โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ช่องแคบบอสพอรัส

ดัชนี ช่องแคบบอสพอรัส

กอากาศของช่องแคบบอสฟอรัส ช่องแคบบอสพอรัส (Bosporus Strait) หรือ ช่องแคบบอสฟอรัส (Bosphorus Strait) หรือ ช่องแคบอิสตันบูล (İstanbul Boğazı) เป็นช่องแคบที่กั้นระหว่างตุรกีเธรซที่อยู่ในทวีปยุโรปกับคาบสมุทรอานาโตเลียในทวีปเอเชีย เป็นช่องแคบหนึ่งของตุรกีคู่กับช่องแคบดาร์ดะเนลส์ทางตอนใต้ที่เชื่อมกับทะเลอีเจียน ช่องแคบบอสฟอรัสทางตอนเหนือและช่องแคบดาร์ดาเนลส์ทางตอนใต้เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลมาร์มะราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบบอสฟอรัสยาวราว 30 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 3,700 เมตร ส่วนที่แคบที่สุดกว้าง 700 เมตร ความลึกระหว่าง 36 ถึง 124 เมตร ฝั่งทะเลของช่องแคบเป็นเมืองอิสตันบูลที่มีประชากรหนาแน่นถึงราว 11 ล้านคน.

15 ความสัมพันธ์: ช่องแคบตุรกีการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)ภูมิศาสตร์ยุโรปภูมิศาสตร์เอเชียมาร์มาไรย์รายชื่อสนธิสัญญาสุลัยมานผู้เกรียงไกรสนธิสัญญาประกันพันธไมตรีอิสตันบูลอึสกือดาร์ฮายาโซฟีอาจักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์ทะเลมาร์มะราทะเลดำประเทศตุรกี

ช่องแคบตุรกี

ช่องแคบบอสฟอรัส (แดง), ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (เหลือง), และมีทะเลมาร์มาราอยู่ตรงกลาง ช่องแคบตุรกี (Turkish Straits) เป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของโลก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศตุรกี โดยเชื่อมต่อระหว่างทะเลอีเจียน, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลดำ โดยช่องแคบตุรกีประกอบไปด้วยช่องแคบดาร์ดะเนลส์, ทะเลมาร์มารา และช่องแคบบอสฟอรัส โดยเป็นช่องแคบที่สำคัญอย่างมากต่อตุรกีในการควบคุมน่านน้ำภายในและช่องแคบดังกล่าวได้ใช้ในการพิจารณาในการแบ่งเขตแดนระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป นอกจากนี้ ยังเป็นการแบ่งระหว่างตุรกีฝั่งยุโรป (East Thrace) ที่มีขนาดพื้นที่ 23,764 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็นร้อยละ 3.09 ของพื้นที่ทั้งประเทศ) กับดินแดนอานาโตเลีย หมวดหมู่:ช่องแคบ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ตุรกี.

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและช่องแคบตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678)

การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลระหว่าง (ค.ศ. 674-678) หรือ การล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยชาวอาหรับครั้งแรก (Siege of Constantinople) เป็นความขัดแย้งที่เป็นส่วนหนึ่งของสงครามไบแซนไทน์–อาหรับและเป็นการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งหนึ่งในหลายครั้งที่เกิดขึ้น การล้อมครั้งนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างจักรวรรดิไบแซนไทน์และฝ่ายจักรวรรดิอุมัยยะฮ์ของอาหรับ มุอาวิยะห์ผู้เรืองอำนาจขึ้นมาเป็นผู้นำจักรวรรดิอาหรับหลังจากสงครามกลางเมืองสงครามฟิตนาครั้งที่ 1 (First Fitna) ส่งลูกชายยาซิดไปล้อมเมืองคอนสแตนติโนเปิลที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 4 ในล้อมเมืองครั้งนี้ฝ่ายอุมัยยะฮ์ไม่สามารถทำลายกำแพงธีโอโดเซียนที่เป็นกำแพงป้องกันเมืองทางฝั่งบอสฟอรัส เพื่อเข้าตีเมืองได้ เมื่อมาถึงฤดูหนาวฝ่ายอาหรับก็ต้องถอยทัพลึกเข้าไปบนแผ่นดินใหญ่ราว 80 ไมล์จากตัวเมือง ก่อนหน้าที่จะล้อมเมืองผู้ลี้ภัยคริสเตียนชาวซีเรียชื่อคาลลินคอสแห่งเฮลิโอโพลิสประดิษฐ์อาวุธใหม่ที่มีประสิทธิภาพให้แก่จักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่มารู้จักกันว่า “ปืนไฟกรีก” (Greek fire) ในปี ค.ศ. 677 ราชนาวีของไบแซนไทน์ก็ใช้อาวุธนี้ในการทำลายกองเรือของฝ่ายอุมัยยะฮ์อย่างย่อยยับในทะเลมาร์มารา ที่เป็นผลทำให้ฝ่ายอุมัยยะฮ์ยุติการล้อมเมืองในปี..

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 674–678) · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์ยุโรป

ูมิศาสตร์ยุโรป (Geography of Europe) คือลักษณะภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ของทวีปยุโรปซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปบนโลกและเป็นคาบสมุทรตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียโดยการแบ่งปวีปยุโรปกับทวีปเอเชียทางตะวันออกนั้นจะใช้เทือกเขายูรัลในประเทศรัสเซียในการแบ่งเขตส่วนในตะวันออกเฉียงใต้นั้นยังไม่มีการกำหนดอย่างแน่ชัดแต่ส่วนมากจะใช้แม่น้ำยูรัล, แม่น้ำเอ็มบาและทะเลดำในการแบ่งเขต โดยจุดสิ้นสุดของทวีปเอเชียคือช่องแคบบอสพอรัสในประเทศตุรกี ส่วนการแบ่งเขตของทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกานั้นจะใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยจุดที่ทวีปยุโรปใกล้กับทวีปแอฟริกามากที่สุดคือช่องแคบยิบรอลตาร์โดยมีความห่างกันเพียง 14.3 กิโลเมตรหรือ 8.9 ไมล์ ส่วนพรมแดนทางตะวันออกนั้นจะมีเทือกเขากลางสมุทรไอซ์แลนด์เป็นตัวแบ่งอาณาเขตระหว่างยุโรปกับอเมริกาเหนือ ส่วนประเทศไอซ์แลนด์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอเมริกาเหนือกับยุโรปนั้นถือว่าอยู่ในทวีปยุโรปเพราะเหตุผลด้านวัฒนธรรมและมีพื้นที่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ของทวีปยุโรปมากกว่าแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือถึง 2 เท่า นี้คือภาพถ่ายจากสถานนีอวกาศแห่งชาติโดยใช้กล้อง2ตัวโดยทางซ้ายมองไปทางเหนือและทางขวามองมาทางตรง.

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและภูมิศาสตร์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์เอเชีย

แผนที่ภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชียในปี 1730 ของ Johan Christoph Homann โดยแบ่งภูมิภาคเอเชียเป็นสีต่างๆ ภาพรวมของทวีปเอเชีย ภาพทวีปเอเชีย ภูมิศาสตร์เอเชีย (Geography of Asia) คือลักษณะภูมิศาสตร์ต่างๆของทวีปเอเชียซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปของโลก ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีขนาด 44,579,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.7 ของผิวโลก (ร้อยละ 30 ของส่วนที่เป็นพื้นดิน) และมีประชากรราว 3,900 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของประชากรมนุษย์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและภูมิศาสตร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

มาร์มาไรย์

รงการมาร์มาไรย์เป็นโครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้ช่องแคบบอสฟอรัส เพื่อเชื่อมรถไฟชานเมือง (เส้นสีฟ้า) ระหว่างเมืองอิสตันบูลฝั่งทวีปเอเชียและฝั่งทวีปยุโรปเข้าด้วยกัน มาร์มาไรย์ (Marmaray) เป็นโครงการเกี่ยวกับระบบขนส่งทางรางในเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ซึ่งประกอบด้วยการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟลอดใต้ช่องแคบบอสฟอรัส เชื่อมประเทศตุรกีฝั่งทวีปเอเชียและทวีปยุโรปเข้าด้วยกัน (ประเทศตุรกีตั้งอยู่บนสองทวีป โดยมีช่องแคบบอสฟอรัสเป็นเขตแบ่งทวีป) โครงการนี้ยังรวมถีงการปรับปรุงสภาพรถไฟชานเมืองสายเลียบทะเลมาร์มารา ตั้งแต่สถานี Halkalı ของฝั่งทวีปยุโรป ไปจนถึงสถานี Gebze บนฝั่งทวีปเอเชีย โดยใช้อุโมงค์ดังกล่าวเชื่อมระบบรถไฟทั้งสองฝั่ง รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างยานพาหนะที่ใช้วิ่งรับส่งผู้โดยสาร, Railway Gazette International, 23 กุมภาพันธ์ 2552 (2009).

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและมาร์มาไรย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

สุลัยมานผู้เกรียงไกร

ลต่านสุลัยมานที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: سلطان سليمان اول‎) พระองค์เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า สุลัยมานผู้เกรียงไกร และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันออกว่า สุลัยมานผู้ตรากฎหมาย ทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิออตโตมันสมัยราชวงศ์ออสมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อต้นเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1566 เป็นสุลต่านพระองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลานานถึง 46 ปี สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอนในประเทศตุรกี เป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสตามกฎหมายกับร็อกเซลานา หรือเฮอร์เรมสุลต่าน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อราววันที่ 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในประเทศฮังการีปัจจุบัน หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์กับเฮอร์เรมสุลต่านก็ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านเซลิมที่ 2 สุลต่านสุลัยมานเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงททวีปยุโรปด้วย พระองค์มีพระบรมราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในการสงครามหลายครั้งและทรงได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งที่รวมทั้งต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมด แต่มาทางพ่ายแพ้ในการล้อมกรุงเวียนนาในปี..

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและสุลัยมานผู้เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาประกันพันธไมตรี

นธิสัญญาประกันพันธไมตรี (Reinsurance Treaty) ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน..

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและสนธิสัญญาประกันพันธไมตรี · ดูเพิ่มเติม »

อิสตันบูล

อิสตันบูล (ตุรกี: İstanbul) เดิมชื่อ คอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศตุรกี ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส ซึ่งทำให้อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญเพียงเมืองเดียวในโลก ที่ตั้งอยู่ใน 2 ทวีป คือ ทวีปยุโรป (ฝั่ง Thrace ของบอสฟอรัส) และทวีปเอเชีย (ฝั่งอานาโตเลีย) ข้อมูลปี 2007 จังหวัดอิสตันบูลมีประชากรประมาณ 11,372,613 คน ในอดีต อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญของชนเผ่าจำนวนมากในบริเวณนั้น จึงส่งผลให้อิสตันบูลมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ไบแซนไทน์, คอนสแตนติโนเปิล, สแตมโบล, อิสลามบูลเป็นต้น คำว่า อิสตันบูล มาจากภาษากรีก แปลว่า "ในเมือง" หรือ "ของเมือง".

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและอิสตันบูล · ดูเพิ่มเติม »

อึสกือดาร์

อึสกือดาร์ (Üsküdar) เป็นนครบาลของอิสตันบูล ประเทศตุรกี บนชายฝั่งอานาโตเลีย ช่องแคบบอสพอรัส มีประชากรอาศัยอยู่ราว 5 แสนคน ในสงครามไครเมีย (ค.ศ. 1853-1856) เป็นที่ตั้งฐานทัพของอังกฤษ และของโรงพยาบาลซึ่งฟลอเรนซ์ ไนติงเกล นางพยาบาลผู้มีจิตกุศลชาวอังกฤษดูแล.

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและอึสกือดาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮายาโซฟีอา

ัณฑ์อายาโซเฟียในปัจจุบัน โครงสร้างโบสถ์ ฮายาโซฟีอา (Hagia Sophia), อายาโซเฟีย (Ayasofya), ฮากีอาโซพีอา (Ἁγία Σοφία) หรือ ซางก์ตาซาปีเอนเตีย (Sancta Sapientia) เดิมเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนา นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมักถูกจัดให้อยู่ในรายการสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางHereward Carrington (1880-1958), "The Seven Wonders of the World: ancient, medieval and modern", reprinted in the Carington Collection (2003) ISBN 0-7661-4378-3,.

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและฮายาโซฟีอา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์

อรีนแห่งเอเธนส์ จักรพรรดินีแห่งไบแซนไทน์ หรือ ไอรีน เดอะเอเธนส์เนียน (กรีก:Εἰρήνη ἡ Ἀθηναία; ราวค.ศ. 712 - 9 สิงหาคม ค.ศ. 803) พระนามเดิมคือ ไอรีน ซารันตาเปชาอีนา (กรีก:Εἰρήνη Σαρανταπήχαινα) ทรงเป็นจักรพรรดินี พระประมุขแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ตั้งแต..

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและจักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลมาร์มะรา

ที่ตั้งของทะเลมาร์มะรา ทะเลมาร์มะรา หรือ ทะเลมาร์โมรา (Sea of Marmara, Marmara Sea, Sea of Marmora; Marmara Denizi; Προποντίς) เป็นทะเลที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลอีเจียน ซึ่งแยกตุรกีในทวีปเอเชียจากตุรกีในทวีปยุโรป ทางตอนเหนือช่องแคบบอสฟอรัสเชื่อมกับทะเลดำ ทางตอนใต้ช่องแคบดาร์ดาเนลส์เชื่อมกับทะเลอีเจียน ทะเลมาร์มะรามีเนื้อที่ทั้งหมด 11,350 ตารางกิโลเมตร และจุดที่ลึกที่สุดลึก 1,370 เมตร.

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและทะเลมาร์มะรา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลดำ

แผนที่บริเวณทะเลดำ ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทะเลดำ โดยนาซา ทะเลดำ (Black Sea หรือชื่อในสมัยโบราณ​ Euxine Sea) เป็นทะเลที่อยู่ระหว่างทวีปยุโรป (ด้านตะวันออกเฉียงใต้),เอเชียไมเนอร์,และดินแดนคอเคซัส มีทางออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน,ทะเลอีเจียน และช่องแคบอีกหลายแห่ง ทางช่องแคบบอสฟอรัสที่เชื่อมต่อกับทะเลมาร์มะรา แล้วผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์เชื่อมต่อไปยังทะเลอีเจียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแห่งนี้ได้แยกยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตกออกจากกัน นอกจากนี้ทะเลดำยังเชื่อมต่อกับทะเลอะซอฟผ่านทางช่องแคบเคียร์ช ทะเลดำมีเนื้อที่ผิวประมาณ 436,402 ตารางกิโลเมตร (168,500 ตารางไมล์) (ไม่นับรวมทะเลอะซอฟ) ทะเลดำมีความลึกสุด 2,212 เมตร (7,257 ฟุต) และมีปริมาตร 547,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (131,200 ลูกบาศก์ไมล์) ประเทศที่มีชายฝั่งติดทะเลดำ ได้แก่ ประเทศตุรกี, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, รัสเซีย และจอร์เจีย ดินแดนของแหลมไครเมียปัจจุบันเป็นของยูเครน ทะเลดำถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาพอนทิกทางทิศใต้ เทือกเขาคอเคซัสทางทิศตะวันออก และมีชะโงกผากว้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะจากทิศตะวันออกไปจรดทิศตะวันตกยาวสุด 1,175 กิโลเมตร (730 ไมล์) ทะเลดำมีเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่ง ประกอบด้วย เมืองโซชี (Sochi), โนโวรอสซีสค์ (Novorossiysk) และ เคียร์ช (Kerch) ประเทศรัสเซีย โอเดสซา (Odessa), เซวัสโตปอล (Sevastopol), และ ยัลต้า (Yalta) ประเทศยูเครน เมืองคอนสแตนตา (Constanta), เมืองแมงกาเลีย (Mangalia), และเมืองนาโวดารี (Năvodari) ประเทศโรมาเนีย เมืองวาร์นา (Varna) กับเมืองเบอร์กาส (Burgas) ประเทศบัลแกเรีย เมืองซอนกุลดาก (Zonkuldak), เมืองซัมซุน (Samsum), เมืองกีเรซัน (Giresun), เมืองออร์ดู (Ordu), เมืองไรซ์ (Rize), เมืองแทรบซอน (Trabzon), และเมืองโฮปา (Hopa) ประเทศตุรกี และเมืองบาตูมี (Batumi), เมืองปอตี (Poti), และเมืองซักฮูมี (Sukhumi) ประเทศจอร์เจี.

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและทะเลดำ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: ช่องแคบบอสพอรัสและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bosphorusช่องแคบบอสฟอรัสบอสฟอรัส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »