โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ช้างเอเชีย

ดัชนี ช้างเอเชีย

้างเอเชีย (Asian elephant) จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae มีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 60 ปี ซึ่งถือได้ว่ามีอายุยืนกว่าช้างแอฟริก.

39 ความสัมพันธ์: ชนิดใกล้สูญพันธุ์ช้างช้างบอร์เนียวช้างพุ่มไม้แอฟริกาช้างศรีลังกาช้างสุมาตราช้างอินเดียช้างในประเทศไทยช้างเอเชีย (สกุล)กระซู่การประหารชีวิตด้วยช้างการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงกิ้งก่ากายสิทธิ์ก้านกล้วย (ตัวละคร)รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยรายการสัตว์วงศ์เอลิฟานติดีวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนสวนสัตว์ย่างกุ้งสวนสัตว์อุเอะโนะสวนสัตว์เนปยีดออันดับช้างอุทยานแห่งชาติกาซีรังคาอุทยานแห่งชาติกุยบุรีอุทยานแห่งชาติเอราวัณอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ทศคีรีวัน ทศคีรีธรท้าวอัศกรรมมาลาความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทยความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศลาวความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศอินเดียนากาย-น้ำเทินโคชิกไก่มุกไวลด์ไลฟ์พาร์กไทยบางแก้วเสือไฟเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เทือกเขาตะนาวศรี

ชนิดใกล้สูญพันธุ์

ันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ คือสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ วลีนี้ถูกใช้เรียกอย่างคลุมเครือถึงสปีชีส์ที่มีคำอธิบายเป็นดังข้างต้น แต่สำหรับนักชีววิทยาอนุรักษ์จะหมายถึงสปีชีส์ที่อยู่ในกลุ่มใกล้การสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นสถานะการอนุรักษ์ที่มีความร้ายแรงเป็นลำดับที่สอง รองจากกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ ปัจจุบันมีสัตว์และพืช 3079 และ 2655 ชนิดตามลำดับที่จัดอยู่ในกลุ่มใกล้สูญพันธุ์ เทียบกับในปี..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและชนิดใกล้สูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ช้าง

รงกระดูกช้างแอฟริกา ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่วงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 109 ปี ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและช้าง · ดูเพิ่มเติม »

ช้างบอร์เนียว

้างบอร์เนียว หรือ ช้างแคระบอร์เนียว (Borneo elephant) เป็นชนิดย่อยของช้างเอเชียชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephas maximus borneensis พบได้เฉพาะบนเกาะบอร์เนียวเท่านั้น ถูกเรียกว่าเป็น "ช้างแคระ" เพราะมีขนาดลำตัวที่เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดเล็กกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ อย่างมาก โดยมีความสูงประมาณ 8 ฟุต เท่านั้นเอง ตัวผู้มีงาสั้น ๆ หรือไม่มีเลย ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีใบหูใหญ่ มีลำตัวอ้วนกลมกว่า และมีนิสัยไม่ดุร้าย มีลักษณะความแตกต่างทางพันธุกรรมจากช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ พอสมควร สุลต่านแห่งซูลูได้นำเอาช้างที่ถูกจับเข้ามาบนเกาะบอร์เนียวในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนจะถูกปล่อยเข้าป่าไปCranbrook, E., Payne, J., Leh, C.M.U. (2008).

ใหม่!!: ช้างเอเชียและช้างบอร์เนียว · ดูเพิ่มเติม »

ช้างพุ่มไม้แอฟริกา

้างพุ่มไม้แอฟริกา หรือ ช้างสะวันนาแอฟริกา (African bush elephant, African savanna elephant) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ช้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน เป็นช้างชนิดหนึ่งที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา นับเป็นช้างขนาดใหญ่ที่สุด และถือเป็นสัตว์บกและสัตว์กินพืชที่ใหญ่และหนักที่สุดในโลกอีกด้วย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดเดียวกับช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) โดยเป็นชนิดย่อยของกันและกัน ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี ค.ศ. 2010 จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ โดยช้างพุ่มไม้แอฟริกานั้นมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ล่ำสันกว่า แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างกว่า โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป รวมถึงมีพฤติกรรมการอยู่อาศัยที่แตกต่างออกไปด้วย กล่าวคือ จะอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือตามพุ่มไม้ต่าง ๆ มากกว่าป่าทึบ เป็นสัตว์ที่ไม่กลัวแดดและความร้อน หากินและอพยพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา อาจจะมีความสูงถึงเกือบ 4 เมตร เมื่อวัดจากเท้าถึงหัวไหล่ แต่โดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีความสูงประมาณ 3.3 เมตร น้ำหนักประมาณ 5.5 ตัน ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กลงมากว่าหน่อย คือ สูง 2.8 เมตร และมีน้ำหนัก 3.7 ตันโดยเฉลี่ย ขณะที่มีงายาวได้ถึง 20 นิ้ว น้ำหนักงา 200 ปอนด์ มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่งาของตัวผู้จะสั้นและอวบใหญ่กว่า ส่วนงาของตัวเมียจะยาวกว่า แต่มีความเรียวบางกว่า เท้าหน้ามี 4 เล็บ และเท้าหลังมี 3 เล็บ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 50 ปี นับว่าน้อยกว่าช้างเอเชีย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะอยู่รวมกันเป็นฝูง มีตัวเมียที่อาวุโสสูงสุดเป็นจ่าฝูง เป็นตัวนำพาสมาชิกในฝูงตัวอื่น ๆ ขณะที่ตัวผู้ที่โตเต็มที่มักจะออกไปอยู่เองเป็นอิสระ ช้างพุ่มไม้แอฟริกามีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าวมากกว่าช้างเอเชีย จึงฝึกให้เชื่องได้ยากกว่า มีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถฝึกให้เชื่อฟังมนุษย์ได้ โดยปกติ ตัวเมียจะเป็นอันตรายมากกว่าตัวผู้ อาจเป็นเพราะต้องดูแลปกป้องลูกช้าง และสมาชิกในฝูงกว่า แต่ช้างตัวผู้ที่โตเต็มที่สามารถฆ่าสัตว์ใหญ่แม้กระทั่งแรดได้ ทั้ง ๆ ที่แรดมิได้เป็นสัตว์ที่คุกคามเลย แต่เป็นเพราะมาจากความก้าวร้าว ในแต่ละปี ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะบุกรุกและทำลายบ้านเรือนของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน เพราะพื้นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรของมนุษย์กับช้างทับซ้อนกัน มีผู้ถูกฆ่ามากกว่า 500 คน โดยก่อนที่จะบุกรุก ช้างพุ่มไม้แอฟริกาจะทำการชูงวง ที่มีกล้ามเนื้อมากกว่า 100,000 มัด เต็มไปด้วยพละกำลัง และกางหูออก เมื่อจะวิ่งเข้าใส่ จะทำการย่อเข่าลงมาเล็กน้อย แม้จะมีขนาดลำตัวใหญ่ที่ใหญ่โต แต่ก็สามารถวิ่งได้เร็วกว่ามนุษย์ โดยวิ่งได้เร็วถึง 30 ไมล์/ชั่วโมงหน้า 91-94, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518) ปัจจุบัน มีรายงานการพบช้างพุ่มไม้แอฟริการ้อยละ 30 ที่ไม่มีงา แต่ช้างที่ไม่มีงานั้นกลับดุร้าย และอันตรายยิ่งกว่าช้างที่มีงา โดยจะพุ่งเข้าใส่เลยทันที สันนิษฐานว่าเป็นเพราะพันธุกรรมตกทอดกันมา จากการถูกมนุษย์ล่าเอางาElephant, "Rouge Nature With Dave Salmoni" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและช้างพุ่มไม้แอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างศรีลังกา

้างศรีลังกา (Sri Lankan elephant; ශ්‍රි ලංකා‍ අලියා) เป็นช้างเอเชียชนิดย่อยชนิดหนึ่ง มีถิ่นกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะซีลอน หรือประเทศศรีลังกาในปัจจุบันเท่านั้น ช้างศรีลังกา ได้ถูกอนุกรมวิธานแยกออกจากช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ โดยคาโรลัส ลินเนียส นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนเมื่อปี..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและช้างศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างสุมาตรา

้างสุมาตรา (Sumatran elephant) เป็นชนิดย่อยของช้างเอเชีย (E. maximus) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นช้างที่พบได้เฉพาะบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เท่านั้น ช้างสุมาตรา มีรูปร่างที่เล็กกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ มีลำตัวสีเทาจางและมีรอยด่างน้อยกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น โดยมีจุดสีชมพูเฉพาะบนใบหูเท่านั้น ช้างสุมาตราตัวเต็มวัยมีความสูงจากพื้นถึงไหล่วัดได้ 2-3.2 เมตร น้ำหนักระหว่าง 2,000-4,000 กิโลกรัม มักอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและถิ่นที่อยู่ปกคลุมด้วยต้นไม้บางส่วน ปัจจุบันช้างสุมาตราตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต คาดว่ามีจำนวนประชากรทั้งหมดไม่เกิน 1,000 ตัว โดยสาเหตุสำคัญที่สุดของการสูญพันธุ์ คือ การไล่ล่าจากพรานป่าเพื่อเอาอวัยวะและงาไปขายในตลาดมืด ถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดมากกว่าการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย หรือโรคระบาดเสียอีก แม้ปัจจุบันจะมีการตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างสุมาตราขึ้นภายในอุทยานแห่งชาติเวย์แคมบัส แต่ทว่ารอบ ๆ ศูนย์อนุรักษ์ก็ยังคงมีปัญหาการไล่ล่าอยู่ ในระยะแรก ๆ ที่มีการตั้งศูนย์อนุรักษ์ขึ้นมา ก็ปรากฏมีพรานป่าแอบเข้ามาลักขโมยช้างออกไปฆ่าจนมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่หลายครั้ง ได้รับความเสียหายทั้งสองฝ่าย จึงมีการคล้องโซ่ช้างไว้เพื่อให้ได้ยินเสียงในเวลากลางคืน มิได้เป็นไปเพื่อการล่ามหรือกักขังแต่อย่างใด ช้างสุมาตราในศูนย์อนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติเวย์แคมบัส ปัจจุบันที่ศูนย์อนุรักษ์แห่งนี้มีจำนวนช้างสุมาตราเลี้ยงไว้ราว 80 เชือก เป็นช้างที่เชื่องต่อผู้เลี้ยงเหมือนช้างบ้าน ซึ่งภาวะเช่นนี้เสี่ยงอย่างมากต่อการสูญเสียพฤติกรรมตามธรรมชาติไป อีกทั้งในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทางศูนย์ก็ยังได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมได้อีก เพื่อต้องการเงินนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู, ศึกษา และอนุรักษ์ต่อยอดขึ้นไปในอนาคต แม้ช้างที่เลี้ยง ณ ที่นี่มีการขยายพันธุ์ได้ลูกช้างบางส่วนแล้วก็ตาม แต่การปล่อยคืนสู่ธรรมชาติยังมิอาจทำได้ เพราะปัญหาการไล่ล่าที่ยังคงมีอยู.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและช้างสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างอินเดีย

้างอินเดีย (Indian elephant) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ในวงศ์ Elephantidae หรือช้าง เป็นช้างที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไพลโอซีนหรือประมาณ 5 ล้านปีก่อนมาแล้ว.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและช้างอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ช้างในประเทศไทย

ในปัจจุบัน ช้างเอเชีย นอกจากจะเป็นสัตว์ประจำชาติไทยแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อประเทศไทย ดังนี้.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและช้างในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ช้างเอเชีย (สกุล)

้างเอเชีย หรือ ช้างยูเรเชีย (Asian elephant, Eurasian elephant) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับ Proboscidea หรืออันดับช้าง ใช้ชื่อสกุลว่า Elephas (/อี-เล-ฟาส/) จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและช้างเอเชีย (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

กระซู่

กระซู่, แรดสุมาตรา หรือ แรดขน (Sumatran RhinocerosWilson, D. E., and Reeder, D. M. (eds), ed (2005).; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dicerorhinus sumatrensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่จำพวกแรด กระซู่เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นแรดเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dicerorhinus มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ เหมือนแรดแอฟริกา โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้นมาเหมือนแรดชวา นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง โดยทั่วไปยาว 15-25 ซม.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและกระซู่ · ดูเพิ่มเติม »

การประหารชีวิตด้วยช้าง

นักโทษถูกแยกแขนขาด้วยช้างในซีลอน ภาพวาด ค.ศ. 1861 การประหารชีวิตด้วยช้าง เป็นวิธีการทั่วไปในการประหารชีวิตในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเดีย เป็นเวลานานนับหลายพันปีมาแล้ว ช้างเอเชียถูกใช้ในการเหยียบ ตัดแขนขา หรือทรมานนักโทษในการประหารชีวิตต่อสาธารณะ ช้างที่จะถูกใช้ในการประหารชีวิตถูกฝึกและสามารถใช้งานได้หลายอย่าง ทั้งสามารถสังหารนักโทษได้ในทันทีหรือทรมานอย่างช้า ๆ เป็นเวลานาน ช้างถูกใช้โดยพระมหากษัตริย์ จึงถูกใช้เป็นเครื่องแสดงของทั้งอำนาจสมบูรณ์ของผู้ปกครองของพระปรีชาสามารถที่ควบคุมสัตว์ป่าได้ ภาพของการประหารชีวิตนักโทษด้วยช้างดึงดูดความสนใจของนักเดินทางชาวยุโรปซึ่งมักรู้สึกหวาดกลัว และได้บันทึกไว้ในบันทึกประจำวันและเรื่องราวชีวิตในเอเชียร่วมสมัย การปฏิบัติดังกล่าวถูกยับยั้งในภายหลังโดยจักรวรรดิยุโรปที่ยึดดินแดนในภูมิภาคเป็นอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วการปฏิบัตินี้จะมีในเอเชีย แต่บางครั้งอำนาจตะวันตกก็ได้นำไปปรับใช้บ้าง เช่น โรมและคาร์เธจ โดยเฉพาะกับทหารที่เป็นกบฏ.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและการประหารชีวิตด้วยช้าง · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่ากายสิทธิ์

กิ้งก่ากายสิทธิ์ เป็นภาพยนตร์ไทยแนวตลกและแฟนตาซี ออกฉายในปี พ.ศ. 2528 นำแสดงโดย เด๋อ ดอกสะเดา, เหี่ยวฟ้า, สีเทา, ล้อต๊อก, ลักษณ์ อภิชาต.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและกิ้งก่ากายสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ก้านกล้วย (ตัวละคร)

ก้านกล้วย เป็นตัวละครสำคัญในก้านกล้วยภาคแรกและภาคสอง และเป็นตัวละครจากแอนิเมชันของไทยที่สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยมาจากเกร็ดบางส่วนของพงศาวดาร ว่าลักษณะคชลักษณ์ของช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น จะมีหลังโค้งลาด คล้ายก้านกล้วย ชื่อตามพงศาวดารนั้นคือเจ้าพระยาปราบหงสาวดี หรือเดิมชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ หรือพลายภูเขาทอง.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและก้านกล้วย (ตัวละคร) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย

นี่คือ รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย มีทั้งสิ้น 264 ชนิด มี 3 ชนิดถูกคุกคามจนเข้าขั้นวิกฤติ มี 11 ชนิดถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ มี 24 ชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และ 2 ชนิดมีความเสี่ยงต่ำแต่ใกล้ถูกคุกคาม และสูญพันธุ์ไป 1 ชน.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและรายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เอลิฟานติดี

วงศ์เอลิฟานติดี (อังกฤษ: Elephant) เป็นวงศ์ตามการอนุกรมวิธาน ได้แก่สัตว์จำพวกช้าง คือ ช้างและแมมมอธ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Elephantidae เป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ที่มีงวงและงา สกุลและชนิดส่วนใหญ่ในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือเพียงสองสกุลเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ Loxodonta (ช้างแอฟริกา) และ Elephas (ช้างเอเชีย) เท่านั้น และเหลือเพียง 3 ชนิดเท่านั้น วงศ์ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อโดยจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ในปี..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและวงศ์เอลิฟานติดี · ดูเพิ่มเติม »

วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เป็นวนอุทยานในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน ตั้งอยู่ในตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ 5,000 ไร่ จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์ย่างกุ้ง

วนสัตว์ย่างกุ้ง (ရန်ကုန်မြို့ တိရစ္ဆာန်ဥယျာဉ်; Yangon Zoological Gardens) เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในตัวเมืองย่างกุ้ง ถนนพระเจดีย์กะบะ อ.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและสวนสัตว์ย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์อุเอะโนะ

วนสัตว์อุเอะโนะ เป็นสวนสัตว์ ตั้งอยู่ในบริเวณสวนอุเอะโนะ ใกล้กับสถานีอุเอะโนะ เขตไทโต เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นสวนสัตว์แห่งแรกและมีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่น เปิดบริการครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและสวนสัตว์อุเอะโนะ · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์เนปยีดอ

สวนสัตว์เนปยีดอ (နေပြည်တော် တိရိစ္ဆာန် ဥယျာဉ်) เป็นสวนสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ตั้งอยู่ในกรุงเนปยีดอ เป็นสวนสัตว์แห่งใหม่ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีพื้นที่ประมาณ 612 ไร่ (247 เฮกตาร์) ในสวนสัตว์มีสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้างเอเชีย กวาง จระเข้ เสือดาว ลิง เสือขาวเบงกอล ม้าลาย และจิงโจ้ หมวดหมู่:สวนสัตว์ในประเทศพม่า หมวดหมู่:เนปยีดอ หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในเนปยีดอ.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและสวนสัตว์เนปยีดอ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับช้าง

อันดับช้าง เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Proboscidea (/โพร-โบส-ซิ-เดีย/) มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์กินพืชที่มีร่างกายใหญ่โต มีจมูกและริมฝีปากบนยาว เรียกว่า "งวง" ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ใช้สำหรับหายใจ หยิบจับสิ่งของ และจับอาหารเข้าปาก มีฟันซี่หน้า 2 ซี่ บนขากรรไกรบนยาวใหญ่ และเจริญไปเป็น "งา" ฟันกรามมีขนาดใหญ่ โดยมากไม่เกิน 1 คู่ ขณะที่บางสกุล บางชนิด หรือบางวงศ์มีมากกว่านั้น ไม่มีฟันเขี้ยว ขาใหญ่ตรงลักษณะคล้ายต้นเสา ขาหน้ามีกระดูกเรเดียส และอัลนาร์สมบูรณ์ ขาหลังก็มีกระดูกทิเบีย และฟิบูลาสมบูรณ์ เท้ามีนิ้วข้างละ 5 นิ้ว แต่เล็บนิ้วก้อยบางตัวนั้น เมื่อโตขึ้นจะหายไป มีกระเพาะอาหารแบบธรรมดา ไม่ได้เป็นกระเพาะอาหารที่แบ่งเป็นห้อง ๆ แบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง ตัวผู้มีลูกอัณฑะอยู่ในท้อง ไม่อยู่ในถุงห้อยออกมาอย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ขณะที่ตัวเมียมีมดลูกแยกเป็นไบคอร์เนาท์ มีเต้านม 1 คู่ อยู่ที่หน้าอกระหว่างขาหน้าทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบัน หลงเหลือสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้เพียงวงศ์เดียว คือ Elephantidae 3 ชนิด (ไม่นับชนิดย่อย) คือ ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ที่พบในทวีปเอเชีย, ช้างพุ่มไ้ม้แอฟริกา (Loxodonta africana) และช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) พบในทวีปแอฟริกา ซึ่งจัดเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว สัตว์ในอันดับช้างยังมีความคล้ายคลึงกับสัตว์ในอันดับไฮแรกซ์ (Hyracoidea) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กคล้ายหนูตะเภาที่พบในแอฟริกาอีก ด้วยการที่มีฟันกรามและข้อต่อนิ้วเท้าที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและอันดับช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา

อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา (Kaziranga National Park, কাজিৰঙা ৰাষ্ট্ৰীয় উদ্যান) เป็นอุทยานแห่งชาติในเขตโคลาฆาต (Golaghat) และ นากาโอน (Nagaon) ของรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย เป็นมรดกโลกซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของแรดอินเดียจำนวนมากถึงสองในสามของโลก กาซีรังคายังเชิดหน้าชูตาด้วยมีประชากรเสือโคร่งหนาแน่นที่สุดในหมู่พื้นที่คุ้มครองด้วยกันทั่วโลกและจัดตั้งเขตสงวนพันธุ์เสือขึ้นในปี..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและอุทยานแห่งชาติกาซีรังคา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

แผนที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ฝูงช้างป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติกุยบุรี หรือ ผืนป่ากุยบุรี เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำกุยบุรีและแม่น้ำปราณบุรี หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติที่ปรากฏในพื้นที่ เพื่อเป็นแหล่งหาความรู้ศึกษาวิจัย และการประกอบกิจกรรมนันทนาการของประชาชน โดยได้รับประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 20ก วันที่ 25 มีนาคม..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและอุทยานแห่งชาติกุยบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ

อุทยานแห่งชาติเอราวัณ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและอุทยานแห่งชาติเอราวัณ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

ัญลักษณ์ไซเตส อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน (Washington Convention) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทศคีรีวัน ทศคีรีธร

ทศคีรีวันและทศคีรีธร เป็นยักษ์ฝาแฝดที่เกิดจากทศกัณฐ์กับนางช้างพัง ทศคีรีวันเป็นพี่ ทศคีรีธรเป็นน้อง ทศกัณฐ์ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ ท้าวอัศกรรมมาลา เจ้าเมืองดุรัม วันหนึ่งคิดถึงบิดาตนจึงไปหาและทราบเรื่องราวที่บิดาตนทำศึกกับพระรามจึงอาสาออกรบ เมื่อสองตนนี้ยกทัพมาถึง พระรามรับสั่งให้พระลักษมณ์เป็นทัพหน้า เข้าสู้กับกองทัพลงกาซึ่งทศกัณฐ์อยู่ตรงกลาง พระลักษมณ์แผลงศรพลายวาตถูกม้าศึกทั้งสองตายคาที่ สองยักษ์พี่น้องจึงกระโดดเข้าหักงอนรถพระลักษมณ์ พระลักษมณ์หวดด้วยคันศร ทั้งสองแผลงศรเป็นอาวุธเก้าอย่างถูกพลลิงตายมากมาย พระลักษมณ์จึงแผลงศรไปแก้เป็นลมพัด จนวานรฟื้นคืนหมดแล้วศรก็พุ่งไปเสียบอกยักษ์พี่น้องสองตนขาดใจต.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและทศคีรีวัน ทศคีรีธร · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวอัศกรรมมาลา

รูปปั้นท้าวอัศกรรมมาลา ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ท้าวอัศกรรณมาลาสูร เจ้าเมืองดุรัม เป็นเพื่อนอีกตนหนึ่งของทศกัณฐ์ ได้ขอทศคีรีวัน ทศคีรีธร โอรสฝาแฝดของทศกัณฐ์ที่เกิดกับนางช้าง ไปเป็นลูกบุญธรรม เมื่อลูกบุญธรรมทั้งสองและทศกัณฐ์ตาย ท้าวอัศกรรณมาลาสูรก็ยกทัพไปช่วยแก้แค้น จึงถูกพระรามแผลงศรตัดตัวขาด แต่แทนที่จะตายกลับมีร่างกายทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ พิเภกจึงบอกความลับว่าท้าวอัศกรรณมาลาสูรได้พรจากพระอิศวร ถึงร่างกายจะถูกตัดเป็นกี่ท่อนก็จะทวีคูณขึ้นมา ไม่มีวันตาย วิธีฆ่าคือ ต้องนำร่างทั้งหมดไปทิ้งน้ำ พระรามจึงแผลงศรพรหมมาศไปตัดหัวขาด และนำร่างไปทิ้งน้ำ ท้าวอัศกรรณมาลาสูร เป็นหนึ่งในทวารบาลในพระบรมมหาราชวัง.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและท้าวอัศกรรมมาลา · ดูเพิ่มเติม »

ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์และประธานาธิบดี ไฮน์ริช ลุบเก ระหว่างการเสด็จเยือนประเทศเยอรมนี พ.ศ. 2503 ความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเยอรมนี และประเทศไทย ที่เริ่มต้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือนยุโรปใน..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและความสัมพันธ์เยอรมนี-ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศลาว

รายชื่อของพืชและสัตว์บางส่วนในประเทศลาว.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศอินเดีย

ประเทศอินเดีย มีประชากรป่าของเสือโคร่งมากที่สุดในโลก สิงโตอินเดียเพศผู้ที่อุทยานแห่งชาติป่ากิร ซึ่งเป็นป่าเพียงแห่งเดียวที่มีประชากรของสิงโตเอเชียหลงเหลืออยู่ในโลก สัตว์นักล่าที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดอันดับต้น ๆ ของประเทศอินเดียปี ค.ศ. 2010 หมาในอยู่ในข่ายของภาวะใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีสมาชิกน้อยกว่า 2,500 ตัวที่หลงเหลืออยู่ในโลก เสือดาวหิมะที่อุทยานแห่งชาติเฮมิส ในลาดักห์ ประเทศอินเดีย ซึ่งเสือดาวหิมะเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ที่สามารถพบได้ตามเทือกเขาหิมาลัย ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศอินเดีย ประกอบด้วยส่วนผสมของสายพันธุ์ที่แตกต่างกันของสิ่งมีชีวิต นอกเหนือจากสัตว์เลี้ยงเพื่อการปศุสัตว์ที่สำคัญ อย่างเช่น วัว, ควาย, แพะ, สัตว์ปีก และอูฐ ประเทศอินเดียยังมีความหลากหลายที่น่าอัศจรรย์ของสัตว์พื้นเมืองภายในประเทศ โดยเป็นบ้านของเสือโคร่งเบงกอล, สิงโตอินเดีย, งูเหลือม, หมาป่า, หมาจิ้งจอก, หมี, จระเข้, หมาใน, ลิง, งู, สายพันธุ์แอนทิโลป, สายพันธุ์กระทิง และช้างเอเชีย ความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคมีอยู่ในอุทยานแห่งชาติกว่า 120 แห่ง, เขตสงวนชีวมณฑล 18 แห่ง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ประเทศอินเดียมีความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคมากที่สุดในบางส่วน และมีพื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษด้านความหลากหลายทางชีวภาพสามแห่งจากทั้งหมดที่มีอยู่ 34 แห่งในโลก – หรือเป็นที่ให้พัก – ซึ่งได้แก่แนวเทือกเขากาตตะวันตก, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก และเขตอินเดียและพม่า เนื่องจากประเทศอินเดียเป็นบ้านของสายพันธุ์สัตว์ที่หายากและถูกคุกคามเป็นจำนวนมาก การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพภายในประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาสายพันธุ์เหล่านี้ ประเทศอินเดียเป็นหนึ่งในสิบเจ็ดประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอุดมสมบูรณ์ โดยอ้างถึงกรณีศึกษาหนึ่ง ประเทศอินเดียกับสิบหกประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอุดมสมบูรณ์ เป็นบ้านพักอาศัยสำหรับความหลากหลายทางชีวภาพของโลกประมาณ 60 ถึง 70  เปอร์เซ็นต.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

นากาย-น้ำเทิน

ตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาตินากาย-น้ำเทิน (Nakai–Nam Theun National Biodiversity Conservation Area) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า นากาย-น้ำเทิน เป็นเขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (ตัวย่อ: NBCA) แห่งหนึ่งในประเทศลาว มีพื้นที่ประมาณ 3,445 ตารางกิโลเมตร บริเวณเทือกเขาอันนัมและที่ราบสูงนากาย ในแขวงคำม่วนและแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว มีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองนากาย นากาย-น้ำเทินอยู่ทางตะวันออกของบริเวณเขื่อนน้ำเทิน 2 มีสภาพเป็นลาดเขาที่ค่อยสูงขึ้นไปไปจนถึงสันเขาที่เป็นชายแดนติดต่อกับเวียดนาม เป็นป่ารับน้ำที่ป้อนน้ำเข้าสู่เขื่อนน้ำเทิน 2 และเป็นเขตป่าที่ได้รับการอนุรักษ์ปกปักรักษาให้คงสภาพป่าที่สมบูรณ์ตามธรรมชาติโดยไม่ถูกรบกวน มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลมารวมกันเรียกว่า "น้ำเทิน" ได้แก.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและนากาย-น้ำเทิน · ดูเพิ่มเติม »

โคชิก

'''โคชิก''' ช้างเอเชียที่มีชื่อเสียงของประเทศเกาหลีใต้ โคชิก (코식) เป็นช้างเอเชียเพศผู้ในสวนสนุกเอเวอร์แลนด์ ที่ยองอิน ประเทศเกาหลีใต้ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1990 มันปรากฏเป็นพาดหัวข่าวในเดือนกันยายน..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและโคชิก · ดูเพิ่มเติม »

ไก่มุก

'''ไก่มุก''' ขณะมีอายุแรกเกิดได้สามวัน ไก่มุก (Kai-Mook) เกิดวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 เป็นช้างเอเชียเพศเมียที่เกิดในสวนสัตว์แอนต์เวิร์ป และเป็นช้างตัวแรกที่เกิดในประเทศเบลเยียม ลูกช้างตัวนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าไก่มุก ตามการตั้งชื่อจากทางสวนสัตว์ในประเทศไทยที่มีความหมายสอดคล้องกับคำว่า 'ไข่มุก' ในภาษาไทย โดยตั้งให้หลังจากเกิดได้ 3 วัน และได้มีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้ชื่อที่ขึ้นต้นด้วยอักษร K เพราะสัตว์ทุกตัวที่เกิดใน..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและไก่มุก · ดูเพิ่มเติม »

ไวลด์ไลฟ์พาร์ก

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและไวลด์ไลฟ์พาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ไทยบางแก้ว

ทยบางแก้ว หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า บางแก้ว (Thai bangkaew dog, Bangkaew) สุนัขประเภทสปิตซ์สายพันธุ์หนึ่ง ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และถือเป็นสุนัขไทยสายพันธุ์เดียวที่มีขนยาวสองชั้น หางเป็นพวง มีขน ขาหน้าคล้ายขนขาแข้งสิงห์แผงรอบคอคล้ายสิงโตมีความเฉลียวฉล.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและไทยบางแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

เสือไฟ

ือไฟ (หรือ Catopuma temminckii) เป็นแมวป่าขนาดกลาง มีขนาดเล็กกว่าเสือลายเมฆ แต่ใหญ่กว่าแมวลายหินอ่อน โดยชื่อวิทยาศาสตร์ temminckii ถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่กุนราด ยาโกบ แต็มมิงก์ นักสัตววิทยาชาวดัตช์ซึ่งเป็นผู้บรรยายลักษณะทางวิทยาศาสตร์ของเสือไฟแอฟริกาเมื่อปี..

ใหม่!!: ช้างเอเชียและเสือไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ช้างเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาตะนาวศรี

ทือกเขาตะนาวศรีในอำเภอกะปง จังหวัดพังงา เทือกเขาตะนาวศรี (တနင်္သာရီ တောင်တန်း; Tenasserim Hills, Range) เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขาซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย และลากยาวผ่านคอคอดกระลงไปจนถึงคาบสมุทรมลายู ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาตะนาวศรี ชาวพม่าเรียกว่า "บีล็อกตอง" (Bilauktaung).

ใหม่!!: ช้างเอเชียและเทือกเขาตะนาวศรี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Asian elephantElephas maximus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »