โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จิ๋นซีฮ่องเต้

ดัชนี จิ๋นซีฮ่องเต้

ฉินฉื่อหฺวังตี้ ตามสำเนียงกลาง หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ตามสำเนียงอื่น (260–210 ก่อนคริสตกาลWood, Frances. (2008). China's First Emperor and His Terracotta Warriors, pp. 2-33. Macmillan Publishing, 2008. ISBN 0-312-38112-3.) เป็นชื่อที่ปัจจุบันใช้เรียกพระเจ้าเจิ้ง (Zhèng) แห่งเมืองฉิน มีความหมายตรงตัวว่า "ปฐมจักรพรรดิฉิน" พระองค์ทรงสถาปนาราชวงศ์ฉินเมื่อปีที่ 220 ก่อนคริสตกาล และทรงผนวกดินแดนจีนสำเร็จในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นอันสิ้นสุดยุครณรัฐDuiker, William J. & al.

63 ความสัมพันธ์: ชาวฮั่นพ.ศ. 283พ.ศ. 284พ.ศ. 334การลอบสังหารฐานันดรศักดิ์จีนฝูซูยุทธนาวีบักดั่ง (ค.ศ. 1288)ยุควสันตสารทรัฐฉินราชลัญจกรจีนราชวงศ์ฉินราชวงศ์โจวตะวันออกรายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราชรายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ฉินรายพระนามจักรพรรดิจีนลฺหวี่ ปู้เหวย์วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2008ศิลปะเกี่ยวกับความตายสุสานจักรพรรดิฉินที่ 1สงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้หลี่ ซิ่นหลี่ ซือหวัง เจี้ยนหาน เฟยจื่อหนานเยฺว่อัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน)อาน เซือง เวืองอินเดียนาโจนส์ แอนด์ดิอิมเพอเรอร์สทูมอ๋องผ่าทะลุฟ้า รักทะลุมิติฌ้อปาอ๋อง ยอดขุนพลลำน้ำเลือดจักรพรรดิฮั่นเกาจู่จักรพรรดิจีนจักรพรรดิฉินที่ 2จักรวรรดิจีนจาง เฟิงอี้จิงเคอจิ๋นซีฮ่องเต้ (ภาพยนตร์จีนชุด)จ้วงถัง กั๋วเฉียงทางด่วนในประเทศจีนขุนศึกสะท้านปฐพีดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลาคราแวตคิงดอมตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีนตั๋งโต๊ะซีอานประวัติศาสตร์จีน...ประเทศเวียดนามป้อมปราการโก๋ลวาน้ำอมฤตไท่ช่างหฺวังเมิ่งเถียนเลียดก๊กเล่า ไอ่เศรษฐศาสตร์เผาตำรา ฝังบัณฑิตเจาะเวลาหาจิ๋นซี (ละครโทรทัศน์)เจาะเวลาหาจิ๋นซี (นวนิยาย)เจ้าเกาเทศมณฑลอู๋ ขยายดัชนี (13 มากกว่า) »

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และชาวฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 283

ทธศักราช 283 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และพ.ศ. 283 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 284

ทธศักราช 284 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และพ.ศ. 284 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 334

ทธศักราช 334 ใกล้เคียงกับ ก่อน..

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และพ.ศ. 334 · ดูเพิ่มเติม »

การลอบสังหาร

การลอบสังหาร (Assassination) การฆาตกรรมบุคคคลที่มีชื่อเสียงด้วยการวางแผนล่วงหน้า การลอบสังหารอาจจะเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุผลทางอุดมคติ การเมือง หรือการทหารเป็นมูลเหตุชี้นำก็เป็นได้ และนอกจากนี้ ผู้ลอบสังหาร (Assassin) เองก็อาจจะได้รับแรงจูงใจจากค่าจ้าง ความแค้น ความมีชื่อเสียง หรือความพิการทางจิตด้ว.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และการลอบสังหาร · ดูเพิ่มเติม »

ฐานันดรศักดิ์จีน

นชั้นฐานันดรจีน ประกอบด้วย กษัตริย์และขุนนางของจักรวรรดิจีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญขององค์การทางการเมืองและสังคมตามประเพณีจีน แม้ว่าแนวคิดเรื่องฐานันดรศักดิ์แบบสืบตระกูลจะปรากฏมาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นอย่างน้อย แต่ระบบฐานันดรศักดิ์ที่แน่นอนนั้นมีขึ้นครั้งแรกในช่วงราชวงศ์โจว หลายพันปีให้หลัง ระบบดังกล่าวเปลี่ยนแปลงรูปแบบค่อนข้างน้อย แต่เนื้อหาสาระมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง รูปแบบฐานันดรศักดิ์ชุดท้ายสุดมีอยู่ในสมัยราชวงศ์ชิง จนถูกล้มเลิกไปเมื่อเกิดการปฏิวัติซินไฮ่ของกลุ่มนิยมสาธารณรัฐเมื่อ..

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และฐานันดรศักดิ์จีน · ดูเพิ่มเติม »

ฝูซู

ฝูซู ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ฮูโซ ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน (สิ้นพระชนม์ 210 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระโอรสองค์หัวปีและรัชทายาทของฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินของจักรวรรดิจีน.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และฝูซู · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนาวีบักดั่ง (ค.ศ. 1288)

ทธนาวีบักดั่ง ยุทธนาวีบักดั่ง (Battle of Bạch Đằng) เป็นสงครามเรือระหว่างมองโกลและไดเวียดหรือเวียดนามในปัจจุบัน ที่แสดงแสนยานุภาพของกองเรือเล็ก ๆ อย่างไดเวียด ว่าทำลายกองเรือที่ทรงอานุภาพของมองโกลลงได้.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และยุทธนาวีบักดั่ง (ค.ศ. 1288) · ดูเพิ่มเติม »

ยุควสันตสารท

แผนที่แสดงที่ตั้งของนครรัฐต่าง ๆ ในยุควสันตสารท วสันตสารท หรือภาษาจีนว่า ชุนชิว (Spring and Autumn period) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ อยู่ระหว่าง ประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช (บางข้อมูลถือ 365 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 482 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งถูกรวมไว้ด้วยกันกับยุคจ้านกว๋อ (หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อเลียดก๊ก) การรบในยุคชุนชิวนั้นหลายเรื่องได้อ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา อีกแง่หนึ่ง เป็นยุคที่นักปราชญ์บัณฑิตแต่ละสาขาได้ถือกำเนิดและมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้แต่งตำราหรือคำสอนต่าง ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, เม่งจื๊อ, ม่อจื๊อ เป็นต้น ในส่วนของปราชญ์แห่งสงคราม ก็คือ ซุนวู นั่นเอง.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และยุควสันตสารท · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฉิน

ฉิน เป็นรัฐจีนโบราณในช่วงราชวงศ์โจว ถือกำเนิดจากการยึดดินแดนฟากตะวันตกที่เคยเสียให้แก่ชาวซีหรง (西戎) ความที่ตั้งอยู่ชายขอบด้านตะวันตกของอารยธรรมจีนนี้เอง ทำให้รัฐฉินขยายพื้นที่และพัฒนาได้อย่างที่รัฐคู่แข่งทางที่ราบจีนเหนือไม่สามารถทำได้มาก่อน ครั้นเมื่อปฏิรูปกฎหมายขนานใหญ่ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล รัฐฉินก็กลายเป็นหนึ่งในผู้ทรงอำนาจที่โดดเด่นของกลุ่มเจ็ดรณรัฐ (戰國七雄) จนผนวกดินแดนจีนทั้งมวลได้ในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาลภายใต้การนำของฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝; "ปฐมจักรพรรดิฉิน") ก่อตั้งเป็นจักรวรรดิฉิน (秦朝) ซึ่งแม้จะดำรงอยู่ไม่นาน แต่ก็มีอิทธิพลมากยิ่งในประวัติศาสตร์จีนยุคหลัง หมวดหมู่:สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 3 หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศจีน.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และรัฐฉิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชลัญจกรจีน

ราชลัญจกรจีน (Imperial Seal of China) หรือ ตราแผ่นดินตกทอด (Heirloom Seal of the Realm) เป็นตราประทับทำจากหยกเหอชื่อปี้ (和氏璧).

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และราชลัญจกรจีน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฉิน (Qin Dynasty; 秦朝) หรือจิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง พ.ศ. 323–พ.ศ. 338 (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ.) ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐและทำสงครามกันอยู่เนืองๆ ต่อมากษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ คนไทยจึงออกเสียงเพี้ยนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 322–พ.ศ. 333 ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงใน พ.ศ. 337 อ๋องแห่งรัฐฉิน ได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก และสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ นั่นเอง นครหลวงอยู่ที่เมืองเสียนหยาง (หรือซีอานในปัจจุบัน) ฉินอ๋องได้หาชื่อใหม่ให้ตนเอง เนื่องจากเห็นว่า ตนสามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ คำว่า อ๋อง ไม่ยิ่งใหญ่พอ จึงได้เลือกคำว่า หวงตี้ (ฮ่องเต้) ซึ่งแปลว่า "เจ้าแผ่นดิน หวาง หรือ อ๋อง แปลว่า เจ้า ตี๋ลี่ หรือ ตี้ แปลว่า แผ่นดิน" มาใช้ แล้วเรียกชื่อตน ตามชื่อราชวงศ์ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้เรียกตัวเองว่า "เจิ้น" (เดิมเรียกว่า "กู") เป็นการเปิดฉากโอรสแห่งสวรรค์ครองเมือง มีการปฏิรูประบบตัวอักษร ระบบชั่ง, ตวง, วัด (เช่น เพลารถ) ให้เหมือนกันทั้งประเทศ (สำหรับตัวอักษรนั้น อ่านออกเสียงต่างกันได้ แต่จะต้องเขียนเหมือนกัน เช่นเลข 1 เขียนด้วยขีดแนวนอนขีดเดียว จีนกลางออกเสียงว่า "อิ๊" แต่แต้จิ๋วอ่านว่า "เจ๊ก") และแบ่งการปกครองเป็นระบบจังหวัด, อำเภอ นับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ต่อมาฉินซีฮ่องเต้ได้ให้ขุนศึกเหมิงเถียนหรือเม่งเถียน ยกทัพไปปราบชนเผ่าซ่งหนู (เฉียนหนู) แล้วก่อสร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน ฉินซีฮ่องเต้ ได้ชื่อว่า เป็นทรราชที่โหดร้ายทารุณมาก ปกครองด้วยความเฉียบขาด อำมหิต กล่าวกันว่า แค่มีคนจับกลุ่มคุยกัน ก็จะถูกจับไปประหารทันที ข้อหาให้ร้ายราชสำนัก มีการยัดเยียดข้อหาแล้วประหารทั้งโคตร การประหารมีทั้งตัดหัว, ตัดหัวเสียบประจาน หรือ "ห้าม้าแยกร่าง" (เอาเชือกมัดแขนขาไว้กับม้าหรือรถม้า 5 ทิศ แล้วให้ม้าควบไป ฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ) และกรณีที่อื้อฉาวมากคือ การเผาตำราสำนักขงจื๊อ แล้วจับบัณฑิตสำนักขงจื๊อสังหารหมู่ ด้วยการเผาทั้งเป็น, ฝังทั้งเป็น หรือฝังดินแล้วตัดหัว แม้แต่รัชทายาทฝูซู (พระโอรสองค์โต) ยังถูกเนรเทศไปชายแดน ไป "ช่วย" เหมิงเถียนสร้างกำแพงเมืองจีน ด้วยข้อหา ขัดแย้งกับพระองค์ จึงมีคนหาทางปลงพระชนม์ตลอดเวลา แม้แต่พระสหายที่สนิทก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังกลัวความตายมาก พยายามเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะมาทุกวิถีทาง แต่สุดท้าย ฉินซีฮ่องเต้ก็ป่วยหนัก และสิ้นพระชนม์ลง ในระหว่างที่ออกตามหายาอายุวัฒนะ ในแดนทุรกันดารนั่นเอง และได้มีพระราชโองการเรียกฝูซู รัชทายาทกลับมา เพื่อสืบราชบัลลังก์ (โอรสองค์นี้มีนิสัยอ่อนโยนกว่าบิดา และยังเก่งกาจอีกด้วย จึงเป็นที่คาดหวังจากราษฎรเป็นอย่างมาก) แต่หูไห่ โอรสอีกองค์ ได้ร่วมมือกับเจ้าเกา ขันทีและอัครเสนาบดี และหลี่ซือ ปลอมราชโองการ ให้ฝูซูและเหมิงเถียนฆ่าตัวตาย แล้วตั้งหูไห่เป็นฮ่องเต้องค์ถัดมา เรียกว่า พระเจ้าฉินที่สอง หรือฉินเอ้อซื่อ ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม แต่ไร้สามารถ ผิดกับพระบิดา แถมยังอยู่ใต้การชักใยของขันทีเจ้าเกา ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มจม หูไห่ได้ใช้เงินทองจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้างสุสานของฉินซีฮ่องเต้ และยังรีดภาษีจากราษฎรอีก ทำให้ประชาชนก่อกบฏขึ้น ในเวลานั้น มีกบฏอยู่หลายชุด มีข้อตกลงกันว่า หากใครบุกเข้าทางกวนจง ของราชวงศ์ฉินได้ก่อน จะได้เป็นใหญ่ หลิวปัง ได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น และได้ผู้ช่วยมือดีมา 3 คน คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ มาช่วยในการวางแผนรบ และประสานงานต่างๆ จึงโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ โดยเจ้าเกาได้ฆ่าหลี่ซือ ปลงพระชนม์หูไห่ แล้วตั้งจื่ออิง หลานของหูไห่เป็นฮ่องเต้แทน แต่เจ้าเกาก็ถูกจื่ออิงฆ่าตาย จื่ออิงยอมสวามิภักดิ์ต่อหลิวปัง เวลาเดียวกัน เซี่ยงอี้ ได้ละเมิดข้อตกลง โดยตั้งตัวเป็นซีฉู่ป้าอ๋อง หรือฌ้อป้าอ๋อง (แปลว่า อ๋องแห่งแคว้นฉู่ ที่ยิ่งใหญ่เหนืออ๋องอื่นๆ ว่ากันว่า เซี่ยงอี้นิยมสงคราม และคิดจะทำให้แผ่นดินแตกแยก กลับไปสู่ยุคจ้านกว๋ออีกครั้ง) เซี่ยงอี้ได้เผาพระราชวังอาฝางกงของฉินซีฮ่องเต้ ปลงพระชนม์จื่ออิง แล้วสู้รบกับหลิวปัง การสู้รบได้ยืดเยื้ออยู่นาน เซี่ยงอี้คิดจะแบ่งแผ่นดินปกครองกับหลิวปัง แต่ในที่สุด หลิวปังได้ยกทัพเข้าสู้รบขั้นเด็ดขาด ทำให้เซี่ยงอี้ต้องฆ่าตัวตายในที่สุด เรื่องราวสมัยราชวงศ์ฉิน มีอยู่ในวรรณกรรมไซ่ฮั่น ซึ่งกล่าวถึงการสิ้นสุดราชวงศ์ฉินและการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น ปัจจุบัน ราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นราชวงศ์แรกของจีน ด้วยมีหลักฐานทางโบรารคดีและประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการมากที่สุดและแผ่นดินก็ยงได้ถูกรวมเป็นหนึ่งครั้งแรก และยกให้ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนด้วย ด้วยคำว่า "China" ในภาษาอังกฤษ หรือคำว่า "จีน" ในภาษาไทยก็ล้วนเพี้ยนมาจากคำว่าฉินนี้ทั้งสิ้น หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ฉิน หมวดหมู่:ยุคเหล็ก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 323 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และราชวงศ์ฉิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจวตะวันออก

ราชวงศ์โจวตะวันออก(771-256 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองสืบต่อจากราชวงศ์โจวตะวันตกโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ลั่วหยาง ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองซีอาน เมืองหลวงเก่าของราชวงศ์โจวตะวันตกปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์นี้คือพระเจ้าโจวผิงหวัง ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์แค่ในนามเพราะองค์กษัตริย์ทรงไร้พระราชอำนาจที่จะปกครองเหล่าอ๋องต่างๆ ได้ เนื่องจากอ๋องต่างๆ ได้แข็งเมืองและทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน ในสมัยราชวงศ์นี้การแย่งชิงอำนาจกันของเหล่าอ๋องแบ่งเป็น 2 ยุคโดยยุคแรกเรียกว่า ยุคชุนชิว หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และราชวงศ์โจวตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช

มหาราช (The Great) เป็นชื่อต่อท้ายพระนามของกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนทั้งด้านการรบ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ การรักษาเอกราชของประเทศ คงไว้ด้วยความยุติธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดี ในกลุ่มคนที่พูดภาษานั้น ๆ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น "มหาราช" เขียนไว้ที่ท้ายพระนาม.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และรายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ฉิน

ราชวงศ์ฉิน ปกครองจีนระหว่าง 221 ปีก่อนคริสตกาล – 207 ปีก่อนคริสตกาล ฉ.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และรายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ฉิน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิจีน

รายพระนามจักรพรรดิจีน รวมถึงรัชทายาทของประเทศจีนที่มีชื่อต่างๆ จากยุคโบราณ จนถึงราชวงศ์ชิง การปกครองมักจะถือกรรมสิทธิ์คือ กษัตริย์ (Chinese: 王 Wáng) มีการแบ่งแยกจีนในรัฐต่อสู้กันแยกเป็นสัดส่วน รายพระนามจักรพรรดิจีน มี ดังนี้ สำหรับลิงก์เหล่านี้เพื่อดูว่าเหล่าราชวงศ์มีความสัมพันธ์กัน ไดแก่ พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในยุคโบราณ → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงต้น → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงกลาง → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงปล.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และรายพระนามจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

ลฺหวี่ ปู้เหวย์

ลฺหวี่ ปู้เหวย์ (291–235 ก่อนคริสตกาล) เป็นนักการเมืองแห่งรัฐฉิน (秦国) ในยุครณรัฐ (戰國時代) ของประเทศจีนโบราณ เดิมเป็นพ่อค้าที่มีอิทธิพลมาก มาจากรัฐเว่ย์ (卫国) ได้คบหากับพระเจ้าฉินจวังเซียง (秦莊襄王) แต่ครั้งที่ยังเป็นเจ้าชายยศน้อยและถูกจับเป็นองค์ประกันอยู่ในรัฐจ้าว (赵国) ต่อมาลฺหวี่ ปู้เหวย์ ได้ใช้สินบนและกลวิธีต่าง ๆ ช่วยเหลือพระเจ้าฉินจวังเซียงให้ได้ครองบัลลังก์รัฐฉินสืบต่อจากพระเจ้าฉินเซี่ยวเหวิน (秦孝文王) พระบิดา เมื่อ 249 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าฉินจวังเซียงจึงตั้งลฺหวี่ ปู้เหวย์ เป็นอัครมหาเสนาบดี (相國) มีบรรดาศักดิ์ว่า เหวินซิ่นโหฺว (文信侯) ครั้นพระเจ้าฉินจวังเซียงสิ้นพระชนม์เมื่อ 247 ปีก่อนคริสตกาล อิ๋ง เจิ้ง (嬴正) โอรส สืบราชสมบัติต่อ และเป็นที่รู้จักด้วยสมัญญา ฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝; "ปฐมจักรพรรดิฉิน") ลฺหวี่ ปู้เหวย์ ก็ได้สำเร็จราชการแทนอิ๋ง เจิ้ง และเป็นอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยนี้ด้วย.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และลฺหวี่ ปู้เหวย์ · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2008

วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2008 เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง จำนวน 12 ทีม โดยการแข่งขันในรอบคัดเลือก เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม ส่วนรอบชิงชนะเลิศ จัดในวันที่ 9 - 13 กรกฎาคม ที่เมืองโยโกฮามา, ประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ 2008 · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะเกี่ยวกับความตาย

ลปะเกี่ยวกับความตาย (Funerary art) คือประเภทของงานศิลปะที่เป็นรูปแบบหรือตั้งอยู่กับร่างของผู้ตาย ที่เก็บศพเป็นคำกว้างๆ ที่สใช้สำหรับบรรจุผู้ตาย ขณะที่สมบัติสุสานคือสิ่งของที่ฝังหรือตั้งไว้กับผู้ตาย—ที่นอกไปจากร่างของผู้ตาย—ที่ได้รับการวางไว้กับผู้ตาย สิ่งของต่างๆ ที่ฝังไปกับผู้ตายอาจจะรวมทั้งสิ่งของส่วนตัว หรือวัตถุหรือสิ่งของที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับทำการฝัง หรือวัตถุหรือสิ่งของขนาดย่อที่เชื่อกันว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ตายในโลกใหม่ ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆ ในอดีตมักจะมาจากวัตถุที่ฝังไว้กับผู้ตายเหล่านี้ ศิลปะเกี่ยวกับความตายอาจจะมีวัตถุประสงค์หลายประการที่นอกไปจากเพื่อความมีสุนทรีย์ในการแสดงถึงความเชื่อหรืออารมณ์เกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย ศิลปะเกี่ยวกับความตายอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการฝังศพ, เป็นสิ่งของที่ผู้ตายจะนำไปใช้ได้ในโลกหน้า และ เป็นวัตถุเพื่อการเฉลิมฉลองชีวิตและความสำเร็จของผู้ตาย หรือ เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยในประเพณีการสักการะบรรพบุรุษ (ancestor veneration) นอกจากนั้นศิลปะเกี่ยวกับความตายก็อาจจะเป็นเครื่องเตือนถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขารของมนุษย์, เครื่องแสดงถึงคุณค่าและบทบาทของวัฒนธรรม และเป็นการเอาใจวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้กลับมาหลอกหลอนผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ วัฒนธรรมหลายวัฒนธรรมมีบุคลาธิษฐานยมทูต เช่นเทพเฮอร์มีสของกรีก หรือเทพชารุน ผู้เป็นผู้นำทางวิญญาณไปยังโลกสำหรับผู้ตาย ศิลปะเกี่ยวกับความตายมีมาตั้งแต่สมัยมนุษย์นีอันเดอร์ธอลกว่า 100,000 ปีมาแล้ว และดำเนินในทุกชาติทุกวัฒนธรรมต่อมา—ยกเว้นวัฒนธรรมฮินดูที่มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่เป็นข้อยกเว้น งานศิลปะอันมีชื่อเสียงในวัฒนธรรมยุคโบราณในอดีต—ตั้งแต่พีระมิดอียิปต์ และสมบัติฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ไปจนถึง สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ล้อมรอบฮวงซุ้ยของจักรพรรดิจีนฉินสื่อหวงแห่งราชวงศ์ฉิน, the ที่เก็บศพฮาลิคาร์นาสซัส, เรือฝังที่ซัททันฮู และ ทัชมาฮาล—เป็นที่เก็บศพหรือที่พบสิ่งของที่ฝังไปกับผู้ตายเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่แล้วศิลปะเกี่ยวกับความตายมักจะสร้างขึ้นโดยผู้อุปถัมภ์ศิลปินผู้มีฐานะดี ส่วนการฝังศพหรือทำศพของผู้มีฐานะยากจนก็อาจจะเพียงแต่เป็นภาพที่เขียนหยาบๆ ง่ายๆ และสิ่งของติดตัวที่เป็นสมบัติเมื่อมีชีวิตอยู.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และศิลปะเกี่ยวกับความตาย · ดูเพิ่มเติม »

สุสานจักรพรรดิฉินที่ 1

นฉินสื่อหวง (ฉินสื่อหวงปิงหมาหย่ง แปลว่า หุ่นทหารและม้าของฉินสื่อหวง) คือ ฮวงซุ้ยของจักรพรรดิจีนฉินสื่อหวงแห่งราชวงศ์ฉิน ตั้งอยู่ที่ตำบลหลินถง ห่างจากเมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน สุสานฉินสื่อหวงได้ค้นพบโดยบังเอิญเมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 โดยชาวนาในหมู่บ้านซีหยาง ชื่อ หยางจื้อฟา ในขณะที่ขุดดินเพื่อทำบ่อน้ำ บริเวณเชิงเขาหลีซาน ห่างจากตัวเมืองซีอาน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 35 กม.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และสุสานจักรพรรดิฉินที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้

สงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้ (Qin's wars of unification) เป็นสงครามครั้งสำคัญที่สุดของจีน เกิดขึ้นเมื่อ 230 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับปลาย ยุคจ้านกว๋อ ซึ่งแคว้นฉินที่นำโดย ฉินหวง ได้พยายามรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่ง โดยแคว้นแรกที่โปรดให้เข้าตีก็คือ แคว้นหาน ไม่นานแคว้นหานก็ยอมแพ้หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงนำทัพบุกเข้าตี แคว้นจ้าว ไม่นาน แคว้นจ้าวก็ยอมแพ้หลังจากนั้นก็โปรดให้บุกแคว้นเอี้ยน,แคว้นเว่ย,แคว้นเย่ว์,แคว้นฉู่และโปรดให้บุก แคว้นฉี เป็นแคว้นสุดท้ายเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้ในที่สุดฉินอ๋องทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จและในภายหลังทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนทรงพระนามว่า จิ๋นซีฮ่องเต้ หมวดหมู่:สงคราม.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และสงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้ · ดูเพิ่มเติม »

หลี่ ซิ่น

หลี่ซิน (Li Xin) แม่ทัพแห่ง รัฐฉิน ในช่วง ยุครณรัฐ เขามีส่วนสำคัญในการช่วย ฉินฉื่อหฺวังตี้ หรือ ฉินอ๋องให้สามารถรวบรวมแผ่นดินทั้งหกเป็นปึกแผ่นนอกจากนี้เขายังเป็นบรรพบุรุษรุ่นที่ 5 ของแม่ทัพคนสำคัญในสมัย ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เจ้าของสมญานาม แม่ทัพเหินหาว หลี กวั่ง และจักรพรรดิของ ราชวงศ์ถัง ทุกพระองค์.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และหลี่ ซิ่น · ดูเพิ่มเติม »

หลี่ ซือ

หลี่ซือ (李斯; Li Si, 280 BC- 208 BC) ขุนนางคนสำคัญในสมัย ราชวงศ์ฉิน เกิดเมื่อ 280 ปีก่อนคริสตกาล (พ.ศ. 263) ที่แคว้นฉู่Li Si, Chancellor of the Universe in เมื่อยังหนุ่มได้รับราชการในแคว้นฉู่แต่ไม่เจริญในหน้าที่การงานจึงได้เดินทางออกจากแคว้นฉู่มายังแคว้นฉิน และได้พบกับ หลี่ปู้เว่ย อุปราชของแคว้นฉินจนทำให้เขาได้มีโอกาสพูดคุยกับ ฉินอ๋อง หรือ ฉินซีฮ่องเต้ ในเวลาต่อมาถึงแผนการรวมแผ่นดินจีนของฉินอ๋องโดยแผนการแรกของหลี่ซือคือการส่งมือสังหารไปสังหารขุนนางคนสำคัญของแคว้นต่าง.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และหลี่ ซือ · ดูเพิ่มเติม »

หวัง เจี้ยน

หวัง เจี้ยน ขุนศึกคนสำคัญของ รัฐฉิน ในช่วง ยุครณรัฐ ผู้สามารถพิชิต รัฐจ้าว รัฐเยี่ยน รัฐฉู่ และ รัฐฉี ลงได้อย่างราบคาบโดยหนึ่งในรองแม่ทัพของหวังเจี้ยนคือ เมิ่ง อู่ นั้นเป็นบิดาของแม่ทัพ เมิ่ง เถียน ขุนศึกคู่พระทัยของ ฉินซีฮ่องเต้ โดยหวังเจี้ยนเป็นหนึ่งในสี่ขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่แห่ง ยุครณรัฐ ส่วนอีก 3 คนได้แก่ ไป่ ฉี เหลียน ป๋อ และ หลี่ มู่ หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:ขุนนางจีน หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลส่านซี.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และหวัง เจี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

หาน เฟยจื่อ

หาน เฟยจื่อ (Han Fei Tzu) (ca. 280-233 BC) เป็นเชื้อพระวงศ์ของรัฐหาน เป็นคนติดอ่างพูดไม่เก่ง แต่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนหนังสือ หานเฟยเป็นนักปรัชญาชาวจีนสายนิตินิยมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุครณรัฐยุคจ้านกว๋อ (战国)(475-221BC) หานเฟยเป็นนักปรัชญาในสำนักหลักปรัชญานิตินิยม(法家) เป็นศิษย์ของสวินจื่อ(荀子)หรือเรียกอีกชื่อว่านักปรัชญาหยู(儒家) ต่อมาได้เสนอหลักการปกครองโดยใช้หลักนิติธรรม ให้ทุกคนต้องอยู่ใต้กฎหมาย และตั้งโรงเรียนนิติธรรมขึ้น หานเฟยได้เรียบเรียงแนวคิดการปกครองของตนเป็นข้อเขียนขึ้นมาทั้งสิ้น 55 บท มีชื่อว่า "หานเฟยจื่อ"เพื่อให้เหมาะสมกับการแก้ปัญหาสังคมการเมืองในยุคนั้น ทว่างานเขียนเหล่านี้ไม่ได้รับความสนใจในรัฐหานเท่าใดนัก แต่กลับเป็นที่นิยมในรัฐฉินหรือจิ๋น (秦) ซึ่งเป็นรัฐที่เข้มแข็งเกรียงไกรในสมัยนั้น และเมื่อตอนเจ้านครรัฐฉิน (ก่อนจะเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้) ได้ยกทัพไปบุกรัฐหาน เจ้านครรัฐหานจึงจัดส่งหานเฟยจื่อไปเป็นทูตพิเศษไปรัฐฉินเพื่อแสวงหาสันติภาพ เจ้านครรัฐฉินก็ถูกใจในความคิดของหานเฟยจื่อเป็นอย่างมาก จึงเทียบเชิญหานเฟยจื่อ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่รัฐฉิน แต่หลีซือ (李斯) เป็นศิษย์ของสวินจื่อและเป็นศิษย์รุ่นน้องของหานเฟยจื่อ ณ เวลานั้นก็ดำรงตำแหน่งเสนาบดีอยู่ที่รัฐฉิน ทราบถึงความปรีชาสามารถของหานเฟยจื่อซึ่งสูงส่งกว่าตน ด้วยความอิจฉาริษยา จึงได้ทูลข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีหานเฟยจื่อต่อเจ้านครฉิน ทำให้หานเฟยจื่อต้องติดคุกและถูกฆ่าตายด้วยการวางยาพิษในอาหาร (234BC).

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และหาน เฟยจื่อ · ดูเพิ่มเติม »

หนานเยฺว่

หนานเยฺว่ หรือ นามเหวียต (Nam Việt) เป็นอาณาจักรโบราณที่มีอาณาเขตปกคลุมบริเวณมณฑลทางตอนใต้ของจีน อันได้แก่ กวางตุ้ง, กว่างซี และยูนนาน ไปจนถึงตอนเหนือของเวียดนามในปัจจุบัน หนานเยฺว่ได้รับการก่อตั้งในช่วง 204 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงการล่มสลายของราชวงศ์ฉินของจีน หนานเยฺว่ได้ถูกก่อตั้งโดย จ้าว ถัว ผู้ปกครองดินแดนทะเลจีนใต้ อาณาเขตของหนานเยฺว่ในช่วงแรกประกอบด้วยหนานไฮ่, กุ้ยหลิน และ เซียง ใน 196 ปีก่อนคริสต์ศักราช จ้าว ถัว ได้สวามิภักดิ์ต่อจักรพรรดิฮั่นเกาจู่แห่งราชวงศ์ฮั่น ดินแดนหนานเยฺว่ได้ถูกเรียกโดยผู้ปกครองชาวจีนฮั่นว่าเป็น "คนรับใช้ชาวต่างชาติ" มีภาพพจน์เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน ประมาณ 183 ปีก่อนคริสต์ศักราช ความสัมพันธ์ระหว่างหนานเยฺว่และราชวงศ์ฮั่นได้ห่างเหินต่อกันมากขึ้น และ จ้าว ถัวได้เริ่มที่จะสถาปนาอ้างตัวเองว่าเป็นจักรพรรดิอีกทั้งประกาศอาณาจักรหนานเยฺว่เป็นอิสระ ใน 179 ปีก่อนคริสต์ศักราช ความสัมพันธ์ระหว่างหนานเยฺว่และราชวงศ์ฮั่นกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง จ้าว ถัวได้ยอมสวามิภักดิ์ส่งเครื่องราชบรรณาการต่อราชวงศ์ฮั่นอีกครั้ง ในสมัยของจักรพรรดิฮั่นเหวิน ในฐานะเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของราชวงศ์ฮั่นของจีน อย่างไรก็ตามแม้จะมีการส่งบรรณาการและการยอมสวามิภักดิ์ หนานเยฺว่ยังคงมีอิสระและยังคงปกครองตนเองจากชาวจีนฮั่น และจ้าว ถัว ยังอ้างตนเป็น "จักรพรรดิ" แห่งหนานเยฺว่ จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ ในช่วง 113 ปีก่อนคริสตกาล ผู้นำ 4 รุ่น แห่งตระกูลจ้าว จ้าว ซิง มีแนวโน้มที่มีใจฝักใฝ่จีนโดยได้พยายามขอให้ราชวงศ์ฮั่นยอมรับหนานเยฺว่เป็นส่วนหนึ่งอย่างเป็นทางการ อัครมหาเสนาบดีของพระองค์ ลฺหวี่เจีย ได้คัดค้านอย่างรุนแรงและได้สมคบคิดวางแผนกับขุนนางคนอื่นๆทำการลอบสังหารจ้าว ซิง และอัญเชิญพระเชษฐา จ้าว เจี้ยนเต๋อที่มีพระชนม์มากกว่าขึ้นครองราชย์ ลฺวี่เจียได้บับบังคับจ้าว เจี้ยนเต๋อตั้งตนเป็นอิสระแข็งข้อต่อราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเท่ากับเผชิญหน้ากับราชวงศ์ฮั่น ในปีต่อมาจักรพรรดิฮั่นอู่แห่งราชวงศ์ฮั่นได้ส่งกองทัพ 100,000 คน ทำสงครามบุกหนานเยฺว่ จนกระทั่งเมื่อถึงปลายปีเดียวกันนั้น กองทัพราชวงศ์ฮั่นได้บุกยึดและทำลายหนานเยฺว่ลงอย่างราบคาบและสถาปนาเป็นดินแดนของชาวจีนฮั่น ดินแดนหนานเยฺว่ได้สิ้นสุดลงนับแต่บัดนั้น โดยดำรงอยู่ 93 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 5 รุ่น การก่อตั้งอาณาจักรหนานเยฺว่เกิดมาจากการที่เป็นเมืองหน้าด่านของแคว้นหลิงหนานในระหว่างช่วงความวุ่นวายสับสนระหว่างการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน เปิดโอกาสให้แคว้นทางตอนใต้ของจีนได้มีอิสระและหลีกเลี่ยงการปกครองที่กดขี่จากชาวจีนฮั่นที่มาจากแคว้นทางเหนือของจีน อาณาจักรหนานเยฺว่ถูกก่อตั้งโดยผู้นำชาวจีนฮั่นที่มาจากภาคกลางของจีนตอนบนซึ่งนำไปสู่การนำรูปแบบการปกครองแบบเจ้าขุนมูลนายจีน, เทคนิควิธีทางการเกษตร, ข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย มาสอนเผยแพร่แก่ชนพื้นเมืองแคว้นทางตอนใต้ อาทิเช่น การรับรู้ภาษาจีนและระบบการเขียนแบบจีน ผู้นำหนานเยฺว่แทบทุกพระองค์สนับสนุนนโยบาย "สามัคคีและรวบรวมชนเผ่าไป่เยฺว่" ประกอบกับตัวผู้นำเองมีใจฝักใฝ่จีนโดยมีการเชิญชวนให้ชาวจีนฮั่นผู้เป็นมิตรมาแสวงโชคโดยอพยพจากดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำหวงโฮทางตอนเหนือเข้ามาอาศัยในดินแดนตอนใต้ พวกเขายังสนับสนุนนโยบาย เปลี่ยนให้เป็นจีน โดยการกลมกลืนระหว่างสองวัฒนธรรมและผู้คน ระหว่างสองวัฒนธรรมจีนฮั่นและวัฒนธรรมพื้นเมืองทางตอนใต้ บ่อยครั้งที่วัฒนธรรมจีนมักจะดูดกลืนวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง ผู้นำหนานเยฺว่ ตระกูลจ้าว ยังประกาศใช้วัฒนธรรมจีนและภาษาจีนไปทั่วทั้งดินแดนหนานเยฺว่ แม้ว่าจะมีการรักษาขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของตนเอาไว้ควบคู่กัน.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และหนานเยฺว่ · ดูเพิ่มเติม »

อัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน)

อัครมหาเสนาบดี เป็นชื่อตำแหน่งข้าราชการประจำชั้นสูงสุดในประเทศจีนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาจมีอายุย้อนหลังไปถึงสมัยราชวงศ์ฉินที่เริ่มกำหนดตำแหน่ง "นายกแห่งข้าราชการพลเรือนทั้งปวง" (head of all civil service officials) อำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งนี้แตกต่างกันไปในแต่ละสมั.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และอัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน) · ดูเพิ่มเติม »

อาน เซือง เวือง

อาน เซือง เวือง (安陽王, An Dương Vương) มีชื่อจริงคือ ถุก ฟ้าน (蜀泮, Thục Phán) ผู้ปกครองอาณาจักรเอิวหลัก (ประเทศเวียดนามปัจจุบัน) ตั้งแต่ 257 ถึง 207 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นผู้นำของเผ่าเอิวเหวียต เขาได้เอาชนะและยึดราชบัลลังก์จากกษัตริย์หุ่งองค์สุดท้าย แห่งอาณาจักรวันลาง และได้รวบรวมชนเผ่าที่ยึดมาคือหลักเหวียต เข้ากับเอิวเหวียต เขาได้ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ มีเมืองหลวงที่โก๋ลวา สร้างป้อมปราการที่ชื่อป้อมปราการโก๋ลวา จนกระทั่งในช่วง 208 ปีก่อนคริสต์ศักราช กองทัพจีนแห่งราชวงศ์ฉินนำโดยแม่ทัพจีน เจี่ยวด่า ได้รุกรานเอิวหลัก เมืองหลวงโก๋ลวาถูกโจมตี พระราชวังถูกปล้นสะดม อาน เซือง เวือง ต้องหลบหนีออกจากเมืองหลวงและตัดสินใจฆ่าตัวตาย เจี่ยวด่าแม่ทัพชาวจีนฮั่นได้สถาปนาราชวงศ์จ้าวขึ้นมาใหม่ ดินแดนเอิวหลักถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรหนานเยฺว่ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และอาน เซือง เวือง · ดูเพิ่มเติม »

อินเดียนาโจนส์ แอนด์ดิอิมเพอเรอร์สทูม

อินเดียนาโจนส์ แอนด์ดิอิมเพอเรอร์สทูม (Indiana Jones and the Emperor's Tomb) เป็นวิดีโอเกมแนวแอกชั่น พัฒนาโดย The Collective, Inc. และจัดจำหน่ายโดย LucasArts ในปี ค.ศ. 2003 ในรูปแบบเอกซ์บอกซ์, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เพลย์สเตชัน 2 และแมคโอเอสเท็น โดยมีฉากเกี่ยวกับสุสานจักรพรรดิจีนของจิ๋นซีฮ่องเต้.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และอินเดียนาโจนส์ แอนด์ดิอิมเพอเรอร์สทูม · ดูเพิ่มเติม »

อ๋อง

อ๋อง (หวัง หรือ หวาง) แปลเป็นภาษาไทยคือกษัตริย์ เป็นตำแหน่งสูงสุดของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ยจนถึงราชวงศ์โจว ซึ่งสมัยนั้นจีนยังไม่รวมเป็นจักรวรรดิที่เป็นปึกแผ่น ซึ่งแต่ละแคว้นก็จะมีอ๋องเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น ซึ่งต่อมาฉินอ๋องเจิ้งแห่งแคว้นฉินทรงรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น พระองค์ถือว่าพระองค์มีคุณงามความดีเหนืออ๋องในอดีตทั้งมวล ทรงเห็นว่าตำแหน่งอ๋องไม่ยิ่งใหญ่เพียงพอสำหรับพระองค์ ฉินอ๋องเจิ้นจึงทรงพระราชดำริคำเรียกขึ้นใหม่คือ ฮ่องเต้ ฉินอ๋องเจิ้นทรงใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกแห่งจักรวรรดิจีนอันยิ่งใหญ่ ในยุคชุนชิวและจ้านกว๋อ (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีอ๋องอยู่เพียง 5 พระองค์เท่านั้นที่ได้รับการยกย่องเป็น ปาอ๋อง หรือ ปาจู๋ (霸, Bà) แปลได้ว่า "อ๋องผู้ยิ่งใหญ่" ได้แก.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และอ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

ผ่าทะลุฟ้า รักทะลุมิติ

ผ่าทะลุฟ้า รักทะลุมิติ (The Myth) เป็นละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งมีเค้าโครงมาจากภาพยนตร์เรื่อง ดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา โดยมี เฉินหลง นักแสดงจากภาพยนตร์ชุดดังกล่าวเป็นโปรดิวเซอร์ และมี สแตนลีย์ ตง, ผู้กำกับภาพยนตรมาทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสร้าง ให้กับละครเรื่องนี้ ละครเรื่องนี้ออกอากาศตอนแรกทางช่อง CCTV-8 ในจีน เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 โดยลงทุนสร้างไป 40 ล้านหยวน.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และผ่าทะลุฟ้า รักทะลุมิติ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ้อปาอ๋อง ยอดขุนพลลำน้ำเลือด

้อปาอ๋อง ยอดขุนพลลำน้ำเลือด (The Great Conqueror's Concubine, หรืออีกชื่อหนึ่งคือ King of Western Chu) เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์จีน กำกับโดย สตีเฟ่น ฉิน และ เว่ย ฮั่นเตา นำแสดงโดย หลี่ เหลียงเหว่ย, กวน จือหลิน, จาง เฟิงอี้ และ กง ลี่ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเค้าโครงมาจากเหตุการณ์สงครามฉู่-ฮั่น โดยเกิดขึ้นช่วงที่ ราชวงศ์ฉิน ล่มสลาย และการกำเนิดใหม่ของ ราชวงศ์ฮั่น ภาพยนตร์เรื่องนี้มีภาคต่อคือ ฌ้อปาอ๋อง ศึกสองแผ่นดิน.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และฌ้อปาอ๋อง ยอดขุนพลลำน้ำเลือด · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นเกาจู่

ั่นเกาจู่ ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ฮั่นโกโจ ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน ("อัครบรรพชนฮั่น"; 256 ปีก่อนคริสตกาล – 1 มิถุนายน 195 ปีก่อนคริสตกาล) พระนามเดิม หลิว ปัง เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฮั่นของจักรวรรดิจีน และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ดังกล่าว เสวยราชย์ช่วง 202–195 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นหนึ่งในปฐมกษัตริย์จีนไม่กี่พระองค์ที่มาจากครอบครัวรากหญ้า ก่อนเข้าสู่อำนาจ หลิว ปัง เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในราชวงศ์ฉิน ทำหน้าเป็นนายด่านที่บ้านเกิดในเทศมณฑลเพ่ย์ (沛縣) แห่งรัฐฉู่ (楚国) ที่ถูกราชวงศ์ฉินยึดครอง เมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฉิน สิ้นพระชนม์ และจักรวรรดิฉิน (秦朝) ตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมือง หลิว ปัง ละทิ้งตำแหน่งราชการเข้าร่วมกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน จนสามารถบีบให้จื่ออิง (子嬰) ผู้นำคนสุดท้ายของราชวงศ์ฉิน ยอมจำนนได้เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อสิ้นราชวงศ์ฉินแล้ว เซี่ยง อฺวี่ (項羽) ผู้นำกบฏ แบ่งดินแดนฉินออกเป็นสิบแปดส่วน ให้หลิว ปัง เป็น "ราชาฮั่น" (漢王) ไปครองภูมิภาคปาฉู่ (巴蜀) อันห่างไกลและกันดาร หลิว ปัง จึงนำทัพต่อต้านเซี่ยง อฺวี่ และสามารถยึดภูมิภาคฉินทั้งสาม (三秦) ไว้ได้ นำไปสู่สงครามกลางเมืองที่เรียกว่า "สงครามฉู่–ฮั่น" (楚漢戰爭) ครั้น 202 ปีก่อนคริสตกาล หลังเกิดยุทธการไกเซี่ย (垓下之戰) หลิว ปัง มีชัยในการชิงอำนาจ จึงสามารถรวบดินแดนจีนส่วนใหญ่ไว้ในกำมือ เขาก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น มีตนเป็นจักรพรรดิพระองค์แรก ใช้พระนาม "ฮั่นเกาจู่" รัชสมัยฮั่นเกาจู่มีการลดหย่อนภาษี ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อ และปราบปรามกบฏเจ้าประเทศราชต่าง ๆ ฮั่นเกาจู่ยังริเริ่มนโยบายที่เรียก "วิวาห์สันติ" (和親) เพื่อสร้างความปรองดองกับกลุ่มซฺยงหนู (匈奴) หลังพ่ายแพ้ในยุทธการไป๋เติง (白登之戰) เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล ครั้น 195 ปีก่อนคริสตกาล ฮั่นเกาจู่สวรรคต พระโอรส คือ หลิว อิ๋ง (劉盈) สืบตำแหน่งต่อ ใช้พระนามว่า "ฮั่นฮุ่ย" (汉惠).

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจีน

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฉินที่ 2

ักรพรรดิฉินที่ 2 หรือ จักรพรรดิหูไห่ มีพระนามเดิมว่าองค์ชายหูไห่ เป็นพระราชโอรสองค์รองของ จิ๋นซีฮ่องเต้ ประสูติเมื่อปี 229 ปีก่อน..

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และจักรพรรดิฉินที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิจีน

ักรวรรดิจีนก่อตั้งโดยราชวงศ์ฉินนำโดยฉินซื่อหวงตี้ซึ่งได้รวบรวมรัฐของจีนที่แตกออกเป็น 7 รัฐให้เป็นหนึ่งเดียวได้ ฉินซื่อหวงตี้บริหารประเทศโดยใช้ระบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางซึ่งจักรวรรดิจีนมีอายุยืนยาวมากประมาณ 2113ปี โดยเริ่มตั้งแต่ ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ ราชวงศ์ชิง     เขตแดน'''ราชวงศ์ฉิน''' เขตแดนของ'''ราชวงศ์ฮั่น''' เขตแดนของ'''ราชวงศ์ถัง''' เขตแดน'''ราชวงศ์ซ่ง''' เขตแดน'''ราชวงศ์หยวน''' เขตแดนราชวงศ์หมิง เขตแดนราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และจักรวรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

จาง เฟิงอี้

ง เฟิงอี้ เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน..

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และจาง เฟิงอี้ · ดูเพิ่มเติม »

จิงเคอ

ตรกรรมฝาผนังแสดงถึงการลอบสังหารฉินอ๋องของจิงเคอ (ฉินอ๋อง-ซ้าย), (จิงเคอ-ขวาและถูกจับตัวไว้ได้), (ฉินอู่หยาง หมอบกราบอยู่ตรงกลาง)劉煒/著. 2002 (2002) Chinese civilization in a new light 中華文明傳真#3 春秋戰國. Publishing Company. ISBN 9620753119 pg 28-29. จิงเคอ (荊軻, Jing Ke, เวด-ไจลส์: Ching K'o) เป็นมือสังหารที่ลอบสังหารฉินอ๋อง หรือฉินซีฮ่องเต้ ที่ปรากฏนามในประวัติศาสตร์จีนในยุคจ้านกว๋อ.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และจิงเคอ · ดูเพิ่มเติม »

จิ๋นซีฮ่องเต้ (ภาพยนตร์จีนชุด)

๋นซีฮ่องเต้ (The Rise of the Great Wall - Emperor Qin Shi Huang, 秦始皇, พินอิน: Chun chi wong) เป็นภาพยนตร์จีนชุดที่กล่าวถึงพระราชประวัติของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกของจีนตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จนได้มาอยู่ในราชสำนักฉิน ผ่านเรื่องราวมากมายจนได้เป็นฉินอ๋อง รวมถึงแผนการรวบรวมแผ่นดิน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างกำแพงเมืองจีน และกล่าวถึงช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ ภาพยนตร์จีนชุดนี้ มีการสร้างและฉายในปี ค.ศ. 1986 โดย ATV จากฮ่องกง จำนวน 63 ตอน นำแสดงโดย หลิวหย่ง เป็น ฉินอ๋อง, หลิว สงเหยิน เป็น จิงเคอ และหมีเซียะ เป็น เมิ่งเจีย สำหรับในประเทศไทยได้นำเข้ามาฉายในเวลา 22.00 น. ทางช่อง 7 ในปีเดียวกัน ทุกคืนวันธรรมดา และนำมาฉายอีกครั้งในเวลาเดียวกันทางสถานีโทรทัศน์ TPBS ในกลางปี พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และจิ๋นซีฮ่องเต้ (ภาพยนตร์จีนชุด) · ดูเพิ่มเติม »

จ้วง

้วง หรือ ปู้จ้วง (จ้วง: Bouчcueŋь/Bouxcuengh) เป็นกลุ่มชนในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได มีประชากรมากที่สุด ราว 18 ล้านคน แต่พวกเขาเพิ่งยอมรับคำว่า จ้วง เป็นชื่อชนชาติ เมื่อทางการจีนใช้คำเขียนใหม่ที่มีความหมายในทางที่ดีขึ้น เพราะในสมัยราชวงศ์ซ้อง คำว่า จ้วง (僮) ใช้เรียกทหารที่เป็นจ้วง สมัยราชวงศ์หยวน ใช้ตัวอักษรจีน ที่แปลว่า ปะทะ สมัยราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง จนถึงสมัยก๊กมินตั๋ง เปลี่ยนอักษรตัวแรกเป็นความหมายว่า "สัตว์" (獞) จนถึง พ.ศ. 2508 จึงเปลี่ยนเป็นตัวที่มีความหมายว่า เติบโต และแข็งแรง (壯/壮).

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

ถัง กั๋วเฉียง

กบท ขงเบ้ง ถัง กั๋วเฉียง (Tang Guoqiang, จีน: 唐国强, พินอิน: Táng Guóqiáng) นักแสดงชาวจีน ผู้รู้จักบทบาทดีจากการรับบท ขงเบ้ง ในสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของ CCTV เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1952 ในครอบครัวที่เป็นแพทย์ ที่เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง เริ่มต้นอาชีพนักแสดงในปี ค.ศ. 1970 หลังสำเร็จการศึกษาระดับมัธยม ถัง กั๋วเฉียง มีบทบาทที่รู้จักดีจากการรับบทเป็น ขงเบ้ง จากสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของ CCTV และจากการรับทเป็น จักรพรรดิหย่งเจิ้น, จักรพรรดิหลี่ซื่อหมิน และ รับบท เหมาเจ๋อตุง หลายต่อหลายครั้ง เช่น The Founding Of A Republic ในปี ค.ศ. 2009 เป็นต้น ชีวิตส่วนตัว เคยผ่านการสมรสมาแล้ว 2 ครั้ง โดยมีลูกสาวเกิดกับภรรยาคนแรก และลูกชายกับภรรยาคนที่สอง.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และถัง กั๋วเฉียง · ดูเพิ่มเติม »

ทางด่วนในประเทศจีน

้นทางในเมืองของทางด่วนจี 4 ปักกิ่ง–ฮ่องกง–มาเก๊า ในตงก่วน มณฑลกวางตุ้ง แผนที่ทางด่วนในประเทศจีน โครงข่ายทางด่วนของประเทศจีน เป็นระบบรวมของทางด่วนระดับชาติและระดับมณฑลของประเทศจีน โดยสิ้นปี..

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และทางด่วนในประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ขุนศึกสะท้านปฐพี

นศึกสะท้านปฐพี เป็นนิยายกำลังภายใน แต่งโดยหวงอี้ ฉบับภาษาไทยแปลโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ความยาว 1 เล่ม อีกสำนวนแปลโดย ว.ณ เมืองลุง ใช้ชื่อว่า ศึกเลียดก๊ก มีความยาว 3 เล่ม.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และขุนศึกสะท้านปฐพี · ดูเพิ่มเติม »

ดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา

ทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา (神話; The Myth) เป็นภาพยนตร์กำลังภายในที่ออกฉายในปี ค.ศ. 2005 ดำเนินงานสร้างโดยเฉินหลง นำแสดงโดยเฉินหลง, เหลียง เจียฮุย, คิม ฮี ซอน, มัลลิกา เซราวัต.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา · ดูเพิ่มเติม »

คราแวต

ราแวตแบบต่างๆ ในช่วง ค.ศ. 1818 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งประดับด้วยคราแวต คราแวต (cravat) คือ ผ้าพันคอชนิดหนึ่งที่นิยมพันรอบคอ โดยมีรูปร่างต่างๆ ตั้งแต่โบว์, ปมคล้ายปมเนกไท ฯลฯ.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และคราแวต · ดูเพิ่มเติม »

คิงดอม

งดอม เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เขียนโดย ยาสึฮิสะ ฮาระ ตีพิมพ์ในนิตยสารยังจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูนมาแล้ว 49 เล่ม เนื้อเรื่องของหนังสือการ์ตูนอิงจากประวัติศาสตร์จีน ยุคจั้นกั๋ว (ยุครณรัฐ) กล่าวถึงเรื่องราวของซิ่น เด็กหนุ่มกำพร้าจากสงครามที่มุ่งหมายจะเป็นยอดขุนศึกในใต้หล้า คิงดอม ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์ ผลิตโดยบริษัทเปียร์โร่ต์ ออกอากาศซีซั่นแรกระหว่างวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ถึง 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 รวม 38 ตอน ซีซั่นที่สองออกอากาศระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ถึง 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 รวม 39 ตอน ในประเทศไทย คิงดอม ได้รับลิขสิทธิ์หนังสือการ์ตูนโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ปัจจุบันตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูนรวมเล่มแล้ว 40 เล่ม ส่วนภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์ได้รับลิขสิทธิ์โดยบริษัทโรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์เฉพาะซีซั่นแรก โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า สงครามผงาดบัลลังก์จิ๋นซี วางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีบ๊อกซ์เซ็ต 2.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และคิงดอม · ดูเพิ่มเติม »

ตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีน

ตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีน เป็นเครื่องที่แสดงถึงความมีอำนาจสูงที่สุดของแผ่นดินแผ่นดินจีนในประวัติศาสตร์ ตราประทับพระราชลัญจกรในจักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

ตั๋งโต๊ะ

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน..

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และตั๋งโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

ซีอาน

ซีอาน หอระฆังกลางเมืองซีอาน วิวซีอาน ซีอาน เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนซีอาน เป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเมืองหนึ่ง ความหมาย: ความสงบสุขทางตะวันตก) เป็นเมืองหลวงของมณฑลส่านซี ในประเทศจีน และเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์จีน ในอดีตซีอานได้เป็นเมืองหลวงของ 13 ราชวงศ์ รวมทั้ง โจว ชิน ฮั่น และ ถัง ซีอานยังเป็นเมืองปลายทางของเส้นทางสายไหม ซีอานมีประวัติอันยาวนานมากกว่า 3,100 ปี โดยชื่อเดิมว่า ฉางอาน (长安, 長安 พินอิน: Cháng'ān) ซึ่งมีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" ซีอานเป็นเป็นเมืองที่เจริญและใหญ่ที่สุดในส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน และเป็น 1 ใน 10 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ภูมิอากาศของภูมิภาคนี้อบอุ่น มีฝนตกมาก มีปริมาณฝนเทียบได้ใกล้เคียงกับภูมิภาคด้านใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน ดังนั้น ประชากรที่นี่จึงค่อนข้างมาก ทางตะวันออกของ ซีอาน ห่างไปประมาณ 6 กิโลเมตร มีหมู่บ้านชื่อ ปั้น-ภอ-ฌุน ได้มีการค้นพบหมู่บ้านที่มีอายุกว่า 6 พันปี ซึ่งมีประชากรประมาณ 500 คน ฮ่องเต้ของราชวงศ์โจวตะวันตก ได้เคยสร้างเมืองหลวง 2 เมือง ทางตะวันตกของ ซีอาน.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และซีอาน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์จีน

ตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และประวัติศาสตร์จีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมปราการโก๋ลวา

ป้อมปราการโก๋ลวา (Thành Cổ Loa) เป็นป้อมปราการที่มีความสำคัญทางโบราณสถานในปัจจุบันทั้งอยู่บริเวณเขตดงอาน เมืองฮานอย ประมาณ 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของใจกลางกรุงฮานอย ที่โก๋ลวามีการค้นพบซากโบราณต่างๆในยุคสำริด อันได้แก่ วัฒนธรรมฟุงเหวียนและวัฒนธรรมดงเซิน แม้ว่าภายหลังจะมีการจัดตั้งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเอิวหลัก ในช่วง 3 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ป้อมโก๋ลวาได้มีการก่อสร้างบูรณะเพิ่มเติมได้เพิ่มขึ้นในช่วงราชวงศ์ต่อมา ป้อมโก๋ลวา ยังคงเป็นศูนย์กลางทางการเมืองที่สำคัญของชาวเวียตนามจนถึงศตวรรษที่ 10 ชื่อของป้อม คำว่า "โก๋ลวา" มาจาก คำศัพท์จีน-เวียดนาม คำว่า 古螺, ที่แปลว่า "เกลียวโบราณ", ซึ่งได้มีนักภาษาศาตร์เวียดนามอธิบายคำว่า "โก๋ลวา" ว่าอาจจะสันนิษฐานที่มาของป้อมปราการที่นำมาตั้งชื่อได้สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างแบบหลายชั้นของกำแพงคูเมืองและคูน้ำ.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และป้อมปราการโก๋ลวา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำอมฤต

น้ำอมฤต /อะมะริด, หรือ อะมะรึด/ หรือ น้ำทิพย์ (elixir of life, elixir of immorality หรือ Dancing Water, อาหรับ: الإكسير, อัลอีกซีร์; เปอร์เซีย: آب حیات, อาบเอฮะยาต) เป็นยาน้ำหรือเครื่องดื่มซึ่งเชื่อกันว่าจะยังให้ผู้ดื่มเป็นอมตะหรือคงความเยาว์วัยแห่งรูปร่างไว้ชั่วกัลป์ บ้างก็ว่าสามารถชุบชีวิตหรือสร้างชีวิตใหม่ได้ เรียกว่าเป็นยาแก้สรรพโรคประเภทหนึ่ง และเคยเป็นที่ต้องการและควานไขว่หาอย่างบ้าคลั่งของลัทธิรสายนเวทอยู่พักใหญ่ น้ำอมฤตปรากฏในวรรณกรรมหลายเรื่องของทุกชนชาต.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และน้ำอมฤต · ดูเพิ่มเติม »

ไท่ช่างหฺวัง

ท่ช่างหฺวัง (แปลตรงตัวว่า พระเจ้าหลวง) เป็นสมัญญาของจักรพรรดิจีนที่สละราชสมบัต.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และไท่ช่างหฺวัง · ดูเพิ่มเติม »

เมิ่งเถียน

เมิ่งเถียน (Meng Tian; ?–210 ปีก่อนคริสตกาล) ขุนศึกแห่ง ราชวงศ์ฉิน ซึ่งมีชื่อเสียงจากการต่อสู้กับพวกชนเผ่า ซฺยงหนู อย่างกล้าหาญและการเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง กำแพงเมืองจีน หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ หลังจากการสวรรคตของ จิ๋นซีฮ่องเต้ เมื่อ 210 ปีก่อนคริสตกาลเมิ่งเถียนถูกบังคับให้ฆ่าตัวตายพร้อมกับองค์รัชทายาท ฝูซู ตามราชโองการปลอมที่ทำขึ้นโดยอัครมหาเสนาบดี หลี่ซือ และมหาขันที เจ้าเกา หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ฉิน หมวดหมู่:ขุนนางจีน.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และเมิ่งเถียน · ดูเพิ่มเติม »

เลียดก๊ก

ลียดก๊ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เลี่ยกั๋ว ตามสำเนียงกลาง แปลว่า กลุ่มเมือง หรือชื่อเต็มตามสำเนียงกลางว่า ตงโจวเลี่ยกั๋วจื้อ แปลว่า เรื่องกลุ่มเมืองโจวตะวันออก เป็นนิยายจีนซึ่ง เฝิง เมิ่งหลง (馮夢龍) ประพันธ์ขึ้นในราชวงศ์หมิง มีเนื้อหาเริ่มด้วยราชวงศ์โจวตะวันตกถึงแก่ความพินาศ ราชวงศ์โจวตะวันออกขึ้นแทนที่ แต่บ้านเมืองระส่ำระสายจนแตกแยกออกเป็นแว่นแคว้นน้อยใหญ่ต่าง ๆ ในยุควสันตสารทและยุครณรัฐ ไปจบที่จิ๋นซีฮ่องเต้รวมแผ่นดินเป็นผลสำเร็.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และเลียดก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เล่า ไอ่

ล่า ไอ่ (เสียชีวิต 238 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นขันทีปลอมและขุนนางแห่งรัฐฉิน (秦国) ช่วงปลายยุครณรัฐ (戰國時代) เป็นชู้รักของพระพันปีจ้าว (趙太后) พระมารดาของอิ๋ง เจิ้ง (嬴正) ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักด้วยสมัญญา ฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝; "ปฐมจักรพรรดิฉิน") เล่า ไอ่ ได้บรรดาศักดิ์ จ่างซิ่นโหว (長信侯) แต่เมื่อเรื่องที่เขามีส่วนก่อกบฏถูกเปิดโปง เขาก็ถูกฉินฉื่อหฺวังตี้ประหารชีวิต.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และเล่า ไอ่ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์

รษฐศาสตร์ (economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและการให้บริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ่ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์ ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และเศรษฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เผาตำรา ฝังบัณฑิต

ผาตำรา ฝังบัณฑิต กล่าวถึงเหตุการณ์เผาตำราที่คาดว่าเกิดขึ้นเมื่อปี 213 ก่อนคริสตกาล และฝังนักคิดและปัญญาชนสำนักวิชาขงจื๊อทั้งเป็นจำนวน 460 คนเมื่อปี 210 ก่อนคริสตกาล โดย จิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ฉินในยุคจีนโบราณ เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดความสูญเสียตำราและคัมภีร์ที่มีเนื้อหาหลักปรัชญาของขบวนการสำนักความคิดทั้งร้อยจำนวนมาก หลักปรัชญาทางการของรัฐบาล (“การยึดถือกฎ”) ยังคงอยู่รอดมาได้ นักคิดและปัญญาชนยุคปัจจุบันตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียดของเรื่องราวใน “บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่” เป็นแหล่งข้อมูลหลักตั้งแต่ ซือหม่า เชียน เขียนบันทึกเอาไว้เมื่อศตวรรษที่ 1 หรือหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 100 ปีและยังเป็นเจ้าหน้าที่ในราชสำนักแห่งราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่สืบต่อจากราชวงศ์ฉิน และคาดว่าในบันทึกอาจจะแสดงถึงข้อความอันเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ฉิน ในขณะที่เป็นที่ชัดเจนว่าจักรพรรดิจิ๋นซีทรงรวบรวมและทำลายงานเขียนจำนวนมากซึ่งพระองค์ทรงพิจารณาว่าเป็นภัยต่อราชบังลังก์ เอกสารแต่ละฉบับจะทำสำเนาไว้ 2 ฉบับถูกเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดของจักรพรรดิซึ่งถูกทำลายจากศึกสงครามที่เกิดขึ้นภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน ปัจจุบันนี้เป็นที่เชื่อกันว่ามีนักคิดและปัญญาชนจำนวนมากถูกฆ่า แต่พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้สังกัดในสำนักวิชาขงจื้อและไม่ได้ถูก “ฝังทั้งเป็น” ในบางกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้และสำนวนที่ว่า “เผาตำรา ฝังบัณฑิต” ได้กลายเป็นตำนานที่ยังคงอยู่รอดมาได้ในมรดกของขงจื้อ.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และเผาตำรา ฝังบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

เจาะเวลาหาจิ๋นซี (ละครโทรทัศน์)

วลาหาจิ๋นซี (A Step Into the Past) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงเรื่องราวของวรรณกรรมชิ้นเอกของ หวงอี้ เรื่อง เจาะเวลาหาจิ๋นซี นำแสดงโดย กู่ เทียนเล่อ, กวง หว่า, เจสสิก้า ซวน, ซอนเจีย กัว, เรบ์มอนด์ ลัม, จอยเซ่ ถัง, มิเชลล์ ซาลัม, ไวเซ ลี, เอลลีน เยียว, ซิกนี่ หยิม, กัว ฟุง ออกอากาศช่อง TVB ในประเทศจีน และออกอากาศทางช่อง 3 แฟมิลี่ ในประเทศไทย ละครเรื่องนี้ออกอากาศต่อจากละครเรื่อง เดชเซียวฮื้อยี้ และเมื่อละครเรื่องนี้จบลง ละครเรื่องต่อไปที่ออกอากาศต่อคือเรื่อง มังกรคู่สู้สิบท.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และเจาะเวลาหาจิ๋นซี (ละครโทรทัศน์) · ดูเพิ่มเติม »

เจาะเวลาหาจิ๋นซี (นวนิยาย)

วลาหาจิ๋นซี (- ถอดความเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า The Chronicles of Finding Qin, Xun Qin Ji) เป็นนิยายกำลังภายใน แต่งโดยหวงอี้ ฉบับภาษาไทยแปลและเรียบเรียงโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ มีความยาว 8 เล่ม ซึ่งในภายหลังหวงอี้ได้ปรับปรุงต้นฉบับใหม่อีกครั้งเหลือ 7 เล่ม.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และเจาะเวลาหาจิ๋นซี (นวนิยาย) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าเกา

เจ้าเกา (อสัญกรรม 207 ปีก่อนคริสตกาล) มหาขันทีและอัครมหาเสนาบดีในสมัย ราชวงศ์ฉิน ผู้รับใช้จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉินถึง 3 พระองค์และมีส่วนสำคัญที่ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มสลายลง เจ้าเกาเริ่มรับราชการในรัชสมัย จิ๋นซีฮ่องเต้ กระทั่งได้ถูกส่งไปรับใช้องค์ชาย หูไห่ พระราชโอรสองค์รองกระทั่งได้เป็นพระอาจารย์ขององค์ชาย ใน 210 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคตเจ้าเกาและ หลี่ซือ ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีในขณะนั้นได้ร่วมมือกันปลอมแปลงพระราชโองการทำให้องค์ชายหูไห่ได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิฉินที่ 2 แทนองค์ชาย ฝูซู พระเชษฐาที่รัชทายาทที่ถูกราชโองการปลอมให้ปลงพระชนมชีพพระองค์เองในภายหลัง จากนั้นเจ้าเกาจึงเริ่มทรงอำนาจและอิทธิพลในราชสำนักพร้อมกับกำจัดศัตรูทางการเมืองไปพร้อมกันทำให้เมื่อ 208 ปีก่อนคริสตกาล เจ้าเกาได้ก้าวขึ้นเป็นอัครมหาเสนาบดีแทนหลี่ซือที่ถูกประหารทั้งตระกูล ใน 207 ปีก่อนคริสตกาล กองทัพกบฏเริ่มรุกคืบเข้ามาใกล้ เสียนหยาง ซึ่งเป็นเมืองหลวงเจ้าเกาจึงตัดสินใจก่อรัฐประหารที่ พระราชวังหวังอี้ (ใกล้ ซีอาน, มณฑลส่านซี) ปลงพระชนม์จักรพรรดิฉินที่ 2 หรือจักรพรรดิหูไห่และยกจื่ออิงพระโอรสในองค์ชายฝูซูและพระราชนัดดาในจักรพรรดิหูไห่ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิฉินที่ 3 เมื่อสืบราชบัลลังก์ไม่นานจักรพรรดิจื่ออิงจึงส่งขันทีชื่อ หานตาน ไปลอบสังหารเจ้าเกาและจากนั้นไม่นานจักรพรรดิจื่ออิงก็ยอมแพ้แก่กองทัพของ เซี่ยงอวี่ หมวดหมู่:ขันทีจีน หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และเจ้าเกา · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลอู๋

ทศมณฑลอู๋ (Wu County; 221 ปีก่อนคริสตกาล-ธันวาคม 2000) เป็นเขตปกครองทางตะวันออกสุดของประเทศจีน อยู่ทางตอนล่างของแม่น้ำแยงซีเกียง เดิมเป็นเทศมณฑลในนครซูโจว (Suzhou City) มณฑลเจียงซู ก่อนจัดตั้งขึ้นเป็นนครต่างหาก และภายหลังก็ยุบเลิกแล้วแยกออกเป็นอำเภอ 2 แห่ง.

ใหม่!!: จิ๋นซีฮ่องเต้และเทศมณฑลอู๋ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Qin Shi HuangYing Zhengจักรพรรดิจิ๋นที่ 1จักรพรรดิจิ๋นซีจักรพรรดิฉินที่ 1จักรพรรดิฉินฉื่อหวงฉินสือหวงตี้ฉินสื่อหวงฉินสื่อหวงตี้ฉินหวงฉินอ๋องฉินชื่อหวงฉินฉื่อหฺวังตี้ฉินซีฮ่องเต้ฉินซื่อหวงตี้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »