เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จีทีเคพลัส

ดัชนี จีทีเคพลัส

ีทีเคพลัส (GTK+) เป็นวิจิททูลคิทสำหรับพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) โปรแกรมในแพลตฟอร์มต่าง ๆ สำหรับระบบเอกซ์วินโดว์ จีทีเคพลัส เป็นหนึ่งในวิจิททูลคิทที่เป็นที่นิยมที่สุดสองตัว วิจิททูลคิทที่เป็นที่นิยมที่สุดอีกตัวหนึ่งสำหรับระบบเอกซ์วินโดว์ คือคิวที ปัจจุบันนี้ทั้งจีทีเคพลัสและคิวทีเข้ามาแทนที่โมทีฟซึ่งเคยเป็นวิจิททูลคิทที่นิยมใช้ที่สุดสำหรับระบบเอกซ์วินโดว์ ในช่วงตั้งต้น จีทีเคพลัส สร้างขึ้นเพื่อใช้ในโปรแกรมจัดการแก้ไขรูปภาพแรสเตอร์ชื่อกนูอิมเมจแมนนิพูเลชันโปรแกรม (GNU Image Manipulation Program, GIMP) ดังนั้นจีทีเคพลัสจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากิมป์ทูลคิท (GIMP Toolkit) อย่างไรก็ตามคนส่วนมากรู้จักจีทีเคพลัสเพียงชื่อเดียว จีทีเคพลัส เป็นซอฟต์แวร์เสรี ส่วนหนึ่งในโครงการกนู เผยแพร่โดยใช้สัญญาอนุญาต LGPL ปัจจุบันดูแลการพัฒนาโดย มูลนิธิกโนม (GNOME Foundation).

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: กะโนมกิมป์กูเกิล โครมรายชื่อเว็บเบราว์เซอร์วิจิททูลคิทอีพิฟานี (เว็บเบราว์เซอร์)เอกซ์เอฟซีอีSynapticUbuntu Software Center

กะโนม

รงการ GNOME เป็นการสร้างแพลตฟอร์มทางคอมพิวเตอร์ ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยมีเป้าหมายคือสร้างชุดเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมขึ้นมาได้ง่าย รวมไปถึงสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อป (desktop environment - ซอฟต์แวร์ที่ใช้เรียกซอฟต์แวร์อื่น ทำหน้าที่จัดการกับไฟล์และระบบหน้าต่าง) มีซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ถูกพัฒนาขึ้นใต้โครงการ GNOME ซึ่งมักจะถูกนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการบางชนิด เช่น ลินุกซ์ หรือ โซลาริส เป็นต้น GNOME เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GNU และเป็นสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อปหลักของ GNU ด้วย GNOME.

ดู จีทีเคพลัสและกะโนม

กิมป์

กนูอิมิจมานิพิวเลชันโปรแกรม (- โปรแกรมจัดการภาพกนู) หรือกิมป์ (GIMP) เป็นซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพแบบแรสเตอร์ คล้ายกับซอฟต์แวร์อย่าง อะโดบี โฟโตชอป กิมป์สามารถทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น และ ลินุกซ์ กิมป์เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่อนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และยังอนุญาตให้นำไปแก้ไขและแจกจ่ายได้ด้ว.

ดู จีทีเคพลัสและกิมป์

กูเกิล โครม

กูเกิล โครม (Google Chrome) เป็นซอฟต์แวร์เว็บเบราว์เซอร์ พัฒนาโดยกูเกิล เปิดตัวครั้งแรกในปี 2008 โดยยังรองรับระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ก่อนจะออกโปรแกรมให้กับ ลินุกซ์, แมคโอเอส, ไอโอเอส และ แอนดรอยด์ ในภายหลัง กูเกิล โครม ยังเป็นองค์ประกอบหลักของ โครม โอเอส ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นหน้าจอหลักสำหรับการเรียกใช้เว็บแอป กูเกิล โครม เป็นตัวพัฒนาจากโค้ดของโครงการโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์ โครเมียม ซึ่งใช้สัญลักษณ์เดียวกัน แต่คนละสี โดยจะมีองค์ประกอบหรือคุณสมบัติบางอย่างที่ถูกเพิ่มเข้าไปเช่นการฝัง อะโดบี แฟลชเพลเยอร์ ลงไปในโครม (ซึ่งปัจจุบันนั้นกูเกิล โครมได้ปิดกั้นองค์ประกอบนี้แล้ว) ปัจจุบัน กูเกิล โครมพัฒนาโดยใช้ Blink เป็นเรนเดอริงเอนจินหลักสำหรับวาดหน้าจอ ยกเว้นเพียง ไอโอเอสที่ยังใช้เว็บคิตเป็นเรนเดอริงเอนจินหลัก โลโก้เดิมของกูเกิล โครม โลโก้ปัจจุบันของกูเกิล โครม.

ดู จีทีเคพลัสและกูเกิล โครม

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์เรียงลำดับตามช่วงเวลา รายชื่อเว็บเบราว์เซอร.

ดู จีทีเคพลัสและรายชื่อเว็บเบราว์เซอร์

วิจิททูลคิท

ในทางคอมพิวเตอร์ วิจิททูลคิท (อังกฤษ Widget toolkit) หมายถืงชิ้นส่วนพื้นฐานในการสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) วิจิททูลคิทมักอยู่ในรูปไลบรารี หรือ application framework.

ดู จีทีเคพลัสและวิจิททูลคิท

อีพิฟานี (เว็บเบราว์เซอร์)

Epiphany เป็นเว็บเบราว์เซอร์ของระบบเดสก์ท็อป GNOME พัฒนาต่อจากเว็บเบราว์เซอร์ Galeon Epiphany เป็นหนึ่งในเบราว์เซอร์ที่ใช้ตัววาดหน้าเว็บ เว็บคิต(WebKit) ในส่วนของตัวโปรแกรมที่ติดต่อกลับผู้ใช้พัฒนาด้วย GTK+ Epiphany มีความสามารถในระดับเดียวกับเบราว์เซอร์ยุคใหม่ตัวอื่นๆ เช่น มีระบบแท็บ, คุกกี้, ระบบป้องกันป๊อบอัพ และการติดตั้งโปรแกรมเสริมที่เรียกว่า extension จุดเด่นของ Epiphany คือพัฒนาโดยอิงตาม GNOME Human Interface Guidelines ซึ่งทำให้มีส่วนติดต่อผู้ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกับโปรแกรมอื่นๆ ของ GNOME Epiphany พัฒนาต่อจาก Galeon โดย Marco Pesenti Gritti (ซึ่งเป็นผู้เริ่มพัฒนา Galeon เช่นกัน).

ดู จีทีเคพลัสและอีพิฟานี (เว็บเบราว์เซอร์)

เอกซ์เอฟซีอี

อกซ์เอฟซีอี (Xfce) เป็น สภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อป (desktop environment) สำหรับ ยูนิกซ์ หรือระบบที่คล้ายยูนิกซ์ เช่น ลินุกซ์ โซลาริส หรือ บีเอสดี ที่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ หรือเครื่องที่ไม่เหมาะสมกับกะโนมหรือเคดีอี.

ดู จีทีเคพลัสและเอกซ์เอฟซีอี

Synaptic

Synaptic เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนโดยใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้แบบ GTK+ โดยเรียกคำสั่งจากระบบแพกเกจ Advanced Packaging Tool ของระบบปฏิบัติการในตระกูลเดเบียน Synaptic มักจะใช้จัดการกับแพกเกจซอฟต์แวร์แบบ deb (อย่างไรก็ตาม มีการนำ Synaptic ไปใช้กับแพกเกจระบบอื่น เช่น RPM เป็นต้น) ผู้ใช้สามารถใช้ Synaptic ในการติดตั้ง, ลบ, อัพเกรดแพกเกจของซอฟต์แวร์ในระบบได้.

ดู จีทีเคพลัสและSynaptic

Ubuntu Software Center

โปรแกรมศูนย์ซอฟต์แวร์ Ubuntu (Ubuntu Software Center) (ชื่อดั้งเดิม AppCenter) เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับค้นหา ติดตั้ง และถอดถอนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ Ubuntu พัฒนาบนพื้นฐานของ GNOME และเป็นส่วนติดต่อผู้ใช้ของ Advanced Packaging Tool เป็นส่วนหนึ่งของระบบจัดการแพคเกจ Debian Ubuntu Software Center สามารถเพิ่ม repositories โปรแกรมศูนย์ซอฟต์แวร์ Ubuntu เขียนขึ้นด้วยภาษา Python programming language หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์.

ดู จีทีเคพลัสและUbuntu Software Center

หรือที่รู้จักกันในชื่อ GTK+