เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ชื่อสามัญ

ดัชนี ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

สารบัญ

  1. 129 ความสัมพันธ์: ชะมดแผงชะนีมงกุฎชะนีคิ้วขาวสกายวอล์คเกอร์พระปรมาภิไธยกบมะเขือเทศมาดากัสการ์กกรังกากกดอกขาวกวางกุ้งม้าลายลิงเลซูลาลูกเขยตายแม่ยายทำศพลู่ตูงวาฬสเปิร์มวงศ์ชะมดและอีเห็นวงศ์ย่อยแมววงศ์ปลากะรังวงศ์ปลากดวงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้งวงศ์ปลาสลิดทะเลวงศ์ปลาสอดวงศ์ปลาหมอสีวงศ์ปลาหลังเขียววงศ์ปลาคาราซินวงศ์ปลางวงช้างวงศ์ปลาฉลามปากเป็ดวงศ์ปลาปากแตรวงศ์ปลาแป้นแก้ววงศ์นกปักษาสวรรค์วงศ์เต่าสแนปปิ้งสกุลปลาวัวปิกัสโซสกุลปลาแพะสิงโตแหลมกู๊ดโฮปสิ่งมีชีวิตหมาจิ้งจอกหอยหอยสังข์หอยสังข์หนามเล็กหอยงวงช้างกระดาษหนอนนกอันดับฐานปูไม่แท้จริงอันดับวานรอันดับปลาหนังอันดับปลาคาราซินอาย-อายจักจั่นทะเลจิกจิงโจ้จิ้งเหลนด้วงถ้วยทองทากิฟูงุ... ขยายดัชนี (79 มากกว่า) »

ชะมดแผง

มดแผง เป็นสกุลของชะมดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Viverra มีลักษณะคล้ายกับชะมดหรืออีเห็นทั่วไป มีลักษณะเด่น คือ ที่อุ้งตีนมีนิ้วทั้งหมด 5 นิ้ว โดยที่หัวแม่เท้ามีขนาดเล็กมากจนดูเหมือนมี 4 นิ้ว เมื่อประทับลงบนพื้นดิน จะมีรอยเท้าเพียง 4 นิ้ว เนื่องจากหากินบนพื้นดินเป็นหลัก และมีขนาดใหญ่กว่าของอีเห็น อีกทั้งที่ขนบริเวณสันหลังจรดปลายหางมีลักษณะเป็นแผงขนสีดำ พาดยาวตั้งแต่สันคอไปตามแนวสันหลัง ซึ่งเวลาตกใจหรือต้องการข่มขู่ผู้รุกรานจะยกแผงขนหลังนี้ให้ตั้งชันได้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญที่ใช้เรียกขาน ส่วนหางจะเป็นลายปล้อง ๆ เป็นชะมดขนาดใหญ่ หากินตามพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ และักินสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนู, กระรอก หรือ กบ, เขียด มากกว่ากินผลไม้หรือลูกไม้ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชียอาคเนย์ทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และเกาะต่าง ๆ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก พบได้ในประเทศไทย 2 ชน.

ดู ชื่อสามัญและชะมดแผง

ชะนีมงกุฎ

thumb thumb thumb thumb ชะนีมงกุฎ หรือ ชะนีเอี๊ยมดำ (Pileated gibbon) เป็นชะนีชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylobates pileatus เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดย่อยของชะนีมือขาว (H.

ดู ชื่อสามัญและชะนีมงกุฎ

ชะนีคิ้วขาวสกายวอล์คเกอร์

นีคิ้วขาวสกายวอล์คเกอร์ หรือ ชะนีฮูล็อกสกายวอล์คเกอร์ (Skywalker hoolock gibbon) เป็นวานรจำพวกชะนีชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทฮูล็อกหรือชะนีคิ้วขาว เป็นชนิดที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อต้นปี..

ดู ชื่อสามัญและชะนีคิ้วขาวสกายวอล์คเกอร์

พระปรมาภิไธย

ระปรมาภิไธย อาจหมายถึง.

ดู ชื่อสามัญและพระปรมาภิไธย

กบมะเขือเทศมาดากัสการ์

กบมะเขือเทศมาดากัสการ์ หรือ อึ่งมะเขือเทศมาดากัสการ์ (Tomato frog, Madagascar tomato frog) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ในอันดับกบชนิดหนึ่ง ในวงศ์อึ่งอ่าง (Microhylidae) มีผิวหนังเรียบลื่นเป็นมัน สีแดงเข้มเหมือนมะเขือเทศ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีรอยย่นสีดำที่ตาและมีดวงตาสีเขียว ปากแคบ มีสันนูนเป็นรอยย่นขึ้นมาบนปาก ใต้ท้องสีเหลือง ช่องคอเป็นสีดำ ลำตัวอ้วนสั้น ขนาดเมื่อโตเต็มที่ตัวผู้จะมีสีส้มยาวประมาณ 2.5 นิ้ว หนัก 40 กรัม ขณะที่ตัวเมียจะมีสีแดง และมีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาว 4 นิ้ว หนัก 227 กรัม เมื่อยังเป็นวัยอ่อนสีสันจะยังไม่ฉูดฉาดเหมือนตัวเต็มวัย กระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำจืดบนเกาะมาดากัสการ์ ทางแอฟริกาตะวันออก ว่ายน้ำได้ไม่เก่ง แต่กินอาหารไม่เลือก ได้แก่ แมลงขนาดใหญ่, ตัวอ่อนของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่นหนอน, จิ้งหรีด, หนอนผึ้ง ตลอดจนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังทั้งในน้ำและบนบก กบมะเขือเทศมาดากัสการ์มีพิษที่รุนแรงบนผิวหนัง เมื่อตกใจหรือเครียด จะปล่อยสารเคมีสีขาวขุ่นเหมือนกาวเพื่อใช้ในการป้องกันตัว ซึ่งสารนี้สามารถเกาะติดกับลำตัวของศัตรูที่มาคุกคามได้นานถึง 2 วัน แม้แต่ขนาดงูพิษยังไม่อาจจะกินได้ ขยายพันธุ์ในช่วงฤดูฝน ตัวผู้จะส่งเสียงเรียกตัวเมีย ภายหลังการผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะนำไข่ซึ่งมีทั้งสีขาวและสีดำ ประมาณ 1,000-1,500 ฟอง ปล่อยลงสู่ผิวน้ำ ไข่จะฟักเป็นลูกอ๊อดในเวลา 2 วัน ใช้เวลาพัฒนาเหมือนตัวเต็มวัย 1 ปี และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 10 ปี กบมะเขือเทศมาดากัสการ์ นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และมีแสดงตามสวนสัตว์ต่าง ๆ อาทิ เขาดินวน.

ดู ชื่อสามัญและกบมะเขือเทศมาดากัสการ์

กกรังกา

กกรังกา (ชื่อสามัญ: Umbrella plant, Flatsedge) เป็นกกขนาดใหญ่ในสกุล Cyperus มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาดากัสการ์ ถูกนำไปปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับทั่วโลก กกรังกามีชื่อสามัญอื่น ๆ อีกคือ กกต้นกลม, กกขนาก, หญ้าลังดา, กกดอกแดง และ กกราชินี พบกระจายอยู่ทั่วโลก มีประมาณ 4,000 ชนิด ชอบที่ชื้นแฉะ ขึ้นในที่ระดับต่ำ ตามหนอง บึง ทางระบาย มีรูปร่างลักษณะและนิเวศวิทยาเหมือนหญ้ามาก.

ดู ชื่อสามัญและกกรังกา

กกดอกขาว

กกดอกขาว(ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperus brevifolius (Rottb.) Hassk.ชื่อสามัญ: คือ Green Kyllinga) เป็นพืชจำพวกหญ้าเป็นกกที่มีอายุยืนหลายปี มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome) เลื้อยทอดขนานไปกับดิน ชูส่วนที่เป็นยอดและช่อดอก สูง 15-20 เซนติเมตร มีกาบหุ้มลำต้นสีน้ำตาลอมแดง ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ระบบรากเป็นระบบรากฝอยออกตามข้อของลำต้นใต้ดิน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกจากส่วนโคนของลำต้น ใบมีรูปร่างเรียว ยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ขอบใบเรียว มีปลายใบที่แหลม ฐานใบมีสีน้ำตาลแดงแผ่ห่อหุ้มลำต้น ดอกออกเป็นช่อแบบเฮด (head) มีดอกย่อยเป็นจำนวนมากอัดแน่นอยู่ที่ปลายยอดของลำต้น ส่วนของลำต้นที่ชูช่อดอกจะมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมที่ฐานของช่อดอกมีแผ่นรองดอกสีเขียวคล้ายใบ (bracts) จำนวน 3 ใบ เป็นใบยาว 1 ใบ และใบสั้น 2 ใบ ในช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อย 2 ดอก คือดอกด้านล่างจะมีกาบ (glume) สีเขียวใส พับงอเข้าหากัน ปลายแหลม ดอกด้านบนจะมีกาบยาวกว่าด้านล่าง มีเกสรตัวผู้ 3 อัน อับละอองเกสร 2 อัน ส่วนเกสรตัวเมียมีรังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก ปลายยอดเกสรตัวเมียแยกเป็น 2 แฉก ช่อดอกดูเป็นสีเขียวอ่อน เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ ผล เป็นชนิดอะคีน (achene) รูปร่างแบบไข่กลับหัว มีสีน้ำตาล.

ดู ชื่อสามัญและกกดอกขาว

กวาง

กวางเรนเดียร์ หรือกวางแคริบู (''Rangifer tarandus'') ซึ่งเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือ กวาง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง) ที่จัดอยู่ในวงศ์ Cervidae มีลักษณะขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา ลักษณะเขาตัน ไม่กลวง เป็นเกลียว บางชนิดอาจแตกแขนงได้มากเหมือนกิ่งไม้ ไม่มีถุงน้ำดี ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน.

ดู ชื่อสามัญและกวาง

กุ้งม้าลาย

กุ้งม้าลาย หรือ กุ้งซีบร้า (Zebra crayfish) เป็นครัสเตเชียนน้ำจืดจำพวกเครย์ฟิชชนิดหนึ่ง เป็นกุ้งที่มีลักษณะเด่น คือ มีจุดเด่นบริเวณปล้องจะมีขีดสีขาวคล้ายม้าลายอันเป็นที่มาของชื่อเรียก และมีลายพาดตามลำตัวสีส้มเหมือนลายเสือ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15–20 เซนติเมตร (6–8 นิ้ว) เป็นกุ้งพื้นเมืองของแถบอีเรียนจายาและปาปัวนิวกินี เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีขนาด 2 นิ้วขึ้นไป โดยตัวเมียจะใช้เวลาฟักไข่จนออกเป็นตัวประมาณ 30 วัน นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์น้ำสวยงามเหมือนเครย์ฟิชชนิดอื่น ๆ โดยในประเทศไทยถือว่าเป็นกุ้งสาย C หรือกุ้งในสกุล Cherax ชนิดแรก ๆ ที่ถูกนำเข้า โดยมากจะนำเข้ามาจากอินโดนีเซีย โดยการเพาะขยายพันธุ์ยังทำได้น้อ.

ดู ชื่อสามัญและกุ้งม้าลาย

ลิงเลซูลา

ลิงเลซูลา (Lesula) ลิงโลกเก่าชนิดหนึ่ง ที่เพิ่งถูกอนุกรมวิธานในปี..

ดู ชื่อสามัญและลิงเลซูลา

ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ

ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ เป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด Euphorbia cyathophora Murr.

ดู ชื่อสามัญและลูกเขยตายแม่ยายทำศพ

ลู่ตูง

ลู่ตูง (Lutung) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับวานร (Primates) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Trachypithecus จัดอยู่ในจำพวกค่าง ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) โดยชื่อสามัญคำว่า "Lutung" มาจากภาษามลายู เนื่องจากมีความแตกต่างจากค่างสกุลที่พบในอนุทวีปอินเดี.

ดู ชื่อสามัญและลู่ตูง

วาฬสเปิร์ม

วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย (Sperm whale) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นวาฬมีฟัน (Odontoceti) ชนิดที่ใหญ่ที่สุด วาฬสเปิร์มมีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหัวใหญ่และยาวมากเกือบร้อยละ 40 ของลำตัว ลำตัวสีเทาดำผิวหนังเป็นรอยย่นตลอดลำตัว ส่วนหน้าผากตั้งฉากตรงขึ้นจากปลายปากบน และเป็นแนวหักลาดไปทางส่วนหลัง ท่อหายใจรูเดียว อยู่ส่วนบนเยื้องไปด้านซ้ายของหัวครีบหลัง มีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาตั้งอยู่ค่อนไปทางท้ายลำตัว และมีสันเป็นลอน ๆ ไปจนเกือบถึงโคนหาง ครีบข้างค่อนข้างเล็กปลายมนเหมือนใบพาย ไม่มีครีบหลัง ขากรรไกรล่างแคบยาวและเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนหัว ฟันเป็นเขี้ยวจำนวน 16-30 คู่ บนขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบนไม่มีฟัน แต่จะมีช่องสำหรับรองรับฟันล่างเวลาหุบปากเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาจพบฟัน 10-16 คู่ ในกระดูกขากรรไกรบนของวาฬที่มีอายุมาก ๆ นอกจากนี้แล้วบริเวณรอบ ๆ ปากจะเป็นสีขาว ซึ่งเชื่อกันว่าในที่ ๆ น้ำลึกสีขาวนี้จะเรืองแสงในความมืด ใช้เป็นเครื่องล่อเหยื่อต่าง ๆ ของวาฬสเปิร์ม มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 15-20 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 3.5-4.5 เมตร แม่วาฬใช้เวลาตั้งท้องนาน 16-17 เดือน ลูกจะอาศัยอยู่กับแม่เป็นเวลาประมาณ 13 เดือนจึงแยกออกหากินอิสระ ขนาดโตเต็มที่ยาว 12-18 เมตร น้ำหนักมากถึง 28 ตัน วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และเป็นวาฬชนิดที่ดำน้ำได้ลึกที่สุด มีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 1,000 เมตร โดยใช้เวลาประมาณ 40 นาที มีรายงานจากการติดตามวาฬที่ติดเครื่องหมายด้วยระบบโซน่า พบว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 2,800-3,000 เมตร โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง จากการสูดหายใจเพียงครั้งเดียวที่ผิวน้ำที่มีแรงกดดันเท่ากับที่มนุษย์หายใจ ซึ่งในระดับความลึกกว่า 1,000 เมตร แรงกดของอากาศมากกว่าที่ผิวน้ำ 100 เท่า บีบอัดปอดของวาฬให้เหลือเพียงร้อยละ 1 ของปริมาตรทั้งหมด แต่ขณะที่ยังเป็นวาฬวัยอ่อนอยู่ จะยังไม่สามารถดำน้ำลึกได้เหมือนตัวที่โตเต็มวัย นอกจากนี้แล้ววาฬสเปิร์มยังเป็นวาฬชนิดที่ชอบกินหมึกเป็นอาหารมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีความยาวได้ถึง 14 เมตร ในระดับความลึกระดับ 1,000 เมตร หรือหมึกกล้วยยักษ์ (Architeuthis dux) ที่มีขนาดรองลงมา โดยอาจยาวได้ถึง 12 เมตร โดยมีการพบซากจะงอยปากของหมึกในกระเพาะของวาฬสเปิร์ม ซึ่งวาฬบางตัวจะมีผิวหนังที่เป็นรอยแผลจากปุ่มดูดของหนวดหมึกปรากฏอยู่ รอยแผลเป็นบนผิวหนังวาฬสเปิร์มจากปุ่มดูดของหมึกมหึมา วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่พบได้ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบรายงานเพียง 3 จังหวัด คือ พังงา, ภูเก็ต และสตูล และถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย วาฬสเปิร์ม นับเป็นวาฬอีกชนิดหนึ่งที่ถูกล่าจากมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยการนำเขี้ยวและฟันมาเป็นทำเครื่องประดับ ไขมันในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื้อสำหรับรับประทาน นอกจากนี้แล้วอาเจียนหรือมูลของวาฬสเปิร์มยังมีลักษณะแข็งเหมือนอำพัน และมีกลิ่นหอมเป็นลักษณะพิเศษ เป็นของหายาก ราคาแพง ใช้เป็นส่วนสำคัญในการผลิตหัวน้ำหอมและยาไทยได้ด้วย เรียกว่า "อำพันขี้ปลา" หรือ "อำพันทะเล" หรือ "ขี้ปลาวาฬ" และที่ส่วนหัวยังมีสารพิเศษคล้ายไขมันหรือขี้ผึ้ง เรียกว่า "ไขปลาวาฬ" ซึ่งใช้ในการผลิตโลชั่น และเวชภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ซึ่งวาฬสเปิร์มได้ถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือ "โมบิดิก" ของเฮอร์มัน เมลวิลล์ ในปี ค.ศ.

ดู ชื่อสามัญและวาฬสเปิร์ม

วงศ์ชะมดและอีเห็น

มดและอีเห็น เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ชะมดและอีเห็น

วงศ์ย่อยแมว

วงศ์ย่อยแมว หรือ วงศ์ย่อยเสือเล็ก (Cats) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์แมว (Felidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Felinae ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์ย่อยนี้ คือ เป็นเสือขนาดเล็กหรือชื่อสามัญนิยมเรียกว่า "แมว" มีลักษณะเด่น คือ ตีนมีซองหุ้มเล็บ แต่กระดูกกล่องเสียงไม่มีแถบเส้นเสียง จึงคำรามไม่ได้ จึงร้องได้แต่เป็นเสียงธรรมดา โดยขนาดใหญ่ที่สุด คือ เสือชีตาห์ ที่พบในทวีปแอฟริกา (บางข้อมูลก็จัดให้แยกเป็นวงศ์ย่อยออกไป) และสิงโตภูเขา ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ สัตว์ในวงศ์ย่อยนี้ที่เก่าที่สุดที่มีการบันทึกไว้ได้ คือ Felis attica ที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคไมโอซีนยุคสุดท้าย (9 ล้านปีก่อน) ในแถบยูเรเชียตะวันตก เป็นวงศ์ย่อยที่แยกออกมาจากวงศ์ Pantherinae หรือเสือใหญ่ หรือเสือที่คำรามได้ เมื่อ 11.5 ล้านปีก่อน กระโดดขึ้น ↑.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ย่อยแมว

วงศ์ปลากะรัง

วงศ์ปลากะรัง หรือ วงศ์ปลาเก๋า (Groupers, Sea basses) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง จัดเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ (ดูในเนื้อหา) พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Serranidae เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัว และครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะโปร่งใส มีเกล็ดขนาดเล็กเป็นแบบเรียบและแบบสาก ปากกว้าง มีฟันเล็กบนขากรรไกร เพดานปาก มีฟันเขี้ยวด้านหน้า ครีบท้องมีตำแหน่งอยู่ใต้หรืออยู่หน้าหรืออยู่หลังครีบอก มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 หรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม คือ ปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในวงศ์นี้ ในบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย เช่น ปลากะรังจุดน้ำตาล (E.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลากะรัง

วงศ์ปลากด

วงศ์ปลากด (Naked catfishes, Bagrid catfishes) เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Bagridae (/บา-กริ-ดี้/) มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบนขากรรไกรและเพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น มีการกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำจืดไปจนถึงน้ำกร่อยตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงหมู่เกาะซุนดา พบประมาณ 200 ชนิด สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย โดยพบมากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง, ปลา, กุ้ง, ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญในภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลากด" ในปลาขนาดใหญ่ และ "ปลาแขยง" (ปลาลูกแหยง ในภาษาใต้) หรือ "ปลามังกง" ในปลาขนาดเล็ก โดยมีสกุลที่ใหญ่ที่สุดคือสกุล Rita ที่พบได้ในประเทศอินเดียและแม่น้ำสาละวินที่เมื่อโตเต็มที่อาจใหญ่ได้ถึง 2 เมตร.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลากด

วงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง

วงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อว่า Gyrinocheilidae เป็นวงศ์ปลาที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นปลาที่มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ไม่มีฟันในลำคอ ไม่มีหนวด ครีบอกและครีบท้องอยู่ในแนวเดียวกับสันท้อง และมีลักษณะสำคัญ คือมีช่องเล็ก ๆ อยู่ด้านบนสุดของช่องเหงือก ริมฝีปาก มีลักษณะเป็นแผ่นดูดรูปกลมใช้ดูดกินตะไคร่น้ำตามพื้นหิน และ ทราย แล้วหายใจโดยใช้น้ำผ่านเข้าช่องเปิดด้านบนฝาปิดเหงือก แล้วออกมาทางด้านข้าง แทนที่จะใช้ปากสูบน้ำเข้าอย่างปลาทั่ว ๆ ไป และมีถุงลมขนาดเล็ก เดิมที นักมีนวิทยาได้เคยจัดปลาในวงศ์นี้ให้อยู่วงศ์เดียวกันกับวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มาก่อน ปลาที่พบในวงศ์นี้มีด้วยกันทั้งหมด 3 ชนิด และมีเพียงสกุลเดียว สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilus aymonieri) และ ปลามูด (G.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง

วงศ์ปลาสลิดทะเล

ระวังสับสนกับ ปลาสลิดหิน ปลาวงศ์อื่น ดูที่ วงศ์ปลากะพงสลิด วงศ์ปลาสลิดทะเล หรือ วงศ์ปลาสลิดหิน (Rabbitfish, Spinefish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siganidae (/ซิ-กะ-นิ-ดี้/) มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวแบบรูปไข่และแบนด้านข้าง หัวมีขนาดเล็ก เกล็ดมีขนาดเล็ก ครีบหางมีทั้งแบบตัดตรงและเว้าลึก ครีบหลังมีหนามแหลมคมและจะกางออก ซึ่งจะมีต่อมพิษที่เงี่ยงของครีบหลัง ครีบก้น และครีบท้อง เพื่อใช้ในการป้องกันตัว เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมีพฤติกรรมการกินแบบแทะเล็มคล้ายกระต่าย อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ มักพบในเขตชายฝั่งตามพื้นท้องทะเล, กองหินหรือแนวปะการัง และในดงหญ้าทะเล เป็นปลาที่สามารถรับประทานได้ แต่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เมื่อมือเปล่าจับ หนามเหล่านี้จะทิ่มตำ.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลาสลิดทะเล

วงศ์ปลาสอด

วงศ์ปลาสอด (Molly) วงศ์ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Poeciliidae อยู่ในอันดับปลาหัวตะกั่ว หรืออันดับปลาออกลูกเป็นตัว (Cyprinodontiformes) มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า "มอลลี่" (Molly) และมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ปลาสอด" ซึ่งเข้าใจว่าคงเพี้ยนมาจากคำว่า "Sword" ที่หมายถึง "ดาบ" อันเป็นลักษณะของปลายหางของปลาในวงศ์นี้บางสกุลที่คล้ายกับวงดาบ มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่สหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก, อเมริกากลาง, จนถึงทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยังพบในบางส่วนของทวีปแอฟริกาทางตอนใต้จนถึงเกาะมาดากัสการ์ด้วย เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมหากินอยู่ตามผิวน้ำ ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะที่แตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน โดยตัวผู้มีรูปร่างเล็กกว่า แต่มีสีสันและครีบต่าง ๆ ยาวกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวโตกว่า ท้องอูมกว่า แต่ครีบและหางสั้นกุดกว่า รวมทั้งสีสันซีดกว่าในบางชนิดด้วย นอกจากนี้ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของปลาวงศ์นี้ คือ เป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว ออกลูกเป็นตัว โดยออกลูกได้ครั้งละ 2-300 ตัว เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม มีหลายชนิดในหลายสกุล เช่น ปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata), ปลาเซลฟิน (P.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลาสอด

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหลังเขียว

วงศ์ปลาหลังเขียว (วงศ์: Clupeidae) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหลังเขียว (Clupeiformes) โดยมากปลาในวงศ์นี้ เป็นปลาทะเล นิยมทำเป็นปลากระป๋อง เช่น ปลาซาร์ดีน (Sardina pilchardus) เป็นต้น แต่ก็มีหลายชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis), ปลาหมากผาง หรือ ปลามงโกรยน้ำจืด (Tenualosa thibaudeaui) เป็นต้น ปลาวงศ์นี้มีลักษณะสำคัญคือ ลำตัวค่อนข้างแบนข้าง ริมฝีปากบนเป็นแผ่นกระดูกบาง ๆ มีฟันซี่เล็กละเอียด หรืออาจไม่มีเลยในบางชนิด มีเกล็ดบางแบบขอบเรียบ ปกคลุมทั่วตัว ครีบมีขนาดเล็กไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางมักเว้าลึก ส่วนมากมักมีเกล็ดที่ด้านท้องเป็นสันคม ลำตัวมักเป็นสีเงินแวววาว และด้านหลังเป็นสีเขียวเรื่อ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาไทย โดยมากกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 5 วงศ์ (ดูในตาราง) ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกปลาในวงศ์นี้รวม ๆ กันว่า ปลาเฮร์ริง, ปลาแชด หรือปลาซาร์ดีน เป็นต้น ขณะที่ในภาษาไทยจะเรียกรวม ๆ กันว่า ปลากุแล, ปลากุแลกล้วย, ปลาอกแล, ปลาหมากผาง, ปลาตะลุมพุก, ปลามงโกรย หรือปลาหลังเขียว เป็นต้น.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลาหลังเขียว

วงศ์ปลาคาราซิน

วงศ์ปลาคาราซิน (Characins, Tetras) หรือ วงศ์ปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่เดิมอยู่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) แต่ว่าปลาในวงศ์นี้เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร หลายสกุล หลายชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Characidae โดยถือเป็นวงศ์หลักของปลาในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ มีหลายร้อยชนิด นิยมอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาที่มีขนาดเล็ก เช่น ปลานีออน (Paracheirodon innesi) มักจะมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ เรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาเตตร้า" เป็นต้น พบกระจายอยู่ทั่วไปทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้ เป็นวงศ์ปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจคือ ใช้บริโภค ซึ่งปลาที่รู้จักกันในแง่นี้ก็คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลาคาราซิน

วงศ์ปลางวงช้าง

วงศ์ปลางวงช้าง (Elephantfish, Freshwater elephantfish, Mormyrid) วงศ์ปลาในชั้นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง อยู่ในอันดับปลาลิ้นกระดูก (Osteoglossiformes) ซึ่งเป็นอันดับร่วมกับปลาตะพัดหรือปลาอะโรวาน่า และปลาอะราไพม่าหรือปลาช่อนอเมซอน รวมทั้งปลากรายด้วย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mormyridae พบเฉพาะในทวีปแอฟริกา มีทั้งหมด 18 สกุล และหลายชนิด จนถึงปัจจุบันพบกว่า 200 ชนิด มีลักษณะสำคัญคือ เป็นปลาที่มีรูปร่างแบนข้างและเพรียวยาว ข้อหางคอดเล็ก ครีบหางเล็กและสั้น ครีบหลังยาวและต่อติดกันเป็นแผง ส่วนหัวกลมมนอย่างเห็นได้ชัด ส่วนมากเล็กและงุ้มลง ในบางสกุลและบางสายพันธุ์ ปากมีลักษณะยื่นยาวออกมาคล้ายงวงช้าง จึงทำให้เป็นที่มาชื่อสามัญ ตามีขนาดเล็ก สีลำตัวมักมีสีดำหรือสีน้ำตาลเทาหรือสีเทา มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตามพื้นท้องน้ำ อาหารได้แก่ ลูกปลาและลูกกุ้งขนาดเล็ก รวมทั้งสิ่งมีชีวิตหน้าดินเล็ก ๆ ขนาดเล็กสุดเพียง 5 เซนติเมตร ใหญ่สุด คือ Mormyrops anguilloides ที่มีขนาด 1.5 เมตร เป็นปลาที่มีความสามารถพิเศษคือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน ๆ ได้ เพื่อช่วยในการนำทาง, หาอาหาร และติดต่อสื่อสารกันเองด้วยนอกจากประสาทสัมผัสที่บริเวณปากที่ยื่นยาวออกมา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาแล้วพบว่า ปลาในวงศ์นี้มีน้ำหนักของสมองเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวแล้วเทียบเท่ากับน้ำหนักสมองของมนุษย์เลยทีเดียว นับได้ว่าเป็นปลาที่มีความเฉลียวฉลาดมากทีเดียว มีความสำคัญ คือ นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามในหลายชนิด และใช้บริโภคเป็นอาหารพื้นเมืองในปลาที่มีขนาดใหญ.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลางวงช้าง

วงศ์ปลาฉลามปากเป็ด

วงศ์ปลาฉลามปากเป็ด (Paddle fish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polyodontidae (มาจากภาษากรีกคำว่า "poly" หมายถึง "มาก" และ "odous" หมายถึง "ฟัน") ในอันดับปลาสเตอร์เจียน (Acipenseriformes) เป็นปลาขนาดใหญ่ ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสตอนปลายจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากแบนยาวคล้ายปากของเป็ด หรือใบพายเรือ เป็นที่มาของชื่อสามัญ ปัจจุบัน เหลือเพียง 2 ชนิด ใน 2 สกุลเท่านั้น พบในสหรัฐอเมริกา และแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน ซึ่งเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วในปัจจุบัน.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลาฉลามปากเป็ด

วงศ์ปลาปากแตร

ำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่ วงศ์ปลาสามรส วงศ์ปลาปากแตร (Cornetfish, Trumpetfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำเค็มวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathiformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aulostomidae (มาจากภาษากรีกคำว่า "Aulos" หมายถึง "แตร" และ "stoma" หมายถึง "ปาก") ลักษณะสำคัญของปลาในวงศ์นี้ คือ ปากที่ยาวยื่นออกและโป่งออกบริเวณปลายปากเล็กน้อย คล้ายลักษณะของแตรหรือท่อ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ปลายขากรรไกรล่างมีติ่งเนื้อคล้ายหนวด ครีบหลังมี 2 ตอนตอนหน้าเป็นก้านครีบแข็ง 8-12 ชิ้น เก็บอยู่ใช้สำหรับป้องกันตัวเอง ครีบหลังอันที่ 2 และครีบก้นอยู่ค่อนไปเกือบติดครีบหาง ครีบท้องอยู่กึ่งกลางลำตัว เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้ช้า จึงมักแฝงตัวอยู่กับปลาอื่น ๆ เช่น ปลานกขุนทอง, ปลานกแก้วหรือปลาแพะ เพื่อหาโอกาสเข้าใกล้อาหาร ได้แก่ กุ้งและลูกปลา ปลาวัยอ่อนที่ป้องกันตัวเองไม่ได้ จะพรางตัวอยู่ตามแส้ทะเลหรือกัลปังหา มักพบพฤติกรรมนี้ในยามค่ำคืน วงศ์ปลาปากแตร มีเพียงสกุลเดียว คือ Aulostomus พบเพียง 3 ชนิดเท่านั้น พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรแอตแลนติก.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลาปากแตร

วงศ์ปลาแป้นแก้ว

ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้น วงศ์ปลาแป้นแก้ว (วงศ์: Ambassidae อดีตเคยใช้ Chandidae; Asiatic glassfish) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง พบทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล มีลักษณะโดยรวมมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้ามแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวโดยมากเป็นสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงิน เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย มีทั้งหมด 8 สกุล 49 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบในน้ำจืด 5 ชนิด โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis) และชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาแป้นแก้วยักษ์ (P.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์ปลาแป้นแก้ว

วงศ์นกปักษาสวรรค์

นกปักษาสวรรค์ หรือ นกการเวก หรือ นกวายุภักษ์ (Bird-of-paradise) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Paradisaeidae เป็นนกที่มีสีสันสวยงามมาก โดยเฉพาะในตัวผู้จะมีขนตามตัวสีสันฉูดฉาดสวยงาม ขนหางเหยียดยาวเป็นเส้นโค้งอ่อนช้อย หรือม้วนเป็นรูปร่างแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิด จุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดตัวเมียที่มีความงามด้อยกว่า หรือบางกรณีก็เกิดพึงพอใจในตัวเมียต่างชนิดให้เข้ามาผสมพันธุ์ด้วย ขณะที่ตัวผู้บางชนิดจะเต้นไปบนพื้นดินเพื่อเกี้ยวพาราสีตัวเมีย นกปักษาสวรรค์กินลูกไม้ หรือแมลงบริเวณแหล่งอาศัยเป็นอาหาร นกปักษาสวรรค์ไม่ได้เป็นนกที่อยู่รวมกันเป็นฝูง หากแต่มักจะอยู่ตามลำพังตัวเดียว แต่ตัวผู้ทุกชนิดจะสนใจแต่เรื่องหาคู่ โดยจะเกี้ยวพาราสีตัวเมียเสมอ ๆ ตัวผู้จะมีพฤติกรรมผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวเดิมตลอดช่วงของการเกี้ยวพาราสี หรือจะผสมพันธุ์ฺกับตัวเมียหลายตัว หรืออาจจะเป็นตัวเมียตัวเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกในช่วงเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ขณะที่ตัวเมียจะไม่มีปัญหา เนื่องจากตัวเมียจะเป็นฝ่ายที่เลือกตัวผู้จากลีลาการเต้นเกี้ยวพาราสี โดยจะใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันเพื่อมองเฟ้นหาตัวผู้ที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นการคัดเลือกทางเพศที่มีมาตั้งแต่อดีต อีกทั้งยังมีการผสมข้ามสายพันธุ์จนได้เป็นนกพันทางอีกด้วย นกปักษาสวรรค์ กระจายพันธุ์อยู่ในป่าดิบชื้นของนิวกินี, หมู่เกาะโมลุกกะในอินโดนีเซีย และบางส่วนของออสเตรเลีย แบ่งออกได้เป็น 14 สกุล ประมาณ 40 ชนิด โดยกว่าครึ่งอยู่ในนิวกินี (บางข้อมูลจัดให้มี 15 สกุล) การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่านกปักษาสวรรค์มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองมานานกว่า 24 ล้านปี จนมีความหลากหลายและความงามอย่างในปัจจุบัน วิวัฒนาการดังกล่าวเป็นการเดินทางทางชีววิทยาอันยาวนานกว่าจะแยกออกจากนกในวงศ์ใกล้เคียงกันที่สุด คือ อีกา (Corvidae) ซึ่งเป็นนกที่รู้จักเป็นอย่างดีว่าไม่สวย ในอดีต ขนของนกปักษาสวรรค์ถือเป็นเครื่องบรรณาการหรือสินค้ามีค่ามานานกว่า 2,000 ปี ขนนกใช้แทนเงินได้ การล่าจึงเกิดขึ้นอาจนับตั้งแต่การเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในถิ่นที่อยู่ของนกในวงศ์นี้ และได้กลายมาเป็นที่ต้องการของนักสะสมชาวยุโรป ภายหลังนกปักษาสวรรค์ตัวแรกเดินทางจากดินแดนหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกไปพร้อมกับกองเรือของเฟอร์ดินันท์ แมกเจลเลน และเทียบท่าสเปนเมื่อปี ค.ศ.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์นกปักษาสวรรค์

วงศ์เต่าสแนปปิ้ง

วงศ์เต่าสแนปปิ้ง (Snapping turtle) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าขนาดใหญ่ วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelydridae ลักษณะสำคัญของเต่าในวงศ์นี้ คือ เป็นเต่าน้ำจืดขนาดใหญ่ มีส่วนหัวและขาที่ใหญ่จนไม่สามารถหดเข้าในกระดองได้ กระดองหลังแบนและกว้าง ส่วนกระท้องท้องเล็กมาก ก้านกระดูกไปเชื่อมต่อกับขอบกระดองหลังตรึงแน่น ด้านท้ายของกะโหลกเว้ามาก หางยาว จึงเป็นเต่าที่ว่ายน้ำไม่ได้ดีนัก จึงใช้การเคลื่อนไหวด้วยการเดินใต้น้ำแทน การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปบนก้านกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล ขอบนอกของกระดองหลังมีร่องที่แบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะยืดหยุ่นได้ ซึ่งเต่าในวงศ์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับเต่าในวงศ์ Platysternidae หรือ เต่าปูลู ที่พบในทวีปเอเชีย ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก ซึ่งในบางข้อมูลได้จัดรวมทั้ง 2 วงศ์นี้ให้อยู่ด้วยกัน แต่เป็นวงศ์ย่อยของกันและกัน เต่าสแนปปิ้ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล (ดูในตาราง) เป็นเต่าที่อาศัยและหากินในน้ำเป็นหลัก ด้วยวิธีการฉกเหยื่อด้วยกรามที่ทรงพลังด้วยความรุนแรงและรวดเร็ว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ ถือเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะได้ปรากฏขึ้นมาเป็นโลกเป็นเวลานานถึง 90 ล้านปีแล้ว และเหลือสมาชิกที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่แค่ไม่กี่ชนิดเท่านั้น.

ดู ชื่อสามัญและวงศ์เต่าสแนปปิ้ง

สกุลปลาวัวปิกัสโซ

กุลปลาวัวปิกัสโซ (Picasso triggerfish) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งน้ำเค็มสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) อันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ใช้ชื่อสกุลว่า Rhinecanthus (มาจากภาษากรีก rhinos หมายถึง "จมูก" และ akantha หมายถึง "หนาม" หรือ"เงี่ยง") มีชื่อสามัญเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาวัวปิกัสโซ" ขณะที่ในภาษาฮาวายจะเรียกปลาวัวสกุลนี้ว่า Humuhumu (ฮูมูฮูมู) หมายถึง "ปลาวัวที่มีหน้าคล้ายหมู" อันเนื่องจากมีส่วนหน้าที่ยื่นยาวออกมาเหมือนหมู ปากมีขนาดเล็ก ฟันแหลมคม และตามลำตัวมีลวดลายและสีสันต่าง ๆ สวยงาม ทั้ง สีดำ, สีฟ้า, สีเหลือง บนพื้นลำตัวสีขาวหรือสีส้ม มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 25-30 เซนติเมตร กระจายพันธุ์อยู่ในแนวปะการัง ของแถบอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ฮาวาย จนถึงอินโดนีเซีย จัดเป็นปลาวัวที่ไม่ดุร้ายมากนักเมื่อเทียบกับสกุลอื่น ๆ ประกอบกับสีสันที่สวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ก็สามารถกัดให้ได้รับบาดเจ็บเหมือนกัน.

ดู ชื่อสามัญและสกุลปลาวัวปิกัสโซ

สกุลปลาแพะ

กุลปลาแพะ (Corydorases, Corie, Cory) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาแพะ (Callichthyidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Corydoras (/คอ-รี่-ดอ-เรส/) เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 5-9 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ เวเนซุเอลา, เปรู, บราซิล, เอกวาดอร์, ตรินิแดดและโตเบโก ไปตลอดจนแนวเทือกเขาแอนดีส มีจำนวนสมาชิกไม่แน่นอน เนื่องจากค้นพบชนิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี แต่ ณ ปัจจุบัน มีมากกว่า 100 ชนิดแล้ว นับว่าเป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์นี้ นับเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม หลายชนิดสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ ทั้งง่ายและยาก เป็นปลาที่หากินอยู่กับหน้าดิน และอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารได้แก่ ไส้เดือนน้ำ และหนอนแดง อยู่ในน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ไม่เกิน 7 โดยชนิดที่นิยมเลี้ยง เช่น ปลาแพะเขียว (C.

ดู ชื่อสามัญและสกุลปลาแพะ

สิงโตแหลมกู๊ดโฮป

งโตแหลมกู๊ดโฮป (Cape lion) เป็นสิงโตชนิดย่อยชนิดหนึ่ง ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เช่นเดียวกับสิงโตบาร์บารี (P.

ดู ชื่อสามัญและสิงโตแหลมกู๊ดโฮป

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ดู ชื่อสามัญและสิ่งมีชีวิต

หมาจิ้งจอก

หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจอก (fox, jackal; อีสาน: หมาจอก) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

ดู ชื่อสามัญและหมาจิ้งจอก

หอย

หอยเบี้ย (''Monetaria moneta'') ที่มนุษย์ในสมัยก่อนใช้แทนเงินตรา หอย เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ มีจุดเด่น คือ มีเปลือกที่เป็นแคลเซียมแข็ง ใช้ห่อหุ้มลำตัว โดยปกติแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 หรือ 3 จำพวกใหญ่ ๆ คือ.

ดู ชื่อสามัญและหอย

หอยสังข์

หอยสังข์ยักษ์ออสเตรเลีย (''Syrinx aruanus'') ซึ่งเป็นหอยกาบเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกhttp://www.qm.qld.gov.au/Find+out+about/Animals+of+Queensland/Molluscs/Gastropods/Marine+snails/Syrinx+-+Worlds+largest+snail ''Syrinx'' - the world's largest snail en หอยสังข์ หรือ สังข์ หรือ สังข (Conch; શંખ) เป็นชื่อสามัญของหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดหลายสกุล (โดยมากหมายถึงสกุล Strombus) ในหลายวงศ์ เช่น สังข์รดน้ำ (Turbinella pyrum) เปลือกสีขาว รูปทรงงดงาม ใช้สำหรับหลั่งน้ำพระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์, สังข์แตร (Charonia tritonis) เปลือกมีลาย ใช้เป่าในงานพิธีของชาวเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีลักษณนามว่า ขอน เช่น สังข์ 2 ขอน เป็นต้น.

ดู ชื่อสามัญและหอยสังข์

หอยสังข์หนามเล็ก

หอยสังข์หนามเล็ก (ชื่อสามัญ:Murex trapa) เป็นสปีชีส์หนึ่งในหอยทากทะเลอยู่ในไฟลัมมอลลัสกาในวงศ์หอยหนามBouchet, P. (2015).

ดู ชื่อสามัญและหอยสังข์หนามเล็ก

หอยงวงช้างกระดาษ

หอยงวงช้างกระดาษ (Paper nautilus, Argonaut) เป็นมอลลัสคาประเภทหมึก จำพวกหมึกสายสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Argonauta แม้จะได้ชื่อว่าเป็นหอยงวงช้าง แต่ก็มิได้ถูกจัดให้อยู่ในจำพวกหอยงวงช้าง แต่ถูกจัดให้เป็นหมึก.

ดู ชื่อสามัญและหอยงวงช้างกระดาษ

หนอนนก

หนอนนก (Mealworm) เป็นชื่อสามัญที่เรียกสำหรับหนอนของแมลงปีกแข็งชนิด Tenebrio molitor ปัจจุบันนิยมเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยมีความสำคัญใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงสวยงาม เช่น ปลาสวยงาม, นกสวยงาม, สัตว์เลื้อยคลาน รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กบางชนิด เช่น แฮมสเตอร์ หรือ กระรอก รูปร่างของหนอนนก เป็นหนอนที่มีเปลือก มีลำตัวยาวเรียวทรงกระบอกสีน้ำตาลอมเขียว เมื่อโตเต็มที่มีความกว้างลำตัว 0.28-3.2 มิลลิเมตร ยาว 29-35 มิลลิเมตร น้ำหนัก 0.2-0.24 กรัม มีอายุประมาณ 55-75 วัน ก่อนจะเข้าสู่ภาวะดักแด้ ซึ่งจะมีอายุในวงจรนี้ราว 5-7 วัน จากนั้นจะลอกคราบเป็นตัวโตเต็มวัย ซึ่งจะเป็นแมลงปีกแข็งลำตัวสีน้ำตาลอมดำ ซึ่งจัดเป็นแมลงศัตรูพืช มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรปในที่ ๆ ที่มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ซึ่งตัวเต็มวัยจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 3-6 เดือน ตัวเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ 1-2 ฟอง/วัน หรือ 80-85 ฟอง/ตลอดวงจรชีวิต คุณค่าของหนอนนก คือ เป็นอาหารที่มีทั้งโปรตีนและไขมันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะไขมัน ในปลาสวยงามบางชนิด เช่น ปลาอะโรวาน่า หากให้หนอนนกในปริมาณที่มาก ปลาจะติดใจในบางตัวอาจจะไม่ยอมกินอาหารชนิดอื่นเลยก็เป็นได้ และจะสะสมไขมันในตัวซึ่งจะนำมาซึ่งอาการตาตก นอกจากนี้แล้ว ในบางพื้นที่ ยังมีผู้รับประทานหนอนนกเป็นอาหารอีกด้วย ด้วยการทอดเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่น ๆ ที่รับประทานได้ ปัจจุบัน ได้มีผู้เพาะเลี้ยงหนอนนกเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยโรงเรือนที่เพาะต้องเป็นสถานที่ ๆ โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่สำคัญคือ ต้องไม่ชื้น หากชื้นหนอนนกจะตายด้วยเชื้อราและไม่มีศัตรูตามธรรมชาติมารบกวน เช่น จิ้งจก, ตุ๊กแก หรือ มด ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ เมื่อซื้อหนอนนกไปแล้ว จะนิยมเก็บด้วยการเทใส่ถาดหรือถังพลาสติกที่มีความสูงพอสมควรที่หนอนนกไม่สามารถปีนออกมาได้ ปิดฝาด้วยภาชนะแบบตะแกรง อาหารที่ให้สามารถให้ได้หลากหลาย ทั้ง ผักชนิดต่าง ๆ อาหารปลาเม็ด หรือ รำข้าว และต้องมีตะแกรงรองพื้น เพื่อช่วยในการร่อนมูลและเปลือกของหนอนนกที่ถ่ายออกมาด้วย นิยมขายปลีกกันที่ขีดละ 40-80 บาท กิโลกรัมละ 300-500 บาท.

ดู ชื่อสามัญและหนอนนก

อันดับฐานปูไม่แท้จริง

อันดับฐานปูไม่แท้จริง หรือ อันดับฐานปูไม่แท้ (False crab; อันดับฐาน: Anomura) เป็นอับดับฐานของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหนึ่ง ในไฟลัมย่อยครัสเตเชียน ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anomura มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปู หรือ Brachyura จนหลายชนิดมีชื่อสามัญเรียกนำหน้าว่า ปู แต่ความจริงแล้ว สัตว์กลุ่มนี้ยังมีลักษณะที่แตกต่างไปจากปูแท้จริง อีกหลายประการ ได้แก.

ดู ชื่อสามัญและอันดับฐานปูไม่แท้จริง

อันดับวานร

อันดับวานร หรือ อันดับไพรเมต (Primate) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันได้แก่ สัตว์จำพวกลีเมอร์, ลิง และลิงไม่มีหาง ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย มีชื่อสามัญเรียกกันโดยทั่วไปว่า ไพรเมต จึงกล่าวได้ว่าสามารถพบไพรเมตได้ทั่วโลก โดยไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกา, ตอนล่างของทวีปเอเชีย, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่จะพบไพรเมตอยู่เพียงไม่กี่ชนิดในแถบตอนเหนือของทวีปเอเชีย จนถึงตอนเหนือของญี่ปุ่น หรือตอนเหนือของอเมริกา และเม็กซิโก โดยที่ไม่พบในทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Primates.

ดู ชื่อสามัญและอันดับวานร

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ดู ชื่อสามัญและอันดับปลาหนัง

อันดับปลาคาราซิน

อันดับปลาคาราซิน (Characins) หรือ อันดับปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นอันดับปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่พบในทวีปอเมริกาเหนือจรดถึงทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา โดยใช้ชื่ออันดับว่า Characiformes สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายวงศ์ โดยมี วงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) เป็นวงศ์หลักที่มีจำนวนสมาชิกมาก หลายชนิดเป็นปลาที่รู้จักดี เช่น ปลาปิรันย่า, ปลาเปคู หรือ ปลาขนาดเล็ก ที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลานีออน เป็นต้น ซึ่งปลาในขนาดเล็กในอันดับนี้มักถูกเรียกชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "เตตร้า" (Tetra) จุดเด่นของปลาในอันดับนี้ คือ มีครีบไขมัน ซึ่งเป็นครีบขนาดเล็กที่เป็นร่องรอยเหลือจากวิวัฒนาการในอดีตหลงเหลืออยู่ ที่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว ปรากฏอยู่ระหว่างครีบหลังก่อนถึงต้นครีบหาง วงศ์ในอันดับปลาคาราซินมีตามนี้.

ดู ชื่อสามัญและอันดับปลาคาราซิน

อาย-อาย

อาย-อาย (Aye-aye) เป็นไพรเมตชนิดหนึ่ง จำพวกลีเมอร์ โดยที่อาย-อาย เป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Daubentonia และวงศ์ Daubentoniidae (มีอยู่ชนิดหนึ่ง คือ อาย-อายยักษ์ ที่มีความยาวกว่า 2.5 เมตร แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 2,000 ปีก่อน และมีน้ำหนักมากกว่า อาย-อาย หลายเท่า).

ดู ชื่อสามัญและอาย-อาย

จักจั่นทะเล

ักจั่นทะเล (Mole crab, Sand crab) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกอาร์โธพอด ในไฟลัมย่อยครัสตาเชียน อันดับฐานปูไม่แท้ โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hippoidea จักจั่นทะเล เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกับจักจั่นที่เป็นแมลง ตัวขนาดเท่าแมลงทับ แต่อาศัยอยู่ในทะเลอันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับ เปลื้อง ณ นคร ได้อธิบายไว้ว่า จักจั่นทะเล ขนาดเท่านิ้วหัวแม่โป้ง มีกระดองแข็งคล้ายปู มีขาทั้งหมด 5 คู่ แต่ส่วนของขาว่ายน้ำไม่ได้ใช้ว่ายน้ำ แต่ใช้ในการพยุงรักษาไข่เหมือนปูมากกว่า ส่วนหัวมีกรี แต่ไม่แข็งเหมือนกุ้ง ไม่มีก้ามหนีบ เป็นสัตว์ที่กินแพลงก์ตอน, สัตว์น้ำขนาดเล็ก และพืชน้ำจำพวกสาหร่ายที่ลอยมากับกระแสน้ำเป็นอาหาร โดยปกติแล้วจะอาศัยอยู่ในพื้นทรายที่ใกล้ชายฝั่งทะเลทั่วโลก เมื่อพบกับศัตรูผู้รุกรานจะมุดตัวลงใต้ทรายอย่างรวดเร็ว โดยโผล่มาแค่ก้านตา จะมีร่องรอยที่มุดลงทรายเป็นรูปตัวยู (U) หรือตัววี (V) มีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการที่ตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมีย ที่เกาะอยู่ใต้ท้องเหมือนกับสัตว์จำพวกอื่นในไฟลัมย่อยครัสตาเชียนเหมือนกัน โดยวางไข่ใต้พื้นทรายลึกลงไปริมชายหาด เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนก็ถูกกระแสคลื่นน้ำพัดพาออกไปใช้ชีวิตเบื้องต้นเหมือนแพลงก์ตอน จากนั้นเมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็ถูกกระแสน้ำพัดกลับเข้าฝั่งเป็นวงจรชีวิต จักจั่นทะเลตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก โดยตัวผู้จะมีขนาดใหญ่ประมาณ 10 มิลลิเมตรเท่านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ ด้วยกัน ได้แก่;Albuneidae Stimpson, 1858.

ดู ชื่อสามัญและจักจั่นทะเล

จิก

ก (Cornbeefwood) เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่ใช้เรียกต้นไม้ในสกุล Barringtonia ในวงศ์ Lecythidaceae มีลักษณะโดยร่วมเป็นไม้ยืนต้น ขึ้นในที่พื้นที่ชุ่มน้ำ ดอกมีสีขาว เกสรเพศผู้สีแดงหรือสีชมพู มักออกเป็นช่อยาวห้อยเป็นระย้า มีทั้งหมด 10 ชนิด ได้แก.

ดู ชื่อสามัญและจิก

จิงโจ้

งโจ้ (Kangaroo) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องในตัวเมียสำหรับแพร่ขยายพันธุ์และเป็นที่อยู่อาศัยของลูกอ่อน นับเป็นสัตว์ในประเภทนี้ที่มีขนาดใหญ่ และเป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย จิงโจ้นั้นจัดออกได้เป็นหลากหลายประเภท ในหลายวงศ์, หลายสกุล แต่ทั้งหมดจัดอยู่ในอันดับ Macropodiformes หรือที่เรียกในชื่อสามัญว่า "แมคโครพอด" (Macropod) ที่หมายถึง "ตีนใหญ่" แต่ทั้งหมดก็มีรูปร่างคล้ายกัน (แต่โดยปกติแล้ว จิงโจ้จะหมายถึงแมคโครพอดที่อยู่ในสกุล Macropus) คือ มีขาหลังที่ยาวแข็งแกร่ง ทรงพลัง ใช้ในการกระโดด และมีส่วนหางที่แข็งแรง ใช้ในการทรงตัว และใช้ในการกร.

ดู ชื่อสามัญและจิงโจ้

จิ้งเหลนด้วง

''Amphisbaena alba'' เป็นจิ้งเหลนด้วงในวงศ์ Amphisbaenidae พบได้ในป่าทึบอเมริกาใต้ จิ้งเหลนด้วง หรือ แมงปากจอบ หรือ ปากจอบ (Worm skink, Legless lizard) เป็นชื่อสามัญของสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ จำพวกจิ้งเหลนหรือกิ้งก่า จิ้งเหลนด้วง มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวเป็นเกล็ดมันวาว ตัวอ้วนกลม มีจุดเด่น คือ ไม่มีขา หรือมีขาแต่ก็เล็กมาก ทำให้แลดูคล้ายงู จึงทำให้ต้องอาศัยและหากินเฉพาะบนพื้นดินเท่านั้น หลายชนิดมักจะฝังตัวหรือหลบซ่อนตัวใต้กองใบไม้หรือในโพรงพื้นดิน หลายชนิดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย เช่น จิ้งเหลนด้วงปักธงชัย (Davewakeum miriamae) ที่พบได้เฉพาะป่าสะแกราชเท่านั้น, จิ้งเหลนด้วงลาย (Isopachys gyldenstolpei) และOphioscincus anguinoides เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จัดอยู่ในวงศ์ Scincidae หรือจิ้งเหลน และวงศ์ที่พบในต่างประเทศ เช่น Amphisbaenidae ที่พบในทวีปอเมริกา เป็นต้นวีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 373-397 (พ.ศ.

ดู ชื่อสามัญและจิ้งเหลนด้วง

ถ้วยทอง

ถ้วยทอง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Solandra grandiflora Sw., ชื่อสามัญ: Showy chalicevine) เป็นไม้เลื้อยที่มีดอกขนาดใหญ่ ใช้เป็นไม้ประดับ เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกา หมวดหมู่:ไม้ดอกไม้ประดับ หมวดหมู่:ไม้เลื้อย หมวดหมู่:วงศ์มะเขือ.

ดู ชื่อสามัญและถ้วยทอง

ทากิฟูงุ

ทากิฟูงุ (Takifugu; トラフグ属.) เป็นชื่อวิทยาศาสตร์เรียกสกุลหนึ่งของปลาปักเป้าในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสามัญภาษาญี่ปุ่นว่า "ฟูงุ" (河豚-แปลว่า หมูแม่น้ำ) เนื่องจากเป็นปลาปักเป้าสกุลที่นิยมนำมาทำซาชิมิหรือปลาดิบ อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อไปทั่วโลก โดยใช้ชื่อสกุลว่า Takifugu.

ดู ชื่อสามัญและทากิฟูงุ

ขลู่

ลู่ (ชื่อสามัญ:Indian Marsh Fleabane ชื่อวิทยาศาสตร์:Pluchea indica (L.) Less.) เป็นพืชที่พบมากในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย จีนและฟิลิปินส์ เป็นต้น ชอบขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะ ขยายพันธุ์โดยการปักชำ เป็นพืชที่ปลูกค่อนข้างง่าย ขึ้นได้ในดินแทบจะทุกชนิด ขลู่มีชื่อพื้นบ้านว่า หนาดวัว หนาดงิ้ว หนวดวัวหรือหนวดงิ้ว(อุดรธานี) ขลู คลู(ภาคใต้) เพี้ยฟาน(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ขี้ป้าน(แม่ฮ่องสอน).

ดู ชื่อสามัญและขลู่

คอมมอนบรัชเทลพอสซัม

อมมอนบรัชเทลพอสซัม (common brushtail possum, silver-gray brushtail possum; -มาจากภาษากรีกแปลว่า "ขนฟู" และภาษาละตินแปลว่า "จิ้งจอกน้อย" เดิมเคยใช้ชื่อสกุลว่า Phalangista) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง จัดว่าเป็นพอสซัมชนิดหนึ่ง มีขนาดลำตัวไล่เลี่ยกับแมวบ้าน มีใบหูชี้แหลมขนาดใหญ่ หน้าแหลม ฟันมีลักษณะคล้ายกับฟันแทะ 4 ซี่ แต่ไม่มีความแหลมคม ขนมีความหนา ฟู และอ่อนนุ่มมาก และมีความหลากหลายของสี ตั้งแต่ สีน้ำตาลทอง, สีน้ำตาล จนถึงสีเทา ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 1.2–4.5 กิโลกรัม ถือได้ว่าใหญ่กว่าตัวเมีย และมีสีเข้มกว่า ตัวเมียมีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน ขาหน้ามีนิ้วที่มีเล็บที่มีความแหลมคมมากใช้สำหรับป่ายปีนต้นไม้ ตลอดจนหยิบจับอาหารเข้าปาก ส่วนเท้าหลัง มีนิ้วโป้งที่ไม่มีเล็บ และแยกออกจากอุ้งเท้าไปอยู่อีกข้าง ส่วนหางมีขนฟูเป็นพวงเหมือนแปรง อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ และมีความแข็งแรงมาก ใช้ในการยึดเกาะต้นไม้.

ดู ชื่อสามัญและคอมมอนบรัชเทลพอสซัม

คางคก

accessdate.

ดู ชื่อสามัญและคางคก

คูโบซัว

ูโบซัว (ชั้น: Cubozoa; Box jellyfish, Sea wasp) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นหนึ่งของไฟลัมไนดาเรีย มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษเรียกโดยรวมว่า "แมงกะพรุนกล่อง" (Box jellyfish) หรือ "แมงกะพรุนสาหร่าย" หรือ "สาโหร่ง" (Sea wasp) เพราะมีพิษที่ร้ายแรงและมีรูปร่างคล้ายลูกบาศก์อันเป็นที่มาของชื่อ คูโบซัว จัดเป็นแมงกะพรุนที่แบ่งออกได้เป็น 2 อันดับใหญ่ ๆ โดยดูที่ลักษณะของหนวดที่มีพิษเป็นสำคัญ ได้แก่ พวกที่มีหนวดพิษเส้นเดี่ยวที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม เช่น แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) กับพวกที่มีหนวดเป็นกลุ่มที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม มุมละ 15 เส้น ซึ่งจะเป็นหนวดที่ยาวมาก อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ได้แก่ Chironex fleckeri มีเข็มพิษประมาณ 5,000,0000,000 เล่มที่หนวดแต่ละเส้น ซึ่งมีพิษร้ายแรงซึมเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกต่อยได้ โดยมากจะพบตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น ออสเตรเลียทางตอนเหนือ, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะฟิลิปปิน, หมู่เกาะฮาวาย ช่วงที่พบได้มากคือ เดือนตุลาคม-เมษายน และหลังช่วงพายุฝนที่จะถูกน้ำทะเลพัดพาเข้ามาจนใกล้ฝั่ง.

ดู ชื่อสามัญและคูโบซัว

ค่าง

ง (อังกฤษ: Langur, Leaf Monkey) ชื่อสามัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร โดยจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Colobinae ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae).

ดู ชื่อสามัญและค่าง

ค้างคาวแวมไพร์

ำหรับแวมไพร์ที่หมายถึง ผีตามความเชื่อของชาวยุโรปยุคกลาง ดูที่: แวมไพร์ ค้างคาวแวมไพร์ หรือ ค้างคาวดูดเลือด (Vampire bat) เป็นค้างคาวกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง มีพฤติกรรมดูดเลือดสัตว์ชนิดอื่นเป็นอาหาร จากพฤติกรรมของทำให้ได้ชื่อว่าเป็นค้างคาวแวมไพร์ หรือค้างคาวดูดเลือด เหมือนแวมไพร์ ในความเชื่อของชาวยุโรปยุคกลาง ค้างคาวแวมไพร์ เป็นค้างคาวขนาดเล็กมีทั้งหมด 3 ชนิด ใน 3 สกุล จัดอยู่ในวงศ์ค้างคาวจมูกใบไม้โลกใหม่ (Phyllostomidae) เป็นค้างคาวที่ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ 26 ล้านปีก่อน โดยมีความสัมพันธ์กับค้างคาวกินแมลง มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ในถ้ำในป่าดิบ ออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะกินแต่เพียงเลือดของสัตว์เลือดอุ่นขนาดใหญ่กว่าเป็นอาหารเท่านั้น (บางชนิดจะกินนกเป็นอาหาร) โดยมีฟันแหลมคมซี่หน้าคู่หนึ่งกัด โดยมากสัตว์ที่ถูกดูดกิน จะเป็นปศุสัตว์ เช่น หมู หรือวัว เป็นต้น ซึ่งสายตาของค้าวคาวแวมไพร์จะมองเห็นเป็นภาพอินฟาเรด จากความร้อนของอุณหภูมิในร่างกายของเหยื่อ ทำให้มองเห็นในเวลากลางคืนได้ดีมาก และเป็นตัวนำไปสู่การเลือกตำแหน่งที่กัด ซึ่งจะเป็นอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น ใบหู, ข้อศอก หรือหัวนม และขณะที่กัด ด้วยความคมของฟันประกอบกับมักจะกัดในเวลาที่เหยื่อนอนหลับ ทำให้เหยื่อไม่รู้ตัว และขณะที่ดูดเลือดอยู่นั้น ค้างคาวจะขับปัสสาวะไปด้วย เนื่องจากจะดูดเลือดในปริมาณที่มาก ทำให้ไม่สามารถบินได้ โดยปริมาณเลือดที่ค้างคาวดูดไปนั้น หากคำนวณว่าดูดเลือดหมูทุกคืน ภายในเวลา 5 เดือน จะมีปริมาณเท่ากับน้ำหนัก 5 แกลลอน ซึ่งเลือดที่ไหลออกมานั้นจะไหลผ่านลิ้นของค้างคาวที่มีร่องพิเศษช่วยให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดฝอยได้โดยง่าย และในน้ำลายค้างคาวจะมีเอนไซม์ทำให้เลือดไม่แข็งตัว ซึ่งค้างคาวแวมไพร์ก็อาจดูดเลือดมนุษย์ได้ด้วยเช่นกันในเวลาหลับ และถึงแม้จะน่ากลัว แต่ค้างคาวแวมไพร์ก็มีความผูกพันกับลูก พ่อและแม่ค้างคาวจะเลี้ยงดูลูกค้างคาวที่ยังบินไม่ได้นานถึง 9 เดือน โดยจะนำเลือดที่ดูดเหลือกลับมาฝาก และฝากไปยังค้างคาวตัวอื่น ๆ ในฝูงที่หากินได้ไม่อิ่มพอด้วย นอกจากนี้แล้ว ค้างคาวแวมไพร์ยังเป็นพาหะนำโรคกลัวน้ำ หรือโรคพิษสุนัขบ้า ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตได้ด้ว.

ดู ชื่อสามัญและค้างคาวแวมไพร์

งูหางกระดิ่ง

งูหางกระดิ่ง (Rattlesnakes) เป็นชื่อสามัญของงูพิษจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae) จัดอยู่ใน 2 สกุล คือ Crotalus และ Sistrurus ในวงศ์ย่อย Crotalinae (Crotalus มาจากภาษากรีก มีความหมายว่า "Castanet" ส่วนคำว่า Sistrurus นั้นเป็นภาษาละตินที่มีความหมายในภาษากรีกว่า "Tail rattler" และมีความหมายตามรากศัพท์เดิมว่า "เครื่องดนตรี") งูหางกระดิ่ง มีลักษณะเด่น คือ เกล็ดที่ปลายหางที่เป็นสารประกอบเคอราติน ที่เป็นอวัยวะที่สามารถทำให้เกิดเสียงได้ โดยเสียงนั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนถี่ ๆ ของปล้องเกล็ดเป็นข้อ ๆ ที่หาง ซึ่งปล้องเกล็ดนี้พัฒนามาจากเกล็ดหางส่วนปลายนั่นเอง ทุกครั้งที่มีการลอกคราบปล้องเกล็ดนี้ก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นด้วย 1 ปล้องต่อการลอกคราบ 1 ครั้ง การลอกคราบนั้นอาจเกิดขึ้นหลายครั้งใน 1 ปี ทั้งนี้ขึ้นกับอาหารที่ได้รับและอัตราการเติบโต สำหรับลูกงูที่เกิดใหม่นั้นจะมีปล้องเกล็ดที่หาง 1 ปล้อง ซึ่งยังไม่สามารถสั่นให้เกิดเสียงได้ แต่เมื่อผ่านการลอกคราบครั้งแรกไปแล้วก็สามารถสั่นให้เกิดเสียงได้ การสั่นให้เกิดเสียงนั้นก็เพื่อเป็นการข่มขู่เมื่อพบศัตรูเข้ามาใกล้นั่นเองหน้า 410, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะิจินดา (พ.ศ.

ดู ชื่อสามัญและงูหางกระดิ่ง

งูหางกระดิ่ง (สกุล)

งูหางกระดิ่ง (Rattlesnakes; Crótalo) เป็นสกุลของงูพิษที่อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae) และวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (Crotalinae) ใช้ชื่อสกุลว่า Crotalus (/โคร-ทา-ลัส/) โดยคำว่า Crotalus นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า krotalon หมายถึง "สั่น" หรือ "Castanet" มีลักษณะเด่น คือ เมื่อลอกคาบแล้ว เกล็ดบางส่วนที่ปลายหางจะไม่ลอกหลุดหมดไป เกล็ดเหล่านี้จะมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ เป็นสารประกอบเคอราติน เรียงตัวต่อเนื่องกันซึ่งเป็นส่วนซึ่งเมื่อสั่นเกล็ดส่วนนี้แล้วจะทำให้เกิดเสียงจากการปล้องแต่ละปล้องนั้นเสียดสีกระทบกัน เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนและข่มขู่สัตว์ที่ใหญ่กว่าที่คุกคาม อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ นอกจากนี้แล้วยังมีหัวมีลักษณะแบน ดูคล้ายรูปสามเหลี่ยม รูม่านตาคล้ายรูม่านตาของแมว คือ เป็นรูปวงรีวางตัวในแนวตั้ง และจะมีความกว้างของหัวเป็นสองเท่าของลำคอ สามารถเห็นแอ่งรับรู้ความร้อนอินฟาเรดระหว่างตา และรูจมูกของแต่ละข้างของหัว ซึ่งเป็นบริเวณที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม ทำให้งูสามารถรู้ตำแหน่งของเหยื่อได้แม้ในความมืด เนื่องจากเป็นงูที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินเหยื่อเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู, กระต่าย หรือแพรรีด็อก เป็นต้น และหากินตามพื้นดินมากกว่าขึ้นต้นไม้ เป็นงูที่ออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่จะฟักในตัวแม่งู ลูกงูจะออกมาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ครั้งละ 5-12 ตัว ลูกงูที่ออกมามีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว (15-20 เซนติเมตร) ลูกงูจะมีปล้องเกล็ดที่หาง 1 ปล้อง สามารถผลิตพิษได้แต่จำนวนน้อย และพิษยังไม่รุนแรงมาก และจะโตเต็มวัยเมื่ออายุได้ 3 ปี สีของลำตัวต่างกันไปตามชนิด และระยะของการลอกคราบ โดยมีสีสันที่หลากหลายได้แก่ สีน้ำตาล, สีเหลือง, สีเทา, สีดำ, สีคล้ายกับฝุ่นชอล์ก และสีเขียวมะกอก เป็นต้น Kardong, K.

ดู ชื่อสามัญและงูหางกระดิ่ง (สกุล)

งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์

งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ หรือ งูไซด์ไวน์เดอร์ (Sidewinder, Sidewinder rattlesnake, Horned rattlesnakeCarr A. 1963. The Reptiles. Life Nature Library. Time-Life Books, New York. LCCCN 63-12781.) เป็นงูพิษขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่แถบทะเลทราย จัดเป็นงูจำพวกงูหางกระดิ่ง อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae) และวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (Crotalinae) จัดเป็นงูหางกระดิ่งชนิดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 1.5-2.5 ฟุต แต่ตัวที่มีความยาวกว่า 30 นิ้ว มักไม่ค่อยพบ มีลักษณะเด่น คือ มีติ่งเล็ก ๆ เหนือตาคล้ายกับเขา ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้ในการปกป้องดวงตา มีเกล็ดตามลำตัวสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเข้ม สำหรับการปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม ที่เป็นทราย งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ มีการเคลื่อนที่ด้วยการเหวี่ยงตัวไปข้าง ๆ ด้วยการควบคุมตัวให้ตกลงสู่พื้นในแนวดิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการลื่นไถล เพื่อทำให้เกิดแรงผลักและทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าขณะเดียวกันลำตัวถูกยกขึ้นสูงจากพื้นวัสดุแล้วตกลงในแนวดิ่ง จึงสามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้ แต่ทิศทางการเลื้อยอาจดูเฉียงไปด้านข้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะรูปแบบการเคลื่อนที่แบบนี้เหมาะมากสำหรับการเคลื่อนที่ของสัตว์ที่ไม่มีขาบนพื้นทราย ที่อ่อนนุ่มแบบนี้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญที่ใช้เรียกด้วย งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ เป็นงูที่ออกหากินในเวลากลางคืน ด้วยการตรวจจับคลื่นอินฟาเรดจากความร้อนของตัวเหยื่อ ซึ่งเหยื่อ โดยมากจะได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู หรือสัตว์ฟันแทะและกิ้งก่าชนิดต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา เช่น รัฐเท็กซัส, ยูทาห์, เนวาดา, อริโซนา, แคลิฟอร์เนีย และตอนเหนือของเม็กซิโก แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย ตามแต่ละถิ่นที่อยู่อาศัย (ดูในตาราง) รอยบนพื้นทราย ที่เป็นงูเหวี่ยงตัวผ่าน เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวได้มากกว่าครั้งละ 18 ตัว.

ดู ชื่อสามัญและงูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์

งูทะเล

งูทะเล เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลื้อยคลานจำพวกงู ที่อาศัยและดำรงชีวิตอยู่ในทะเลตลอดชีวิต ไม่เคยขึ้นมาบนบกเลย ยกเว้นการผสมพันธุ์และวางไข่ในบางชนิด งูทะเลเป็นงูที่อยู่ในวงศ์ย่อย Hydrophiinae และ Laticaudinae งูทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่ในทะเลหรือปากแม่น้ำชายฝั่งหมด ยกเว้น ชนิด Hydrophis semperi และ Laticauda crokeri เท่านั้น ที่พบอาศัยอยู่ในทะเลสาบน้ำจืดในประเทศฟิลิปปิน.

ดู ชื่อสามัญและงูทะเล

ซากูระ

ซากูระ ซากูระ เป็นชื่อสามัญของพืชหลายชนิดจำพวกเชอร์รีในสกุล Prunus อาทิ P. jamasakura, P. serrulata เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้, เกาะไต้หวัน, หมู่เกาะโอกินาวะ และหมู่เกาะญี่ปุ่น มีดอกสีขาว กลีบแต่ละกลีบมีจำนวนแตกต่างกันไปตามชนิด ลักษณะเด่นของซากูระก็คือ เมื่อร่วง จะร่วงพร้อมกันหมด ซากูระจึงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นทหารและวิถีความเป็นบูชิโดของญี่ปุ่น ดอกซากูระมีในเกาหลี, สหรัฐ, แคนาดา, จีน หรือที่อื่น ๆ แต่ไม่มีกลิ่น ขณะที่ในญี่ปุ่นนั้นผู้คนจำนวนมากยกย่องชื่นชมกลิ่นซากูระ และมักจะกล่าวฝากไว้ในบทกวี โดยซากูระจะบานในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิเริ่มอุ่นขึ้นจากฤดูหนาวที่หมดไป คำว่า "ซากูระ" ในภาษาญี่ปุ่นนั้นเชื่อกันว่ากร่อนมาจากคำว่า "ซากูยะ" (咲耶; หมายถึง ผลิบาน) อันเป็นชื่อของเทพธิดา "โคโนฮานาซากูยาฮิเม" (木花之開耶姫) ในเทพปกรณัมของญี่ปุ่น มีศาลบูชาของพระองค์อยู่บนยอดเขาฟูจิด้วย สำหรับพระนามของเทพธิดาองค์ดังกล่าวนั้น มีความหมายว่า "เจ้าหญิงดอกไม้บาน" และเนื่องจากซากูระเป็นดอกไม้ที่นิยมกันมากในญี่ปุ่นสมัยนั้น คำว่าดอกไม้ดังกล่าวจึงหมายถึงดอกซากูระนั่นเอง เทพธิดาองค์ดังกล่าวได้รับพระนามเช่นนั้น ก็เพราะมีเรื่องเล่ามาว่าทรงตกจากสวรรค์มาบนต้นซากูระ ดังนั้น ดอกซากูระจึงถือเป็นตัวแทนของดอกไม้ญี่ปุ่น ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้ดอกเก๊กฮวย (ดอกเบญจมาศ) เป็นดอกไม้ประจำชาต.

ดู ชื่อสามัญและซากูระ

ปลาพีค็อกแบส

ปลาพีค็อกแบส (Peacock bass, Eyetail cichlids) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) โดยชื่อสามัญที่ว่า "Peacock bass" ที่หมายถึง "ปลากะพงนกยูง" นั้นมาจากลักษณะของลวดลายตามลำตัวและโคนครีบหางที่เป็นจุดสีทึบขนาดใหญ่คล้ายกับรำแพนหางของนกยูง โดยเฉพาะโคนครีบหางทั้ง 2 ข้าง ใช้ชื่อสกุลว่า Cichla (/ซิค-คลา/) ซึ่งมาจากภาษากรีก (Kichle) หมายถึง "ปลาทะเลที่มีฟันแหลมและสีสวยแถบทะเลเขตร้อน" มีลักษณะลำตัวทั่วไป มีส่วนหัวขนาดใหญ่ ริมฝีปากหนา ลำตัวยาว พื้นลำตัวเป็นสีเขียวอมส้ม เป็นปลาที่ดวงตาขนาดใหญ่ และสายตาดี มีพละกำลังมากมาย เป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด อาจยาวได้ถึง 30 นิ้ว จัดเป็นปลากินเนื้อน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจำพวกหนึ่งที่พบได้ในทวีปอเมริกาใต้ ขณะที่ยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนอยู่ จะมีสีอ่อนกว่าปลาที่เต็มวัย และมีแถบสีดำขนานกับลำตัวของตั้งแต่แก้มไปจนถึงหาง เมื่อโต แถบดังกล่าวจะหายไป กระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำโอรีโนโก และแม่น้ำอเมซอน เป็นต้น เดิมได้มีการจำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากลวดลายและโครงสร้างของร่างกาย ได้แก.

ดู ชื่อสามัญและปลาพีค็อกแบส

ปลากะพงหน้าลาย

ปลากะพงหน้าลาย (bluespotted snapper, blubberlip snapper, Maori snapper) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแดง (Lutjanidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต ด้านหน้าโค้งลาด ลำตัวกว้าง ครีบอกเรียวโค้ง ครีบหางเว้าตื้น หัวและตัวสีน้ำตาลแดงหรือสีคล้ำ บริเวณส่วนหน้ามีลายเส้นวนสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีจุดประเล็ก ๆ สีเดียวกันทั่วทั้งตัว ในบางตัวมีขอบครีบสีเหลือง มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เพียงลำพังตัวเดียว โดยหากินตามกองหินใต้น้ำเหรือแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกจนถึงตาฮิติ, ทะเลญี่ปุ่น จนถึงตอนใต้ของออสเตรเลีย สำหรับในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย แต่ในฝั่งอ่าวไทยจะพบได้เฉพาะเป็นบางจุดเท่านั้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย นิยมบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐก.

ดู ชื่อสามัญและปลากะพงหน้าลาย

ปลากดกลับหัว

ปลากดกลับหัว หรือ ปลาอัพไซด์ดาวน์แคทฟิช (Upside-down catfish) เป็นชื่อสามัญของปลาหนังน้ำจืดหลายชนิด หลายสกุล ที่มีพฤติกรรมว่ายน้ำกลับหัวในลักษณะตีลังกาได้ ซึ่งได้แก.

ดู ชื่อสามัญและปลากดกลับหัว

ปลาก้างพระร่วง

ปลาก้างพระร่วง (glass catfish, ghost catfish, phantom catfish, Thai glass catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในสกุล Kryptopterus นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค พบได้ทั่วไปในตลาดซื้อขายปลาน้ำจืดสวยงามโดยเป็นปลาส่งออกที่ขึ้นชื่อชนิดหนึ่ง แต่อนุกรมวิธานของปลาชนิดนี้เป็นที่สับสนกันมานานและเพิ่งได้รับการจำแนกอย่างชัดเจนในปี..

ดู ชื่อสามัญและปลาก้างพระร่วง

ปลามังกร

ปลามังกร (Dragonfish) เป็นชื่อสามัญอาจหมายถึงปลาในหลากหลายประเภท เช่น.

ดู ชื่อสามัญและปลามังกร

ปลาสร้อย

ปลาสร้อยน้ำเงิน (''C. caudimaculatus'') ปลาสร้อยขาว (''H. siamensis'') ปลาสร้อยนกเขา (''O. vittatus'') ปลาสร้อย หรือ กระสร้อย เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่ใช้เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) อันดับปลากินพืช (Cypriniformes) ส่วนใหญ่มีลำตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าบนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามความยาวของลำตัว มีพฤติกรรมรวมกันเป็นฝูงในลำน้ำใหญ่ในฤดูนํ้า และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินหรือสืบพันธุ์ในแหล่งน้ำที่ไหลเอ่อหรือท่วมขังในตอนกลางและปลายฤดูน้ำหลาก.

ดู ชื่อสามัญและปลาสร้อย

ปลาสร้อยลูกกล้วย

ปลาสร้อยลูกกล้วย หรือ ปลามะลิเลื้อยสำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้.

ดู ชื่อสามัญและปลาสร้อยลูกกล้วย

ปลาสอดหางดาบเขียว

ปลาสอดหางดาบเขียว (Swordtail fish, Green swordtail) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) มีลำตัวยาวเรียว และหัวแหลม มีลักษณะทั่วไปเหมือนกับปลาวงศ์นี้ คือ มีความแตกต่างระหว่างเพศสูง ตัวผู้มีขนาดเล็กและผอมเพรียวกว่าตัวเมีย แต่มีครีบและสีสันต่าง ๆ สวยงามกว่า มีลักษณะที่เด่น คือ ในตัวผู้มีก้านครีบหางตอนล่างยาวเลยขอบหาง มีลักษณะเรียวแหลมคล้ายดาบ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ที่เป็นชื่อชนิดถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแด่นักพฤกษศาสตร์ เวียนเนียส เฮลเลอร์ มีถิ่นกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำปกคลุมหนาแน่น ในสภาพแหล่งน้ำที่หลากหลาย ในเม็กซิโก, เบลิซ และฮอนดูรัส กินอาหารจำพวกพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมถึงตัวอ่อนของแมลง มีความยาวลำตัวโดยเฉลี่ย 12.5 เซนติเมตร และส่วนปลายหางที่คล้ายดาบมีความยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร ทำให้ตัวผู้มีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตร ขณะที่ตัวเมียมีความยาวประมาณ 16 เซนติเมตร แต่บางตัวอาจมีความยาวแค่ 5-6 เซนติเมตร บวกความยาวของดาบประมาณ 3 เซนติเมตร ทำให้มีบางตัวยาว 8-10 เซนติเมตร ขณะที่สีตามลำตัวมีความหลากหลายมากตามสภาพของแหล่งที่อยู่อาศัย โดยทั่วไปแล้วจะมีสีเขียวและมีแถบตรงกลางลำตัวสีแดงเข้มหรือสีน้ำตาลพาดตามลำตัว และบางทีอาจพบแถบสีเพิ่มอีก 4 แถบ เป็นด้านบน 2 แถบ และด้านล่างแถบกลางลำตัวอีก 2 แถบ ช่วงท้องจะมีสีขาว และที่ครีบหลังจะมีจุดแดง ตัวผู้ที่ขอบครีบหางตอนล่างมีลักษณะคล้ายดาบจะมีสีเหลืองและดำ บางครั้งอาจพบจุดสีดำบนลำตัว เป็นต้น เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์ด้วยฝีมือมนุษย์จนกลายเป็นสีแดงสดทั้งลำตัว จึงได้ชื่อเรียกชื่อหนึ่งว่า "ปลาสอดแดง".

ดู ชื่อสามัญและปลาสอดหางดาบเขียว

ปลาสินสมุทรมัดหมี่

ปลาสินสมุทรมัดหมี่ (Red Sea butterflyfish, Vermiculate angelfish, Vermiculated angelfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มีลักษณะเด่น คือ ส่วนหัวจะมีสีเหลือง และมีลายทางสีดำพาดเป็นแนวตั้งบริเวณตา ส่วนลำตัวช่วงบนมีสีขาวกลางลำตัวมีสีดำแซมขาว และครึ่งหลังมีสีดำ ส่วนหางสีเหลืองลายข้างตัวสีขาว มองดูเป็นเส้นละเอียดบนพื้นดำ ดูคล้ายเส้นหมี่ หรือ เส้นด้าย จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาไทย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 17 เซนติเมตร เดิมเคยจัดให้เป็นชนิดเดียวกับชนิด C.

ดู ชื่อสามัญและปลาสินสมุทรมัดหมี่

ปลาหมอแคระคาเคทอยเดส

ปลาหมอแคระคาเคทอยเดส หรือ ปลาหมอแคระคาเคทอย (Cockatoo cichlid, Cockatoo dwarf cichlid) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอแคระชนิดหนึ่ง ในสกุลอพิสโตแกรมมา มีลักษณะเหมือนกับปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกันนี้ทั่วไป แต่มีลักษณะเด่น คือ มีครีบกระโดงหลังที่ตั้งชูงอนเหมือนนกกระตั้ว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ และมีสีลำตัวและครีบต่าง ๆ เป็นโทนเข้ม เช่น สีส้มหรือสีแดง โดยมีลวดลายบนครีบต่าง ๆ สดเข้มตลอดเวลาไม่ว่าปลาจะอยู่ในอารมณ์หรือสภาพแวดล้อมใด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ ในสาขาของแม่น้ำอเมซอน ที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ มีใบไม้หล่นร่วงมาพื้นท้องน้ำ โดยปลาจะใช้เป็นที่หลบซ่อน โดยน้ำจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำ (ต่ำกว่า 6.5 pH) กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นปลาที่นิยมอย่างมากในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ โดยถือเป็นชนิดที่นิยมเป็นอันดับต้น ๆ ของสกุลนี้ เนื่องจากคุณสมบัติที่ว่า จะมีสีสันสดสวยตลอดรวมทั้งครีบหลังที่ตั้งสูง และนิยมที่จะเพาะขยายพันธุ์กันในตู้เลี้ยง โดยปลาตัวเมียจะวางไข่ไว้กับซอกหลีบหรือเพดานของวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ และเป็นฝ่ายดูแลลูก.

ดู ชื่อสามัญและปลาหมอแคระคาเคทอยเดส

ปลาหมูอารีย์

ปลาหมูอารีย์ ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมู (Botiidae) มีรูปร่างแบนข้าง ลำตัวเรียวยาวเล็กน้อย ลำตัวมีสีเหลืองสด หลังและกลางลำตัวมีแถบสีดำพาด และมีบั้งสีดำพาดลงมาจากสันหลังถึงด้านท้อง ปากค่อนข้างเรียว มีหนวด 3 คู่ ใต้ตามีกระดูกแข็งอยู่ข้างละคู่ซึ่งสามารถพับเก็บได้ ครีบมีแถบสีดำบนพื้นสีจาง ๆ เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยจะพบแค่ 2-3 เซนติเมตรเท่านั้น เป็นปลาที่ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.

ดู ชื่อสามัญและปลาหมูอารีย์

ปลาจิ้งจกสมิธ

ปลาจิ้งจกสมิธ หรือ ปลาผีเสื้อติดหินสมิธ (Smith's hillstream loach) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาค้อ (Balitoridae) เป็นปลาขนาดเล็ก มีส่วนหัวคล้ายจิ้งจก อันเป็นที่มาของชื่อ ครีบอกและครีบท้องแผ่กว้างใช้เกาะก้อนหินเพื่อพยุงตัวให้อยู่ในกระแสน้ำเชี่ยวได้ มีหนวด 3 คู่ คือ ที่จะงอยปาก 2 คู่ และมุมปาก 1 คู่ ลักษณะเด่นเฉพาะตัว คือ จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง และปลายครีบอกยาวเลยจุดเริ่มต้นของครีบท้อง ตามลำตัวมีแถบสีดำพาดขวางประมาณ 6 แถบ ครีบทุกครีบมีลายดำจาง ๆ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในลำธารหรือน้ำตกทั่วประเทศไทย จัดเป็นปลาที่พบได้ง่ายในวงศ์ปลาค้อ กินอาหารจำพวก แมลงน้ำและไรน้ำ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ดู ชื่อสามัญและปลาจิ้งจกสมิธ

ปลาจีน

ปลาเฉา (''Ctenopharyngodon idella'') ปลาจีน เป็นชื่อสามัญของปลาเศรษฐกิจใช้ในการบริโภคกัน 3 ชนิด ซึ่งล้วนแต่เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ทั้งนั้น ซึ่งเป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศจีน ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.

ดู ชื่อสามัญและปลาจีน

ปลาทิลาเพีย

ปลาทิลาเพีย (Tilapia) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดจำนวนมากนับร้อยชนิด จำพวกปลาหมอสี ในเผ่าปลาทิลาเพีย (โดยสกุลที่สำคัญ ได้แก่ Oreochromis, Sarotherodon และ Tilapia) พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปแอฟริกา โดยเป็นปลาที่พบได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ เช่น หนอง, บึง, ทะเลสาบ, แม่น้ำ, เขื่อนกักเก็บน้ำต่าง ๆ มีประโยชน์เป็นปลาเศรษฐกิจสำหรับการบริโภคกันมาอย่างยาวนาน ปลาทิลาเพียปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณด้วยเป็นตัวอักษรไฮเออโรกลีฟ K1 ตามบัญชีสัญลักษณ์ของการ์ดิเนอร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ คำว่า Tilapia เป็นรูปภาษาละตินของคำว่า thiape ในภาษาสวานา แปลว่า "ปลา" และกลายมาเป็นชื่อสกุลทางวิทยาศาสตร์ซึ่งตั้งขึ้นในปี..

ดู ชื่อสามัญและปลาทิลาเพีย

ปลาคิลลี่ฟิช

ปลาคิลลี่ฟิช (Killifish) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดเล็กหลายชนิด ในอันดับ Cyprinodontiformes ซึ่งเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว นับ 1,000 กว่าชนิด ในแทบทุกทวีปทั่วโลก แต่ปลาคิลลี่ฟิชจะเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยปลาคิลลี่ฟิช มีลักษณะโดยทั่วไป จะเป็นปลาขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะในตัวผู้ ในหลากหลายพฤติกรรม ในบางชนิดจะหากินและดำรงชีวิตอยู่บนผิวน้ำ, บางชนิดหากินและดำรงชีวิตอยู่ระดับพื้นน้ำ และบางชนิดจะรวมตัวกันเป็นฝูง และบางชนิดจะว่ายน้ำอย่างกระจัดกระจาย ปลาคิลลี่ฟิช เป็นปลาที่มักพบในแหล่งน้ำต่าง ๆ ตั้งแต่ ต้นน้ำตลอดจนไปถึง คลอง, บึง และแม่น้ำต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำถาวรและแหล่งน้ำชั่วคราวที่เหือดแห้งหายไปได้ตามฤดูกาล แม้กระทั่งแอ่งน้ำในรอยเท้าสัตว์ ซึ่งคำว่า "คิลลี่" (Killi) มาจากภาษาดัตช์คำว่า "kilde" หมายถึง "แหล่งน้ำขนาดเล็ก" โดยมีลักษณะการวางไข่หลากหลายแตกต่างออกไป เช่น วางไข่ทิ้งไว้ในพื้นดินและมีวงจรชีวิตที่สั้น หรือวางไข่ไว้กับใบของไม้น้ำ สำหรับในประเทศไทย มีปลาเพียงชนิดเดียวที่เข้าข่ายปลาคิลลี่ฟิช คือ ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilus panchax) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Aplocheilidae ที่พบได้ทุกแหล่งน้ำทั่วทุกภาค ปลาคิลลี่ฟิช เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมักจะนิยมเลี้ยงรวมเป็นฝูงหรือปะปนกับปลาชนิดอื่น ในตู้ไม้น้ำ และเลี้ยงเพื่อฟักลูกปลาให้ออกจากไข่ที่วางไว้ในดิน ซึ่งสามารถห่อส่งขายทางไปรษณีย์ได้ นับว่าเป็นความสนุกอย่างหนึ่งของผู้เลี้ยง โดยสกุลที่นิยมเลี้ยงได้แก่ Nothobranchius ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา และปลาหัวตะกั่วทองคำ (Aplocheilus lineatus) ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นต้น.

ดู ชื่อสามัญและปลาคิลลี่ฟิช

ปลาฉลามหัวค้อนยาว

ปลาฉลามหัวค้อนยาว (Winghead shark ชื่อวิทยาศาสตร์ Eusphyra blochii) คือสปีชีส์ในกลุ่มปลาฉลามหัวค้อนและเป็นส่วนหนึ่งในวงศ์ปลาฉลามหัวค้อน มีความยาวของลำตัวได้ถึง 1.9 เมตร มีสีน้ำตาลหรือสีดำ มีรูปร่างเพรียวบางและมีครีบหลังในรูปเคียวด้ามยาว ชื่อของฉลามชนิดนี้มาจากลักษณะส่วนหัวรูปค้อนที่มีขนาดใหญ่มากเรียกว่า cephalofoil ซึ่งมีความกว้างได้มากถึงครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว การใช้งานจากโครงสร้างลำตัวเช่นนี้ไม่ปรากฏชัดเจนแต่อาจเกี่ยวกับระบบประสาทสัมผัสของฉลาม ช่องว่างระหว่างตาทั้งสองข้างช่วยให้ฉลามมองด้วยระบบการเห็นภาพจากสองตาได้ดีเยี่ยม ส่วนรูจมูกที่ยาวมากนั้นอาจช่วยให้ฉลามตรวจจับและติดตามกลิ่นในน้ำได้ดียิ่งขึ้น ส่วนหัว cephalofoil ยังมีพื้นสัมผัสที่มีขนาดใหญ่สำหรับรูเปิดที่มีชื่อว่าampullae of Lorenziniและเส้นข้างลำตัวซึ่งส่งผลดีต่อความสามารถในการตรวจจับกระแสไฟฟ้าและการตรวจจับพลังงาน ปลาฉลามหัวค้อนยาวอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งน้ำตื้นของทะเลอินโด-แปซิฟิกตะวันตก โดยออกหาอาหารกลุ่มปลากระดูกแข็ง สัตว์พวกกุ้งกั้งปูและสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ฉลามหัวค้อนยาวออกลูกเป็นตัวโดยตัวอ่อนจะได้รับอาหารผ่านทางสายที่เชื่อมรก ตัวเมียจะตกลูกคราวละ 6-25 ตัว ขึ้นอยู่กับพื้นที่อาศัย ช่วงเวลาตกลูกมักเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนหลังจากระยะเวลาตั้งครรภ์นาน 8-11 เดือน ฉลามที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์นี้ มักจะถูกล่าเพื่อเป็นอาหาร สำหรับเนื้อปลา ครีบ น้ำมันตับปลาและปลาป่น สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติได้ประเมินสถานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากจำนวนของฉลามที่ลดลงเนื่องมาจากการถูกล่าหาประโยชน์ที่มากเกินไป.

ดู ชื่อสามัญและปลาฉลามหัวค้อนยาว

ปลาฉลามเสือดาว

ำหรับปลาฉลามเสือดาวอีกชนิดหนึ่ง ดูที่ ปลาฉลามเสือดาว (''Triakis semifasciata'') ปลาฉลามเสือดาว (Leopard shark, Zebra shark, Leppard shark) ปลาฉลามชนิดหนึ่งที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegostoma fasciatum อยู่ในวงศ์ Stegostomatidae และถือเป็นปลาชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุล Stegostoma ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีครีบหางยาวมาก มีส่วนหัวมนกลมสั้นทู่ พื้นลำตัวสีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสือดาว ยกเว้นส่วนหัวและหาง จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ เมื่อยังเล็กอยู่ ลายบนลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลดำคาดขาวคล้ายลายของม้าลาย บนลำตัวมีสันเป็นเหลี่ยมด้านละสองสัน ผิวหนังหยาบเป็นเม็ด เป็นปลาที่มีไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลามชนิดอื่น ๆ มีอุปนิสัยชอบนอนอยู่นิ่ง ๆ บนพื้นทรายและแนวปะการังใต้ทะเล ในความลึกตั้งแต่ 5-30 เมตร โดยพบในทะเลบริเวณแถบอินโด-แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้เวลาในช่วงกลางวันนอน กลางคืนออกหากิน อาหารได้แก่ สัตว์มีกระดอง และสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เมื่อถูกรบกวนจะว่ายหนีไป โดยใช้อวัยวะคล้ายหนวดที่อยู่รอบ ๆ ปลายส่วนหัวซึ่งเป็นอวัยวะใช้รับสัมผัสในการนำทางและหาอาหาร ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 3 เมตร ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ในเขตน้ำตื้น ลูกปลาขนาดเล็กอาจจะเข้าไปอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำได้ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยย้ายลงสู่ทะเลลึก ดังนั้นลูกปลาขนาดเล็กจึงมักติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมงอยู่บ่อย ๆ ซึ่งในทางประมงแล้ว ปลาฉลามชนิดนี้ไม่จัดว่าเป็นปลาที่ใช้ในการบริโภคแต่อย่างใด นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมักพบเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก.

ดู ชื่อสามัญและปลาฉลามเสือดาว

ปลาซิว

ปลาซิวข้างขวานเล็ก (''Trigonostigma espei'') ปลาซิว (Minnow; ในไอร์แลนด์เรียก Pinkeens) เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิด ในหลายสกุล ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) อันดับปลากินพืช เช่น สกุล Rasbora ที่มีลำตัวยาว ตัวใส, สกุล Danio, สกุล Esomus ที่มีหนวดยาวเห็นชัดเจน, สกุล Laubuca ที่มีรูปร่างอ้วนป้อม โดยมากแล้วเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวไม่เกิน 5 เซนติเมตร หากินบริเวณผิวน้ำ แต่ก็ยังมีหลายสกุล หลายชนิดที่กินเนื้อหรือกินลูกปลาเล็กเป็นอาหาร และมีขนาดลำตัวใหญ่กว่านั้น เช่น ปลาซิวอ้าว (Luciosoma bleekeri) หรือ ปลาสะนาก (Raiamas guttatus) เป็นต้น โดยปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร นอกจากนี้แล้ว ปลาซิว ยังอาจจะเรียกรวมถึงปลาในวงศ์อื่นหรืออันดับอื่นได้อีกด้วยที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายเคียงกัน เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) อันดับปลาหลังเขียว หรือ ปลานีออน (Paracheirodon innesi) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) อันดับปลาคาราซิน เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า "ใจปลาซิว" เพราะปลาซิวโดยมากเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อพ้นจากน้ำ นอกจากนี้แล้วยังมักถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาสร้อยว่า "ปลาซิว ปลาสร้อย" หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็ก พบได้ทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับสำนวนในภาษาอังกฤษด้วย โดยคำว่า "Minnow" นั้นก็มีความหมายว่า สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สำคัญ หรือสิ่งหรือบุคคลที่ถูกมองข้าม เป็นต้น.

ดู ชื่อสามัญและปลาซิว

ปลาซิวหัวตะกั่ว

ำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: ปลาหัวตะกั่ว ปลาซิวหัวตะกั่ว หรือ ปลาท้องพลุ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาท้องพลุหรือปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Laubuka (/ลอ-บู-คา/) จัดเป็นปลาซิวขนาดกลาง มีลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวแบนข้าง สีลำตัวทั่วไปเป็นสีเงินขาว มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนท้องที่ลึกและกว้างเหมือนอ้วนหรือท้องป่อง เมื่อจับขึ้นมาแล้ว ส่วนท้องจะแตกได้ง่าย อีกทั้งมีจุดสีเงินเข้มที่ส่วนหัว แลดูคล้ายปลาหัวตะกั่ว จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีเส้นข้างลำตัวที่สมบูรณ์ มีก้านครีบท้องยื่นยาวลงมาเป็นเส้นเดี่ยว เดิมทีปลาในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela มีพฤติกรรมรวมฝูงเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก โดยมีปากที่เชิดขึ้นด้านบน นอกจากนี้แล้วเมื่อตกใจจะสามารถกระโดดขึ้นขนานไปกับผิวน้ำได้เหมือนปลาขวานบิน ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาคาราซิน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์จนถึงแหลมมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียซึ่งพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ในประเทศไทยจะพบได้ 2 ชน.

ดู ชื่อสามัญและปลาซิวหัวตะกั่ว

ปลาปากขลุ่ย

ปลาปากขลุ่ย หรือ ปลาปากแตรจุดสีฟ้า (Bluespotted cornetfish, Reef cornetfish) ปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสามรส (Fistulariidae) มีรูปร่างเรียวยาว ปากเป็นท่อยาวเหมือนแตรหรือขลุ่ย ปลายครีบหางมีเปียยื่นยาวออกมาเหมือนแส้ ไม่มีก้านครีบแข็งหน้าครีบหลัง ลำตัวด้านหลัง ด้านข้าง และจะงอยปากมีจุดสีฟ้าเรียงกันเป็นแถว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 150 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ได้กว้างไกล ทั้งทะเลแดง, ทะเลญี่ปุ่น, อินโด-แปซิฟิค และน่านน้ำไทยด้านทะเลอันดามัน โดยมีพฤติกรรมมักลอยตัวนิ่ง ๆ อยู่เหนือพื้นทราย หรือแนวปะการังเพื่อหาอาหาร อันได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ โดยรวมกลุ่มกันประมาณ 2-3 ตัว อาจพบได้ในท้องน้ำลึกได้ถึง 123 เมตร ซึ่งอาจจะสังเกตได้ยากเนื่องจากมีสีลำตัวเป็นสีเขียวกลมกลืนไปกับสีของน้ำทะเล จัดว่าเป็นปลาที่พบได้บ่อ.

ดู ชื่อสามัญและปลาปากขลุ่ย

ปลาปิรันยา

ปลาปิรันยา (piranha) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์ Serrasalmidae (หรือในวงศ์ Characidae) โดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Pristobrycon, Pygocentrus, Pygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย รวมกันแล้วประมาณ 40 ชนิดFace Ripper, "River Monsters" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ดู ชื่อสามัญและปลาปิรันยา

ปลานีออน (สกุล)

ปลานีออน หรือ ปลาคาร์ดินัล (Neon tetras, Cardinal tetras) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Paracheirodon (/พา-รา-คี-อาย-โร-ดอน/) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาซิว ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และพบเฉพาะทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา คือ มีรูปทรงยาวรี คล้ายเมล็ดข้าวสาร ตากลมโต มีครีบบางใสยาวพอประมาณทั้งหมด 7 ครีบ (ครีบว่าย 2, ครีบท้อง 2, ครีบกระโดง 1, ครีบทวาร 1, ครีบหาง 1) ต่างกันตรงที่มีครีบไขมันขนาดเล็ก ที่ก่อนถึงโคนหาง อันเป็นลักษณะประจำของปลาในวงศ์นี้ ลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กมันวาวปกคลุมทั้งตัว และมีฟันขนาดเล็กในปาก จุดเด่น คือ มีเส้นยาวเรืองแสงสีเขียวอมฟ้าพาดตั้งแต่จมูกผ่านลูกตายาวไปสุดที่ครีบไขมัน อันเป็นเอกลักษณ์ประจำสกุล ซึ่งเกิดจจากการสะท้อนแสงภายในผลึกกัวไนน์ ซึ่งพัฒนามาจากเซลล์พิเศษที่เรียกว่า อิริโดไซเตส ในชั้นใต้ผิวหนัง อันเป็นที่มาของชื่อสามัญของปลาในสกุลนี้ มีขนาดความยาวเต็มที่ 3 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินบริเวณกลางน้ำและผิวน้ำ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงกินแมลงน้ำ, แพลงก์ตอนสัตว์ และครัสเตเชียนขนาดเล็กเป็นอาหาร มีความปราดเปรียวว่องไว กระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำและลำคลองหลายสายของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่มีเงาไม้ริมน้ำหรือไม้น้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของน้ำค่อนข้างเป็นกรด (ต่ำกว่า 7-6.5 ลงไป) สภาพน้ำเป็นสีชาหรือสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยการที่ตัวผู้ไล่ตัวเมียเข้าไปผสมพันธุ์และวางไข่ไว้กับไม้น้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยง.

ดู ชื่อสามัญและปลานีออน (สกุล)

ปลาแบล็คบาร์เรดฮุก

ปลาแบล็คบาร์เรดฮุก (Disk tetra, Black-barred redhook) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิลเวอร์ดอลลาร์ ในวงศ์ปลาปิรันยา (Serrasalmidae) จัดเป็นปลากลุ่มซิลเวอร์ดอลลาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรูปร่างแบนข้างมาก มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาปิรันยาหรือปลาเปคู ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า และอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกมีขนาดเล็กกว่า มีลำตัวสีเงินแวววาวตลอดทั้งตัว มีจุดเด่น คือ มีแถบสีดำขนาดใหญ่ที่ด้านข้างลำตัวข้างละขีดบริเวณกลางลำตัว และมีครีบต่าง ๆ ยาวได้มากกว่า มีส่วนปลายของครีบก้นยาวงอนเหมือนตะขอและเป็นสีแดง อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำแอมะซอน, แม่น้ำโอรีโนโก ในประเทศบราซิล, เวเนซุเอลา, เปรู และซูรินาม เป็นปลาที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์น้ำ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ดู ชื่อสามัญและปลาแบล็คบาร์เรดฮุก

ปลาแบสลายจุด

ปลาแบสลายจุด (Spotted bass; หรือที่เรียกว่า "Spotty", "Leeman" และ"Spots") เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลากะพงปากกว้าง (Centrarchidae) ในอันดับปลากะพง เป็นปลาแบสดำชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีข้ามไปถึงรัฐรอบอ่าวเม็กซิโก จากกลางรัฐเทกซัสผ่านรัฐฟลอริดาไปถึงรัฐตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติก และถูกนำเข้าสู่ทางตะวันตกของรัฐนอร์ทแคโรไลนาและรัฐเวอร์จิเนีย รวมถึงทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาที่ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ในแหล่งน้ำโดดเดี่ยวบางแห่ง บ่อยครั้งที่เกิดการเข้าใจผิด เพราะว่ามีลักษณะคล้ายกับปลาแบสปากใหญ่ (M.

ดู ชื่อสามัญและปลาแบสลายจุด

ปลาแพะลาย

ปลาแพะลาย (Mottled goatfish, Blackstriped goatfish, Freckled goatfish, Bartail goatfish) ปลาทะเลและปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแพะ (Mullidae) มีลักษณะสำคัญ คือ กลางลำตัวมีแถบหนาสีน้ำตาลเข้มพาดตามยาวลำตัว อันเป็นที่มาของชื่อ ท้องมีลายจุดสีแดง ปลายครีบหลังทั้งสองอันมีสีน้ำตาลเข้ม ครีบหางท่อนบนและท่อนล่างมีแถบสีน้ำตาลเข้ม 4-5 แถบ ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ย 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ในแนวปะการังตลอดทั้งแถบอินโด-แปซิฟิก ไปจนถึงสิงคโปร์และออสเตรเลีย พบทั้งในเขตเขตน้ำตื้นจนถึงระดับลึกมากกว่า 20 เมตร บริเวณพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลนและมีน้ำขุ่น ออกหากินในเวลากลางวัน โดยใช้หนวดคุ้ยเขี่ยสัตว์น้ำขนาดเล็กที่หลบอยู่ใต้พื้นเป็นอาหาร เป็นปลาที่มีการนำมาบริโภคบ้าง.

ดู ชื่อสามัญและปลาแพะลาย

ปลาแมกเคอเรล

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (''Scomberomorus sinensis'') จัดเป็นปลาแมกเคอเรลชนิดหนึ่งในวงศ์ Scombridae ปลาแมกเคอเรล (mackerel) เป็นชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษของปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Scombridae (เป็นส่วนใหญ่), Carangidae, Hexagrammidae และ Gempylidae ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันคือ ผิวเป็นเกล็ดละเอียดสีเงินมันวาว ตัวเรียวยาวกลมคล้ายทรงกระบอก หัวแหลมท้ายแหลม มีครีบกระโดงหนึ่งครีบ ครีบท้องหนึ่งครีบ ครีบข้างหนึ่งคู่ หางสองแฉก อาศัยอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล อยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ ปลาทูก็อยู่ในวงศ์ Scombridae ดังนั้นจึงจัดเป็นปลาแมกเคอเรลเช่นกัน ส่วนปลาซาร์ดีนอยู่ในวงศ์ Clupeidae ที่มีขนาดเล็กกว่า ไม่จัดว่าเป็นปลาแมกเคอเรล ปลาแมกเคอเรลเป็นปลาที่มนุษย์รับประทานได้ สามารถนำมาทำเป็นปลากระป๋อง โดยเก็บเนื้อปลาในซอสมะเขือเทศ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง.

ดู ชื่อสามัญและปลาแมกเคอเรล

ปลาแรด

ปลาแรด (Giant gourami) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที.

ดู ชื่อสามัญและปลาแรด

ปลาแขยงจุด

ปลาแขยงจุด (Twospot catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากด (Bagridae) จัดเป็นปลาหนังขนาดเล็ก หรือปลาแขยง รูปร่างค่อนข้างสั้นมีหนวดยาว 4 คู่ ครีบอกและครีบหลังมีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันค่อนข้างสั้น ครีบหางเว้าลึกมีจุดสีดำที่ขอดหาง อันเป็นที่มาของชื่อ ตัวมีสีเทาอมเขียวเข้ม ขนาดที่พบยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 10-20 กรัม ปลาขนาดเล็กจะมีสีเหลืองนวล มักอยู่รวมกันเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำไหล เช่นแม่น้ำ, ลำคลอง, ลำธาร พบในภาคกลาง, ภาคตะวันออกและภาคใต้ ของไทย ในต่างประเทศ พบได้ที่กัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย พบในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำหรือก้อนหินใต้น้ำ เพื่อใช้เป็นที่หลบซ่อนอาศัย กินอาหารประเภท ตัวอ่อนของแมลงที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำ, ลูกกุ้ง, ไรน้ำ, ซากสัตว์ และพืชที่เน่าเปื่อย ปลาตัวเมียมีความกว้างลำตัวมากกว่าตัวผู้ และมีขนาดใหญ่กว่า และสามารถเห็นชัดเจนได้ในช่วงฤดูวางไข่โดยตัวเมียจะมีลำตัวกว้าง ท้องอูม เมื่อปลามีไข่ ส่วนตัวผู้จะมีลำตัวเรียวและมีขนาดเล็กกว่า ปลาแขยงจุดที่จับได้ในธรรมชาติพบว่ามีสัดส่วนตัวผู้ต่อตัวเมีย 1:1 เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ แต่มีความพยายามจากทางกรมประมงอยู.

ดู ชื่อสามัญและปลาแขยงจุด

ปลาแซลมอน

วาดปลาแซลมอนชนิดต่าง ๆ ปลาแซลมอน http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?GroupID.

ดู ชื่อสามัญและปลาแซลมอน

ปลาแปบ

ปลาแปบขาวหางดำ (''Oxygaster anomalura'') เป็นปลาแปบชนิดหนึ่งในสกุล ''Oxygaster'' ปลาแปบ หรือ ปลาท้องพลุ (Abramine, Sword minnow) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย CultrinaeBànàrescu, P.M.

ดู ชื่อสามัญและปลาแปบ

ปลาใบโพ

ปลาใบโพ (หรือสะกดว่า ปลาใบโพธิ์) หรือ ปลาใบปอ หรือ ปลาแมลงปอ (Banded sicklefish, Concertina fish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาใบโพ (Drepaneidae) มีลำตัวป้อมสั้นเกือบกลม ด้านข้างแบน ดูคล้ายใบโพ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก สันหลังโค้งนูน หัวค่อนข้างใหญ่ จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต บริเวณระหว่างตาโค้งนูนออกมา ปากเล็กและยืดหดได้ มีฟันเล็กและแหลมคมบนขากรรไกรบนและล่าง ลำตัวด้านบนสีขาวปนเทาและมีจุดเล็ก ๆ สีส้มเรียงเป็นแถวขวางลำตัวจำนวน 4-11 แถว ซึ่งแตกต่างจากปลาใบโพจุด (D.

ดู ชื่อสามัญและปลาใบโพ

ปลาใบโพจุด

ปลาใบโพจุด (หรือสะกด ปลาใบโพธิ์จุด) (Spotted sicklefish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาใบโพ (Drepaneidae) มีลำตัวป้อมสั้นเกือบกลม ด้านข้างแบน ดูคล้ายใบโพ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก สันหลังโค้งนูน หัวค่อนข้างใหญ่ จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต บริเวณระหว่างตาโค้งนูนออกมา ปากเล็กและยืดหดได้ มีฟันเล็กและแหลมคมบนขากรรไกรบนและล่าง ลำตัวด้านบนสีขาวปนเทาและมีจุดเล็ก ๆ สีส้มเรียงเป็นแถวขวางลำตัวจำนวน 4-11 แถว ปลาวัยอ่อนจะมีแถบสีดำในบริเวณที่เป็นจุดสีส้ม มีความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 40 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการังและแหล่งน้ำกร่อย กินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ ในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน จัดเป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง.

ดู ชื่อสามัญและปลาใบโพจุด

ปลาไวท์คลาวด์

ปลาไวท์คลาวด์ (White cloud mountain minnow; 唐魚; พินอิน: táng yu) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาซิวชนิดหนึ่ง มีลักษณะของลำตัวสีขาวออกเงิน ๆ แวววาว เวลามองจากด้านบนจะเป็นสีเงินอมเขียว กลางลำตัวมีแถบสีทองออกเงินพาดขวางลำตัว ครีบหางมีสีแดงสด ขณะที่ครีบอื่น ๆ จะมีสีเหลืองตรงขอบของครีบ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 4 เซนติเมตร ตัวผู้จะมีสีสดกว่าตัวเมียและลำตัวจะเพรียวกว่า เป็นปลาที่อยู่อาศัยเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์อยู่ทางแถบเทือกเขาสูงที่มีอุณหภูมิต่ำ ทางตอนใต้ของจีนติดต่อกับเวียดนาม ค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.

ดู ชื่อสามัญและปลาไวท์คลาวด์

ปลาเบลนนี่

ปลาเบลนนี่ (Blennies) เป็นอันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blennioidei ปลาเบลนนี่ มีชื่อสามัญในภาษาไทยว่า "ปลาตั๊กแตนหิน" หรือ"ปลาตุ๊ดตู่" จากพฤติกรรมที่อาศัยและมุดไปมาอยู่ในรู เหมือนกับตุ๊ดตู่ มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวกลมยาวคล้ายปลาไหลหรือปลาบู่ แต่สั้นกว่ามาก มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ดวงตากลมโต ปากกว้าง ครีบหลังยาวต่อกันไปตลอดความยาวของลำตัว อาศัยอยู่ในรูหรือซอกหิน หรือเปลือกหอยที่ว่างเปล่า โดยจะโผล่มาแต่ส่วนหัวเพื่อสังเกตการณ์ เป็นปลาออกหากินในเวลากลางวัน โดยมักหากินตามพื้นทะเลใกล้ ๆ กับรูที่อาศัย ตัวผู้มีสีสันสดใสสวยกว่าตัวเมีย และมีขนาดใหญ่กว่าด้วย โดยมากเป็นปลากินพืชเป็นอาหาร มีอาหารหลัก คือ ตะไคร่น้ำ แต่ก็มีบางจำพวกที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยสามารถจำแนกวงศ์ของปลาเบลนนี่ ออกได้ทั้งหมด 6 วงศ์ คือ.

ดู ชื่อสามัญและปลาเบลนนี่

ปลาเลียหิน

ปลาเลียหิน (Stone-lapping fishes, Garras, Doctor fishes) คือชื่อสามัญเรียกโดยรวมของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Garra (/การ์-รา/) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และอยู่ในวงศ์ย่อย Labeoninae เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาว หลังโค้งเล็กน้อย สันท้องแบนราบ จะงอยปากยาว ปลายทู่ และมีตุ่มเหมือนเม็ดสิวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตัวผู้ริมฝีปากหนาและมีตุ่มเม็ดสิวที่อ่อนนุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่มีร่องระหว่างริมฝีปากกับกระดูกขากรรไกร ริมฝีปากล่างแผ่ออกกว้างเป็นแผ่น ขอบหน้าเรียบ ใช้ในการยึดเกาะกับของแข็ง มีหนวด 1-2 คู่ ครีบอกและครีบครีบท้องอยู่ในแนวระดับสันท้อง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวไม่แข็ง ครีบก้นสั้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เส้นข้างลำตัวตรง มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นฝูง ในแหล่งน้ำไหลเชี่ยวบริเวณน้ำตกหรือลำธารในป่า เพื่อดูดกินตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายหรืออินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย พบมากกว่า 90 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบด้วยหลายชนิด เช่น G.

ดู ชื่อสามัญและปลาเลียหิน

ปูขน (ปูก้ามขน)

ำหรับปูขนอย่างอื่นที่เป็นปูบก ดูที่: ปูไก่ ปูขน หรือ ปูก้ามขน หรือ ปูเซี่ยงไฮ้ (Chinese mitten crab, Shanghai hairy crab; 大閘蟹, 上海毛蟹; พินอิน: dà zhá xiè, shànghǎi máo xiè;; ศัพท์มูลวิทยา: Eriocheir (/โอ-ริ-โอ-เชีย/) เป็นภาษาลาตินแปลว่า "ก้ามมีขน" และคำว่า sinensis (/ไซ-เนน-ซิส/) มีความหมายว่า "อาศัยในประเทศจีน") เป็นครัสเตเชียนจำพวกปูชนิดหนึ่ง ปูขนมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พบอาศัยอยู่ตามทะเลสาบในประเทศจีน เจริญเติบโตอยู่ในสภาพอากาศหนาว และน้ำที่เย็นจัด อุณหภูมิของน้ำต่ำกว่า 10 องศาเชลเชียส บริเวณที่พบมากและเป็นที่รู้จักกันดีคือ ทะเลสาบหยางเถิง ในมณฑลเจียงซู นอกจากนี้ยังพบในประเทศไต้หวัน และบางส่วนของคาบสมุทรเกาหลีไปจนถึงทะเลเหลือง ปัจจุบันได้แพร่กระจายไปถึงทวีปยุโรป เช่น ประเทศฟินแลนด์, สวีเดน, เดนมาร์ก, เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, เยอรมนี และบางส่วนของประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ ปูขนมีกระดองรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 7-8 เซนติเมตร สีน้ำตาลปนเหลืองจนถึงน้ำตาลเข้ม มีขนเป็นกระจุกบนขาทุกขาซึ่งถือเป็นลักษณะเด่น ขาเดินคู่แรกเป็นก้ามหนีบ ขาเดินที่เหลืออีก 4 คู่ มีลักษณะเรียวยาว ไม่เป็นใบพาย กระดองส่วนหน้าไม่เรียบ มีตุ่มทู่ ๆ เรียงกัน 2 แถว แถวแรกมี 2 ตุ่ม แถวถัดมามี 3 ตุ่ม ทั้งสองแถวเรียงขนานกับริมขอบเบ้าตาด้านใน ลักษณะเด่นที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ ขอบด้านข้างของกระดองมีหนามแหลม 4 อัน ที่ก้ามมีขนสีน้ำตาลเข้มลักษณะเป็นกระจุกคล้ายสาหร่ายหางไก่ ห่อหุ้มหนา โดยเฉพาะบริเวณขอบด้านนอกของก้ามหนีบ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ซึ่งปูขนนั้นมีลักษณะคล้ายกับปูขนญี่ปุ่น (E.

ดู ชื่อสามัญและปูขน (ปูก้ามขน)

นกกระตั้วดำหางขาว

นกกระตั้วดำหางขาว หรือ นกกระตั้วบูด้า หรือ นกกระตั้วดำบูด้า (Long-billed black cockatoo, White-tailed black cockatoo, Baudin's cockatoo, Baudin's black cockatoo) นกปากขอชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระตั้ว (Cacatuidae) เป็นนกกระตั้วชนิดหนึ่งที่มีสีดำ บริเวณสีขนตรงตำแหน่งหูจะมีสีขาวและสีเทา สีขนใต้หางจะมีสีขาวปนเทาเข้ม ขนบริเวณใต้คอลงมาปลายขนมีขอบสีเทาปนดำ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นลักษณะเด่นที่ใช้ในการอนุกรมวิธานนกชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ยาว 56 เซนติเมตร (22 นิ้ว) มีอายุมากที่สุด 47 ปี ในปี ค.ศ.

ดู ชื่อสามัญและนกกระตั้วดำหางขาว

นกกีวี

นกกีวี (Kiwi) เป็นนกจำพวกหนึ่งที่บินไม่ได้ มีลักษณะที่แปลกไปจากนกอื่น ๆ ด้วยมีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน เป็นนกออกหากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในธรรมชาติอยู่ในนิวซีแลนด์เท่านั้น นกกีวีจัดอยู่ในสกุล Apteryx ในวงศ์ Apterygidae.

ดู ชื่อสามัญและนกกีวี

นกล่าเหยื่อ

หยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อประเภทหนึ่ง นกล่าเหยื่อ (Bird of prey, Raptor-มาจากภาษาละตินคำว่า rapere หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง") เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของนกกลุ่มที่หากินในเวลากลางวัน และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร รวมถึงอาจกินซากเป็นอาหารด้วย นกล่าเหยื่อจะมีหลักการบินโดยใช้ความรู้สึกกระตือรือร้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็น นกกลุ่มนี้เป็นนกที่ล่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งนกด้วยกันจำพวกอื่น ๆ โดยมีกรงเล็บและจะงอยปากที่ค่อนข้างใหญ่และประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับการฉีกขาดเนื้อ ส่วนใหญ่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร Brown, Leslie (1997).

ดู ชื่อสามัญและนกล่าเหยื่อ

นกอีเสือ

นกอีเสือ (Shrikes) เป็นวงศ์ของนกจับคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในชื่อวงศ์ว่า Laniidae เป็นนกขนาดเล็กมีความยาวประมาณ 18-25 เซนติเมตร จะงอยปากสั้นกว่าส่วนหัว ลักษณะเป็นตะขอ แบนข้าง และตอนปลายเป็นรอยบาก มีขนแข็งบริเวณมุมปากยาวคล้ายเส้นขน บางส่วนคลุมรูจมูก รูจมูกทะลุถึงกัน ปีกสั้น ปลายปีกมน มีขนปลายปีก 10 เส้น หางยาวเท่ากับปีก มีขนหาง 12 เส้น หน้าแข้งสั้นแต่ยาวกว่าปาก คลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดซ้อน นิ้วกลางรวมทั้งเล็บสั้นกว่าหน้าแข้ง นิ้วนอกและนิ้วกลางบริเวณโคนติดกันเล็กน้อย นิ้วในเป็นอิสระ เป็นนกกินเนื้อ ด้วยการบินโฉบจับแมลง, สัตว์เลื้อยคลาน รวมถึงนกด้วยกันขนาดเล็กเป็นอาหาร ด้วยการฉีกกินเหมือนสัตว์กินเนื้อ ซึ่งบางครั้งหากกินไม่หมด ก็จะนำไปซุกซ่อนตามคาคบไม้หรือเสียบไว้ตามกิ่งไม้หรือลวดแหลม แล้วค่อยย้อนมากินทีหลัง ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเหมือนเสือ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ทำรังเป็นรูปถ้วยตามพุ่มไม้หรือต้นไม้ขนาดเล็ก ไข่มีสีแตกต่างกันออกไปและมีลายจุดสีต่าง ๆ ลูกที่เพิ่งเกิดใหม่ไม่มีขนปกคลุมร่างกาย และเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชีย, ยุโรป, แอฟริกา และอเมริกาเหนือ แบ่งออกได้เป็น 4 สกุล (ดูในตาราง-บางข้อมูลจำแนกไว้แค่ 3 สกุล) ในประเทศไทยพบเพียงสกุลเดียว คือ Lanius ประมาณ 5 ชนิด มักพบตามทุ่งหญ้า หรือป่าหญ้า ได้แก.

ดู ชื่อสามัญและนกอีเสือ

นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่

นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ (Greater crested tern) เป็นนกทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์นกนางนวลแกลบ (Sternidae) จัดเป็นนกนางนวลแกลบที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัวพอ ๆ กับนกนางนวลทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวลู่ลมตามประสานกนางนวลแกลบ แต่ก็มีขนาดใหญ่กว่านกนางแกลบด้วยกันอย่างเห็นได้ชัดเจน มีจะงอยปากแหลมสีเหลืองที่ใช้ในการหาอาหาร ปลายปีกแหลมยาว และลักษณะเด่นอันที่มาของชื่อสามัญ คือ มีขนกระจุกบริเวณท้ายทอยเหมือนหงอน ซึ่งนอกฤดูผสมพันธุ์จะมีลายดำเปรอะเป็นขีด ๆ ตั้งแต่รอบตา แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์หงอนจะมีสีเข้ม เหมือนใส่หมวกสีดำ แลดูสะดุดตามากยิ่งขึ้น มีถิ่นกระจายพันธุ์กว้างไกล พบได้ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนใต้ของแอฟริกา เรื่อยมาตามริมชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และรอบทวีปออสเตรเลีย รวมถึงหมู่เกาะในแถบนั้น เป็นนกที่หากินด้วยการพุ่งตัวลงไปในทะเลจับปลากินเป็นอาหาร สามารถลงไปได้ลึกถึง 1 เมตร และบินได้ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 10 กิโลเมตร ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่หนาแน่ตามชายฝั่งและเกาะ โดยจะวางไข่ครั้งละ 2 ฟองบนหลุมที่ขุดขึ้นบนดิน โดยในฝูงจะมีการป้องกันตัวจากนักล่าและปกป้องซึ่งกันและกัน ในประเทศไทย พบได้ตามอ่าวตะบูนและแหลมผักเบี้ย ในจังหวัดเพชรบุรี จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ดู ชื่อสามัญและนกนางนวลแกลบหงอนใหญ่

นกแก้วโม่ง

แก้วโม่ง (Alexandrine parakeet, Alexandrine parrot) เป็นนกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก-กลาง โดยมีชื่อสามัญตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่ อเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรมาซิโดเนีย เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วชนิดนี้กลับไปยังทวีปยุโรป นกแก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไล่ลงไปยังอินเดีย, อินโดจีน เช่น พม่า หรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน.

ดู ชื่อสามัญและนกแก้วโม่ง

นกแสกทุ่งหญ้า

นกแสกทุ่งหญ้า (Grass owl, African grass owl) เป็นนกล่าเหยื่อในเวลากลางคืนชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกแสก (Tytonidae) เป็นนกแสกขนาดกลาง โดยเฉลี่ยมีความใหญ่กว่านกแสก (T.

ดู ชื่อสามัญและนกแสกทุ่งหญ้า

นกไต่ไม้

นกไต่ไม้ (Nuthatch) เป็นนกขนาดเล็กในอันดับนกเกาะคอน (Passeriformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sittidae ลักษณะเป็นนกตัวเล็ก มีความยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร รูปร่างป้อม หางสั้น ปากแหลม มีความสามารถพิเศษคือ สามารถไต่ต้นไม้ด้วยนิ้วตีนลงมาในลักษณะเอาหัวลงได้ สามารถไต่ขึ้น ๆ ลง ๆ หรือไต่ไปรอบ ๆ ต้นไม้ หรือรอบ ๆ กิ่งไม้ได้คล่องแคล่วคล้ายกับหนู เพื่อหาแมลงและหนอนตามเปลือกไม้กิน และยังสามารถกินพืชอย่าง ลูกไม้ หรือเมล็ดพืชได้ด้วย ด้วยการคาบเมล็ดพืชขึ้นมายัดไว้ตามซอกเปลือกไม้ที่ลำต้นแล้วก็เอาปากจิกให้เปลือกเมล็ดนั้นแตกเพื่อจิกกินเนื้อใน มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมหากินรวม ๆ ไปในฝูงเดียวกันกับนกขนาดเล็กหลายชนิด มักพบตามป่าโปร่งบนเนินเขา ทำรังในโพรงไม้เล็ก ๆ และมีนิสัยประหลาด คือ ชอบคาบวัสดุต่าง ๆ มาปะติดปะต่อประดับไว้รอบ ๆ ปากโพรงรัง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย, ยูเรเชีย, ยุโรป จนถึงตอนเหนือของแอฟริกา และทวีปอเมริกาเหนือ และมีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น คือ Sitta (โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า sittē หมายถึง "นก" ขณะที่ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษที่ว่า "Nuthatch" เชื่อว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "Nut+hack" เพราะนกกลุ่มนี้ในทวีปยุโรปมีพฤติกรรมกระเทาะเปลือกลูกนัทกินเป็นอาหาร) พบทั้งหมดประมาณ 24-27 ชนิด ในประเทศไทยพบทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ นกไต่ไม้ท้องสีเม็ดมะขาม (S.

ดู ชื่อสามัญและนกไต่ไม้

นกเรเวน

นกเรเวนธรรมดา (''Corvus corax'') นกเรเวน (Raven) เป็นชื่อสามัญของนกจำพวกหนึ่ง ในวงศ์นกกา (Corvidae) สกุลกา (Corvus) มีขนาดตัวใหญ่กว่านกกา โดยมีความยาวลำตัว 69 เซนติเมตร (22-27 นิ้ว) หนัก 0.69-1.63 กิโลกรัม (1.5-3.6 ปอนด์) มีอายุขัยระหว่าง 10-15 ปี เคยพบนกเรเวนที่มีอายุมากที่สุดที่ได้การบันทึกเอาไว้ มีอายุประมาณ 40 ปี โดยมากแล้วนกเรเวนจะใช้เรียกนกในสกุล Corvus ที่มีขนาดใหญ่และพบทางซีกโลกทางเหนือและซีกโลกตะวันตก นกเรเวนพบได้ในซีกโลกเหนือ ในเขตอบอุ่น ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือยกเว้นส่วนตะวันออกเฉียงใต้และประเทศที่อยู่ต่ำกว่าเม็กซิโกลงไป เกาะกรีนแลนด์ตอนใต้ ทวีปยุโรปบางส่วนยกเว้นตอนเหนือของเยอรมนี เอเชียตะวันตกเฉียงใต้บริเวณคาบสมุทรอะนาโตเลียและตอนเหนือของคาบสมุทรอาหรับ เอเชียเหนือยกเว้นดินแดนแถบคาบสมุทรไทเมอร์ เอเชียกลาง บางส่วนของเอเชียใต้ ภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และตอนเหนือของทวีปแอฟริกา นกเรเวนเป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการหาแหล่งอาหารได้ด้วยตนเอง นกเรเวนเป็นสัตว์กินได้ทั้งพิชและสัตว์ และเป็นสัตว์กินซาก อาหารส่วนใหญ่ของมันได้แก่ เมล็ดพืช ผลไม้โดยเฉพาะตระกูลเบอร์รี่ แมลง อาหารบูดเน่าและซากสัตว์ นกเรเวนใช้ชีวิตร่วมกับสังคมมนุษย์เป็นเวลาหลายพันปี แต่เป็นทางลบก็คือชอบทำลายข้าวของและรบกวนมนุษย์ มีการศึกษาแล้วพบว่านกเรเวนและอีกาจัดได้ว่าเป็นนกที่มีความเฉลียวฉลาดมากจนกล่าวได้ว่าเป็นนกที่มีความเฉลียวฉลาดที่สุดในโลก.

ดู ชื่อสามัญและนกเรเวน

นกเลิฟเบิร์ด

นกเลิฟเบิร์ด (Lovebird) เป็นสกุลของนกปากขอ หรือนกแก้วขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Agapornis (มาจากภาษากรีกคำว่า αγάπη หมายถึง "รัก" และคำว่า όρνις หมายถึง "นก") นกเลิฟเบิร์ดเป็นนกปากขอขนาดเล็ก ที่มีสีสันสดใส มีความยาวเต็มที่ประมาณ 5-6 นิ้ว โดยมีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกาฝั่งตะวันออก และเกาะมาดากัสการ์ซึ่งเป็นแถบที่อบอุ่นถึงค่อนข้างร้อน มีอายุขัยประมาณ 10-15 ปี นกเลิฟเบิร์ดมีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์และเลือกคู่ได้แล้วจะอยู่กับคู่ของตัวเองไปตราบจนตาย อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ นกเลิฟเบิร์ดก็เหมือนกับนกในอันดับนี้ส่วนใหญ่ ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง ประวัติของการเลี้ยงนกเลิฟเบิร์ด ในสมัยแรกเริ่มคือช่วงปี ค.ศ.

ดู ชื่อสามัญและนกเลิฟเบิร์ด

นกเขาชวา

นกเขาชวา หรือ นกเขาเล็ก หรือ นกเขาแขก (- เป็นภาษาละติน แปลว่า "รอยไถ" หรือ "ลาย" มีความหมายว่า "นกเขาที่มีลาย") เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbridae) นกเขาชวามีรูปร่างเหมือนกับนกชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกันนี้ทั่วไป มีขนปกคลุมตัวสีน้ำตาลหัวสีเทา หรือมีสีที่หัวเป็นสีน้ำเงิน ด้านข้างคอมีแถบสีดำสลับกับแถบขาวเป็นลายตามขวาง ด้านหลังสีเข้มมีขีดขวาง คล้ายกับลายของม้าลายในต่างประเทศ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ (zebra dove) ด้านท้องสีจาง ใต้ลำตัวเป็นสีขาวมีขีดขวางเล็ก ขอบท้ายของขนหางสีขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ไม่เกิน 8-9 นิ้ว นกเขาชวามีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะ ชายทุ่ง และบริเวณที่ทำการเพาะปลูก ชอบอยู่กันเป็นคู่หรือลำพังเพียงตัวเดียว แต่ไม่ชอบหากินอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักร้องบ่อย ๆ ในเวลาเช้าและเวลาเย็น มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จนถึงมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ นกตัวผู้จะมีลักษณะทั่วไปใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย หัวใหญ่ค่อนข้างยาว มีสีขาวที่หน้าผากสีขาวมากยาวถึงกลางหัว ขณะที่ตัวเมียหัวกลมเล็กและสีขาวที่ส่วนหัวจะไม่ยาวเท่า และมีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย เช่น หางที่ตัวเมียจะยกแอ่นกว่าตัวผู้ และเกล็ดที่ข้อเท้าจะละเอียดเล็กกว่าตัวผู้ นกเขาชวาเป็นนกที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ ซ้ำยังมีเสียงร้องที่ไพเราะ จึงเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับฟังเสียง จนกลายเป็นวัฒนธรรมในคาบสมุทรมลายู โดยเชื่อว่ามีมาจากเกาะชวา มีการจัดแข่งขันประกวด การเพาะขยายพันธุ์ ก่อตั้งเป็นชมรมหรือสมาคมต่าง ๆ ซึ่งในตัวที่มีเสียงร้องไพเราะอาจมีราคาสูงถึงหลักล้านบาท ตลอดจนแตกแขนงกลายเป็นอาชีพอื่น ๆ ต่อด้วย เช่น ประดิษฐ์กรงนกขาย นกเขาชว ในปัจจุบันกลายเป็นนกประจำถิ่นในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จากการที่ถูกนำเข้ามาในฐานสัตว์เลี้ยง และไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองแต่ประการใ.

ดู ชื่อสามัญและนกเขาชวา

นกเค้า

นกเค้า หรือ นกเค้าแมว หรือ นกฮูก (Owl) เป็นนกที่อยู่ในอันดับ Strigiformes มีรูปใบหน้าคล้ายแมว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ จับสัตว์เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร เช่น หนู, งู หรือสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเล็ก ๆ ในขณะที่บางชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจจับปลา หรือปูกินได้ด้วย จัดเป็นนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่งเหมือนเหยี่ยว, อินทรี และแร้ง ที่หากินในเวลากลางวัน ส่วนนกเค้าแมวนั้นมักหากินในเวลากลางคืน ทำให้มีเล็บโค้งแหลมและมีปากงุ้มแหลมสำหรับจับสัตว์กิน เหตุที่หากินในเวลากลางคืน เป็นเพราะนกเค้าแมวเป็นนกที่ไม่อาจสู้กับนกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน อย่าง เหยี่ยวหรืออินทรีได้ อีกทั้งบางครั้งยังถูกนกที่มีขนาดเล็กกว่าอย่าง นกเอี้ยงหรือนกกิ้งโครงไล่จิกตีอีกต่างหาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน จึงมีดวงตาโตกว่าเหยี่ยวและอินทรีมาก ดวงตาอยู่ด้านหน้าของใบหน้าเหมือนมนุษย์และสัตว์ตระกูลแมว หัวหมุนได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก หูของนกเค้าแมวมีความไวมากเป็นพิเศษสำหรับการฟังเสียงในเวลากลางคืนและหาเหยื่อ มีขนปีกอ่อนนุ่ม บินได้เงียบเพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัว และมีประสาทสายตาที่มองเห็นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่าโดยปกติแล้วตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียเป็นตัวที่กกไข่ ตัวผู้ไม่กกไข่ มักพบก้อนที่สำรอกคายออกทิ้งลงมาที่พื้นเบื้องล่างในรังหรือบริเวณใกล้เคียงกับรัง เพราะนกเค้าแมวมักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว กระดูกและขนที่ไม่ย่อยก็สำรอกออกมาเป็นก้อนทิ้งทีหลัง.

ดู ชื่อสามัญและนกเค้า

แมวป่า

แมวป่า, เสือกระต่าย หรือ เสือบอง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Felidae มีรูปร่างคล้ายแมวบ้าน มีลักษณะเด่นคือ มีหูแหลมยาวเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีกระจุกขนยื่นออกมาจากปลายใบหูแลดูคล้ายกระต่าย จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญว่า "เสือกระต่าย" มีขายาว หางสั้นมีลายสีเข้มสลับเป็นปล้อง ๆ ขนปลายหางมีสีดำตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง บริเวณหลังมีสีน้ำตาลเข้ม สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าลำตัว แมวป่านับเป็นเสือในสกุล Felis ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวลำตัวและหัว 50–56 เซนติเมตร ความยาวหาง 26–31 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 4–6 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก ตั้งแต่ภาคเหนือของทวีปแอฟริกาจรดเอเชียตะวันออก พบในภาคตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย, คูเวต, อิรัก, อิหร่าน, จอร์แดน, ภาคตะวันออกของตุรกี, อิสราเอล, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, เนปาล, ภูฏาน, บังกลาเทศ, ภาคใต้ของจีน, อินเดีย, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชาและเวียดนาม มักอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรังที่ไม่รกชัฏนัก จับสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยบนพื้นดินกินเป็นอาหาร เช่น กระต่ายป่า, กบ, หนู, กิ้งก่า หรือนกที่อาศัยอยู่บนพื้นดินกินเป็นอาหารหลัก ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน แต่มักพบบ่อยในช่วงเช้า และช่วงเย็น จากกายภาพที่มีขายาว แต่หางสั้นไม่สมดุลกันเช่นนี้ ทำให้แมวป่ามีการทรงตัวที่ไม่ดีเมื่ออยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงไม่ค่อยปีนขึ้นไปบนต้นไม้นัก ในประเทศไทย นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักนิยมไพรและนักเขียนได้บันทึกไว้ในปี..

ดู ชื่อสามัญและแมวป่า

แรด

แรด เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคี่ ในวงศ์ Rhinocerotidae แรดถือว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ อาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากช้างก็ว่าได้ เพราะแรดอาจมีขนาดยาวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร น้ำหนัก 2.3-3.6 ตัน.

ดู ชื่อสามัญและแรด

แร้ง

แร้งสีน้ำตาล (''Gyps indicus'') แร้ง หรือ อีแร้งบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ดู ชื่อสามัญและแร้ง

แจบบา เดซิลิจิก ทิอูเร

แจบบา เดซิลิจิก ทิอูเร เป็นตัวละครในเรื่องแต่งชุดสตาร์ วอร์ส มีบทบาทในไตรภาคเดิม โดยเฉพาะในสตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได แจบบา เดซิลิจิก ทิอูเร หรือแจบบา เดอะ ฮัทท์ เป็นหนึ่งในหัวหน้ากลุ่มอาชญากรชาวฮัทท์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกาแลกซี ครอบครองจักรวรรดิอาชญากรรมขนาดใหญ่ในบริเวณเขตแดนรอบนอกจากวังในทะเลทรายบนดาวทาทูอีน ในช่วงเวลาที่มีอำนาจสูงสุด แจบบาเป็นหนึ่งในหัวหน้ากลุ่มอาชญากรรมที่มีอำนาจมากที่สุดกาแลกซี ถึงขั้นได้ติดต่อกับเจ้าชายไซเซอร์ หัวหน้าองค์กรสุริยะทมิฬ แจบบาตั้งตัวในฐานะหัวหน้ากลุ่มอาชญากรรมขนาดเล็ก แต่ต่อมาได้ขยายอำนาจไปครอบคลุมงานผิดกฎหมายหลายประเภท รวมถึงการลักลอบขนส่งยาเสพติด อาวุธ ค้าทาส และบางครั้งรวมถึงการปล้นสะดมด้วย จากการที่เป็นที่เลื่องลือในความทารุณโหดร้ายและความนิยมในกาม แจบบามีอำนาจมากพอที่จะเรียกร้องความยำเกรงและทรัพย์สินจากอำนาจรัฐที่ปกครองกาแลกซีอยู่ในขณะนั้น มากถึงขนาดที่ในช่วงสงครามโคลน สาธารณรัฐต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อเอาใจแจบบา ต่อมาเขาได้วางสินนำจับชิ้นใหญ่ต่อฮัน โซโล อดีตลูกจ้าง หลังจากที่ฮันพลาดท่าจนเสียยาเสพติดให้เจ้าหน้าที่จักรวรรดิ ซึ่งต่อมาจะได้สมแค้นเมื่อโบบา เฟตต์ นักล่าเงินรางวัลรับจ้างจากแจบบา นำร่างฮัน โซโล แช่แข็งคาร์บอไนต์มามอบให้ ในช่วงปีที่ 4 หลังยุทธการยาวิน ลุค สกายวอล์คเกอร์และเพื่อน ๆ (ซึ่งมีเลอา ออร์กานา, ชิวแบคคา, ซีทรีพีโอ, อาร์ทูดีทูและแลนโด้ คาร์ริเซีย) ได้ร่วมกันวางแผนที่จะช่วยฮัน โซโลมาจากแจบบา โดยส่งซีทรีพีโอและอาร์ทูดีทูให้ไปที่วังแจมบาเพื่อไปเป็นหุ่นยนต์รับใช้แจมบาโดยให้ปล่อยฮัน โซโลเป็นการแลกเปลี่ยน แต่แจมบากลับไม่ยอมและประกาศว่าจะไม่การต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น หนำซ้ำยังเอาหุ่นยนต์ทั้งสองไปเป็นหุ่นยนต์รับใช้ของตนอย่างหน้าตาเฉย เมื่อการเจรจาล้มเหลว เลอาได้ปลอมตัวเป็นนักล่าเงินและทำท่าทีว่าได้จับชิวแบคคามามอบให้แจมบาจนปักเชื่อใจ พอเวลาตกกลางคืน เลอาได้แอบเข้าไปในห้องโถงอย่างเงียบ ๆ ซึ่งมีร่างฮัน โซโลแช่แข็งคาร์บอไนต์อยู่ เลอาได้ปลดปล่อยโซโลออกจากการแช่แข็งคาร์บอไนต์และกำลังจะพาหนี แต่ไม่เป็นไปตามอย่างที่คิด พวกแจมบาได้ซ่อนตัวมาตั้งแต่ทีแรกจึงจับโซโลไปขังรวมกับชิวแบคคาและจับเลอาไปเป็นนางบำเรอของแจมบา เมื่อลุค สกายวอล์คเกอร์ได้ทราบว่าเลอาไม่กลับมาจึงได้ตัดสินใจไปที่วังของแจมบาด้วยตนเอง (ส่วนแลนโดได้ปลอมตัวเป็นคนของแจมบามาแต่ก่อนหน้านี้แล้ว) แต่ก่อนหน้านั้นแจมบาได้สั่งกำชับคนของตนว่าอย่าให้ลุค สกายวอล์คเกอร์เข้ามา แต่ลุคได้ใช้พลังแห่งเจไดผ่านเข้ามาได้ แจมบาไม่พอใจและยังยืนกรานว่าจะไม่การต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อลุคไม่มีทางจึงใช้พลังดึงดูดหยิบปืนมาจากลูกน้องและเล็งมาที่แจมบา แต่แล้วประตูกลไกด้านล่างได้เปิดออกทำให้ลุคตกลงไปชั้นใต้ดินซึ่งแจมบาได้ปล่อยสัตว์ร้ายให้จับลุคไปเป็นอาหาร แต่ลุคได้ใช้ไหวพริบเอาตัวรอดด้วยปาก้อนหินไปที่แผงควมคุมประตูทำให้ประตูเหล็กไปทับตัวมันจนตาย แจมบาซึ่งโกรธมากจึงสั่งให้ลูกน้องจับตัวลุค สกายวอล์คเกอร์และนำตัวฮัน โซโลกับชิวแบคคาไปประหารด้วยการเป็นอาหารของปีศาจทะเลทราย Sarlacc ที่กลางทะเลทราย แต่ลุคได้ใช้กระบี่แสงซึ่งออกมาจากตัวอาร์ทูดีทูฟันพวกของแจมบาจนเกิดความโกลาหลขึ้น ในช่วงที่แจมบาเผลอ เลอาได้ทำลายเครื่องสับไฟที่อยู่บนเรือของซึ่งอยู่ใกล้กับแจมบาทำให้ไฟฟ้าบนเรือดับและใช้โซ่ตรวนรัดคอแจมบาจนตายในที่สุด แค่นั้นยังไม่จบ แม้แจมบา เดอะ ฮันท์จะตายไปแล้ว ก็ยังมีบิบ ฟอทูนนายังคอยสืบทอดกิจการต่อจากเขาแต่ทว่าเขากลับออกท่องจักรวาลไปพร้อมกับคนที่เหลือ ทาทูอีนจึงไร้ซึ่งมาเฟียมาปกครอง.

ดู ชื่อสามัญและแจบบา เดซิลิจิก ทิอูเร

แจ็กคัล

แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของแจ็กคัลทั้ง 3 ชนิด แจ็กคัล (Jackal) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์สุนัข (Canidae) ในสกุล Canis จำพวกหนึ่ง แจ็กคัลจะมีขนาดเล็กกว่าหมาป่า แต่มีขนาดใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก โดยที่คำว่า "jackal" นั้น แผลงมาจากคำว่า "ชะฆาล" (شغال, shaghāl) ในภาษาเปอร์เซีย หรือคำว่า "ชาคัล" (çakal) ในภาษาตุรกี หรือมาจากคำว่า "ศฤคาล" (शृगाल, śṛgāla) ในภาษาสันสกฤต แจ็กคัลมีทั้งหมด 3 ชนิด กระจายพันธุ์ไปทั้งทวีปเอเชีย, ยุโรปบางส่วน และแอฟริกา ได้แก่ หมาจิ้งจอกทอง (Canis aureus), หมาจิ้งจอกข้างลาย (C.

ดู ชื่อสามัญและแจ็กคัล

โลมา

ลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทั้งในทะเล, น้ำจืด มีรูปร่างคล้ายปลา คือ มีครีบ มีหาง แต่โลมามิใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ซึ่งประกอบไปด้วย วาฬและโลมา ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่าวาฬมาก และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน (Odontoceti) เท่านั้น โลมา เป็นสัตว์ที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่าเฉลียวฉลาด มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์เมื่อยามเรือแตก จนกลายเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าขานทั่วไป มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีจำนวนมากถึงหลักพันถึงหลายพันตัว ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวขึ้นเหนือน้ำได้ ชอบว่ายน้ำขนาบข้างหรือว่ายแข่งไปกับเรือวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518).

ดู ชื่อสามัญและโลมา

โลมาหลังโหนก

ลมาหลังโหนก หรือ โลมาขาวเทา หรือ โลมาเผือก หรือ โลมาสีชมพู (Chinese white dolphin, Pacific humpback dolphin, Indo-Pacific humpbacked dolphin;; 中華白海豚; พินอิน: Zhōnghuá bái hǎitún) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีจะงอยปากยาวโค้งเล็กน้อยที่เด่นชัดคือส่วนของฐานครีบหลังจะเป็นสันนูนสูงรองรับครีบหลังสีลำตัวจะมีการผันแปรต่างกันมาก ตัวเล็กจะมีสีจางจนเหมือนเผือก แม้บางตัวก็มีสีออกขาว หรืออย่างน้อยขาวในบางส่วน หรือสีชมพู ซึ่งสีเหล่านี้ไม่ได้มาจากเม็ดสี แต่เป็นสีของหลอดเลือดที่ช่วยให้ไม่ให้อุณหภูมิร่างกายสูงจนเกินไป และมีส่วนหลังที่เป็นสันนูนเหมือนโหนก อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ขนาดโตเต็มที่ ตัวผู้ยาวประมาณ 3.2 เมตร ขณะที่ตัวเมียยาว 2.5 เมตร และลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1 เมตร มีอายุโดยเฉลี่ย 40 ปี โลมาหลังโหนกเมื่ออายุมากขึ้นสีชมพูตามตัวจะยิ่งเข้มขึ้น และส่วนด้านท้องและด้านล่างลำตัวจะเป็นจุด และมีสีที่สว่างกว่าลำตัวด้านบน กระจายพันธุ์ตามแถบชายฝั่งหรือแหล่งน้ำตื้นที่มีความลึกไม่เกิน 20 เมตร บริเวณอินโดแปซิฟิก พบมากที่สุด คือ อ่าวรีพัลส์ หรือเกาะลันเตา ที่ฮ่องกง ที่มีจำนวนประชากรในฝูงนับร้อย โดยมากชายฝั่งทะเลที่โลมาหลังโหนกอาศัยอยู่นั้นมักจะมีป่าชายเลนอยู่ด้วยเสมอ ๆ แต่จะต้องอยู่ในบริเวณน้ำตื้นเท่านั้น มีอุปนิสัยอาศัยประจำที่หรือมีการย้ายที่อพยพน้อยมากและอาศัยไม่ห่างจากชายฝั่งเกินระยะ 1 กิโลเมตร จึงพบเห็นตัวได้โดยง่าย โดยมักจะพบเห็นตั้งแต่ตอนเช้า จะอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 10 ตัว ว่ายน้ำช้า ประมาณ 4.8 กิโลเมตร/ชั่วโมง และจะดำน้ำประมาณ 40-60 วินาที ก่อนจะโผล่ขึ้นมาหายใจ กินปลาทั้งตามชายฝั่งและในแนวปะการังเป็นอาหารหลัก รวมทั้งหมึก, กุ้ง, ปู ออกหาอาหารเป็นฝูง โดยใช้คลื่นเสียง เป็นโลมาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาฝึกกันตามสวนน้ำหรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน.

ดู ชื่อสามัญและโลมาหลังโหนก

โอรังมาวัซ

อรังมาวัซ หรือ มาวัซ (Orang Mawas, Mawas) หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า โอรังดาลัม (Orang Dalam) เป็นสัตว์ประหลาดขนดกคล้ายเอปผสมมนุษย์ซึ่งมีผู้อ้างว่าพบเห็นในป่าลึกของรัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย คล้ายคลึงกับบิ๊กฟุตหรือแซสแควตช์ในทวีปอเมริกาเหนือ, เยติหรือมนุษย์หิมะในเทือกเขาหิมาลัย หรือโอรัง เปนเดะก์บนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ภูมิภาคอาเซียนเช่นเดียวกัน กล่าวกันว่า โอรังมาวัซมีความสูงถึง 3 เมตร (ประมาณ 10 ฟุต) ตีนมีขนาดใหญ่และมีขนดกสีดำ มีรายงานว่าจับปลาและขโมยผลไม้กินเป็นอาหาร ชาวโอรังอัซลีหรือซาไก (ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของภูมิภาคแถบนี้) เรียกโอรังมาวัซว่า "ฮันตูจารังกีกี" (hantu jarang gigi) ซึ่งแปลว่า "ผีฟันเขี้ยว" บันทึกของโอรังมาวัซ ย้อนหลังไปไกลถึงปี..

ดู ชื่อสามัญและโอรังมาวัซ

ไพโรโซม

รโซม (Pyrosomes) เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์น้ำที่อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง และไฟลัมย่อยยูโรคอร์ดาตา จัดอยู่ในสกุล Pyrosoma นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อสามัญเรียกว่า "แตงกวาดองทะเล" (Sea pickles) ไพโรโซม เป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปร่งใส ลำตัวยาวเหมือนกรวยขนาดยาว สามารถเรืองแสงเป็นสีฟ้าหรือเขียวได้ เป็นสัตว์ที่หายาก แต่เป็นสัตว์ที่ไม่มีกะโหลกหรือขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อ จึงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง แต่จะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไพโรโซมเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของสัตว์ขนาดเล็กลักษณะเหมือนแมงกะพรุนคือ "ซูอิก" (Zooid) จำนวนนับพันตัวรวมตัวกันอยู่ โดยเฉลี่ยแล้วจะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หรือ 60 เซนติเมตร หรือแม้แต่มีความยาวแค่ไม่กี่เซนติเมตร แต่ก็มีการพบตัวที่มีความยาวถึง 30 หรือ 35 เมตร ขนาดเทียบเท่ากับวาฬขนาดใหญ่เลยทีเดียว ไพโรโซม กินสาหร่ายขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่าเป็นอาหาร รวมถึงแพลงก์ตอน เป็นสัตว์ที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ แต่ทว่าสร้างความรำคาญให้แก่อุตสาหกรรมประมง โดยเฉพาะการประมงในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสามารถเกาะคลุมอุปกรณ์ประมงได้ ทำให้ไม่สามารถจับปลาได้ หากมีเป็นจำนวนมาก อาจต้องทำให้เรือประมงบางลำต้องย้ายที่ประมงหนี โดยบริเวณชายฝั่งของแคลิฟอร์เนียไม่เคยมีรายงานการพบไพโรโซมมาก่อนเลย จนกระทั่งในปี..

ดู ชื่อสามัญและไพโรโซม

เบียร์ดดราก้อน

ียร์ดดราก้อน หรือ มังกรเครา (Bearded dragon, Inland bearded dragon, Central bearded dragon) สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) เบียร์ดดราก้อน มีสีลำตัวตามธรรมชาติสีน้ำตาลสลับกับลายสีครีมเข้ม ตามลำตัวจะเต็มไปด้วยเกล็ดและหนามเล็ก ๆ ใช้สำหรับป้องกันตัวจากศัตรูผู้ล่า แต่ไม่อาจทำอันตรายสัตว์อื่นใดก่อนได้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวรวมหางประมาณ 16-18 นิ้ว มีจุดเด่นที่ถุงใต้คอซึ่งเป็นหนามแหลม แลดูคล้ายเครา อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ยิ่งโดยเฉพาะในตัวผู้ในวัยเจริญพันธุ์จะมีถุงนี้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะแผ่ขยายออกเป็นสีดำเวลาตื่นเต้น ตกใจ ต่อสู้ หรือใช้ในการเกี้ยวพาราสีตัวเมีย กระจายพันธุ์อยู่ในทะเลทราย ที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับกับเนินทรายเตี้ย ๆ ในประเทศออสเตรเลีย แถบรัฐควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, นิวเซาท์เวลส์ และวิกตอเรีย โดยหากินและอาศัยอยู่บนพื้นมากกว่าจะปีนป่ายตามก้อนหินหรือต้นไม้ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น หนอน, แมลง, กิ้งก่าขนาดเล็ก, ผักชนิดต่าง ๆ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 8-12 เดือน ในช่วงผสมพันธุ์ ตัวผู้อาจจะผสมพันธุ์กับตัวเมียได้หลายตัว อาจถึงหลักสิบ ใช้เวลาตั้งท้องนาน 20-28 วัน เมื่อวางไข่ ตัวเมียจะไม่กินอาหารก่อน 2-4 วัน ซึ่งตัวเมียจะขุดหลุมกับพื้นทราย ก่อนที่จะวางไข่ในหลุมประมาณ 20-30 ฟองต่อครั้ง หลังจากวางไข่เรียบร้อยแล้ว ตัวเมียสามารถตั้งท้องได้อีกโดยที่ไม่ต้องผ่านการผสมพันธุ์อีกราว 2-4 ท้อง โดยทิ้งช่วงระยะเวลาประมาณ 20-28 วัน เท่ากับการตั้งท้อง ไข่เบียร์ดดราก้อนใช้เวลา 55-65 วัน ในการฟักเป็นตัว อุณหภูมิเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดเพศเหมือนเช่นสัตว์เลื้อยคลานอีกหลายประเภท อุปนิสัยและพฤติกรรมของเบียร์ดดราก้อนนั้นในธรรมชาติของเบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่หวงถิ่นที่อยู่มาก เบียร์ดดราก้อนไม่ว่าเพศผู้หรือเพศเมียนั้นเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่อย่างสันโดษในธรรมชาติ เบียร์ดดราก้อนไม่จับคู่อยู่ร่วมกันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มแต่อย่างใด เบียร์ดดราก้อนนั้นไม่มีความผูกพันธ์ุทางสายเลือดและไม่อาจมีความรู้สึกรักหรือว่ารับรู้ถึงการมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมสายพันธ์ุได้ การที่ผู้เลี้ยงไม่ศึกษาพฤติกรรมที่ของเบียร์ดดราก้อนให้รอบคอบ อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของสัตว์เลี้ยงได้ เบียร์ดดราก้อนเพศผู้นั้นจะเข้าขู่เบียร์ดดราก้อนผู้รุกรานในทันทีที่พบเห็นโดยการฉีดสีไปในส่วนเคราให้เป็นสีดำและการยักหัวขึ้นลงอย่างรุนแรง ก่อนที่เพศผู้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ตัวเล็กกว่าจะโบกมือขึ้นลงอย่างช้าๆแสดงความยอมแพ้และถอยหนี แต่ถ้าหากว่าเพศผู้ทั้งคู่มีความเหี้ยนกระหือรือทั้งคู่ การเข้าขู่และวิ่งไล่กัดกันย่อมเกิดขึ้น ตามมาด้วยความตายหรือบาดเจ็บของทั้งสองฝ่าย เบียร์ดดราก้อนจำนวนไม่น้อยนั้นได้สูญเสียนิ้ว ขา หรือหาง มาจากการต่อสู้ไม่ว่าในวัยเด็กเล็กหรือโตเต็มวัย หรือแย่กว่านั้นอาจทำให้แผลเกิดการติดเชื้อตามมาด้วยการเน่าและถึงแก่ความตายได้ เบียร์ดดราก้อนไม่ควรนำมาเลี้ยงด้วยกันไม่ว่าจะเพศผู้หรือเพศเมีย ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดที่จะให้มันมาอยู่ร่วมกันคือช่วงการผสมพันธุ์ชั่วคราวเท่านั้น การที่เบียร์ดดราก้อนสองตัวเอาตัวทับกันนั้นไม่ได้เป็นการแสดงออกถึงความรักแต่อย่างใด แต่หากเป็นการแสดงถึงความเป็นใหญ่ในอาณาเขตของตน ตัวที่เป็นใหญ่นั้นจะเอาร่างตัวมันเองบังแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้อีกตัวไม่สามารถได้รับแสงได้อย่างเหมาะสม ลักษณะพฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่การแสดงออกทางความรักแต่อย่างใด เนื่องจากเบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์เลือดเย็นไม่สามารถสร้างความร้อนเองได้ อาจส่งผลทำให้ตัวที่ด้อยกว่านั้นส่งผลเสียทางสุขภาพและความเครียดในระยะยาวอาทิ ซึมเศร้า ขาดน้ำและขาดสารอาหาร ซึ่งสามารถทำให้ถึงตายได้ เบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยแสดงออกทางอาการ ไม่ว่าจะเจ็บ หรือป่วย แต่จะตายทันทีเมื่อถึงขีดสุดที่มันจะทนได้ เบียร์ดดราก้อนที่มีอาการเครียดนั้น จะแสดงออกโดยการฉีดสีดำเข้าไปที่ใต้ท้อง มีลักษณะเป็นเส้นลายวงๆ เบียร์ดดราก้อนที่ไม่มีอาการเครียดจะมีท้องลักษณะขาวโพลน ไม่มีเส้นดำ หรือลายใดๆใต้ท้องลำตัว หากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ควรที่จะนำเบียร์ดดราก้อนไปในที่ที่มันรู้สึกปลอยภัยเช่นตู้ที่อยู่ของมันในทันที มักจะทำให้อาการเหล่านี้หายไปได้ เบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่ขี้เกียจ ไม่ค่อยชอบเดินและมักจะอยู่เฉยๆตากแดดตลอดวัน เมื่อเบียร์ดดราก้อนรู้สึกร้อน มันจะอ้าปากเพื่อเป็นการคลายความร้อน เนื่องจากเบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์เลื้อยคลาน พวกมันไม่สามารถระบายความร้อนทางเหงื่อได้เฉกเช่นมนุษย์ เบียร์ดดราก้อนที่ตากแดด ควรจะมีที่กำบังขณะตากแดดบ้าง จะทำให้เบียร์ดดราก้อนสามารถเข้าไปหลบแดดได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการช็อกตายโดยความร้อนจัดในเวลากลางวัน เบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่เก็บน้ำในร่างกาย พวกมันกินน้ำน้อยมากต่อวันหรือไม่กินเลย เบียร์ดดราก้อนบางตัวมักไม่ยอมกินน้ำจากถ้วย แต่พวกมันสามารถได้รับน้ำจากอาหารที่กินเช่นผักหรือผลไม้ได้ ลักษณะของเบียร์ดดราก้อนที่แข็งแรงนั้นควรจะหัวเชิดตรง ดวงตาเปิดเป็นวงกลมเต็มที่ ไม่ง่วงซึมช่วงตอนกลางวันแต่อย่างใด เบียร์ดดราก้อน นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะมีอุปนิสัยไม่ดุร้าย ไม่กัดหรือทำร้ายมนุษย์ โดยสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ โดยมักจะเป็นตู้ปลาที่ปูพื้นด้วยทรายหรือกรวดแห้ง ๆ เหมือนสภาพที่อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบัน สามารถเพาะเบียร์ดดราก้อนที่มีความยาวถึง 22 นิ้วได้ ซึ่งนับว่ามีความใหญ่กว่าขนาดในธรรมชาติ หรือมีสีต่าง ๆ ผิดไปจากธรรมชาติด้วย เช่น สีแดง, สีเหลืองทั้งตัว หรือหนามบนตัวหายไปหมด หรือแม้แต่ลำตัวโปร่งใสจนมองเห็นอวัยวะต่าง ๆ ภายในได้ลาง ๆ ดวงตามีแต่ส่วนตาดำ ไม่มีตาขาว เป็นต้น.

ดู ชื่อสามัญและเบียร์ดดราก้อน

เบียร์ดดราก้อน (สกุล)

ียร์ดดราก้อน (อังกฤษ: Bearded dragons; มังกรเครา) ชื่อสามัญที่ใช้เรียกกิ้งก่าในสกุล Pogona มีรูปร่างเหมือนกิ้งก่าทั่วไป แต่มีจุดเด่นอยู่ที่ถุงใต้คอซึ่งเป็นหนามแหลม อันเป็นที่มาของชื่อ ยิ่งโดยเฉพาะในตัวผู้ในวัยเจริญพันธุ์จะมีถุงนี้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะแผ่ขยายออกเป็นสีดำเวลาตื่นเต้นหรือตกใจ เบียร์ดดราก้อน มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 18 นิ้ว มีทั้งสิ้น 7 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถแยกเพศได้ชัดเจนเมื่ออายุได้ 1 ปี พบกระจายพันธุ์ในทะเลทรายทางตอนเหนือของออสเตรเลีย สามารถเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อม กินอาหารได้ทั้งพืช,แมลงและ หนอนนก หากินในเวลากลางวัน โดยกินผักได้หลากหลายชนิด เช่น ข้าวโพด, ผักกาดขาว, ผักกาดหอม, ฟักทอง, ผักกวางตุ้ง, แครอท มีอุปนิสัยที่ไม่ดุร้าย เชื่องต่อมนุษย์ จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน ยิ่งโดยเฉพาะในตัวที่มีสีสันแปลกแตกต่างไปจากปกติ สนนราคาก็จะยิ่งแพงขึ้น.

ดู ชื่อสามัญและเบียร์ดดราก้อน (สกุล)

เก้งหม้อ

ก้งหม้อ หรือ กวางเขาจุก หรือ เก้งดำ หรือ เก้งดง (Fea's muntjac, Tenasserim muntjac) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่จำพวกกวาง มีลักษณะคล้ายเก้งธรรมดา (M.

ดู ชื่อสามัญและเก้งหม้อ

เลียงผา

ลียงผา หรือ เยียงผา หรือ โครำ (Serows; อีสาน: เยือง) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่สกุลหนึ่ง ในวงศ์ Bovidae วงศ์ย่อย Caprinae คือ วงศ์เดียวกับแพะและแกะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis (/แคป/-ปริ-คอร์-นิส/).

ดู ชื่อสามัญและเลียงผา

เหยี่ยวรุ้ง

หยี่ยวรุ้ง หรือ อีรุ้ง (Crested serpent-eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Spilornis cheela) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางจำพวกเหยี่ยวที่พบได้ในป่าในทวีปเอเชียเขตร้อน มีการกระจายพันธุ์กว้าง ด้วยความที่นกในสกุลนี้กินอาหารหลัก คือ งู จึงได้ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "Serpent-eagle" (เหยี่ยวงู หรือ อินทรีงู).

ดู ชื่อสามัญและเหยี่ยวรุ้ง

เห็ดขอนขาว

ห็ดขอนขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lentinus squarrosulas Mont.,ชื่อสามัญ: เห็ดขอนขาว,ชื่ออื่น: เห็ดมันมะม่วง เห็ดมัน)ลักษณะโดยทั่วไปของเห็ดขอนขาวและเห็ดขอนดำโดยทั่วไปแล้วลักษณะก้านจะชูออกมา และหมวกเห็ดจะมีรอยปุ๋มตรงกลางเล็กน้อย โดยที่ขนาดของหมวกเห็ดจะไม่ใหญ่มากและถ้าหากสีของเห็ดเป็นสีขาวทั้งต้นจะถูกเรียกว่าเห็ดขอนขาวแต่ถ้าที่หมวกเห็ดออกสีคล้ำๆหน่อยจะเรียกว่าเห็ดขอนดำส่วนมากจะขึ้นบนไม้เนื้อแข็งและก้อนเชื้อเห็นที่ชาวไร่เพาะขึ้นม.

ดู ชื่อสามัญและเห็ดขอนขาว

เห็ดเผาะ

ห็ดเผาะ หรือ เห็ดถอบ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Astraeus hygrometricus) เป็นเห็ดราชนิดหนึ่งในวงศ์ Diplocystaceae เมื่ออ่อนและดอกยังไม่เปิดมีลักษณะคล้ายเห็ดราในหมวด Basidiomycota กล่าวคือเป็นลูกกลม เมื่อโตขึ้นดอกเห็ดมีลักษณะเป็นรูปดาวซึ่งเป็นผลมาจากเนื้อเยื่อชันนอกของสปอโรคาร์ปแตกออก เห็ดเผาะเป็นเห็ดชนิดไมคอไรซาที่เติบโตร่วมกับต้นไม้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินร่วนปนทราย เห็ดเผาะมีการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ชื่อสามัญ (hygroscopic earthstar) มาจากมันมีคุณสมบัติไฮโกรสโคปิก (ดูดซับน้ำ) เห็ดจะเปิดดอกวงนอกเผยถุงสปอร์เมื่อมีความชื้นเพิ่มขึ้นและปิดอีกครั้งเมื่อแห้ง ดอกวงนอกจะแตกแบบไม่สม่ำเสมอที่ผิว ขณะที่ถุงสปอร์เป็นสีน้ำตาลอ่อนมีรอยฉีกยาวบริเวณด้านบน เกลบา (gleba) เริ่มแรกมีสีขาวและกลายเป็นสีน้ำตาลและเป็นผงเมื่อสปอร์เจริญเต็มที่ สปอร์มีสีน้ำตาลแดง เกือบกลม มีปุ่มเล็กๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5–11 ไมโครเมตร แม้ว่าจะมีลักษณะภายนอกคล้ายกัน แต่เห็ดเผาะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเห็ดราในสกุล Geastrum ถึงในอดีตจะมีการจัดอนุกรมวิธานไว้ในสกุลนี้ก็ตาม เห็ดชนิดนี้ได้รับการจัดจำแนกครั้งแรกโดยคร้สติน เฮนดริก เพอร์ซูน (Christiaan Hendrik Persoon) ในปี..

ดู ชื่อสามัญและเห็ดเผาะ

เต่ามาตามาต้า

ต่ามาตามาต้า (Mata mata turtle, Matamata turtle) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง ในวงศ์เต่าคองู (Chelidae) จัดเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Chelus โดยคำว่า "Mata mata" ที่เป็นชื่อสามัญนั้น มาจากภาษาสเปนแปลว่า "ฆ่ามัน ฆ่ามัน" จัดว่าเป็นเต่าชนิดหนึ่งที่หากินและอาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา มีรูปร่างแปลกตา นับว่าเป็นนักพรางตัวเข้ากับได้ดีเยี่ยมชนิดหนึ่ง เพราะมีรูปร่างและสีสันกลมกลืนกับธรรมชาติมาก เต่ามาตามาต้ามีส่วนหัวที่แบนแผ่เป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ และผิวหนังขรุขระและมีติ่งเนื้อล้อมรอบทำหน้าที่รับความรู้สึกและตรวจสอบการกระเพื่อมของน้ำ กระดองกว้างและแบนราบมีสันขนาดใหญ่ 3 สัน เรียงตามความยาวของกระดอง ที่เมื่ออยู่ในน้ำแล้วมองดูเหมือนก้อนหิน หรือเปลือกไม้ หรือใบไม้มากกว่า และมีจมูกที่มีความยาวคล้ายหลอด คอยาวเหมือนงู ซึ่งทั้งหมดใช้สำหรับการพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใต้พื้นน้ำ เพื่อรอดักซุ่มเหยื่อ ซึ่งได้แก่ ปลา โดยเต่ามาตามาต้าจะอยู่นิ่ง ๆ อ้าปากรอปลาที่ผ่านเข้ามาในระยะของปาก จะกินปลาด้วยการดูดเข้าไป รวมถึงกินสัตว์อย่างอื่นได้ด้วย เช่น ครัสเตเชียน, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ตลอดจนสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เต่ามาตามาต้า โตเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 20 กิโลกรัม นับเป็นเต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดของทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำโอรีโนโก และอเมซอน มักอาศัยอยู่ในน้ำที่มีสภาพเป็นกรดสูงซึ่งเกิดจากการทับถมของเศษซากพืชต่าง ๆ จนน้ำมีสีคล้ายสีน้ำตาลหรือสีชา มีสารแทนนินสูง มีพฤติกรรมเชื่องช้าเป็น อาศัยอยู่โดดเดียว โดยหากินและอาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา ยกเว้นเมื่อตัวเมียขึ้นมาวางไข่บนบกเท่านั้น โดยวางไข่บนดินเลนประมาณ 12-28 ฟอง อายุที่พร้อมขยายพันธุ์อยู่ที่ 5 ปี ฤดูการวางไข่อยู่ที่ปลายปีราวเดือนตุลาคม-ธันวาคม ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 208 วัน นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง.

ดู ชื่อสามัญและเต่ามาตามาต้า

เต่าอัลลิเกเตอร์

ต่าอัลลิเกเตอร์ในสวนสัตว์พาต้า เต่าอัลลิเกเตอร์ หรือ เต่าอัลลิเกเตอร์ สแนปปิ้ง (Alligator snapping turtle) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เต่าสแนปปิ้ง (Chelydridae) จัดเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochelys ซึ่งหลายชนิดในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติแด่ คอนราด จาค็อบ แทมมินค์ นักสัตววิทยาชาวดัตช์ เต่าอัลลิเกเตอร์ มีส่วนหัวใหญ่ตัน ขากรรไกรรูปร่างเหมือนจะงอยปากและกระดองยาวหนามีสัน 3 สันแลดูคล้ายหลังของอัลลิเกเตอร์ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ กระดองของมีสีเทาเข้ม หรือน้ำตาล, ดำ, หรือสีเขียวมะกอก ในบางครั้งอาจมีตะไคร่น้ำเกาะเพื่อใช้พรางตัว มีลายสีเหลืองบนตาที่ช่วยในการพรางตัวและมีหน้าที่แบ่งส่วนลูกตา รอบ ๆ ดวงตาของถูกล้อมรอบด้วยเนื้อรูปดาวซึ่งดูแล้วเหมือนขนตา ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย โดยตัวผู้นั้นนั้นมีความยาวกระดอง 66 เซนติเมตร และมีน้ำหนักได้ถึง 80 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนัก 23 กิโลกรัม ความแตกต่างระหว่างเพศสามารถดูได้จากความหนาของโคนหาง โดยเต่าตัวผู้จะมีโคนหางที่หนากว่าเพราะเป็นส่วนที่ซ่อนอวัยวะสืบพันธุ์ไว้ โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่มีบันทึกอย่างไม่เป็นทางการระบุว่ามีน้ำหนักถึง 403 ปอนด์ (ประมาณ 183 กิโลกรัม) พบในแม่น้ำนีโอโช ในรัฐแคนซัส เมื่อปี ค.ศ.

ดู ชื่อสามัญและเต่าอัลลิเกเตอร์

เต่านา

ำหรับบุคคลดูที่ หม่อมหลวงมิ่งมงคล โสณกุล เต่านา หรือ เต่าสามสัน (Snail-eating turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลาน 2 ชนิดจำพวกเต่าที่อยู่ในสกุล Malayemys ในวงศ์ Bataguridae เป็นเต่าน้ำจืดขนาดเล็ก มีลักษณะเด่น คือ กระดองส่วนบนมีสันนูน 3 เส้น เห็นได้ชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ และมีขอบเรียบ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และมีลายเส้นสีเหลืองหรือสีขาว กระดองส่วนบนมีสีน้ำตาลและขอบสีครีมหรือสีเหลือง กระดองส่วนล่างมีสีเหลือง และแต้มสีดำบนแผ่นเกล็ด ขณะที่สีผิวทั่วไปเป็นสีน้ำตาลเทาหรือดำ บริเวณส่วนหน้าและจมูกมีลายเส้นขีดสีขาว เป็นเต่าที่พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำของภูมิภาคอินโดจีนและแหลมมลายู พบเห็นได้ทั่วไปทั้งนาข้าว, สวนสาธารณะ หรือท้องร่องสวนผลไม้ พื้นที่การเกษตรทั่วไป เป็นเต่าที่กินหอยเป็นอาหารหลักทั้งหอยฝาเดียวและหอยสองฝา โดยใช้ริมฝีปากขบกัดเปลือกหอยให้แตก แล้วใช้เล็บจิกเนื้อหอยออกมากิน และยังกินสัตว์น้ำอย่างอื่นได้ด้วย เดิมทีเต่านาถูกจำแนกไว้เพียงชนิดเดียว แต่ต่อมาได้มีการศึกษาเพิ่มขึ้นโดยนักวิชาการชาวตะวันตก เมื่อปี ค.ศ.

ดู ชื่อสามัญและเต่านา

Makararaja chindwinensis

Makararaja chindwinensis เป็นปลากระเบนชนิดใหม่ของโลก ที่ยังไม่มีชื่อสามัญ จัดอยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Makararaja เป็นปลากระเบนที่ค้นพบในปี ค.ศ.

ดู ชื่อสามัญและMakararaja chindwinensis

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Common name

ขลู่คอมมอนบรัชเทลพอสซัมคางคกคูโบซัวค่างค้างคาวแวมไพร์งูหางกระดิ่งงูหางกระดิ่ง (สกุล)งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์งูทะเลซากูระปลาพีค็อกแบสปลากะพงหน้าลายปลากดกลับหัวปลาก้างพระร่วงปลามังกรปลาสร้อยปลาสร้อยลูกกล้วยปลาสอดหางดาบเขียวปลาสินสมุทรมัดหมี่ปลาหมอแคระคาเคทอยเดสปลาหมูอารีย์ปลาจิ้งจกสมิธปลาจีนปลาทิลาเพียปลาคิลลี่ฟิชปลาฉลามหัวค้อนยาวปลาฉลามเสือดาวปลาซิวปลาซิวหัวตะกั่วปลาปากขลุ่ยปลาปิรันยาปลานีออน (สกุล)ปลาแบล็คบาร์เรดฮุกปลาแบสลายจุดปลาแพะลายปลาแมกเคอเรลปลาแรดปลาแขยงจุดปลาแซลมอนปลาแปบปลาใบโพปลาใบโพจุดปลาไวท์คลาวด์ปลาเบลนนี่ปลาเลียหินปูขน (ปูก้ามขน)นกกระตั้วดำหางขาวนกกีวีนกล่าเหยื่อนกอีเสือนกนางนวลแกลบหงอนใหญ่นกแก้วโม่งนกแสกทุ่งหญ้านกไต่ไม้นกเรเวนนกเลิฟเบิร์ดนกเขาชวานกเค้าแมวป่าแรดแร้งแจบบา เดซิลิจิก ทิอูเรแจ็กคัลโลมาโลมาหลังโหนกโอรังมาวัซไพโรโซมเบียร์ดดราก้อนเบียร์ดดราก้อน (สกุล)เก้งหม้อเลียงผาเหยี่ยวรุ้งเห็ดขอนขาวเห็ดเผาะเต่ามาตามาต้าเต่าอัลลิเกเตอร์เต่านาMakararaja chindwinensis