โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาดก

ดัชนี ชาดก

ก (-saजातक) คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีหลายร้อยเรื่อง ว่าทรงเคยเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ 10 ชาติสุดท้ายที่เรียกว่าทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า มหาเวสสันดรชาดก.

39 ความสัมพันธ์: ช้างเผือกพระพุทธโฆสะพระลักษมณ์พระรามพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)พระสุตตันตปิฎกพระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)กระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ)การขอฝนมหาชาติมหาวัสตุมหาสีลวชาดกมโหสถชาดกยามะซะตอวรรณคดีกัมพูชาวัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรมวัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดเพชรบุรี)วัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย)วัดไลย์วันอาสาฬหบูชาอสัมปทานชาดกอำเภอพนัสนิคมจันทนีย์ อูนากูลทศชาติชาดกทศพิธราชธรรมท้าวสหัมบดีพรหมท้าวสักกะขรัวอินโข่งประวัติศาสนาพุทธปัญญาสชาดกปัญจตันตระปู่ม่านย่าม่านนวังคสัตถุศาสน์นางสีไวไทย (หนังสือพิมพ์)เพลงลูกทุ่งเพลงขอทานเจรียงเจดีย์ชเวซีโกน100 หนังสือดีเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย

ช้างเผือก

้างเผือกปัจจัยนาเคนทร์ในจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์หิมพานต์ ช้างเผือก (White Elephant) คือช้างที่มีลักษณะต่างจากช้างธรรมดาทั่วไป ด้วยมีนัยน์ตา และเล็บสีขาว รวมถึงสีผิวที่อ่อนกว่าช้างธรรมทั่วไป อาจจะเป็นสีชมพูหรือสีขาวก็ได้ โดยที่มิใช่เป็นสัตว์เผือก จัดได้ว่ามีลักษณะที่หาได้ยาก จึงเป็นที่เชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ และเป็นเครื่องมงคลชนิดหนึ่งในสัปตรัตนะแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว (ช้างเผือก ชื่อ อุโบสถ) ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คฤหบดีแก้ว และ ปรินายกแก้ว.

ใหม่!!: ชาดกและช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธโฆสะ

ระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท.

ใหม่!!: ชาดกและพระพุทธโฆสะ · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมณ์พระราม

นักแสดงสวมหัวโขนฝ่ายอสูรพงศ์จากเรื่องพระลักษมณ์พระราม พระลักษมณ์พระราม (ພະລັກພະລາມ, อักขรวิธีเดิม: ພຣະລັກພຣະຣາມ), พระรามชาดก (ພຣະຣາມຊາດົກ) หรือ รามเกียรติ์ (ລາມມະກຽນ, อักขรวิธีเดิม: ຣາມມະກຽນ) เป็นมหากาพย์ลาวที่ดัดแปลงมาจาก รามายณะ ของวาลมีกิ มีความใกล้เคียงกับ ฮิกายัตเซอรีรามา (Hikayat Seri Rama.) อันเป็นรามายณะฉบับมลายู มหากาพย์นี้เคยสูญหายไปพร้อมกับศาสนาฮินดู แต่ภายหลังได้กลับมาอีกครั้งในรูปแบบชาดกของพระพุทธศาสนา ซึ่งเคยแพร่หลายและเป็นที่นิยมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง.

ใหม่!!: ชาดกและพระลักษมณ์พระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)

ระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป พระสารประเสริฐ นามเดิม ตรี นาคะประทีป (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2488) ผู้เชี่ยวชาญวิชาอักษรศาสตร์ภาษาไทย ผู้ร่วมแปลและถ่ายหนังสือหิโตปเทศจากภาษาอังกฤษร่วมกับพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) และได้ร่วมงานกันต่อเนื่องมาเป็นเวลานานและใช้นามปากกาที่มีชื่อเสียงร่วมกันคือ “เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป”.

ใหม่!!: ชาดกและพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: ชาดกและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)

ระเจ้าช้างเผือก (The King of the White Elephant) เป็นภาพยนตร์ไทยขาวดำ ในระบบ 35 มม.

ใหม่!!: ชาดกและพระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ)

ันทรสมุทรบนดวงจันทร์ ที่ปรากฏภาพคล้ายกระต่าย กระต่ายจันทร์ เป็นความเชื่อรวมกันของหลายชนชาติ ที่เชื่อว่าบนดวงจันทร์มีกระต่ายอาศัยอยู่ โดยพิจารณาจากจันทรสมุทร (หลุมดำบนดวงจันทร์) แล้วเกิดเป็นพาเรียโดเลีย (จินตภาพ) รูปกระต่ายขึ้นมา ความเชื่อนี้มีในหลายชนชาติทั่วโลก เช่น แอฟริกา, ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น รวมถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในปกรณัมของฮินดู พระจันทร์ เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ เป็นผู้ถือกระต่ายไว้ในพระหัตถ์ เนื่องจากคำว่ากระต่ายในภาษาสันสกฤต คือ "ศศะ" ดังนั้นจึงเรียกดวงจันทร์ว่า "ศศิน" (ศศินฺ) แปลว่า "ซึ่งมีกระต่าย" ในปกรณัมของจีน ภาพที่ปรากฏบนดวงจันทร์ คือ กระต่ายขาวกำลังตำข้าวในครก กระต่ายนี้เชื่อกันว่าเป็นผู้รับใช้เซียนหรือผู้วิเศษ โดยมีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ หรือเป็นสัตว์เลี้ยงของฉางเอ๋อ เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ในชาดก ซึ่งเป็นนิทานของพุทธศาสนา มีเรื่องหนึ่งเล่าว่า มีชายคนหนึ่งหลงทางในป่า ขณะที่หมดสติไปเพราะความหิวและยากลำบาก มีสัตว์ป่า 3 ชนิดมาพบเข้า ได้แก่ หมี, หมาจิ้งจอก และกระต่าย สัตว์ทั้ง 3 ตกลงกันที่จะช่วยชายผู้นี้ หมีนำปลามาให้ ขณะที่หมาจิ้งจอกนำองุ่นมาให้ แต่กระต่ายไม่อาจหาอะไรมาได้ เพราะกินเป็นแต่หญ้า จึงเสียสละตัวเองกระโดดเข้ากองไฟเพื่อเป็นอาหารให้แก่ชายผู้นี้ พระอินทร์จึงวาดภาพกระต่ายจารึกไว้บนดวงจันทร์เพื่อระลึกถึง อย่างไรก็ตามชาดกเรื่องนี้ได้มีรายละเอียดต่างไปเล็กน้อย ๆ เช่น ชายผู้นี้บ้างก็ว่าเป็นพระพุทธเจ้า หรือเป็นพราหมณ์บ้าง หรือกระทั่งว่า กระต่ายตัวนี้คือพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าก็มี ในชนชาติฮอตเทนทอต ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเร่ร่อนล่าสัตว์ ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เรื่องราวของกระต่ายบนดวงจันทร์ช่วยอธิบายอาการปากแหว่งเพดานโหว่ ตั้งแต่เกิดของมนุษย์ ตามตำนานพระจันทร์ส่งกระต่ายลงมายังโลกเพื่อบอกกับมนุษย์ว่าเมื่อเธอตายจะกลับฟื้นขึ้นอีกครั้ง และมนุษย์ก็เช่นกัน แต่กระต่ายไม่ใส่ใจจึงจำข้อความผิด ๆ ถูก ๆ ไปบอกมนุษย์ว่า พระจันทร์ตายแล้ว จะไม่ฟื้นคืนมาใหม่ และมนุษย์ก็จะเป็นเช่นเดียวกับเธอ เมื่อพระจันทร์ทราบว่ากระต่ายทำอะไรลงไป เธอโกรธมากและพยายามจะใช้ขวานจามหัวกระต่าย แต่พลาดไปโดนริมฝีปากบนของกระต่ายแทน กระต่ายบาดเจ็บก็ตอบแทนเธอด้วยการข่วนเข้าที่ใบหน้าด้วยอุ้งเล็บ ทำให้เกิดรอยปื้นดำปรากฏบนดวงจันทร์ดังที่เห็นกันทุกวันนี้.

ใหม่!!: ชาดกและกระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ) · ดูเพิ่มเติม »

การขอฝน

การขอฝน เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน เกี่ยวกับสังคมเกษตรกรรม ที่อยู่ในหลายชนชาติ และหลายวัฒนธรรม เมื่อฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือต้องการน้ำในการทำการเกษตร888 ในรัสเซีย หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองดอร์ปาท ให้ผู้ชายสามคนปีนขึ้นต้นเฟอร์ คนหนึ่งถือค้อนเคาะถังเล็ก ๆ ทำเป็นเสียงฟ้าร้อง คนที่สองถือดุ้นฟืนติดไฟสองดุ้น เคาะให้กระทบกัน ไฟจะแตกกระจาย คล้ายฟ้าแลบ คนที่สามถือที่ใส่น้ำ ขึ้นไปโปรยไปมารอบต้นไม้ คล้ายกับว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว ที่ตำบลฮิตาคิ ในประเทศญี่ปุ่น ผู้คนจะพากันไปขอน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลราอิชิน เอาน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่กลับหมู่บ้าน จะหยุดพักไม่ได้ เชื่อกันว่าหยุดที่ใดฝนจะตกที่นั่น บางแห่งจะตั้งขบวนไปขอไฟจากพระในวัดบนภูเขา สวดอ้อนวอนแล้ว เอาไฟไปโบกตามทุ่งนา เชื่อว่าจะทำให้ฝนจะตกเหมือนกัน และที่หมู่บ้านริมทะเลสาบรอบภูเขาฟูจี นับถือทะเลสาบว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เอาของสกปรกไปทิ้ง แต่เมื่อต้องการฝนตก จะเอาเอากระดูกวัวกระดูกควายโยนลงทะเลสาบ เชื่อกันว่าจะทำให้เทพเจ้าโกรธ บันดาลฝนให้ตก ที่หมู่บ้านนิโนเฮ ถือขวดเหล้าสาเกไปถวายพระที่ศาลเจ้าโกเงน บนภูเขาโอริซูเน เมื่อพระดื่มเหล้าสาเกแล้ว ก็จะช่วยกันจับพระไปผลักตกบ่อน้ำ เมื่อเห็นพระตะเกียกตะกายขึ้น ก็จะช่วยกันผลักให้ตกลงไปอีก เพราะเชื่อว่าเทพเจ้าไม่อยากเห็นพระทรมาน จึงจะรีบบันดาลให้ฝนตก.

ใหม่!!: ชาดกและการขอฝน · ดูเพิ่มเติม »

มหาชาติ

มหาชาติ แปลว่า ชาติที่ยิ่งใหญ่, การเกิดครั้งยิ่งใหญ่ หมายถึงการเกิดของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ซึ่งเป็นการเกิดเพื่อบำเพ็ญบารมีครั้งสุดท้ายก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อมา มหาชาติที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะการเกิดครั้งสุดท้ายนี้พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีสำคัญคือทานบารมีซึ่งเป็นการทำให้บารมีอื่นสมบูรณ์ไปด้วย เปรียบเหมือนการประทับตราในหนังสือสำคัญทำให้เกิดความสมบูรณ์ใช้บังคับตามกฎหมายได้ และในชาติสุดท้ายนี้ พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีอื่น ๆ ครบทั้งสิบประการ จึงถือได้ว่าเป็นการเกิดครั้งสำคัญยิ่งใหญ่กว่าทุกชาติที่ผ่านมา มหาชาติได้รับการประพันธ์เป็นบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองแล้วนำไปเทศน์เป็นทำนองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกการเทศน์เช่นนี้ว่า เทศน์มหาชาติ เรียกเต็มว่า เทศน์มหาชาติเรื่องเวสสันดรชาดก.

ใหม่!!: ชาดกและมหาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวัสตุ

มหาวัสตุอวทาน หรือ มหาวัสตุ (มหาวสฺตุ หมายถึง เหตุการณ์ครั้งสำคัญ หรือ เรื่องที่ยิ่งใหญ่) เป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญสูงสุดคัมภีร์หนึ่งในพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต มีข้อความระบุในนิทานคาถาว่า มหาวัสตุเป็นพระวินัยปิฎกของนิกายโลโกตตรวาท (นิกายย่อยของสำนักมหาสังฆิกะ ซึ่งรุ่งเรืองในมัธยมประเทศของอินเดีย) แต่โดยสัดส่วนแล้ว มีเนื้อหาของคัมภีร์มีความเกี่ยวข้องกับพระวินัยที่เป็นเรื่องสิกขาบทของพระสงฆ์ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นงานประพันธ์ประเภทชาดกและอวทาน และยังสอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับคติชนวิทยา ศีลธรรม และการเมืองการปกครอง เป็นต้น.

ใหม่!!: ชาดกและมหาวัสตุ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสีลวชาดก

มหาสีลวชาดก เป็นเรื่องที่ว่าด้วยการปรารภความเพียร ในครั้งที่พระโคตมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น พระมหาสีลวร.

ใหม่!!: ชาดกและมหาสีลวชาดก · ดูเพิ่มเติม »

มโหสถชาดก

มโหสถชาดก เป็นชาดกเรื่องที่ 5 จากทศชาติชาดก โดยกล่าวถึงพระโคตมโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมีอันเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การตรัสรู้เป็นพระโคตมพุทธเจ้าในที.

ใหม่!!: ชาดกและมโหสถชาดก · ดูเพิ่มเติม »

ยามะซะตอ

ระราม (ยามะ) และนางสีดา (แมตีดา) ของรามายณะฉบับพม่า ยามะซะตอ (ရာမဇာတ်တော်,, แปลว่า: "รามชาดก") เป็นรามายณะฉบับไม่เป็นทางการของประเทศพม่า มีทั้งหมดเก้าบท ส่วนชื่อ "ยามะ" คือพระราม ส่วน "ซะตอ" คือชาดก.

ใหม่!!: ชาดกและยามะซะตอ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณคดีกัมพูชา

วรรณคดีของกัมพูชามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและแบ่งเป็นสองระนาบเช่นเดียวกับวรรณคดีในประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือแบ่งเป็นวรรณคดีลายลักษณ์ ส่วนใหญ่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในชนชั้นสูงและพระสงฆ์ กับวรรณกรรมมุขปาฐะ ส่วนใหญ่เป็นเพลงพื้นบ้าน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย เช่น รามายณะและมหาภารต.

ใหม่!!: ชาดกและวรรณคดีกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม

วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี หรือ วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม เป็นวัดสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2520 ตั้งอยู่บนถนนสายแพร่-ลำปาง ช่วงอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ มีจุดเด่นคือเป็นวัดที่รวบรวมศิลปกรรมล้านนาประยุกต์ที่สวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง ภาพจิตรกรรมบนฝาผนังระเบียงคตเป็นเรื่องราวของชาดกพื้นบ้านและภาพพุทธประวัติ ในบริเวณวัดมีเจดีย์ทรงล้านนากว่า 30 องค์ ด้านหน้าบันไดทางขึ้นทิศตะวันออกมีรูปปั้นสิงห์ขนาดใหญ่ มีอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้สักทรงล้านนา ที่เก็บรวบรวมเรื่องราวของล้านนาและเมืองแพร่ จัดแสดงเครื่องใช้ อาวุธของนักรบโบราณ รวมทั้งภาพถ่ายของเจ้านายฝ่ายเหนือและภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ในล้านนา ปัจจุบันวัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี มีครูบาน้อยหรือพระอธิการมนตรี ธมฺมเมธี (พระครูวิฑิตพิพัฒนาภรณ์) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: ชาดกและวัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดเพชรบุรี)

ระวิหารหลวง วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้าง สมัยทวารวดี - สุโขทัย มีอายุราว 800 - 1,000 ปี โดยประมาณ เนื่องจากขุดพบซากอิฐสมัยทวารวดีอยู่เป็นจำนวนมาก มีผู้กล่าวว่าวัดมหาธาตุวรวิหารน่าจะเคยเป็นวัดที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นพระอารามหลวงมาก่อน ต่อมาชำรุดทรุดโทรมลง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี..

ใหม่!!: ชาดกและวัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดเพชรบุรี) · ดูเพิ่มเติม »

วัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย)

ระอจนะ วัดศรีชุม เป็นที่เลื่องลือว่ามีเอกลักษณ์และมนต์เสนห์เฉพาะตัว วัดศรีชุม เป็นโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ตัววัดเป็นโบราณสถานตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกกำแพงเมืองวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ" องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในมณฑป พระพุทธอจนะ เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และมีมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์ชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมและสักการะอย่างไม่ขาดสาย ในปัจจุบันทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ไม่ห่างจากตัวโบราณสถานนัก มีวัดสร้างใหม่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ใช้ชื่อว่าวัดศรีชุมเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: ชาดกและวัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย) · ดูเพิ่มเติม »

วัดไลย์

วัดไลย์ (Wat Lai) เป็นวัดตั้งอยู่ริมน้ำบางขาม ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น รัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงปฏิสังขรณ์ มีพระวิหาร ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น คือ มีลักษณะเจาะช่องผนังแทนหน้าต่าง ๆ ภายในมีพระประธานขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง มีซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหารมีลายปูนปั้นเรื่องทศชาติ และเรื่องปฐมสมโพธิงามน่าดูนัก ซึ่งนับว่าเป็นภาพประติมากรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญยิ่งชิ้นหนึ่งของชาติ นอกจากนี้วัดไลย์ยังมีรูปพระศรีอาริย์เป็นของสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งผู้คนนับถือกันมาแต่โบราณ ในรัชกาลที่ 5 ไฟป่าไหม้วิหารรูปพระศรีอาริย์ชำรุดไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้อัญเชิญลงมาปฏิสังขรณ์ในกรุงเทพฯ แล้วคืนกลับไปประดิษฐานอย่างเดิม ถึงเทศกาลราษฎรยังเชิญออกแห่เป็นประเพณีทุกปี ปัจจุบันทางวัดได้ก่อสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระศรีอาริย์ขึ้นใหม่ ด้านหน้าเป็นรูปมณฑลจตุรมุขแลดูสง่างามมาก พระศรีอาริยเมตไตรยหรือหลวงพ่อพระศรีอาริย์ ซึ่งชาวบ้านนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณ มีงานนมัสการที่ยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี ศิลปะชิ้นเอกที่ไม่ควรพลาดชมคือ ปูนปั้นที่ผนังด้านนอกวิหารเรื่องพุทธประวัติและทศชาติชาดก นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุและข้าวของเครื่องใช้ที่ชาวบ้านนำมาถวายให้ชมด้วย ทิวทัศน์ของบริเวณวัดไลย์ วัดไลย์ ลพบุรี.

ใหม่!!: ชาดกและวัดไลย์ · ดูเพิ่มเติม »

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (อาสาฬหปูชา; Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๕, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน..

ใหม่!!: ชาดกและวันอาสาฬหบูชา · ดูเพิ่มเติม »

อสัมปทานชาดก

อสัมปทานชาดก เป็นชาดกที่ว่าด้วยการไม่รับของ ทำให้เกิดความแตกร้าว เป็นชาดกลำดับที่ 131.

ใหม่!!: ชาดกและอสัมปทานชาดก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพนัสนิคม

อำเภอพนัสนิคม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดชลบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสน.

ใหม่!!: ชาดกและอำเภอพนัสนิคม · ดูเพิ่มเติม »

จันทนีย์ อูนากูล

ันทนีย์ อูนากูล หรือ จันทนีย์ พงศ์ประยูร (19 พฤษภาคม 2500 —) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง ที่มีผลงานที่มีชื่อเสียงจากเพลง "สายชล" และ "ลองรัก" จันทนีย์ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เติบโตที่จังหวัดชลบุรี จบการศึกษาจากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจบการศึกษาเมื่อ..

ใหม่!!: ชาดกและจันทนีย์ อูนากูล · ดูเพิ่มเติม »

ทศชาติชาดก

มหานิบาตชาดก ทศชาติชาดก หรือ พระเจ้าสิบชาติ เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึงการบำเพ็ญบารมีใน 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระโคตมพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง 10 เรื่อง เพื่อให้จำง่าย มักนิยมท่องโดยใช้พยางค์แรกของแต่ละชาติ คือ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว.

ใหม่!!: ชาดกและทศชาติชาดก · ดูเพิ่มเติม »

ทศพิธราชธรรม

ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้.

ใหม่!!: ชาดกและทศพิธราชธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวสหัมบดีพรหม

วสวรรค์ทูลเข้าเฝ้าขอให้ทรงแสดงธรรม.

ใหม่!!: ชาดกและท้าวสหัมบดีพรหม · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวสักกะ

การดำเนินตามทางสายกลางน่าจะเป็นทางที่จะทำให้ตรัสรู้ได้มากกว่าการทรมานตนเอง สักกะ (สกฺก) หรือ ศักระ (शक्र ศกฺร; ความหมาย: ผู้องอาจ ผู้สามารถ) เป็นชื่อของเทพผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในจักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ ปรากฏนามในภาษาบาลีว่า สกฺโก เทวานํ อินฺโท (शक्रो देवानं इन्द्रः ศกฺโร เทวานํ อินฺทฺรห์) หมายถึง "สักกะผู้เป็นใหญ่เหนือทวยเทพทั้งหลาย" ในคัมภีร์ทางศาสนาพุทธ คำว่า "สักกะ" ถือเป็นวิสามานยนาม ไม่อาจใช้เรียกเทพองค์อื่นได้ ในทางตรงกันข้าม คำว่า อินฺท (ภาษาบาลี) หรือ อินฺทฺร (ภาษาสันสกฤต) ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่" ใช้หมายถึงท้าวสักกะอยู่บ่อยครั้ง เทพสักกะมักเรียกขานว่า "ท้าวสักกเทวราช" หรือย่อว่า "ท้าวสักกะ" ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก ท้าวสักกะเป็นที่รู้จักในนาม "ตี้ซื่อเทียน" (帝釋天) หรือ "ซื่อถีหฺวันอิน" (釋提桓因) ในภาษาจีน และ "ไทชะกุเท็น" (帝釈天) ในภาษาญี่ปุ่น สำหรับในประเทศจีนแล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบว่าท้าวสักกะคือเง็กเซียนฮ่องเต้ (玉皇大帝) หรือจักรพรรดิหยกในลัทธิเต๋า ด้วยถือว่าเทพทั้งสององค์นี้มีวันประสูติเป็นวันเดียวกัน คือ ในวันที่ 9 เดือนที่ 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (โดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตามปฏิทินสุริยคติ) ในฤคเวท อันเป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตในศาสนาฮินดู คำว่า "ศักระ" อันเป็นนามของท้าวสักกะในภาษาสันสกฤตนั้น ใช้แทนตัวเทพอินทระหรือพระอินทร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ในศาสนาพุทธ ตำนานและบุคลิกลักษณะของท้าวสักกะแตกต่างไปจากพระอินทร์ในพระเวทอย่างสิ้นเชิง สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นที่สถิตของท้าวสักกะตั้งอยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งตามคติเรื่องไตรภูมิ ถือว่าภูเขาแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของโลก อันมีพระอาทิตย์และพระจันทร์เวียนโคจรโดยรอบ สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสวรรค์ชั้นที่สูงที่สุดที่เชื่อมต่อกับมนุสสภูมิ (โลกมนุษย์) โดยตรง ท้าวสักกะมีชีวิตที่ยาวนานเช่นเดียวกับเทพทั้งหลาย หากแต่ก็มีวาระที่จะหมดอายุขัยตามแรงบุญของตนเองเช่นกัน ในยามที่ท้าวสักกะจะต้องจุติ (ตาย) เมื่อจิตดับไปแล้ว จะบังเกิดท้าวสักกะองค์ใหม่ (ซึ่งอาจเป็นเทพองค์อื่น) ขึ้นแทนที่ท้าวสักกะองค์เดิมทันที เรื่องราวของท้าวสักกะในทางพระพุทธศาสนาทั้งไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน (ในช่วงที่บันทึกพระไตรปิฎก) ปรากฏอยู่ในชาดกและพระสูตรต่าง ๆ ซึ่งโดยมากจะอยู่ในหมวดสังยุตตนิกาย ชื่อท้าวสักกะปรากฏในพระสูตรหลายตอน และมักมีบทบาทเป็นผู้กราบทูลขอคำปรึกษาจากพระโคดมพุทธเจ้าในปัญหาธรรมต่าง ๆ ถือกันว่าพระองค์เป็นธรรมบาล (ผู้คุ้มครองธรรม) ในพุทธศาสนาร่วมกับเหล่าพรหมทั้งหล.

ใหม่!!: ชาดกและท้าวสักกะ · ดูเพิ่มเติม »

ขรัวอินโข่ง

ตรกรรมฝาผนังโดยขรัวอินโข่ง ขรัวอินโข่ง มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3-4 (ไม่ปรากฏวันเดือนปีเกิด) ศิลปินผู้ได้รับการยกย่องเป็นจิตรกรเอกประจำรัชกาลที่ 4 แห่งสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปินในสมณเพศ ศิลปินไทยคนแรกที่ใช้เทคนิคการเขียนภาพฝาผนังแบบตะวันตกที่แสดงปริมาตรใกล้ไกล นับเป็นศิลปินก้าวหน้าแห่งยุคที่ผสมผสานแนวดำเนินชีวิตแบบไทยกับตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงยกย่องว่า ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนไม่มีตัวสู้ในสมัยนั้น ในระยะแรกขรัวอินโข่งยังยึดแนวความคิดแบบเดิม คือวาด ภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามคตินิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งหลุดพ้นมาเป็นงานในรูปแบบปริศนาธรรม ความสามารถพิเศษเฉพาะตัวคือการ วาดภาพธรรมชาติโดยเฉพาะต้นไม้ และการควบคุมอารมณ์ของสีในภาพให้มีความกลมกลืนและ เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือภาพปริศนาธรรมที่ฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศและวัดบรมนิว.

ใหม่!!: ชาดกและขรัวอินโข่ง · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสนาพุทธ

นาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจากศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือเถรวาทและมหายาน นิกายมหายานได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก เมื่อศาสนาพุทธในอินเดียเสื่อมลง พุทธศาสนามหายานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสื่อมตามไปด้วย ยังคงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม ส่วนนิกายเถรวาทได้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งในศรีลังกา และแพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปยังโลกตะวันตกตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นในยุคจักรวรรดินิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: ชาดกและประวัติศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญาสชาดก

ปัญญาสชาดก เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องเอกที่พระเถระนักปราชญ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวปรัมปราที่เป็นนิทานพื้นถิ่นแพร่หลายในยุคนั้น แล้วนำมารจนาเป็นชาดกขึ้นในระหว่างปี..

ใหม่!!: ชาดกและปัญญาสชาดก · ดูเพิ่มเติม »

ปัญจตันตระ

หน้าจากหนังสือกาลิกา วา ดิมนา ภาคภาษาอาหรับอายุราว พ.ศ. 1753 แสดงรูปของราชาแห่งกากับที่ปรึกษา หน้าจากหนังสือ''Kelileh o Demneh'' อายุราว พ.ศ. 1972 จากเฮรัต ซึ่งเป็นปัญจตันตระที่แปลเป็นภาษาเปอร์เซีย โดยแปลมาจากฉบับภาษาอาหรับ ''Kalila wa Dimna'' อีกต่อหนึ่ง แสดงเรื่องตอนที่สุนัขจิ้งจอกชักนำสิงโตเข้าสู่สงคราม รูปสลักเกี่ยวกับปัญจตันตระที่วิหารเมนดุต ชวากลาง อินโดนีเซีย ปัญจตันตระ (Pancatantra; ภาษาสันสกฤต: पञ्चतन्त्र) เป็นนิทานโบราณของอินเดีย คาดว่ามีต้นกำเนิดที่แคชเมียร์เมื่อ..

ใหม่!!: ชาดกและปัญจตันตระ · ดูเพิ่มเติม »

ปู่ม่านย่าม่าน

''ปู่ม่านย่าม่าน'' หรือ ''หนุ่มกระซิบ'' ผลงานของหนานบัวผัน ปู่ม่านย่าม่าน หรือ หนุ่มกระซิบ เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน อันเป็นผลงานของหนานบัวผัน จิตรกรพื้นถิ่นเชื้อสายไทลื้อ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานที่ปราณีตและเป็นภาพที่โดดเด่นประจำวัดภูมินทร์ โดยเป็นภาพชายหญิงคู่หนึ่งกำลังกระซิบสนทนา และมีชื่อเสียงว่าเป็นภาพ "กระซิบรักบันลือโลก" และกลายเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของเมืองน่านที่ไปปรากฏอยู่ในสินค้าจำนวนมาก อาทิ เสื้อยืด, โปสการ์ด หรือแม้แต่ข้าวของแต่งบ้าน.

ใหม่!!: ชาดกและปู่ม่านย่าม่าน · ดูเพิ่มเติม »

นวังคสัตถุศาสน์

นวังคสัตถุศาสน์ (อ่านว่า นะวังคะสัดถุสาด แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ 9 อย่าง คือ.

ใหม่!!: ชาดกและนวังคสัตถุศาสน์ · ดูเพิ่มเติม »

นางสีไว

''นางสีไว'' ผลงานของหนานบัวผัน นางสีไววินัย ปราบริปู.

ใหม่!!: ชาดกและนางสีไว · ดูเพิ่มเติม »

ไทย (หนังสือพิมพ์)

ทย คือหนังสือพิมพ์ออกเมื่อปี พ.ศ. 2451 มีเจ้าของคือหลวงฤทธิศักดิ์ชลเขต ต่อมาเปลี่ยนเป็นจมื่นเทพดรุณาทร ในปี..

ใหม่!!: ชาดกและไทย (หนังสือพิมพ์) · ดูเพิ่มเติม »

เพลงลูกทุ่ง

ลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละครและเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกบท (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่ ส่วนคำว่า "เพลงลูกทุ่ง" อาจารย์จำนง รังสิกุล คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 คอลัมน์ รู้ไปโม้ด เพลงลูกทุ่งมีความชัดเจนจากเพลงลูกกรุงโดยประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์ ใช้ชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง" สุรพล สมบัติเจริญ ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ในช่วงปี..

ใหม่!!: ชาดกและเพลงลูกทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เพลงขอทาน

ลงขอทาน หรือวณิพก เป็นเพลงพื้นบ้านชนิดหนึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เป็นเพลงที่วณิพกใช้ร้อง เล่านิทาน เพื่อขอแลกเปลี่ยนเป็นเงิน หรือสิ่งของ มีลักษณะเนื้อหาเป็นเรื่องนิทานชาดก จักร ๆ วงศ์ ๆ และมักมีเครื่องดนตรีประกอบการร้องเช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และโทน เป็นต้น มีลูกคู่ และเพิ่มเครื่องกำกับจังหวะตามถนัด การขอแบบมีเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีแลกเปลี่ยน เรียกว่า "วณิพก " ส่วนไม่มีเพลงหรือดนตรีเรียกว่า "ยาจก"หรือ "กระยาจก " ก่อนร้องจะมีการโหมโรง คือมีบทเกริ่น เนื้อร้องเป็นกลอนประเภทกลอนหัวเดียวเหมือนกับเพลงฉ่อย เพลงเรือ มีสัมผัสท้ายไปเรื่อย ๆ ลงสัมผัสกันระหว่างสามวรรคหลัง ก่อนร้องจะมีการโหมโรง เนื้อร้องจะลงเป็นตอน ๆ ความยาวแล้วแต่เรื่องที่จะร้อง ถ้าเล่นหลายคนจะมีลูกคู่ร้องรับ ในสองวรรคสุดท้ายทุกตอน.

ใหม่!!: ชาดกและเพลงขอทาน · ดูเพิ่มเติม »

เจรียง

รียง หรือ จำเรียง ภาษาเขมรในสุรินทร์เรียกว่า จรีง หรือ จำรึ่ง เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เน้นการขับร้องมากกว่าการร่ายรำ มักจะใช้กลอนสดเป็นส่วนใหญ่ เนื้อร้องเป็นภาษาเขมร บรรยายถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบัน การเรียกเจรียง จะเรียกตามชนิดของเครื่องดนตรีที่เล่นประกอบการเจรียง เช่น ถ้าใช้ปี่ที่มีชื่อว่า เป์ยจรวง เป่าประกอบเรียกว่า เจรียงจรวง ถ้าใช้ซอบรรเลงประกอบเรียก เจรียงตรัว และหากนำเจรียงไปขับขานกับการละเล่นพื้นบ้านอะไรก็จะใช้คำว่า เจรียงนำการละเล่นนั้น ๆ ซึ่งการละเล่นของชาวไทยเชื้อสายเขมรในอีสานใต้และตามแนวชายแดนติดกับประเทศกัมพูชาจะเน้นในการขับร้อง (เจรียง) มากกว่าการร่ายรำ มีทั้งเจรียงที่ร้องโต้ตอบเป็นคู่ ๆ ระหว่างชายหญิง และมีการร้องกันเป็นกลุ่ม ซึ่งมีผู้นำขับร้อง เรียกว่า หัวหน้า หรือ พ่อเพลง และแม่เพลง อาจจะมีลูกคู่คอยร้องรับในจังหวะ เช่น เจรียงซันตูจ เจรียงตรด เจรียงเบริน เป็นต้น ปัจจุบัน การละเล่นเจรียงเกือบทุกประเภทที่เคยได้รับความนิยมในอดีตได้ถูกหลงลืม และลดความสำคัญไปจากสังคมชาวไทยเขมร จนแทบจะไม่มีให้ชมให้ฟังอีกเล.

ใหม่!!: ชาดกและเจรียง · ดูเพิ่มเติม »

เจดีย์ชเวซีโกน

ีย์ชเวซีโกน (ရွှေစည်းခုံ စေတီတော်) เป็นวัดในเมืองนยองอู อยู่ใกล้พุกามในพม่า เป็นต้นแบบเจดีย์แบบพม่า การก่อสร้างเจดีย์ชเวซีโกน เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธามังช่อ (พ.ศ. 1587-พ.ศ. 1620) ซึ่งเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรพุกามในปี..

ใหม่!!: ชาดกและเจดีย์ชเวซีโกน · ดูเพิ่มเติม »

100 หนังสือดีเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย

ัญลักษณ์โครงการ 100 หนังสือดีเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย 100 หนังสือดีเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 17 วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยมีนิสัยรักการอ่าน.

ใหม่!!: ชาดกและ100 หนังสือดีเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

นิทานชาดก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »