โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชิวหา

ดัชนี ชิวหา

จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ห้อง 21 ตอน ทศกัณฐ์ประพาสป่าให้ชิวหาน้องเขยรักษาเมือง ชิวหา เป็นตัวละครในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ เป็นน้องเขยของทศกัณฐ์ สามีของนางสำมนักขา มีลักษณะกายสีหงเสน ยอดน้ำเต้ากลม ตาจระเข้ ปากแสยะ แลบลิ้น เมื่อครั้งนั้น ทศกัณฐ์ไปประพาสป่า จึงให้น้องเขยเฝ้าเมืองไว้ ฝ่ายชิวหา เมื่อได้รับหน้าที่ก็ทำหน้าที่อย่างดี ชิวหา เป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์เดช คือมีลิ้นที่ยาวและใหญ่ สามารถใช้ในการศึกได้ เมื่อชิวหาได้รับหน้าที่มา ก็จัดยามตามไฟรักษาเมืองไม่ได้หลับไม่ได้นอน จนวันที่ 7 ชิวหา ก็ทนความง่วงไม่ไหว จึงเนรมิตกายให้ใหญ่โต แล้วแลบลิ้นไปปิดเมืองลงกาไว้ แล้วหลับไป ฝ่ายทศกัณฐ์ เมื่อกลับมาจากประพาสป่า มองไม่เห็นเมืองลงกา ก็เข้าใจว่าเป็นอุบายของศัตรูบดบังเมืองไว้ ด้วยความโกรธ จึงขว้างจักร อาวุธของตนไปตัดลิ้นชิวหาทันที ชิวหาถูกตัดลิ้นขาดไปก็สิ้นใจลง นางสำมนักขาเสียใจมาก จึงไปเที่ยวป่าแล้วเจอกับพระราม จนเป็นปฐมเหตุของสงครามครั้งนี้ในที่สุด หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

4 ความสัมพันธ์: กุมภกาศรายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์หัวโขนนางสำมนักขา

กุมภกาศ

กุมภกาศ เป็นโอรสของ ชิวหา และ นางสำมนักขา มีศักดิ์เป็นหลานชายแท้ๆของ ทศกัณฐ์ มีนิสัยจองหองโดยตัวละครตัวนี้ได้มีบทบาทแค่ช่วงต้นของเรื่อง รามเกียรติ์ เท่านั้นเนื่องจากได้ถูก พระลักษมณ์ พระอนุชาของ พระราม ฆ่าตาย เนื่องจากในขณะนั้นกุมภกาศได้ตั้งโรงพิธีขอพรจาก พระพรหม เพื่อขอพระขรรค์เทพศัตราแต่เนื่องจากพระพรหมท่านมีธุระสำคัญจึงมิได้เหาะลงมามอบด้วยพระองค์เองแต่ได้ทิ้งพระขรรค์ลงมาข้างโรงพิธีของกุมภกาศที่ริมฝั่งแม่น้ำโคทาวรีจึงทำให้กุมภกาศโกรธมากต่อว่าพระพรหมว่าไม่ให้เกียรติและระหว่างนั้นพระรามและพระลักษมณ์ได้มาประทับที่ศาลาริมแม่น้ำโคทาวรีและพระลักษมณ์ได้เสด็จออกมาหาอาหารระหว่างทางได้พบกับพระขรรค์เทพศัตราของพระพรหมที่ทรงทิ้งลงมาให้แก่กุมภกาศพระลักษมณ์จึงทรงยกพระขรรค์ขึ้นมาทำให้แสงของพระขรรค์ไปเข้าตาของกุมภกาศจึงได้ออกมาต่อสู้กับพระลักษมณ์เพื่อแย่งชิงพระขรรค์และในที่สุดกุมภกาศจึงถูกพระลักษมณ์ฆ่าตายด้วยพระขรรค์เทพศัตร.

ใหม่!!: ชิวหาและกุมภกาศ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ชิวหาและรายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

หัวโขน

มงกุฏสามกลีบขององคต สีเขียว ปากหุบ ตาโพลง หัวโขน เป็นงานศิลปะชั้นสูง ใช้สำหรับสวมครอบศีรษะ ปิดบังส่วนหน้าของผู้แสดงโขนอย่างมิดชิด เป็นศิลปวัตถุประเภทประณีตศิลป์ และงานศิลปะที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างวิจิตรตระการตาเช่นเดียวกับเครื่องแต่งกาย ประณีตบรรจงตามแบบช่างไทย มีรูปลักษณะสวยงาม ลักษณะคล้ายหน้ากาก แตกต่างตรงที่เป็นการสร้างจำลองรูปทรงใบหน้าและศีรษะทั้งหมด เจาะช่องเป็นรูกลมที่นัยน์ตาของหัวโขน ให้ตรงกับนัยน์ตาของผู้แสดงเพื่อการมองเห็น แบ่งเป็น 2 ประเภทคือหัวโขนสำหรับใช้ในการแสดง หมายความถึงหัวโขนที่สื่อถึงตัวละครนั้น ๆ เช่น พระ ยักษ์ เทวดา วานรและสัตว์ต่าง ๆ สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ ตามเอกลักษณ์ของหัวโขนที่ถูกต้องและสมบูรณ์แบบของศิลปะไทย และหัวโขนที่ใช้สำหรับเป็นของประดับตกแต่งหรือของที่ระลึก หมายความถึงหัวโขนที่ทำขึ้นโดยการหล่อ ปั้น ฉีดและขึ้นรูปด้วยพลาสติกหรือกรรมวิธีอื่น ๆ ลงรักปิดทอง ประดับกระจก.

ใหม่!!: ชิวหาและหัวโขน · ดูเพิ่มเติม »

นางสำมนักขา

นางสำมนักขา (शूर्पणखा ศูรฺปณขา) เป็นตัวละครหนึ่งในมหากาพย์รามายณ.

ใหม่!!: ชิวหาและนางสำมนักขา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »