สารบัญ
14 ความสัมพันธ์: บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิสพลังงานมืดพันล้านปียุคของพลังค์สมการฟรีดแมนสตีเฟน ฮอว์กิงอดีตจักรวาลดาราศาสตร์ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)ปฏิทรรศน์ของออลเบอร์ปริภูมิ-เวลาปัญหาความแบนของเอกภพโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ
บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส
ในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส (Big Bang nucleosynthesis; BBN) หรือ นิวคลีโอซินทีสิสเริ่มแรก เป็นการอธิบายถึงกระบวนการกำเนิดนิวเคลียสต่างๆ นอกเหนือไปจากนิวเคลียสของ H-1 (เช่น ไอโซโทปแสงของไฮโดรเจน ซึ่งนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนเดี่ยว) ระหว่างช่วงยุคต้นของการเกิดเอกภพ นิวคลีโอซินทีสิสแรกเริ่มนี้เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากเกิดบิกแบง เชื่อกันว่าเป็นต้นเหตุของการก่อตัวของไอโซโทปธาตุหนักของไฮโดรเจน ที่รู้จักกันในชื่อ ดิวเทอเรียม (H-2 หรือ D), ฮีเลียมไอโซโทป He-3 และ He-4, และ ลิเทียมไอโซโทป Li-6 และ Li-7 นอกจากนิวเคลียสที่เสถียรเหล่านี้ ยังมีพวกที่ไม่เสถียรอยู่ด้วย หรือพวกไอโซโทปกัมมันตรังสี (Radionuclide) เช่น ทริเทียม H-3, เบอริลเลียม Be-7 และ เบอริลเลียม Be-8 ไอโซโทปที่ไม่เสถียรเหล่านี้อาจเสื่อมสลายไปหรือรวมตัวเข้ากับนิวเคลียสอื่นๆ และกลายเป็นหนึ่งในบรรดาไอโซโทปเสถียร.
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและบิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส
พลังงานมืด
ในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ดาราศาสตร์ และกลศาสตร์ท้องฟ้า พลังงานมืด (Dark energy) คือพลังงานในสมมุติฐานที่แผ่อยู่ทั่วไปในอวกาศและมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการขยายตัวของเอกภพ พลังงานมืดเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในการใช้อธิบายถึงผลสังเกตการณ์และการทดลองมากมายอันแสดงถึงลักษณะที่เอกภพปรากฏตัวอยู่ในลักษณะการขยายตัวออกอย่างมีอัตราเร่ง ในแบบจำลองมาตรฐานของจักรวาลวิทยา มีพลังงานมืดอยู่ในเอกภพปัจจุบันเป็นจำนวน 74%ของมวล-พลังงานรวมทั้งหมดในเอกภพ รูปแบบของพลังงานมืดที่นำเสนอกันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ค่าคงที่จักรวาลวิทยา (cosmological constant) อันเป็นค่าความหนาแน่นพลังงาน "คงที่" ที่แผ่อยู่ในอวกาศอย่างสม่ำเสมอ.
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและพลังงานมืด
พันล้านปี
ันล้านปี (billion years)(109 ปี) เป็นหน่วยของเพตาวินาที มีค่าเท่ากับ 3.16×1016 วินาที.
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและพันล้านปี
ยุคของพลังค์
ในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ยุคของพลังค์ (Planck epoch หรือ Planck era) คือช่วงเวลาแรกสุดของประวัติศาสตร์ของเอกภพ คือช่วง 0 ถึงประมาณ 10−43 วินาที (เวลาของพลังค์) ซึ่งเป็นช่วงที่เอกภพตกอยู่ใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงควอนตัม ตั้งชื่อตามนักวิทยาศาสตร์คือ มักซ์ พลังค์ อาจกล่าวได้ว่า ยุคของพลังค์คือช่วงเวลาแรกสุดของเวลา เพราะเวลาของพลังค์อาจเป็นช่วงเวลาที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้ของเวลา และยุคของพลังค์ก็เกิดขึ้นเพียงชั่วเวลาสั้นๆ นี้ ที่จุดนี้เมื่อประมาณ 13,700 ล้านปีมาแล้ว เชื่อกันว่าแรงโน้มถ่วงมีกำลังแรงมากกว่าแรงพื้นฐานอื่นๆ ซึ่งทำให้เป็นไปได้อย่างมากว่า เป็นช่วงเวลาที่แรงทั้งหมดรวมกันเป็นหนึ่งเดียว สภาวะของเอกภพในระหว่างยุคของพลังค์เป็นสภาวะที่ปั่นป่วนและเปลี่ยนแปลง ทำให้แรงพื้นฐานปรากฏผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การทำลายสมมาตร (symmetry breaking) การศึกษาจักรวาลวิทยายุคใหม่เห็นว่า ยุคของพลังค์อาจเป็นจุดเริ่มต้นยุคแห่งการรวมแรงครั้งใหญ่ (Grand unification epoch) และการที่เกิดการทำลายสมมาตรทำให้เอกภพเข้าสู่ยุคของการพองตัวของจักรวาล หรือยุคของการพองตัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เอกภพขยายตัวอย่างมากในช่วงเวลาสั้น.
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและยุคของพลังค์
สมการฟรีดแมน
มการฟรีดแมน คือชุดสมการในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพที่ใช้อธิบายถึงการขยายตัวของอวกาศตามแบบจำลองของเอกภพซึ่งมีความกลมกลืนและเหมือนกันในทุกทิศทาง โดยอยู่ภายใต้บริบทของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ชุดสมการนี้พัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยอเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ในปี..
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและสมการฟรีดแมน
สตีเฟน ฮอว์กิง
ตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (Stephen William Hawking; 8 มกราคม ค.ศ. 1942 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2018) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์กิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์กิง) ฮอว์กิงป่วยจากโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก ซึ่งเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ปัจจุบันต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน ฮอว์กิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์ สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตในวันที่ 14 มีนาคม..
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและสตีเฟน ฮอว์กิง
อดีต
อดีต คือคำที่ใช้ระบุเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนจุดเวลาจุดหนึ่ง อดีตตรงข้ามและกำหนดได้จากปัจจุบันและอนาคต แนวคิดของอดีตแผลงมาจากสมัยนิยมที่มนุษย์นักสังเกตได้รู้จักกับเวลา และเข้าถึงผ่านความจำและการระลึกได้ นอกจากนี้ มนุษย์ได้บันทึกเหตุการณ์ในอดีตไว้ตั้งแต่มีภาษาเขียนเกิดขึ้น อดีตเป็นจุดประสงค์ในศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ดาราศาสตร์โบราณคดี วิทยาการลำดับเวลา ธรณีวิทยา ธรณีวิทยาเชิงประวัติ ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ กฎหมาย ภววิทยา บรรพชีวินวิทยา พฤกษศาสตร์บรรพชีวิน พฤกษศาสตร์โบราณคดี ธรณีวิทยาบรรพชีวิน ภูมิอากาศวิทยาบรรพชีวิน และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ หมวดหมู่:ปรัชญาเวลา หมวดหมู่:เวลา.
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและอดีต
จักรวาล
การแกะลายแบบ Flammarion, กรุงปารีส ค.ศ. 1888 จักรวาล (cosmos) คือ เอกภพซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ซับซ้อนและเป็นระบบระเบียบ เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความยุ่งเหยิง (chaos) นักปรัชญา พีทาโกรัส ใช้คำว่า จักรวาล (cosmos) เพื่อกล่าวถึงความเป็นระเบียบของเอกภพ ทว่าคำนี้ไม่ถูกใช้ในภาษาสมัยใหม่จนคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อนักภูมิศาสตร์ อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์ ได้นำคำนี้จากกรีกโบราณกลับมาใช้อีกครั้ง ในชุดหนังสือของเขา Kosmos ซึ่งส่งผลกระทบต่อมุมมองสมัยใหม่องค์รวม ที่มองเอกภพเป็นสิ่งสิ่งเดียวซึ่งปฏิสัมพันธ์กัน.
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและจักรวาล
ดาราศาสตร์
ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ.
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและดาราศาสตร์
ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)
ในทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ความเป็นโลหะ (metallicity) ของวัตถุคือค่าสัดส่วนองค์ประกอบของสสารในวัตถุนั้นที่มีส่วนประกอบของธาตุทางเคมีชนิดอื่นมากกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม ทั้งนี้ ดาวฤกษ์ซึ่งเป็นวัตถุที่สามารถมองเห็นได้ชัดในเอกภพมักประกอบด้วยไฮโดรเจนกับฮีเลียม นักดาราศาสตร์จึงนิยมเรียกส่วนที่เหลือ (ในที่ว่างดำมืด) ว่าเป็น "โลหะ" เพื่อความสะดวกในการบรรยายถึงส่วนที่เหลือทั้งหมด จากคำนิยามนี้ เนบิวลาซึ่งมีส่วนประกอบของคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และนีออน อยู่อย่างล้นเหลือ จึงถูกเรียกว่าเป็น "วัตถุอุดมโลหะ" ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แม้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นไม่ได้เป็นโลหะจริงๆ ตามความหมายของเคมีดั้งเดิม จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องระมัดระวังไม่นำไปปะปนกับคำว่า "โลหะ" (metal หรือ metallic) โดยทั่วไป ความเป็นโลหะของวัตถุทางดาราศาสตร์อาจพิจารณาได้จากอายุของวัตถุนั้นๆ เมื่อแรกที่เอกภพก่อตัวขึ้นตามทฤษฎีบิกแบง มีองค์ประกอบของไฮโดรเจนอยู่อย่างมากมาย ซึ่งเมื่อผ่านช่วงนิวคลีโอซินทีสิสในยุคแรกเริ่มแล้ว จึงได้เกิดสัดส่วนฮีเลียมเพิ่มจำนวนมากขึ้น กับลิเทียมและเบริลเลียมอีกจำนวนเล็กน้อย แต่ยังไม่มีธาตุหนักเกิดขึ้น ดาวฤกษ์ที่อายุเก่าแก่จึงมักมีส่วนประกอบโลหะอยู่ค่อนข้างน้อย แต่ข้อเท็จจริงที่พบจากการเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์จำนวนมากและพบส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ด้วย ยังเป็นปริศนาที่ไขไม่ออก คำอธิบายในปัจจุบันจึงเป็นการนำเสนอข้อมูลการมีอยู่ของดาวฤกษ์ชนิด Population III เชื่อกันว่า ถ้าไม่มีโลหะ ก็มีแต่เพียงดาวฤกษ์ที่มีมวลมากอย่างมหาศาลเท่านั้นที่จะก่อตัวขึ้นมาได้ และในช่วงปลายอายุขัยของมันก็จะมีการสร้างธาตุ 26 ชนิดแรกไปจนถึงเหล็กในตารางธาตุ ผ่านกระบวนการนิวคลีโอซินทีสิส ในเมื่อดาวฤกษ์เหล่านี้มีมวลมหาศาล แบบจำลองในปัจจุบันจึงระบุถึงการสิ้นอายุขัยของมันในลักษณะซูเปอร์โนวา ซึ่งทำให้สสารภายในของดาวแตกกระจายและแผ่ออกไปในเอกภพ ทำให้เกิดเป็นดาวฤกษ์ในรุ่นถัดมาที่มีส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ดังที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ตามทฤษฎีเท่าที่มีในปี..
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)
ปฏิทรรศน์ของออลเบอร์
ปฏิทรรศน์ของออลเบอร์ หรือปฏิทรรศน์ว่าด้วยความมืดของท้องฟ้าเวลากลางคืน เป็นแนวคิดทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ออลเบอร์ส ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า หากการอนุมานที่ว่าเอกภพมีขนาดกว้างไกลไม่สิ้นสุด มีจำนวนดาวเป็นอนันต์กระจายสม่ำเสมอ และอยู่ในสภาวะสถิต ท้องฟ้าเวลากลางคืนก็ไม่ควรจะมืดมิดเช่นที่ปรากฎ จึงถือเป็นหลักฐานหนึ่งที่สนับสนุนว่าเอกภพนั้นไม่ได้อยู่ในสภาวะสถิต เช่น มีจุดกำเนิดและกำลังเปลี่ยนแปลง เช่นที่บรรยายไว้ในแบบจำลองแบบบิกแบง ในกรณีที่เอกภพมีขนาดกว้างไกลไม่สิ้นสุด มีจำนวนดาวเป็นอนันต์ กระจายสม่ำเสมอ และอยู่ในสภาวะสถิต เส้นสายตาใดๆ ที่มองออกจากโลกย่อมต้องสิ้นสุดที่ดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่งเสมอ ดังนั้นท้องฟ้าเวลากลางคืนก็ควรจะสว่างไปทั่วด้วยแสงดาวฤกษ์ที่มีจำนวนอนันต์ หมวดหมู่:จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ.
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและปฏิทรรศน์ของออลเบอร์
ปริภูมิ-เวลา
ในวิชาฟิสิกส์ ปริภูมิ-เวลา หรือ กาล-อวกาศ (spacetime) เป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ใด ๆ ที่รวมปริภูมิและเวลาเข้าด้วยกันเป็นความต่อเนื่องประสานเดียว ปริภูมิ-เวลาของเอกภพนั้นเดิมตีความจากมุมมองปริภูมิแบบยุคลิด (Euclidean space) ซึ่งถือว่าปริภูมิประกอบด้วยสามมิติ และเวลาประกอบด้วยหนึ่งมิติ คือ "มิติที่สี่" โดยการรวมปริภูมิและเวลาเข้าไปในแมนิโฟลด์ (manifold) เดียวที่เรียกกันว่า ปริภูมิแบบมินคอฟสกี (Minkowski space) นักฟิสิกส์ได้ทำให้ทฤษฎีทางฟิสิกส์จำนวนมากดูมีความเรียบง่ายขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตลอดจนอธิบายการทำงานของเอกภพทั้งระดับใหญ่กว่าดาราจักรและเล็กกว่าอะตอมได้อย่างเป็นรูปแบบเดียวกันมากยิ่งขึ้น.
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและปริภูมิ-เวลา
ปัญหาความแบนของเอกภพ
ตัวแปรจักรวาลโอเมกามีค่าน้อยกว่า เท่ากับ หรือมากกว่า 1; ภาพจากบนลงล่าง: เอกภพปิดที่มีความโค้งเป็นบวก, เอกภพไฮเพอร์โบลิกที่มีความโค้งเป็นลบ, และเอกภพแบนที่มีค่าความโค้งเป็นศูนย์ ปัญหาความแบนของเอกภพ (Flatness Problem) เป็นปัญหาเชิงลึกของการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพตามแบบจำลองทฤษฎีบิกแบง เกิดขึ้นเนื่องจากการสังเกตการณ์พบว่า สถานะเริ่มต้นบางประการของเอกภพมิได้เข้ากันอย่างสนิทดีกับค่า "พิเศษ" บางประการ การผิดเพี้ยนไปเพียงเล็กน้อยนั้นอาจส่งผลกระทบอันกว้างขวางต่อลักษณะของเอกภพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ ในกรณีของปัญหาความแบนนี้ ค่าตัวแปรที่มิได้เข้ากันพอดีคือ ค่าความหนาแน่นของสสารและพลังงานในเอกภพ ค่านี้ส่งผลกระทบต่อความโค้งของกาล-อวกาศ โดยมีค่าความหนาแน่นวิกฤตที่เฉพาะเจาะจงมากๆ ที่จำเป็นต่อสภาวะเอกภพที่แบน การสังเกตการณ์พบว่าความหนาแน่นของเอกภพในปัจจุบันมีค่าใกล้เคียงกับค่าวิกฤตนี้มาก ความหนาแน่นโดยรวมนั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปจากค่าวิกฤตตลอดช่วงเวลาคอสมิก ดังนั้นเอกภพในยุคเริ่มแรกจะต้องมีความหนาแน่นใกล้กับความหนาแน่นวิกฤตมากๆ โดยผิดเพี้ยนไปไม่เกินหนึ่งส่วน 1062 สิ่งนี้ทำให้นักจักรวาลวิทยาตั้งข้อสงสัยว่า ค่าความหนาแน่นเริ่มต้นของเอกภพมีค่าใกล้เคียงกับค่า "พิเศษ" นี้ได้อย่างไร ผู้ระบุถึงปัญหานี้ขึ้นเป็นครั้งแรกคือ โรเบิร์ต ดิค เมื่อปี..
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและปัญหาความแบนของเอกภพ
โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ
ำหรับจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ (Large-scale structure) หมายถึงคุณลักษณะการกระจายตัวที่สังเกตได้ของสสารและแสงในจักรวาลในระดับมหภาค (โดยมากในระดับที่วัดกันเป็นหน่วย พันล้านของปีแสง) การสำรวจท้องฟ้าและการจัดทำแผนที่โดยอาศัยช่วงคลื่นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับต่างๆ กันช่วยทำให้เราได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบและลักษณะของโครงสร้างเอกภพ หากจะจัดลำดับชั้นของโครงสร้าง ระดับที่สูงที่สุดได้แก่ ซูเปอร์คลัสเตอร์ และ ใยเอกภพ ในระดับที่สูงกว่านี้ดูจะไม่มีโครงสร้างต่อเนื่องที่แน่ชัด ลักษณะเช่นนี้เรียกชื่อกันว่า จุดสิ้นสุดของความยิ่งใหญ่ (End of Greatness).
ดู จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพและโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ
หรือที่รู้จักกันในชื่อ ฟิสิกส์จักรวาลวิทยา