เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

จิตรกรรมแผง

ดัชนี จิตรกรรมแผง

"ฉากแท่นบูชาเกนต์" โดยยัน ฟัน ไอก์ และพี่ชาย, ค.ศ. 1432. ฉากแท่นบูชา (altarpiece) บนแผ่นไม้ เขียนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จิตรกรรมแผง (panel painting) คือการเขียนภาพบนแผ่นไม้ อาจจะเป็นแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว ซึ่งแตกต่างกับบานพับภาพที่จะแยกจากกัน (บานพับภาพ มักรวมเรียกเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมแผง) แผ่นไม้ใช้เป็นพื้นสำหรับวาดภาพจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยผ้าใบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกเหนือไปจากการวาดบนผนัง หรือบนหนังสัตว์ ซี่งวัสดุชนิดหลังนี้นิยมใช้ในการวาดหนังสือวิจิตร หรือเขียนภาพสำหรับใส่กรอ.

สารบัญ

  1. 56 ความสัมพันธ์: บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์บานพับภาพชีวิตของพระนางพรหมจารีชีวิตของพระเยซูฟรันเชสโก ตราอีนีฟรันเชสโก เดล กอสซาพระคัมภีร์คนยากพระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา (มาซัชโช)พระแม่มารีบนระเบียง (บอตติเชลลี)พระแม่มารีแห่งเซนิกาลเลียพระแม่มารีในกรอบกลม (มีเกลันเจโล)พระเยซูถูกเฆี่ยน (เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา)พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสวิสกวีโด ดา ซีเอนากอปโป ดี มาร์โกวัลโดกัสโซเนกำเนิดวีนัส (บอตติเชลลี)ภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี)ภาพเหมือนของชายหนุ่ม (บอตติเชลลี-พิตติ)ภาพเหมือนตนเองภาพเหมือนตนเอง (ดือเรอร์)มัททีอัส กรือเนวัลด์มาโซลีโน ดา ปานีกาเลมาเอสตะฤดูใบไม้ผลิ (บอตติเชลลี)ศิลปะคริสเตียนสีฝุ่นเทมเพอราออร์กัญญาอัลตีกีเอโรฮันส์ แม็มลิงฌอง เฮย์จัมบัตติสตา ปิตโตนีจิตรกรรมจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีจิตรกรรมสีน้ำมันจิตรกรรมตะวันตกดีร์ก เบาตส์ฉากประดับแท่นบูชาฉากแท่นบูชาวิลทันฉากแท่นบูชาเบรราฉากแท่นบูชาเมรอดปาฏิหาริย์สุดท้ายและความตายของนักบุญเซโนเบียส (บอตติเชลลี)ปีเอโตร โลเรนเซตตีปีเอโตร เปรูจีโนนักบุญเซโนเบียสรับศีลล้างบาป (บอตตีเชลลี)แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโลแม่พระและพระกุมารกับทูตสวรรค์ (บอตตีเชลลี)แม่พระและพระกุมารและทูตสวรรค์สององค์ (บอตตีเชลลี)แอร์โกเล เด โรแบร์ตีโกซีโม รอสเซลลี... ขยายดัชนี (6 มากกว่า) »

บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์

ลจิตรกรรมสัญลักษณ์แฝงคติจาก “ตำนานแห่งความรัก” ของพระเจ้าเรเน (King Rene’s Livre du cueur d'amour esprit) บาเธเลมี ฟาน เอค (ภาษาอังกฤษ: Barthelemy van Eyck หรือ Barthélemy d’Eyck หรือ van Eyck หรือ d' Eyck) (ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและบาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์

บานพับภาพ

แซนไทน์ คริสต์ศตวรรษที่ 10 บานพับภาพ (triptych หรือ polytych) คือจิตรกรรมที่วาดหรือแกะบนแผ่นไม้แบ่งเป็นบาน ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสองบาน สามบาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ที่เชื่อมด้วยกันและพับได้.

ดู จิตรกรรมแผงและบานพับภาพ

ชีวิตของพระนางพรหมจารี

ีวิตของพระแม่พรหมจารี (Life of the Virgin) หรือชีวิตของพระแม่มารี เป็นฉากชุดจากชีวิตของพระแม่มารีย์มารดาของพระเยซูที่เป็นหัวเรื่องที่ใช้เขียนภาพชุดในศิลปะคริสต์ศาสนามักจะเป็นชุดที่ประกอบกับหรือเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซู จำนวนฉากก็ต่างกันไปตามแต่เนื้อที่ใช้วาดภาพ ลักษณะการเขียนก็อาจจะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมแผง หน้าต่างประดับกระจกสี หนังสือวิจิตร พรมทอแขวนผนัง งานสลักหิน งานแกะงาช้างและอื่น.

ดู จิตรกรรมแผงและชีวิตของพระนางพรหมจารี

ชีวิตของพระเยซู

ีวิตของพระคริสต์ (Life of Christ) เป็นฉากชุดจากชีวิตบนโลกของพระเยซูที่เป็นหัวเรื่องที่ใช้ในการเขียนภาพชุดในศิลปะศาสนาคริสต์ มักจะเป็นชุดเอกลักษณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระนางพรหมจารี จำนวนฉากก็ต่างกันไปตามแต่เนื้อที่ใช้วาดภาพ ลักษณะการสร้างงานก็อาจจะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมแผง หน้าต่างประดับกระจกสี เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร พรมทอแขวนผนัง งานสลักหิน งานแกะงาช้างและอื่นๆ บางฉากก็เป็นภาพเขียนเดี่ยว ๆ เช่น “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” ที่นิยมเขียนกันมาก ชุดที่นิยมเขียนกันก็ได้แก่ชุดที่เกี่ยวกับการประสูติและพระทรมานของพระเยซู ที่นำไปสู่การตรึงพระเยซูที่กางเขนและการคืนพระชนม์ แต่ภาพเขียนที่เกี่ยวกับการเทศนาก่อนที่จะถึงเหตุการณ์ในวาระสุดท้ายของพระองค์แทบจะไม่เขียนกันในยุคกลางด้วยเหตุผลหลายอย่าง.

ดู จิตรกรรมแผงและชีวิตของพระเยซู

ฟรันเชสโก ตราอีนี

ฟรานเชสโค ทราอินิ (Francesco Traini) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 14ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและฉากแท่นบูชา ฟรานเชสโค ทราอินิมีผลงานระหว่าง..

ดู จิตรกรรมแผงและฟรันเชสโก ตราอีนี

ฟรันเชสโก เดล กอสซา

ฟรานเชสโค เดล คอสสา (Francesco del Cossa) (ราว ค.ศ. 1430 - ราว ค.ศ. 1477) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีตอนต้นของตระกูลการเขียนภาพแบบเฟอร์ราราของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ดู จิตรกรรมแผงและฟรันเชสโก เดล กอสซา

พระคัมภีร์คนยาก

หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อาจจะสร้างจากชิ้นส่วนของบานหน้าต่างเดิมสองบาน รายละเอียดจากหน้าต่างสองหน้าต่างจากมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่เป็นเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน แต่ตัวแบบสองตัวในภาพทางด้านซ้ายเป็นตัวเดียวกัน และเสา โต๊ะ เชิงเทียน และหนังสือ ภาพซ้ายสร้างในสมัยกลาง และภาพขวาในสมัยวิกตอเรีย พระคัมภีร์คนยาก (Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ดู จิตรกรรมแผงและพระคัมภีร์คนยาก

พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา (มาซัชโช)

ูบทความหลักที่ แม่พระและพระกุมาร พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา (Virgin and Child with St. หรือ Sant'Anna Metterza) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยมาซัชชีโอจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อุฟฟิซิที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี มาซาชิโอ เขียนภาพ “พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา” ระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและพระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา (มาซัชโช)

พระแม่มารีบนระเบียง (บอตติเชลลี)

ระแม่มารีบนระเบียง (Madonna della Loggia) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลี จิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “พระแม่มารีบนระเบียง” เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีในปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและพระแม่มารีบนระเบียง (บอตติเชลลี)

พระแม่มารีแห่งเซนิกาลเลีย

“พระแม่มารีแห่งเซนิกาลเลีย” เป็นงานที่เขียนโดยเปียโร เดลลา ฟรานเชสกาที่เสร็จในปี ค.ศ. 1474 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งมาร์เค ภายในวังของดยุคแห่งเออร์บิโนที่เออร์บิโนในประเทศอิตาลี เดิมเป็นภาพเขียนที่ตั้งอยู่ภายในวัดซานตา มาเรีย เดลเล กราซีนอกกำแพง (Extra moenia) ที่เมืองเซนิกาลเลีย (Senigallia) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อของภาพ จากการซ่อมแซมภาพในคริสต์ทศวรรษ 1950 ทำให้พบการใช้แสงของเปียโรและอิทธิพลที่ได้รับจากศิลปินชั้นเอกของเฟลมมิชในรายละเอียดเช่นตะกร้าที่คลุมด้วยผ้าลินนินบนฉากหลัง, ปะการังและผ้าคลุมผมของพระแม่มารี แสงที่ส่องอย่างเหมือนจริงเข้ามาทางหน้าต่างทางด้านซ้ายของภาพเป็นสัญลักษณ์ของจุดเริ่มต้นของการทรงครรภ์พระเยซู (Conception) ผ้าลินนินหมายถึงความบริสุทธิ์ของพระองค์ จากกล่องขนมปังศักดิ์สิทธิ์ (Host) บนชั้นและสร้อยประคำบนพระศอของพระบุตรแนะให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกับพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ การยืนนิ่งคิดของผู้อยู่ในภาพก็ให้ความหมายในทำนองเดียวกัน.

ดู จิตรกรรมแผงและพระแม่มารีแห่งเซนิกาลเลีย

พระแม่มารีในกรอบกลม (มีเกลันเจโล)

ระแม่มารีในกรอบกลม (Doni Tondo หรือ Doni Madonna) เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนแผงไม้ที่เขียนโดยไมเคิล แอนเจโล จิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในฟลอเรนซ์ในอิตาลี ภาพ “พระแม่มารีในกรอบกลม” เขียนราวปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและพระแม่มารีในกรอบกลม (มีเกลันเจโล)

พระเยซูถูกเฆี่ยน (เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา)

ูบทความหลักที่ พระเยซูถูกเฆี่ยน พระเยซูถูกเฆี่ยน (ภาษาอังกฤษ: Flagellation of Christ) เป็นภาพที่เขียนโดยเปียโร เดลลา ฟรานเชสกาจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งมาร์เคที่เมืองเออร์บิโนในประเทศอิตาลี เปียโรเขียนภาพนี้ประมาณระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและพระเยซูถูกเฆี่ยน (เปียโร เดลลา ฟรานเชสกา)

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสวิส

ัณฑ์แห่งชาติสวิส (Swiss National Museum) เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดของทวีปยุโรป ตั้งอยู่ในข้างสถานีกลางซือริช ในนครซือริช อาคารพิพิธภัณฑ์สร้างขึ้นในปี..

ดู จิตรกรรมแผงและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสวิส

กวีโด ดา ซีเอนา

กุยโด ดา เซียนา หรือ กุยโด ดิ กราเซียโน (Guido da Siena หรือ Guido di Graziano) เป็นจิตรกรยุคศิลปะไบแซนไทน์ของอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 13 กุยโด ดา เซียนาอาจจะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงลักษณะการเขียนจิตรกรรมเช่นเดียวกับชิมาบูเยที่สามารถทำสำเร็จต่อมา แต่ประเด็นนี้ยังไม่เป็นที่ตกลงกันได้ งานที่เป็นที่รู้จักกันของกุยโดเป็นงานจิตรกรรมแผงที่ปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายชิ้น วัดซานโดเมนนิโคในเซียนามีภาพเขียนชิ้นใหญ่ contains a large painting of the “” พร้อมกับเทวดาหกองค์ด้านบน คอนแวนต์เบ็นนาดิคตินในเซียนาเช่นกันมีส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมเหนือภาพเขียนเป็นภาพพระมหาไถ่ในท่าประทานพร (in benediction) กับเทวดาสององค์ ภาพสองชิ้นนี้เดิมเป็นภาพเดียวกันที่เดิมเป็นบานพับภาพ แผงหลังของภาพมีคำจารึกภาษาละตินที่บ่งชื่อจิตรกรว่าคือ “Guido de Senis” และปี..

ดู จิตรกรรมแผงและกวีโด ดา ซีเอนา

กอปโป ดี มาร์โกวัลโด

็อพโพ ดิ มาร์โควาลโด (Coppo di Marcovaldo) (ราว ค.ศ. 1225 - ราว ค.ศ. 1276) เป็นจิตรกรก่อนยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง ค็อพโพ ดิ มาร์โควาลโดเกิดเมื่อราว ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและกอปโป ดี มาร์โกวัลโด

กัสโซเน

กัสโซเน, วังเว็คคิโอ, ฟลอเรนซ์ กัสโซเนฟลอเรนซ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 15 กัสโซเน (cassone) เป็นหีบชนิดหนึ่งของอิตาลีที่ทำกันอย่างวิจิตรที่เป็นของเชิดหน้าชูตา ที่อาจจเป็นงานฝังหรือแกะสลักที่เตรียมด้วยเจสโซแล้วทาสีหรือลงรักปิดทอง กัสโซเนมีความหมายตรงตัวว่า "หีบใหญ่" เป็นงานเฟอร์นิเจอร์ชิ้นสำคัญของพ่อค้าหรือขุนนางที่มีฐานะดีในวัฒนธรรมอิตาลีตั้งแต่ยุคกลางตอนปลายเป็นต้นมา กัสโซเนเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มอบให้แก่เจ้าสาวและใช้วางในห้องชุดของผู้ที่เป็นเจ้าสาว เป็นหีบที่จะมอบให้แก่เจ้าสาวระหว่างพิธีการแต่งงาน และจะเป็นของขวัญจากบิดามารดาของเจ้าสาวที่มอบให้สำหรับการแต่งงาน การที่กัสโซเนเป็นหีบที่ใช้ใส่สิ่งของที่เป็นของส่วนตัวของเจ้าสาว จึงทำให้เหมาะแก่การตกแต่งด้วยเรื่องราวที่เป็นเรื่องการฉลองการแต่งงาน โดยการเขียนเป็นจิตรกรรมแผงที่เป็นอุปมานิทัศน์ตกแต่งที่เริ่มในสมัยต้น "กวัตโตรเชนโต" ด้านข้างของหีบมีลักษณะราบเหมาะแก่การเขียนภาพที่มักจะเป็นหัวเรื่องที่มาจากตำนานรักในราชสำนัก หรือจากบทสอนในพระคัมภีร์ หรือ ตำนานศักดิ์สิทธิ์ จิตรกรเอกของฟลอเรนซ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ต่างก็ได้รับการจ้างให้ตกแต่งกัสโซเน จิตรกรทัสคันในซีเอนาบางคนมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะในการเขียนแผ่นภาพสำหรับกัสโซเน ที่สะสมเป็นแผ่นภาพอิสระจากหีบโดยนักสะสมและนักค้าขายศิลปะของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่บางครั้งก็จะทิ้งตัวกัสโซเน ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1850 ก็ได้มีการสร้างกัสโซเนแบบศิลปวิทยาฟื้นฟูขึ้นเพื่อใช้ในการตกแต่งด้วยแผ่นภาพกัสโซเนดั้งเดิม เพื่อที่จะทำให้หีบใหม่ดูราวกับเป็นของจริงมากขึ้น ตามปกติแล้วกัสโซเนจะตั้งอยู่ปลายเตียงที่ล้อมด้วยผ้าม่านภายในห้อง เช่นที่เห็นในภาพ "การประกาศของเทพ" หรือ "การเยือนเอลิซาเบท" กัสโซเนเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ตั้งอยู่กับที่ที่อาจจะใช้เป็นพนักพิงได้ถ้านั่งกับพื้น ในสมัยโบราณเก้าอี้เป็นสิ่งที่มีไว้สำหรับบุคคลสำคัญเท่านั้น ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งปกติที่เจ้าของบ้านอาจจะต้อนรับขับสู้แขกโดยการวางหมอนลงบนพื้นให้นั่ง ฉะนั้นกัสโซเนจึงอาจจะใช้เป็นพนักพิงได้ หรือใช้เป็นโต๊ะก็ได้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 กัสโซเนของต้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของทางตอนกลางและตอนเหนือของอิตาลีจะเป็นหีบสลัก และบางส่วนก็จะปิดทอง แต่ตกแต่งแบบคลาสสิก โดยมีแผ่นตกแต่งที่ขนาบด้วยเสาตรงมุมหีบ รอบตกแต่งด้วยขอบคันและบัว หรือ อาจจะเป็นแผ่นสลักแบบภาพนูนต่ำหรือนูนสูง กัสโซเนของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีอิทธิพลมาจากการตกแต่งโลงหินโรมัน เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 จอร์โจ วาซารี ก็สามารถกล่าวถึงกัสโซเนแบบเก่าที่ตกแต่งด้วยแผงภาพ เช่นตัวอย่างที่เห็นตามคฤหาสน์หรือวังในฟลอเรนซ.

ดู จิตรกรรมแผงและกัสโซเน

กำเนิดวีนัส (บอตติเชลลี)

กำเนิดวีนัส (The Birth of Venus) เป็นจิตรกรรมที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ซานโดร บอตติเชลลีเขียนภาพ “กำเนิดวีนัส” ระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและกำเนิดวีนัส (บอตติเชลลี)

ภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี)

หมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (ภาษาอังกฤษ: Portrait of a Man with a Medal of Cosimo the Elder) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิที่ฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ซานโดร บอตติเชลลีเขียนภาพ “ภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส” ระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี)

ภาพเหมือนของชายหนุ่ม (บอตติเชลลี-พิตติ)

หมือนของชายหนุ่ม (Portrait of Young Man) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่วังพิตติที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “ภาพเหมือนของชายหนุ่ม” ที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีราวระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและภาพเหมือนของชายหนุ่ม (บอตติเชลลี-พิตติ)

ภาพเหมือนตนเอง

หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..

ดู จิตรกรรมแผงและภาพเหมือนตนเอง

ภาพเหมือนตนเอง (ดือเรอร์)

หมือนตนเอง หรือ ภาพเหมือนตนเองเมื่ออายุยี่สิบแปดปีสวมเสื้อคลุมปกขนสัตว์ (Self-Portrait หรือ Self Portrait at Twenty-Eight Years Old Wearing a Coat with Fur Collar) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยอัลเบรชท์ ดือเรอร์จิตรกรคนสำคัญชาวเยอรมันของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดิม, มิวนิคในประเทศเยอรมนี “ภาพเหมือนตนเอง” ที่เขียนโดยอัลเบรชท์ ดือเรอร์ในปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและภาพเหมือนตนเอง (ดือเรอร์)

มัททีอัส กรือเนวัลด์

ยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร สันนิษฐานกันมานานว่าเป็นภาพเหมือนตนเองของมัททีอัส กรือเนวัลด์ มัททีอัส กรือเนวัลด์ (Matthias Grünewald หรือ Mathis หรือ Gothart หรือ Neithardt) ราว ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและมัททีอัส กรือเนวัลด์

มาโซลีโน ดา ปานีกาเล

มาโซลิโน ดา พานิคาเล (Masolino da Panicale หรือ Tommaso di Cristoforo Fini) (ราว ค.ศ. 1383 - ราว ค.ศ. 1447) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมแผง มาโซลิโน ดา พานิคาเลเกิดราว ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและมาโซลีโน ดา ปานีกาเล

มาเอสตะ

มาเอสตะ (Maestà) แปลว่า “เดชานุภาพ” เป็นลักษณะการเขียนภาพรูปเคารพแม่พระและพระกุมารที่อาจจะมีนักบุญและทูตสวรรค์รวมอยู่ด้วย “มาเอสตะ” เกี่ยวข้องกับ “บัลลังก์แห่งปรีชาญาณ” (Seat of Wisdom) ซึ่งเป็นหัวเรื่องของภาพ “พระมารดาพระเจ้า” (Theotokos) ซึ่งเป็นภาพคู่กับพระคริสต์ทรงเดชานุภาพ (Christ in Majesty) ที่มีมาก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นภาพพระเยซูบนบัลลังก์ที่นิยมกันในงานโมเสกของสมัยไบเซนไทน์ หรือบางครั้งนักประวัติศาสตร์ศิลปะจะเรียกว่า “พระราชินีมารีย์” (Maria Regina) ที่เป็นพระแม่มารีย์นั่งบนบัลลังก์แต่ไม่มีพระกุมาร ทางตะวันตกงานเขียนประเภทนี้วิวัฒนาการมาจากศิลปะไบแซนไทน์ เช่น ภาพจักรพรรดินีเฟาสตาสวมมงกุฏอุ้มบุตรชายบนพระเพลาบนเหรียญคอนแสตนติน และในงานเขียนเช่นการฉลองการสวมมงกุฏของพระเจ้าจัสตินที่สองในปี..

ดู จิตรกรรมแผงและมาเอสตะ

ฤดูใบไม้ผลิ (บอตติเชลลี)

ูใบไม้ผลิ (Primavera) เป็นจิตรกรรมที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญของอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในเมืองฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ซานโดร บอตติเชลลีเขียนภาพ “ฤดูใบไม้ผลิ” ราวปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและฤดูใบไม้ผลิ (บอตติเชลลี)

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ดู จิตรกรรมแผงและศิลปะคริสเตียน

สีฝุ่นเทมเพอรา

ระแม่มารีและพระบุตรโดยดุชโช, เทมเพอราและทองบนไม้, ค.ศ. 1284, เซียนา นิคโคโล เซมิเทโคโล ค.ศ. 1367 สีฝุ่นเทมเพอรา (tempera, egg tempera) เป็นสิ่งที่ใช้ในการเขียนภาพที่แห้งง่ายและถาวรที่ประกอบด้วยรงควัตถุผสมกับของเหลวที่เป็นตัวเชื่อม (มักจะใช้สารกลูเตน (Gluten)) เช่นไข่แดงหรือสารที่เป็นตัวเชื่อม (Sizing) อื่นๆ นอกจากนั้นเทมเพอราก็ยังหมายถึงจิตรกรรมที่เขียนด้วยสารผสมดังกล่าวด้วย การเขียนด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้ภาพที่เขียนมีอายุยืนนานเช่นภาพที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งก็ยังมีอยู่ให้เห็น เทมเพอราที่ผสมด้วยไข่เป็นวิธีที่ใช้ในการเขียนภาพโดยทั่วไปมาจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อมาแทนที่ด้วยการเขียนด้วยสีน้ำมัน เทมเพอราอีกประเภทหนึ่งที่ผสมระหว่างรงควัตถุกับสารที่เป็นกาวที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและมักจะเรียกโดยผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกาว่าสีโปสเตอร.

ดู จิตรกรรมแผงและสีฝุ่นเทมเพอรา

ออร์กัญญา

อันเดรอา ออร์ชานยา หรือเรียกสั้นๆ ว่า ออร์ชานยา (Andrea Orcagna หรือ Andrea di Cione di Arcangelo) (ราว ค.ศ. 1308 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1368) เป็นจิตรกร, ประติมากร และ สถาปนิกของยุคกอธิคชาวอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง, ฉากแท่นบูชา ออร์ชานยาเป็นลูกศิษย์ของอันเดรอา ปิซาโนและจอตโต ดี บอนโดเน น้องชายจาโคโป ดิ โชเน (Jacopo di Cione) และ นาร์โด ดิ โชเน (Nardo di Cione) ต่างก็เป็นจิตรกร ดิ โชเนมักจะทำงานจิตรกรรมร่วมกัน งานของออร์ชานยารวมทั้ง “ฉากแท่นบูชารีดีมเมอร์” Orcagna's works include the "Altarpiece of the Redeemer" (ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและออร์กัญญา

อัลตีกีเอโร

อัลติเชียโร หรือ อัลติเชียโร ดา เวโรนา (Altichiero หรือ Altichiero da Verona หรือ Aldighieri da Zevio) (ราว ค.ศ. 1330 - ราว ค.ศ. 1390) เป็นจิตรกรศิลปะยุคกอธิคชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง งานของอัลติเชียโรเป็นไปแนวเขียนของจอตโต ดี บอนโดเน และเป็นผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ก่อตั้งตระกูลการเขียนภาพแบบเวโรนาและปาดัว — งานของอัลติเชียโรยังคงมีให้เห็นในวัดซานอานาสตาเซียในเวโรนาและในโอราโตริโอซานจอร์โจในปาดัวที่มักจะเชื่อว่าเขียนร่วมกับจาโคโปจาโคโป ดาวันซิ (Jacopo d'Avanzi) อัลติเชียโรอาจจะเกินในบริเวณที่ไม่ไกลจากเซวิโอ และกลายมาเป็นสมาชิกคนสำคัญในสำนักของตระกูลสคาลิแจร์ (House of Scaliger) ในปี..

ดู จิตรกรรมแผงและอัลตีกีเอโร

ฮันส์ แม็มลิง

ันส์ แม็มลิง (Hans Memling; ราว ค.ศ. 1430 - 11 สิงหาคม ค.ศ. 1494) เป็นจิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คริสต์ศตวรรษที่ 15.

ดู จิตรกรรมแผงและฮันส์ แม็มลิง

ฌอง เฮย์

อง เฮย์ (ภาษาอังกฤษ: Jean Hey หรือ Jean Hay) (ราว ค.ศ. 1475 - ราว ค.ศ. 1505) เป็นจิตรกรที่เดิมรู้จักกันในนามว่า “มาสเตอร์แห่งมูแลงส์” เฮย์เป็นจิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพศิลปะคริสต์ศาสนา และจิตรกรรมหนังสือวิจิตร ฌอง เฮย์ทำงานในฝรั่งเศสและในอาณาบริเวณของดยุคแห่งเบอร์กันดีและมีส่วนเกี่ยวข้องกับดยุคแห่งบูร์บอง.

ดู จิตรกรรมแผงและฌอง เฮย์

จัมบัตติสตา ปิตโตนี

ัมบัตติสตา ปิตโตนี (Giambattista Pittoni) หรือ โจวันนี บัตติสตา ปิตโตนี (Giovanni Battista Pittoni; 6 มิถุนายน ค.ศ. 1687 - 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1767) เป็นจิตรกรยุคบาโรกตอนปลายและโรโกโกชาวเวนิสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมสีน้ำมัน.

ดู จิตรกรรมแผงและจัมบัตติสตา ปิตโตนี

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ดู จิตรกรรมแผงและจิตรกรรม

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ดู จิตรกรรมแผงและจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

จิตรกรรมสีน้ำมัน

"โมนาลิซา" โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราว ค.ศ. 1503-1506 จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินสีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินสีดกับยางสนหรือยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า "น้ำมันเคลือบ" (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มีน้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัต, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่าง ๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน.

ดู จิตรกรรมแผงและจิตรกรรมสีน้ำมัน

จิตรกรรมตะวันตก

“สาวใส่ต่างหูมุก” (ค.ศ. 1665 - 1667) โดย โยฮันส์ เวร์เมร์ หรือรู้จักกันในชื่อ “โมนาลิซาเหนือ” จิตรกรรมตะวันตก (Western painting) ประวัติของจิตรกรรมตะวันตกเป็นประวัติที่ต่อเนื่องกันมาจากการเขียนภาพตั้งแต่ก่อนยุคกลางหรือศิลปะของกรีกและโรมัน เริ่มแรกการเขียนภาพเป็นแบบศิลปะแสดงลักษณ์ (Representational art) และลวดลายแบบกรีกและโรมันมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงวิวัฒนาการมาเป็นศิลปะนามธรรม (Abstract art) และศิลป์มโนทัศน์ (Conceptual art) การวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันตกคล้ายคลึงกับการวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันออกโดยทั่วไปในสองสามร้อยปีหลัง ศิลปะแอฟริกา, ศิลปะอิสลาม, ศิลปะอินเดีย, ศิลปะจีน, และศิลปะญี่ปุ่น แต่ละอย่างที่กล่าวมาต่างก็มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปก และในที่สุดศิลปะก็กลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันออก จิตรกรรมตะวันตกเริ่มด้วยการเขียนภาพสำหรับสถาบันศาสนา ต่อมาผู้อุปถัมภ์ก็ขยายออกมารวมถึงเจ้านายและชนชั้นกลาง ตั้งแต่ยุคกลาง มาจนถึง ยุคเรเนสซองส์ จิตรกรสร้างงานให้กับสถาบันศาสนาและลูกค้าผู้มั่งคั่ง พอมาถึงสมัยสมัยบาโรกจิตรกรก็รับงานจากผู้มีการศึกษาดีขึ้นและจากชนชั้นกลางผู้มีฐานะดี ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 จิตรกรก็เป็นอิสระจากความต้องการของผู้อุปถัมภ์หรือลูกค้าในการวาดแต่เพียงภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ตำนานเทพ ภาพเหมือน หรือ ภาพเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ปรัชญาที่ว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” (art for art's sake) ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นโดยการแสดงออกทางผลงานเช่นงานเขียนของฟรานซิสโก โกยา, จอห์น คอนสเตเบิล (John Constable) และ เจย์ เอ็ม ดับเบิลยู เทอร์เนอร์ (J.M.W.

ดู จิตรกรรมแผงและจิตรกรรมตะวันตก

ดีร์ก เบาตส์

ีร์ก เบาตส์ (Dirk Bouts; ราว ค.ศ. 1410/ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1475) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและการเขียนบานพับภาพ จากหนังสือ Het Schilderboeck (ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและดีร์ก เบาตส์

ฉากประดับแท่นบูชา

ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) คือภาพหรืองานแกะสลักนูนที่เป็นภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาที่แขวนหน้าแท่นบูชา ฉากแท่นบูชามักจะประกอบด้วยแผงสองหรือสามแผง ประกอบกันที่เรียกว่า “จิตรกรรมแผง” และมักจะเรียกว่า “บานพับภาพ” ซึ่งอาจจะเป็นสองหรือสามบานหรือมากกว่านั้น บางครั้งฉากแท่นบูชาอาจจะเป็นกลุ่มประติมากรรม บางครั้งฉากแท่นบูชาก็อาจจะตั้งบนแท่นบูชา ถ้าแท่นบูชาเป็นแท่นลอยที่มองได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังก็จะมีฉากแท่นบูชาได้ทั้งสองด้าน นอกจากนั้นก็ยังอาจจะตกแต่งด้วยภาพเขียนฉากกางเขนหรือชั้นแท่นบู.

ดู จิตรกรรมแผงและฉากประดับแท่นบูชา

ฉากแท่นบูชาวิลทัน

นักบุญเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพเสียบด้วยตราของพระมหากษัตริย์อังกฤษ (''l.'') และ กวางขาวของของพระเจ้าริชาร์ด (''r.'') ฉากแท่นบูชาวิลทัน หรือ บานพับภาพวิลทัน (Wilton Diptych) เป็นบานพับภาพฉากแท่นบูชาขนาดเล็กที่เขียนบนแผ่นไม้สองแผ่นสองด้านที่ยึดติดกันด้วยบานพับ งานฉากแท่นบูชาวิลทันเป็นงานศิลปะที่หายากที่เป็นจิตรกรรมแผงเพียงไม่กี่ชิ้นที่ยังหลงเหลือมาจากปลายยุคกลางของอังกฤษ “ฉากแท่นบูชาวิลทัน” ที่เขียนขึ้นราวระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและฉากแท่นบูชาวิลทัน

ฉากแท่นบูชาเบรรา

ฉากแท่นบูชาเบรรา หรือ พระแม่มารีเบรรา หรือ พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญ (ภาษาอังกฤษ: Holy Conversation; ภาษาอิตาลี: Pala di Brera หรือ Brera Madonna หรือ Brera Altarpiece หรือ Montefeltro Altarpiece) เป็นฉากแท่นบูชาที่เขียนโดยเปียโร เดลลา ฟรานเชสกา จิตรกรสมัยสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เบรราที่เมืองมิลานในประเทศอิตาลี “แท่นบูชาเบรรา” เป็นภาพที่เขียนระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและฉากแท่นบูชาเบรรา

ฉากแท่นบูชาเมรอด

ฉากแท่นบูชาเมรอด (Mérode Altarpiece) หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ (Annunciation Altarpiece) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและฉากแท่นบูชาเมรอด

ปาฏิหาริย์สุดท้ายและความตายของนักบุญเซโนเบียส (บอตติเชลลี)

ปาฏิหาริย์สุดท้ายและความตายของนักบุญเซโนเบียส หรือ ปาฏิหาริย์สุดท้ายและความตายของนักบุญเซโนเบียส (Last Miracle and the Death of St.) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลี จิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอจิตรกรรมชั้นครูแห่งเดรสเดนในเยอรมนี ภาพ “ปาฏิหาริย์สุดท้ายและความตายของนักบุญเซโนเบียส” ที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีราวระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและปาฏิหาริย์สุดท้ายและความตายของนักบุญเซโนเบียส (บอตติเชลลี)

ปีเอโตร โลเรนเซตตี

ปีเอโตร โลเรนเซตตี (Pietro Lorenzetti หรือ Pietro Laurati) (ราว ค.ศ. 1280 - ค.ศ. 1348) เป็นจิตรกรสมัยกอธิคชาวอิตาลีของตระกูลการเขียนภาพแบบเซียนนาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมแผง ปีเอโตร โลเรนเซตตีเกิดเมื่อราว ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและปีเอโตร โลเรนเซตตี

ปีเอโตร เปรูจีโน

“ภาพเหมือนตนเอง” (ค.ศ. 1497–1500) เปียโตร เปรูจิโน (Pietro Perugino; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Pietro Vannucci, ค.ศ. 1446 - ค.ศ. 1524) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอเนซองส์คนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน และการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ดู จิตรกรรมแผงและปีเอโตร เปรูจีโน

นักบุญเซโนเบียสรับศีลล้างบาป (บอตตีเชลลี)

นักบุญเซโนเบียสรับศีลจุ่มและการได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราช หรือ นักบุญเซโนเบียสรับศีลจุ่ม (Baptism of St.) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลี จิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน ภาพ “นักบุญเซโนเบียสรับศีลจุ่ม” ที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีราวระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและนักบุญเซโนเบียสรับศีลล้างบาป (บอตตีเชลลี)

แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล

แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล (Annunciazione di Cestello) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซันโดร บอตตีเชลลี จิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟีซีที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและแม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล

แม่พระและพระกุมารกับทูตสวรรค์ (บอตตีเชลลี)

ูบทความหลักที่ พระแม่มารีและพระบุตร พระแม่มารีและพระบุตรและเทวดา (ภาษาอังกฤษ: Madonna and Child with an Angel) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่สเปนดาเล เดกลิ อินโนเชนติในเมืองฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ซานโดร บอตติเชลลีเขียนภาพ “พระแม่มารีและพระบุตรและเทวดา” ระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและแม่พระและพระกุมารกับทูตสวรรค์ (บอตตีเชลลี)

แม่พระและพระกุมารและทูตสวรรค์สององค์ (บอตตีเชลลี)

แม่พระและพระกุมารและทูตสวรรค์สององค์ (Madonna and Child and Two Angels) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซันโดร บอตตีเชลลี จิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์คาปิโตลิเนในเนเปิลส์ในประเทศอิตาลี ภาพ “แม่พระและพระกุมารและทูตสวรรค์สององค์” ที่เขียนโดยซันโดร บอตตีเชลลีราวระหว่างปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและแม่พระและพระกุมารและทูตสวรรค์สององค์ (บอตตีเชลลี)

แอร์โกเล เด โรแบร์ตี

แอร์โคเล เดรอแบร์ติ (Ercole de' Roberti หรือ Ercole Ferrarese หรือ Ercole da Ferrara) (ราว ค.ศ. 1451 - ค.ศ. 1496) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีตอนต้นของตระกูลการเขียนภาพแบบเฟอร์ราราของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง แอร์โคเล เดรอแบร์ติเกิดเมื่อราว ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและแอร์โกเล เด โรแบร์ตี

โกซีโม รอสเซลลี

ม รอซเซลิ (Cosimo Rosselli) (ค.ศ. 1439 - ค.ศ. 1506) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีตอนต้นครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและฉากแท่นบูชา รอซเซลิทำงานส่วนใหญ่ในฟลอเรนซ์ โคสิโม รอซเซลิเกิดในปี ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและโกซีโม รอสเซลลี

โรเบิร์ต กัมปิน

แผ่นภาพ "Flemalle" ส่วนหนึ่ง งานที่มักจะสันนิษฐานว่าเขียนโดยกัมปิน บานภาพนี้เป็นบานทางขวาของบานพับภาพเวิร์ล (Werl triptych) ที่เขียนเมื่อ ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและโรเบิร์ต กัมปิน

โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน

รเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน (Rogier van der Weyden) หรือ รอฌีเย เดอ เลอ ปัสตูร์ (Rogier de le Pasture; ค.ศ. 1399/ค.ศ. 1400 - 18 มิถุนายน ค.ศ. 1464) เป็นจิตรกรคนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เขาเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและการเขียนบานพั.

ดู จิตรกรรมแผงและโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน

โลเรนโซ โมนาโก

ลอเร็นโซ โมนาโค (ภาษาอังกฤษ: Lorenzo Monaco; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Piero di Giovanni) (ราว ค.ศ. 1370 - ค.ศ. ค.ศ. 1425) เป็นจิตรกรสมัยกอธิคชาวอิตาลีของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพจิตรกรรมแบบกอธิคนานาชาติ ลอเร็นโซเข้านิกายคามัลโดเลเซ (Camaldolese) ที่วัดซานตามาเรีย เดกลิ อันเจลิที่ฟลอเรนซ์ในปีค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและโลเรนโซ โมนาโก

โจวันนี บัตติสตา ตีเอโปโล

อวานนิ บัตติสตา ติเอโปโล (Giovanni Battista Tiepolo หรือ Giambattista Tiepolo หรือ Gianbattista) (5 มีนาคม ค.ศ. 1696 - 27 มีนาคม ค.ศ. 1770) เป็นจิตรกรยุคบาโรกชาวเวนิสของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และ จิตรกรรมสีน้ำมัน ติเอโปโลไม่แต่ทำงานในอิตาลีแต่ยังทำงานในเยอรมนีและสเปนด้ว.

ดู จิตรกรรมแผงและโจวันนี บัตติสตา ตีเอโปโล

โดเมนีโก กีร์ลันดาโย

มนีโก กีร์ลันดาโย (Domenico Ghirlandaio) หรือ โดเมนีโก ดี ตอมมาโซ กูร์ราดี ดี ดอฟโฟ บีกอร์ดี (Domenico di Tommaso Curradi di Doffo Bigordi; ค.ศ. 1449 - 11 มกราคม ค.ศ.

ดู จิตรกรรมแผงและโดเมนีโก กีร์ลันดาโย

เวกกีเอตตา

| สี.

ดู จิตรกรรมแผงและเวกกีเอตตา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Panel paintingจิตรกรรมบนแผ่นไม้

โรเบิร์ต กัมปินโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดินโลเรนโซ โมนาโกโจวันนี บัตติสตา ตีเอโปโลโดเมนีโก กีร์ลันดาโยเวกกีเอตตา