โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซันตามาเรียเดลโปโปโล

ดัชนี ซันตามาเรียเดลโปโปโล

ซันตามาเรียเดลโปโปโล (Santa Maria del Popolo) เป็นโบสถ์ออกัสติเนียนที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในกรุงโรม ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของปีอัซซาเดลโปโปโล ซึ่งเป็นจัตุรัสที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงโรม อยู่ระหว่าง Porta Flaminia (หนึ่งในประตูของกำแพง Aurelian และเป็นจุดเริ่มต้นของ Via Flaminia ซึ่งเป็นเส้นทางสู่ Ariminum และเป็นเส้นทางสู่ทิศเหนือที่สำคัญที่สุดของโรมยุคโบราณ) และสวน Pincio ในปี พ.ศ. 1642 สมเด็จพระสันตะปาปาปาสคาลที่ 2 โปรดให้สร้างวิหารเพื่อสักการะแด่พระแม่มารีขึ้นเหนือสุสานของตระกูล Domitia ด้วยเหตุที่ประชาชนชาวโรมได้บริจาคเงินสมทบทุนก่อสร้างวิหาร จึงได้ชื่อว่า เดล โปโปโล (del Popolo: แห่งประชาชน) แต่แหล่งข้อมูลบางแหล่งระบุว่า ชื่อ "โปโปโล" นั้นมีที่มาจากคำในภาษาละตินคำว่า populus ซึ่งหมายถึง ต้นสน (Poplor) และอาจอ้างอิงถึงต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้น ต่อมาช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9 ทรงยกฐานะของวิหารแห่งนี้ให้เป็นโบสถ์ และประทานให้แก่คณะออกัสติเนียน ซึ่งเป็นคณะผู้ดูแลโบสถ์มาจนถึงปัจจุบัน ช่วงปี พ.ศ. 2015-2020 Baccio Pontelli และ Andrea Bregno ได้รับมอบหมายจากสมาคม Lombards of Rome ให้บูรณะโบสถ์ซันตามาเรียเดลโปโปโลขึ้นใหม่ ผลจากการบูรณะครั้งนี้ส่งผลให้โบสถ์แห่งนี้เป็นตัวอย่างสำคัญของสถาปัตยกรรมยุคเรอเนสซองค์แบบอิตาลี ต่อมาในปี พ.ศ. 2198-พ.ศ. 2203 สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 โปรดให้จานลอเรนโซ เบร์นินีปรับปรุงส่วนด้านหน้าของโบสถ์ เพื่อปรับเปลี่ยนจากโบสถ์เรอเนสซองค์ให้เป็นโบสถ์แบบบารอคที่มีความทันสมัยมากขึ้น โดมของโบสถ์ซันตามาเรียเดลโปโปโล ภายในโบสถ์เป็นที่ตั้งของวิหาร Cerasi ซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บรักษาภาพเขียน 2 ภาพของคาราวัจโจ คือ Cruxifixion of St.

11 ความสัมพันธ์: พระเจ้าสร้างโลก (ราฟาเอล)การาวัจโจการตรึงนักบุญเปโตรบนกางเขน (การาวัจโจ)มรณกรรมของพระนางพรหมจารี (การาวัจโจ)รายชื่อภาพเขียนโดยราฟาเอลอกอสติโน ชิจิอันนีบาเล การ์รัชชีดีร์ก ฟัน บาบือเรินปีอัซซาเดลโปโปโลแม่พระแห่งโลเรโต (ราฟาเอล)โบสถ์น้อยกีจี

พระเจ้าสร้างโลก (ราฟาเอล)

ูบทความหลักที่ พระธรรมปฐมกาล พระเจ้าสร้างโลก (ภาษาอังกฤษ: Creation of the World) เป็นงานโมเสกบนโดมภายในชาเปลชิจิในวัดซานตามาเรียเดลโปโปโลในกรุงโรมในประเทศอิตาลีที่ออกแบบโดยราฟาเอลจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ราฟาเอลออกแบบชาเปลให้แก่เพื่อนและผู้อุปถัมภ์ที่เป็นนายธนาคารชื่ออากอสติโน ชิจิ (Agostino Chigi) สำหรับเป็นชาเปลส่วนตัวและที่บรรจุศพของตระกูลชิจิ การตกแต่งโมเสกบนโดมออกจะเป็นของล้าสมัยสำหรับคริสต์ศตวรรษที่ 16 งานร่างของราฟาเอลนำไปสร้างโดยช่างลุยจิ ดิ พาเซชาวเวนิสในปี ค.ศ. 1516 งานโมเสกตั้งอยู่ระหว่างงานปูนแต่งทองบนเพดานโดมที่มีด้วยกันทั้งหมดเจ็ดชิ้นที่เป็นภาพของโลกโดยมีฉากหลังเป็นสีน้ำเงิน แต่ละโลกถูกเทวดามีปีกถือไว้ แผงแปดแผงเป็นสัญลักษณ์ของดาวประดับฟ้าที่ก็ถือโดยเทวดาด้วย ตรงกลางโดมเป็นภาพของพระเจ้าทรงสร้างโลก รูปกลางล้อมรอบไปด้วยเปมเทพชวนขัน งานชิ้นนี้คล้ายกับงานจิตรกรรมฝาผนังของไมเคิล แอนเจโลบนเพดานชาเปลซิสติน พระเจ้าสร้างโลกของไมเคิล แอนเจโลเขียนเพียงห้าปีก่อนหน้านั้นและคงจะต้องมีอิทธิพลต่อราฟาเอล งานชิ้นนี้เป็นงานโมเสกชิ้นเดียวที่ราฟาเอลทำและถือกันว่าเป็นงานโมเสกชิ้นเอกของสมัยเรอเนซอง.

ใหม่!!: ซันตามาเรียเดลโปโปโลและพระเจ้าสร้างโลก (ราฟาเอล) · ดูเพิ่มเติม »

การาวัจโจ

ูรายชื่องานที่ รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ; มีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ (Michelangelo Merisi da Caravaggio ค.ศ. 1571 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำค้ญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้มีผลงานส่วนใหญ่ที่ โรม เนเปิลส์ ซิซิลี และประเทศมอลตา ระหว่างปี..

ใหม่!!: ซันตามาเรียเดลโปโปโลและการาวัจโจ · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงนักบุญเปโตรบนกางเขน (การาวัจโจ)

นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน (Crucifixion of St.) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันอยู่ที่วัดซานตามาเรียเดลโปโปโลในกรุงโรมในประเทศอิตาลี ภาพ “นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” เป็นภาพที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1601 เป็นภาพที่เขียนสำหรับชาเปลเซราซิ (Cerasi Chapel) ภายในวัดซานตามาเรียเดลโปโปโล ตรงกันข้ามเป็นภาพ “มโนทัศน์ของนักบุญพอลบนถนนสู่ดามาสคัส” ซึ่งเป็นภาพเขียนอีกภาพหนึ่งของคาราวัจโจ ตรงกลางบนแท่นบูชาระหว่างสองภาพนี้เป็นภาพ “อัสสัมชัญของพระแม่มารี” โดยอันนิบาเล คารัคชี ภาพนี้เป็นภาพที่แสดงการพลีชีพโดยการถูกตรึงกางเขนของนักบุญปีเตอร์—ก่อนจะถูกตรึงกางเขนนักบุญปีเตอร์ขอให้เป็นกางเขนที่กลับกับกางเขนที่ใช้ในการตรึงพระเยซูเพื่อที่จะไม่เป็นการเลียนแบบพระองค์ นักบุญปีเตอร์จึงถูกตรึงกางเขนโดยการห้อยหัวลงมา นอกจากนักบุญปีเตอร์แล้วก็มีชาวโรมันที่เราไม่เห็นหน้าพยายามที่จะตั้งกางเขนของนักบุญผู้สูงอายุแต่ก็ยังมีกล้ามเนื้อ นักบุญปีเตอร์ดูจะมีน้ำหนักมากกว่าที่ร่างกายบ่งไว้ที่ต้องใช้คนถึงสามคนในการพยายามยกกางเขนขึ้นราวกับว่าบาปในสิ่งที่กำลังทำถ่วงตัวบุคคลทั้งสาม ภาพสองภาพนี้และฉากแท่นบูชาที่เขียนโดยอันนิบาเล คารัคชีได้รับการจ้างให้เขียนโดยมอนซิยอร์ทิแบริโอ เซราซิผู้เสียชีวิตไม่นานหลังจากนั้น ภาพเขียนแรกทั้งสองภาพได้รับการปฏิเสธ และผ่านมือไปเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมส่วนบุคคลของคาร์ดินัลซันเนซซิโอ นักวิชาการหลายคนที่รวมทั้งจอห์น แกช, เฮเลน แลกดอน และปีเตอร์ รอบบ์ สันนิษฐานว่าคาร์ดินัลซันเนซซิโอฉวยโอกาสเมื่อเซราซิเสียชีวิตโดยไม่คาดในการเป็นเจ้าของภาพหลายภาพของคาราวัจโจ แต่ภาพแรกของ “นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” สูญหายไป นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นภาพที่เป็นของพิพิธภัณฑ์เฮอร์มิทาจ ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกัน ภาพที่สองจึงได้รับการยอมรับในปี..

ใหม่!!: ซันตามาเรียเดลโปโปโลและการตรึงนักบุญเปโตรบนกางเขน (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

มรณกรรมของพระนางพรหมจารี (การาวัจโจ)

ูบทความหลักที่ แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ มรณกรรมของพระนางพรหมจารี (Death of the Virgin) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ปารีสในประเทศฝรั่งเศส ภาพ “มรณกรรมของพระนางพรหมจารี” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1604 ถึงปี ค.ศ. 1606 เป็นภาพที่การาวัจโจได้รับจ้างให้เขียนโดยเลร์ซิโอ อัลเบร์ติ (Laerzio Alberti) ทนายความของพระสันตะปาปาสำหรับชาเปลส่วนตัวภายในซันตามาเรียเดลลาสกาลาซึ่งเป็นโบสถ์คณะคาร์เมไลท์ใหม่ที่ ทรัสเตเวเร (Trastevere) ในกรุงโรม “Renaissance” เป็นภาพที่ก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรงเมื่อเขียนเสร็จและถูกปฏิเสธจากนักบวชไม่ให้ตั้งในชาเปลที่ตั้งใจไว้ แต่ต่อมาปีเตอร์ พอล รูเบนส์ก็แนะนำให้ชาร์ลส์ที่ 1 ดยุกแห่งมานทัวซื้อโดยสรรเสริญว่าเป็นงานเขียนที่ดีที่สุดในสมัยนั้น หลังจากนั้นภาพเขียนถูกขายต่อให้แก่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ หลังจากพระเจ้าชาร์ลส์ถูกสำเร็จโทษภาพเขียนก็ถูกประมูลขายอีกครั้งๆ นี้ตกไปเป็นของงานสะสมหลวงของฝรั่งเศส และในที่สุดก็กลายไปเป็นของรัฐหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปัจจุบันภาพนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ในกรุงปารีส ก่อนที่จะออกจากโรมภาพเขียนตั้งแสดงที่วิทยาสถานนักบุญลูการาวสองอาทิตย์ แต่ขณะนั้นการาวัจโจก็หนีออกจากโรมไปแล้วหลังจากที่ฆ่ารานุชโช โตมัสโซนีในการดวลดาบหลังจากเกมเทนนิสหลังจากที่เกิดการวิวาท ภาพเขียนทำให้นึกถึงภาพ “ชะลอร่างจากกางเขน” ในนครรัฐวาติกันในด้านความครอบคลุม, ความสุขุม และความมีลักษณะเหมือนจริงที่คล้ายภาพถ่าย ขนาดตัวแบบในภาพเกือบเท่าคนจริง ล้อมรอบพระแม่มารีย์เป็นผู้กำลังโทมนัสที่รวมทั้งมารีย์ชาวมักดาลาและอัครทูตและกลุ่มคนถัดออกไป การาวัจโจแสดงความโศรกเศร้าของผู้ที่อยู่ในภาพไม่ใช่ด้วยการแสดงหน้าที่บ่งอารมณ์แต่โดยการซ่อนใบหน้า การาวัจโจผู้มีความสามารถในการใช้สีมืดบนผืนผ้าใบไม่สนใจในลักษณะการเขียนแบบแมนเนอริสม์ที่มักจะแสดงอารมณ์ต่างๆ กันไปในภาพเขียน การแสดงความเศร้าของการาวัจโจเป็นการแสดงความเศร้าที่ลึกและเงียบไม่โวยวายด้วยคนร้องไห้ การสะอื้นเกิดจากความเงียบใบหน้าที่ไม่ปรากฏของผู้มีอารมณ์ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่มารีย์แสดงโดยรัศมีบางๆ ราวเส้นด้ายเหนือพระเศียร ม่านสีแดงผืนใหญ่ที่ขึงหัอยบนส่วนบนของภาพเป็นโมทีฟที่มักจะใช้ในภาพเกี่ยวกับความตาย ภาพนี้เขียนเสร็จเมื่อทฤษฎีความเชื่อเกี่ยวกับแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์หรือการขึ้นสวรรค์ของพระแม่มารียังไม่เป็นที่ตกลงกันอย่างเป็นทางการโดยพระสันตะปาปา แต่ความคิดเรื่องนี้ก็เริ่มมีรากฐานมาเป็นเวลาสองสามร้อยปีแล้วจนกระทั่งการออกธรรมนูญเรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (Munificentissimus Deus) ในปี ค.ศ. 1950 ที่กล่าวถึงการขึ้นสวรรค์ของ “ร่างและวิญญาณ” ของพระแม่มารี ธรรมนูญเลี่ยงการประกาศว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากมรณกรรมตามที่เข้าใจกันตามปกติ ในเมื่อพันธสัญญาใหม่มิได้กล่าวถึงหัวข้อนี้แต่อย่างใด การจากของพระแม่มารีย์จากโลกนี้จึงเป็นเรื่องของทฤษฎีความเชื่อเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิกเท่านั้น แม้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทฤษฎีโดยทั่วไปของโรมันคาทอลิกเชื่อว่าพระแม่มารีย์ถูกนำขึ้นสวรรค์ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งจะเป็นเห็นได้จากภาพเขียนร่วมสมัยในหัวข้อนั้นเป็นจำนวนมากมาย บางความเชื่อก็ว่าพระเจ้าทรงนำร่างพระแม่มารีย์ขึ้นสวรรค์เมื่อเพิ่งสิ้นพระชนม์ใหม่ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วก็หมายถึงการที่ทรงได้รับการนำขึ้นสวรรค์โดยปราศจากความเจ็บป่วยและความเจ็บปวดและร่างที่ถูกนำขึ้นไปเป็นร่างที่สมบูรณ์ด้วยพลานามัยก่อนที่จะ “ถึงแก่มรณกรรม” แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือการแสดงภาพมรณกรรมในยุคกลางจะเป็นจริงมากกว่ายุคเรอเนซองหรือบาโรกต่อมาเช่นในภาพ “มรณกรรมของพระนางพรหมจารี” โดยดุชโช ที่เขียนราวปี ค.ศ. 1308 “มรณกรรมของพระนางพรหมจารี” โดยดุชโช ราว ค.ศ. 1308 ภาพเขียนของการาวัจโจเป็นงานศิลปะชิ้นเอกชิ้นสุดท้ายของโรมันคาทอลิกที่แสดงมรณกรรมจริง ๆ ของพระแม่มารีย์ แต่ภาพนี้เท้าของพระแม่มารีย์บวมและในภาพไม่มีเครูบที่นำพระองค์ขึ้นสู่สวรรค์เช่นในภาพ “แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์” โดย อันนิบาเล คารัคชี ที่เขียนก่อนหน้านั้นเพียงน้อยกว่าสิบปีสำหรับชาเปลในซันตามาเรียเดลโปโปโล ภาพของคารัคชีไม่ได้เขียนภาพการถึงแก่มรณกรรมแต่เป็นภาพ “แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์” หรือการลอยขึ้นไปบนสวรรค์ ร่างเหมือนกับภาพเรอเนซองหรือบาโรกภาพอื่นๆ ที่ดูอ่อนกว่าสตรีที่มีอายุราวห้าสิบปีหรือกว่านั้นเมื่อถึงแก่มรณกรรม ผู้ร่วมสมัยกล่าวหาการาวัจโจว่าใช้โสเภณีเป็นแบบสำหรับพระแม่มารีย์ เมื่อเขียนเสร็จภาพเขียนถูกปฏิเสธไม่ให้ตั้งในวัดโดยนักบวชผู้กล่าวหาว่าเป็นภาพที่ไม่เหมาะกับการตั้งในชาเปล จูลีโอ มันชีนี (Giulio Mancini) ผู้ร่วมสมัยของการาวัจโจ บันทึกว่าสาเหตุที่ถูกปฏิเสธเป็นเพราะคาราวัจโจใช้โสเภณีมีชื่อเป็นแบบสำหรับพระแม่มารี; แต่โจวันนี บากลีโอเน (Giovanni Baglione) ผู้ร่วมสมัยอีกคนหนึ่งกล่าวว่าเป็นเพราะการาวัจโจแสดงช่วงขาที่ออกจะเปิดเผยของพระแม่มารีย์ — ทั้งสองกรณีต่างก็อ้างมาตรฐานของสังคมในขณะนั้น แต่นักวิชาการคาราวัจโจ จอห์น แกชตั้งข้อเสนอว่าปัญหาของนักบวชคาร์เมไลท์อาจจะไม่ใช่ความพอใจหรือไม่พอใจในความสวยงามของภาพ แต่ข้อขัดแย้งมีรากฐานมาจากความแตกต่างทางมุมมองของปรัชญาศาสนา ที่นักบวชคาร์เมไลท์มีความเห็นว่าภาพของการาวัจโจละเลยความเชื่อในเรื่องแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ที่ว่าพระแม่มารีย์มิได้ถึงแก่มรณกรรมอย่างธรรมดาแต่ถูก “นำ” (Assume) ขึ้นสวรรค์ ภาพเขียนที่นำมาแทนเป็นงานเขียนของผู้ติดตามของการาวัจโจเอง คาร์โล ซาราเชนิ (Carlo Saraceni) ซึ่งเป็นภาพพระแม่มารีย์ที่มิได้นอนเสียชีวิตเช่นในภาพของการาวัจโจแต่นั่งอยู่ แต่ภาพนี้ก็ยังถูกปฏิเสธ และในที่สุดก็แทนด้วยภาพที่พระแม่มารีย์ที่มิได้นอนหรือนั่งเสียชีวิตแต่ขึ้นสวรรค์พร้อมกับหมู่ทูตสวรรค์ แต่จะอย่างไรก็ตามการปฏิเสธก็ไม่ได้หมายความว่างานของคาราวัจโจไม่เป็นที่นิยม ไม่นานหลังจากที่ถูกปฏิเสธดยุกแห่งมานทัวก็ซื้อภาพตามคำแนะนำของปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษก็ทรงซื้อต่อ ก่อนที่จะตกไปเป็นของงานสะสมของหลวงในฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: ซันตามาเรียเดลโปโปโลและมรณกรรมของพระนางพรหมจารี (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพเขียนโดยราฟาเอล

ูบทความหลักที่ ราฟาเอล พระเยซูคืนชีพ” ภาพเหมือนของสันตะปาปาจูเลียสที่ 2” “สปาสซิโม” ภาพเหมือนของบัลทาซาร์ คาสติกลิโอเน” “ภาพเหมือนของฟรานเชสโค มาเรียที่ 1 เดลลา โรเวเร” ภาพเหมือนชายหนุ่ม, 1514, โปแลนด์, หายระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นักบุญจอร์จ” นักบุญจอร์จและมังกร” รายชื่อภาพเขียนโดยราฟาเอล (ภาษาอังกฤษ: List of works by Raphael เป็นรายการภาพเขียนสีน้ำมันและจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยราฟาเอล ซานซิโอ ที่รู้จักกันสั้นๆ ว่า “ราฟาเอล” ผู้เป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญของประเทศอิตาลี ราฟาเอลมีงานเขียนมากมายแม้ว่าจะเสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 37 ปีและงานเกือบทั้งหมดก็ยังคงมีอยู่โดยเฉพาะงานที่ทำในวังวาติกันที่ราฟาเอลและผู้ช่วยตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังที่มารู้จักกันว่า “ห้องราฟาเอล” งานเขียนของราฟาเอลมิใช่เป็นงานที่มีฝีมือเป็นเอกแต่ยังเป็นงานที่มีอิทธิพลต่อนักเขียนมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ19.

ใหม่!!: ซันตามาเรียเดลโปโปโลและรายชื่อภาพเขียนโดยราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

อกอสติโน ชิจิ

อกอสติโน ชิจิ (Agostino Chigi) (28 สิงหาคม พ.ศ. 2008 - 11 เมษายน พ.ศ. 2063) เป็นนายธนาคารชาวอิตาเลียนในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา อกอสติโน ชิจิ เกิดที่เมืองเซียนนา เป็นสมาชิกของตระกูลชิจิอันมีชื่อเสียงและมีประวัติยาวนาน เขาได้เดินทางเข้าสู่กรุงโรมเมื่อประมาณ พ.ศ. 2030 เพื่อทำงานร่วมกับ Mariano ผู้เป็นบิดา ในฐานะที่เป็นทายาทของกองทุนอันมั่งคั่งแห่งเมืองหลวง เขามีทรัพย์สินเพิ่มพูนมากขึ้นหลังจากได้ถวายเงินกู้ยืมจำนวนมากให้แด่สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และผู้ปกครองคนอื่นๆในสมัยนั้น และยังได้ทำธุรกิจผูกขาดด้านต่างๆ อย่างเช่น ธุรกิจเกลือแห่ง Papal States และ Kingdom of Naples รวมทั้งสารส้มที่ขุดพบใน Tolfa, Agnato และ Ischia di Castro โดยในธุรกิจสิ่งทอนั้น สารส้มเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นที่ช่วยให้สีย้อมติดเนื้อวัสดุสิ่งทอ left อกอสติโน ชิจิ ยังมีบทบาทเป็นผู้อุปถัมถ์ศิลปินและนักประพันธ์ โดยหนึ่งในนักประพันธ์ที่เขาอุปถัมภ์คือ Pietro Aretino และศิลปินชื่อดังส่วนใหญ่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็อยู่ในการอุปถัมภ์ของเขา ได้แก่ เปียโตร เปรูจิโน, Sebastiano del Piombo, Giovanni da Udine, Giulio Romano, Sodoma และราฟาเอล นอกจาก Perugino แล้ว ศิลปินชื่อดังเหล่านี้ได้รับมอบหมายจากอกอสติโน ชิจิ ให้เตรียมการตกแต่งบ้านพักที่เขาสร้างขึ้นริมฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ ซึ่งทุกวันนี้รู้จักกันในชื่อว่า Villa Farnesina โดยราฟาเอลได้วาดภาพปูนเปียกในชื่อว่า Triumph of Galatea ไว้บนฝาผนังของบ้านพัก อกอสติโน ชิจิ ได้มอบหมายให้ราฟาเอลสร้างวิหารชิจิภายในโบสถ์ซานตามาเรียเดลโปโปโล ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่วิหารแห่งนี้หลังจากเสียชีวิตเมื่อ..

ใหม่!!: ซันตามาเรียเดลโปโปโลและอกอสติโน ชิจิ · ดูเพิ่มเติม »

อันนีบาเล การ์รัชชี

อันนิบาเล คารัคชี (ภาษาอังกฤษ: Annibale Carracci) (3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1560 - ค.ศ. 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1609) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: ซันตามาเรียเดลโปโปโลและอันนีบาเล การ์รัชชี · ดูเพิ่มเติม »

ดีร์ก ฟัน บาบือเริน

ีร์ก ยัสเปิร์สโซน ฟัน บาบือเริน (Dirck Jasperszoon van Baburen) หรือ เตโอดูร์ ฟัน บาบือเริน (Teodoer van Baburen; ราว ค.ศ. 1595 - 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1624) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพประวัติศาสตร์, คริสต์ศาสนา และชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ซันตามาเรียเดลโปโปโลและดีร์ก ฟัน บาบือเริน · ดูเพิ่มเติม »

ปีอัซซาเดลโปโปโล

ปีอัซซาเดลโปโปโล มองจากปินโช บันไดทอดจากเปียซซาเดลโปโปโลไปยัง Pincio ทางทิศตะวันออก Fontana del Nettuno ด้านหนึ่งของ Fontana dell'Obelisco พิธีสถาปนาสาธารณรัฐโรมัน ค.ศ. 1849. ปีอัซซาเดลโปโปโล (Piazza del Popolo) เป็นจัตุรัสแห่งหนึ่งในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ตามภาษาอิตาลีสมัยใหม่แล้ว ชื่อจัตุรัสมีความหมายว่า "จัตุรัสแห่งประชาชน" แต่ในทางประวัติศาสตร์ กล่าวกันว่าชื่อนี้มีที่มาจากต้นสน (Poplar) เช่นเดียวกับชื่อของโบสถ์ซานตามาเรียเดลโปโปโลที่ตั้งอยู่ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของจัตุรั.

ใหม่!!: ซันตามาเรียเดลโปโปโลและปีอัซซาเดลโปโปโล · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระแห่งโลเรโต (ราฟาเอล)

แม่พระแห่งโลเรโต (Madonna of Loreto; Madonna del Velo) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยราฟาเอล จิตรกรชาวอิตาลีสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญ ปัจจุบันภาพนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์คองเด, ชองทิลลีในประเทศฝรั่งเศส ภาพ “แม่พระแห่งโลเรโต” ที่เขียนโดยราฟาเอลระหว่างปี ค.ศ. 1509 ถึงปี ค.ศ. 1510 เป็นภาพที่สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ประทานแก่ซันตามาเรียเดลโปโปโลในกรุงโรม ภาพ “แม่พระแห่งโลเรโต” เป็นภาพที่ระบุกันว่าเขียนโดยโจวัน ฟรันเชสโก เปนนีมาจนกระทั่งปี..

ใหม่!!: ซันตามาเรียเดลโปโปโลและแม่พระแห่งโลเรโต (ราฟาเอล) · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยกีจี

วิหารชิจิ โบสถ์ซานตามาเรียโปโปโล กรุงโรม 250px ชาเปลชิจิ (Chigi Chapel) เป็นชาเปลหนึ่งในหกชาเปลที่ตั้งอยู่ภายในวัดซานตามาเรียเดลโปโปโล ที่ออกแบบโดยราฟาเอล เพื่อมอบให้แก่อากอสติโน ชิจิ นายธนาคารชาวเมืองเซียนา ผู้เป็นเพื่อนและผู้อุปถัมภ์ สร้างเสร็จสมบูรณ์โดยจานลอเรนโซ เบร์นินี หลังจากการเสียชีวิตของราฟาเอลเมื่อปี พ.ศ. 2063 ผ่านไปแล้วกว่าหนึ่งศตวรรษ โดยได้รับมอบหมายการสร้างจากฟาบิโอ ชิจิ ผู้ซึ่งกลายมาเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 ในปี พ.ศ. 2198 โดมของวิหารประดับด้วยแผ่นโมเสกเป็นภาพพระเจ้าสร้างโลกที่ออกแบบโดยราฟาเอล เป็นตัวอย่างที่หาได้ยากของผลงานโมเสกในยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมชั้นสูง.

ใหม่!!: ซันตามาเรียเดลโปโปโลและโบสถ์น้อยกีจี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วัดซันตามาเรียเดลโปโปโลวัดซานตามาเรียเดลโปโปโลซานตามาเรียเดลโปโปโลโบสถ์ซานตามาเรียเดลโปโปโล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »