สารบัญ
23 ความสัมพันธ์: ชมพู่มะเหมี่ยวชมพู่ป่าชมพู่น้ำชมพู่น้ำดอกไม้ชมพู่แก้มแหม่มการรับรู้รสกานพลูฝาดมะชมพู่ป่ารอเยาะรายการผลไม้รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดลูกชุบวงศ์ชมพู่สีชมพูหว้าหว้านาหนอนคันอาหารกัมพูชาอาซีนันอำเภอท่ายางทรงบาดาลเสม็ดแดง
ชมพู่มะเหมี่ยว
อกซึ่งเห็นเกสรตัวผู้ชัดเจน ชมพู่มะเหมี่ยว เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae ลำต้นตรง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบหนาและเหนียว เมื่ออ่อนเป็นสีแดง ก้านใบยาว ดอกดอกเฉพาะกิ่งที่ไม่มีใบ ดอกสีแดง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดบวมพอง เกสรตัวผู้สีแดงจำนวนมาก ผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ผลคล้ายลูกแพร์ มีกลีบเลี้ยงติดที่ปลายผล ผลสีแดงเข้มหรือเหลืองอมม่วงหรือขาวอมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ สีขาว มีกลิ่นหอม เมล็ดกลม สีน้ำตาล การกระจายพันธุ์พบมากในคาบสมุทรมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ผลใช้รับประทานสด ทำอาหารคาวเช่นยำโดยใช้เกสร เมื่อ แก่แล้วยังมีรสเปรี้ยว นิยมนำไปต้มรวมกับผลไม้อื่น ๆ ให้มีรสเปรี้ยวน้อยลง เปลือกลำต้น ใบและรากมีสรรพคุณเป็นยา รสชุ่มคอ มีวิตามินซี และแคลเซียมสูง เสริมสร้างกระดูกและฟัน ไฟล์:Starr 070321-6134 Syzygium malaccense.jpg|ผล ไฟล์:Syzygium malaccense at Kadavoor.jpg|ตา ไฟล์:Pommerac01.JPG|ผล ไฟล์:Pommerac.whole.jpg|ผลสุกทั้งผล ไฟล์:Pommerac.cut.jpg|ผลสุกผ่าครึ่ง.
ชมพู่ป่า
มพู่ป่า เป็นพืชในวงศ์ Myrtaceae เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมักโค้งงอ ใบเดี่ยว ขยี้แล้วไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นเล็กน้อย ก้านยาว ดอกช่อออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบเลี้ยงรูปหลอด กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลสด ทรงคล้ายลูกข่าง มีหลายเมล็ด กลีบเลี้ยงติดที่ส่วนปลายของผล ผลสีขาวหรือแดง ฉ่ำน้ำ ผิวเป็นมันวาว ไม่มีกลิ่น เมล็ดขนาดเล็ก รูปกลม มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลคล้ายชมพู่แก้มแหม่ม แก่แล้วยังมีรสฝาด ในอินโดนีเซียใช้ใบอ่อนห่ออาหารว่างที่ทำจากข้าวเหนียวหมัก รสฝาดในผลเกิดจากแทนนิน.
ชมพู่น้ำ
มพู่น้ำ เป็นพืชในวงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 15 เมตร ใบเรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน ใบหอกหรือแกมรูปไข่ ยาว 9-28 เซนติเมตร โคนกลมหรือเว้าตื้น ก้านใบยาว 3.5-8 มิลลิเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะสั้น ๆ ตามปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มี 2-6 ดอก ก้านดอกยาว 3-5 มิลลิเมตร ฐานดอกยาว 1-1.7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ยาว 3-6.5 มิลลิเมตร ดอกสีชมพู แดงหรือเหลือง มี 4 กลีบ ขนาด 1.4-1.7 เซนติเมตร เกสรเพศผู้วงนอกยาว 2-3 เซนติเมตร รังไข่มี 2 ช่อง ผลกลม สีเขียวอ่อน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-2.7 เซนติเมตร ภายในมีเนื้อสีขาว.
ชมพู่น้ำดอกไม้
มพู่น้ำดอกไม้ เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..
ชมพู่แก้มแหม่ม
'ผลชมพู่แก้มแหม่มผ่าครึ่ง ชมพู่แก้มแหม่ม เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae กิ่งก้านโค้งงอ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบเหนียวคล้ายหนัง มีจุดใสบนใบ ก้านใบใหญ่ ดอกดอกตามยอดและซอกใบของใบที่ร่วงไปแล้ว ดอกช่อ กลีบเลี้ยงเป็นหลอดยาว กลีบดอกสีขาวอมเหลือง เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ผลคล้ายลูกแพร์ มีปลายของกลีบเลี้ยงที่โค้งเข้าข้างในติดที่ปลายผล ผลสีแดงอ่อนจนถึงขาว เนื้อสีขาวคล้ายฟองน้ำ ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดแบนหรือกลม มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิยมปลูกไปทั้งภูมิภาค ในอินโดนีเซียนิยมนำไปทำโรยักหรือนำไปดองที่เรียกอาซีนัน เปลือกผลมีลักษณะคล้ายไขเคลือบ เนื้อค่อนข้างแห้ง มีกลิ่นหอม ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียใช้ใบรักษาโรคผิวหนัง.
การรับรู้รส
ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.
กานพลู
กานพลู เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 - 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5 - 4 ซม.
ฝาด
ฝาด หรือขวาด แดงสองเปลือก เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae เป็นพืชไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นเรียบสีเทาอมขาว เมื่ออายุมากขึ้นผิวจะแตกเป็นสะเก็ด หลุดร่วงได้ง่าย มีกลิ่น ใบเดี่ยว สีเขียวเรียบเป็นมัน ใบหนา ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาว เกสรตัวผู้สีขาวยาวกว่ากลีบดอก ผลเดี่ยว ยอดอ่อนรับประทานได้ ใช้เป็นผักแกล้ม ลำต้นใช้ในการก่อสร้าง ผลสุกรับประทานได้.
ดู ชมพู่และฝาด
มะชมพู่ป่า
มะชมพู่ป่า เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว ดอกออกเป็นกระจุก ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ฐานรองดอกเจริญเป็นรูปถ้วย ผลสุกรับประทานได้.
รอเยาะ
รอเยาะ หรือ เต้าขั้ว ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เรียกว่า โรจะก์ (rojak) อินโดนีเซียเรียกว่า รูจะก์ (rujak) เป็นยำประเภทหนึ่งในอาหารมลายูและอินโดนีเซีย น้ำยำทำจากกะปิเคี่ยวกับน้ำตาลโตนด น้ำมะขามเปียก พริก มีรสหวาน โรยถั่วลิสงคั่ว ในปีนังจะเพิ่มน้ำผึ้ง นิยมกินกับผลไม้ เช่น ชมพู่ มะม่วงดิบ ฝรั่ง มันแกว สับปะรด ผักลวกเช่น ถั่วงอก ผักบุ้ง มันเทศต้ม เต้าหู้ทอด ในพิธีครรภ์เจ็ดเดือนในเกาะชวา จะมีรอเยาะเป็นอาหารสำคัญในพิธีและใช้เสี่ยงทายเพศทารก ถ้าหญิงมีครรภ์ชอบรอเยาะหวาน ทารกจะเป็นผู้หญิง ถ้าชอบรสเผ็ดจะเป็นผู้ชาย ในภาคใต้ของประเทศไทยมีอาหารชนิดเช่นกัน ในจังหวัดปัตตานีเรียกว่า รอเยาะ, สงขลาเรียกว่า เต้าขั้ว หรือ สลัดทะเลสาบ, สุราษฎร์ธานีเรียกว่า ผักบุ้งไต่ราว, ภูเก็ตเรียกว่า อูแช่, และสตูลเรียกว่า ปัสมอ.
รายการผลไม้
ผลไม้ที่รับประทานได้ที่พบโดยทั่วไป ต่อไปนี้เป็นรายการผลไม้.
รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด
ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้.
ดู ชมพู่และรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด
ลูกชุบ
ลูกชุบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวบดกวนปั้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ ระบายสี แล้วนำไปชุบวุ้นให้สวยงาม สีที่ใช้ทำลูกชุบนั้นนอกจากระบายลงบนถั่วเขียวกวนที่ปั้นแล้ว ยังใส่สีลงในถั่วกวนโดยตรงได้อีก เช่น.
วงศ์ชมพู่
''Pimenta dioica'' วงศ์ชมพู่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Myrtaceae) เป็นวงศ์ของพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีสมาชิกที่สำคัญคือชมพู่ กานพลู ฝรั่ง และยูคาลิปตัส สมาชิกในวงศ์ทั้งหมดเป็นพืชมีเนื้อไม้ มีน้ำมันหอมระเหย มีโฟลเอมอยู่ทั้งสองด้านของไซเลม ไม่ได้อยู่ด้านนอกเหมือนพืชวงศ์อื่นๆ ใบมีสีเขียว กลีบดอกมี 5 กลี.
สีชมพู
ีชมพู เป็นสีที่เกิดจากการผสมสีแดงและสีขาว ในบางครั้งจะถูกกล่าวถึงในลักษณะสีแดงอ่อน สีชมพูมักจะถูกใช้ในการกล่าวถึงลักษณะของเด็กหญิง ซึ่งนิยมใช้ควบคู่กับ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ที่จะแสดงถึงเด็กชาย ในภาษาเหนือ เรียกสีชมพูว่า "จมออน" (จม-ออน).
หว้า
หว้า เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดจากอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำเพชรบุรี.
ดู ชมพู่และหว้า
หว้านา
หว้านา เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Myrtaceae ลำต้นเรียบหรือแตกเป็นร่อง สีน้ำตาลอมเทา เปลือกชั้นในหนา สีน้ำตาลแกมชมพูหรือน้ำตาลอ่อน เหนียว ลอกออกเป็นแผ่นได้ ใบเดี่ยว ผิวเกลี้ยง ก้านใบบวม ดอกช่อ ผลเดี่ยว เมื่ออ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีดำ ผลรับประทานได้ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง เปลือกต้นแก้โรคบิด ท้องร่วง ล้างแผลเปื่อย แก้ปากเปื่อย ใบ ผล และเมล็ดใช้แก้ท้องร่วง.
หนอนคัน
หนอนคัน หนอนคัน (Hairy caterpillar) ชื่อวิทยาศาสตร์ Eupterote testacea เป็นหนอนชนิดหนึ่งที่มีขนอยู่รอบตัวและขนของมันมีพิษที่ร้ายกาจ เช่น คัน แสบจนผิวหนังลอก หรือไม่ก็ถึงตายเลย หนอนคันมักอาศัยอยู่ที่ต้นชมพู่ บางทีก็อยู่ตามต้นมะพร้าว พิษหนอนคันที่อยู่ต้นมะพร้าวแรงมากเหมือนเอาเข็มมาเจาะ จำนวนของมันต่อต้นชมพู่ 1 ต้นมีถึง 20-40 ตัวหรือเยอะกว่านั้น มันเคลื่อนที่ในระยะเวลาต่อ 1 ไม้บรรทัดสามารถใช้เวลาเพียงแค่ 30 วินาทีถึง 1 นาทีได้ มันมีสีสันที่งดงาม เช่น เขียวลายพาดดำ และขนของมันมีสีที่ไม่ธรรมดา หนอนคันเป็นสัตว์อันตรายมากด้วยความเร็วของหนอนคันมันสามารถหาอาหารได้เอง หมวดหมู่:หนอน.
อาหารกัมพูชา
อะม็อก อาหารกัมพูชาที่มีชื่อเสียง อาหารกัมพูชา หรือ อาหารเขมร เป็นอาหารที่บริโภคกันอย่างแพร่หลายในประเทศกัมพูชา อาหารของกัมพูชามีทั้งผลไม้ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม ขนมและซุปต่างๆ ที่รับประทานเกือบทุกมื้อ แต่ก๋วยเตี๋ยวยังเป็นที่นิยม กับข้าวมีความหลากหลายทั้งที่เป็นแกง ซุป ทอดและผัด มีพันธุ์ข้าวจำนวนมากในประเทศกัมพูชารวมทั้งข้าวหอมและข้าวเหนียว ข้าวเหนียวนิยมรับประทานเป็นของหวานกับกับผลไม้ เช่น มะม่วง อาหารเขมรส่วนมากมีความคล้ายคลึงกับอาหารของเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยแม้ว่าโดยทั่วไปจะไม่เผ็ดเท่า และเวียดนามที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันในการเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนและฝรั่งเศสที่เคยมีอิทธิพลต่อกัมพูชาในประวัติศาสตร์ อาหารประเภทแกงหรือที่เรียกว่าการี (ការី) แสดงร่องรอยของอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาหารอินเดีย ก๋วยเตี๋ยวเส้นหลายรูปแบบแสดงอิทธิพลของอาหารจีน กะทิเป็นส่วนผสมหลักของแกงกะหรี่เขมรและของหวาน ขนมปังฝรั่งเศสเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากยุคอาณานิคม ซึ่งชาวกัมพูชามักจะกินกับปลากระป๋องหรือไข่ กาแฟปรุงด้วยนมข้นหวาน เป็นตัวอย่างของอาหารเช้ากัมพูชาในกัมพูชาแบบหนึ่ง.
อาซีนัน
อาซีนัน โบฆอร์ อาซีนัน (Asinan) เป็นผักดองในน้ำเกลือหรือน้ำส้มสายชู ทำจากผักหรือผลไม้ ที่เป็นที่นิยมทั่วอินโดนีเซีย คำว่าอาซีนันในภาษาอินโดนีเซียหมายถึงเค็ม ซึ่งหมายถึงกระบวนการทำที่นำผักลงแช่ในน้ำเกลือ อาซีนันมีลักษณะคล้ายคลึงกับโรยัก เพียงแต่โรยักนั้นรับประทานสด ส่วนอาซีนันเป็นการถนอมอาหาร ในอินโดนีเซียมีอาซีนันหลายแบบที่เป็นที่นิยมได้แก.
อำเภอท่ายาง
ท่ายาง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี ประชากรประมาณร้อยละ 80 เป็นเกษตรกร มีอาชีพปลูกพืช ผลผลิตหลักได้แก่ ข้าว กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า มะนาว ชมพู่ อ้อย มะม่วง ถั่ว และมะพร้าว.
ทรงบาดาล
ทรงบาดาล หรือ ขี้เหล็กหวาน เป็นไม้พุ่ม สูง 3 - 5 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4 - 6 คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 1 - 2 เซนติเมตร ยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอก สีเหลืองออกตามซอกใบ และปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 3 เซนติเมตร ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 7 - 20 เซนติเมตร ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนและจาไมก้า ออกดอก ตลอดปี ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด วิธีเตรียมเมล็ด ก่อนเพาะ นำเมล็ดมาแช่น้ำร้อน 80 - 90 องศาเซลเซียส แล้วทิ้งไว้ให้เย็น 16 ชั่วโมง ไฟล์:Songba.jpg.
เสม็ดแดง
ต้นเสม็ดแดง หรือ ไคร้เม็ด เม็ก เม็ดชุน เสม็ด เสม็ดเขา เป็นต้นไม้ มีความสูง 7 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ยอดเป็นพุ่มกลม ใบอ่อนสีแดง เปลือกสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอก ออก ก.พ - เม.ย ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว ทรงกลม หรือ ไข่สีขาว ผล ออก มี.ค - ม.ย ปลูกในสวนสมุนไพร หรือ ให้ร่มเงาในบ้านแข็งแรงและ ดูแลง่าย โดยยอดอ่อน ลวก หรือกินกับผักกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยวอมฝาด ใบใช้รับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก ขนมจีนหรือข้าวยำ ตำพอกแก้เคล้ดขัดยอกฟกบวม.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Syzygium