โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตุรุง

ดัชนี ตุรุง

ชาวตุรุง ชาวไทตุรง หรือชาวไทรง เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศอินเดีย เมื่อพ.ศ. 2400 (150 ปีที่แล้ว) ชาวตุรุงนั้นมีผิวขาวแบบชาวจีน แต่เดิมนั้นชาวไทตุรุงเดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองม่านคำยัง ต่อมาชาวชาวนะราได้ชวนให้มาอพยพมาอัสสัมด้วย ขณะที่ข้ามภูเขาปาดไก่ก็ถูกชาวคะฉิ่นจับเป็นเชลย 5 ปี ที่บริเวณแม่น้ำตุรงจึงได้ชื่อว่า ชาวไทตุรุง และรับเอาภาษาจิ่งพัวมา ต่อมาก็เลิกใช้ภาษาไทไป และปัจจุบันก็ถือว่าภาษาตุรุงเป็นภาษาที่สูญพันธุ์แล้วเช่นเดียวกับภาษาอาหมที่เข้ามาก่อน โดยภาษาตุรุงที่เข้ามาทีหลังใช้เวลาเพียง 150 ปีสำหรับการสูญเสียภาษา ชาวไทตุรง ที่หมู่บ้านหม่านนา แขวงจอรหาต มีหมู่บ้านชาวไทตุรุงอยู่ประมาณ 5-6 แห่ง แต่พูดภาษาจิ่งพัวหมดแล้ว ถ้าเป็นคนอายุ 80 ปีขึ้นไปมักพอภาษาไทได้แต่พูดโต้ตอบไม่ได้ แต่คนอายุ 50 ปีลงมา ไม่รู้เลยแม้กระทั่งว่าภาษาจิงผ่อ ไม่ใช่ภาษาดั้งเดิมของตน ถึงแม้ชาวไทตุรุงจะสูญเสียภาษาไทไป อย่างไรก็ตาม บ้านเรือนของชาวไทรงก็ยังเป็นแบบบ้านไทย คือปลูกแบบยกใต้ถุนสูง หมวดหมู่:กลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลภาษาไท-กะได หมวดหมู่:กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอินเดีย.

10 ความสัมพันธ์: ชาวนะราพ.ศ. 2400กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะไดภาษาอาหมภาษาจิ่งพัวรัฐอัสสัมศาสนาพุทธอัสสัมประเทศอินเดียเถรวาท

ชาวนะรา

วนะรา เป็นกลุ่มชนอีกกลุ่มชนหนึ่ง ซึ่งชาวอาหมถือว่าเป็นเชื้อสายใกล้.

ใหม่!!: ตุรุงและชาวนะรา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2400

ทธศักราช 2400 ตรงกั.

ใหม่!!: ตุรุงและพ.ศ. 2400 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได หรือบางครั้งเรียกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไต-ไท เป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มชาติพันธุ์ ไท-กะได กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ รับประทานข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว เป็นอาหารหลัก นิยมปลูกเรือนเสาสูง มีใต้ถุน อาศัยทั้งในที่ราบลุ่ม และบนภูเขา ประเพณีศพเป็นวิธีเผาจนเป็นเถ้าแล้วเก็บอัฐิไว้ให้ลูกหลานบูชา ศาสนาดั้งเดิมเป็นการนับถือผี นับถือบรรพบุรุษ และบูชาแถน (ผีฟ้า หรือเสื้อเมือง) มีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวสันตวิษุวัต และการขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้ คำเรียก ไต เป็นคำที่กลุ่มชนตระกูลไทใหญ่ใช้เรียกตนเอง ส่วน ไท เป็นคำเดียวกัน แต่เป็นสำเนียงของชาวไทน้อย และ ไทยสยาม บางครั้ง การใช้คำ ไต-ไท ในวงแคบจะหมายถึงเฉพาะผู้ที่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท (ไม่รวมกลุ่มภาษากะได เช่น ลักเกีย แสก คำ ต้ง หลี เจียมาว ฯลฯ).

ใหม่!!: ตุรุงและกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหม

ษาอาหม (Ahom language) เป็นหนึ่งในกลุ่มภาษาย่อยไทพายัพ ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มกัม-ไท, เบ-ไท, ไท-แสก อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษาอาหมนั้นมีอักษร และถ้อยคำของตนใช้สื่อสารทั้งพูดและเขียนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ชาวอาหมในปัจจุบันนั้นหันไปใช้ภาษาอัสสัมซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้อยคำที่บันทึกจารึกไว้ในคัมภีร์ในบทสวดในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก็แสดงให้เห็นว่านักบวชชาวไทอาหมยังใช้ภาษาไทได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: ตุรุงและภาษาอาหม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจิ่งพัว

ษาจิ่งพัว (หรือภาษาจิงผ่อ ภาษาจิ่งเปา ภาษาฉิ่งโป ภาษากะฉิ่น) ใช้พูดในรัฐกะฉิ่นประเทศพม่าและในจีน จนบางครั้งมีผู้เรียกว่าภาษากะฉิ่น เนื่องจากเป็นภาษาของชนชาติจิ่งพัว ซึ่งเป็นชนชาติหลักของกลุ่มชนชาติคะฉิ่น นอกจากนี้มีผู้พูดในจีนอีกราว 40.000 คน เมื่อ..

ใหม่!!: ตุรุงและภาษาจิ่งพัว · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอัสสัม

รัฐอัสสัม (อัสสัม: অসম Ôxôm) เดิมภาษาไทยเรียก อาสาม เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย โดยมีเมืองหลวงคือ ทิสปุระ อยู่ในเขตเมืองคูวาหตี อยู่ทางตอนใต้ของหิมาลัยตะวันออก รัฐอัสสัมมีลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำพารัก และตำบลครรพี กับเขาจาชาร์เหนือ ปัจจุบันมีพื้นที่ 78,438 ตารางกิโลเมตร เกือบเท่ากับพื้นที่ของไอร์แลนด์ หรือออสเตรีย รัฐอัสสัมรายล้อมด้วยรัฐพี่น้องทั้งเจ็ด อันได้แก่ อรุณาจัลประเทศ, นาคาแลนด์, มณีปุระ, มิโซรัม, ตริปุระ และ เมฆาลัย รัฐเหล่านี้เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ ของอินเดีย โดยผ่านพื้นที่แคบ ในเบงกอลตะวันตก ที่เรียกว่า "คอไก่" อัสสัมยังมีชายแดนร่วมประเทศภูฏาน และบังกลาเทศ มีวัฒนธรรม ประชากร และภูมิอากาศในลักษณะเดียวกันกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นส่วนสำคัญของนโยบายมองตะวันออก ของอินเดีย ชาอัสสัม รัฐอัสสัมมีชื่อเสียงด้านแหล่งใบชา ปิโตรเลียม ไหมอัสสัม และความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ยังประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์แรดนอเดียว จากสภาพสูญพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติกาจิรังคา (Kaziranga National Park), เสือในอุทยานแห่งชาติมนัส (Manas National Park) และจัดหาแหล่งอาศัยสุดท้ายของสัตว์ป่าสำหรับช้างเอเชียด้วย อัสสัมเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในฐานะแห่งท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า และทั้งกาจิรังคาและมนัส ก็เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อัสสัมยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะป่าต้นสาละ และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนลดลงมาก อัสสัมเป็นพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก จึงมีพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำพรหมบุตร และลำน้ำสาขา กับทะเลสาบรูปเกือกม้า ที่ให้ความชุ่มชื้นและความสวยงามแก่ภูมิประเท.

ใหม่!!: ตุรุงและรัฐอัสสัม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ตุรุงและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

อัสสัม

อัสสัม สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ตุรุงและอัสสัม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ตุรุงและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ตุรุงและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ชาวไทตุรง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »