โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซาลาแมนเดอร์

ดัชนี ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

47 ความสัมพันธ์: พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะกะท่างการเกิดสปีชีส์การเปลี่ยนสัณฐานมินิตซาลาแมนเดอร์รายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียงรายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ลิสแซมฟิเบียวังเชอนงโซวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกวงศ์หมาน้ำวงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้วงศ์ซาลาแมนเดอร์เอเชียวงศ์แอกโซลอเติลสกุลไซเรนสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอัลไพน์ซาลาแมนเดอร์อัลไพน์นิวต์อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตซาลาแมนเดอร์ยักษ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่นซาลาแมนเดอร์ยักษ์จีนซาลาแมนเดอร์ไฟประสาทสัมผัสปลาฉลามครุยปลาปอดอเมริกาใต้นิวต์นิวต์หางใบพายนิวต์หงอนใหญ่นิวต์ผิวขรุขระนิวต์จระเข้นิวต์ท้องแดงนิวต์ท้องแดงจีนนิวต์แปซิฟิกนิเวศวิทยาแอกโซลอเติลแอมฟิอูมาแอมฟิอูมาสองนิ้วโอล์มไซเรนไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)ไซเรนแคระเฮลล์เบนเดอร์Power Animals

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะ

ัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะ (Sumida Aquarium; すみだ水族館.) เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะ ตั้งชื่อตามแม่น้ำซุมิดะ อันเป็นแม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นสถานที่ตั้ง พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะตั้งอยู่บนชั้นที่ 5 ของหอคอยโตเกียวสกายทรี ซึ่งเป็นหอคอยแห่งใหม่ของกรุงโตเกียว ที่มีความสูงถึง 634 เมตร นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกรองมาจากอาคารเบิร์จคาลิฟา ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลก ที่ดูไบ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะ เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขนาดเล็ก เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 พร้อมกับหอคอยโตเกียวสกายทรี เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 21.00 น. อัตราเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 2,000 เยน เด็กคนละ 600-1,500 เยน.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะ · ดูเพิ่มเติม »

กะท่าง

กะท่าง (Himalayan newt) เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เป็นสัตว์จำพวกนิวต์ หรือ ซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ เพียงชนิดเดียวที่พบได้ในประเทศไท.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และกะท่าง · ดูเพิ่มเติม »

การเกิดสปีชีส์

การเกิดสปีชีส์ หรือ การเกิดชนิด (Speciation) เป็นกระบวนการทางวิวัฒนาการที่กลุ่มประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการเป็นสปีชีส์ต่าง ๆ กัน นักชีววิทยาชาวอเมริกันออเรเตอร์ เอฟ คุ๊ก (Orator F. Cook) ได้บัญญัติคำภาษาอังกฤษว่า speciation ในปี 1906 โดยหมายการแยกสายพันธุ์แบบ cladogenesis (วิวัฒนาการแบบแยกสาย) ไม่ใช่ anagenesis (วิวัฒนาการแบบสายตรง) หรือ phyletic evolution ซึ่งเป็นวิวัฒนาการแบบในสายพันธุ์ ชาลส์ ดาร์วินเป็นบุคคลแรกที่กล่าวถึงบทบาทของการคัดเลือกโดยธรรมชาติต่อการเกิดสปีชีส์ใหม่ในหนังสือปี 1859 ของเขา คือ กำเนิดสปีชีส์ (The Origin of Species) เขายังได้ระบุการคัดเลือกทางเพศ (sexual selection) ว่าเป็นกลไกหนึ่งที่เป็นไปได้ แต่ก็พบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับมัน มีการเกิดสปีชีส์ตามภูมิภาค 4 ประเภทในธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับระดับที่กลุ่มประชากรที่กำลังเกิดสปีชีส์อยู่แยกจากกัน คือ การเกิดสปีชีส์ต่างบริเวณ (allopatric speciation), การเกิดสปีชีส์รอบบริเวณ (peripatric speciation), การเกิดสปีชีส์ข้างบริเวณ (parapatric speciation), และการเกิดสปีชีส์ร่วมบริเวณ (sympatric speciation) การเกิดสปีชีส์สามารถทำขึ้นได้ผ่านการทดลองทางสัตวบาล ทางเกษตรกรรม และทางห้องปฏิบัติการ ยังไม่ชัดเจนว่า การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงมีบทบาทสำคัญหรือไม่ในกระบวนการเกิดสปีชี.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และการเกิดสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนสัณฐาน

แมลงปอ มีการลอกคราบครั้งสุดท้าย เพื่อเปลี่ยนสัณฐานจากตัวโม่ง ไปเป็นตัวเต็มวัย การเปลี่ยนสัณฐาน หรือ เมตามอร์โฟซิส (อ. Metamorphosis) เป็นกระบวนการในการเจริญเติบโตของสัตว์รูปแบบหนึ่ง ที่เกิดหลังจากการคลอดหรือฟักออกจากไข่ โดยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือรูปแบบร่างกายที่ก้าวกระโดดและเด่นชัด ซึ่งเป็นผลจากการเจริญเติบโตของเซลล์และการเปลี่ยนแปลงจำเพาะของเซลล์ โดยส่วนใหญ่ ในหลายขั้นตอนของการเปลี่ยนสัณฐาน จะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนถิ่นที่อยู่และพฤติกรรมไปด้วย การเจริญเติบโตแบบเปลี่ยนสัณฐานเกิดขึ้นในสัตว์บางชนิดในกลุ่ม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์ขาปล้อง (เช่น แมลงบางชนิด และครัสตาเซีย) มอลลัสก์ ไนดาเรีย เอไคโนดอร์มาทา และ เพรียงหัวหอม เป็นคำศัพท์เฉพาะทางในสาขาวิทยาศาสตร์เท่านั้น ความหมายไม่ครอบคลุมถึง การเจริญเติบโตของเซลล์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป หรือการเร่งการเจริญเติบโต และยังไม่สามารถนำไปอ้างกับการเจริญเติบโตในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้อย่างชัดเจนและเป็นเพียงหัวข้อถกเถียง.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และการเปลี่ยนสัณฐาน · ดูเพิ่มเติม »

มินิตซาลาแมนเดอร์

มินิตซาลาแมนเดอร์ หรือ ปิกมีซาลาแมนเดอร์ หรือ เม็กซิกันปิกมีซาลาแมนเดอร์ (Minute salamanders, Pigmy salamanders, Mexican pigmy salamanders) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกจิ้งจกน้ำหรือซาลาแมนเดอร์ จัดอยู่ในสกุล Thorius (/ทอ-ริ-อุส/) จัดอยู่ในวงศ์ Plethodontidae หรือซาลาแมนเดอร์ไม่มีปอด เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก จัดได้ว่าเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็กที่สุดในโลก เนื่องจากเมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่เกินไม้ขีดไฟ และถือได้ว่าเป็นสัตว์สี่เท้ามีหางที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วย ซึ่งถือว่าผิดปกติสำหรับสัตว์ประเภทนี้ ซาลาแมนเดอร์ในสกุลนี้มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในเม็กซิโกที่เดียวในโลกเท่านั้น โดยพบในรัฐเบรากรุซ, รัฐปวยบลา, รัฐเกร์เรโร และรัฐวาฮากา ที่อยู่ตอนใต้ของประเทศ โดยถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อศตวรรษที่ 19 โดยถูกเข้าใจแต่ทีแรกว่าเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวนานถึง 75 ปี จนกระทั่งมีการแยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้อีก 9 ชนิด ระหว่างปี..

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และมินิตซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียง

ในการตั้งชื่อทางชีววิทยา สิ่งมีชีวิตมักได้รับชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล ชั้นอนุกรมวิธาน (taxon) (ตัวอย่างเช่น สปีชีส์ หรือ สกุล) ที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่สิ่งอื่นอื่นเรียกว่า eponymous taxon ส่วนชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลใดบุคคลนึง หรือกลุ่มคน เรียกว่า patronymic ปกติแล้วชื่อทางวิทยาศาสตร์ได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในวารสารที่มีการตรวจสอบโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ โดยมีคำบรรยายชื่อชั้นอนุกรมวิธานและวิธีบอกความแตกต่างกับชั้นอนุกรมวิธานอื่น ตามกฎของไวยากรณ์ภาษาละตินชื่อสปีชีส์หรือชนิดย่อยที่มาจากชื่อผู้ชายส่วนใหญ่ลงท้ายด้วย -i หรือ -ii หากตั้งชื่อตามคนบุคคลและ -orum หากตั้งชื่อตามกลุ่มผู้ชายหรือชายหญิง เช่น ครอบครัว ในทางคล้ายกัน ชื่อที่ตั้งตามผู้หญิงล้วนลงท้ายด้วย -ae หรือ -arum สำหรับผู้หญิงสองคนหรือมากกว่า รายชื่อนี้มีสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามบุคคลหรือคณะที่มีชื่อเสียง (รวมไปถึงวงดนตรี และคณะนักแสดง) แต่ไม่รวมบริษัท สถาบัน กลุ่มชาติพันธุ์หรือชาติ และสถานที่ซึ่งมีคนอยู่มาก ไม่รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามตัวละครในนวนิยาย นักชีววิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ หรือคนในครอบครัวของนักวิจัยที่อาจไม่เป็นที่รู้จัก ชื่อวิทยาศาสตร์อยู่ในรูปแบบที่บรรยายไว้ดั้งเดิม.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และรายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์เรียงลำดับตามช่วงเวลา รายชื่อเว็บเบราว์เซอร.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และรายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และลิสแซมฟิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

วังเชอนงโซ

วังเชอนงโซ (Château de Chenonceau) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเชอนงโซ (Chenonceaux) ในจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส วังเดิมสร้างบนโรงป่นแป้งเก่าบนฝั่งแม่น้ำแชร์ และสร้างมาก่อนหน้าที่จะมีหลักฐานทางเอกสารเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 วังปัจจุบันออกแบบโดยฟีลีแบร์ เดอ ลอร์ม (Philibert De l'Orme) สถาปนิกเรอเนซองซ.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และวังเชอนงโซ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Herpetology) เป็นสัตววิทยาแขนงหนึ่ง ที่ศึกษาโดยเฉพาะกับสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อาทิ เต่า, ตะพาบ, จระเข้, กิ้งก่า, จิ้งจก, ตุ๊กแก, งู, กบ, คางคก, ซาลาแมนเดอร์, ทัวทารา โดยคำว่า "Herpetology" มาจากภาษากรีก คำว่า ἑρπήτόν (herpeton) หมายถึง "สัตว์ที่น่าขยะแขยง" และ λογία (logia) หมายถึง "ความรู้ หรือ การศึกษา" ซึ่งผู้ที่มีความสนใจหรือศึกษาศาสตร์ด้านนี้โดยเฉพาะเรียกว่า นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สำหรับ ผู้ที่จะเป็นนักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกได้นั้นต้องมีภูมิหลังการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างดีเยี่ยม มีสถาบันการศึกษาเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่เปิดสอนศาสตร์แขนงนี้ สำหรับในประเทศไทยแล้ว การเปิดสอนศาสตร์แขนงนี้ในสถาบันการศึกษาโดยตรงยังไม่มี แต่จะอยู่ในภาควิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้นและมีผู้นิยมชมชอบและเชี่ยวชาญอยู่จำนวนไม่น้อย เช่น ผู้ที่นิยมการเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ หรือ ผู้ที่ทำงานด้านนี้ในทางวิชาการ อาทิ น.อ.(พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์, จารุจินต์ นภีตะภัฏ, ธัญญา จั่นอาจ, วีรยุทธ์ เลาหะจินดา เป็นต้น.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หมาน้ำ

ำหรับหมาน้ำที่เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ดูที่: อะโซล็อต สำหรับหมาน้ำที่เป็นกบและคางคก ดูที่: จงโคร่ง และเขียดว้าก วงศ์หมาน้ำ (Mudpuppy, Waterdog) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Proteidae ลักษณะโดยรวมของซาลาแมนเดอร์ในวงศ์นี้ คือ มีโครงสร้างรูปร่างที่ยังคงรูปร่างของซาลาแมนเดอร์ขณะยังเป็นวัยอ่อนอยู่เมื่อเจริญเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เช่น ไม่มีเปลือกตา มีเหงือกขนาดใหญ่และมีช่องเปิดเหงือก 2 ช่อง มีแผ่นครีบหาง และมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่น ๆ คือ ไม่มีกระดูกแมคซิลลา เช่นเดียวกับไซเรน (Sirenidae) และมีโครโมโซมจำนวน 38 (2n) แท่ง ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่น มีปอดแต่มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปมีรูปร่างราวเรียวยาว ความยาวลำตัวประมาณ 20-48 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา โดยจะอาศัยเฉพาะแหล่งน้ำที่ใสสะอ.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และวงศ์หมาน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์

วงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Giant salamander;; オオサンショウウオ) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ในวงศ์ Cryptobranchidae.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และวงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้

วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ หรืออาจเรียกได้ว่า นิวต์ (Newts, True salamanders) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salamandridae จัดเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 20 เซนติเมตร มีลักษณะโดยรวม คือ ตัวเต็มวัยไม่มีเหงือก และไม่มีช่องเปิดเหงือก ไม่มีร่องในโพรงจมูก มีปอด รูปร่างมีแตกต่างกันตั้แงต่เรียวยาวจนถึงป้อม ขาสั้น ผิวหลังลำตัวมีความแตกต่างกันตั้งแต่ราบเรียบจนถึงหยักย่น สำหรับตัวที่หยักย่นนั้นเนื่องจากมีต่อมน้ำพิษเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับได้ว่าเป็นซาลาแมนเดอร์วงศ์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุด นอกจากนี้แล้วยังมีสีสันลำตัวที่สดใสจัดจ้าน โดยเฉพาะด้านข้างลำตัวและหลัง ซึ่งจะใช้พิษและสีเหล่านี้เพื่อใช้ในการเตือนภัยสัตว์ล่าเหยื่อ มีวงจรชีวิตแตกต่างหลากหลายกันออกไปตามแต่สกุล บางสกุลอาศัยอยู่บนบก แต่หลายสกุลอาศัยอยู่ในน้ำและมีส่วนหางเป็นแผ่นแบนคล้ายใบพาย บางชนิดวางไข่บนดิน แต่ส่วนใหญ่จะวางไข่ในน้ำ บางชนิดเปลี่ยนรูปร่างแค่บางส่วนในวัยอ่อนแล้วขึ้นไปอาศัยบนบกตั้งแค่ระยะเวลานาน 1–14 ปี ต่อจากนั้นจึงย้ายกลับไปใช้ชีวิตในน้ำแล้วจึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยและอาศัยอยู่ในน้ำตลอดไปก็มี มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวางตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, แอฟริกาตะวันตก, เอเชียตะวันตก และเอเชียตะวันออก สำหรับในประเทศไทย กะท่าง (Tylottriton verrucosus) ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบในดอยสูงทางภาคเหนือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ก็จัดอยู่ในวงศ์นี้เช่นกัน และก็มีพิษด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ซาลาแมนเดอร์เอเชีย

วงศ์ซาลาแมนเดอร์เอเชีย (Asiatic salamander) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Hynobiidae พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียและรัสเซีย พบจนถึงอัฟกานิสถานและอิหร่าน มีความใกล้เคียงกับซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Cryptobranchidae) ซึ่งถือเป็นว่าเป็นซาลาแมนเดอร์ที่ยังมีเค้าโครงมาจากซาลาแมนเดอร์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จึงจัดอยู่ในอันดับย่อยเดียวกัน คือ Cryptobranchoidea ประมาณครึ่งหนึ่งของสมาชิกในวงศ์นี้ พบในประเทศญี่ปุ่น ซาลาแมนเดอร์วงศ์นี้ มีการปฏิสนธิภายนอกหรือออกลูกเป็นไข่ ซึ่งแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์วงศ์อื่นที่ปฏิสนธิภายใน ตัวผู้จะสนใจถุงไข่มากกว่าตัวเมีย ตัวเมียจะวางถุงไข่ครั้งละ 2 ใบ ถุงไข่แต่ละถุงจะมีไข่ได้มากกว่า 70 ใบ จากนั้นตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงโดยพ่อแม่ เป็นวงศ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างสมบูรณ์ ตัวเต็มวัยมีเปลือกตาและไม่มีเหงือก ลำตัวป้อม หัวและหางมีขนาดใหญ่ มีขาทั้ง 2 คู่ ส่วนมากมีปอดใหญ่ แต่ในสกุล Ranodon มีปอดเล็กมาก และสกุล Onychodactylus ไม่มีปอด ส่วนใหญ่ซาลาแมนเดอร์วงศ์นี้มีขนาดตัวเล็กและความยาวน้อยกว่า 10 เซนติเมตร ชนิดที่ใหญ่ที่สุดยาว 25 เซนติเมตร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบกแต่เคลื่อนย้ายไปยังแหล่งน้ำเพื่อผสมพันธุ์ นอกจากบางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำและหลายชนิดอาศัยอยู่ในลำธารบนภูเขา หน้า 309, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ฺ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และวงศ์ซาลาแมนเดอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แอกโซลอเติล

วงศ์แอกโซลอเติล (Mole salamander; วงศ์: Ambystomatidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ambystomatidae เป็นซาลาแมนเดอร์ที่มีรูปร่างป้อมและใหญ่ ไม่มีเหงือกและไม่มีช่องเปิดเหงือก ไม่มีร่องในโพรงจมูก มีปอด ประสาทไขสันหลังมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับซาลาแมนเดอร์ในวงศ์ Plethodonidae แต่โครงสร้างหลายประการยังคงรูปแบบแบบโบราณอยู่ การคงรูปโครงสร้างของระยะวัยอ่อนของซาลาแมนเดอร์ในวงศ์นี้อาจเกิดขึ้นเป็นบางโอกาสหรือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยบางชนิดได้ถูกนำมาศึกษาทางวิชาการ เช่น แอกโซลอเติล (Ambystoma mexicanum) โดยถูกนำมาศึกษาการเจริญเติบโตในระยะวัยอ่อนมาก และถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย โดยรวมแล้ว ซาลาแมนเดอร์วงศ์นี้มีความยาวลำตัวจรดหางประมาณ 10-30 เซนติเมตร ส่วนมากอาศัยอยู่บนพื้นดิน การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายในตัว การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เกิดในกลางฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิ การเกี้ยวพาราสีเกิดขึ้นในน้ำ โดยตัวผู้ไปถึงแหล่งน้ำก่อนและรอตัวเมีย ตัวผู้จะแสดงพฤติกรรมต่อหน้าตัวเมียหลายตัวและสัมผัสกับตัวเมียบางตัว ต่อจากนั้นจึงถ่ายสเปอร์มาโทฟอร์ให้ตัวเมียใช้ทวารร่วมหนีบไป ตัวเมียจะวางไข่ในอีกหลายวันต่อมา จากนั้นทั้งคู่จะแยกย้ายกันไป ก่อนจะมาผสมพันธุ์กันอีกในปีถัดมา แต่ในบางชนิดจะมีช่วงผสมพันธุ์ระหว่างฤดูใบไม้ร่วง การเกี้ยวพาราสีอยู่บนพื้นดินและวางไข่บนพื้นดิน ซึ่งรังที่ใช้วางไข่ถูกน้ำท่วมโดยฝนกลางฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิหรือจากน้ำที่เกิดขึ้นจากการละลายของหิมะ วัยอ่อนเมื่ออกจากไข่จะอาศัยอยู่ในน้ำ มีทั้งหมดประมาณ 33 ชนิด มีเพียงสกุลเดียว คือ Ambystoma พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ใต้สุดของแคนาดาไปจนถึงใต้สุดของที่ราบสูงเม็กซิโก.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และวงศ์แอกโซลอเติล · ดูเพิ่มเติม »

สกุลไซเรน

กุลไซเรน (Siren, Aquatic salamander) เป็นสกุลของซาลาแมนเดอร์ ในวงศ์ Sirenidae ใช้ชื่อสกุลว่า Siren มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนงูหรือปลาไหล ลำตัวเรียวยาว ไม่มีขาคู่หลัง ไม่มีฟัน มีกระดูกแมคซิลลาขนาดเล็กมาก ขาคู่หน้าเล็กมาก อาศัยและดำรงชีวิตในน้ำตลอดชีวิต พบกระจายพันธุ์เฉพาะลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีในทวีปอเมริกาเหนือ ขนาดยาวที่สุดพบได้ถึง 90 เซนติเมตร กินสัตว์น้ำจำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด และมีบางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ หน้า 308, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และสกุลไซเรน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์

ระวังสับสนกับ: อัลไพน์ นิวต์ อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ หรือ ซาลาแมนเดอร์ แอททร้า (Alpine salamander, Golden salamander) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง จำพวกซาลาแมนเดอร์ จัดเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก หรือนิวต์ (Salamandridae) อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก มีลักษณะเด่นคือ มีสีดำตลอดทั้งตัว มี 5 นิ้ว ปลายนิ้วไม่มีเล็บ มีหัวใจทั้งหมด 3 ห้อง ผิวหนังเปียกชื้นไม่มีเกล็ด เหมือนซาลาแมนเดอร์ทั่วไป พบกระจายพันธุ์ในแถบเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,800 เมตร พบได้ในประเทศแอลเบเนีย, ออสเตรีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, โครเอเชีย, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ลิกเตนสไตน์, มอนเตเนโกร, เซอร์เบีย และสวิสเซอร์แลนด์ ในลำธารที่สภาพอากาศหนาวเย็น โดยปกติทางตอนใต้ของเทือกเขาแอลป์ จะไม่ค่อยพบในที่ ๆ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 900 เมตร และมีรายงานว่าพบในที่ ๆ สูงที่สุด คือ 2,430 เมตร ในฝรั่งเศส และ 2,800 เมตร ที่ออสเตรีย คาเรนทันนี กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก ได้แก่ แมลง, หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ และหอยขนาดเล็ก อัลไพน์ ซาลาแมนเดอร์ ในช่วงฤดูหนาวจะขุดรูเพื่อจำศีล ในโพรงดินลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นของผิวหนัง โดยสภาพร่างกายในช่วงนี้จะอยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว อัตราเมแทบอลิซึมต่ำ อัตราการใช้ออกซิเจนจะลดลงอย่างมาก อาจเป็น 1/3 หรือ 1/100 ของอัตราปกติ หัวใจเต้นนาทีละไม่กี่ครั้ง ซึ่งอาจจะอยู่ในภาวะเช่นนี้ได้หลายเดือน จนกระทั่งเมื่ออุณหภูมิขึ้นสูงในระดับ 12-14 องศาเซลเซียส จึงจะขยับตัวออกมา ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่ง ของอัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ คือ ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2-3 ปี โดยตัวผู้จะปล่อยสเปิร์มทิ้งไว้ตามใบไม้ริมน้ำหรือไม้น้ำ หรือก้อนหินที่เปียกชื้นริมน้ำ แล้วจะเปลี่ยนตัวเองให้มีสีที่สวยขึ้น คือ สีทอง เพื่อดึงดูดใจตัวเมีย เมื่อปฏิสนธิแล้ว ไข่จะพัฒนาตัวเองเป็นตัวอ่อนอยู่ในร่างกายของแม่ก่อนที่จะออกมาสู่โลกภายนอก ทั้งนี้เป็นเพราะการปรับตัวให้เข้ากับสถานที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นที่ ๆ หนาวเย็น จนบางครั้งแหล่งน้ำที่อาศัยอยู่แข็งเป็นน้ำแข็ง อัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงSalamandra atra... จิ้งจกน้ำสีนิลแห่งเทือกเขาแอลป์ โดย สุริศา ซอมาดี คอลัมน์ Aqua Survey, หน้า 76-81 นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 28: ตุลาคม 2012.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และอัลไพน์ซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลไพน์นิวต์

อัลไพน์นิวต์ (Alpine newt) เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ประเภทนิวต์ จัดอยู่ในกลุ่มนิวต์หางใบพาย (เดิมเคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Triturus alpestris และMesotriton alpestris แต่ปัจจุบันได้มีการอนุกรมวิธานกันใหม่ จึงกลายเป็นชื่อพ้องไป และทำให้กลายเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ichthyosaura) ตัวอ่อน อัลไพน์นิวต์ มีลักษณะลำตัวสีน้ำเงินเข้ม เจือด้วยจุดกลมเล็ก ๆ สีดำและขาว โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์สีจะยิ่งเข้มสวยขึ้น แต่โดยปกติแล้วสีตามลำตัวจะเป็นสีน้ำตาล มีความยาวเต็มที่ประมาณ 9-12 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในป่าแถบเทือกเขาแอลป์ ในระดับความสูงที่ไม่มากนัก หรือพบได้กระทั่งสวนหลังบ้านที่มีแอ่งน้ำขัง หรือพื้นที่ชุ่มน้ำในพื้นที่ราบ ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนอยู่ใต้ดิน ออกหากินในเวลากลางคืน มีถิ่นกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปยุโรปตอนใต้และตอนเหนือ อัลไพน์นิวต์เป็นนิวต์ หรือซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และอัลไพน์นิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ (Advanced salamander) เป็นอันดับย่อยของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์และนิวต์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salamandroidea เป็นอันดับย่อยของซาลาแมนเดอร์ส่วนใหญ่ พบกระจายพันธุ์ในทุกภูมิภาคของโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา, ตอนใต้ของซาฮาร่า และโอเชียเนีย มีลักษณะโครงสร้างของร่างกายแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อย Cryptobranchoidea ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์ที่มีโครงสร้างเหมือนกับซาลาแมนเดอร์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อยนี้ จะมีกระดูกเพียร์ติคูลาร์เป็นเชิงมุม ในขากรรไกรล่างเชื่อมติดกันและทุกชนิดมีการปฏิสนธิภายในตัว ตัวเมียจะถูกปฏิสนธิจากสเปิร์มจากถุงสเปิร์ม ถุงสเปิร์มจะติดอยู่ที่ช่องทวารรวม สเปิร์มจะถูกเก็บไว้ในถุงเก็บสเปิร์มของตัวเมียบนด้านหลังของช่องทวารรวมเป็นสิ่งจำเป็นในเวลาที่วางไข่ ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของซาลาแมนเดอร์ในอันดับย่อยนี้ คือ Beiyanerpeton jianpingensis ที่พบในชั้นเทียวจิซาน ฟอร์เมชั่น ตรงกับยุคจูราซซิคยุคปลาย ราว 157 ล้านปีมาแล้ว (บวกลบไม่เกิน 3 ล้านปี).

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และอันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์

อันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Primitive salamander) เป็นอันดับย่อยของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cryptobranchoidea เป็นซาลาแมนเดอร์กลุ่มที่พบกระจายพันธุ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และหลายพื้นที่ของทวีปเอเชีย อาทิ จีน, ญี่ปุ่น, เกาะไต้หวัน, เกาหลี, อัฟกานิสถาน และอิหร่าน มีลักษณะบางอย่างทางโครงสร้างของร่างกายเหมือนกับซาลาแมนเดอร์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์คล้ายคลึงกัน คือ มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นภายนอกลำตัว และไม่มีพฤติกรรมในการเกี้ยวพาราสี ตัวผู้ในบางสกุลแสดงความสนใจในตัวเมียต่อเมื่อมีถุงไข่โผล่ออกมาจากช่องทวารร่วมของตัวเมีย ในช่วงเวลาที่ตัวเมียปล่อยถุงไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำและพยายามทำให้ถุงไข่หลุดออกจากช่องทวารร่วมนั้น ตัวผู้หลายตัวจะเข้าไปกลุ้มรุมตัวเมียและพยายามดันตัวเมียให้พ้นไปจากถุงไข่เพื่อถ่ายสเปิร์ม.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และอันดับย่อยซาลาแมนเดอร์ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต หรือ ฟอสซิลที่มีชีวิต (Living fossil) หมายถึงสิ่งมีชีวิตใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ ฟังไจ หรือสาหร่าย ที่ยังคงโครงสร้างร่างกายหรือสรีระแบบบรรพบุรุษดั้งเดิมที่เคยมีชีวิตอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ ซึ่งตรวจสอบได้จากการนำไปเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ (fossil) หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก จะถูกจัดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต โดยบุคคลแรกที่ใช้ศัพท์คำนี้ คือ ชาลส์ ดาร์วิน ที่กล่าวไว้ในหนังสือ The Origin of Species ที่ว่าถึงทฤษฎีวิวัฒนาการของตนเอง ตอนหนึ่งได้พูดถึงตุ่นปากเป็ด และปลาปอดเอาไว้ว่า โดยชนิดของซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด และมีความฮือฮามากเมื่อถูกค้นพบ คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ถูกค้นพบเมื่อปลายปี..

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Giant salamander) เป็นสกุลของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่จำพวกซาลาแมนเดอร์ ใช้ชื่อสกุลว่า Andrias ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Cryptobranchidae) มีลักษณะเฉพาะ คือ มีช่องเหงือก 1 คู่ ที่ปิด จัดเป็นซาลาแมนเดอร์และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้ถึงเกือบ 2 เมตร พบเฉพาะลำธารหรือแหล่งน้ำที่ใสสะอาด มีออกซิเจนละลายในปริมาณที่สูง และมีอุณหภูมิหนาวเย็น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก 2 ประเทศเท่านั้น คือ จีน และญี่ปุ่น แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และซาลาแมนเดอร์ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น

กะโหลกซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น (Japanese giant salamander; オオサンショウウオ, ハンザキ–โอซานโชอูโอ, ฮานซะกิ) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Andrias japonicus จัดอยู่ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Cryptobranchidae).

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์จีน

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์จีน (Chinese giant salamander; จีนตัวย่อ: 娃娃鱼; พินอิน: wāwāyú–หว่าหว้าหวี่ หมายถึง "ปลาทารก") เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะรูปร่างหัวกลมแบนใหญ่ ลำตัวแบน ตาเล็กมาก ปากกว้างมาก ภายในปากมีฟันขนาดเล็กจำนวนมาก ที่สามารถใช้ขบกัดได้เป็นอย่างดี หางยาวมีแผ่นหนังคล้ายครีบ ขาสั้น 4 ข้าง มีนิ้ว 4 นิ้ว ลำตัวสีน้ำตาลกระหรือดำและสามารถเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อม โดยถือว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บนโลกเป็นเวลากว่า 300 ล้านปีมาแล้ว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึงเกือบ 2 เมตร อาศัยอยู่เฉพาะลำธารน้ำที่มีคุณภาพน้ำในเกณฑ์ดี สภาพน้ำไหลแรง มีอุณหภูมิต่ำในป่าดิบทางตอนกลางและตอนใต้ของจีนเท่านั้น เช่น มณฑลส่านซี, มณฑลชิงไห่, มณฑลเสฉวน, มณฑลกวางตุ้ง, มณฑลเจียงซู และมณฑลกวางสี เป็นต้น หากินในเวลากลางคืน กินอาหารจำพวก ปลาและสัตว์มีกระดองชนิดต่าง ๆ โดยปกติแล้วเป็นสัตว์ที่อยู่อย่างสงบ แต่สามารถจะฉกกัดได้อย่างรุนแรงและดุร้ายเมื่อถูกรบกวน มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน วางไข่ได้ครั้งละ 500 ฟอง โดยที่ตัวผู้เป็นผู้ดูแล ไข่มีใช้เวลาฟักประมาณ 50-60 วัน และมีอายุยืนได้ถึง 30 ปี ซึ่งบางตัวพบมีสภาพเป็นอัลบิโน่ด้วย ในปลายปี..

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และซาลาแมนเดอร์ยักษ์จีน · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์ไฟ

ำหรับซาลาแมนเดอร์ที่เป็นสัตว์ในตำนาน ดูที่: ซาลาแมนเดอร์ ซาลาแมนเดอร์ไฟ (Fire salamander) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็กจำพวกซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง จัดเป็นนิวต์ (Salamandridae) หรือซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ชื่อซาลาแมนเดอร์ไฟนั้น สันนิษฐานว่ามาจากการที่มนุษย์ในสมัยโบราณ จะใช้ฟืน ที่นำมาจากกิ่งไม้หรือโพรงไม้ต่าง ๆ โยนเข้ากองไฟเพื่อสร้างความอบอุ่นยามหนาว บางครั้งจะพบซาลาแมนเดอร์ชนิดนี้ซุกซ่อนอยู่ภายใน เมื่อฟืนถูกไฟ ด้วยความร้อนซาลาแมนเดอร์ก็จะคลานออกมา เหมือนกับว่าคลานออกมาจากกองไฟ อันเป็นที่มาของสัตว์ในตำนานที่ว่า เมื่อโยนซาลาแมนเดอร์เข้าไปในกองไฟแล้วก็ไม่ตาย เนื่องจากมีความชื้นในรูปแบบของเมือกที่ปกคลุมตัวอยู่ ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซาลาแมนเดอร์ไฟ นับเป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดที่พบได้ง่ายกว่าซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ๆ ในทวีปยุโรป มีลำตัวสีดำมีจุดสีเหลืองหรือลายเส้นที่แตกต่างกันออกไป บางตัวอาจจะมีสีเกือบดำสนิทในขณะที่บางตัวมีแถบสีเหลืองสดตัดกันโดดเด่น และบางตัวก็มีสีออกไปทางเหลืองเฉดแดง หรือสีส้ม มีขนาดความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ในตัวที่โตเต็มวัย และมีอายุขัยที่ยาวนานถึง 50 ปี นับว่ายาวนานกว่าซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ๆ มาก นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถปล่อยสารพิษประเภทอัลคาลอยด์ ในรูปแบบของต่อมพิษที่ผิวหนังเพื่อป้องกันตัวได้ด้วย มีผลทำให้กล้ามเนื้อชักเกร็ง, ความดันโลหิตสูง โดยต่อมพิษนี้กระจายอยู่ทั่วตัว และกระจุกในพื้นผิวบางส่วนของร่างกายเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนหัว และผิวหลังส่วนผิวหนังมักจะตรงกับต่อมเหล่านี้ ซึ่งสารประกอบในการหลั่งผิวหนังอาจจะมีผลต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราของผิวหนังชั้นนอก พบกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำที่สะอาดต่าง ๆ ในป่าประเภท ป่าผลัดใบ หรือภูเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นป่าที่มีพืชชั้นต่ำประเภทมอสส์ปกคลุม ในหลายประเทศของทวีปยุโรป ตั้งแต่ประเทศแอลเบเนีย, ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, บัลแกเรีย, ฮังการี, โครเอเชีย, สาธารณรัฐเช็ก, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, มอนเตเนโกร, ยูโกสลาเวีย, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, โปรตุเกส, โรมาเนีย, สเปน, สวิสเซอร์แลนด์ โดยพบไปได้ไกลถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น ตุรกี และอิหร่าน มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางคืน กินสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น แมลง, กุ้ง, ปู, ทาก หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำด้วยกันขนาดเล็ก โดยปกติในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวตามโขดหินและขอนไม้ จะออกมาหากินในเวลากลางวันบ้างก็ต่อเมื่อมีฝนตก ความชื้นในอากาศมีสูง ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะสามารถเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจนที่สุด คือ ต่อมบวมรอบ ๆ ระบายชายของตัวผู้ ต่อมนี้มีหน้าที่ผลิตถุงเก็บสเปิร์ม ซึ่งประกอบด้วยสเปิร์มจำนวนมากที่ตอนปลาย เมื่อซาลาแมนเดอร์ตัวเมียขึ้นมาบนบก ตัวผู้หลังจากปล่อยถุงสเปิร์มลงบนพื้นดินแล้วพยายามที่จะให้ตัวเมียรับเข้าไปผสมพันธุ์ หากประสบความสำเร็จทั้งไข่และสเปิร์มมีการปฏิสนธิกัน ซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวของตัวเมีย ตัวอ่อนจะได้รับการเพาะฟักในแหล่งน้ำที่สะอาดต่อไป.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และซาลาแมนเดอร์ไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครุย

ปลาฉลามครุย (Frilled shark; ラブカ) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างประหลาดมากคล้ายปลาไหล อาศัยอยู่ในน้ำลึก 1,968 – 3,280 ฟุต มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydoselachus anguineus ในอยู่ในวงศ์ Chlamydoselachidae เดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มีรายงานพบในหลายพื้นที่ รวมถึงในเขตน่านน้ำของญี่ปุ่น ทำให้ปลาฉลามครุยกลายเป็น "ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต" อีกชนิดหนึ่งของโลก เพราะเชื่อว่ามันไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเลยมาตั้งแต่ยุคครีเทเชียส จนกระทั่งถึงปัจจุบัน บริเวณส่วนหัว ลักษณะฟันและปาก ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ปลาฉลามชนิดนี้ได้สร้างความฮือฮากลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั้งโลก เมื่อชาวประมงชาวญี่ปุ่นสามารถจับตัวอย่างที่ยังมีชีวิตได้ตัวหนึ่งในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งใกล้สวนน้ำอะวาชิมา ในเมืองชิซุโอะกะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียว ซึ่งเชื่อว่าปลาตัวนี้ลอยขึ้นมาเพราะร่างกายอ่อนแอเนื่องจากความร้อนที่ขึ้นสูงของอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็ตายไป เชื่อว่าปลาฉลามชนิดนี้ กระจายพันธุ์อยู่ในเขตน้ำลึกใกล้นอร์เวย์, แอฟริกาใต้, นิวซีแลนด์, ชิลี และญี่ปุ่น มีรูปร่างเรียวยาวคลายปลาไหลหรืองูทะเล เป็นไปได้ว่าตำนานงูทะเลขนาดใหญ่ที่เป็นเรื่องเล่าขานของนักเดินเรือในสมัยอดีตอาจมีที่มาจากปลาฉลามชนิดนี้ มีผิวสีน้ำตาลหรือเทาเข้ม มีซี่กรองเหงือก 6 คู่ สีแดงสด และฟูกางออกเหมือนซาลาแมนเดอร์บางชนิด ทำให้ดูแลเหมือนครุย ซึ่งมีไว้สำหรับดูดซับออกซิเจนโดยเฉพาะ เนื่องจากในทะเลลึกมีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าด้านบนถึงกว่าครึ่ง ปากกว้างเลยตำแหน่งของตา ภายในปากมีฟันที่แตกเป็นดอกแหลม ๆ 3 แฉก ทำให้สันนิษฐานว่าเป็นปลาที่ล่าปลาเล็กเป็นอาหารที่เก่งฉกาจชนิดหนึ่ง ความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6.5 ฟุต.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และปลาฉลามครุย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปอดอเมริกาใต้

ปลาปอดอเมริกาใต้ (South American lungfish, American mud-fish, Scaly salamander-fish) เป็นปลาปอดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepidosiren paradoxa อยู่ในวงศ์ Lepidosirenidae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้และวงศ์นี้ ปลาปอดอเมริกาใต้ มีลักษณะโดยรวมแล้วคล้ายกับปลาปอดที่พบในทวีปแอฟริกา (Protopterus spp.) แต่จะมีรูปร่างที่เพรียวยาว เมื่อยังเล็ก จะมีพู่เหงือกเหมือนสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์ ซึ่งจะใช้อวัยวะส่วนนี้ช่วยในการหายใจ จนกระทั่งอายุได้ราว 7 สัปดาห์ อวัยวะส่วนนี้จะหายไป และจะมีสีเหลืองเป็นจุดเป็นแต้มกระจายไปทั่วลำตัว แลดูสวยงาม ปลาปอดอเมริกาใต้จัดเป็นปลาปอดโลกใหม่ ที่มีพัฒนาการจากปลาปอดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไม่เหมือนปลาปอดโลกเก่าอย่าง ปลาปอดออสเตรเลีย (Neoceratodus forsteri) โดยจะมีถุงลมจำนวนหนึ่งคู่ มีอวัยวะที่ทำหน้าที่คล้ายปอดของมนุษย์หนึ่งคู่ มีครีบอกและครีบส่วนล่างเป็นเส้นยาวเห็นได้ชัดเจน โดยที่ไม่มีก้านครีบ ซึ่งครีบตรงส่วนนี้เมื่อขาดไปแล้ว สามารถงอกใหม่ได้ โตเต็มที่ประมาณ 125 เซนติเมตร มีอายุสูงสุดราว 8 ปี ตามีขนาดเล็ก ปลาตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเทาคล้ำหรือสีดำ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปลาขนาดเล็ก, แมลงน้ำ รวมถึงเห็ดรา ในขณะที่ยังเล็กจะกินอาหารจำพวกสัตว์เพียงอย่างเดียว พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำสาขาต่าง ๆ ที่เป็นสาขาของแม่น้ำอเมซอน เช่น แม่น้ำปารานา ขณะเดียวกันปลาปอดอเมริกาใต้ก็ตกเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่กว่าชนิดอื่นด้วย สามารถดำรงชีวิตในแหล่งน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้เป็นอย่างดี เมื่อถึงฤดูแล้งที่น้ำแห้งขอด ปลาปอดอเมริกาใต้จะขุดหลุมลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร และจะใช้โคลนปิดปากหลุมไว้เพื่อการจำศีล ลดการเผาผลาญพลังงาน จนกว่าจะถึงฤดูฝนที่ปริมาณน้ำจะกลับมามากดังเดิม มีพฤติกรรมในการขยายพันธุ์ คือ พ่อแม่ปลาจะขุดหลุมลึกประมาณ 1.5 เมตร เพื่อสร้างเป็นรัง โดยที่ปลาตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลตัวอ่อน ตัวผู้จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนในหลุม เพราะช่วงฤดูวางไข่ ครีบหางจะพัฒนาให้มีเส้นเลือดบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก เหงือกที่คล้ายโครงสร้างของขนนก ซึ่งจะทำหน้าที่ตรงข้ามกับเหงือก คือ จะทำหน้าที่ปล่อยออกซิเจนออกจากเลือด และรับคาร์บอนไดออกไซด์ และเนื้อเยื่อหายไปหลังจากช่วงสิ้นสุดฤดูกาลวางไข่ ปลาปอดอเมริกาใต้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่มีนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าวเหมือนปลาปอดที่พบในทวีปแอฟริกา จึงสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าในตู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี โดยผู้เลี้ยงสามารถให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ด้ว.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และปลาปอดอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์

นิวต์ (Newts) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์ ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ (Salamandridae) ในวงศ์ย่อย Pleurodelinae นิวต์เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป และเอเชีย เมื่อยังเป็นวัยอ่อนที่มีพู่เหงือกเรียกว่า "เอลฟ์" (Efts) นิวต์มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างไปจากซาลาแมนเดอร์ คือ มีผิวหนังที่แห้งกว่าและขรุขระหรือเป็นตะปุ่มตะป่ำกว่า และมักมีพิษ กะท่าง (Tylottriton verrucosus) ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบในดอยสูงทางภาคเหนือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ก็จัดว่าเป็นนิวต์เช่นกัน ไม่ใช่ซาลาแมนเดอร์ และก็มีพิษด้วยเช่นกัน นิวต์อาจจำแนกออกได้เป็นสกุลต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และนิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์หางใบพาย

นิวต์หางใบพาย หรือ ซาลาแมนเดอร์หางใบพาย (Alpine newt) เป็นซาลาแมนเดอร์ในกลุ่มของนิวต์ หรือซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ในสกุล Triturus (มาจาก ไทรทัน บุตรชายของโพไซดอน เทพเจ้าแห่งมหาสมุทรตามเทพปกรณัมกรีก และภาษากรีกคำว่า ura หมายถึง "หาง") ลักษณะเด่นของนิวต์หางใบพาย คือ มีส่วนหางที่แผ่แบนเหมือนใบพายหรือครีบปลา มีช่วงชีวิตยาวนานอยู่ในน้ำมากกว่านิวต์สกุลอื่น ๆ โดยที่ขณะเป็นตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย ลักษณะหางที่เป็นใบพายก็ยังคงลักษณะเดิมไม่เปลี่ยนแปลง มีขนาดลำตัวประมาณ 9-12 เซนติเมตร ในชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 16 เซนติเมตร ในบางชนิดมีแผ่นหนังที่ดูคล้ายหงอนหรือครีบหลังที่สันหลังของลำตัวไปถึงส่วนหางด้วยซึ่งดูเป็นจุดเด่น ลำตัวมักมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม มีลายประหรือจุดสีสันต่าง ๆ แตกต่างออกไปตามและชนิด และยิ่งจะมีความเด่นชัดขึ้นโดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ มีการขยายพันธุ์และวางไข่เหมือนกับนิวต์สกุลอื่น วางไข่ครั้งละ 100-200 ฟอง หรือในชนิดที่มีจำนวนมากอาจได้ถึง 300-400 ฟอง พบกระจายพันธุ์ในป่า หรือลำห้วย หรือทะเลสาบในแถบเทือกเขาในระดับความสูงต่าง ๆ กันในทวีปยุโรป จนถึงบางส่วนของรัสเซีย และภูมิภาคตะวันออกกลางTriturus ทั้ง 5, คอลัมน์ Aqua Survey โดย สุริศา ซอมาดี.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และนิวต์หางใบพาย · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์หงอนใหญ่

นิวต์หงอนใหญ่ หรือ นิวต์หงอนเหนือ (Great crested newt, Northern crested newt) เป็นซาลาแมนเดอร์จำพวกนิวต์ชนิดหนึ่ง จำพวกซาลาแมนเดอร์หางใบพาย เป็นซาลาแมนเดอร์ที่คงรูปร่างความเป็นวัยอ่อนไว้เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วก็ตาม จัดเป็นซาลาแมนเดอร์หรือนิวต์อีกชนิดหนึ่งที่มีสีสันสดใส แลดูสวยงาม โดยปกติมีลำตัวสีเทาเข้ม มีลายกระกระจายสีดำ บางครั้งบนจุดสีเหลืองหรือส้มไปจนสีเงินที่หางด้วย มีจุดเด่น คือ มีแผ่นครีบเหมือนหงอนตั้งแต่ส่วนหัวไปจรดหาง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะมารวมตัวกันเป็นกลุ่มในบริเวณแหล่งน้ำที่อาศัยแล้วกำหนดพื้นที่ของตนเองขึ้นมาและป้องกันพื้นที่ไว้จากตัวผู้ตัวอื่นด้วยการแสดงท่าทางและการต่อสู้ นิวต์ตัวเมียที่เคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่แต่ละแห่งได้รับการต้อนรับจากตัวผู้ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ด้วยการแสดงท่าทาง เช่น แผ่กางครีบหลัง หรือครีบหาง แสดงสีสันที่สดใสตามลำตัว เป็นต้น ในขณะที่ตัวเมียก็จะมีแถบสีส้มเล็ก ๆ คาดที่โคนหาง วางไข่ในน้ำประมาณครั้งละ 200 ฟอง พบกระจายพันธุ์ในป่าแถบเทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป และบริเวณรอบ ๆ ทะเลดำ ชอบอาศัยในที่ชื้นแฉะและบริเวณที่มีมอสส์ขึ้นTriturus ทั้ง 5, คอลัมน์ Aqua Survey โดย สุริศา ซอมาดี.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และนิวต์หงอนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์ผิวขรุขระ

นิวต์ผิวขรุขระ (Rough-skinned newt; ชื่อวิทยาศาสตร์: Taricha granulosa) เป็นนิวต์อเมริกาเหนือที่รู้จักกันดีว่ามีพิษร้ายแรง ขณะยังไม่โตเต็มวัย จะอาศัยอยู่บนพื้นดินเป็นเวลา 4 หรือ 5 ปีหลังจากเมตามอร์โฟซิส แต่ตัวเต็มวัยสามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ วางไข่ในน้ำ สัตว์ประเภทนี้ถูกพบมากเป็นพิเศษหลังจากเกิดฝนตกหนัก.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และนิวต์ผิวขรุขระ · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์จระเข้

นิวต์จระเข้ หรือ นิวต์ตะปุ่มตะป่ำ (Crocodile newts, Knobby newts) เป็นสกุลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Tylototriton จัดเป็นนิวต์หรือซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ปัจจุบันพบทั้งหมด 14 ชนิด โดยเชื่อว่ายังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้มีการค้นพบ และในบางชนิดก็อาจเป็นชนิดเดียวกัน พบกระจายพันธุ์ตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและพม่า ไปจนถึงพม่าสู่ภาคเหนือของไทย, ลาว, เวียดนาม และทางตอนใต้ของจีน.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และนิวต์จระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์ท้องแดง

นิวต์ท้องแดง หรือ นิวต์ไฟ (Fire belly newt, Fire newt) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกนิวต์ (Salamandridae) ที่อยู่ในสกุล Cynops เป็นนิวต์หรือซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่เอเชียตะวันออก เช่น จีน และญี่ปุ่น มีลักษะเด่น คือ มีส่วนท้องเป็นสีแดงหรือสีเหลือง จำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และนิวต์ท้องแดง · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์ท้องแดงจีน

นิวต์ท้องแดงจีน หรือ นิวต์ท้องแดง (Chinese fire belly newt, Oriental fire-bellied newt, Dwarf fire-bellied newt; 東方蠑螈) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง จำพวกนิวต์ (Salamandridae) เป็นนิวต์ขนาดเล็กมีลำตัวสีดำ ส่วนหางแบนเหมือนใบพาย มีช่วงท้องเป็นสีเหลืองมีแต้มสีส้มหรือแดง ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย โดยตัวผู้จะมีปุ่มบริเวณโคนหาง จัดเป็นนิวต์ขนาดเล็กมีความยาวลำตัวจรดหางประมาณ 12-15 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในน้ำ ตัวอ่อนมีพู่เหงือก แพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่น้ำสะอาดและบริสุทธิ์และมีพืชน้ำขึ้นหนาแน่นในตอนใต้ของประเทศจีน อุณหภูมิประมาณ 18-24 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินสัตว์น้ำและแมลงขนาดเล็ก เช่น หนอน, กุ้งฝอย, หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ, ลูกอ๊อด เป็นต้น นิวต์ท้องแดงจีน มีพิษบริเวณผิวหนังที่มีพิษประเภทเตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) อันเป็นพิษแบบเดียวกับที่มีในปลาปักเป้า แต่เป็นพิษแบบอ่อน อันเป็นลักษณะสำคัญของนิวต์ในสกุล Cynops ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนักสำหรับมนุษย์หากใช้มือเปล่าไปแตะต้องถูกเข้า แต่จะเป็นอันตรายต่อเมื่อกลืนกินเข้าไป เป็นนิวต์หรือซาลาแมนเดอร์อีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และนิวต์ท้องแดงจีน · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์แปซิฟิก

นิวต์แปซิฟิก หรือ นิวต์ตะวันตก หรือ นิวต์ผิวขรุขระ (Pacific newt, Western newt, Roughskin newt) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์สกุลหนึ่ง ในสกุล Taricha (/ทา-ริ-ชา/) จัดเป็นซาลาแมนเดอร์แท้ หรือนิวต์สกุลหนึ่ง เป็๋นนิวต์ที่หากินและใช้ชีวิตบนบกเป็นหลัก และจะเคลื่อนย้ายไปยังแหล่งน้ำเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายในลำตัว เป็นนิวต์ที่พบกระจายพันธุ์ทั้งในพื้นที่ตะวันออกและตะวันตกของสหรัฐอเมริกา และอาจพบได้จนถึงตอนเหนือของรัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย เม็กซิโก จำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และนิวต์แปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ") คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

แอกโซลอเติล

แอกโซลอเติล (axolotl) หรือ อาโชโลตล์ (นาอวตล์: āxōlōtl) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะใกล้เคียงกับซาลาแมนเดอร์เสือ (A. tigrinum) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน โดยที่ชื่อ "แอกโซลอเติล" นั้น มาจากชื่อของเทพเจ้าโชโลตล์ (Xolotl) ซึ่งเป็นพระเจ้าแห่งความตายตามความเชื่อของชาวแอซเท็ก แอกโซลอเติลเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ที่มีถิ่นที่อยู่ค่อนข้างจำกัด โดยจะพบได้เฉพาะทะเลสาบหรือพื้นที่ชุ่มน้ำใกล้กับกรุงเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโกเท่านั้น จุดเด่นของแอกโซลอเติลก็คือ มีพู่เหงือกสีแดงสดซึ่งเป็นอวัยวะช่วยในการหายใจซึ่งติดตัวมาตั้งแต่ฟักออกจากไข่ โดยที่ไม่หายไปเหมือนกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกอื่น เช่น กบหรือซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ซึ่งที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งของแอกโซลอเติล คือ เมื่ออวัยวะไม่ว่าส่วนใดของร่างกายขาดหายไปจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายนอกหรืออวัยวะสำคัญภายในร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด แอกโซลอเติลยังเป็นสัตว์ที่ไม่มีเปลือกตา และของเหลวที่ขับออกมาเป็นของเสียออกจากร่างกายก็ไม่ใช่ปัสสาวะ แต่เป็นน้ำที่ผ่านเหงื่อ อีกทั้งยังมีสีผิวแตกต่างกันหลากหลายด้วย เช่น สีน้ำตาลเข้ม สีดำ สีส้ม สีขาวตาดำ หรือแม้กระทั่งสีขาวตาแดงหรือสภาพที่เป็นอัลบิโน โดยทั้งนี้ที่เป็นแบบนี้ เพราะแอกโซลอเติลเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการแบบย้อนกลับเพื่อให้เข้าได้กับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย แอกโซลอเติลมีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดเฉลี่ย 15 เซนติเมตร ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 18-24 เดือน มีอายุยืนยาวประมาณ 15 ปี โดยอาศัยในน้ำที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส ซึ่งจัดว่าค่อนข้างเย็น กินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น ปลาขนาดเล็ก กุ้ง หอยชนิดต่าง ๆ รวมถึงไส้เดือนดินหรือไส้เดือนน้ำ เป็นต้น ขยายพันธุ์เมื่ออายุได้ 5 เดือนจนถึงโต ซึ่งขึ้นอยู่กับความถี่และคุณภาพของอาหาร รวมถึงอุณหภูมิกับคุณภาพของน้ำด้วย มีรายงานว่ามีตัวผู้ที่พร้อมผสมพันธุ์มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนอยู่พอสมควร โดยที่ตัวผู้เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จะมีความยาว 7 นิ้ว ขณะที่ตัวเมียมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ช่วงวัยนี้ช้ากว่าตัวผู้ 1-2 เดือน ตัวผู้มีลักษณะโคนหางที่ใหญ่และยาวกว่าตัวเมีย ฤดูการขยายพันธุ์อยู่ในเดือนมิถุนายนถึงธันวาคมในแต่ละปี ซึ่งในสถานที่เลี้ยงพบว่าสามารถขยายพันธุ์ได้ทุกช่วงเดือนของปี ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 2 สัปดาห์ สถานะในธรรมชาติของแอกโซลอเติลจัดอยู่ในภาวะเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกคุกคามอย่างหนักในถิ่นที่อยู่จากมนุษย์และยังตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าตามห่วงโซ่อาหาร เช่น นกกินปลา ปลาขนาดใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว แอกโซลอเติลยังกลายเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ อีกด้วย โดยนิยมเลี้ยงในตู้ปลาเช่นเดียวกับปลาสวยงามทั่วไป ในประเทศไทย บางครั้งแอกโซลอเติลจะถูกเรียกว่า "หมาน้ำ".

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และแอกโซลอเติล · ดูเพิ่มเติม »

แอมฟิอูมา

แอมฟิอูมา (Amphiuma, Conger eel) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Amphiumidae เป็นวงศ์ที่คงรูปร่างของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในวัยอ่อนไว้เมื่อเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คือ ไม่มีเปลือกตา ไม่มีลิ้น ไม่มีเหงือกภายนอก แต่มีเหงือกภายใน และมีช่องเปิดเหงือก 1 คู่ มีขาทั้ง 2 คู่ แต่มีขนาดเล็กมาก และมีจำนวนนิ้วที่แตกต่างกันตั้งแต่ 1-3 นิ้ว มีฟันและมีปอด มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรืองูและมีความยาวแตกต่างกัน ตั้งแต่ 33 เซนติเมตร จนถึง 1.2 เมตร พบกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลไม่แรง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น และบางครั้งอาจขึ้นมาบนบก โดยสามารถกินได้ทั้งสัตว์น้ำและสัตว์บก เช่น แมลง, กุ้ง, ปู, หอย, ปลา, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกอื่น และหนูตัวเล็ก ๆ ก็สามารถกินได้ หากินในเวลากลางคืน มีการปฏิสนธิภายในตัว โดยตัวผู้จะถ่ายสเปอร์มาโทฟอร์เข้าไปในช่องทวารร่วมของตัวเมียโดยตรง ขณะเกี้ยวพาราสีกัน ตัวเมียวางไข่บนพื้นโคลนใกล้แหล่งน้ำที่อาศัยและเฝ้าดูแลไข่ แอมฟิอูมา มีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น คือ Amphiuma แตกต่างกันไปตามจำนวนของนิ้วที่ปรากฏ.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และแอมฟิอูมา · ดูเพิ่มเติม »

แอมฟิอูมาสองนิ้ว

แอมฟิอูมาสองนิ้ว (Two-toed amphiuma, Conger eel, Congo snake, Blind eel) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์แอมฟิอูมา (Amphiumidae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรืองู ลำตัวลื่นเต็มไปด้วยเมือก ตามีขนาดเล็กมาก ผิวหนังเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือดำ ส่วนหัวแหลมยาว ปากกว้างมาก ภายในปากมีฟันที่แหลมคม ขามีขนาดเล็กและสั้นมาก มีนิ้วเท้าทั้งหมด 2 นิ้ว อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีความยาวได้ถึง 120 เซนติเมตร น้ำหนัก 1,042 กรัม นับเป็นแอมฟิอูมาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำแถบรัฐลุยเซียนา, เวอร์จิเนีย, นอร์ทแคโรไลนา, เซาท์แคโรไลนา และฟลอริดา ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินสัตว์ขนาดเล็กกว่าได้หลากหลาย ทั้ง ปลา, แมลง, กุ้ง, ปู, หอย รวมถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น นกหรือหนูได้ด้วย โดยเป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว มีฤดูกาลขยายพันธุ์ระหว่างเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ตัวเมียวางไข่ราว 200 ฟอง นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก โดยเลี้ยงในตู้ปลาและจัดสภาพแวดล้อมให้เหมือนในธรรมชาต.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และแอมฟิอูมาสองนิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

โอล์ม

อล์ม (Olm, Human fish) เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์หมาน้ำ (Proteidae) จัดเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Proteus (เคยมีอีกชนิดหนึ่ง คือ P. bavaricus สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน) โอล์ม เป็นซาลาแมนเดอร์รูปร่างประหลาดกว่าซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน กล่าว คือ มีรูปร่างเพรียวยาวเหมือนปลาไหลหรืองู มากกว่าจะเป็นซาลาแมนเดอร์ ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร ผิวหนังขาวซีด ไม่มีเม็ดสี รวมทั้งไม่มีตา เนื่องจากใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำที่มีแต่ความมืด ไม่มีแสงสว่างส่องเข้ามาถึง จึงหายไปเนื่องจากไม่ได้ใช้ประโยชน์ ขาเล็กสั้น นิ้วตีนหน้ามี 3 นิ้ว และตีนหลัง 2 นิ้ว ซึ่งเป็นการลดรูปของอวัยวะที่ไม่ได้ใช้งาน มีส่วนปากยื่นยาวและแผ่กว้าง ซึ่งเป็นประสาทสัมผัส โอล์ม กระจายพันธุ์เฉพาะในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 8 องศาเซลเซียส ในถ้ำลึกของทวีปยุโรป แถบยุโรปกลาง และยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ เช่น สโลเวเนีย, โครเอเชีย เช่น ถ้ำโพสทอยน่าในสโลเวเนีย โดยหลบซ่อนอยู่ตามหลืบหินหรือซอกต่าง ๆ ใต้น้ำ เมื่อแรกเจอ โอล์มถูกเชื่อว่าเป็นลูกของมังกร ซึ่งพ่อแม่ของมังกรหลบอยู่ในส่วนลึกของถ้ำเข้าไปอีก นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลามนุษย์" จากการที่มีผิวขาวเหมือนชาวผิวขาว ซึ่งมาจากภาษาสโลเวเนีย คำว่า človeška ribica และภาษาโครเอเชีย คำว่า čovječja ribica โอล์ม มีความไวต่อแสงมาก แม้จะไม่มีตา แต่ก็มีประสาทสัมผัสที่ดีมาก ตลอดจนมีประสาทรับรู้รสในปาก เมื่อโตเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังคงรูปร่างเมื่อยังเป็นตัวอ่อนอยู่ คือ ไม่มีเปลือกตา มีเหงือกขนาดใหญ่เห็นเป็นพู่เหงือก และมีช่องเปิดเหงือก 2 ช่อง มีแผ่นครีบหาง มีการขยายพันธุ์ด้วยการปฏิสนธิในตัว ตัวเมียวางไข่จำนวน 50-70 ฟอง นอกจากนี้แล้ว ในปี ค.ศ. 1986 ได้มีการค้นพบโอล์มดำ (P. a. parkelj) ซึ่งเป็นชนิดย่อยของโอล์ม มีส่วนปากสั้นกว่าโอล์ม แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นชัดเจน คือ มีตาขนาดเล็กเห็นชัดเจน และสีผิวที่คล้ำกว่า รวมทั้งมีความกระฉับกระเฉงว่องไวกว่า มีความยาว 40 เซนติเมตรเท่ากัน โอล์มดำ เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบได้ในลำธารใต้ดินใกล้กับเมือง คอร์โนเมลจ์ ในสโลเวเนียเท่านั้น การขยายพันธุ์ของโอล์มดำนั้น ยังไม่เป็นที่ทราบกันโดยแน่ชัดThe Human Fish, "Nick Baker's Weird Creatures".

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และโอล์ม · ดูเพิ่มเติม »

ไซเรน

ำหรับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์ ดูที่ ไซเรน จอห์น วิลเลี่ยม วาเตอร์เฮาส์ ไซเรน (Siren; กรีก: Σειρήν, Σειρῆνες) เป็นปีศาจในเทพปกรณัมกรีก โดยปรากฏบทบาทอย่างยิ่งจากตำนานเรื่องเจสันและเรืออาร์โกและโอดิสซีย์ ไซเรน มีลักษณะของสัตว์ผสม 3 อย่าง คือ คล้ายนางเงือก มีขาเป็นครีบปลา มีปีกและเสียงเหมือนนก แต่บ้างก็ว่า ไซเรน เป็นมนุษย์ครึ่งนกเหมือนกินร กินรี ในวรรณคดีไทย จากบทประพันธ์ตอนหนึ่ง ระบุว่า ไซเรน มีเสียงอันไพเราะ รูปร่างที่งดงามรองจากเงือกเล็กน้อย มีความสามารถในการสะกดจิตให้ผู้อื่น ทำตามในสิ่งที่ตนเองต้องการ เสียงของไซเรนไพเราะเพราะพริ้งจนทำให้คนที่เดินเรือผ่านมายังบริเวณใกล้เคียงที่ไซเรนอาศัยอยู่หลงทางเข้ามาตามเสียงเพลงของไซเรน ผู้ที่ทนฟังเสียงของนางไซเรนได้โดยไม่เสียสติจะได้รับปัญญาในการรู้จุดอ่อนของตน ในลุ่มแม่น้ำไรน์ในประเทศเยอรมนี มีอุบัติเหตุทางเรือเกิดขึ้นบ่อย ๆ เชื่อว่าเกิดจากไซเรน ที่เรียกว่า "ผู้หญิงแห่งแม่น้ำไรน์" ซึ่งปรากฏอยู่ในคติชนนิยมและวรรณกรรมต่าง ๆ ไซเรน ได้ถูกอ้างอิงถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น เป็นตัวละครหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง เซนต์เซย่า ที่ชื่อ ไซเรน โซเรนต.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และไซเรน · ดูเพิ่มเติม »

ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)

ำหรับสัตว์ประหลาดในเทพปกรณัมกรีก ดูที่: ไซเรน ไซเรน (Sirens) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sirenidae จัดอยู่ในอันดับย่อย Sirenoidea ไซเรน มีความแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์จำพวกอื่น ๆ พอสมควร เนื่องจากมีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรือเขียดงู ไม่มีขาคู่หลังและกระดูกเชิงกราน ขาคู่หน้าเล็กมากและนิ้วเท้าลดจำนวนลง ปากเป็นจะงอยแข็ง เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ยังคงรูปโครงสร้างของระยะวัยอ่อนไว้หลายประการ เช่น ไม่มีเปลือกตา, มีเหงือก, มีช่องเปิดเหงือก 1 คู่ หรือ 3 ช่อง, ไม่มีฟัน, ไม่มีกระดูกแมคซิลลา หรือมีขนาดเล็กมาก รวมทั้งลักษณะโครงสร้างของผิวหนัง มีความยาวของลำตัวประมาณ 10–90 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา เช่น บึง, ทะเลสาบ หรือแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไม่แรง และมีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น กินอาหารจำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น กุ้ง, ปู, แมลงน้ำ, หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ เป็นต้น โดยกินด้วยการดูด ในช่วงฤดูแล้งจะฝังตัวอยู่ใต้โคลน โดยสร้างปลอกหุ้มตัวคล้ายดักแด้ของแมลง การปฏิสนธิของไซเรน เกิดขึ้นภายนอกตัว และไม่พบมีพฤติกรรมเกี้ยวพาราสี และไม่มีต่อมโคลเอคัลซึ่งเป็นต่อมที่ตัวผู้ของซาลาแมนเดอร์จำพวกอื่นใช้สร้างสเปอร์มาโทฟอร์ และของตัวเมียใช้เก็บสเปิร์ม ตัวเมียวางไข่ติดกับพืชน้ำหรือสร้างรังอยู่ในกอของพืชน้ำที่อยู่ใต้น้ำ บางชนิดมีพฤติกรรมเฝ้.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

ไซเรนแคระ

ซเรนแคระ (Dwarf sirens, Mud sirens) เป็นสกุลของซาลาแมนเดอร์ จำพวกไซเรน (Sirenidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pseudobranchus ไซเรนในสกุลนี้ มีรูปร่างแตกต่างจากไซเรนในสกุล Siren คือ มีลำตัวสั้นป้อมกว่า และไม่มีกระดูกแมคซิลลา พบกระจายพันธุ์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และไซเรนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

เฮลล์เบนเดอร์

ลล์เบนเดอร์ (Hellbender, Hellbender salamander) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่ จำพวกซาลาแมนเดอร์ยักษ์ชนิดหนึ่ง นับเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Cryptobranchus เฮลล์เบนเดอร์ เป็นซาลาแมนเดอร์ยักษ์เพียงชนิดเดียวที่พบได้ในสหรัฐอเมริกา และเป็นซาลาแมนเดอร์ยักษ์ 1 ใน 3 ชนิดที่สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลากว่า 300 ล้านปีมาแล้ว โดยที่ชื่อ "เฮลล์เบนเดอร์" นั้น มีความหมายว่า "เลื้อยมาจากนรก" โดยไม่ทราบสาเหตุที่มาของชื่อนี้ ขณะที่ชื่อสกุลมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า kryptos หมายถึง "หลบซ่อน" และ branchion หมายถึง "เหงือก" นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อสามัญอื่น ๆ อีก เช่น "นากเมือก" (Snot otter), "หมาปีศาจ" (Devil dog) และ "ปีศาจโคลน" (Mud-devil) เป็นต้น ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่า เฮลล์เบนเดอร์เป็นสัตว์มีพิษและเป็นภัยคุกคามต่อการประมง เฮลล์เบนเดอร์มีลักษณะคล้ายกับซาลาแมนเดอร์ยักษ์ที่พบในจีน และญี่ปุ่น คือ มีส่วนหัวแบนที่กว้างและแผ่แบน รอบ ๆ ปากมีตุ่มที่เป็นประสาทสัมผัสตรวจจับการสั่นสะเทือนของน้ำ ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง มุมปากยาวจากตาข้างหนึ่งจรดตาอีกข้างหนึ่ง ลำตัวแบนเรียวยาว หางมีแผ่นครีบ และไวต่อความรู้สึก ผิวหนังย่นเพื่อใช้ในการหายใจแลกเปลี่ยนออกซิเจน เพราะเป็นซาลาแมนเดอร์ที่ใช้ผิวหนังในการหายใจ แต่ทว่ามีความยาวน้อยกว่า โดยเฮลล์เบนเดอร์โตได้เต็มที่ประมาณ 2 ฟุต หรือ 75 เซนติเมตร มีอายุได้ยาวนานถึง 30 ปี เฮลล์เบนเดอร์ อาศัยอยู่ในลำธารน้ำที่ไหลแรงและสะอาด มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง ในป่าทึบบนภูเขาที่ห่างไกลของสหรัฐอเมริกา เมื่อถูกคุกคามจะปล่อยเมือกจำนวนมากที่มีรสชาติขม เพื่อป้องกันมิให้ถูกกินจากสัตว์นักล่า เฮลล์เบนเดอร์ตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อน ตัวอ่อนจะมีพู่เหงือกภายนอกเหมือนกับซาลาแมนเดอร์หลายชนิดทั่วไป ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น เครย์ฟิช เป็นอาหาร ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนจะกินแมลงน้ำ ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวอยู่ภายในโพรงหินหรือใต้ก้อนหิน เนื่องจากมีลำตัวและส่วนหัวที่แบน เพื่อป้องกันตัวเองและมิให้ถูกกระแสน้ำพัดไป เพราะเฮลล์เบนเดอร์โดยเฉพาะที่ยังเป็นตัวเล็กจะตกเป็นอาหารของสัตว์อื่นได้ เช่น เต่า หรืองู รวมถึงปลาเทราต์ เฮลล์เบนเดอร์ตะวันตก หรือเฮลล์เบนเดอร์โอซาร์คส์ เฮลล์เบนเดอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ ชนิดตะวันออก และชนิดตะวันตก โดยชนิดตะวันออกนั้นยังมีจำนวนประชากรมากอยู่และปลอดภัยจากการถูกคุกคาม แต่ในชนิดตะวันตก โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในภูเขาโอซาร์คส์ ทางแถบตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา มีจำนวนประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปีแล้ว ตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 จากการถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยง รวมถึงภัยคุกคามอย่างอื่น ได้แก่ มลภาวะในน้ำ และเชื้อราไคทริด ที่เป็นภัยคุกคามสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในปัจจุบัน เฮลล์เบนเดอร์ที่ติดเชื้อรานี้จะทำให้เกิดแผลต่าง ๆ ตามร่างกาย ทำให้นิ้วตีนกุดหรือขาดไป และตายในที่สุด แม้จะสามารถงอกอวัยวะใหม่ได้เมื่อขาดไป แต่หากกระดูกภายในได้หักไปแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะงอกใหม่ได้อีก หรือแม้แต่เฮลล์เบนเดอร์ที่มีจำนวนนิ้วงอกมากกว่าปกติก็มี ซึ่งเชื้อราไคทิรดนี้เชื่อว่าแพร่ระบาดมาจากกบที่นำเข้ามาจากแอฟริกา เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้แล้วยังโดนคุกคามจากปลาเทราต์ ซึ่งเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ ปลาเทราต์สีน้ำตาล เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เฮลล์เบนเดอร์ตะวันตกต้องพิการ ในปัจจุบัน ได้มีการให้ทุนจากกรมประมงและสัตว์ป่า สหรัฐอเมริกา (FWS) แก่ผู้ที่ทำการวิจัยและฝึกเฮลล์เบนเดอร์ในวัยอ่อนให้ระวังการจู่โจมของปลาเทราต์สีน้ำตาล ในสถานที่เลี้ยง ก่อนที่จะนำปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติต่อไป โดยให้เฮลล์เบนเดอร์รู้จักหลบเลี่ยงเมื่อได้กลิ่นของปลาเทราต์The Hellbender, "Nick Baker's Weird Creatures".

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และเฮลล์เบนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

Power Animals

Power Animals เป็นตัวละครในเรื่อง "กาโอเรนเจอร์" ทั้งหมดเป็นสัตว์ยนตร์ที่รูปแบบคล้ายกับสัตว์ทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่าสัตว์ทั่วๆไป มีความสามารถในการต่อสู้ และรวมร่างกับสัตว์ตัวอื่นๆ เพื่อกลายเป็นหุ่นยนต์ขนาดยักษ์ ใช้ในการต่อสู้กับออร์คที่ขยายร่าง เหล่า Power animals โดยมากมักจะใช้ชีวิตใน สวนสวรรค์ ซึ่งเป็นเกาะลอยฟ้าขนาดยักษ์รูปตะพาบน้ำ สามารถเรียกกาโอเรนเจอร์ ขึ้นไปได้ หรือ สามารถเรียกPA จากสวนสวรรค์ได้โดยตรง แต่ส่วนมาก มักใช้ ดาบราชันย์สรรพสัตว์ในการเรียกเหล่า Power Animals เพื่อลงมาทำการต่อสู้กับออร.

ใหม่!!: ซาลาแมนเดอร์และPower Animals · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CaudataSalamanderUrodelaอันดับซาลาแมนเดอร์จิ้งจกน้ำซาลามานเดอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »