โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซะกาต

ดัชนี ซะกาต

ซะกาต (زكاة หรือ ทานประจำปีหมายถึงทรัพย์สินส่วนเกินจำนวนหนึ่ง ซึ่งมุสลิมต้องจ่ายให้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับเมื่อครบรอบปี ถ้ามุสลิมคนใดมีทรัพท์สิน เงินทอง สินค้าที่เหลือในรอบปีแล้วไม่ทำการบริจาค ผู้นั้นก็ผู้หนึ่งที่ทำผิดบัญญัติของอิสลาม และยังถือเป็นการผิดกฎหมายในบางประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลาม ในประเทศไทยมุสลิมจำเป็นต้องจ่ายทั้งซะกาตและภาษี ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตว่า (แปลได้ใจความว่า"หัวใจของการบริจาคทานคือ การเสียสละเพื่อคนขัดสนและยากจน คล้ายกับการเสียสละเผยแผ่คำสอนอันศักดิ์สิทธิ์ของกุรอาน").

8 ความสัมพันธ์: บาปใหญ่ (ในอิสลาม)พิธีกรรมศาสนาอิสลามอภิธานศัพท์ศาสนาอิสลามฆุลาตซะกาตฟิฏเราะหฺปอเนาะเศรษฐศาสตร์อิสลาม

บาปใหญ่ (ในอิสลาม)

ปใหญ่ ในสาระธรรมคำสอนของศาสนาอิสลาม หมายถึง บาปต่างๆ ที่อัลกุรอาน และรายงาน (ริวายะฮ์) ต่างๆ จากบรรดาอิมามของชีอะฮ์ ได้สัญญาบทลงโทษแห่งไฟนรกเอาไว้ สำหรับจำนวนบาปใหญ่นั้นมีความแตกต่างกันออกไปในนิกายต่างๆ ของอิสลาม (ชีอะฮ์และซุนนี) บ้างก็กล่าวว่ามี 25 บาป บ้างก็กล่าวไว้ถึง 70 บาป  พระผู้เป็นเจ้าตรัสไว้ในอัลกุรอาน บท นิซา โองการที่ 31 ว่า ﴿إِنْ تَجْتَنِبُوا كَبَائِرَ مَا تُنْهَوْنَ عَنْهُ نُكَفِّرْ عَنْكُمْ سَيِّئَاتِكُمْ وَنُدْخِلْكُمْ مُدْخَلًا كَرِيمًا﴾ หากพวกเจ้าปลีกตัวออกจากบาปใหญ่ทั้งหลายที่พวกเจ้าถูกห้ามให้ละเว้นมันแล้ว เราก็จะลบล้างความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของพวกเจ้า ออกจากพวกเจ้า และเราจะให้พวกเจ้าเข้าอยู่ในสถานที่อันมีเกียรติ ตามสาระธรรมคำสอนของศาสนาอิสลามถือว่า ผู้ที่ทำบาปใหญ่แล้วไม่กลับตัวกลับใจ เขาคือคนชั่ว ซึ่งไม่อาจนมาซตามได้ การเป็นพยานของเขาจะไม่ถูกตอบรับ และภายหลังจากเสียชีวิตเขาคือผู้ที่ตัองได้รับการลงทัณฑ์จากพระผู้เป็นเจ้า นอกเสียจากว่าพระผู้เป็นเจ้าจะโปรดปรานแก่เขา โดยผ่านการได้รับการอนุเคราะห์จากท่านศาสดาแห่งอิสลามและลูกหลานผู้บริสุทธิ์ของท่าน ท่านศาสดาแห่งอิสลามได้ดำรัสไว้เกี่ยวกับการให้การอนุเคราะห์ว่า ฉันเก็บการอนุเคราะห์ของฉันไว้ให้แก่ประชาชาติของฉันที่ทำบาปใหญ่  การอนุเคราะห์ของฉันมีไว้สำหรับประชาชาติของฉันที่ทำบาปใหญ่  ส่วนผู้ทำความดี กล่าวคือละเว้นจากการทำบาปใหญ่พวกเขาย่อมไม่ได้รับการลงโทษ.

ใหม่!!: ซะกาตและบาปใหญ่ (ในอิสลาม) · ดูเพิ่มเติม »

พิธีกรรม

ีกรรม หรือ ศาสนพิธี (Ritual) หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสน.

ใหม่!!: ซะกาตและพิธีกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ซะกาตและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

อภิธานศัพท์ศาสนาอิสลาม

ำศัพท์เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: ซะกาตและอภิธานศัพท์ศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ฆุลาต

ลาต (غلاة‎, Ghulat) แปลว่า พวกสุดโต่ง พวกที่ออกนอกลู่นอกทาง มาจากคำว่า غلو‎ (Ghulu) ความสุดโต่ง, ความเกินเลย ในทางวิชาการหมายถึง พวกชีอะหฺที่ออกนอกลู่นอกทางศาสนาอิสลามมากหรือน้อย ด้วยการยกย่องอะลีย์และวงศ์วานของนบีจนเกินเลย เช่น เชื่อว่าพวกเขามีคุณสมบัติความเป็นพระเจ้า หรือเสมอเหมือนพระเจ้า ซึ่งเป็นความคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากศัตรูศาสนาอิสลาม ที่มีจุดประสงค์ที่จะทำลายล้างศาสนาอิสลาม โดยแฝงอยู่ใต้มัซฮับชีอะหฺ และเอาอะห์ลุลเบต(วงศ์วานของนบีมุฮัมมัด)เป็นกำบัง โดยเฉพาะในช่วงสามศตวรรษแรก หลังจากท่านศาสนทูตได้สิ้นชีวิต อันที่จริงทัศนะและวรรณกรรมของพวกฆุลาตกระจัดกระจายและผสมผสานกับวรรณกรรมชีอะหฺสายอื่น ๆ รวมทั้งชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺอีกด้วย จนแยกกันไม่ออก ว่าอันไหนของชีอะหฺสายกลาง อันไหนเป็นของชีอะหฺสุดโต่ง.

ใหม่!!: ซะกาตและฆุลาต · ดูเพิ่มเติม »

ซะกาตฟิฏเราะหฺ

ซะกาตฟิฏเราะหฺ หรือ ซะกาต อัลฟิฏเราะหฺ (การสะกดไม่มาตรฐานอื่น ๆ ซะกาตฟิตเราะหฺ, ซะกาตฟิตเราะห์, ซะกาต อัลฟิตเราะหฺ, ซะกาตุลฟิฏเราะหฺ, ซะกาตุลฟิฏเราะห์) เป็นทานที่มุสลิมต้องจ่ายระหว่างตกดินก่อนวันอีดุลฟิฏริ ให้แก่ศรัทธาชนผู้ยากจน.

ใหม่!!: ซะกาตและซะกาตฟิฏเราะหฺ · ดูเพิ่มเติม »

ปอเนาะ

ปอเนาะแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส ที่พักนักศึกษาภายในปอเนาะแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส ปอเนาะ (ภาษามลายูปัตตานี เพี้ยนจาก pondok "ปนโดะก์" ในภาษามลายูกลาง ยืมมาจากภาษาอาหรับ فندق "ฟุนดุก" แปลว่า โรงแรม) หมายถึงสำนักสอนศาสนาอิสลามที่มีหอพักนักเรียนอยู่ในบริเวณสำนัก ซึ่งโดยปกติจะเป็นกระท่อมเล็ก ๆ ทุก ๆ ตำบลในสามจังหวัดภาคใต้มีปอเนาะมากกว่าหนึ่งปอเน.

ใหม่!!: ซะกาตและปอเนาะ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์อิสลาม

ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม คือ ศาสตร์ที่ประมวลหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยรวมของ อิสลาม เอาไว้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการจัดระบบฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความยุติธรรมแก่สังคม ทั้งนี้มนุษย์จะได้พบกับความผาสุกและไปถึงยังสังคมในอุดมคติที่บรรดาศาสดาและบรรดาอิมามแห่งพระผู้เป็นเจ้าเพียรพยายามให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น เรื่อง เศรษฐศาสตร์ เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษยชาติ และอิสลามก็มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ โดยทั่วไปแล้วคำว่า "เศรษฐศาสตร์อิสลาม" จะถูกใช้ประโยชน์ไปในกรณีต่างๆที่หลากหลายออกไป เช่น "วิชาเศรษฐศาสตร์อิสลาม" "สำนักคิดเศรษฐศาสตร์อิสลาม" "ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม" เกี่ยวกับ "วิชาเศรษฐศาสตร์อิสลาม" นั้นมีประเด็นละเอียดอ่อนที่ต้องระมัดระวัง หากไม่คำนึงถึงบทเบื้องต้นและประเด็นต่างๆนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถนำเสนอเป้าหมายที่น่าเชื่อถือของคำนี้ได้ เมื่อพูดถึงคำว่า "ศาสตร์" โดยทั่วไปอันเป็นที่รู้กันก็จะอธิบายว่าหมายถึง วิชา หรือ วิทยาศาสตร์ นั่นเอง ซึ่งก็หมายถึงประมวลความรู้ที่ได้รับการยืนยันด้วยวิธีการทดลองที่เกิดขึ้นในยุคเรืองปัญญาในตะวันตก แล้วก็ค่อยๆพัฒนาขึ้นเรื่อยมา วิชาเศรษฐศาสตร์ا หรือ เศรษฐศาสตร์การเมือง ก็ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับกฎข้อนี้เช่นกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์อิสลามหรือทุกแนวคิดทางศาสนากับศาสตร์ด้านการทดลองเป็นไปในเชิงการเปรียบเทียบ เพราะเศรษฐศาสตร์ต้องให้คำตอบแก่คำถามที่ว่า ในวิชานี้พูดถึงเรื่องด้านต่างๆที่เกี่ยวกับคุณค่า ด้านจริยธรรมหรือเรื่องที่เกี่ยวกับความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร? หากนักค้นคว้าด้านเศรษฐศาสตร์หรือนักปรัชญาด้านเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า สามารถพบเรื่องต่างๆนี้ได้ในประมวลของเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์การเมือง โดยตรรกะแล้วเขาสามารถเชื่อในการมีอยู่ของเศรษฐศาสตร์อิสลาม อีกด้านหนึ่งหากบุคคลหนึ่งเชื่อว่าไม่มีเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าทางจริธรรมอยู่เลยในเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์การเมือง ดังนั้น "เศรษฐศาสตร์อิสลาม"ถือว่าไม่มีความหมายในทัศนะของเขา บนพื้นฐานของการจำแนกดังกล่าวนี้ ชี้ให้เห็นว่ามีทัศนะต่างๆมากมายเกี่ยวกับ วิชาเศรษฐศาสตร์อิสลาม บ้างก็เชื่อว่าระหว่าง "สำนักคิดเศรษฐศาสตร์อิสลาม"กับ"ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม"นั้นแยกออกจากกัน ในทัศนะของพวกเขา ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม คือการนำเอาหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆมาใช้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสำนักเศรษฐศาสตร์อิสลามก็ให้ความความสนใจเช่นกัน สามารถให้คำนิยามแก่ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามตามบันทัดฐานของการให้คำนิยามได้ว่า หมายถึง ศาสตร์ที่ประมวลหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยรวมของ อิสลาม เอาไว้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการจัดระบบฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความยุติธรรมแก่สังคม ทั้งนี้มนุษย์จะได้พบกับความผาสุกและไปถึงยังสังคมในอุดมคติที่บรรดาศาสดาและบรรดาอิมามแห่งพระผู้เป็นเจ้าเพียรพยายามให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น.

ใหม่!!: ซะกาตและเศรษฐศาสตร์อิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คุมสฺ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »