โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไทเหนือ

ดัชนี ไทเหนือ

ทเหนือ (Tai Nüa) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในตระกูลภาษาไท-กะได อาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง พูดภาษาไทใต้คง หลวงวิจิตรวาทการ กล่าวไว้ใน งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย ว่า "ที่เรียกว่าชาวไทเหนือนั้นไม่มีอะไรที่แตกต่างกับไทพวกอื่นมากนัก แต่พวกนี้ชอบอยู่สูงมากกว่าไทพวกอื่น และเปลี่ยนที่อยู่บ่อยๆ หญิงไทเหนือชอบใส่เสื้อเพียงรัดอก และเสื้อสั้น แต่ก็ไม่ใช่ของคุณภาพเลว อาจเป็นไหมหรือแพรก็ได้ ผู้หญิงทำงานเลี้ยงไหมและทอผ้า ย้อมผ้ามาก และรู้จักให้สีกลมกลืนกันดี พวกนี้นับถือพระพุทธศาสนาแต่มีวัดและพระน้อยเต็มที เป็นพวกอ่อนโยนแต่ไม่ชอบการค้า ชอบแต่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ข้อเสียของไทพวกนี้คือติดฝิ่นมาก เพราะได้ตัวอย่างมาจากพวกแม้วและเย้า ซึ่งใกล้ชิดกันเสมอ".

7 ความสัมพันธ์: ภาษาไทใต้คงศาสนาพุทธหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)ตระกูลภาษาไท-กะไดแม้วไทเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหง

ภาษาไทใต้คง

ษาไทใต้คง (ไทใต้คง: ᥖᥭᥰᥖᥬᥳᥑᥨᥒᥰ; Dehong Dai language, Tai Dehong language) หรือ ภาษาไทเหนือ (Tai Nüa language; ภาษาจีน: 傣哪语 ไต๋หนาอยู่, 德宏傣语 เต๋อหงไต๋อยู่) เป็นภาษาที่ใช้พูดในเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มีเสียงพยัญชนะ 17 เสียง เป็นพยัญชนะต้นได้ 16 เป็นตัวสะกดได้ 8 เสียง เสียง /น/ เป็นตัวสะกดได้อย่างเดียว สระมี 10 เสียง โดยทั่วไปไม่มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงยาวและสระเสียงสั้น ยกเว้นสระ /อะ/ และสระ /อา/ มีวรรณยุกต์ 6 เสียง.

ใหม่!!: ไทเหนือและภาษาไทใต้คง · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ไทเหนือและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)

ลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ, ชื่อเดิม กิมเหลียง วัฒนปฤดา 金良 แต่มิได้มีเชื้อจีนแต่ประการใด) เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ นักคิด นักพูด นักเขียนคนสำคัญของไทย บุตรนายอิน และนางคล้าย เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่จังหวัดอุทัยธานี บิดามารดามีอาชีพค้าขาย อายุ 8 ขวบเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง เมื่อจบประถมศึกษา บิดาได้นำไปฝากให้บวชสามเณรอยู่กับพระมหาชุ้ย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เมื่อท่านอายุ 13 ปี ในปี พ.ศ. 2453 ท่านได้ศึกษานักธรรมและบาลีจนจบนักธรรมเอกและเปรียญ 5 ประโยค โดยสอบได้เปรียญ 5 ประโยคเมื่ออายุ 19 ปีใน..

ใหม่!!: ไทเหนือและหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาไท-กะได

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้.

ใหม่!!: ไทเหนือและตระกูลภาษาไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

แม้ว

แม้ว สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ไทเหนือและแม้ว · ดูเพิ่มเติม »

ไท

ท อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ไทเหนือและไท · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหง

ตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหง หรือเขตปกครองตนเองใต้คง (ไทเหนือ: 60px; เต๋อหง ไต่จู๋ จิ่งพัวจู๋ จื้อจื้อโจว) คือหนึ่งในเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 11,526 ตร.

ใหม่!!: ไทเหนือและเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ชาวไทเหนือ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »