โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาติพันธุ์วิทยา

ดัชนี ชาติพันธุ์วิทยา

ติพันธุ์วิทยา หรือ ชาติวงศ์วิทยา หรือ ชนชาติวิทยา (ethnology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของมานุษยวิทยา ที่ศึกษาและเปรียบเทียบเกี่ยวกับความเชื่อและวิธีปฏิบัติของแต่ละสังคม เป้าหมายหนึ่งคือ การศึกษาประวัติศาสตร์มนุษย์ กฎทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และนัยทั่วไปเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ สำหรับผู้ที่ศึกษาในสาขาวิชานี้ จะเรียกว่า "นักชาติพันธุ์วิทยา" (ethnologist) คำว่า ethnology ถูกใช้ครั้งแรกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวสโลวัค Adam František Kollár (1718–1783) โดยมาจาก 2 คำในภาษากรีก คือ ethnos ("ชนชาติ") และ logos ("การศึกษา").

78 ความสัมพันธ์: ชาวบริติชชาวพิคท์ชาวมันเดชาวสกอตแลนด์ชาวอาร์มีเนียชาวอาเซอร์ไบจานชาวอิตาลีชาวอุซเบกชาวฮังการีชาวจูตชาวดัตช์ชาวซองไฮชาวซุนดาชาวปรัสเซียเก่าชาวโรมานีชาวโวลอฟชาวโปรตุเกสชาวโปแลนด์ชาวไอริชชาวเบอร์กันดีชาวเวลส์ชาวเคลต์ชาติพันธุ์วรรณนาฟรีเซียนพระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ)พฤติกรรมวิทยาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะไดกลุ่มปฐมชาติการออกเสียงการอ่านใจแบบเย็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์การต่อต้านยิวการเข้าเมืองกับอาชญากรรมฝันอเมริกันมิวเซียมสยามม้งรายการสาขาวิชาฤคเวทลัทธินอกศาสนาวัดศรีฐานธรรมิการามศาสนายูดาห์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติสโตก-ออน-เทรนต์หมู่เกาะคะแนรีหวง เสี้ยนฝันอาวาร์ยูเรเชียอนารยชนฮอโลคอสต์...จังหวัดชวากลางจังหวัดบันเตินจังหวัดมาลูกูจังหวัดสุมาตราใต้จังหวัดสุมาตราเหนือจังหวัดเบิงกูลูคลาส (แก้ความกำกวม)ความยุติธรรมความเจ็บปวดความเป็นพลเมืองความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติคนพื้นเมืองตามนุษย์ตำบลน้ำขาวซุนดาประชาชนประชากรศาสตร์บรูไนประชากรศาสตร์ญี่ปุ่นประชาธิปไตยประชาธิปไตยเสรีนิยมประคอง นิมมานเหมินท์ประเทศไนเจอร์ปะหล่องปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้าแขวงไชยสมบูรณ์ไทย (แก้ความกำกวม)เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเขมร (แก้ความกำกวม) ขยายดัชนี (28 มากกว่า) »

ชาวบริติช

วบริติช เป็นชนชาติหรือคนพื้นเมืองของสหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร และคราวน์ดีเพนเดนซี ตลอดจนผู้สืบเชื้อสายจากชนชาตินี้ กฎหมายสัญชาติสหราชอาณาจักรสมัยใหม่ถือว่าหมายถึงผู้ถือความเป็นพลเมืองและสัญชาติสหราชอาณาจักร แต่ในบริบททางประวัติศาสตร์จะหมายถึงชาวบริตัน ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของเกาะบริเตนใหญ.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวบริติช · ดูเพิ่มเติม »

ชาวพิคท์

หินงูอเบอร์เลมโนสลักโดยชาวพิคท์ ชาวพิคท์ หรือ ชาวพิคทาเวีย (Picts หรือ Pictavia) เป็นสหพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ต่อมาเป็นทางด้านตะวันออกและทางเตอนเหนือของสกอตแลนด์ ที่รุ่งเรืองระหว่างการพิชิตบริเตนโดยโรมันมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชาวพิคท์มีถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำฟอร์ธและแม่น้ำไคลด์ และพูดภาษาพิคท์ที่พูดโดยชาวบริทัน (Britons) ทางตอนใต้ด้วย เชื่อกันว่าชาวพิคท์สืบเชื้อสายมาจากชาวคาเลโดเนียและชนกลุ่มอื่นที่ได้ชื่อมาจากนักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน หรือที่พบในแผนที่โลกของทอเลมี ต่อมาชาวพิคท์ก็ถูกกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเกล Dál Riata เพื่อก่อตั้ง ราชอาณาจักรอัลบา (Kingdom of Alba) อัลบาขยายตัวไปกลืนดินแดนบริเตนและเบอร์นิเซีย เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชาวพิคท์ก็กลืนไปเป็นกลุ่มชนผสมของทางเหนือของบริเตนที่มาเรียกกันว่า "ชาวสกอต".

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวพิคท์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวมันเด

นมันเด หรือ ชนมันเดน (Mandé peoples หรือ Manden peoples) หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ในแอฟริกาตะวันตกผู้พูดภาษามันเดที่กระจัดกระจายทั่วบริเวณ กลุ่มชนชนมันเดพบว่าตั้งถิ่นฐานอยู่ในเบนิน, บูร์กินาฟาโซ, โกตดิวัวร์, ชาด, แกมเบีย, กานา, กินี, กินี-บิสเซา, ไลบีเรีย, มาลี, มอริเตเนีย, ไนเจอร์, ไนจีเรีย, เซเนกัล และ เซียร์ราลีโอน ทางด้านภาษาภาษามันเดเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาไนเจอร์-คองโก และแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ สองกลุ่ม “มันเดตะวันออก” และ “มันเดตะวันตก” ชนมันดิงคาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของชนมันเดได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิโบราณที่ใหญ่ที่สุดของแอฟริกาตะวันตก.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวมันเด · ดูเพิ่มเติม »

ชาวสกอตแลนด์

--> |region5.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอาร์มีเนีย

วอาร์มีเนีย (Armenians; հայեր) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นประชากรหลักในประเทศอาร์มีเนีย และยังมีชุมชนชาวอาร์มีเนียในประเทศเพื่อนบ้านของอาร์มีเนีย เช่น จอร์เจีย อิหร่าน รัสเซีย ยูเครน ฯลฯ เหตูการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียทำให้ชาวอาร์มีเนียอพยพไปยังหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ฯลฯ ชาวอาร์มีเนียเป็นชนชาติแรก ๆ ในโลกที่นับถือคริสต์ศาสนา ทำให้อาร์มีเนียเป็นประเทศแรกในโลกที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ โดยที่ศาสนจักรของอาร์มีเนียไม่ได้ขึ้นตรงหรือมีความเกี่ยวข้องกับศาสนจักรโรมันคาทอลิกแต่อย่างใ.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอาเซอร์ไบจาน

วอาเซอร์ไบจาน (Azerbaijani people หรือ Azerbaijanis) ชาวอาเซอร์ไบจาน, US Library of Congress Country Studies (retrieved 7 June 2006).

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวอาเซอร์ไบจาน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอิตาลี

วอิตาลี (italiani, Italians) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ที่มีวัฒนธรรม และ การสืบเชื้อสายร่วมกัน และพูดภาษาอิตาลีเป็นภาษาแม่ ภายในอิตาลีการเป็นชาวอิตาลีคือการถือสัญชาติอิตาลีไม่ว่าจะสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดหรือมาจากประเทศใด ซึ่งแตกต่างจากผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวอิตาลี และทางประวัติศาสตร์จากผู้มีเชื้อสายอิตาลีที่ไม่ได้อยู่ในดินแดนที่เป็นของอิตาลีบนคาบสมุทรอิตาลี เพราะการอพยพหลายครั้งออกจากอิตาลีที่เป็นชนพลัดถิ่น มีชาวอิตาลีสัญชาติอิตาลีที่อาศัยอยู่นอกอิตาลี 4 ล้านคน และมีมากกว่า 70 ล้านคนที่มีเชื้อสายเต็มหรือบางส่วน โดยมากแล้วอาศัยอยู่ในอเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ และส่วนอื่นของยุโรป.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอุซเบก

วอุซเบก (Uzbeks) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มชนเตอร์กิกในเอเชียกลาง ประชาชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน แต่ก็ยังพบได้เป็นประชากรส่วนน้อยของประเทศอัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กิซสถาน คาซัคสถาน เติร์กเมนิสถาน รัสเซีย และจีน นอกจากนี้ผู้อพยพผลัดถิ่นชาวอุซเบกอาศัยอยู่ในประเทศตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และปากีสถาน.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวอุซเบก · ดูเพิ่มเติม »

ชาวฮังการี

ชาวฮังการี หรือ ม็อดยอร์ (Hungarian people หรือ Magyars, magyarok) คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประเทศฮังการี ชนมาจยาร์มีด้วยกันราว 10 ล้านคนในประเทศฮังการี (ค.ศ. 2001).

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ชาวจูต

มุทรจัตแลนด์ จูต (Jutes หรือ Iuti หรือ Iutae) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มชนเจอร์แมนิกที่นักบุญบีดกล่าวว่าเป็นหนึ่งในสามกลุ่มชนเจอร์แมนิกที่มีอำนาจมากที่สุดในขณะนั้น เชื่อกันว่าชาวจูตมาจากคาบสมุทรจัตแลนด์ (Iutum) ในเดนมาร์กปัจจุบัน, ชเลสวิกตอนใต้ (ตอนใต้ของจัตแลนด์) และบางส่วนของฝั่งทะเลอีสต์ฟริเซีย นักบุญบีดกล่าวว่าบ้านเกิดของชาวจูตอยู่ตรงกันข้ามกับชาวแองเกิลและไม่ไกลจากชาวแซกซันซึ่งก็หมายถึงทางตอนเหนือของคาบสมุทรจัตแลนด์ แทซิทัสกล่าวถึงชนที่เรียกว่า "ยูโดซีส" (Eudoses) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรจัตแลนด์ ซึ่งอาจจะเป็นชนกลุ่มเดียวกัน นอกจากนั้นก็ยังมีที่กล่าวว่าชาวจูตคือ "โอเทนาส" (Eotenas) ที่มาจากการขัดแย้งระหว่างฟริเซียนและชนเดนส์ที่บรรยายในโคลง เบวูล์ฟ (บรรทัดที่ 1068-1159) ผู้อื่นกล่าวว่าตีความหมายว่า "ēotenas" เป็น "jotuns" ที่แปลว่า "ยักษ์" หรือ "ศัตรู".

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวจูต · ดูเพิ่มเติม »

ชาวดัตช์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวซองไฮ

นซองไฮ (Songhai) หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ในแอฟริกาตะวันตกที่เกี่ยวข้องกับชนมันเดผู้พูดภาษาในกลุ่มภาษาซองไฮ (Songhay languages) ที่เกี่ยวพันกับกลุ่มภาษาไนโล-ซาฮารา ชนซองไฮและชนมันเดเป็นกลุ่มชนที่มีอิทธิพลในจักรวรรดิซองไฮที่มีอิทธิพลทางตะวันตกของซาเฮล ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ชนซองไฮตั้งถิ่นฐานอยู่ทั่วไปในมาลีในบริเวณในทวีปแอฟริกาที่เรียกว่าซูดานตะวันตก (Sudan region).

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวซองไฮ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวซุนดา

วซุนดา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองในประเทศอินโดนีเซียอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางตะวันตกของเกาะชวา มีจำนวนประมาณ 31 ล้านคน ชาวซุนดาใช้ภาษาหลักคือภาษาซุนดา และนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ เดิมนั้นชาวซุนดามักจะอาศัยอยู่หนาแน่นในจังหวัดชวาตะวันตก, บันเติน และจาการ์ตา รวมทั้งพื้นที่ทางตะวันตกของจังหวัดชวากลาง สำหรับชวากลาง และชวาตะวันออกนั้น เป็นถิ่นฐานเดิมของชาวชวา ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย วัฒนธรรมของชาวซุนดานั้นส่วนใหญ่ยืมมาจากวัฒนธรรมชวา แต่มีความแตกต่างออกไปเนื่องจากการนับถือศาสนาอิสลาม และมีลำดับชั้นทางสังคมที่แข็งแกร่งน้อยกว่ามาก Hefner (1997).

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวซุนดา · ดูเพิ่มเติม »

ชาวปรัสเซียเก่า

นเผ่าปรัสเซียภายในกลุ่มชนบอลติค ราว ค.ศ. 1200 บอลติคตะวันออกสีน้ำตาลและบอลติคตะวันตกสีเขียว เขตแดนที่แสดงเป็นเขตแดนโดยประมาณ ชนปรัสเซียเก่า หรือ ชนบอลติกปรัสเซีย (Old Prussians หรือ Baltic Prussians; Pruzzen or Prußen; Pruteni; Prūši; Prūsai; Prusowie) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ท้องถิ่นในกลุ่มชนบอลต์ (Balts) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณปรัสเซีย ซึ่งเป็นดินแดนบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลบอลติกในบริเวณรอบ ๆ ลากูนวิตูลา (Vistula Lagoon) และ ลากูนคูโรเนียน (Curonian Lagoon) ภาษาที่พูดปัจจุบันเรียกว่าภาษาปรัสเซียเก่า ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในบริเวณที่นักวิชาการเชื่อว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับบริเวณลิทัวเนียที่นับถือลัทธิเพกันที่นับถือพระเจ้าเช่นเพอร์กูน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชนปรัสเซียเก่าถูกพิชิตโดยอัศวินทิวทันและในที่สุดก็ค่อยๆ กลายเป็นเยอรมัน (Germanisation) ในหลายร้อยปีต่อมา อาณาจักรปรัสเซียเดิมของเยอรมนีนำชื่อนี้มาใช้เป็นชื่ออาณาจักร แม้ว่าจะมีผู้นำเป็นชาวเยอรมันผู้กลืนไปกับชนปรัสเซียเก่า ส่วนภาษาปรัสเซียเก่าก็สูญหายไปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17Encyclopædia Britannica entry 'Old Prussian language' ดินแดนของชนปรัสเซียเก่าเป็นดินแดนที่อยู่ราวตอนกลางและตอนใต้ของปรัสเซียตะวันออก — ปัจจุบัน Warmian-Masurian Voivodeship ของโปแลนด์ คาลินินกราด ของรัสเซีย และ ทางใต้ของ บริเวณไคลพาดา (Klaipėda Region) ของลิทัวเนี.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวปรัสเซียเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ชาวโรมานี

รมานี (Rromane, Romani people หรือ Romany หรือ Romanies หรือ Romanis หรือ Roma หรือ Roms) หรือมักถูกเรียกโดยผู้อื่นว่า ยิปซี (Gypsy) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของยุโรปที่สืบเชื้อสายมาจากยุคกลางของอินเดีย (Middle kingdoms of India) โรมานีเป็นชนพลัดถิ่น (Romani diaspora) ที่ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปโดยเฉพาะกลุ่มโรมาซึ่งเป็นชนกลุ่มย่อยในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก และกลุ่มใหม่ที่ไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกา และบางส่วนในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ภาษาโรมานีแบ่งออกไปเป็นสาขาท้องถิ่นหลายสาขาที่มีผู้พูดราวกว่าสองล้านคน แต่จำนวนประชากรที่มีเชื้อสายโรมานีทั้งหมดมากกว่าผู้ใช้ภาษากว่าสองเท่า ชาวโรมานีอื่นพูดภาษาของท้องถิ่นที่ไปตั้งถิ่นฐานหรือภาษาผสมระหว่างภาษาโรมานีและภาษาท้องถิ่นที่พำนัก.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวโรมานี · ดูเพิ่มเติม »

ชาวโวลอฟ

วโวลอฟ (Wolof people) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พบในเซเนกัล, แกมเบีย และมอริเตเนี.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวโวลอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวโปรตุเกส

วโปรตุเกส (os portugueses; Portuguese people) คือชนชาติและกลุ่มชาติพันธุ์จากประเทศโปรตุเกส ทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตอนใต้-ตะวันตกของทวีปยุโรป ใช้ภาษาโปรตุเกส โดยมากนับถือโรมันคาทอลิก จากประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโปรตุเกสและการล่าอาณานิคมในแอฟริกา เอเชีย และทวีปอเมริกา เช่นเดียวกับการอพยพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทำให้มีสังคมชาวโปรตุเกสในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ชาวโปแลนด์

วโปแลนด์ หรือ ชาวโปล(Polacy เอกพจน์ Polak, Polish people หรือ Poles) ชาวโปลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มชนสลาฟตะวันตกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในปัจจุบันคือโปแลนด์ ชาวโปแลนด์บางครั้งก็จะได้รับการบรรยายว่าเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมโปแลนด์ร่วมกัน และสืบเชื้อสายโปแลนด์ ศาสนาส่วนใหญ่เป็นโรมันคาทอลิก ชาวโปแลนด์อาจจะมหาหมายถึงทั้งผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในโปแลนด์เองที่มีเชื้อสายโปแลนด์หรือชาติพันธุ์อื่น นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มชนชาวโปแลนด์พลัดถิ่น (Polonia) ที่ไปตั้งหลักแหล่งทั่วไปในยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันออก ทวีปอเมริกา และออสเตรลี.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไอริช

วไอริช (Muintir na hÉireann หรือ na hÉireannaigh หรือ na Gaeil, Irish people) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวยุโรปตะวันตกที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป จากหลักฐานทางโบราณคดีไอร์แลนด์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษยชนมาราว 9,000 ปีโดยมีบรรพบุรุษของชาวไอริช ที่เป็นชนเนเมเดียน (Nemedians), ชนโฟโมเรียน (Fomorians), Fir Bolgs, Tuatha Dé Danann และ ชนมิเลเซียน (Milesians) (ตามตำนาน - ไม่มีหลักฐานบันทึกเป็นอักษรก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6)—กลุ่มสุดท้ายกล่าวกันว่าเป็นกลุ่มที่เป็นบรรพบุรุษเกลลิคที่แท้จริง และยังคงใช้เป็นคำที่เรียกชนไอริชจนกระทั่งปัจจุบันนี้ กลุ่มชาติพันธุ์หลักที่มีการติดต่อกับชาวไอริชในยุคกลางก็ได้แก่ชาวสกอต และ ไวกิง และ ชาวไอซ์แลนด์โดยเฉพาะที่มีเชื้อสายไอริช การรุกรานของแองโกล-นอร์มันในยุคกลางตอนกลาง, การก่อตั้งดินแดนของอังกฤษ และต่อมาการปกครองโดยอังกฤษเป็นการนำกลุ่มชนนอร์มัน, เวลช์, เฟลมมิช, แองโกล-แซ็กซอน และ เบรทอน เข้ามาในไอร์แลนด์ ชาวไอริชที่มีชื่อเสียงก็มีมาตลอดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เมื่อนักบวชไอริชและนักเผยแพร่ศาสนาโคลัมบานัสผู้ถือกันว่าเป็น “บิดาแห่งยุโรป” คนหนึ่ง ตามด้วยนักบุญคิลเลียน และ เวอร์กิลเลียสแห่งซอลซบวร์ก นักวิทยาศาสตร์โรเบิร์ต บอยล์ผู้ถือกันว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาเคมี” นักสำรวจผู้มีชื่อเสียงที่เป็นชาวไอริชก็ได้แก่เบรนดันนักเดินเรือ (Brendan the Navigator), เอิร์นเนสต์ แช็คเคิลตัน (Ernest Shackleton) และ ทอม ครีน (Tom Crean) ในด้านวรรณกรรมชาวไอริชก็เป็นผู้มีชื่อเสียงหลายคนที่รวมทั้งโจนาธาน สวิฟท์, จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์, ออสคาร์ ไวล์ด และ เจมส์ จอยซ.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวไอริช · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเบอร์กันดี

วบูร์กอญ (Burgundians, Burgundiones) เป็นชาติพันธุ์ในกลุ่มชนเจอร์มานิคตะวันออกที่อาจจะอพยพมาจากแผ่นดินใหญ่สแกนดิเนเวียมายังเกาะบอร์นโฮล์ม (Bornholm) ซึ่งยังเรียกเป็นภาษานอร์สโบราณว่า “Burgundarholmr” หรือ “เกาะของชาวบูร์กอญ” จากนั้นก็ไปยังแผ่นดินใหญ่ยุโรป ใน ตำนานของทอร์ชไตน์ลูกไวกิง (Þorsteins saga Víkingssonar) เวเซติตั้งถิ่นฐานบนเกาะที่เรียกว่าเกาะของบอร์กันด์ หรือ บอร์นโฮล์ม คำแปลของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชของงานเขียนของโอโรเซียส (Orosius) ใช้คำว่า “Burgenda land” หรือ “ดินแดนของเบอร์เกนดา” กวีและนักตำนานวิทยาวิคเตอร์ ริดเบิร์ก (Viktor Rydberg) (ค.ศ. 1828–ค.ศ. 1895), ใน Our Fathers' Godsaga กล่าวอ้างจากแหล่งข้อมูลจากต้นยุคกลาง ตำนานชีวิตของนักบุญซิจิมุนด์แห่งบูร์กอญ (Sigismund of Burgundy) ว่าชาวบูร์กอญยังคงรักษาวัฒนธรรมการบอกเล่าต่อๆ กันมาเกี่ยวกับบรรพบุรุษที่มาจากสแกนดิเนเวี.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวเบอร์กันดี · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเวลส์

วเวลส์ (Cymry, Welsh people) เวลส์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์และในชาติที่เกี่ยวข้องกับเวลส์และภาษาเวลส์ จอห์น เดวีส์ให้ความเห็นว่าที่มาของ "ชาติเวลส์" (Welsh nation) สืบได้ว่ามีมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังจากที่โรมันถอนตัวจากบริเตนJohn Davies (1994) A History of Wales.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาวเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาติพันธุ์วรรณนา

ติพันธุ์วรรณนา (ethnography) เป็นชาติพันธุ์วิทยาและมานุษยวิทยาสาขาหนึ่งที่ศึกษาและอธิบายวัฒนธรรมและพฤติกรรมแบบต่าง ๆ ของกลุ่มคน ระบบ แบบแผนทางสังคม ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตของกลุ่มคนนั้น ๆ โดยใช้วิธีการคำนึงถึงข้อเท็จจริงแห่งประเด็นศึกษา มากกว่าจะใช้วิธีการตามหลักทั่วไป อาทิ การตั้งสมมุติฐาน การสัมภาษณ์ และการทำแบบสอบถาม.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและชาติพันธุ์วรรณนา · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีเซียน

ฟรีเซียน (Frisians) คือชาติพันธุ์หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์เจอร์มานิคที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามริมฝั่งทะเลของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ส่วนใหญ่อยู่กันหนาแน่นในจังหวัดฟรีสแลนด์ และโกรนิงเกนในเนเธอร์แลนด์ และในบริเวณฟรีเซียตะวันออก และ ฟรีเซียเหนือในเยอรมนี ฟรีเซียนตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เรียกว่าฟรีเซี.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและฟรีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ)

ระครูประสาธน์ขันธคุณ หรือที่พุทธศานิกชนชาวศรีสะเกษและชาวไทยรู้จักโดยทั่วไปในนาม หลวงปู่มุม หรือ หลวงพ่อมุม เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอเหนือ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเด็กและอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 20 ปี แล้วดำรงอยู่ในสมณเพศตลอดชีวิตจนมรณภาพ เป็นพระภิกษุผู้ถือเคร่งทางธรรมปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ได้ฝึกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาในบริเวณเทือกเขา พนมดงเร็ก เขตจังหวัดทางภาคอีสานตอนล่าง ของประเทศไทย และเดินธุดงค์เข้าไปในประเทศกัมพูชาจำพรรษาอยู่ในประเทศกัมพูชาหลายปี หลังจากนั้นจึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดปราสาทเยอเหนือ บ้านเกิด ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีกลุ่มชาติพันธุ์เยอ ตั้งถิ่นฐานอยู่ จากความสมถะ มักน้อย สันโดษและเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศานิกชนทั่วไป และที่โด่งดังเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วประเทศก็คือความศรัทธาในวัตถุมงคลกลุ่มที่ชื่อ พระหลวงพ่อมุม ซึ่งท่านได้เคยสร้างและทำพิธีปลุกเสกด้วยตัวเอง โดยพิธีพุทธาภิเษกแบบเขมรโบราณ ทั้งยังเป็นผู้มีส่วนร่วมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในบวรพระพุทธศาสนาและเพื่อสังคมไว้มหาศาล ถือป็น ปูชนียบุคคล ที่ควรกราบไหว้บูชาสักการะของปวงชนทั่วๆ ไป หลวงปู่มุม ยังเป็นหนึ่งในพระเถระผู้ร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่งมหาราช ระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ซึ่งวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่ทรงได้รับการเทิดทูนอย่างสูงสุดจากปวงชนชาวไทย โดยการถวายพระบรมราชสมัญญานาม มหาราช ต่อท้ายพระปรมาภิไธย อนึ่ง วัดปราสาทเยอเหนือ เป็นวัดโบราณมีอายุเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษหรือจังหวัดขุขันธ์ ในอดีต วัดแห่งนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1313 หรือราวต้นพุทธศตวรรษที่ 14 ตั้งแต่สมัยทวารวดีและสมัยขอม อันเป็นช่วงเวลาก่อนการตั้งเมืองศรีนครลำดวน (ต้นเค้าเมืองขุขันธ์ที่พัฒนามาเป็นจังหวัดขุขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษ) ใน พ.ศ. 2302 กรมศิลปากร.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและพระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ) · ดูเพิ่มเติม »

พฤติกรรมวิทยา

ติกรรมวิทยา (ethology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของสัตววิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ โดยจะเน้นไปที่การศึกษาพฤติกรรมภายใต้สภาวะตามธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดแบบพฤติกรรมนิยม (behaviorism) ในทางจิตวิทยา ที่จะศึกษาพฤติกรรมต่างๆ โดยมีการวางเงื่อนไข คำว่า ethology เริ่มใช้กันแพร่หลายในปี 1902 โดยนักกีฏวิทยาชาวอเมริกัน วิลเลียม มอร์ตัน วีลเลอร์ (1865-1937) โดยมาจากคำ 2 คำในภาษากรีกคือ ethos ("คุณลักษณะ") และ logos ("การศึกษา").

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและพฤติกรรมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง

ัณฑแห่งชาติ ถลาง เป็นอาคารรูปทรงแบบภาคใต้ประยุกษ์ มีการจัดแสดง โบราณวัตถุ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได หรือบางครั้งเรียกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไต-ไท เป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มชาติพันธุ์ ไท-กะได กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ รับประทานข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว เป็นอาหารหลัก นิยมปลูกเรือนเสาสูง มีใต้ถุน อาศัยทั้งในที่ราบลุ่ม และบนภูเขา ประเพณีศพเป็นวิธีเผาจนเป็นเถ้าแล้วเก็บอัฐิไว้ให้ลูกหลานบูชา ศาสนาดั้งเดิมเป็นการนับถือผี นับถือบรรพบุรุษ และบูชาแถน (ผีฟ้า หรือเสื้อเมือง) มีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวสันตวิษุวัต และการขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้ คำเรียก ไต เป็นคำที่กลุ่มชนตระกูลไทใหญ่ใช้เรียกตนเอง ส่วน ไท เป็นคำเดียวกัน แต่เป็นสำเนียงของชาวไทน้อย และ ไทยสยาม บางครั้ง การใช้คำ ไต-ไท ในวงแคบจะหมายถึงเฉพาะผู้ที่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท (ไม่รวมกลุ่มภาษากะได เช่น ลักเกีย แสก คำ ต้ง หลี เจียมาว ฯลฯ).

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มปฐมชาติ

กลุ่มปฐมชาติ (First Nations) กลุ่มปฐมชาติเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่หมายถึงชนพื้นเมืองในแคนาดา (Aboriginal peoples in Canada) ผู้ที่ไม่ใช่อินนูอิทหรือเมทิส ในปัจจุบันกลุ่มปฐมชาติประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดกว่า 600 กลุ่ม และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นรัฐบาลแห่งกลุ่มปฐมชาติที่ตั้งอยู่โดยทั่วไปในแคนาดา โดยมีจำนวนราวครึ่งหนึ่งอยู่ในรัฐออนแทรีโอ และ บริติชโคลัมเบีย กลุ่มปฐมชาติประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความเท่าเทียมทางแรงงานของแคนาดากลุ่มปฐมชาติถือว่าเป็นกลุ่มที่มีฐานะเดียวกับสตรี, ชนกลุ่มน้อยที่เห็นได้ (visible minority) และผู้มีความพิการ แต่ไม่ถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่เห็นได้ตามพระราชบัญญัติและคำนิยามของกรมสถิติแห่งแคนาดา ในภาษาอังกฤษคำว่า "First Nations" ที่มักจะใช้ในรูปพหูพจน์กลายมาเป็นคำที่ใช้สำหรับชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคนาดา ยกเว้นแต่ในบริเวณอาร์กติกที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของอินนูอิท และกลุ่มชาติพันธุ์ผสมที่เรียกว่าเมทิส แนวโน้มในปัจจุบันในการกล่าวถึงตนเองของผู้ที่อยู่ในกลุ่มกลุ่มปฐมชาติคือการใช้ชื่อเผ่าหรือเชื้อชาติเท่านั้น เช่น "ผมคือไฮดา" หรือ "เราคือควันท์เลน" โดยไม่ใช้คำว่า "กลุ่มปฐมชาติ" กำกับเพื่อเป็นการแสดงความแตกต่างของชาติพันธุ์ของแต่ละกลุ่ม.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและกลุ่มปฐมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

การออกเสียง

การออกเสียง อาจเรียกว่า เสียงอ่าน คำอ่าน หรือแม้แต่ การอ่าน หมายถึงวิธีการหรือรูปแบบของคำหรือวลีในภาษาที่ถูกพูดหรือเปล่งเสียงออกมา ถ้ากล่าวถึง "การออกเสียงที่ถูกต้อง" จะหมายถึงการออกเสียงโดยอิงสำเนียงที่เฉพาะเจาะจงอย่างหนึ่ง เช่นสำเนียงกลางมาตรฐาน ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหลากหลายสามารถพูดคำหรือวลีหนึ่ง ๆ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างอาทิ ภูมิภาคที่พวกเขาเติบโตหรืออาศัยอยู่ หรือในกรณีที่พวกเขามีความผิดปกติในการพูดหรือความผิดปกติในการเปล่งเสียง กลุ่มชาติพันธุ์ ชั้นชนทางสังคม หรือการศึกษาของพวก.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและการออกเสียง · ดูเพิ่มเติม »

การอ่านใจแบบเย็น

การอ่านใจแบบเย็น (Cold reading) เป็นเทคนิคที่ใช้โดยบุคคลต่าง ๆ รวมทั้งผู้อ้างว่าตนมีอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่นผู้มีอำนาจทางจิตวิญญาณ (psychic) ผู้ทำนายอนาคต และสื่อวิญญาณ รวมทั้งนักแสดงเช่นนักมายากล คือโดยที่ไม่ได้รู้อะไรล่วงหน้ามาก่อน ผู้ใช้เทคนิคนี้สามารถได้ข้อมูลเป็นจำนวนมากโดยวิเคราะห์สีหน้า อากัปกิริยา ท่าทาง อายุ เสื้อผ้า แฟชั่น ทรงผม เพศ รสนิยมทางเพศ ศาสนา เชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ ระดับการศึกษา วิธีสำเนียงการพูด แหล่งกำเนิด ฯลฯ เทคนิคนี้มักจะเริ่มด้วยการเดาที่มีโอกาสถูกสูง แล้วตรวจดูปฏิกิริยาว่าอยู่ในแนวที่ถูกต้องหรือไม่ หลังจากนั้นจึงกล่าวเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องที่ถูกโดยบังเอิญ โดยไม่ใส่ใจผ่านเรื่องที่เดาไม่ถูกไป.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและการอ่านใจแบบเย็น · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) คือ การกระทำอย่างเป็นระบบและไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ ถึงแม้จะมีผู้ให้นิยามของ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ไว้มากมายและบางทีก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ทางนิติศาสตร์นั้น สหประชาชาติได้กำหนดนิยามของพฤติการณ์นี้ในข้อ 2 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (United Nations Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) ว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หมายถึง "การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ เป็นต้นว่า ฆ่าสมาชิกของกลุ่ม กระทำให้สมาชิกของกลุ่มถึงแก่พิกลพิการอย่างหนักทางกายภาพหรือจิตภาวะ กระทำโดยไตร่ตรองหรือโดยคาดการณ์ไว้แล้วเพื่อให้เกิดแก่หรือนำพามาสู่สมาชิกของกลุ่มซึ่งทุกขเวทนาในสภาพความเป็นอยู่ กระทำโดยมาตรการใด ๆ เพื่อกันมิให้มีการถือกำเนิดของทารกภายในกลุ่ม หรือใช้กำลังนำพาผู้เยาว์ในกลุ่มไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง"Office of the High Commissioner for Human Rights.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การต่อต้านยิว

การ์ตูนเยาะหยันชาวยิวจากฝรั่งเศส ค.ศ. 1898 หน้าปกหนังสือ “ทางสู่ชัยชนะของความเป็นเยอรมันต่อความเป็นยิว” โดยมารร์ ฉบับ ค.ศ. 1880 การต่อต้านยิว (Antisemitism หรือ Anti-semitism หรือ anti-Semitism หรือ Judeophobia) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายความเป็นอคติ (prejudice) ต่อหรือความรู้สึกต่อต้านชาวยิว ที่มักจะมาจากความมีอคติต่อศาสนา, วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ของชาวยิว แม้ว่าที่มาของคำว่า “ลัทธิความเป็นอคติต่อเซมิติค” ในภาษาอังกฤษ “Antisemitism” ตามอักขระแล้วจะหมายถึงความเป็นอคติต่อชนเซมิติค (Semitic peoples) แต่โดยทั่วไปคำนี้จะหมายถึงเฉพาะความเป็นอคติต่อชาวยิวตั้งแต่เริ่มใช้กันมา"Antisemitism has never anywhere been concerned with anyone but Jews." Bernard Lewis.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและการต่อต้านยิว · ดูเพิ่มเติม »

การเข้าเมืองกับอาชญากรรม

การเข้าเมืองกับอาชญากรรมหมายความถึงความสัมพันธ์ที่รับรู้หรือเป็นจริงระหว่างอาชญากรรมกับการเข้าเมือง เอกสารข้อมูลวิชาการให้ข้อค้นพบคละกันสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมทั่วโลก การนำเสนอเกินของผู้เข้าเมืองในระบบยุติธรรมทางอาญาของหลายประเทศอาจเป็นเนื่องจากปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจ การจำคุกสำหรับโทษการย้ายถิ่น และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติโดยตำรวจและระบบยุติธรรม การวิจัยเสนอว่าบุคคลมีแนวโน้มประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมสูงเกินจริง.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและการเข้าเมืองกับอาชญากรรม · ดูเพิ่มเติม »

ฝันอเมริกัน

งชาติของสหรัฐฯ ในวอชิงตัน ดี.ซี. ธงแบบเบสซี รอสที่แขวนลงเป็นธงคลาสสิก “โอลด์กลอรี” รุ่น 50 รัฐ ความหมายโดยทั่วๆ ไปแต่เดิมของ “ความฝันอเมริกัน” อาจนิยามได้ว่าเป็น “ความเท่าเทียมทางโอกาสและเสรีภาพที่เอื้อให้พลเมืองบรรลุถึงเป้าหมายในชีวิตด้วยการทำงานหนักและด้วยความมุ่งมั่น ปัจจุบัน ความหมายโดยทั่วไปได้ปรับเปลี่ยนเป็นว่า ความมั่งคั่งของบุคคลขึ้นอยู่กับขีดความสามารถและการทำงานหนัก ไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างระดับชั้นที่ตายตัวของสังคม ซึ่งความหมายนี้ไปเปลี่ยนไปตามเวลาของประวัติศาสตร์ สำหรับบางคน อาจหมายถึงโอกาสที่จะบรรลุความมั่งคั่งได้มากกว่าที่เคยได้ในประเทศเดิมที่ตนย้ายถิ่นมา บางคนอาจหมายถึงโอกาสที่บุตรหลานที่จะเจริญเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่ดีและได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ รวมทั้งโอกาสการได้งานที่ดี สำหรับบางคนอาจเป็นการได้โอกาสที่จะเป็นปัจจเกชนที่ปราศจากการกีดกันด้วยชนชั้นทางสังคม จากวรรณะ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ หรือชาติพันธุ์ นิยามของความฝันอเมริกันดังกล่าว ณ ปัจจุบันยังคงเป็นหัวข้อที่ยังถกเถียงอภิปรายกันมากอยู่ และเช่นกันที่ “ชุดของความเชื่อ การตั้งข้อสมมุติฐานและรูปแบบของการประพฤติปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความฝันอเมริกันที่เกาะตัวกันอย่างหลวมๆ ในขณะนี้ ซึ่งประกอบด้วย (1) เสรีภาพของบุคคลในการเลือกวิถีการดำเนินชีวิต (2) โอกาสที่จะเข้าถึงความมั่งคั่งได้โดยเสรี และ (3) การเสาะแสวงหาและการแลกเปลี่ยนเป้าประสงค์ร่วมระหว่างบุคคลกับสังคมของตน” Zangrando, Joanna Schneider and Zangrando, Robert L. "Black Protest: A Rejection of the American Dream".

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและฝันอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

มิวเซียมสยาม

มิวเซียมสยาม หรือ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (Museum Siam, Discovery Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร 7 ตัวเป็นตัวกลาง มิวเซียมสยามดูแลโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าชมที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้รากเหง้าของชาวไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มชนในเขตเมืองบางกอก หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เนื่องจากตัวมิวเซียมสยามแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มิได้หมายความว่าถ้าเป็นคนไทยต่างจังหวัด จะไม่สามารถมาเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้ได้ ด้วยเพราะสิ่งที่จัดแสดงในมิวเซียมสยามนี้ แสดงถึงความเป็นมาของชนชาติไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ ทำให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจผู้เข้าชมได้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังตั้งอยู่ในสถานที่สวยงาม ปัจจุบัน ได้ทำการปรับปรุงนิทรรศการชุด เรียงความปะรเทศไทย เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 ต่อมาได้มีการจัดทำนิทรรศการชุดใหม่โดยมีจุดประสงค์ให้มีเนื้อหาเท่าทันสมัย และตอบโจทย์ความต้องการของผู้เข้าชม มีชื่อชุดว่า นิทรรศการ "ถอดรหัสไทย" นำเสนอภายใน 14 ห้องนิทรรศการ ที่จะพาไปเรียนรู้ทุกมุมมองความเป็นไทย และพัฒนาการความเป็นไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อาทิ เรื่องราวด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย สำหรับ นิทรรศการ "เรียงความประเทศไทย" ได้ทำการจัดแสดงกับ Muse Mobile มิวเซียมติดล้อ เป็นการจัดนิทรรศการในตู้คอนเทนเนอร์เคลื่อนที่ไปจัดแสดง ในสถานที่ต่างๆ โดยเล่าถึงประวัติศาสตร์ของประเทศและคนไทย ผ่านรูปแบบนิทรรศการที่ทันสมัยในตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและมิวเซียมสยาม · ดูเพิ่มเติม »

ม้ง

ม้ง หรือ เมียว (Miao; 苗; พินอิน: Miáo) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในเขาภูเขาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ชาวม้งอพยพลงมาทางใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่สงบทางการเมืองและหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ปัจจุบันมีชาวม้งอาศัยอยู่ในประเทศจีน ไทย เวียดนาม ลาว และสหรัฐอเมริกา โดยชุมชนชาวม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำหรับในประเทศไทยคำว่า "แม้ว" เป็นคำเรียกที่ไม่สุภาพในการเรียกกลุ่มคนม้ง ชาวม้งโดยส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งและสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ชาวม้งในลาวได้ต่อสู้ขบวนการปะเทดลาว ชาวม้งหลายคนอพยพมาประเทศไทย และ ชาติตะวันตก.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและม้ง · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

ฤคเวท

วท (ऋग्वेद, ฤคฺเวท, Rigveda) เป็นคัมภีร์เล่มแรกในวรรณคดีพระเวท แต่งขึ้นเมื่อราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประกอบไปด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ อำนาจแห่งเทวะ และประวัติการสร้างโลก รวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง ซึ่งจะใช้ในพิธีการบรวงสรวงเทพเจ้าต่างๆ ของชาวอารยัน ตามประเพณีของฮินดูแล้ว การแบ่งหมวดหมู่ของคัมภีร์พระเวทนี้ วยาส (ผู้แต่งมหากาพย์ มหาภารตะ) เป็นผู้ทำขึ้นโดยรับคำสั่งจากพระพรหมณ์ การจัดรวบรวมบทสวดในคัมภีร์ฤคเวทนี้ เรียกว่า ฤคเวทสังหิตา มีบทสวดทั้งหมด 1,028 บท เป็นหนึ่งในคัมภีร์ทั้งสี่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเรียกรวมกันว่า "พระเวท" และนับเป็นบทสวดที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ เนื้อหาด้านชาติพันธุวิทยาและภูมิศาสตร์ที่ปรากฏในฤคเวทนั้น เป็นหลักฐานแสดงว่าฤคเวทนั้นมีมานานกว่า 3,000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและฤคเวท · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

วัดศรีฐานธรรมิการาม

วัดศรีฐานธรรมิการาม เป็นวัดพระพุทธศาสนา แบบเถรวาท วัดชั้น อารามราษฎร์ ชนิดคามวาสี(วัดบ้าน) สังกัดมหานิกาย  เริ่มก่อตั้งวัดเมื่อ ๒๔๘๓ ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๕ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๐ หมู่ที่ ๑ บ้านเหล่าหมี ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนบ้านเหล่าหมี ทั้งยังมีพระพุทธรูป เนื้อ ไม้พะยอมแกะสลัก พระพุทธลักษณะเป็นพระพุทรูป ปางมารวิชัย ซึ่งเป็น ศิลปะไทย ผสมศิลปะ ล้านช้าง ฐานลายกลีบบัว สร้างใน สมัยรัตนโกสินทร์ ชื่อว่า "พระธัมมะธิรง" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม หลวงพ่อองค์ดำ หรือพระองค์ดำ เป็นพระคู่บ้านคู่ชุมชน ลักษณะงดงามเป็นที่เคารพสักการะ และเลื่อมใสศรัทธาของชุมชน สร้างประมาณ..

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและวัดศรีฐานธรรมิการาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

รานุกรมไทยสำหรับเยาวชน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

ตราสัญลักษณ์ สพร. สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) (อังกฤษ: The National Discovery Museum Institute - NDMI) ตั้งอยู่ที่อาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (Office of Knowledge Management and Development) หรือ OKMD อันเป็นองค์การมหาชนที่การสนับสนุนจากรัฐบาลในสมั.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สพร.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สโตก-ออน-เทรนต์

ตก-ออน-เทรนต์ (Stoke-on-Trent,; มักจะย่อกันว่า สโตก) เป็นเมืองในสแตฟฟอร์ดเชอร์ และเป็นนครในสหราชอาณาจักร โดยสโตก-ออน-เทรนต์มีประชากรทั้งหมด 249,000 คน.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและสโตก-ออน-เทรนต์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะคะแนรี

หมู่เกาะคะแนรี (Canary Islands), คะแนรีส์ (Canaries) หรือ กานาเรียส (Canarias) เป็นหมู่เกาะของราชอาณาจักรสเปน ประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟ 7 เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา (โมร็อกโกและเวสเทิร์นสะฮารา) และมีฐานะเป็นแคว้นปกครองตนเองของสเปน.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและหมู่เกาะคะแนรี · ดูเพิ่มเติม »

หวง เสี้ยนฝัน

หวง เสี้ยนฝัน (ภาษาจ้วง:Vangz Yenfanh) (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 - 18 มกราคม พ.ศ. 2525) เป็นนักประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา นักการศึกษา และศาสตราจารย์ชาวจีนผู้มีชื่อเสียงในฐานะชาติพันธุ์วิทยาระดับ เขาเป็นผู้บุกเบิกสาขาสารจ้วงศาสตร์ ศึกษาและเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์สมัยโบราณชาวจีนและจ้วงชาติพันธุ์วิทยาประวัต.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและหวง เสี้ยนฝัน · ดูเพิ่มเติม »

อาวาร์ยูเรเชีย

แผนที่แสดงตำแหน่งของอาณาจักรข่านของอาวาร์ราว ค.ศ. 600 อาวาร์ยูเรเชีย หรือ อาวาร์ยุโรป หรือ อาวาร์โบราณ (Eurasian Avars หรือ European Avars หรือ Ancient Avars) เป็นกลุ่มชนที่มีระบบสังคมที่มีระเบียบแบบแผน และเป็นสหพันธ์ของกลุ่มชนที่มีอำนาจที่มาจากหลายชาติพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์กับชนบัลการ์, ชนคาซาร์ และกลุ่มชนที่พูดภาษาโอเกอร์ (Oghur languages) ในขณะนั้น อาวาร์ยูเรเชียปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “คากาน” หรือ “มหาข่าน” (Khagan หรือ Great Khan) ผู้ล้อมรอบตัวด้วยนักการทหารที่มาจากกลุ่มชนเร่ร่อน (nomad) ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับระบบของกลุ่มชนชนเตอร์กิกโดยทั่วไป อาวาร์ยูเรเชียปรากฏเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในชื่อรูราน (Rouran) ที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณพรมแดนทางตอนเหนือของจีนและมีอำนาจอยู่ในบริเวณนั้นอยู่ราวสองร้อยปี ก่อนที่จะมาปรากฏตัวในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และมามีอิทธิพลในบริเวณส่วนใหญ่ของที่ราบแพนโนเนียน (Pannonian Plain) มาจนกระทั่งถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 นอกจากในยุโรปแล้วอาวาร์ยูเรเชียยังปรากฏในอินเดียในชื่ออาเฮอร์ (ahir).

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและอาวาร์ยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อนารยชน

นักรบเจอร์มานิค” โดย ฟิลิปป์ คลือเวอร์ (Philipp Clüver) ใน “Germania Antiqua” (ค.ศ.1616) อนารยชน (barbarian) เป็นคำที่มีความหมายในทางเหยียดหยามสำหรับผู้ที่ถือกันว่าไม่มีวัฒนธรรมที่อาจจะเป็นการใช้โดยทั่วไปที่หมายถึงกลุ่มชนในชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic group) โดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงกลุ่มชนที่มีลักษณะเป็นเผ่าพันธ์ (tribal society) จากมุมมองของวัฒนธรรมเมืองที่เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมที่ด้อยกว่าหรือชื่นชมว่าเป็นคนเถื่อนใจธรรม (noble savage) เมื่อใช้เป็นสำนวน “อนารยชน” ก็อาจจะหมายถึงผู้ที่เป็นคนทารุณ, โหดร้าย, นิยมสงคราม และไร้ความรู้สึกต่อผู้อื่น การใช้คำว่า “อนารยชน” มาจากวัฒนธรรมกรีก-โรมันแต่คำทำนองเดียวกันก็พบในวัฒนธรรมอื่นๆ ด้ว.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและอนารยชน · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและฮอโลคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชวากลาง

วากลาง (Jawa Tengah, ꦗꦮꦠꦼꦔꦃ) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย เมืองเอกคือ เซอมารัง (Semarang) นับเป็นหนึ่งในจังหวัดทั้งหกของเกาะชวา ชวากลางมีจุดเด่นทั้งด้านวัฒนธรรม และทางการเมือง ยอกยาการ์ตาเป็นส่วนสำคัญแห่งหนึ่งของชวากลาง อย่างไรก็ตาม ในเชิงการบริหารแล้ว เมืองนี้และพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่พิเศษที่แยกต่างหาก นับตั้งแต่อินโดนีเซียประกาศเอกราช จังหวัดชวากลางมีพื้นที่ 32,548.20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสี่ของพื้นที่เกาะชวา มีประชากร 31,820,000 (พ.ศ. 2548) จึงเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของอินโดนีเซีย รองจากชวาตะวันตก และชวาตะวันออก และมีประชากรประมาณหนึ่งในสี่ของเกาะนี้ ชวากลาง หมวดหมู่:จังหวัดชวากลาง.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและจังหวัดชวากลาง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบันเติน

ันเติน (Banten) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ที่อ่าวบันเตินทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีพื้นที่ 9,160.7 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 9,083,114 คน (พ.ศ. 2548) จังหวัดบันเตินก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยแยกออกจากจังหวัดชวาตะวันตก มีเมืองหลวงคือเซอรัง (Serang).

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและจังหวัดบันเติน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดมาลูกู

มาลูกู (Maluku) เป็นจังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย โดยประกอบไปด้วยพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ของหมู่เกาะโมลุกกะ เมืองหลักของจังหวัดมาลูกูคืออัมบน บนเกาะอัมบนขนาดเล็ก.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและจังหวัดมาลูกู · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุมาตราใต้

มาตราใต้ (Sumatera Selatan) เป็นจังหวัดหนึ่งทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรทั้งหมด 7,446,401 คน (สำมโนประชากรปี 2553) มีเมืองหลักชื่อปาเล็มบัง.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและจังหวัดสุมาตราใต้ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุมาตราเหนือ

มาตราเหนือ (Sumatera Utara) เป็นจังหวัดหนึ่งบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรมากกว่า 13 ล้านคน เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศหากไม่นับรวมกรุงจาการ์ต.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและจังหวัดสุมาตราเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเบิงกูลู

งกูลู (Bengkulu) หรือที่ในอดีตเรียกว่า เบงคูเลน (Bencoolen) เป็นชื่อจังหวัดและเมืองท่าทางตอนใต้ของสุมาตราฝั่งตะวันตก เป็นที่ตั้งสถานีการค้าและป้อมปราการของบริษัทอินเดียตะวันออกแห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและจังหวัดเบิงกูลู · ดูเพิ่มเติม »

คลาส (แก้ความกำกวม)

ลาส (Class) อาจแปลว่า ชั้น ชุด กลุ่ม โดยอาจหมายถึง.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและคลาส (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ความยุติธรรม

ทพียุติธรรม (Lady Justice) เป็นเครื่องแทนความยุติธรรม ทรงไว้ซึ่งสัญลักษณ์สามประการ คือ พระขรรค์ หมายถึง อำนาจบังคับบัญชาของศาล ดุลพ่าห์ หมายถึง การชั่งหนักเบาซึ่งข้อหาที่รับมาอยู่ในมือ และผ้าผูกตา หมายถึง ความไม่เลือกที่รักมักที่ชังLuban, ''Law's Blindfold'', 23 ความยุติธรรม เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความถูกต้องตามศีลธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรม ความสมเหตุสมผล กฎหมาย กฎหมายธรรมชาติ ศาสนา ความเที่ยงธรรม (equity) และความเป็นธรรม (fairness) ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายโดยคำนึงถึงสิทธิที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้และสิทธิโดยกำเนิดของมนุษยชาติและพลเมืองทั้งหลาย กับสิทธิของปวงชนและเอกชนที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมายซึ่งว่าด้วยสิทธิพลเมืองของพวกเขาเหล่านั้น โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ เพศ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ เหล่ากำเนิด สีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา ความพิการ อายุ ความยากดีมีจน และลักษณะประการอื่น ทั้งยังถือด้วยว่า รวมถึงความยุติธรรมทางสังคม.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและความยุติธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นพลเมือง

วามเป็นพลเมือง (citizenship) คือ สถานภาพของบุคคลที่จารีตประเพณีหรือกฎหมายของรัฐรับรองซึ่งให้แก่สิทธิและหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองแก่บุคคล (เรียก พลเมือง) ซึ่งอาจรวมสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศ สิทธิกลับประเทศ สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ การคุ้มครองทางกฎหมายต่อรัฐบาลของประเทศ และการคุ้มครองผ่านกองทัพหรือการทูต พลเมืองยังมีหน้าที่บางอย่าง เช่น หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ จ่ายภาษี หรือรับราชการทหาร บุคคลอาจมีความเป็นพลเมืองมาก และบุคคลที่ไม่มีความเป็นพลเมือง เรียก ผู้ไร้สัญชาติ (stateless) สัญชาติมักใช้เป็นคำพ้องกับความเป็นพลเมืองในภาษาอังกฤษ ที่สำคัญในกฎหมายระหว่างประเทศ แม้คำนี้บางครั้งเข้าใจว่าหมายถึงการเป็นสมาชิกชาติ (กลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่) ของบุคคล ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สัญชาติและความเป็นพลเมืองมีความหมายต่างกัน หมวดหมู่:สัญชาติ หมวดหมู่:การปกครอง หมวดหมู่:มโนทัศน์ทางการเมือง หมวดหมู่:กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและความเป็นพลเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ

วามเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ เป็นงานชิ้นสุดท้ายของ จิตร ภูมิศักดิ์ งานค้นคว้านี้สันนิษฐานที่มาของคำต่างๆ โดยชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของลักษณะเชื้อชาติ ลักษณะทางสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในแถบสุวรรณภูมิ ที่ปรากฏขึ้นในรูปภาษา ถือเป็นงานทางนิรุกติศาสตร์และภาษาศาสตร์สังคมที่มีความโดดเด่นอย่างมาก งานค้นคว้าที่ยังเขียนไม่เสร็จนี้ จิตรใช้เวลาเขียนอยู่ประมาณ 7 ปี ในขณะที่ถูกจองจำอยู่ในคุกลาดยาว ช่วง พ.ศ. 2501-2507 เขาได้มอบต้นฉบับให้แก่ สุภา ศิริมานนท์ รักษาต้นฉบับไว้โดยใส่กล่องฝังดินไว้ในสวนฝั่งธนบุรี หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม..

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ · ดูเพิ่มเติม »

คนพื้นเมือง

นพื้นเมืองบราซิล คนพื้นเมืองนอร์เวย์ คนพื้นเมืองนิวซีแลนด์ คนพื้นเมืองCameroon คนพื้นเมืองในแคนาดา หนึ่งในนิยามของ คนพื้นเมือง ชนเผ่าพื้นเมือง หรือ ชาวพื้นเมือง (indigenous peoples หรือ aboriginal peoples) ให้ความหมายของคำนี้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ มีกำเนิดในท้องถิ่นนั้น มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา เป็นของตนเอง มีเอกตลักษณ์การแต่งกายที่เป็นของตนเอง อย่างไรก็ดีไม่มีนิยามที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบ คำนี้มักใช้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับแผ่นดินก่อนการล่าอาณานิคมหรือการก่อตั้งรัฐชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวคงไว้ซึ่งความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการเมืองจากวัฒนธรรมและการเมืองกระแสหลักในรัฐชาติที่กลุ่มชาติพันธ์นั้นดำรงอยู่Coates 2004:12 ความหมายทางการเมืองของคำนี้หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่ง่ายต่อการถูกเอาเปรียบและกดขี่โดยรัฐชาติ ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดสิทธิพิเศษทางการเมืองให้กับชนพื้นเมืองโดยองค์การนานาชาติ อาทิเช่น สหประชาชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และธนาคารโลก สหประชาชาติได้ประกาศ Declaration on the Rights of Indigenous Peoples เพื่อปกป้องสิทธิในวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ภาษา การจ้างงาน สุขภาพ การศึกษา และทรัพยากรธรรมชาติ ของชนพื้นเมือง ด้วยนิยามที่ต่างกันไป มีประมาณการณ์ว่าชนพื้นเมืองในโลกนี้มีอยู่ราว 220 ล้านคนใน..

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและคนพื้นเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ตามนุษย์

ตามนุษย์ เป็นอวัยวะที่ตอบสนองต่อแสงและแรงดัน ในฐานะเป็นอวัยวะรับความรู้สึก ตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทำให้สามารถเห็นได้ ช่วยให้เห็นภาพเคลื่อนไหวเป็น 3 มิติ และปกติเห็นเป็นสีในช่วงกลางวัน เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยในจอตาทำให้สามารถรับรู้แสงและเห็น รวมทั้งแยกแยะสีและรับรู้ความใกล้ไกล ตามนุษย์สามารถแยกแยะสีได้ประมาณ 10 ล้านสี และอาจสามารถตรวจจับโฟตอนแม้เพียงอนุภาคเดียวได้ เหมือนกับตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ เซลล์ปมประสาทไวแสง (photosensitive ganglion cell) ในจอตามนุษย์ซึ่งไม่ช่วยให้เห็นภาพ จะได้สัญญาณแสงซึ่งมีผลต่อการปรับขนาดรูม่านตา ควบคุมและระงับการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน และปรับตัวทางสรีรภาพและพฤติกรรมตามจังหวะรอบวัน (circadian rhythm).

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและตามนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลน้ำขาว

ตำบลน้ำขาว มักมีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า บ้านน้ำขาว ซึ่งเป็นอีกตำบลหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตำบลน้ำขาวเป็นตำบลใหญ่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีระบบเครือญาติเป็นห่วงเรียงร้อยต่อกันเป็นลูกโซ่ จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง จากครอบครัวหนึ่งไปสู่อีกครอบครัวหนึ่ง และจากบ้านหนึ่ง ไปสู่อีกบ้านหนึ่ง ทุกคนมีอารมณ์ ความรู้สึกลึก ๆ ที่ใกล้เคียงกัน ทั้งด้านความเชื่อ ความศรัทธา วัฒนธรรม ประเพณี.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและตำบลน้ำขาว · ดูเพิ่มเติม »

ซุนดา

ซุนดา หมายถึง บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงมาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบาหลี เกาะซูลาเวซี เกาะลอมบอก เกาะซุมบาวา เกาะฟลอเรส เกาะซุมบา เกาะติมอร.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและซุนดา · ดูเพิ่มเติม »

ประชาชน

ประชาชน ชน หรือราษฎรเป็นบุคคลหลายคนซึ่งถือเป็นทั้งหมด ดังในกลุ่มชาติพันธุ์หรือชาติ ตัวอย่างเช่น คนยิวเรียกรวม ๆ ว่า "ชนยิว" คนยิปซียุโรปประกอบเป็นส่วนใหญ่ของ "ชนโรมานี" และคนปาเลสไตน์เรียก "ชนปาเลสไตน์" หมวดหมู่:มนุษย์ หมวดหมู่:ประชาชน.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและประชาชน · ดูเพิ่มเติม »

ประชากรศาสตร์บรูไน

ทความนี้ว่าด้วยลักษณะประชากรของประเทศบรูไน รวมถึงความหนาแน่นของประชากร ชาติพันธุ์ ระดับการศึกษา สาธารณสุข สถานภาพทางเศรษฐกิจ การนับถือศาสนา เป็นต้น ชาวบรูไนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ออสโตรนีเซียน มีต้นกำเนิดมาจากเกาะไต้หวันย้อนหลังไปจาก 5000 ปีก่อนคริสตกาล พวกเขาอาศัยอยู่ตลอดชายฝั่งตะวันตกบนของเกาะบอร์เนียวมีประชากรทั้งหมด (2554) 428,146 คน ภาษาทางการ คือภาษามลายู ศาสนาที่ชาวบรูไนนับถือคือ ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี 67% รองลงมาเป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน 13% ศาสนาคริสต์ 10% ศาสนาฮินดู ความเชื่อพื้นเมืองและอื่น ๆ ตามม.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและประชากรศาสตร์บรูไน · ดูเพิ่มเติม »

ประชากรศาสตร์ญี่ปุ่น

วามเปลี่ยนแปลงของประชากรญี่ปุ่น accessdate.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและประชากรศาสตร์ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเสรีนิยม

รัฐสภาของประเทศฟินแลนด์ (Eduskunta) - มีประเทศและอาณาเขตหลายแห่งที่เรียกได้ว่า มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปเป็นแห่งแรก รัฐ Grand Duchy of Finland (ก่อนจะเป็นประเทศฟินแลนด์) ได้มีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม (Liberal democracy) หรือบางครั้งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตก เป็นทั้งคตินิยมทางการเมืองและระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจะดำเนินการใต้หลักเสรีนิยม คือ การพิทักษ์สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ในกฎหมาย ระบอบมีลักษณะเฉพาะ คือ.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและประชาธิปไตยเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ประคอง นิมมานเหมินท์

ตราจารย์ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ (27 พฤษภาคม 2482 -) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยและวรรณคดีไทยเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นด้วยการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง "ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ" และจากนั้นยังมีผลงานศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมไทยและวรรณกรรมชนชาติไทจำนวนมาก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นราชบัณฑิต ประจำสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิต.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและประคอง นิมมานเหมินท์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไนเจอร์

นเจอร์ (อังกฤษและNiger) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐไนเจอร์ (Republic of Niger; République du Niger) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่อยู่ทางใต้ของทะเลทรายสะฮาราในแอฟริกาตะวันตก ตั้งชื่อตามแม่น้ำไนเจอร์ มีอาณาเขตทางใต้จดประเทศไนจีเรียและประเทศเบนิน ตะวันตกจดประเทศมาลี เหนือจดประเทศแอลจีเรียและประเทศลิเบีย ตะวันออกจดประเทศชาด ไนเจอร์มีพื้นที่เกือบ 1,270,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งร้อยละ 80 ถูกปกคลุมด้วยทะเลทรายสะฮารา มีประชากรประมาณ 15 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณตอนใต้และตะวันตกของประเทศ เมืองหลวงชื่อนีอาเม (Niamey).

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและประเทศไนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปะหล่อง

ปะหล่อง (ပလောင် လူမျိုး) เป็นชนกลุ่มน้อยพวกหนึ่ง นับเป็นหนึ่งใน 56 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีชาวปะหล่องอาศัยอยู่ในประเทศพม่า และมีบางส่วนที่อพยพเข้ามาประเทศไทยบริเวณชายแดน ใกล้ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ชาวปะหล่องพูดภาษาปะหล่อง ซึ่งเป็นภาษาตระกูลมอญ-เขมร.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและปะหล่อง · ดูเพิ่มเติม »

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า - ชะตากรรมของสังคมมนุษย์ (Guns, Germs, and Steel: The Fates of Human Societies) เป็นหนังสือสารคดีหลายสาขาวิชาของ.ดร.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า · ดูเพิ่มเติม »

แขวงไชยสมบูรณ์

มบูรณ์สำนักงานราชบัณฑิต.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและแขวงไชยสมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทย (แก้ความกำกวม)

ทย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและไทย (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

อกลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Cultural identity) คือ (ความรู้สึกถึง) เอกลักษณ์ของกลุ่มหรือวัฒนธรรม หรือของปัจเจกบุคคลที่ได้รับอิทธิพลจากการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือวัฒนธรรม เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมมีความคล้ายคลึงและทับซ้อนแต่มีความหมายต่างกันกับ "เอกลักษณ์ทางการเมือง".

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

เขมร (แก้ความกำกวม)

มร อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ชาติพันธุ์วิทยาและเขมร (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

EthnologistEthnologyกลุ่มชาติพันธุ์การศึกษาเรื่องชาติพันธุ์ชาติวงศ์วิทยาชาติพันธุวิทยาชาติพันธุ์ชาติพันธ์วิทยาชนชาติวิทยานักชาติพันธุ์วิทยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »