โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จุดทิศหลัก

ดัชนี จุดทิศหลัก

วงเข็มทิศแสดงจุดทิศหลักทั้งสี่ จุดทิศรองทั้งสี่ และทิศย่อย ๆ อีกแปดทิศ จุดทิศหลัก หมายถึงทิศทางทางภูมิศาสตร์ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ อาทิ ทิศเหนือ (น., N) ทิศตะวันออก (ต.อ., E) ทิศใต้ (ต., S) และทิศตะวันตก (ต.ต., W) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า ทิศทั้งสี่ หรือ สี่ทิศ โดยแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ทำมุมฉากกับแนวทิศเหนือ-ใต้ และทิศตะวันออกหมุนไปตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ และยังมี จุดทิศรอง คือทิศที่อยู่ระหว่างจุดทิศหลักเป็นแนวเฉียง 45 องศา อันได้แก่ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ต.อ.น., NE) ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ต.อ.ต., SE) ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ต.ต.ต., SW) และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ต.ต.น., NW) ซึ่งเรียกโดยรวมว่า ทิศทั้งแปด หรือ แปดทิศ นอกจากนี้ยังสามารถมีทิศย่อย ๆ ลงไปอีกก็ได้ หากผู้สังเกตการณ์บนพื้นผิวโลกยืนตรงหันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านหลังของเขาจะเป็นทิศใต้ ด้านขวาก็จะเป็นทิศตะวันออก และด้านซ้ายก็จะเป็นทิศตะวันตก เครื่องมือกำหนดพิกัดต่าง ๆ บนโลก มักทำงานโดยมองหาทิศเหนือเป็นหลักก่อน ถึงแม้ว่าทิศอื่นก็สามารถใช้ได้เหมือนกันถ้าหากเชื่อถือได้.

11 ความสัมพันธ์: สีในวัฒนธรรมจีนอนุภูมิภาคทิศทางทิศตะวันออกทิศตะวันออกเฉียงใต้ทิศตะวันออกเฉียงเหนือทิศตะวันตกทิศตะวันตกเฉียงใต้ทิศตะวันตกเฉียงเหนือทิศใต้ทิศเหนือ

สีในวัฒนธรรมจีน

Red paper lanterns for sale in เซี่ยงไฮ้, 2012. The color red symbolizes luck and is believed to ward away evil. สีในวัฒนธรรมจีน หมายถึง สีต่าง ๆ ที่มีความหมายทั้งในทางที่ดี (auspicious; 吉利) และไม่ดี (inauspicious; 不利) ตัวอักษรภาษาจีนของคำว่า สี คือ 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (yánsè) ในสมัยจีนโบราณมักใช้ตัวอักษร 色 (sè) เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีความหมายโดยตรงถึงสีบนใบหน้า (color in the face) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (emotion) เพราะคำว่า 'เหยียน' หมายถึงพื้นที่ระหว่างคิ้ว 'เซอะ' หมายถึงลมปราณ ปราชญ์จีนโบราณกล่าวว่า เมื่อคนเราเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ที่ใจ พลังงาน หรือ 'ชี่' จะไปแสดงออกที่หว่างคิ้ว กลายเป็นอารมณ์หรือสีหน้า เริ่มมีการใช้คำว่า หยานเซอะ (yánsè) ในความหมายของสีทุกสีในช่วงสมัยราชวงศ์ถัง อีกทั้งมีสำนวนจีนที่กล่าวว่า “wǔ (ห้า) yán liù (หก) sè” ใช้ในการอธิบายถึงความหลากหลายของสี จึงเป็นการใช้คำว่า 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (สี) ในความหมายทั่วไป.

ใหม่!!: จุดทิศหลักและสีในวัฒนธรรมจีน · ดูเพิ่มเติม »

อนุภูมิภาค

อนุภูมิภาคเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคหรือทวีปที่ใหญ่กว่า และปกติยึดตำแหน่ง ปกติใช้จุดทิศหลักเช่นเหนือหรือใต้ เพื่อนิยามภูมิภาคย่อ.

ใหม่!!: จุดทิศหลักและอนุภูมิภาค · ดูเพิ่มเติม »

ทิศทาง

250px ทิศทาง เป็นข้อมูลที่ว่าด้วยตำแหน่งของความสัมพันธ์ระหว่างจุดหนึ่งกับอีกจุดหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงระยะห่าง โดยอาจเป็นทิศทางสัมพัทธ์ (relative direction) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของบางสิ่งบางอย่างแล้วแต่จะอ้างถึง เช่น บอกว่า "ในวงดุริยางค์ ไวโอลินมักอยู่เบื้องซ้ายของวาทยากร" หรืออาจเป็นทิศทางสัมบูรณ์ (absolute direction) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของบางสิ่งบางอย่างที่ได้ทราบขอบเขตการอ้างถึงอยู่แล้ว เช่น บอกว่า "นครนิวยอร์กอยู่ทางตะวันตกของเมืองมาดริด" ทิศทางมักบ่งบอกได้โดยมือชี้หรือลูกศรชี้ เช่น ลูกศรแนวนอนซึ่งใช้แสดงทิศทางของที่ราบ เป็นต้นว่า ป้ายถนน มักใช้หัวลูกศรบ่งบอกทิศทางเบื้องหน้า ส่วนในทางคณิตศาสตร์นั้นอาจใช้เวกเตอร์หน่วย (unit vector) เป็นการเฉพาะเจาะจง.

ใหม่!!: จุดทิศหลักและทิศทาง · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันออก (E) อยู่ทางขวา ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตก ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ดาว ทิศตะวันออกเป็นทิศที่โลกหมุนไป ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: จุดทิศหลักและทิศตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออกเฉียงใต้

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ทิศอาคเนย์, อาคเณย์ เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขวามือของทิศใต้ และซ้ายมือของทิศตะวันออก โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกเฉียงใต้อยู่ด้านมุมขวาของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมซ้ายของแผนที่ดาว.

ใหม่!!: จุดทิศหลักและทิศตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

วงกลมแสดงทิศ ระบุทิศหลักและทิศรอง โดยทิศตะวันออกเฉียงเหนือแสดงโดยทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (NE) ทางขวาเฉียงขึ้นไปด้านบน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตกเฉียงใต้ ขวามือของทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง.

ใหม่!!: จุดทิศหลักและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันตก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันตก (W) อยู่ทางซ้าย ทิศตะวันตก หรือ ทิศประจิม หรือ ทิศปัจฉิม เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออก ขวามือของทิศใต้ และซ้ายมือของทิศเหนือ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกอยู่ด้านซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ด้านขวาของแผนที่ดาว ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: จุดทิศหลักและทิศตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันตกเฉียงใต้

ทิศตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ทิศหรดี, เนรดี เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ขวามือของทิศตะวันตก และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่ด้านมุมซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมขวาของแผนที่ดาว.

ใหม่!!: จุดทิศหลักและทิศตะวันตกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หรือ ทิศพายัพ เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ด้านมุมบนซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมบนขวาของแผนที่ดาว.

ใหม่!!: จุดทิศหลักและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศใต้

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศใต้ (S) อยู่ด้านล่าง ทิศใต้ หรือ ทิศทักษิณ เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ ขวามือของทิศตะวันออก และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากทิศใต้จะกำหนดให้อยู่ด้านล่างของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร ต หรืออักษร S ทิศใต้จริงเป็นทิศทางที่แกนหมุนของโลกชี้ไป ตรงกับขั้วโลกใต้ซึ่งอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง.

ใหม่!!: จุดทิศหลักและทิศใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทิศเหนือ

วงกลมแสดงทิศ (Compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศเหนือ (N) อยู่ด้านบน ทิศเหนือ หรือ ทิศอุดร เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ โดยมากทิศเหนือจะกำหนดอยู่ด้านบนของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร น หรืออักษร N.

ใหม่!!: จุดทิศหลักและทิศเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จุดทิศรองทิศรองทิศหลักทิศทางหลัก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »