โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จาโกโม ปุชชีนี

ดัชนี จาโกโม ปุชชีนี

กโม ปุชชีนี จาโกโม อันโตนีโอ โดเมนีโก มีเกเล เซกอนโด มารีอา ปุชชีนี (Giacomo Puccini 22 ธันวาคม พ.ศ. 2401 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467) เป็นคีตกวีชาวอิตาเลียน เกิดที่เมืองลูคคา ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) เขาเป็นที่รู้จักในนามของ ปุชชินี และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อุปรากรที่โด่งดังของเขาได้แก่เรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย และ ทอสก้า ปุชชินีเสียชีวิตที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924).

24 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2401พ.ศ. 2467พิงเคอร์ตันมาริโอ แลนซามาดามบัตเตอร์ฟลายมิสไซง่อนรายนามนักดนตรีสากลลาบอแอมลูชาโน ปาวารอตตีสาวเครือฟ้าอุปรากรดนตรียุคโรแมนติกคีตกวีคตินิยมศิลปะญี่ปุ่นตอสกาตูรันโดแอนโทนี มิงเกลลาโม่ลี่ฮัวโรงเรียนตะละภัฏศึกษาโคเซ การ์เรรัสเบอร์จิต นิลส์สันNessun dorma22 ธันวาคม29 พฤศจิกายน

พ.ศ. 2401

ทธศักราช 2401 ตรงกับคริสต์ศักราช 1858 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและพ.ศ. 2401 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2467

ทธศักราช 2467 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1924 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและพ.ศ. 2467 · ดูเพิ่มเติม »

พิงเคอร์ตัน

งเคอร์ตัน (Pinkerton) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 ของวงอัลเทอร์เนทีฟร็อกอเมริกัน วงวีเซอร์ ออกขายเมื่อวันที่ 24 กันยายน..

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและพิงเคอร์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

มาริโอ แลนซา

มาริโอ แลนซา (Mario Lanza) นักร้องเสียงเทเนอร์ นักแสดงภาพยนตร์และโอเปร่าชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาเลียน มีชื่อเสียงในช่วงทศวรรษ 1940 ถึง 1950 มาริโอ แลนซา เกิดที่ฟิลาเดลเฟีย เพนซิลเวเนีย มีชื่อจริงว่า อัลเฟรด อาร์โนลด์ คอคอซซา (Alfred Arnold Cocozza) พ่อแม่เป็นชาวอิตาเลียนอพยพมาจากแคว้นอาบรุซโซและแคว้นโมลีเซ เริ่มร้องโอเปร่าตั้งแต่อายุ 16 ปี และเข้ารับฝึกฝนจากเซอร์เก คุซเซวิตซกี และศึกษาด้านการอำนวยเพลงจากบอริส โกลดอฟสกีและเลนนาร์ด เบิร์นสไตน์ เขาเริ่มใช้ชื่อในการแสดง มาริโอ แลนซา เมื่ออายุ 21 ปี ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและมาริโอ แลนซา · ดูเพิ่มเติม »

มาดามบัตเตอร์ฟลาย

ปสเตอร์อุปรากรเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ของ จาโกโม ปุชชีนี (วาดโดยอดอลโฟ โฮเฮนสตน์, 1854–1928) มาดามบัตเตอร์ฟลาย (Madama Butterfly) เป็นอุปรากรความยาว 3 องก์ (บทประพันธ์ดั้งเดิมมี 2 องก์) ประพันธ์โดย จาโกโม ปุชชีนี คีตกวีชาวอิตาลี คำร้องโดยลุยจิ อิลลิกา (1857 – 1919) เปิดการแสดงครั้งแรกเมื่อปี 1904 เนื้อหากล่าวถึงเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักระหว่างหญิงสาวชาวญี่ปุ่นกับนายทหารเรือชาวอเมริกัน ในไทยได้มีการสร้างเป็นละครเวทีในชื่อเรื่อง "โจโจ้ซัง" และได้มีการดัดแปลงเป็นบทละครเรื่องสาวเครือฟ้า นักวิชาการคนหนึ่งระบุว่า เรื่องราวของอุปรากรดังกล่าวอิงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในนะงะซะกิในต้นคริสต์ทศวรรษ 1890 รุ่นดั้งเดิมของอุปรากรซึ่งมี 2 องก์ แสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1904 ที่โรงอุปรากรลา สกาลาในมิลาน ได้รับการยอมรับน้อยมากแม้จะมีนักร้องที่มีชื่อเสียงหลายคนรับบทนำ ส่วนใหญ่เป็นเพราะเสร็จช้าและเวลาฝึกซ้อมไม่เพียงพอ ปุชชีนีทบทวนอุปรากร แบ่งองก์ที่สองเป็นสององก์ และเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ วันที่ 28 พฤษภาคม 1904 รุ่นนี้มีการแสดงในเบรสเซียและประสบความสำเร็จอย่างสูง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อยู่ในรายการอุปรากรที่มีการแสดงทั่วโลกมากที่สุด อันดับที่ 7 ของโอเปร.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและมาดามบัตเตอร์ฟลาย · ดูเพิ่มเติม »

มิสไซง่อน

มิสไซง่อน (Miss Saigon) เป็นละครเพลง ซึ่งประพันธ์ดนตรีโดยคลอดด์-มิเชล โชนเบิร์ก (Claude-Michel Schönberg) คำร้องโดยอัลเลง บูบลิล (Alain Boublil) และริชาร์ด มอลต์บี จูเนียร์ (Richard Maltby, Jr.) โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากอุปรากรของจาโกโม ปุชชีนี (Giacomo Puccini) เรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย (Madame Butterfly) ซึ่งทั้ง "มาดามบัตเตอร์ฟลาย" และ "มิสไซง่อน" ได้ถ่ายทอดเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักของหญิงชาวเอเชียที่ถูกชายชาวอเมริกันทอดทิ้ง ในขณะที่เนื้อเรื่องเดิมของ "มาดามบัตเตอร์ฟลาย" เป็นเรื่องราวความรักของหญิงสาวเกอิชาชาวญี่ปุ่นและนายทหารเรือชาวอเมริกันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1900 ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเพิ่งเริ่มเปิดประเทศ "มิสไซง่อน" เป็นเรื่องราวความรักของหญิงสาวชาวเวียดนามที่ทำงานในสถานบริการ และนายทหารชาวอเมริกันที่เข้าไปประจำการในเมืองไซง่อน (ปัจจุบันคือ นครโฮจิมินห์) ประเทศเวียดนาม ระหว่างสงครามเวียดนาม ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 มิสไซง่อนรอบปฐมทัศน์แสดงที่โรงละครเธียร์เตอร์รอยัล ถนนดรูรี่ (Theatre Royal, Drury Lane) กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1989 และแสดงรอบสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1999 รวมทั้งหมด 4,264 รอบ แต่ยังเปิดการแสดงที่โรงละครบรอดเวย์ (The Broadway Theatre) สหรัฐอเมริกา เมื่อค.ศ. 1991 และเปิดการแสดงตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก มิสไซง่อนได้กลับมาเปิดทำการแสดงอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ณ โรงละครปรินส์เอ็ดวาร์ด กรุงลอนดอน และได้สร้างสถิติใหม่เป็นละครที่สร้างรายได้มากที่สุดจากการเปิดจำหน่ายบัตรในวันแรก โดยทำรายได้ไปมากกว่าสี่ล้านปอนด์หรือกว่าหนึ่งร้อยเก้าสิบล้านบาทภายในวันเดียว มิสไซง่อน ถือเป็นละครเพลงของโชนเบิร์กและบูบลิลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากเลมีเซราบล์ (Les Misérables) ที่เป็นการแสดงในค.ศ. 1980 มิสไซง่อนยังถือเป็นละครบรอดเวย์ที่ดำเนินการแสดงเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดเป็นอันดับ 10 ในประวัติศาสตร์ของละครเพลง.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและมิสไซง่อน · ดูเพิ่มเติม »

รายนามนักดนตรีสากล

รายนามนักดนตรีสากล.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและรายนามนักดนตรีสากล · ดูเพิ่มเติม »

ลาบอแอม

มีมี ลาบอแอม (La bohème) เป็นอุปรากรภาษาอิตาลีจำนวน 4 องก์ เขียนโดยจาโกโม ปุชชีนี คำร้องโดยลุยจี อิลลีกา (1857 – 1919) ดัดแปลงจากเรื่อง Scènes de la vie de bohème ของอ็องรี มูร์แฌร์ นักเขียนชาวฝรั่งเศส จัดแสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1896 ที่โรงอุปรากร Teatro Regio เมืองตูริน อำนวยเพลงโดยอาร์ตูโร ตอสกานีนี จนถึงปัจจุบัน เรื่องลาบอแอมเป็นอุปรากรที่นิยมจัดแสดงบ่อยครั้งที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย เนื้อเรื่องกล่าวถึงความรักแรกพบระหว่างหญิงสาวชื่อ มีมี กับหนุ่มนักกลอนชื่อ โรฟอลโด ต่อมาโรฟอลโดพยายามจะตีจากมีมี เพราะไม่พอใจที่เธอแสดงพฤติกรรมหว่านเสน่ห์ไปทั่ว มีมีหัวใจสลายและสุขภาพเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ทั้งคู่ต่างเพิ่งตระหนักในรักและกลับมามีความสุขร่วมกันในช่วงสั้น ๆ ก่อนเธอจะเสียชีวิต ในปี..

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและลาบอแอม · ดูเพิ่มเติม »

ลูชาโน ปาวารอตตี

วารอตติ ลูชาโน ปาวารอตตี (Luciano Pavarotti) (12 ตุลาคม พ.ศ. 2478 - 6 กันยายน พ.ศ. 2550) เป็นนักร้องโอเปร่าเสียงเทเนอร์ชาวอิตาลี ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในผลงานที่ชื่อว่า "Three Tenors" ซึ่งเป็นการแสดงโอเปร่า โดยนักร้องชายเสียงเทเนอร์ ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคปัจจุบันสามคน ประกอบด้วย ลูชาโน ปาวารอตตี, ปลาซิโด โดมิงโก และโฮเซ คาเรราส์ การแสดงของทรีเทเนอร์ส มีขึ้นครั้งแรกในการแข่งขันฟุตบอลโลก ครั้งที่ 14 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อ..

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและลูชาโน ปาวารอตตี · ดูเพิ่มเติม »

สาวเครือฟ้า

วเครือฟ้า เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและสาวเครือฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

อุปรากร

รงอุปรากรซิดนีย์ในประเทศออสเตรเลีย เป็นโรงอุปรากรที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อุปรากร (opera) เป็นศิลปะการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแบบละครที่ดำเนินเรื่องโดยใช้ดนตรีเป็นหลักหรือทั้งหมด อุปรากรถือเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีคลาสสิก ตะวันตก มีความใกล้เคียงกับละครเวทีในเรื่องฉาก การแสดง และเครื่องแต่งกาย แต่สิ่งสำคัญที่แยกอุปรากรออกจากละครเวทีทั่วไป คือ ความสำคัญของเพลง ดนตรีที่ประกอบการร้อง ซึ่งอาจมีตั้งแต่วงดนตรีขนาดเล็กจนไปถึงวงออร์เคสตราขนาดใหญ.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรียุคโรแมนติก

รแมนติก (ค.ศ.1810-1910) เป็นยุคของดนตรีคลาสสิกในช่วงศตวรรษที่19 ซึ่งเน้นอารมณ์ของดนตรีมากกว่าความสมดุลของบทตอน และเน้นความเป็นตัวตนของคีตกวีมากกว่ากฎเกณฑ์ทางดนตรีที่มีมาแต่เดิม คำว่า "โรแมนติก" ถูกประยุกต์ใช้ในวงการดนตรีปี ค.ศ. 1810 ซึ่งเอามาจากวงการวรรณกรรม มีความหมายว่า อารมณ์ที่รุนแรงของมนุษย์ โดยลักษณะดนตรีแบบโรแมนติกนี้เริ่มขึ้นในงานของนักประพันธ์เพลงและนักดนตรีชื่อ ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) ดนตรียุคโรแมนติกนั้นเริ่มต้นด้วยเพลงขับร้องและเพลงเปียโนสั้นๆ ต่อมาเป็นเพลงสำหรับวงออร์เคสตร.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและดนตรียุคโรแมนติก · ดูเพิ่มเติม »

คีตกวี

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1820 คีตกวี เป็นคำศัพท์ทางดนตรีที่พบได้บ่อยครั้ง หมายถึง ผู้ประพันธ์ดนตรี มักจะใช้เรียกผู้ที่แต่งและเรียบเรียงดนตรีบางประเภท โดยเฉพาะ ดนตรีคลาสสิก โดยที่ผู้แต่งเพลงมักจะแต่งทั้งท่วงทำนองหลัก และแนวประสานทั้งหมด เพื่อให้นักดนตรีเป็นผู้นำบทเพลงนั้นไปบรรเลงอีกทอดหนึ่ง โดยนักดนตรีจะต้องบรรเลงทุกรายละเอียดที่คีตกวีได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด คำว่า คีตกวี ในภาษาไทยนี้ นิยมใช้เรียก ผู้ประพันธ์ดนตรีในแนวดนตรีคลาสสิกของตะวันตก โดยแปลมาจากคำว่า composer นั่นเอง อย่างไรก็ดี บางท่านอาจใช้คำว่า ดุริยกวี แต่ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน สำหรับผู้ที่แต่งเพลงในแนวดนตรีอื่นๆ มักจะเรียกว่า นักแต่งเพลง หรือ ครูเพลง เท่านั้น คีตกวี อาจไม่จำเป็นต้องประพันธ์ดนตรีลงในแผ่นกระดาษเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นผู้บรรเลงบทประพันธ์นั้นเป็นครั้งแรก และในภายหลังมีผู้อื่นนำไปใช้บรรเลงตามก็ได้ชื่อว่า คีตกวี เช่นกัน โดยทั่วไปเราจะรู้จัก คีตกวี ในฐานะที่เป็น นักแสดงดนตรี แม้ว่าหลายท่านจะมีผลงานการประพันธ์ดนตรี มากกว่าผลงานการบรรเลงก็ตาม เช่น เบโทเฟิน, โมซาร์ท, วากเนอร์ ฯลฯ.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและคีตกวี · ดูเพิ่มเติม »

คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น

มพ์โปสเตอร์โดยอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก ค.ศ. 1892 คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น (Japonism หรือ Japonisme) เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศสที่ใช้ในภาษาอังกฤษด้วย เป็นคำที่หมายถึงศิลปะตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของญี่ปุ่น คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกโดยชูลส์ แคลตีในหนังสือ L'Art Français en 1872 (ศิลปะฝรั่งเศสของปี ค.ศ. 1872) ที่ตีพิมพ์ในปีเดียวกันColta F. Ives, "The Great Wave: The Influence of Japanese Woodcuts on French Prints", 1974, The Metropolitan Museum of Art, ISBN 0-87099-098-5 งานที่ถ่ายทอดจากพื้นฐานของศิลปะญี่ปุ่นโดยตรงในศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะงานที่สร้างโดยศิลปินชาวฝรั่งเศสเรียกว่า "japonesque" ("แบบญี่ปุ่น") ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1860 ภาพพิมพ์แกะไม้ภาพอุกิโยะ (ukiyo-e) ของญี่ปุ่นกลายเป็นแหล่งของแรงบันดาลใจสำหรับจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์ชาวยุโรปในฝรั่งเศสและในประเทศตะวันตกและในที่สุดก็รวมไปถึงจิตรกรนวศิลป์และบาศกนิยม (cubism) ต่อมา สิ่งที่กระทบความรู้สึกของศิลปินของศิลปะญี่ปุ่นคือการละการใช้ทัศนมิติและเงา, การใช้สีจัดในบริเวณภาพที่ราบ, เสรีภาพในการจัดองค์ประกอบในการวางหัวเรื่องของภาพจากศูนย์กลางของภาพ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในมุมทแยงด้านต่ำจากฉากหลัง.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและคตินิยมศิลปะญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ตอสกา

ตอสกา (Tosca) เป็นอุปรากรภาษาอิตาลีจำนวน 3 องก์ ประพันธ์ขึ้นโดยจาโกโม ปุชชีนี คำร้องโดยลุยจิ อิลลิกา (1857 – 1919) และจุยเซปเป จิอาโคซา (1847-1906) อุปรากรเรื่องนี้ดัดแปลงจากละครประโลมโลกเรื่อง La Tosca ของวิกตอเรียน ซาโด มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1800 ในระหว่างสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1792 - 1802) ซึ่งช่าวโรมถูกคุกคามจากการรุกรานของจักรพรรดินโปเลียน โดยเนื้อเรื่องจะแสดงออกถึงเรื่องราวการกดขี่ข่มเหง ปมฆาตกรรม และภาวะไม่สงบทางการเมือง การแสดงรอบปฐมทัศน์มีขึ้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1900 ที่โรงอุปรากร Teatro Costanzi กรุงโรม ในช่วงปี 1889 ระหว่างที่ปุชชืนีออกเดินสายแสดงผลงานอยู่ที่อิตาลีก็มีโอกาสได้อ่านบทละครของซาโด และได้รับโอกาสดัดแปลงเนื้อเรื่องไปเป็นอุปรากรในปี 1895 ปุชชีนีใช้เวลากว่า 4 ปีเพื่อถ่ายทอดคำร้องต่าง ๆ จากภาษาฝรั่งเศสไปสู่ภาษาอิตาลีโดยได้รับแรงกดดันและการวิจารณ์มากมาย อีกทั้งการแสดงรอบปฐมทัศน์ก็ล่าช้าออกไปเพราะเนื่องจากภาวะบ้านเมืองไม่สงบ ระยะแรกของการออกแสดงนั้นไม่ได้รับคำชื่นชมจากนักวิจารณ์ ภายหลังกลับประสบความสำเร็จจากการบอกต่อของผู้ชม จนถึงปัจจุบัน อุปรากรเรื่องตอสกาได้กลายเป็นอุปรากรยอดนิยมที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและตอสกา · ดูเพิ่มเติม »

ตูรันโด

ปสเตอร์การแสดงรอบปฐมทัศน์ ตูรันโด (Turandot) เป็นอุปรากรภาษาอิตาลีจำนวน 3 องก์ เขียนโดยจาโกโม ปุชชีนี คีตกวีอุปรากรคนสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของจาโกโม ปุชชีนี ที่เสียชีวิตก่อนจะเขียนเสร็จ ปุชชีนีเริ่มเขียนอุปรากรเรื่องนี้ตั้งแต่เดือนมีนาคม..

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและตูรันโด · ดูเพิ่มเติม »

แอนโทนี มิงเกลลา

แอนโทนี มิงเกลลา (Anthony Minghella) (6 มกราคม ค.ศ. 1954 – 18 มีนาคม ค.ศ. 2008) เป็นผู้กำกับผู้ได้รับรางวัลออสการ์คนสำคัญของอังกฤษ มิงเกลลาเป็นประธานกรรมการสถาบันภาพยนตร์อังกฤษ (British Film Institute) ระหว่างปี..

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและแอนโทนี มิงเกลลา · ดูเพิ่มเติม »

โม่ลี่ฮัว

นื้อร้องและทำนองเพลง Gekkin Gakufu) ฉบับ พ.ศ. 2420 แต่เขียนชื่อเพลงผิดเป็น "抹梨花" (อ่าน 'โม่ลี่ฮัว' เหมือนกัน) โม่ลี่ฮัว ('เจ้าดอกมะลิ') เป็นเพลงลูกทุ่งจีนซึ่งได้รับความนิยม", Mar 3rd 2011 เพลงนี้มีอายุย้อนหลังไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 ภายหลังจึงได้รับการสร้างสรรค์ในหลาย ๆ รูปแบบ จนเป็นที่นิยมทั้งในและนอกประเทศจีน เพลงนี้ยังได้รับการใช้ในงานสำคัญหลายงาน เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน 2547 โอลิมปิกฤดูร้อน 2548 พิธีเปิดเซี่ยงไฮ้เอกซ์โป 2553 รวมถึงในการปฏิวัติดอกมะลิเมื่อปี 2554 ซึ่งเพลงนี้ถูกรัฐบาลจีนปิดกั้นมิให้เผยแพร่ด้ว.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและโม่ลี่ฮัว · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนตะละภัฏศึกษา

อาคารโรงเรียนตะละภัฏศึกษา อาคารที่ตั้งเดิมของโรงละครปรีดาลัย ปัจจุบันปิดทำการแล้ว โรงเรียนตะละภัฏศึกษา เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 63 ถนนแพร่งนรา แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก 2 ชั้น เดิมเคยใช้เป็นโรงละครปรีดาลัย โรงละครที่จัดแสดงละครร้องโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างยิ่งในรัสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีบทละครที่ทรงประพันธ์เสร็จ ณ ที่นี่หลายเรื่อง รวมถึงเปิดแสดงด้วย เช่น สาวเครือฟ้า ที่ดัดแปลงมาจากบทอุปรากรเรื่อง Madame Butterfly ของคีตกวีชาวอิตาลี จาโกโม ปุชชีนี หรือ อีนากพระโขนง ที่ต่อเติมมาจากตำนานเมืองอันโด่งดังของแม่นากพระโขนง (สำหรับเรื่องนี้เมื่อทรงประพันธ์ ทรงใช้นามแฝงว่า "หมากพญา") ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเมื่อจัดแสดง ถึงกับมีการแสดงซ้ำต่อเนื่องกันถึง 24 คืน เป็นต้น โดยแต่เดิมโรงละครปรีดาลัย เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังวรวรรณ วังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของวังวรวรรณ ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน และอาคารพาณิชย์ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งปัจจุบันนี้คือ ถนนแพร่งนรา คงเหลือแต่อาคารโรงเรียนตะละภัฏศึกษา ประวัติของโรงเรียนตะละภัฏศึกษา เริ่มต้นหลังจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้ปลีกวิเวกไปใช้พระชนม์ชีพบั้นปลายที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่นั่น เมื่อปี..

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและโรงเรียนตะละภัฏศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

โคเซ การ์เรรัส

ูแซ็ป มาริอา การ์เรรัส อี ก็อลย์ (Josep Maria Carreras i Coll) หรือ โคเซ การ์เรรัส (José Carreras) นักร้องอุปรากรเสียงเทเนอร์ชาวสเปนเชื้อสายกาตาลา มีชื่อเสียงโดยเฉพาะการขับร้องอุปรากรของจูเซปเป แวร์ดี และจาโกโม ปุชชีนี การ์เรรัสเกิดที่บาร์เซโลนา เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนสามคนของครอบครัวผู้ใช้แรงงาน เขาเริ่มหัดร้องเพลงตั้งแต่เด็ก โดยได้แบบอย่างมาจาก มาริโอ แลนซา ที่ปรากฏตัวในภาพยนตร์ The Great Caruso (1951) ขณะนั้นมีอายุเพียง 6 ปี เขาได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ได้รับการฝึกฝนและขับร้องแสดงครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและโคเซ การ์เรรัส · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์จิต นิลส์สัน

อร์จิต นิลส์สัน (Birgit Nilsson) นักร้องโอเปร่าเสียงโซปราโนชาวสวีเดน นิลส์สันเกิดที่เมือง Bjärlöv แคว้นสเกน ทางตอนใต้ของสวีเดน มีชื่อตอนเกิดว่า Birgit Märta Svensson เป็นบุตรคนเดียวของครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพรสวรรค์ด้านการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก และได้รับการฝึกสอนเพิ่มเติม เริ่มแสดงอุปรากรครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและเบอร์จิต นิลส์สัน · ดูเพิ่มเติม »

Nessun dorma

ตูรันโด รับบทโดยมอนต์เซอร์รัต คาบาลเย และเปโดร ลาวิยอง เนสซูน ดอร์มา (Nessun dorma; แปลว่า None shall sleep) เป็นท่อนอาเรียจากองก์ที่ 3 องก์สุดท้ายของอุปรากรภาษาอิตาลีเรื่อง ตูรันโด ของจาโกโม ปุชชีนี เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของปุชชีนีที่ดัดแปลงจากนิทานเปอร์เซียเรื่อง พันหนึ่งทิวา แต่เสียชีวิตก่อนจะแต่งเสร็จ เนื้อร้องบรรยายถึง เจ้าชายซึ่งตอบปริศนา 3 ข้อของเจ้าหญิงตูรันโดได้แล้ว กำลังให้เจ้าหญิงผู้เย็นชาตอบปริศนากลับ โดยทายชื่อของเจ้าชายให้ถูกก่อนฟ้าสาง โดยให้โอกาสเจ้าหญิงเลือกเอา ว่าจะประหาร หรือแต่งงานกับเจ้าชาย บทเพลงอาเรียท่อนนี้เป็นอาเรียที่มีชื่อเสียงที่สุดสำหรับขับร้องโดยนักร้องเสียงเทเนอร์ โดยเฉพาะที่ขับร้องโดยลูชาโน ปาวารอตติ ที่นำมาใช้เป็นเพลงธีมของบีบีซีในการถ่ายทอดฟุตบอลโลก 1990 ที่อิตาลี เพลงนี้ขึ้นถึงอันดับสองของป็อปชาร์ตในสหราชอาณาจักร (accessed 8 October 2007) และยังปรากฏในวัฒนธรรมสมัยนิยมเป็นจำนวนมาก เช่นในฉากไคลแมกซ์ของภาพยนตร์หลายเรื่อง Christopher Blank,, Commercial Appeal, October 13, 2007.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและNessun dorma · ดูเพิ่มเติม »

22 ธันวาคม

วันที่ 22 ธันวาคม เป็นวันที่ 356 ของปี (วันที่ 357 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 9 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและ22 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

29 พฤศจิกายน

วันที่ 29 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 333 ของปี (วันที่ 334 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 32 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จาโกโม ปุชชีนีและ29 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Giacomo Pucciniจิอาโคโม ปุชชินีปุชชีนี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »