวิหารS-L-M

พระราชินีแห่งชีบา

''พระราชินีแห่งชีบา'' ภาพช่วงศตวรรษที่ 15 พระราชินีแห่งชีบา (ملكة سبأ, กีเอซ: ንግሥተ ሳባ, 'מלכת שבא) เป็นพระราชินีนาถที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิลที่ว่านางได้เสด็จไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ซาโลมอน ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้แพร่หลายในหมู่ชาวยิว, อาหรับ และเอธิโอเปีย และกลายเป็นตำนานที่แพร่หลายที่สุดเรื่องหนึ่งของโลกตะวันออก ตามคติชนยิวว่า พระราชินีแห่งชีบาปกครองอียิปต์และเอธิโอเปียสลับกัน บ้างก็ว่าเป็นกษัตริย์บุรุษเพศปกครองอาณาจักรชีบาแถบอาระเบียใต้ (ปัจจุบันคือบริเวณประเทศเยเมน) ในคติชนเอธิโอเปียว่า พระราชินีแห่งชีบาทรงมีสัมพันธ์สวาทกับกษัตริย์ซาโลมอน ดังปรากฏใน เกแบรแนแกสต์ (กีเอซ: ክብረ ነገሥት) อันเป็นวรรณกรรมของเอธิโอเปีย กล่าวถึงผลจากความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้นางตั้งพระหน่อประสูติกาลเป็นจักรพรรดิเมเนลิกที่ 1 จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งเอธิโอเปี.

ใหม่!!: ซาโลมอนและพระราชินีแห่งชีบา · ดูเพิ่มเติม »

พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม

ระวิหารในมโนทัศน์ในหนังสือเอสเซเคียล 40-47 พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม (Temple in Jerusalem) หรือพระวิหารศักดิ์สิทธิ์ (Holy Temple; בית המקדש (Bet HaMikdash.

ใหม่!!: ซาโลมอนและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

กุญแจย่อยของโซโลมอน

กุญแจย่อยของโซโลมอน (Lesser Key of Solomon) หรือ คลาวิคิวลา ซาโลมอนิส (Clavicula Salomonis) (คลาวิส ซาโลมอนิส หรือ กุญแจของโซโลมอน เป็นหนังสือที่มีครอบคลุมเนื้อหาเดียวกันที่มีมาก่อนหน้า) เป็นตำราเวทซึ่งไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเป็นหนังสือที่แพร่หลายที่สุดในปิศาจวิทยาLemegeton Clavicula Salomonis: The Lesser Key of Solomon, Detailing the Ceremonial Art of Commanding Spirits Both Good and Evil; ed.

ใหม่!!: ซาโลมอนและกุญแจย่อยของโซโลมอน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะผู้นำ

กษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์ซาโลมอน บนหน้าต่างงานกระจกสี ณ มหาวิหารสทราซบูร์ ภาวะผู้นำ หรือ ความเป็นผู้นำ เป็นทั้งพื้นที่การวิจัยและทักษะการปฏิบัติที่ครอบคลุมถึงความสามารถของแต่ละบุคคลหรือองค์กร เพื่อ "นำ" หรือแนะนำบุคคลอื่น, ทีม หรือทั้งองค์กร ซึ่งมีข้อโต้แย้งของมุมมองต่าง ๆ จากการเปรียบเทียบความเป็นผู้นำของตะวันออกและตะวันตก ตลอดจนวิธีการของสหรัฐ (ในตะวันตก) กับยุโรป โดยทางวิชาการของสหรัฐนิยามความเป็นผู้นำว่า "กระบวนการของอิทธิพลทางสังคม ที่บุคคลหนึ่งสามารถขอความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากผู้อื่นสู่ความสำเร็จของภารกิจทั่วไป" ส่วนความเป็นผู้นำจากมุมมองของยุโรปและไม่ใช่มุมมองด้านวิชาการหมายถึง ผู้นำที่สามารถขับเคลื่อน ไม่ใช่แค่เป้าหมายของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการค้นหาพลังอำนาจส่วนบุคคลด้วย การศึกษาภาวะผู้นำเกี่ยวกับภาวะผู้นำได้สร้างทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับลักษณะต่าง ๆ, สถานการณ์ปฏิสัมพันธ์, หน้าที่, พฤติกรรม, อำนาจ, วิสัยทัศน์และค่านิยม, เสน่ห์ และสติปัญญา ท่ามกลางคนอื่น.

ใหม่!!: ซาโลมอนและภาวะผู้นำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: ซาโลมอนและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิดซิวเลย์มานีเย

มัสยิดซิวเลย์มานีเย (Süleymaniye Camii, Süleymaniye Mosque) เป็นมัสยิดหลวงของออตโตมันที่ตั้งอยู่ในอิสตันบูลในตุรกี เป็นมัสยิดที่ใหญ่เป็นที่สองของอิสตันบูลและเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของเมืองสิ่งก่อสร้างหนึ่ง มัสยิดซิวเลย์มานีเยสร้างตามพระบรมราชโองการของสุลต่านสุลัยมานแห่งจักรวรรดิออตโตมัน โดยมีมิมาร์ ซินานเป็นสถาปนิก เป็นสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม ที่เริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1550 และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1557 ซินานมีความเห็นว่าการออกแบบของมัสยิดเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นการถ่วงดุลยภาพกับของอะยาโซเฟียของไบแซนไทน์ที่มาเปลี่ยนเป็นมัสยิดในรัชสมัยของสุลต่านเมเหม็ดที่ 2 และเป็นลักษณะการก่อสร้างที่ใช้เป็นแบบอย่างในการก่อสร้างมัสยิดหลายแห่งในเมืองอิสตันบูลต่อมา ลักษณะสถาปัตยกรรมของซินานเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสมดุล และอาบด้วยแสงที่เป็นการตีความหมายที่มาจากรากฐานของสถาปัตยกรรมออตโตมันก่อนหน้านั้น และรวมทั้งอะยาโซเฟียเอง นักเขียนบางคนเสนอว่าอาจจะเป็นได้ว่าการติดต่อระหว่างอิตาลีและอิสตันบูลอาจจะมีส่วนในการมีอิทธิพลต่อความคิดของซินานในการสร้างความสมดุลของสิ่งก่อสร้างและการสร้างทรงที่มีเหตุผล (rational forms) การออกแบบมัสยิดซิวเลย์มานีเยอาจจะเป็นการแสดงออกของสุลต่านสุลัยมานในการเป็นโซโลมอนองค์ที่สอง การก่อสร้างมัสยิดซิวเลย์มานีเยพาดพิงไปถึงโดมทองแห่งเยรุซาเล็มที่สร้างบนวัดโซโลมอนอะยาโซเฟียเสร็จว่าทรงมีความสามารถเกินกว่าโซโลมอน มัสยิดซิวเลย์มานีเยมีความเด่นสง่าที่แสดงความสำคัญของสุลต่านสุลัยมานในประวัติศาสตร์แต่มีขนาดเล็กกว่าอะยาโซเฟี.

ใหม่!!: ซาโลมอนและมัสยิดซิวเลย์มานีเย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอิสราเอล (ซามาเรีย)

300px.

ใหม่!!: ซาโลมอนและราชอาณาจักรอิสราเอล (ซามาเรีย) · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับพงศ์ของพระเยซู

ปั้นนูนของ “ต้นไม้ของเจสสี” (Tree of Jesse) แสดงภาพผู้สืบเชื้อสายมาจากเจสสีจนมาถึงพระเยซูที่บาซิลิกาแซงต์เควนแตงในฝรั่งเศส ลำดับพงศ์ของพระเยซู (Genealogy of Jesus) เป็นพงศาวลีวิทยาของพระเยซูซึ่งบันทึกไว้สองบทในพระวรสารสองฉบับคือ และ ที่ลำดับย้อนจากพระเยซูไปถึงกษัตริย์ดาวิด การลำดับพงศ์ในพระวรสารทั้งสองฉบับมีเนื้อหาแตกต่างกันโดยเฉพาะในเรื่องการสืบทางสายนักบุญโยเซฟซึ่งถือว่าเป็นบิดาของพระเยซูไปยังกษัตริย์เดวิด นักบุญมัทธิวเริ่มด้วยอับราฮัมและลำดับการสืบเชื้อสายทางกษัตริย์โซโลมอนพระราชโอรสของกษัตริย์เดวิด และข้ามไปหลายชั่วคน จนกระทั่งย้อนไปถึงอาดัมมนุษย์คนแรก พระวรสารทั้งสองฉบับเห็นพ้องกันว่าพระเยซูมิได้เป็นบุตรของนักบุญโยเซฟแต่เป็นพระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงถือกำเนิดจากพระแม่มารีย์ นอกไปจากการกล่าวเป็นนัยยะว่าพระแม่มารีย์สืบเชื้อสายมาทางกษัตริย์เดวิดแล้วก็ไม่มีหลักฐานในพระคัมภีร์เกี่ยวกับเชื้อสายของพระองค์นอกไปจากนั้น และหลักฐานอื่นๆ ที่บางชิ้นก็เป็นหลักฐานเก่ากล่าวถึงญาติสนิท และให้คำอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างพระวรสารทั้งสองฉบับ ความขัดแย้งของข้อมูลของพระวรสารทั้งสองฉบับสร้างความขัดแย้งให้แก่ผู้อ่านมาตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว แต่นักวิชาการสมัยปัจจุบันมีความเห็นว่าการลำดับพงศ์ในพระวรสารดังกล่าวเป็นเพียงการจัดระบบทางเทววิทยามากกว่าที่จะเป็นความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ และมีการเสนอว่าโยเซฟมีบิดาสองคน คนหนึ่งเป็นบิดาตามกฎหมาย ส่วนนักวิชาการผู้อื่นมีความเห็นว่าพระวรสารฉบับหนึ่งบันทึกลำดับบรรพบุรุษของพระแม่มารีย์ไว้จริง.

ใหม่!!: ซาโลมอนและลำดับพงศ์ของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสดาในศาสนาอิสลาม

รรดาศาสดาจะได้รัการนับถือและให้เกียรติยกย่องจากชาวมุสลิมเนื่องจากพวกท่านเป็นผู้ที่ได้รับวิวรณ์ (วะฮีย์)จากพระผู้เป็นเจ้า,ชาวมุสลิมจะเรียกพวกท่านว่า (นบี-ศาสดา)หรือ (ระซูล-ศาสนทูต).

ใหม่!!: ซาโลมอนและศาสดาในศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย

ลี เซลาสซีที่ 1 (ภาษาอังกฤษ:Haile Selassie I) (ภาษาเกเอซ: ኃይለ፡ ሥላሴ แปลว่า "ผู้เป็นพลังแห่งตรีเอกานุภาพ" 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1892 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1975) เฮลี เซลาสซี ที่ 1 (Haile Selassie I) เดิมชื่อตาฟารี มาคอนเนน (Tafari Makonnen) เป็นผู้สำเร็จราชการของเอธิโอเปีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1916 ถึง ค.ศ. 1930 และยังเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเอธิโอเปีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง ค.ศ. 1974 อีกด้วย พระองค์เป็นรัชทายาทสืบเชื้อสายมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งเป็นเชื้อสายที่สืบย้อนไปถึงกษัตริย์โซโลมอนและราชินีชีบา พระองค์ยังจัดเป็นบุคคลสำคัญของทั้งประวัติศาสตร์เอธิโอเปียและประวัติศาสตร์แอฟริกาด้วย Murrell, Nathaniel Samuel and Spencer, William David and McFarlane, Adrian Anthony.

ใหม่!!: ซาโลมอนและสมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซีที่ 1 แห่งเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

หีบแห่งพันธสัญญา

ูวากำลังผ่านแม่น้ำจอร์แดนพร้อมกับหีบแห่งพันธสัญญา ลักษณะหีบแห่งพันธสัญญาตามสันนิฐาน โดย ''James Tissot'' หีบแห่งพันธสัญญา หรือ หีบแห่งพระบัญญัติ (Ark of the Covenant; אָרוֹן הַבְּרִית ʾĀrôn Habbərît, ออกเสียง อะรอน ฮะบริท; Κιβωτός της Διαθήκης; تابوت العهد) เป็นหีบที่กล่าวถึงใน หนังสืออพยพ บรรจุแผ่นศิลาพระโอวาทที่ได้สลักบัญญัติ 10 ประการเอาไว้ และใน จดหมายถึงชาวฮีบรู ระบุว่า "หีบ‍พันธ‌สัญญา​หุ้ม​ด้วย​ทอง‍คำ​ทุก​ด้าน ภาย‍ใน​นั้น มี​โถ​ทอง‍คำ​บรร‌จุ​มานา มี​ไม้เท้าของอาโรนที่​ออก‍ดอก‍ตูม และ​มี​แผ่น​ศิลา​จา‌รึก​พันธ‌สัญญา" อย่างไรก็ตาม ใน หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ได้บันทึกไว้ว่า ในยุคของมหากษัตริย์ซาโลมอน หีบแห่งพันธสัญญาบรรจุไว้แค่ แผ่นศิลาพระบัญญัติจำนวนสองแผ่นเท่านั้น หนังสืออพยพ ยังอธิบายว่า หีบแห่งพันธสัญญาสร้างขึ้นรูปแบบที่พระยาห์เวห์ทรงชี้แนะต่อโมเสสที่ภูเขาซีนาย โมเสสสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าได้จากพลับพลานมัสการซึ่งบรรจุหีบใบนี้ โดยพระเจ้าจะทรงประทับบนพระที่นั่งกรุณาที่ทั้งสองข้างมีเครูบกางปีกปกไว้ คัมภีร์ไบเบิลระบุว่า ราวหนึ่งปีภายหลังชนชาวอิสราเอลได้อพยพจากอียิปต์ ก็ได้สร้างตัวหีบขึ้นตามรูปแบบที่พระเจ้าตรัสไว้ผ่านโมเสสในระหว่างที่พวกเขาตั้งค่ายที่เชิงเขาซีนาย (ตรงกับ 1513 ปีก่อนคริสตกาล) ต่อมา ปุโรหิตเผ่าเลวีหามหีบแห่งพันธสัญญานำขบวนอพยพของชนชาวอิสราเอลทิ้งระยะห่าง 2000 ศอก ทันทีที่เท้าของปุโรหิตผู้หามหีบแตะผิวน้ำของแม่น้ำจอร์แดนซึ่งอยู่ในฤดูน้ำหลาก สายน้ำก็แยกออกจากกันจนเหลือพื้นแห้งให้ขบวนอพยพเดินทางข้ามไปได้ เมื่อการมหัศจรรย์นี้แพร่กระจายออกไป ทำให้เหล่ากษัตริย์ชาวอาโมไรต์ทั้งหมดทางฟากตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนและกษัตริย์ชาวคานาอันทั้งหมดตามชายฝั่งทะเลต่างเกรงกลัวในอำนาจของพระเจ้า ประตูเมืองเยรีโคถูกสั่งปิดตายเนื่องจากเกรงกลัวชาวอิสราเอล พระเจ้าตรัสกับโยชูวาให้ปุโรหิตหามหีบเดินขบวนรอบเมืองวันละหนึ่งรอบเป็นเวลาหกวัน และหามวนเจ็บรอบในวันที่เจ็ดพร้อมเป่าเขาแกะ เมื่อครบเจ็ดรอบ ชาวอิสราเอลก็ส่งเสียงโห่ร้องและกำแพงของเมืองเยรีโคก็พังทลายลงมา กองทัพของชาวอิสราเอลบุกเข้าเมือง เข่นฆ่าทุกคนไม่เว้น ชาย หญิง คนชรา เด็ก สัตว์เลี้ยง และเผาเมืองจนพินาศสิ้น.

ใหม่!!: ซาโลมอนและหีบแห่งพันธสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือปัญญาจารย์

หนังสือปัญญาจารย์ (Ecclesiastes) เป็นหนังสือในคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม เป็นลำดับที่ 4 ในหมวดบทเพลง ผู้เขียนปัญญาจารย์กล่าวถึงตนเพียงว่าเป็นบุตรของ กษัตริย์ดาวิด ของชนชาติอิสราเอลในนครเยรูซาเลม คริสต์ศาสนาเชื่อว่าเป็นกษัตริย์ซาโลมอน เนื้อหากล่าวถึง ชีวประวัติและประสบการณ์ในชีวิตที่วางใจในพระเจ้า ประกอบด้วย คำอุปมา คำพังเพย และคติพจน์ แต่ละประโยคสะท้อนให้เห็นถึง ความหมายของชีวิตและวิธีดำเนินชีวิตอย่างดีที่สุด เน้นถึงกิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ ล้วนไร้ค่าไม่มีความหมายใด ล้วนจบลงด้วยความตาย จึงเตือนสติให้แสวงหาสติปัญญา จากพระเจ้า เพื่อเป็นเส้นทางในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ผู้เขียนไม่ได้ชี้ชัดถึงความหมายของชีวิตนิรันดร์ แต่แนะนำให้พอใจในสิ่งที่พระเจ้าประทานให้ในสรรพสิ่งกิจวัตรประจำวัน เช่น หน้าที่ การงาน อาหาร และทรัพย์สินที่ได้โดยชอบธรรม.

ใหม่!!: ซาโลมอนและหนังสือปัญญาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรยูดาห์

อาณาจักรยูดาห์ในช่วงศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล ภาพแสดงถึงพระราชาและทหารในอาณาจักรยูดาห์โบราณ ราชอาณาจักรยูดาห์ (ฮีบรู: מַמְלֶכֶת יְהוּדָה; มัมเลกเฮต เยฮูดาห์) คืออดีตรัฐยิวที่ก่อตั้งขึ้นบริเวณตอนใต้ของเขตลิแวนต์ในช่วงยุคเหล็ก มักถูกเรียกขานโดยทั่วไปว่า ราชอาณาจักรใต้ เพื่อที่จะไม่ให้สับสนกับราชอาณาจักรอิสราเอลที่อยู่ทางเหนือ ซึ่งทั้งสองอาณาจักรเคยมีสถานะเป็นรัฐเดียวกันมาก่อนในนามว่า สหราชอาณาจักรอิสราเอล ยูดาห์ถูกสันนิษฐานว่าน่าจะพัฒนากลายมาเป็นรัฐในช่วงหลังศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดที่สามารถยืนยันข้อสันนิษฐานนี้ได้ ในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมีประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งมากกว่าประชากรของรัฐข้างเคียงมาก ต่อมาพวกอัสซีเรียเข้ารุกรานและควบคุมยูดาห์เนื่องจากต้องการทรัพยากรน้ำมันมะกอกอันล้ำค่าของยูดาห์ ยูดาห์จึงตกเป็นรัฐบริวารของอัสซีเรียThompson 1992, pp.

ใหม่!!: ซาโลมอนและอาณาจักรยูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมศาลา

ลาธรรมยิวในเมืองทรานี ในศาสนายูดาห์ ธรรมศาลา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศาลาธรรม (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (synagogue; συναγωγή; หมายถึง การชุมนุมหรือรวมตัว) เป็นศาสนสถานที่ใช้รวมกลุ่มกันทำการอธิษฐาน ทว่าสำหรับชาวยิวแล้ว พวกเขาไม่จำเป็นต้องไปธรรมศาลาเพื่อประกอบพิธี หากรวมตัวได้ครบองค์ประชุม (Quorum) ที่ประกอบด้วยผู้ชายที่บรรลุนิติภาวะแล้วจำนวนสิบคน เรียกว่า "องค์คณะสิบ" หรือ "มินยัน" (Minyan) ก็สามารถประกอบพิธีได้ เมื่อก่อนไม่อนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในองค์คณะสิบ แต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2001, ยิวอนุรักษ์นิกายอนุญาตให้สตรีเป็นหนึ่งในคณะมินยันได้ ในชุมชนยิวปัจจุบัน ธรรมศาลาไม่ได้มีไว้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น เช่น สถานที่จัดเลี้ยง โรงเรียนสอนศาสนา ห้องสมุด ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเวลากลางวัน และครัวโคเชอร์ (Kosher) ตามหลักมาตรฐานอาหารยิว.

ใหม่!!: ซาโลมอนและธรรมศาลา · ดูเพิ่มเติม »

ดันทาเลียน

ดวงตราของดันทาเลียน ในหนังสือกุญแจย่อยของโซโลมอน ดันทาเลียน (Dantalion) เป็นดยุกแห่งขุมนรก เขามีปิศาจในอาณัติทิ้งสิ้น 36 กอง ดันทาเลียนเป็นปิศาจลำดับที่ 71 จาก 72 ตนของซาโลมอน คำอธิบายของดันทาเลียนที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ กุญแจย่อยของโซโลมอน ระบุไว้ว่า: "ดวงจิตที่ 71 คือดันทาเลียน เขาเป็นดยุกผู้ยิ่งใหญ่และทรงอำนาจ ปรากฎกายในหลายใบหน้า ทั้งใบหน้าของชายและหญิง เขามีหนังสือเล่มหนึ่งในมือขวา หน้าที่เขาคือการสอนศิลปะสรรพวิทยาการสู่ผู้คน และป่าวประกาศความลับของผู้คน เพื่อให้ผู้คนรู้ว่าเขาทราบความนึกคิดของทุกบุรุษและสตรี และสามารถเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดอย่างนั้นได้ตามที่เขาต้องการ เขาสามารถทำให้คนเกิดความรัก แสดงข้อเหมือนกันของทั้งสอง ทำให้ผู้คนเห็นพ้องว่าทั้งสองคู่ควรแก่กัน ให้ทั้งสองอยู่ในสถานที่ใดในโลกที่พวกเขาต้องการ" หมวดหมู่:ปิศาจ.

ใหม่!!: ซาโลมอนและดันทาเลียน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวิด

กษัตริย์ดาวิด หรือ พระเจ้าดาวิด (David; דָּוִד ภาษาฮีบรูมาตรฐาน: Davíd; ภาษาฮีบรูไทบีเรียน: Dāwíð; داوود or داود, Dāwūd,; หมายถึง เป็นที่รัก) (1037 - 967 ก่อนคริสต์ศักราช; ปกครองราชอาณาจักรยูดาห์และราชอาณาจักรอิสราเอล 1005 - 967 ก่อนคริสต์ศักราช) ดาวิด เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองของราชอาณาจักรอิสราเอล กล่าวกันว่ามีคุณธรรมและเป็นนักการทหารที่มีความสามารถ นอกจากนี้ยังเป็นนักดนตรี กวี (เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียนเพลงสดุดีหลายเพลง) ดาวิดในวัยเด็กเป็นเพียงเด็กเลี้ยงแกะธรรมดา แต่เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกและมีอุปนิสัยกล้าหาญไม่เกรงกลัวใคร โดยอาสาเข้าต่อสู้ตัวต่อตัวกับ โกไลแอ็ธ นักรบร่างมหึมาผู้เป็นทหารเอกของชาวฟิลิสทีน และสามารถสังหารโกไลแอ็ธลงได้ จึงมีความดีความชอบได้มารับใช้พระเจ้าซาอูล (Saul) ในฐานะนายพลและที่ปรึกษาทางทหารคนสนิท และยังเป็นเพื่อนสนิทกับ โจนาธาน ราชบุตรของซาอูล ต่อมาพระเจ้าซาอูลเกิดระแวงว่าดาวิดจะแย่งชิงราชบัลลังก์ จึงพยายามกำจัดดาวิด แต่ซาอูลและโจนาธานพ่ายแพ้เสียชีวิตในการรบ ดาวิดจึงได้รับการเจิมขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของอิสราเอล ต่อมาพระเจ้าดาวิดทรงพิชิตเยรูซาเลมได้ และนำหีบแห่งพันธสัญญาเข้ามาประดิษฐานในเมือง แต่เนื่องจากทรงประพฤติผิดทางเพศต่อนางแบธชีบา ทำให้พระองค์ถูกพระเจ้าตำหนิติเตียนและทำให้ทรงหมดความชอบธรรมที่จะสร้างวิหารศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในเยรูซาเลม ชาวยิวถือว่าดาวิดและกษัตริย์โซโลมอน พระราชบุตรของพระองค์ เป็นผู้ก่อตั้งประเทศอิสราเอลขึ้น ดาวิดถือเป็นต้นแบบของกษัตริย์ในอุดมคติของชาวอิสราเอล นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า พระเมสสิยาห์ หรือพระผู้ไถ่ ที่จะมาจุติในอนาคตจะเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพระองค์ ชีวิตของกษัตริย์ดาวิดที่บันทึกไว้ในหนังสือซามูเอล เล่มที่ 1 ในพันธสัญญาเดิมตั้งแต่บทที่ 16 เป็นต้นไปและหนังสือพงศาวดาร ดาวิดเป็นบุคคลสำคัญในศาสนาอับราฮัม.

ใหม่!!: ซาโลมอนและดาวิด · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ซาโลมอนและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

คำพิพากษาของซาโลมอน (จอร์โจเน)

ำพิพากษาของซาโลมอน (The Judgement of Salomon) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอร์โจเนจิตรกรคนสำคัญชาวอิตาลีของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี จอร์โจเนเขียนภาพ “คำพิพากษาของซาโลมอน” ราวระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึงปี ค.ศ. 1501 เป็นภาพที่มีเนื้อหาและขนาดใกล้เคียงกับภาพ “การพิสูจน์โดยไฟของโมเสส” ที่ก็เป็นงานสะสมของหอศิลป์อุฟฟิซิเช่นกัน ภาพ “คำพิพากษาของซาโลมอน” แสดงซาโลมอนกษัตริย์ของชาวยิวบนบัลลังก์พร้อมด้วยข้าราชสำนัก โดยมีสตรีสองคนอ้างสิทธิว่าเป็นแม่ที่แท้จริงชองเด็กที่นอนอยู่บนดิน และทูลขอให้พระองค์ตัดสิน คำพิพากษาของซาโลมอนทำให้ทราบว่าสตรีคนใดที่ไม่ใช่แม่ที่แท้จริง ภาพแบ่งครึ่งด้วยต้นโอ้คสูงใหญ่สองต้นที่แบ่งภูมิทัศน์ในฉากหลังเป็นสองส่วน.

ใหม่!!: ซาโลมอนและคำพิพากษาของซาโลมอน (จอร์โจเน) · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาเมรอด

ฉากแท่นบูชาเมรอด (Mérode Altarpiece) หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ (Annunciation Altarpiece) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ระหว่างปี ค.ศ. 1425 ถึงปี ค.ศ. 1428 แต่บ้างก็เชื่อว่าเขียนโดยผู้ติดตามหรือเป็นงานก๊อบปี้จากงานดั้งเดิมของกัมปิน ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันให้คำบรรยายภาพนี้ว่าเขียนโดย "โรเบิร์ต กัมปิน และผู้ช่วย" "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่งดงามที่สุดของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในนิวยอร์กและในทวีปอเมริกาเหนือ จนกระทั่งการมาถึงของภาพ "การประกาศของเทพ" โดยยัน ฟัน ไอก์ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" กลายเป็นงานเขียนที่มีชื่อที่สุดของฟัน ไอก์ ที่อาจจะเป็นเพราะฟัน ไอก์ใช้สร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัยโดยมีภูมิทัศน์เมืองลิบ ๆ ที่เห็นจากหน้าต่าง.

ใหม่!!: ซาโลมอนและฉากแท่นบูชาเมรอด · ดูเพิ่มเติม »

ซาโลมอน (แก้ความกำกวม)

ซาโลมอน (Salomon; שלמה Shlomo; سليمان Suleiman) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซาโลมอนและซาโลมอน (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติของไม้กางเขนแท้

ูบทความหลักที่ สัตยกางเขน ประวัติของสัตยกางเขน หรือ ตำนานของสัตยกางเขน หรือ (Legend of the True Cross หรือ History of the True Cross) เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยเปียโร เดลลา ฟรานเชสกาจิตรกรสมัยสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี “ตำนานของสัตยกางเขน” เป็นงานที่สันนิษฐานกันว่าเขียนก่อนปี ค.ศ. 1447 และเสร็จราวปี ค.ศ. 1466 สำหรับวัดซานฟรานเชสโก, อเรซโซในประเทศอิตาลี เป็นงานเขียนชิ้นที่ใหญ่ที่สุดและถือกันว่าดีที่สุดของเปียโร และเป็นงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของงานเขียนในสมัยเรอเนซองส์ตอนต้น เนื้อหาของภาพมาจากตำนานที่เป็นที่นิยมกันมากที่ปรากฏในหนังสือ “ตำนานทอง” เกี่ยวกับประวัติของนักบุญที่เขียนโดยจาโคบัส เด โวราจิเน (Jacobus da Varagine) ในคริสต์ศตวรรที่ 13th เป็นเรื่องประวัติความเป็นมาของสัตยกางเขน (True Cross)-ที่เชื่อกันว่าเป็นไม้จากสวนอีเด็นที่นำมาใช้ทำกางเขนที่ใช้ในการตรึงกางเขนของพระเยซู งานชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในการเขียนแบบทัศนียภาพและการใช้สี และในใช้เรขาคณิตในการวางภาพ และการสร้างภาพซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของงานของเปียโตร.

ใหม่!!: ซาโลมอนและประวัติของไม้กางเขนแท้ · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา

ระเยซูคืนชีพ” (Resurrection) รายละเอียดจากภาพประวัติของสัตยกางเขน พระเยซูคืนชีพ เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา (ภาษาอังกฤษ: Piero della Francesca) (ราว ค.ศ. 1412 - 12 ตุลาคม ค.ศ. 1492) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง นอกจากจะเป็นจิตรกรแล้ว เปียโร เดลลา ฟรานเชสกาก็ยังเป็นนักคณิตศาสตร์และนักเรขาคณิต ลักษณะของภาพเขียนจะสงบและการใช้รูปเรขาคณิตโดยเฉพาะการเขียนแบบทัศนียภาพและการเขียนภาพลึกบนผนังแบนเรียบ (foreshortening) งานส่วนใหญ่ของเดลลา ฟรานเชสกาอยู่ที่เมืองอเรซโซในแคว้นทัสเคนี.

ใหม่!!: ซาโลมอนและปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา · ดูเพิ่มเติม »

นบี

นบี (نبي) หมายถึง ศาสดาในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า นับบะอะ หรือ อัมบะอะ แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ซาโลมอนและนบี · ดูเพิ่มเติม »

นกกะรางหัวขวาน

นกกะรางหัวขวาน เป็นนกขนาดกลาง มีสีสวย มีลักษณะเด่นที่จำง่ายคือมีหงอน (หัวขวาน) คล้ายหมวกของพวกอินเดียแดง พบทั่วทั้งทวีปแอฟริกาและยูเรเชียพร้อมทั้งทั่วประเทศไทย เป็นสปีชีส์เดียวของวงศ์ Upupidae ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีสปีชีส์ย่อยเฉพาะเกาะเซนต์เฮเลนา (ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้) ที่สูญพันธ์ไปแล้ว และเฉพาะเกาะมาดากัสการ์ที่บางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ของตนเอง ชื่อสกุลภาษาละตินว่า Upupa คล้ายกับชื่อภาษาอังกฤษว่า "hoopoe" (อ่านว่า ฮูพู) โดยเป็นชื่อเลียนเสียงร้องของนก นกกะรางหัวขวานเป็นนกประจำชาติของประเทศอิสราเอล เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ซาโลมอนและนกกะรางหัวขวาน · ดูเพิ่มเติม »

นาธัน

นาธัน (ขวา) กับกษัตริย์ดาวิด นาธัน (נָתַן) เป็นบุคคลในคัมภีร์ฮีบรู เป็นหนึ่งในผู้เผยพระวจนะของพระเป็นเจ้าซึ่งมีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของกษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์ซาโลมอนแห่งอิสราเอล ในหนังสือซามูเอล 2 ระบุว่า ครั้นเมื่อกษัตริย์ดาวิดดำริจะสร้างวิหารสำหรับเก็บหีบแห่งพระเจ้า พระยาเวห์ทรงใช้ให้นาธันมาบอกกษัตริย์ดาวิดว่ายังไม่ต้องสร้าง เพราะหลังจากที่ดาวิดตาย ลูกหลานของดาวิดจะเป็นคนสร้างให้เอง หนังสือพงศ์กษัตริย์ กล่าวว่าเมื่อครั้นเจ้าชาย​อา‌โด‌นี‌ยาห์ พระราชโอรสองค์โตของกษัตริย์ดาวิดประกาศตนขึ้นเป็นกษัตริย์ นาธันเป็นหนึ่งในบุคคลที่ไม่สนับสนุนอา‌โด‌นี‌ยาห์ และหันไปร่วมมือกับพระนาง​บัท‌เช‌บาเพื่อชิงบัลลังก์คืนมาให้เจ้าชายซาโลมอน ผู้ซึ่งกษัตริย์ดาวิดเคยรับปากกับพระยาเวห์ว่าจะยกให้เป็นกษัตริย์ต่อจากพระองค์ หนังสือพงศาวดาร นาธันเป็นคนบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ต่างๆในรัชสมัยของกษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์ซาโลมอน.

ใหม่!!: ซาโลมอนและนาธัน · ดูเพิ่มเติม »

นิรยภูมินุกรม

นิรยภูมินุกรม (Dictionnaire Infernal) เป็นสารานุกรมเกี่ยวกับปิศาจแห่งโลกนรก เขียนขึ้นโดย ฌัก ออกุสต์ ซีมง กอลแล็ง เดอ ปล็องซี (Jacques Auguste Simon Collin de Plancy) และตีพิมพ์ครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ซาโลมอนและนิรยภูมินุกรม · ดูเพิ่มเติม »

โซโลมอน (แก้ความกำกวม)

ซโลมอน (Solomon) เป็นชื่ออีกรูปแบบของซาโลมอน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซาโลมอนและโซโลมอน (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: ซาโลมอนและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เรโหโบอัม

รโหโบอัม (ฮีบรู: רְחַבְעָם) หรือ โรโบอัม (ละติน: Roboam) เป็นกษัตริย์ชาวอิสราเอลที่ปรากฎในคัมภีร์ฮีบรู เป็นโอรสของกษัตริย์ซาโลมอนและเป็นหลานของกษัตริย์ดาวิด เขาขึ้นครองบัลลังก์อิสราเอลต่อจากพระบิดาขณะอายุ 41 ปี หลังครองบัลลังก์ได้ไม่นานก็ถูกสิบชนเผ่าอิสราเอลประกาศแยกประเทศ ทำให้ประเทศอิสราเอลแตกออกเป็นสอง คือ อาณาจักรอิสราเอล (อิสราเอลเหนือ) และอาณาจักรยูดาห์ (อิสราเอลใต้) เรโหโบอัมจึงกลายเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรยูดาห์คนแรก อาณาจักรยูดาห์ในรัชสมัยของพระองค์ต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองตลอดรัชกาล และยังต้องเผชิญกับการรุกรานของอียิปต์ ซึ่งท้ายที่สุดอาณาจักรยูดาห์ก็ตกเป็นประเทศราชของอียิปต์ เรโหโบอัมมีชายา 18 องค์และมีบริจาริกา 60 นาง พระองค์มีโอรส 28 องค์และธิดา 60 องค์ ทรงครองราชสมบัติยูดาห์ได้ 17 ปีจึงสวรรคต เจ้าชายอาบียาห์ โอรสของพระองค์ได้ขึ้นสืบบัลลังก์ยูดาห์ต่อ.

ใหม่!!: ซาโลมอนและเรโหโบอัม · ดูเพิ่มเติม »

เซดอกเดอะพรีสต์

จอร์จ เฟรดริก ฮันเดล ผู้ประพันธ์เพลง ''เซดอกเดอะพรีสต์'' เซดอกเดอะพรีสต์ (Zadok the Priest) เป็นเพลงสรรเสริญของอังกฤษโดยจอร์จ เฟรดริก ฮันเดล ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ซาโลมอนและเซดอกเดอะพรีสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เนินพระวิหาร

นินพระวิหาร ในเยรูซาเลม เนินพระวิหาร (הַר הַבַּיִת, Temple Mount) หรือที่ในภาษาอาหรับเรียกว่า อัลฮะเราะมุชชะรีฟ (الحرم الشريف) เป็นเนินเขาในเขตเมืองเก่าของเยรูซาเลมอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อายุกว่าพันปีของสามศาสนาคือ ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 740 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล สิ่งก่อสร้างในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์บนเนินเขาแห่งนี้ได้แก่ มัสยิดอัลอักซอ, โดมทองแห่งเยรูซาเลมตลอดจนหอสูงทั้งสี่ มีประตูอยู่ 11 ประตูเพื่อเข้าไปภายในอาณาเขตแห่งนี้ โดยสิบประตูสงวนไว้สำหรับชาวมุสลิม และอีกหนึ่งประตูสำหรับผู้ไม่ใช่มุสลิม คัมภีร์ไบเบิลระบุว่า วิหารของพวกยิวตั้งอยู่บนเนินพระวิหาร และพงศาวดารของยิวก็ได้ระบุว่าพระ วิหารแรกถูกสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์ซาโลมอนเมื่อ 957 ปีก่อนคริสตกาล และถูกทำลายลงโดยบาบิโลเนียเมื่อ 586 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนพระวิหารที่สองถูกสร้างขึ้นในสมัยของเศรุบบาเบลเมื่อ 516 ปีก่อนคริสตกาล และถูกพวกโรมันทำลายลงในปี..

ใหม่!!: ซาโลมอนและเนินพระวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

S-L-M

S-L-M หรือ ซีน-ลาม-เม็ม (س ل م; שלם; ภาษาอราเมอิก: ܫܠܡܐ) เป็นรากศัพท์พยัญชนะสามตัวของคำในกลุ่มภาษาเซมิติก และคำเหล่านี้มีการใช้เป็นชื่อจำนวนมาก ตัวรากศัพท์เองนั้นหมายถึง "ทั้งหมด ปลอดภัย สัมผัส".

ใหม่!!: ซาโลมอนและS-L-M · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Solomonกษัตริย์ซาโลมอนพระเจ้าซาโลมอนพระเจ้าโซโลมอนโซโลมอน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »