โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาวกรีก

ดัชนี ชาวกรีก

วกรีก (Έλληνες) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการกระจายที่กรีซ, ไซปรัส, อานาโตเลียตะวันตก, อิตาลีใต้ และอีกหลายภูม.

47 ความสัมพันธ์: พิกัดภูมิศาสตร์พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอากรีกการยกกำลังการล้อมกาซาการอนุมานกาลิเลโอ กาลิเลอีภาษาซิเดติกภาษาโทรจันมะกอกออลิฟมิวนิกมนุษยศาสตร์ราชวงศ์ซาฟาวิดวิทยาการอำพรางข้อมูลอาเลกซันโดรส นีโกโลปูโลสอำเภอห้วยยอดอีวา ชานทาวาอีเลฟเทริออส เวนิเซลอสอีเลียดองศา (มุม)ฮวาร์จักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์ธงชาติไซปรัสทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกินทาลัสซีเมียแบบบีตาขนาด (คณิตศาสตร์)ดาราศาสตร์คอนสแตนติน (แก้ความกำกวม)ซาดาร์ประวัติศาสตร์สเปนประวัติศาสตร์อานาโตเลียประเทศกรีซประเทศแอลเบเนียประเทศโปรตุเกสนีกอลา ซาร์กอซีนีโอนาซีแก้ว อัจฉริยะกุลแอแนกแซเกอเริสแคว้นตอสคานาโยอันนิส มาโลจีนิสเลมนอสเลโอคารีสเวลาเอจออฟเอ็มไพร์ส (วีดีโอเกม)เฮโรแห่งอะเล็กซานเดรียเคงก์เปตรา

พิกัดภูมิศาสตร์

แผนที่โลกแสดงพิกัดภูมิศาสตร์; https://www.cia.gov/cia/publications/factbook/reference_maps/pdf/political_world.pdf ดูรุ่นที่ใหญ่กว่านี้ (pdf, 1.8MB) ภาพทรงกลมประกอบมุม ซึ่งใช้เป็นหลักในการระบุพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งใด ๆ บนผิวโลก พิกัดภูมิศาสตร์ คือสิ่งที่บอกให้เราทราบถึงตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ บนผิวโลก โดยยึดตามระบบพิกัดทรงกลม (spherical coordinate system) ชาวบาบิโลเนียเป็นผู้คิดแนวคิดพิกัดภูมิศาสตร์ขึ้น ต่อมาโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกเป็นผู้ปรับปรุงแนวคิดนี้อีกครั้ง โดยให้หนึ่งวงกลมมีมุม 360 องศา พิกัดภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ประกอบด้วยสองส่วน คือละติจูด และลองจิจูด ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้.

ใหม่!!: ชาวกรีกและพิกัดภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา

ประติมากรรมเศียรของพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา (กรีก: Φίλιππος Β' ὁ Μακεδών-มีความหมายว่า- φίλος (phílos) "เพื่อน" + ἵππος (híppos) "ม้า") กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอา มีรัชสมัยอยู่ระหว่าง 359– 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นพระบิดาของอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา หรือที่รู้จักดีในนาม อเล็กซานเดอร์มหาราช พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา มีพระเนตรที่ใช้การได้เพียงข้างเดียว เป็นกษัตริย์นักรบแห่งมาเกโดนีอา ที่ทำการรบเอาชนะนครรัฐต่าง ๆ ของกรีซโบราณได้หลายแห่ง ทั้ง ธีบส์, เอเธนส์ หรือสปาร์ตา เมื่อพระองค์ทำการยึดครองนครรัฐเอเธนส์ซึ่งเสมือนเป็นศูนย์กลางของกรีซโบราณได้แล้ว ทำให้ชาวกรีกในนครรัฐต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อชาวมาเกโดนีอาใหม่ จากที่เคยมองว่าเป็นเพียงชนเผ่าที่เหมือนเป็นเผ่าป่าเถื่อน ไร้อารยธรรมทางเหนือของอาณาจักรเท่านั้น เมื่อพระองค์ไม่ได้ทำลายสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หรือทำลายอารยธรรมของชาวเอเธนส์ หากแต่พระองค์ได้พยายามเรียนรู้และผสมรวมกันกับอารยธรรมของมาเกโดนีอา และพระองค์ยังได้ส่งเสริมนักวิชาการ นักปราชญ์ชาวเอเธนส์ต่าง ๆ ด้วยว่าจ้างให้ไปเผยแพร่ความรู้ยังมาเกโดนีอา และเป็นอาจารย์สอนวิทยาการต่าง ๆ ให้แก่ชาวมาเกโดนีอา เช่น อริสโตเติล ซึ่งอเล็กซานเดอร์ เมื่อครั้งยังเยาว์วัย ก็เป็นลูกศิษย์ของอริสโตเติลด้วยเช่นกัน ในการสงคราม พระองค์ได้ปรับปรุงยุทธวิธีการรบแบบใหม่ ทรงพัฒนากองทัพมาเกโดเนียโบราณขึ้นจนถึงจุดสมบูรณ์แบบ โดยใช้การผสมระหว่างกองทหารราบและกองทหารม้าเข้าไว้ด้วยกัน ใช้อาวุธแบบใหม่ คือ ทวนที่มีความยาวกว่า 5 เมตร โดยการใช้กองทหารตั้งแถวหน้ากระดานเดินบุกขึ้นหน้า และใช้ทวนยาวนี้พุ่งทะลุแทงข้าศึก ซึ่งรูปแบบการรบที่ใช้กันต่อมาอย่างยาวนานของกรีซโบราณ อีกทั้งยังประดิษฐ์หน้าไม้ที่มีอานุภาพยิงได้ระยะไกล และทะลวงเข้าถึงเกราะหรือโล่ของข้าศึกได้อีกด้วย พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา มีประสงค์ที่จะทำสงครามกับอาณาจักรเปอร์เซีย ที่เสมือนเป็นคู่สงครามกับชาวกรีกมาตลอด แต่ประสงค์ของพระองค์มิทันได้เริ่มขึ้น เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลงก่อนเมื่อเดือนตุลาคม 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช ขณะที่มีพระชนมายุได้ 46 ปี จากการลอบสังหารด้วยมีดปักเข้าที่พระอุระของมือสังหารที่เดินตามหลังพระองค์ ขณะที่พระองค์อยู่ในงานเฉลิมฉลอง ซึ่งไม่มีใครทราบถึงสาเหตุของการลอบสังหารครั้งนี้ เพราะมือสังหารได้ถูกสังหารโดยทหารองครักษ์ลงก่อนที่จะไต่สวนใด ๆ ได้มีการสันนิษฐานต่าง ๆ เช่น อาจเป็นการว่าจ้างของกษัตริย์เปอร์เซียด้วยทองคำ เป็นต้น.

ใหม่!!: ชาวกรีกและพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

กรีก

กรีก (Greek) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ชาวกรีกและกรีก · ดูเพิ่มเติม »

การยกกำลัง

้าx+1ส่วนx.

ใหม่!!: ชาวกรีกและการยกกำลัง · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมกาซา

การล้อมกาซา (Siege of Gaza) เป็นการสู้รบระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งราชอาณาจักรมาซิโดเนียกับฝ่ายจักรวรรดิเปอร์เซียอะคีเมนิด เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 332 ปีก่อนคริสต์ศักราชที่เมืองกาซา บาติส (Batis) ผู้บัญชาการเมืองกาซาต้องการยึดอียิปต์จนกว่าผู้ปกครองเปอร์เซียจะส่งกองทัพมารบกับมาซิโดเนียที่นี่ เมืองกาซาเป็นเมืองชายขอบทะเลทรายและมีถนนจากซีเรียไปถึงอียิปต์ ตั้งอยู่สูงกว่า 60 ฟุต (18.29 เมตร) ท่ามกลางชุมชนเปอร์เซีย บาติสรู้ด้วยว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์จะยกทัพมาที่นี่หลังจากยึดเมืองไทร์ได้ เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยกทัพมาถึง พระองค์พบว่ากำแพงเมืองด้านใต้เป็นจุดที่เหมาะจะโจมตีที่สุด จึงสั่งให้มีการสร้างเนินขึ้นเพื่อใช้เป็นทางเข้าเมือง วันหนึ่งฝ่ายเปอร์เซียพยายามตีฝ่าวงล้อม พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สั่งให้ทหารใช้โล่เป็นแนวป้องกันจนพระองค์ได้รับบาดเจ็บ อาร์ริอัน นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกบันทึกว่า "เนินถูกสร้างรอบ ๆ กำแพงเมืองและใช้เครื่องทุ่นแรงจากไทร์ร่วมด้วย" หลังจากความพยายามสามครั้ง ทหารมาซิโดเนียก็ทลายกำแพงและบุกเข้าเมืองได้สำเร็จ ผู้ชายถูกฆ่า ส่วนผู้หญิงและเด็กถูกจับไปเป็นทาส กวินตุส กูร์ตีอุส รูฟุส (Quintus Curtius Rufus) นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันบันทึกว่า "บาติสถูกลากไปรอบกำแพงเมืองจนเสียชีวิตเช่นเดียวกับเจ้าชายเฮกเตอร์แห่งทรอย" หลังเมืองถูกยึด พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สามารถเดินทัพไปที่อียิปต์ได้โดยไม่มีผู้ใดขัดขวาง.

ใหม่!!: ชาวกรีกและการล้อมกาซา · ดูเพิ่มเติม »

การอนุมาน

การอนุมาน (inference) เป็นการคาดคะเนตามหลักเหตุผล ที่แบ่งออกเป็นแบบหลัก ๆ 3 อย่างคือ.

ใหม่!!: ชาวกรีกและการอนุมาน · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: ชาวกรีกและกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซิเดติก

ษาซิเดติก เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาอนาโตเลียที่ตายแล้ว พบในเหรียญที่มีอายุราว..

ใหม่!!: ชาวกรีกและภาษาซิเดติก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโทรจัน

ษาโทรจัน เป็นภาษาโบราณใช้พูดในเมืองทรอย ซึ่งถูกทำลายลงเมื่อราว 657 ปีก่อนพุทธศักราช ในสงครามโทรจัน เป็นภาษาที่ไม่มีการบันทึกไว้เลย มีการพบตราประทับภาษาฮิตไตน์ในบริเวณกรุงทรอยเมื่อ..

ใหม่!!: ชาวกรีกและภาษาโทรจัน · ดูเพิ่มเติม »

มะกอกออลิฟ

ผลมะกอกสีดำ ต้นมะกอกโบราณในกรีซ การเก็บเกี่ยวมะกอกในคริสต์ศตวรรษที่ 14 มะกอกออลิฟ (olive) เป็นมะกอกชนิดที่นำมาทำน้ำมันมะกอก เป็นพืชท้องถิ่นในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นออกสีเทาออกขาวนวล ต้นโค้งงอ ดอกสีขาวครีมขนาดเล็ก กลิ่นหอม ผลเล็กเท่านิ้วหัวแม่มือ ผลดิบสีเขียว ผลสุกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีม่วง.

ใหม่!!: ชาวกรีกและมะกอกออลิฟ · ดูเพิ่มเติม »

มิวนิก

มิวนิก (Munich) หรือในภาษาเยอรมันว่า มึนเชิน (München) เป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมนี และเป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย ถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศรองจากเบอร์ลินและฮัมบวร์ค และเป็นหนึ่งในเมืองมั่งคั่งที่สุดของยุโรปตัวเมืองมีประชากร 1.3 ล้านคน และ 2.7 ล้านคนในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำอีซาร์ เหนือเทือกเขาแอลป์ มิวนิกเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในประเทศเยอรมนี โครงการริเริ่ม “Neue Soziale Marktwirtschaft (INSM)” (เศรษฐกิจตลาดสังคมใหม่) และนิตยสาร “Wirtschafts Woche” (ธุรกิจรายสัปดาห์) ให้คะแนนมิวนิกสูงที่สุดในการสำรวจเปรียบเทียบ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 (เป็นครั้งที่สาม) มิวนิกยังเป็นอันดับหนึ่งในการจัดอันดับโดยนิตยสาร “Capital” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่จัดอันดับแนวโน้มเศรษฐกิจระหว่าง..

ใหม่!!: ชาวกรีกและมิวนิก · ดูเพิ่มเติม »

มนุษยศาสตร์

นักปรัชญาเพลโต มนุษยศาสตร์ (humanities) เป็นกลุ่มของสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาสภาวะแห่งมนุษย์โดยส่วนใหญ่ใช้กรรมวิธีเชิงวิเคราะห์, วิจารณญาณ หรือการคาดการณ์ซึ่งแตกต่างจากการเข้าสู่ปัญหาด้วยกรรมวิธีเชิงประจักษ์ด้วยธรรมชาติ, สังคมศาสตร์ โดยธรรมเนียมทั่วไปมนุษยศาสตร์รวมถึงสาขาวิชาภาษาศาสตร์โบราณและภาษาศาสตร์สมัยใหม่, วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และดนตรี บางครั้งมีการรวมเอาสาขาวิชาอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ได้แก่ มานุษยวิทยา ภูมิภาคศึกษา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา แม้ว่าสาขาวิชาเหล่านี้มักถูกจัดไว้ในสาขาสังคมศาสตร์ นักวิชาการที่อยู่ในสายของสาขาวิชานี้ บางครั้งอาจเรียกตนเองว่าเป็น "นักมนุษยนิยม" อย่างไรก็ตามคำดังกล่าวก็ได้ใช้เรียกนักปรัชญาสาขามนุษยนิยมแต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: ชาวกรีกและมนุษยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซาฟาวิด

ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (صفویان; صفوی‌لر; სეფიანთა დინასტია; Safavid dynasty) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านในอดีต ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ปกครองจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่สุดจักรวรรดิหนึ่งตั้งแต่การพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียของอิสลาม (Islamic conquest of Persia) เป็นต้นมา และเป็นผู้ก่อตั้ง “Ithnāˤashari” (อิมามชีอะหฺ) R.M. Savory, Safavids, Encyclopedia of Islam, 2nd edition ซึ่งเป็นลัทธิทางการของจักรวรรดิ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มาจากหลายเผ่าพันธุ์ (ชาวอาเซอร์ไบจาน,ชาวเซอร์คาสเซียน/ชาวจอร์เจียRUDI MATTHEE, "GEORGIANS IN THE SAFAVID ADMINISTRATION" in Encyclopedia Iranica, ชาวกรีก,ชาวเคิร์ด) และมีอำนาจปกครองอิหร่านระหว่างปี ค.ศ. 1501/ค.ศ. 1502 มาจนถึงกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1722 ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มีรากฐานมาจากการก่อตั้งลัทธิซูฟีย์ (Safaviya sufi order) ในเมืองอาร์ดาบิล (Ardabil) ในบริเวณอาเซอร์ไบจานของอิหร่าน จากนั้นราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ก็ขยายอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวางจนสามารถครอบครองจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด และริเริ่มการก่อตั้งวัฒนธรรมของความเป็นอิหร่านในบริเวณที่ปกครอง ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จึงกลายเป็นราชวงศ์แรกของอิหร่านตั้งแต่ซาสซานิยะห์ที่เริ่มการรวบรวมอิหร่านเข้าเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ว่าการปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1736 แต่ก็ได้ทิ้งร่องรอยมาจนถึงสมัยปัจจุบันโดยการก่อตั้งและเผยแพร่ชีอะหฺในบริเวณส่วนใหญ่ของคอเคซัส และเอเชียตะวันออกและโดยเฉพาะในอิหร่านเอง.

ใหม่!!: ชาวกรีกและราชวงศ์ซาฟาวิด · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการอำพรางข้อมูล

ต้นไม้ที่มีการอำพรางข้อมูล ถ้าหากนำบิตอื่น ๆ ของ RGB ออกไปยกเว้น 2 บิตสุดท้ายของแต่ละสี ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นโทนสีเกือบดำ แล้วเพิ่มความสว่าง 85 เท่า จึงจะปรากฏรูปภาพด้านล่าง ภาพแมวที่ถูกอำพรางเอาไว้ วิทยาการอำพรางข้อมูล (อังกฤษ: Steganography) หมายถึงศาสตร์ในการซ่อนข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการปกปิด ทำให้ดูเหมือนว่าไม่มีการซ่อนข้อมูลลับใด ๆ ในสื่อเป้าหมาย หากมองโดยผิวเผินแล้ว วิทยาการอำพรางข้อมูลมีลักษณะใกล้เคียงกับวิทยาการเข้ารหัสลับ (Cryptography) แต่ความแตกต่างของศาสตร์ทั้งสองคือ การเข้ารหัสมีจุดประสงค์ในการทำให้ข้อความไม่สามารถอ่านเข้าใจได้ แต่การอำพรางข้อมูลมีจุดประสงค์ในการซ่อนข้อมูล ทำให้คนทั่วไปไม่รู้ว่ามีการซ่อนข้อมูลลับอยู่ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่สายลับมีการส่งจดหมายติดต่อไปยังหน่วยงานของตน สมมติจดหมายที่ถูกส่งไปนั้นถูกเปิดตรวจสอบระหว่างทาง หากข้อความถูกเข้ารหัสไว้ก็อาจก่อให้เกิดความสงสัยแก่ผู้ตรวจสอบว่า จดหมายนี้อาจมีข้อความที่เป็นความลับอยู่ แต่หากในจดหมายนั้นใช้วิธีการอำพรางข้อมูล ในการซ่อนข้อความแล้ว ข้อความในจดหมายนั้นก็เสมือนกับจดหมายทั่วไป ไม่มีสิ่งที่เป็นจุดน่าสงสั.

ใหม่!!: ชาวกรีกและวิทยาการอำพรางข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

อาเลกซันโดรส นีโกโลปูโลส

อาเลกซันโดรส นีโกโลปูโลส (Αλέξανδρος Νικολόπουλος; 1875 — ?) เป็นนักกีฬายกน้ำหนักชาวกรีก เขาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1896 ที่เอเธนส์ ในขณะนั้นเขาเป็นนักเรียนแพทย์ เขาได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1896 ในประเภทยกน้ำหนักมือเดียว โดยยกน้ำหนักรวมได้ 57.0 กิโลกรัม และ 40 กิโลกรัม.

ใหม่!!: ชาวกรีกและอาเลกซันโดรส นีโกโลปูโลส · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอห้วยยอด

อำเภอห้วยยอด เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง ที่มีชื่อเรียกว่า "ห้วยยอด" เนื่องมาจากภูมิประเทศของอำเภอห้วยยอด โดยคำว่า "ห้วย" หมายถึง ลำห้วยต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำตรัง อันเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดที่พาดผ่านพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของอำเภอ ส่วนคำว่า "ยอด" หมายถึง ยอดเขาที่เรียงรายตลอดแนวทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอ ซึ่งเรียกว่า ภูเขาบรรทัด โดยพื้นที่ห้วยน้ำและยอดเขาสลับกันไปมา จึงได้เรียกว่าห้วยยอดมาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: ชาวกรีกและอำเภอห้วยยอด · ดูเพิ่มเติม »

อีวา ชานทาวา

อีวา ชานทาวา (ชื่อเล่น: อีวา; 26 ตุลาคม พ.ศ. 2533 —) เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงชาวกรีก และเคยเป็นอดีตผู้เล่นให้ทีมนครนนท.

ใหม่!!: ชาวกรีกและอีวา ชานทาวา · ดูเพิ่มเติม »

อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส

อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส (Eleftherios Venizelos; ชื่อเต็ม: อีเลฟเทรีออส คีรีอาคู เวนิเซลอส;Elefthérios Kyriákou Venizélos, กรีก: Ἐλευθέριος Κυριάκου Βενιζέλος; 23 สิงหาคม ค.ศ. 1864 - 18 มีนาคม ค.ศ. 1936) เป็นผู้นำชาวกรีกที่ประสบความสำเร็จในขบวนการปลดปล่อยชาติกรีกและเป็นรัฐบุรุษที่มีเสน่ห์ในช่วงยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นที่จดจำจากการส่งเสริมนโยบายแนวเสรีนิยมประชาธิปไตยKitromilides, 2006, p. 178, Time, Feb.18,1924 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งกรีซหลายสมัย โดยดำรงตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: ชาวกรีกและอีเลฟเทริออส เวนิเซลอส · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: ชาวกรีกและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: ชาวกรีกและองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

ฮวาร์

วาร์ (Hvar, Pharos, Φαρος, Pharia, Lesina) เป็นเกาะในประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่ในทะเลเอเดรียติก นอกชายฝั่งดัลเมเชีย เป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ บริเวณลาดเขามีป่าต้นสน ไร่องุ่น สวนมะกอก ทุ่งลาเวนเดอร์ ผลิตผลสำคัญได้แก่ น้ำผึ้ง มะกอก เหล้าองุ่น หินอ่อน มีการประมง และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภูมิอากาศเย็นไม่รุนแรงในฤดูหนาว และอุ่นในฤดูร้อน มีแสงแดดหลายชั่วโมง เกาะมีประชากร 11,103 คน เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโครเอเชีย ชาวกรีกเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 พวกสลาฟเข้ามาครอบครอง ตกเป็นของยูโกสลาเวียภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโครเอเชียเมื่อประเทศนั้นได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ชาวกรีกและฮวาร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์

อรีนแห่งเอเธนส์ จักรพรรดินีแห่งไบแซนไทน์ หรือ ไอรีน เดอะเอเธนส์เนียน (กรีก:Εἰρήνη ἡ Ἀθηναία; ราวค.ศ. 712 - 9 สิงหาคม ค.ศ. 803) พระนามเดิมคือ ไอรีน ซารันตาเปชาอีนา (กรีก:Εἰρήνη Σαρανταπήχαινα) ทรงเป็นจักรพรรดินี พระประมุขแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ตั้งแต..

ใหม่!!: ชาวกรีกและจักรพรรดินีไอรีนแห่งเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติไซปรัส

งชาติไซปรัส (ΣημαίατηςΚύπρου; Kıbrıs bayrağı) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มใช้อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1960 ตามข้อตกลงซูริคและลอนดอน ซึ่งกำหนดให้ไซปรัสมีสถานะเป็นรัฐเอกราชและมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง ลักษณะของธงชาติไซปรัสเป็นรูปแผนที่ของเกาะไซปรัสทั้งหมด รองรับด้วยช่อมะกอกสองช่อบนพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ส่วนช่อมะกอกคู่นอกจากจะหมายถึงสันติภาพโดยทั่วไปแล้ว ยังมีความหมายเฉพาะเจาะจงถึงสันติภาพระหว่างชาวเติร์กและชาวกรีก ซึ่งเป็นประชากรสองกลุ่มใหญ่ของประเทศ สีของแผนที่เกาะไซปรัสนั้นเป็นสีเหลืองทองแดง มีความหมายถึงแร่ทองแดงซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่มากภายในเกาะ (โดยหลักแล้วมักอยู่ในรูปของชาลโคไพไรต์ (chalcopyrite) ซึ่งมีสีเหลือง) อันเป็นที่มาแห่งนามของเกาะนี้ ไซปรัสเดินเป็นดินแดนที่มีชาวกรีกอาศัยอยู่ ต่อมาได้ถูกจักรวรรดิออตโตมาน (ปัจจุบันคือประเทศตุรกี) พิชิตได้ในปี ค.ศ. 1571 นำมาซึ่งการตั้งถิ่นฐานของชาวเติร์กในไซปรัส หลังจากนั้นไซปรัสก็ได้ตกอยู่ในความปกครองของสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1878 การออกแบบธงชาติไซปรัสซึ่งได้มีการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อมีการประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1960 เป็นความพยายามที่จะเลือกใช้สัญลักษณ์ของชาติที่สื่อถึงสันติภาพและความปรองดองระหว่างประชาคมชาวกรีกและชาวเติร์กซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งกันมาโดยตลอด ทว่าแนวคิดดังกล่าวก็มิได้เป็นจริง ในปี ค.ศ. 1974 กองทัพตุรกีได้เข้ารุกรานและยึดครองดินแดนภาคเหนือของเกาะไซปรัส พร้อมทั้งจัดตั้งสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ ซึ่งเป็นรัฐชาติที่มีเพียงตุรกีเพียงชาติเดียวเท่านั้นที่ให้การยอมรับในทางพฤตินัย สาธารณรัฐดังกล่าวได้กำหนดธงชาติของตนเองขึ้นให้คล้ายกับธงชาติตุรกี โดยที่ใช้สีสลับกันกับธงชาติตุรกีและแถบสีแดงพาดบนธง 2 แถบ ในดินแดนไซปรัสเหนือนั้นมักจะชักธงชาติของตนขึนร่วมกับธงชาติตุรกี ในขณะที่ดินแดนที่เหลือทางตอนใตนิยมจะชักธงชาติไซปรัสร่วมกับธงชาติกรีซ.

ใหม่!!: ชาวกรีกและธงชาติไซปรัส · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน

ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน และ เอิร์ลแห่งคินคาดีนที่ 11 หรือ ทอมัส เอลกิน (ˈɛlɡɪn เสียง 'g หนัก') และ 11th Earl of Kincardine) (20 กรกฎาคม ค.ศ. 1766 - 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1841) ทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน เป็นขุนนางและนักการทูตชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากกรณีที่ไปเลาะและขนย้ายประติมากรรมที่มารู้จักกันว่า “ประติมากรรมหินอ่อนเอลกิน” (Elgin Marbles) หรือ “ประติมากรรมหินอ่อนพาเธนอน” จากเอเธนส์มายังสหราชอาณาจักรEncyclopedia Britannica, Thomas Bruce, 7th earl of Elgin, O.Ed., 2008 ทอมัส เอลกินเป็นบุตรคนที่สองของชาร์ลส์ บรูซ เอิร์ลแห่งเอลกินที่ 5 และภรรยามาร์ธา ไวท์ (Martha Whyte) ทอมัสได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเอิร์ลแห่งเอลกินต่อจากพี่ชายวิลเลียม โรเบิร์ต บรูซ เอิร์ลแห่งเอลกินที่ 6 ในปี ค.ศ. 1771 เมื่ออายุได้ 5 ปี.

ใหม่!!: ชาวกรีกและทอมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งเอลกิน · ดูเพิ่มเติม »

ทาลัสซีเมียแบบบีตา

ทาลัสซีเมียแบบบีตา (Beta thalassemias, β thalassemias) เป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางพันธุกรรม เป็นรูปแบบของทาลัสซีเมียที่มีเหตุจากการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของเฮโมโกลบิน (HBB) ที่ผิดปกติ คือลดลงหรือไม่มีเลย ซึ่งอาจมีผลต่าง ๆ เริ่มต้นจากภาวะเลือดจางอย่างรุนแรง จนถึงบุคคลที่ไม่มีอาการเลย ความชุกของโรคทั่วโลกต่อปีอยู่ที่ 1 ใน 100,000 เป็นโรคที่มีเหตุจากการกลายพันธุ์ของยีน HBB บนโครโมโซมคู่ที่ 11 โดยสืบทางกรรมพันธุ์แบบผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive) ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับลักษณะการกลายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ ผู้ที่มีโรคเต็มตัว (major) จะมีภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดแดงสลาย ไม่โต และมีความผิดปกติทางกระดูกในวัยทารก เด็กที่มีโรคเต็มตัวจะต้องถ่ายเลือดตลอดชีวิต ผู้ที่มีโรคเต็มตัวมักจะเสียชีวิตเกี่ยวกับปัญหาทางหัวใจเนื่องจากภาวะเหล็กเกินโดยอายุ 30 ปี ผู้ที่มีโรคระดับปานกลาง (intermedia) มีอาการรุนแรงน้อยกว่าแต่อาจจะต้องถ่ายเลือดเป็นครั้งคราว บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน ความขัดข้องในการถอดรหัสยีน HBB มีผลเป็นการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของโปรตีนโกลบินที่ลดลง ซึ่งมีผลเป็นการผลิตเฮโมโกลบินแบบ A (HbA) ที่ลดลง เมื่อเม็ดเลือดแดงมีโกลบินเอน้อยลง ก็ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytic anemia) ดังนั้น ภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็กจะเป็นผลโดยที่สุดของการขาด HBB เพราะเหตุนี้ คนไข้อาจจำเป็นต้องได้การถ่ายเลือดเพื่อทดแทนการไม่ผลิตห่วงลูกโซ่บีตา แต่การถ่ายเลือดซ้ำ ๆ อาจนำไปสู่ภาวะเหล็กเกิน (iron overload) ซึ่งมีผลเป็นภาวะเหล็กเป็นพิษ (iron toxicity) และภาวะเหล็กเป็นพิษสามารถมีผลหลายอย่าง รวมทั้ง myocardial siderosis (ภาวะสะสมเหล็กในหัวใจ) และหัวใจวายซึ่งอาจทำให้ถึงชีวิต.

ใหม่!!: ชาวกรีกและทาลัสซีเมียแบบบีตา · ดูเพิ่มเติม »

ขนาด (คณิตศาสตร์)

ในทางคณิตศาสตร์ ขนาด (magnitude) คือสมบัติอย่างหนึ่งของวัตถุที่ใช้เปรียบเทียบว่า สิ่งใดใหญ่กว่าหรือเล็กกว่าสิ่งใดในวัตถุชนิดเดียวกัน ในทางเทคนิคคือการจัดอันดับของวัตถุ ในชีวิตจริงมีการใช้ขนาดในการจัดอันดับของวัตถุต่างๆ เช่น ความดังของเสียง (เดซิเบล) ความสว่างของดาวฤกษ์ หรือมาตราริกเตอร์บนระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว เป็นต้น ชาวกรีกได้มีการแยกแยะขนาดไว้เป็นหลายประเภท รวมทั้ง.

ใหม่!!: ชาวกรีกและขนาด (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: ชาวกรีกและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติน (แก้ความกำกวม)

อนสแตนติน อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: ชาวกรีกและคอนสแตนติน (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ซาดาร์

ซาดาร์ (Zadar; Zara; Iader) เป็นเมืองใหญ่อันดับที่ห้าของประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับทะเลเอเดรียติกในภูมิภาคดัลเมเทีย มีอายุเก่าแก่ประมาณ 2,800 ปี ในอดีตเป็นเมืองท่าทางทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของทะเลเอเดรียติกและเป็นที่ช่วงชิงของหลายอาณาจักรเพื่อครองความได้เปรียบของการค้าทางทะเลในบริเวณนี้ ในช่วงสาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ซาดาร์ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่โดดเด่นแห่งหนึ่งของฝั่งทะเลเอเดรียติก และแม้ปัจจุบันนี้หลังโครเอเชียได้แยกตัวออกมาเป็นประเทศเอกราชจากยูโกสลาเวียเมื่อต้นทศวรรษที่ 90 ซาดาร์ก็ยังคงเป็น 1 ในแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยความที่อยู่ใต้การปกครองของสาธารณรัฐเวนิสมาช้านาน ซาดาร์จึงได้เป็นแหล่งกำเนิดของ Maraschino ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการบ่มเชอร์รี่สายพันธุ์ marasca.

ใหม่!!: ชาวกรีกและซาดาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์สเปน

ตราสัญลักษณ์ของประเทศสเปน โบสถ์ซานตามารีอาเดลนารังโก เมืองโอเบียโด ภาคเหนือ อารามหลวงเอลเอสโกเรียล กรุงมาดริด ภาคกลาง พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ เมืองบาเลนเซีย ภาคตะวันออก ปราสาทอาลัมบรา เมืองกรานาดา ภาคใต้ ประวัติศาสตร์สเปน คือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับอาณาบริเวณส่วนใหญ่บนคาบสมุทรไอบีเรียในภูมิภาคยุโรปใต้ซึ่งมีพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านยุครุ่งเรืองและยุคตกต่ำของจักรวรรดิสากลแห่งแรกของโลกจนกลายมาเป็นราชอาณาจักรสเปนในปัจจุบัน อันเป็นช่วงฟื้นฟูตนเองหลังสมัยการปกครองแบบเผด็จการของนายพลฟรังโกได้ผ่านพ้นไป มีอยู่หลายช่วงที่ประวัติศาสตร์การเมืองและการทหารของสเปนเต็มไปด้วยความวุ่นวายและความรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายและความพยายามที่จะจัดการกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดความเชื่อในดินแดนของตนนั่นเอง มนุษย์สมัยใหม่เข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียเป็นเวลานานกว่า 35,000 ปีมาแล้ว ตามมาด้วยคลื่นผู้รุกรานและผู้ตั้งอาณานิคมชนชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวเคลต์ ชาวฟินิเชีย ชาวคาร์เทจ และชาวกรีกตลอดระยะเวลานับพัน ๆ ปี เมื่อถึงประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทั้งคาบสมุทรจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโรมัน ก่อนจะตกไปอยู่ภายใต้การปกครองจากชาววิซิกอท และในปี ค.ศ. 711 ชาวแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นชาวมุสลิม (ชาวมัวร์) ก็เริ่มเข้ามามีอำนาจ ในที่สุดอาณาจักรอิสลามก็ได้รับการสถาปนาขึ้นบนคาบสมุทรแห่งนี้และยืนหยัดได้เป็นเวลาประมาณ 750 ปี ซึ่งพื้นที่ที่ชาวมุสลิมครอบครองนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลอันดะลุส แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังเป็นช่วงที่เรียกว่า "เรกองกิสตา" หรือการยึดดินแดนคืนของชาวคริสต์ซึ่งค่อย ๆ รุกลงไปทางใต้ เหตุการณ์เหล่านี้ดำเนินไปถึงจุดสิ้นสุดเมื่อชาวคริสต์สามารถพิชิตที่มั่นแห่งสุดท้ายของชาวมุสลิมที่กรานาดาได้ในปี ค.ศ. 1492 จากนั้นราชอาณาจักรและรัฐคาทอลิกต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้พัฒนาขึ้น รวมทั้งราชอาณาจักรคาสตีลและราชอาณาจักรอารากอนด้วย ซึ่งการรวมกันของอาณาจักรทั้งสองนี้จะนำไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของรัฐชาติสเปนในเวลาต่อมา ปี..

ใหม่!!: ชาวกรีกและประวัติศาสตร์สเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อานาโตเลีย

ประวัติศาสตร์อานาโตเลียกล่าวถึงดินแดนที่เรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันตกของทวีปเอเชีย ในทางภูมิศาสตร์หมายถึงดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศตุรกีในปัจจุบัน จากทะเลอีเจียนซึ่งเป็นขอบเขตทางตะวันตกจนถึงภูเขาชายแดนประเทศอาร์มีเนียทางตะวันออก และเทือกเขาทะเลดำทางเหนือจนถึงเทือกเขาเทารัสทางใต้ โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ อานาโตเลียเป็นเสมือนสะพานที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชียตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเส้นทางสำหรับการเดินทางไปมาระหว่างยุโรปและเอเชีย ตลอดระยะเวลากว่า 4 ถึง 5,000 ปีที่ผ่านมา มีชนหลายเผ่าพันธุ์เดินทางเข้ามายังอานาโตเลียและได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของตนบนดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรของชนเหล่านี้ได้พัฒนาเจริญรุ่งเรืองและในที่สุดก็ต้องล่มสลายไปตามกาลเวลา ความเก่าแก่และหลากหลายของอารยธรรมที่เคยเจริญรุ่งเรืองบนผืนแผ่นดินแห่งนี้เป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีมีความภาคภูมิใจเป็นพิเศษสำหรับดินแดนอันเป็นประเทศตนในปัจจุบัน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ราบสูงอานาโตเลียเคยเป็นที่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคหิน ยุคประวัติศาสตร์ของอานาโตเลียเริ่มต้นขึ้นในยุคโลหะ ประมาณ 3,000 - 1,200 ก่อนคริสตกาล หากมองย้อนหลังไปในยุคดังกล่าวกลับมาจนถึงยุคปัจจุบันจะพบว่าอานาโตเลียมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนดินแดนอื่นใดในโลกคือ เป็นดินแดนที่มีอารยธรรมที่เก่าแก่และหลากหลายของชนหลายกลุ่มซึ่งได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองดินแดนแห่งนี้.

ใหม่!!: ชาวกรีกและประวัติศาสตร์อานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: ชาวกรีกและประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอลเบเนีย

แอลเบเนีย (Albania; Shqipëri) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (Republic of Albania; Republika e Shqipërisë) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเซอร์เบีย (คอซอวอ) ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไต.

ใหม่!!: ชาวกรีกและประเทศแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: ชาวกรีกและประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

นีกอลา ซาร์กอซี

นีกอลา ซาร์กอซี (Nicolas Sarkozy;; (28 มกราคม พ.ศ. 2498 —) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและอดีตผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรม กระทรวงงบประมาณและนายกเทศมนตรีเมืองเนอยี-ซูร์-แซน เขาเป็นที่รู้จักดีจากทัศนคติในด้านกฎหมายและคำสั่งของเขา รวมถึงความต้องการให้เศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศสกลับคืนสู่สภาพเดิม ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกาและยังได้กระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ชื่อเล่นที่ผู้สนับสนุนและไม่สนับสนุนต่างเรียกแทนตัวเขาคือ "ซาร์โก" (Sarko).

ใหม่!!: ชาวกรีกและนีกอลา ซาร์กอซี · ดูเพิ่มเติม »

นีโอนาซี

นีโอนาซี (Neo-Nazism) คือลัทธิที่เคลื่อนไหวหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อฟื้นคืนลัทธินาซี ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว สมาชิกกลุ่มคนเหล่านี้มักเป็นกลุ่มคนผิวขาว (คอเคซอยด์) เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ยังมีความเชื่อที่ว่าคนผิวขาวเป็นใหญ่เหนือเผ่าพันธุ์อื่นๆ สืบมาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของนาซี นโยบายของลัทธินีโอนาซีมีความแตกต่างกันไป แต่มักสวามิภักดิ์ต่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์, เหยียดเชื้อชาติต่างๆ, เหยียดสีผิว, เทิดทูนคนอารยันเยอรมัน, เหยียดเกย์ เหยียดยิว สลาฟ ฯลฯ พวกเขามักใช้สัญลักษณ์เป็นสวัสดิกะ มีบางประเทศในทวีปยุโรปมีกฎหมายห้ามลัทธินาซี การเหยียดผิว การเหยียดเชื้อชาติ กลุ่มนีโอนาซีจะพบแถวชายแดนระหว่างประเทศที่ติดกับเยอรมัน โดยเฉพาะในรัสเซียพบมากที่สุดในกรุงมอสโก เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายของบุคคลกลุ่มนี้ได้แก่ ชนชาติที่เป็นต่างชาติและที่มีอยู่ในรัสเซียอยู่แล้วเช่น ยิว สลาฟ เอเชีย ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส แอฟริกันอเมริกัน ลูกครึ่ง รัสเซียและกลุ่มชนชาติต่างๆ ที่อยู่ในรัสเซียและมาจากต่างประเทศ ชาวรัสเซียคนหนึ่งบอกว่า ที่ประเทศเขามีประชากรเป็นรัสเซีย 81% ต่างชาติ 19% อาทิ ยิว สลาฟ ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส เยอรมัน ฯลฯ เขาบอกว่าพวกนีโอนาซีจะเป็นพวกเยอรมันที่อยู่ในรัสเซียที่เป็นชุมชนเยอรมัน เขายังบอกอีกว่าชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศเขาที่ไม่ใช้เยอรมันมักถูกทำร้ายจนตายทั้งที่มาจากต่างประเทศและชนชาติกลุ่มต่างๆ ในรัสเซียที่ไม่ใช่เยอรมัน มีนีโอนาซีบางกลุ่มพยายามที่จะรื้อฟื้นลัทธินี้ อาทิ Colin Jordan, George Lincoln Rockwell, Savitri Devi, Francis Parker Yockey, William Luther Pierce, Eddy Morrison และ David Myatt นีโอนาซีมักจะโกนหัว ชื่อของทรงผมสกินเฮดที่เรียกชื่อกันอยู่นั้นมีต้นกำเนิดมาจากพวกนี้ เชื่อว่าคนขาวที่เป็นเยอรมันเป็นเผ่าพันธุ์ที่ดีที่สุด แต่งกายคล้ายพังก์ สักลาย สวัสดิกะ หรือ สัญลักษณ์นาซีไว้ที่ตัว บูชา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, แฮร์มันน์ เกอริง, ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ บ้างไล่ตระเวนไล่ทำร้ายชาวต่างชาติ เช่น ยิว สลาฟ เอเชีย ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส นิโกร ลูกครึ่ง รัสเซีย สเปน กรีก อิตาลี และกลุ่มชนชาติต่างๆ ซึ่งอาจรวมอังกฤษด้วย สมาชิกนีโอนาซีส่วนมากมักจะเป็นคนเชื้อสายเจอร์แมนิกในหลายประเทศ ได้แก่ เยอรมนี, สวีเดน, เดนมาร์ก, นอร์เวย์, สหราชอาณาจักร, ไอซ์แลนด์, ออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์, เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม ส่วนเขตอิทธิพลของนีโอนาซีในประเทศอื่นๆ ได้แก่ รัสเซีย, โครเอเชีย, ฝรั่งเศส, เซอร์เบีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, เอสโตเนีย, ฮังการี, กรีซ, ยูเครน, ตุรกี, อิสราเอล, ซีเรีย, มองโกเลีย, พม่า, ไต้หวัน, เซอร์เบีย, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, คอสตาริกา, บราซิล และชิลี.

ใหม่!!: ชาวกรีกและนีโอนาซี · ดูเพิ่มเติม »

แก้ว อัจฉริยะกุล

แก้ว อัจฉริยะกุล หรือ ครูแก้ว หรือ แก้วฟ้า (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 — 8 ตุลาคม พ.ศ. 2524) เป็นผู้จัดละครเวที เขียนบทละครวิทยุ บทละครโทรทัศน์ เจ้าของคณะละครวิทยุ และเป็นผู้ประพันธ์คำร้องเพลงอมตะจำนวนมากที่ยังถูกนำมาร้องจนถึงปัจจุบัน อาทิ รำวงวันลอยกระทง, รำวงเริงสงกรานต.

ใหม่!!: ชาวกรีกและแก้ว อัจฉริยะกุล · ดูเพิ่มเติม »

แอแนกแซเกอเริส

แอแนกแซเกอเริส (Ἀναξαγόρας, Anaxagoras, Anaxagoras) (ราวปี 500 - ราวปี 428 ปีก่อนคริสตกาล) แอแนกแซเกอเริสเป็นนักปรัชญาสมัยก่อนโสกราตีสชาวกรีกผู้ที่เกิดที่คลาโซเมแนในอานาโตเลีย แอแนกแซเกอเริสเป็นนักปรัชญาคนแรกที่นำหลักปรัชญาจากไอโอเนียมายังเอเธนส์ แอแนกแซเกอเริสพยายามให้คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอุปราคา, สะเก็ดดาว, รุ้งกินน้ำและดวงอาทิตย์ ที่แอแนกแซเกอเริสบรรยายว่าเป็นก้อนเพลิงที่มีขนาดใหญ่กว่าคาบสมุทรเพโลพอนนีส แอแนกแซเกอเริสถูกกล่าวหาว่ามีความคิดที่ขัดกับศาสนาทางการจนถูกบังคับให้หนีไปยังแลมพ์ซาคั.

ใหม่!!: ชาวกรีกและแอแนกแซเกอเริส · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นตอสคานา

ตอสคานา (Toscana) หรือ ทัสกานี (Tuscany) เป็นแคว้นหนึ่งของประเทศอิตาลี มีเมืองฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ) เป็นเมืองหลัก มีเนื้อที่ทั้งหมด 22,990 ตารางกิโลเมตร และมีผู้คนอาศัยอยู่ 3.6 ล้านคน แคว้นตอสคานามีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม (เนื่องจากเป็นที่กำเนิดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา) สถาปัตยกรรม ศาสนา วัฒนธรรม และอุตสาหกรรม (เนื่องจากมีโรงงานผลิตเสื้อผ้า เสื้อนุ่งห่ม เครื่องหนังจำนวนมาก) ของประเทศอิตาลี แคว้นแห่งนี้เองที่เป็นที่ตั้งของหอเอนเมืองปิซาอันโด่งดัง นอกจากนี้ แคว้นตอสคานายังขึ้นชื่อว่ามีทิวทัศน์งดงามมาก และมีไวน์รสชาติดีเยี่ยม ภาษาอิตาลีที่พูดกันในแคว้นตอสคานาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการพูดแบบชาวอิตาลีโดยแท้จริงและยอมรับให้เป็นสำเนียงราชการ สำหรับชื่อแคว้น ชาวอิตาลีเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ตอสคานา" แต่ภาษาอังกฤษเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ทัสกานี" ในภาษาอื่น ๆ ก็มีชื่อเรียกต่างกันไปอีก เช่น ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Toscane ในภาษาละตินเรียกว่า Toscia เป็นต้น.

ใหม่!!: ชาวกรีกและแคว้นตอสคานา · ดูเพิ่มเติม »

โยอันนิส มาโลจีนิส

อันนิส มาโลจีนิส (Ιωάννης Μαλοκίνης; ค.ศ. 1880 – ค.ศ. 1942) เป็นนักว่ายน้ำชาวกรีก เขาเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1896 ในเอเธนส์ เขาได้รับรางวัลเหรียญทองในรายการกะลาสีเรือฟรีสไตล์ 100 เมตร ด้วยเวลา 2:20.4 นาที.

ใหม่!!: ชาวกรีกและโยอันนิส มาโลจีนิส · ดูเพิ่มเติม »

เลมนอส

ลมนอส เลมนอส หรือ ลีมนอส (Λήμνος, Limnos; Lemnos) เป็นเกาะในประเทศกรีซ ตั้งอยู่ในทะเลอีเจียนทางตอนเหนือ มีพื้นที่ 477 กม² เป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 8 ของประเทศกรีซ ชาวกรีกได้เข้าไปอาศัยอยู่ที่เกาะนี้เมื่อประมาณ 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาตกอยู่ใต้การปกครองของเปอร์เซีย จักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ และจักรวรรดิออตโตมันตามลำดับ จนตกเป็นของประเทศกรีซในปี..

ใหม่!!: ชาวกรีกและเลมนอส · ดูเพิ่มเติม »

เลโอคารีส

ลโอคารีส (Leochares)เป็นประติมากรชาวกรีกจากเอเธนส์ผู้มีชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่่ 4.

ใหม่!!: ชาวกรีกและเลโอคารีส · ดูเพิ่มเติม »

เวลา

ำหรับนวนิยายซีไรต์ดูที่ เวลา (นวนิยาย) นาฬิกาพก เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาเวลา เวลา ในมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของจักรวาล ให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของไอแซก นิวตัน อีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งสมมุติเช่นเดียวกับพื้นที่ (สเปซ) และตัวเลข มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลากับเหตุการณ์เหล่านั้นจะรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของอิมมานูเอล คานต์ และกอตฟรีด ไลบ์นิซ บางที มุมมองทั้งสองเกี่ยวกับเวลาก็ยังน่าสับสนอยู่ จึงมีการนิยามโดยการปฏิบัติ ความหมายของการดำเนินงาน หรือ(operational definition) ซึ่งมักใช้การเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงแบบเป็นคาบของวัตถุเป็นตัววัดเวลา เช่น ดิถี (ข้างขึ้นข้างแรม) ของดวงจันทร์ การแกว่งของลูกตุ้ม การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เวลา เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศิลปศาสตร์ แต่ละสาขาก็มีมุมมองต่าง ๆ กันไป เช่น ในวิชาเศรษฐศาสตร์ อาจมองว่า "เวลาเป็นเงินทอง" ("Time is money.") เป็นต้น.

ใหม่!!: ชาวกรีกและเวลา · ดูเพิ่มเติม »

เอจออฟเอ็มไพร์ส (วีดีโอเกม)

อจออฟเอ็มไพร์ส (Age of Empires; AoE) เป็นชุดวิดีโอเกมแนว real-time strategy อิงประวัติศาสตร์ซึ่งเปิดตัวในปี 1997 พัฒนาโดยเอนเซมเบิลสตูดิโอส์ และวางจำหน่ายในนามไมโครซอฟท์ ภาคแรกของเกม เอจออฟเอ็มไพร์ส เกมพัฒนาจากคอมพิวเตอร์แบบ 2 มิติ เกมให้ผู้เล่นสวมบทเป็นผู้นำของอารยธรรมโดยพัฒนาอารยธรรมต่าง ๆ จนครบทั้ง 4 ยุค (ยุคหิน ยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ และยุคเหล็ก) ภายหลังเกมถูกย้ายมาลงพอคเก็ตพีซีโดยวินโดว์ แต่ยังคงคล้ายกับภาคเดิมบนพีซี Despite this, it received generally good reviews, and the ภาคเสริม Age of Empires: The Rise of Rome was released in 1998.

ใหม่!!: ชาวกรีกและเอจออฟเอ็มไพร์ส (วีดีโอเกม) · ดูเพิ่มเติม »

เฮโรแห่งอะเล็กซานเดรีย

แอโอลิไพล์ เฮโรแห่งอะเล็กซานเดรีย (Hero of Alexandria; ประมาณ ค.ศ. 10 – ค.ศ. 70) หรือ เฮรอนแห่งอะเล็กซานเดรีย (Heron of Alexandria) เป็นนักคณิตศาสตร์ วิศวกรชาวกรีก และเป็นอาจารย์สอนที่มิวเซียม หอสมุดแห่งอะเล็กซานเดรีย เขามีผลงานประดิษฐ์หลายอย่าง ที่สำคัญคือ แอโอลิไพล์ (aeolipile) ซึ่งใช้ไอน้ำในการขับเคลื่อนลูกบอลที่อยู่ด้านบน ถือเป็นเครื่องจักรไอน้ำชนิดแรก ๆ และประดิษฐ์เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ นอกจากนี้ เฮโรยังมีผลงานด้านคณิตศาสตร์ คือการประมาณค่ารากที่สองและสูตรของเฮรอน (Heron's formula).

ใหม่!!: ชาวกรีกและเฮโรแห่งอะเล็กซานเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

เคงก์

งก์ (Genk) เป็นเมืองและเทศบาลที่ตั้งอยู่ในมณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียม ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับฮัสเซิลต์ เคงก์เป็นหนึ่งในเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดของเขตฟลามส์ ตั้งอยู่ที่คลองอัลเบิร์ต มีประชากรประมาณ 64,000 คน โดยหนึ่งในสามของประชากรเป็นชาวต่างประเทศซึ่งมาจาก 85 ชาติ ส่วนใหญ่จากอิตาลี โปแลนด์ ยูเครน ตุรกี กรีก และโมร็อกโก ซึ่งชาวอิตาลีเป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมประมาณ 10,000 คน เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของเบลเยียมและเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้เคงก์เป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลังจากการค้นพบถ่านหินเป็นปริมาณมากในปี ค.ศ. 1901 เคงก์ก็เป็นสถานที่ดึงดูดความสนใจจากทั้งผู้อพยพชาวเบลเยียมและชาวต่างประเทศจำนวนมาก จนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลลิมเบิร์กรองจากฮัสเซิลต์ อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1966 เหมืองถ่านหินในเขตซวาร์ตแบร์คปิดลง เคงก์จึงได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ๆ พร้อมกับคลองอัลเบิร์ตและทางหลวงต่าง.

ใหม่!!: ชาวกรีกและเคงก์ · ดูเพิ่มเติม »

เปตรา

right เปตรา (จากภาษากรีก πέτρα แปลว่าหิน ภาษาอารบิก البتراء) คือนครหินแกะสลักโบราณที่ซ่อนตัวอย่างลึกลับในหุบเขาวาดี มูซา หุบเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเดดซีกับอ่าวอะกาบาในประเทศจอร์แดน นครนี้แต่เดิมนั้นเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี จนเมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท เดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) นครเปตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี..

ใหม่!!: ชาวกรีกและเปตรา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »