โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชัวมอ

ดัชนี ชัวมอ

ัวมอ (Cai Mao) เป็นขุนพลในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นแม่ทัพเรือของเล่าเปียว และเป็นน้องชายของชัวฮูหยินภรรยาของเล่าเปียวด้วย ครั้งเมื่อเล่าปี่มาอาศัยอยู่กับเล่าเปียว ชัวมอก็กลัวจะถูกแย่งชิงอำนาจ จึงวางแผนจะฆ่าเล่าปี่เสียแต่เล่าปี่ก็หนีรอดไปได้ หลังจากเล่าเปียวถึงแก่กรรมก็ยึดครองอำนาจ แต่งตั้งเล่าจ๋องลูกของพี่สาวตัวเองเป็นผู้ครองแคว้นสืบไป ต่อมาภายหลังจากโจโฉยึดครองเมืองเกงจิ๋ว ชัวมอ ได้สวามิภักดิ์ต่อโจโฉ และได้รับตำแหน่งเนแม่ทัพเรือของโจโฉเพื่อยกทัพไปตีกังตั๋ง แต่ต่อมาจิวยี่ได้ใช้อุบายหลอกให้โจโฉหลงเชื่อว่าชัวมอคิดทรยศ โจโฉจึงสั่งให้ประหารชัวมอ.

22 ความสัมพันธ์: ชัวฮูหยินชัวต๋งชัวโฮบังทองกลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนกลศึกสามก๊กยุทธการที่ผาแดงรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ช)รายชื่อตัวละครสมมติในยุคสามก๊กสามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือสุมาเต๊กโชอิกิ๋มอุยเอี๋ยนอีเจี้ยจูล่ง ขุนพลเทพสงครามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊กเล่ากี๋เล่าจ๋องเจียวก้านเตียวอุ๋นเต๊กเลา

ชัวฮูหยิน

ัวฮูหยิน (Lady Cai) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ภรรยาคนที่ 2 ของเล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋ว มารดาของเล่าจ๋อง พี่สาวของชัวมอ ชัวฮูหยินและชัวมอมีความคิดที่จะกุมอำนาจทั้งหมดในเกงจิ๋ว จึงคิดที่จะพยายามทำให้เล่าจ๋องบุตรของเล่าเปียวและชัวฮูหยินเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของเล่าเปียว และพยายามกำจัดเล่ากี๋ บุตรของเล่าเปียวและภรรยาคนแรก รวมถึงการคิดพยายามกำจัดเล่าปี่ ซึ่งสนับสนุนเล่าเปียวให้ตั้งเล่ากี๋เป็นผู้สืบทอด ทำให้เล่ากี๋ต้องหนีภัยโดยการขอเล่าเปียวให้ตั้งตนให้เป็นเจ้าเมืองกังแฮที่กำลังขาดเจ้าเมืองและไปรับตำแหน่งที่นั้น ส่วนเล่าปี่ก็เคยถูกตามล่าโดยชัวมอมาแล้วสองครั้ง แต่ก็หนีรอดได้ทุกครั้ง ต่อมา เล่าเปียวเสียชีวิต ชัวฮูหยินและชัวมอได้ปลอมแปลงพินัยกรรม โดยตั้งให้เล่าจ๋องขึ้นเป็นเจ้าเมือง หลังจากนั้นไม่นาน โจโฉได้นำทัพใหญ่บุกเกงจ๋ว เล่าจ๋องยอมจำนน โจโฉตั้งให้เล่าจ๋องเป็นเจ้าเมืองเฉงจิ๋วและให้เดินทางไปรับตำแหน่ง เล่าจ๋องเดินทางไปเฉงจิ๋วพร้อมกับชัวฮูหยิน ระหว่างทางอิกิ๋มซึ่งซุ่มอยู่ข้างทางได้บุกมาสังหารเล่าจ๋องและชัวฮูหยินตามคำสั่งของโจโฉ.

ใหม่!!: ชัวมอและชัวฮูหยิน · ดูเพิ่มเติม »

ชัวต๋ง

ัวต๋ง (Cai Zhong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ลูกพี่ลูกน้องของชัวมอ และพี่ชายของชัว.

ใหม่!!: ชัวมอและชัวต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ชัวโฮ

ัวโฮ (Cai He) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ลูกพี่ลูกน้องของชัวมอ และน้อวชายของชัวต๋ง.

ใหม่!!: ชัวมอและชัวโฮ · ดูเพิ่มเติม »

บังทอง

ังทอง (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ผางถ่ง (สำเนียงจีนกลาง; Pang Tong; จีนตัวย่อ: 庞统; จีนตัวเต็ม: 龐統; พินอิน: Páng Tǒng) เป็นบุคคลที่หน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ แต่มีสติปัญญาเป็นเลิศ มีชื่อรองว่า "ซื่อหยวน" (士元) เกิดปีเดียวกับสุมาอี้ เป็นชาวเมืองเซียงหยาง เมืองใหญ่ในเมืองเกงจิ๋ว เป็นหลานอาของบังเต็กกง เพื่อนสนิทของสุมาเต็กโช สุมาเต็กโชรักใคร่บังทองมากเหมือนน้องชายตัวเอง บังทองเป็นผู้ที่สุมาเต็กโชแนะนำแก่เล่าปี่เมื่อครั้งหนีภัยจากการตามล่าของชัวมอว่า ปราชญ์ที่จะช่วยให้ท่านพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดินได้นั้นมี 2 คน คือ "ฮกหลง" (臥龍; Wòlóng; มังกรนิทรา–จูกัดเหลียง) กับ "ฮองซู" (鳯雛; Fèngchú; หงส์ดรุณ–บังทอง) เท่านั้น บังทอง ปรากฏตัวในสามก๊ก ด้วยเป็นปราชญ์ที่เร้นกายที่ง่อก๊ก โดยทำทีหลอกเจียวก้าน ทูตของโจโฉ ที่ถูกส่งตัวไปง่อก๊ก จนเจียวก้านเชื่อใจ นำพาไปพบโจโฉ โจโฉได้มอบหมายให้บังทองเป็นผู้วางอุบาย เอาชนะศึกง่อก๊ก บังทองแนะนำให้ผูกเรือของวุยก๊ก ต่อกันเป็นทอด ๆ ด้วยโซ่ เรียกว่า "ห่วงโซ่สัมพันธ์" โดยบังทองหลอกโจโฉว่า ทหารวุยก๊กไม่ถนัดการรบทางน้ำ เมื่อเจอคลื่นทำให้ทหารล้มป่วยได้ง่าย การผูกเรือเป็นเข้าด้วยกันด้วยโซ่ จะช่วยให้เรือไม่โคลงเคลง ซึ่งเป็นอุบายที่นำมาซึ่ง การเผาเรือวุยก๊กด้วยไฟ จากความร่วมมือกันของจิวยี่และจูกัดเหลียง ในศึกเซ็กเพ็ก (ศึกผาแดง) อันเป็นศึกที่โจโฉพ่ายแพ้อย่างย่อยยับที่สุด ต่อมา โลซกที่ปรึกษาซุนกวน เกรงว่าบังทองจะเข้าร่วมกับวุยก๊ก จึงได้ให้บังทองเข้าร่วมกับฝ่ายง่อก๊ก แต่ซุนกวนไม่ชอบใจในหน้าตา จึงไม่ให้ความสนใจ บังทองจึงเข้าร่วมกับฝ่ายจกก๊ก โดยจูกัดเหลียงเป็นผู้แนะนำไป แต่เมื่อเล่าปี่ เห็นหน้าตาของบังทองแล้วไม่ไว้วางใจ จึงให้ไปเป็นนายอำเภอเมืองลอยเอี๋ยง ที่ห่างไกล บังทองได้แสดงความสามารถทางสติปัญญา ให้เป็นที่ปรากฏ จึงได้เลื่อนชั้นขึ้น เป็นกุนซือคนหนึ่งของจกก๊ก เทียบเท่าจูกัดเหลียง บังทองมาสิ้นชีวิตที่เนินลกห้องโหที่ (เนินหงส์ร่วง) ด้วยลูกธนู ระหว่างเดินทางเข้าเสฉวนพร้อมกับเล่าปี่ บังทองออกอุบายให้เล่าปี่ สังหารเล่าเจี้ยงเพื่อยึดเมืองเสฉวนระหว่างกินเลี้ยง แต่เล่าปี่ไม่ยอมทำ ระหว่างเดินทางไปตีเมืองลกเสีย ได้แยกย้ายกับเล่าปี่ไปคนละเส้นทาง โดยเล่าปี่ได้ให้ม้าเต็กเลาที่ตนขี่ประจำแก่บังทอง ศัตรูจึงเข้าใจผิดว่าเป็นเล่าปี่ จึงรุมยิงบังทองตาย เมื่ออายุได้ 35 ย่าง 36 ปี.

ใหม่!!: ชัวมอและบังทอง · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน

กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน หรือ เจี้ยเตาซาเหริน (Kill with a borrowed knife) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีความเข้มแข็ง ไม่จำเป็นที่จะต้องลงมือเอง พึงยืมกำลังและไพร่พลทหารของผู้อื่นเป็นฝ่ายกำจัดศัตรู เพื่อเป็นการรักษากำลังและไพร่พลทหารของตนเองไว้สำหรับการศึกอื่น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่หลอกให้โจโฉฆ่าซัวมอและเตียวอุ๋นสองแม่ทัพเรือของตนเองในคราวศึกเซ็กเพ็กระหว่างเล่าปี่และซุนกวนเจี้ยเตาซาเหริน กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: ชัวมอและกลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน · ดูเพิ่มเติม »

กลศึกสามก๊ก

กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ พระเจ้าหองจูเปียนเสียอำนาจ กลยุทธ์สาวงาม เตียวเสี้ยนลวงตั๋งโต๊ะให้ลุ่มหลง กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ ลิโป้บาดหมางใจกับตั๋งโต๊ะ กลยุทธ์ทุกข์กาย อุยกายใช้อุบายเผาทัพเรือโจโฉ กลยุทธ์จูงแพะติดมือ จูกัดเหลียงลวงเกาฑัณฑ์จากโจโฉ กลศึกสามก๊ก (Thirty-Six Stratagems) เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำศึกสงครามที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสามก๊กมีการทำศึกสงครามมากมายหลายครั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่ การนำกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากการบุกโจมตีและยึดครองเมืองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือทางการทูตต่างแดนในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง หรือแม้นแต่การใช้คนอย่างถูกต้อง ในสามก๊กทุกสิ่งล้วนแต่เป็นการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มีเพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงคราม สงครามสามก๊กนั้นมีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงครามกลศึกสามก๊ก ตำราพิชัยสงครามรูปธรรมที่มีชีวิต,หลี่ปิ่งเอี้ยน ซุนจิ้ง ผู้ค้นคว้า, บุญศักดิ์ แสงระวี แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ,..

ใหม่!!: ชัวมอและกลศึกสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ผาแดง

แผนที่บริเวณศึก ยุทธการที่ผาแดง หรือ ศึกผาแดง (Battle of Red Cliffs) หรือ ศึกเซ็กเพ็ก หรือ ศึกเปี๊ยะเชียะ หรือ ศึกชื่อปี้ (Battle of Chìbì) เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กในประเทศจีนในเวลาต่อมา ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นใน..

ใหม่!!: ชัวมอและยุทธการที่ผาแดง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน.

ใหม่!!: ชัวมอและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ช)

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊กที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ช รายชื่อนี้แสดงชื่อตามสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ชื่อในภาษาจีนกลาง ชื่อในอักษรโรมัน และชื่อเขียนเป็นตัวอักษรจีน กรณีเป็นชื่อบุคคลที่ไม่ปรากฏในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) จะแสดงเฉพาะชื่อในภาษาจีนกลาง ชื่อในอักษรโรมัน และชื่อเขียนเป็นตัวอักษรจีน.

ใหม่!!: ชัวมอและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ช) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครสมมติในยุคสามก๊ก

รายชื่อตัวละครสมมติในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลที่เป็นตัวละครสมมติที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อประกอบด้วยตัวละครสมมติที่ปรากฏในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์จีนเรื่องสามก๊กของล่อกวนตง (คือเป็นตัวละครที่แต่งเสริมขึ้นมา ไม่ปรากฏชื่อในหลักฐานทางประวัติศาสตร์) และชื่อของตัวละครสมมติที่ปรากฏในแหล่งอื่นที่อิงประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ชื่อตัวละครที่ปรากฏในวรรณกรรม สามก๊ก เรียงตามลำดับตามการปรากฏชื่อในวรรณกรรม แบ่งตามตอนที่ปรากฏชื่อครั้งแรก (ในรายชื่อนี้แบ่งตอนของวรรณกรรมสามก๊ก เป็น 120 ตอนตามวรรณกรรมฉบับภาษาจีน ต่างจากสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ที่แบ่งเป็น 87 ตอน).

ใหม่!!: ชัวมอและรายชื่อตัวละครสมมติในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ

ใบปิดภาค 2 สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ เป็นภาพยนตร์จีนอิงประวัติศาสตร์ขนาดยาว ออกฉายพร้อมกันทั่วทวีปเอเชียในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เพื่อต้อนรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่จีนเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน สร้างจากวรรณคดีชิ้นเอกของจีนเรื่อง สามก๊ก ในตอน โจโฉ แตกทัพเรือ หรือ ศึกผาแดง อำนวยการสร้างและกำกับโดย จอห์น วู โดยภาพยนตร์เริ่มเปิดการถ่ายทำขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 ด้วยทุนสร้างกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนสร้างมากที่สุดในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์เอเชีย โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาคใหญ่ ๆ ด้วยกันเฉพาะในเอเชีย (ในภาค 2 ฉาย 22 มกราคม พ.ศ. 2552) ต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ส่วนประเทศอื่น ๆ จะฉายในตอนเดียวจบในระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง.

ใหม่!!: ชัวมอและสามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ · ดูเพิ่มเติม »

สุมาเต๊กโช

มาเต๊กโช (Sima Hui) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก นักปราชญ์เต๋าผู้ได้รับการนับถืออย่างมากของนักปราชญ์คนสำคัญ ๆ ในสามก๊ก เช่น จูกัดเหลียง, ชีซีและบังทอง เป็นเพื่อนสนิทกับบังเต็กกง ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของบังทอง เป็นผู้ให้ฉายา "ฮองซู" แก่บังทอง และ "ฮกหลง" แก่ขงเบ้ง เป็นผู้ที่สามารถอ่านผู้คนและสถานการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ จนได้ฉายาว่า "ซินแสคันฉ่องวารี" และยังได้สมญานามจากยาขอบว่า "ผู้ชาญอาโปกสิณ" อาศัยในเขตเมืองซงหยง เป็นปราชญ์ที่ยึดติดกับธรรมชาติ ไม่ข้องเกี่ยวกับการเมือง.

ใหม่!!: ชัวมอและสุมาเต๊กโช · ดูเพิ่มเติม »

อิกิ๋ม

อิกิ๋ม (Yu Jin; 于禁) เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ มีความซื่อสัตย์จงรักภักดี เคร่งครัดในระเบียบวินัย แต่มักอิจฉาผู้อื่นที่ทำงานเกินหน้าเกินตา อิกิ๋มเดิมเป็นโจร ต่อมาเมื่อโจโฉคิดตั้งตัวเป็นใหญ่ในดินแดนภาคตะวันออก โจโฉได้ค้นหาเหล่าที่ปรึกษาและเหล่าขุนพลมาร่วมงาน อิกิ๋มก็เป็นหนึ่งในขุนพลเหล่านั้น เมื่อโจโฉถูกกองทัพของเตียวสิ้วตีแตก แฮหัวตุ้นแม่ทัพคนหนึ่งของโจโฉได้นำทหารไปปล้นเสบียงชาวบ้าน อิกิ๋มเห็นทนไม่ได้จึงสังหารทหารของแฮหัวตุ้นไปมากมาย จึงทำให้เกิดข่าวลือว่าอิกิ๋มทรยศต่อโจโฉ แต่อิกิ๋มยังไม่เข้าชี้แจงความจริงต่อโจโฉ เพราะต้องไปต้านทัพเตียวสิ้วที่ยกตามมา และสามารถตีทัพเตียวสิ้วให้ถอยไปได้ และเข้าชี้แจงความจริงต่อโจโฉ โจโฉชื่นชมอิกิ๋มว่าเป็นผู้รอบคอบและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ส่วนแฮหัวตุ้น โจโฉได้ละเว้นโทษให้ อิกิ๋มเป็นขุนพลที่โจโฉไว้ใจมาก ใช้ให้ไปร่วมทำศึกหลายครั้ง รวมถึงให้เป็นแม่ทัพคุมกองทัพเรือแทนชัวมอ และเตียวอุ๋น ที่ถูกโจโฉสั่งประหารชีวิตไปในศึกผาแดงด้วยอุบายของจิวยี่ และเป็นผู้สังหารเล่าจ๋องและนางชัวฮูหยินตามคำสั่งของโจโฉ ต่อมาโจโฉตั้งให้อิกิ๋มเป็นแม่ทัพใหญ่คุมทัพไปช่วยสลายวงล้อมของกวนอูที่เมืองอ้วนเซียที่มีโจหยินรักษาเมืองอยู่ และให้บังเต๊กเป็นแม่ทัพหน้า บังเต๊กรบกับกวนอูได้อย่างสูสี ทำให้อิกิ๋มคิดว่าถ้าบังเต๊กสังหารกวนอูได้ ความชอบก็จะตกที่บังเต๊กผู้เดียว จึงตีม้าล่อถอยทัพทุกครั้งที่บังเต๊กได้เปรียบ ต่อมา อิกิ๋มไปตั้งทัพที่ทุ่งจันเค้า ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ถูกโจมตีได้ง่าย กวนอูจึงสร้างเขื่อนรอให้น้ำหลากแล้วจึงพังเขื่อนให้น้ำท่วมกองทัพของอิกิ๋ม อิกิ๋มถูกกวนอูจับได้แล้วถูกนำไปขังที่เกงจิ๋ว เมื่อซุนกวนยึดเกงจิ๋วได้จึงปล่อยตัวกลับไปวุยก๊ก โจผี (บุตรชายของโจโฉ) ได้ให้วาดรูปอิกิ๋มรอขอชีวิตต่อกวนอูไว้ที่ผนังที่ฝังศพของโจโฉ และให้อิกิ๋มเฝ้าที่ฝังศพนั้น อิกิ๋มมีความละอาย ไม่นานก็ตรอมใจตาย อิกิ๋ม อิกิ์ม.

ใหม่!!: ชัวมอและอิกิ๋ม · ดูเพิ่มเติม »

อุยเอี๋ยน

อุยเอี๋ยน (Wei Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊กรูปร่างสูงใหญ่ ชื่อรองบุ้นเตีย ใช้ง้าวคู่เป็นอาวุธ ปรากฏบทบาทครั้งแรกที่เมืองเกงจิ๋ว เมื่อเล่าปี่ได้อพยพราษฎรจากซินเอี๋ยและอ้วนเสียข้ามน้ำมาจากการตามล่าของโจโฉขอให้ชาวบ้านอยู่ในเมืองด้วย พวกทหารและเสนาธิการจะแยกไปทันที แต่ชัวมอที่บังคับเล่าจ๋องอยู่ไม่ยอมเปิดประตูให้ อุยเอี๋ยนซึ่งเป็นทหารเกงจิ๋วกลับนำทหารส่วนหนึ่งมาเปิดประตูให้เล่าปี่ยกเข้าเมือง แต่บุนเพ่งแม่ทัพคนหนึ่งของเกงจิ๋วได้ออกมาขัดขวาง พร้อมด่าว่า เจ้าจะเป็นกบฏหรือ อุยเอี๋ยนกับบุนเพ่งจึงได้สู้กัน เล่าปี่อนาถใจที่เห็นทั้งคู่มาสู้กันเอง จึงยกทัพแยกไป.

ใหม่!!: ชัวมอและอุยเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

อีเจี้ย

อีเจี้ย (Yi Ji) ชื่อรองว่า จีป้อ เป็นเสนาธิการแห่งจ๊กก๊ก อีเจี้ยเกิดที่เมืองซันหยงมีความสามารถในการปุจฉาวิสัชนาและมีความช่ำชองในกฎหมายเคยรับใช้ เล่าเปียว เจ้าเมือง เกงจิ๋ว มีบทบาทในการมาบอก เล่าปี่ ในงานพืชมงคลให้ระวังตัวเรื่อง ชัวมอ ขุนนางและน้องเมียของเล่าเปียววางแผนลอบสังหารเล่าปี่จนเล่าปี่สามารถหนีรอดกลับไปยัง ซินเอี๋ย อันเป็นเมืองที่มั่นของเล่าปี่จนกระทั่งเล่าเปียวถึงแก่กรรมและ เล่าจ๋อง บุตรชายคนเล็กของเล่าเปียวขึ้นเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วใน..

ใหม่!!: ชัวมอและอีเจี้ย · ดูเพิ่มเติม »

จูล่ง ขุนพลเทพสงคราม

ูล่ง ขุนพลเทพสงคราม (อังกฤษ:The God Of War, Zhau Yun, Chinese Hero Zhao Zilong; 武神赵子龙; 武神趙子龍; พินอิน: Wǔ Shén Zhào Zǐlóng; ฮันกึล: 무신조자룡; ความหมาย: จูล่ง เทพเจ้าศิลปะการต่อสู้) เป็นละครโทรทัศน์ที่ออกกาศในประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน จนถึง 5 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ชัวมอและจูล่ง ขุนพลเทพสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก

วาดจากหนังสือสามก๊กในยุคราชวงศ์หมิง ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก แสดงรายการเนื้อเรื่องที่แต่งเสริมขึ้นในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เรียงตามลำดับเหตุการณ์ พร้อมอธิบายความแตกต่างระหว่างเนื้อเรื่องในวรรณกรรมและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมเรื่องสามก๊กมีเนื้อหาที่อิงมาจากประวัติศาสตร์ปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกต่อยุคสามก๊ก ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จึงทำให้ผู้อ่านหลายคนเข้าใจผิดว่าเนื้อเรื่องที่ปรากฏในวรรณกรรมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในยุคสามก๊ก แหล่งข้อมูลของประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กที่เชื่อถือได้มากที่สุดคือจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อหรือสามก๊กจี่) ที่เขียนโดยตันซิ่ว และเพิ่มอรรถาธิบายโดยเผยซงจือ แหล่งข้อมูลอื่นๆที่ครอบคลุมประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กได้แก่ โฮ่วฮั่นซู (จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง) ของฟ่านเย่ และ จิ้นซู (จดหมายเหตุราชวงศ์จิ้น) ของฝางเสฺวียนหลิ่ง ด้วยความที่วรรณกรรมเรื่องสามก๊กเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ เนื้อเรื่องหลายส่วนจึงเป็นเนื้อเรื่องที่แต่งเสริมขึ้น หรือนำมาจากนิทานพื้นบ้าน หรืออิงมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคอื่นๆของประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: ชัวมอและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เล่ากี๋

ล่ากี๋ (Liu Qi) เป็นบุตรของเล่าเปียว ที่เกิดจากนางต้านซี เล่ากี๋เป็นผู้ที่มีสติปัญญาปานกลาง(พอใช้ได้) แต่มีปัญหาทางด้านสุขภาพอยู่เสมอๆ เล่าเปียวคิดจะยกให้เป็นผู้ครองเมืองเกงจิ๋ว เนื่องจากเป็นบุตรคนโต แต่อำนาจทางทหารอยู่ในมือของฝ่ายนางชัวฮูหยินภรรยาอีกคน ซึ่งนางชัวฮูหยินต้องการให้เล่าจ๋องลูกชายของตนเองครองเมืองเกงจิ๋ว จึงจะหาโอกาสกำจัดเล่ากี๋อยู่เสมอๆ ในช่วงนั้นเล่าเปียวป่วยหนักอยู่ด้วย เล่ากี๋รู้ว่าชัวฮูหยินวางแผนจะทำร้ายอยู่เสมอๆ แต่เล่ากี๋ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ จนวันนึงเล่ากี๋ที่กำลังมืดแปดด้านอยู่ ขงเบ้งกับเล่าปี่ก็มาหา เล่ากี๋จึงได้อ้อนวอนขอให้ขงเบ้งช่วย ซึ่งตอนแรกขงเบ้งก็ปฏิเสธ แต่เล่ากี๋สวมบทเล่าปี่ บีบน้ำตาจะเอากระบี่เชือดคอตาย จนขงเบ้งแนะนำให้เล่ากี๋ขอไปเป็นเจ้าเมืองกังแฮ เพื่อหนีภัย (แต่ความจริงขงเบ้งวางแผนจะยึดเกงจิ๋วอยู่แล้ว เลยให้เล่ากี๋ไปอยู่ที่อื่น เพื่อที่จะได้ตัดอำนาจ) เมื่อเล่าเปียวตาย เล่ากี๋ได้มาเยี่ยม แต่ถูกชัวมอ ชัวฮูหยิน และเล่าจ๋องขัดขวางไม่ยอมให้เข้าพบ เล่ากี๋จึงต้องกลับไปเมืองกังแฮด้วยความชอกช้ำ แต่ภายหลังโจโฉได้ยึดเมืองเกงจิ๋ว เล่าปี่และก๊วนพรรคประชาอุปถัมภ์ได้หนีโจโฉไปได้อย่างทุลักทุเล และก็ได้หนีไปอยู่กับเล่ากี๋ที่เมืองกังแฮ เมื่อชนะโจโฉในศึกเซ็กเพ็กแล้ว ขงเบ้งได้จัดการยึดเกงจิ๋ว ซุนกวนเคืองมาก ส่งทูตไปทวงคืน แต่เล่าปี่ก็ได้ให้เล่ากี๋ปกครองเกงจิ๋ว ทำให้ซุนกวนยังเข้าครองเกงจิ๋วไม่ได้ แต่วันๆเล่ากี๋ก็แทบไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากนอนอยู่บนเตียง เพราะ ปัญหาทางด้านสุขภาพ หลังจากนั้นเล่ากี๋ก็สุขภาพทรุดโทรมด้วยปัญหาสุขภาพ อาการหนักเข้าๆ ก็ได้ป่วยตายในที่สุด เมื่ออายุได้เพียง 20 กว่าๆเท่านั้น.

ใหม่!!: ชัวมอและเล่ากี๋ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าจ๋อง

ล่าจ๋อง (Liu Cong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของเล่าเปียวเจ้าแคว้นเกงจิ๋ว อันเกิดจากนางชัวฮูหยินภรรยาน้อย หลังจากเล่าเปียวเสียชีวิต ตามประเพณี ลูกชายคนโตคือเล่ากี๋ควรมีสิทธิ์ในตำแหน่งเจ้าแคว้น แต่ชัวฮูหยินและชัวมอน้องชาย ได้ปลอมแปลงพินัยกรรมของเล่าเปียวว่าให้เล่าจ๋องขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าแคว้นเกงจิ๋วคนต่อไป เล่าจ๋องจึงได้ครองตำแหน่งเจ้าแคว้นเกงจิ๋วต่อจากบิดาขณะมีอายุได้ 14 ปี ต่อมา โจโฉยกทัพจะเข้าตีเกงจิ๋ว เล่าจ๋องได้ยอมจำนนต่อโจโฉ โจโฉแต่งตั้งให้เล่าจ๋องเป็นเจ้าเมืองเฉงจิ๋ว ระหว่างที่เล่าจ๋องเดินทางไปรับตำแหน่งที่เฉงจิ๋วพร้อมกับนางชัวฮูหยิน อิกิ๋มซึ่งโจโฉสั่งให้นำกำลังไปซุ่มระหว่างทาง ได้นำกำลังออกมาสังหารเล่าจ๋องและนางชัวฮูหยินเสี.

ใหม่!!: ชัวมอและเล่าจ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

เจียวก้าน

เจียวก้าน (Jiang Gan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่ปรึกษาคนหนึ่งของโจโฉ เป็นชาวเมืองกังหวย เป็นนักพูด และเป็นทั้งเพื่อนร่วมชั้นเรียนในวัยเยาว์กับจิวยี่ ปรากฏตัวในศึกเซ็กเพ็ก เมื่อเจียวก้านขออาสาตัวเองไปเจรจาเกลี้ยกล่อมจิวยี่ให้ยอมแพ้ แต่จิวยี่รู้ทันจึงทำอุบายซ้อนกลเจียวก้านอีกต่อ โดยหลอกว่า ซัวมอและเตียวอุ๋น แม่ทัพเรือคนใหม่ของโจโฉที่ทรยศต่อเล่าเปียวมาเข้ากับโจโฉ หักหลังโจโฉ โดยเจียวก้าน เหลือบไปเห็นจดหมายของซัวมอ และเตียวอุ๋น ที่จิวยี่ทำปลอมไว้ ขณะนอนหลับในกระโจมเดียวกับจิวยี่ เจียวก้านขโมยจดหมายแล้วกลับไปรายงานโจโฉ โจโฉเชื่อตามนั้น สั่งตัดหัวซัวมอและเตียวอุ๋นทันที แต่มารู้ทีหลังว่าเป็นแผนของจิวยี่ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว และอีกครั้งหนึ่งที่ โจโฉ ต้องการคนไปหาข่าวจากกังตั๋ง เจียวก้านรับอาสาไปอีกครั้งเอง เพื่อขอแก้ตัวที่เคยทำพลาดจากครั้งที่แล้ว จิวยี่รู้ทันอีกครั้ง คราวนี้จึงแกล้งทำเป็นโกรธเจียวก้าน ที่เจียวก้านครั้งก่อนลาไปโดยไม่ได้บอกกล่าว จึงสั่งให้โลซกจำกัดบริเวณเจียวก้านอยู่ที่เขาเมืองซงหยง จึงทำให้เจียวก้านได้พบกับบังทอง ซึ่งบังทองเจตนาอ่านคัมภีร์เสียงดัง ๆ เพื่อให้เจียวก้านเข้าใจว่าเป็นผู้มีความรู้สูง เมื่อได้สนทนากัน เจียวก้านเชื่ออย่างเต็มเปี่ยมว่า บังทองคือผู้มีความรู้ความสามารถจริง ๆ จึงชักนำมาหาโจโฉ และเป็นที่มาของแผน "ห่วงโซ่สัมพันธ์" ที่ผูกมัดกองเรือของโจโฉเป็นหนึ่ง ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้จิวยี่สามารถเผาทัพเรือโจโฉให้ราบคาบได้ จีเยวก้าน จีเยวก้าน.

ใหม่!!: ชัวมอและเจียวก้าน · ดูเพิ่มเติม »

เตียวอุ๋น

ตียวอุ๋น (Zhang Yun, ? — ?) ขุนศึกแห่ง วุยก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ซึ่งก่อนหน้านั้นได้เคยรับใช้ เล่าเปียว เจ้าเมือง เกงจิ๋ว เมื่อ โจโฉ ยกกองทัพลงใต้ทางฝ่ายเกงจิ๋วซึ่งในขณะนั้นปกครองโดย เล่าจ๋อง บุตรชายของเล่าเปียวที่ถึงแก่กรรมไปก่อนหน้านั้นไม่นานก็เกรงว่าจะไม่ปลอดภัยจึงได้ยอมแพ้ต่อโจโฉเตียวอุ๋นจึงได้มารับใช้วุยก๊กสืบต่อมาซึ่งเตียวอุ๋นถึงแก่กรรมเมื่อใดไม่มีหลักฐาน แต่สามก๊กฉบับวรรณกรรมของ ล่อกวนตง ได้กล่าวไว้ว่าก่อนเกิด ศึกผาแดง ใน..

ใหม่!!: ชัวมอและเตียวอุ๋น · ดูเพิ่มเติม »

เต๊กเลา

ต๊กเลา (De Lao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เต๊กเลาไม่ใช่ชื่อของม้า แต่เป็นลักษณะม้าอีกประเภทหนึ่งในสามก๊ก เต๊กเลาเป็นม้ามีขนสีขาวทั้งตัว จัดเป็นยอดอาชาไนยอีกตัว แต่จะให้โทษแก่เจ้าของ เนื่องจากมีร่องน้ำตาใต้ตา เต็กเลาเดิมเป็นม้าของเตียวบู หัวหน้ากบฏผู้หนึ่ง เมื่อเตียวบูถูกจูล่งฆ่าตาย ได้จูงเต๊กเลามาให้เล่าปี่ เล่าปี่เห็นเป็นม้าที่ดีจึงยกให้เล่าเปียว แต่เก๊งอวดที่ปรึกษาของเล่าเปียวเห็นว่ามีลักษณะให้โทษแก่เจ้าของจึงบอกโบ้ยคืนให้กับเล่าปี่ ม้าเต๊กเลา แม้เป็นม้าที่ให้โทษก็จริง แต่ก็เคยพาเล่าปี่กระโดดข้ามแม่น้ำตันเข หนีการตามล่าของชัวมอและเตียวอุ๋นจากเมืองเกงจิ๋ว ได้อย่างปาฏิหาริย์ จนกระทั่งได้พบกับสุมาเต๊กโช เมื่อลาจากสุมาเต๊กโชไปแล้ว เล่าปี่และจูล่งได้พบกับชีซีที่ปลอมชื่อปลอมตัวเป็นตันฮก ตันฮกแกล้งแหย่เพื่อลองใจเล่าปี่ว่า ม้าตัวนี้มีลักษณะให้โทษแก่เจ้าของ วิธีแก้ง่าย ๆ ก็คือ ถ้าไม่ชอบใครก็ยกม้าตัวให้แก่ผู้นั้น แต่เล่าปี่ไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้ ตันฮกจึงได้รับรู้ถึงคุณธรรมของเล่าปี่อย่างแท้จริง และเล่าปี่ก็ไม่เคยเปลี่ยนม้าเลย ม้าเต๊กเลาปรากฏให้โทษแก่ผู้ขี่จริง ๆ คือ ตอนที่บังทองและเล่าปี่แยกย้ายเข้าเมืองเสฉวนไปกันคนละทาง โดยบังทองไปในทางที่แคบ เล่าปี่ไปในทางที่กว้างกว่า ก่อนแยกกันบังทองเกิดพลัดตกม้า เล่าปี่จึงให้สลับม้ากับตน เมื่อเดินทางไปถึงเนินหงส์ร่วง เตียวหยิมทหารของเล่าเจี้ยงดักซุ่มยิงอยู่ด้วยธนูด้วยเจตนาจะสังหารเล่าปี่ แต่ไม่รู้ว่าเล่าปี่หน้าตาเป็นยังไง พอดีมีทหารคนหนึ่งพูดขึ้นว่า เล่าปี่ชอบขี่ม้าสีขาว เมื่อเห็นบังทองขี่ม้าสีขาวมา จึงสั่งให้รุมยิงจนบังทองถึงแก่ความต.

ใหม่!!: ชัวมอและเต๊กเลา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ซัวมอ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »