โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิเฉียนหลง

ดัชนี จักรพรรดิเฉียนหลง

มเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) (เฉียนหลง) จักรพรรดิองค์ที่ 6 ของราชวงศ์ชิง ประสูติเมื่อ ปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) เดิมมีพระนามว่าหงลี่ (ภาษาจีน: 弘曆) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิยงเจิ้ง และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา ทรงพระนามว่า ชิงเกาจงฮ่องเต้ และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" ส่วนเรื่องคำกล่าวที่ว่าสมเด็จพระพันปีหลวงซึ่งเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงไม่โปรดพระมเหสีหรง ถึงขั้นสั่งประหาร ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสู่สวรรคาลัยไปก่อนพระมเหสีหรงเฟยถึง11ปี ฉะนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงจึงมาสั่งประหารไม่ได้แน่นอน จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่ง ชื่อ เหอเซิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิเฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดเหอเซินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งให้เป็นคู่หมั้นของลูกชายเหอเซินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเซินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการจับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่พระชายาหยู (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน พระโอรสองค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ทรงปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซีผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังก์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น พระบิดาหลวง หรือ จักพรรดิสูงสุด (ไท่ซั่งหวง, 太上皇帝) ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริง และพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเซินทันที และบังคับให้เขาฆ่าตัวตาย หลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมมากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหาต่างๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิหย่งเจิ้นให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ ดังที่ปรากฏในเรื่อง จอมใจจอมยุทธ์และ เรื่องราวในรัชสมัยพระองค์ยังถูกนำมาแสดงเป็นภาพยนตร์เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ซึ่งเป็นเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งดัดแปลงมาจากพระธิดาบุญธรรมขององค์จักรพรรดิมาเป็นองค์หญิงหวนจู.

100 ความสัมพันธ์: บัญชา เหมะบุตรบันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ชั่วไซชาวแมนจูชางลั่งถิงฟู่เหิงฟ่ง ไสหยกพ.ศ. 2254พ.ศ. 2278พ.ศ. 2310พ.ศ. 2342พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลกพยัคฆ์ร้ายกิโยตินพระยามหานุภาพ (อัน)พระราชวังฤดูร้อนพระราชวังฤดูร้อนเดิมพระสนมเอกชิ่งกงพระสนมเอกฮุ่ยเสียนพระสนมเอกฉุนฮุ่ยพระเจ้ามังระพิชัยสงครามซุนจื่อกรมความลับทหารการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองราชวงศ์ชิงราชวงศ์โกนบองรายพระนามพระมหากษัตริย์ทั่วโลกตามรัชกาลรายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราชรายพระนามรัชทายาทจีนรายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ชิงรายพระนามจักรพรรดิจีนรายพระนามจักรพรรดินีจีนวัดเส้าหลินสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสวนจี้ชั่งสวนป่าสิงโตสิบการทัพใหญ่สื่อ เขอฝ่าสงครามจีน–พม่าสนมเสาวคนธ์สนธิสัญญากองตนหมิงรุ่ยหยวน หงหยง แซ่แต้หย่งหลินหย่งหวงหย่งฉีหย่งเฉิงหวั่นกุ้ยไท่เฟย์หวง รื่อหัว...หฺวันซิ่วชันจฺวังหง ซีกวนหงฉืออะแซหวุ่นกี้อากุ้ยอิ่งกุ้ยเฟย์อิ้นหลี่อิ้นถีอี้ซินองค์หญิงกำมะลอจวงชินหวังจอมนางวังต้องห้าม 3จอมใจจอมยุทธ์จอร์จ แม็คคาร์ทนีย์ เอิร์ลแม็คคาร์ทนีย์ที่ 1จักรพรรดิยงเจิ้งจักรพรรดินีจี้จักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุนจักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเซี่ยนจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ยจักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยนจักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุนจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวงจักรพรรดิเกาจงจักรพรรดิเจียชิ่งจักรพรรดิเต้ากวังจาง เฟิงอี้จิ้งจอกภูเขาหิมะธวัช รัตตะชัยถัง กั๋วเฉียงที่ประชุมอำมาตย์ราชวงศ์หารือราชกิจคริสต์ทศวรรษ 1730ความฝันในหอแดงงิ้วตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีนตุนเฟย์ตี๋เหรินเจี๋ย ผจญกับดักเทพมังกรซินกุ้ยเฟย์โม่ลี่ฮัวไท่ช่างหฺวังเหอซั่วรุ่ยชินอ๋องเหอเซินเอ๋าไป้เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดินเจิ้ง เส้าชิวเจียงหนานเจ้าหญิงกู้หลุนเหอเซี่ยวเฉิงผินเนเมียวสีหบดี13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง25 กันยายน ขยายดัชนี (50 มากกว่า) »

บัญชา เหมะบุตร

ัญชา เหมะบุตร (เกิดวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2493) เป็นนักพากย์การ์ตูนชาวไทย ในอดีตเคยพากย์เสียงให้กับทีมพากย์ CVD International และ การ์ตูนทาง ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และภาพยนตร์ชุดทาง ไทยทีวีสีช่อง 3 สถานีโทรทัศน์ ITV ด้วยมีน้ำเสียงที่เข้ม มักได้บทพระเอกในซีรีส์จีนกำลังภายในเสมอ ปัจจุบันพากย์ประจำอยู่ที่ ทรูวิชั่นส์ และยังมีพากย์ภาพยนตร์ฝรั่งตามโรงภาพยนตร์อยู่เสมอ.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและบัญชา เหมะบุตร · ดูเพิ่มเติม »

บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่

ท่สื่อกงซู (จีน:太史公書, อังกฤษ: Records of the Grand Historian, ปัจจุบันรู้จักทั่วไปในชื่อ สื่อจี้ 史記 - "บันทึกประวัติศาสตร์") เป็นอนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์ของจีนโบราณและของโลก รู้จักในจีนตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล มีเนื้อหาครอบคลุมช่วงเวลากว่า 2,500 ปี ตั้งแต่ยุคในตำนานสมัยจักรพรรดิเหลือง ไปจนถึงรัชกาลจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช กล่าวกันว่างานเขียนชิ้นนี้เริ่มขึ้นโดย ซือหม่า ทาน นักดาราศาสตร์ใหญ่ประจำราชสำนักของจักรพรรดิอู่ และได้มาสำเร็จลงโดยบุตรชายของเขา ซือหม่า เชียน ผู้ที่มักได้รับการขนานนามว่านักเขียนผู้โดดเดี่ยว บันทึกนี้จัดเป็นงานเขียนเชิงประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่และมีอิทธิพลอย่างสูงชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เสร็จสมบูรณ์เมื่อราว 100 ปีก่อนคริตศักราช ได้ถือเป็นแบบอย่างสำหรับ 24 ประวัติศาสตร์ราชวงศ์จีน (เสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลจักรพรรดิเฉียนหลง) มีความแตกต่างจากประวัติศาสตร์รูปแบบตะวันตกกล่าวคือ บันทึกไม่ได้เขียนประวัติศาสตร์แบบ "บรรยายไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง" แต่มีการแยกย่อยความให้เล็กลง เชื่อมโยงเนื้อหาที่คาบเกี่ยวกันจำนวนมากกับผู้นำที่มีชื่อเสียง บุคคลเฉพาะ ตลอดจนหัวข้อใหญ่ที่มีความสำคัญ.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและบันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ชั่วไซ

วงชินหวัง พระนามเดิมชั่วไซ (17 มกราคม ค.ศ.1629 - 12 มกราคม ค.ศ.1655) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 5 ของจักรพรรดิฉงเต๋อกับพระชายาเช่อ สกุลเย่เฮ่อน่าลา ซุ่นจื้อปีที่ 1 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเฉิงเจ๋อจวิ้นหวัง ต่อมาซุ่นจื้อปีที่ 8 ได้รับการเลื่อนเป็นเฉิงเจ๋อยู่ชินหวัง หลังจากเจ้าชายชั่วไซสิ้นพระชนม์ ทายาทคือเจ้าปั๋วกั่วตั๋วได้สืบทอดตำแหน่งต่อในนามจวงจิ้งชินหวัง ในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงได้ทรงนำเชื้อสายจวงชินหวังบรรจุอยู่ในอ๋องพระมาลาเหล็ก.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและชั่วไซ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแมนจู

แมนจู (แมนจู:; หม่านจู๋) เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในประเทศจีนและผู้คนจากดินแดนแมนจูเรียได้ใช้ชื่อดินแดนเป็นชื่อเรียกชนเผ่าของตนเอง ชาวแมนจูเป็นกลุ่มสาขาที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มชาวตุงกูซิกที่ใช้ภาษากลุ่มตุงกูซิกและได้อาศัยกระจัดกระจายทั่วประเทศจีน ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน ชาวแมนจูได้อาศัยและพบได้ใน 31 จังหวัดของจีน โดยเฉพาะในดินแดนแมนจูเรีย เหลียวหนิงถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีประชากรแมนจูเยอะที่สุด ส่วนเหอเป่ย, เฮย์หลงเจียง, จี๋หลิน, มองโกเลียในและปักกิ่ง มีประชากรแมนจู 100,000 คนอาศัยอยู่ ประมาณครึ่งของประชากรอาศัยอยู่ในเหลียวหนิงและ 1 ใน 5 อยู่ที่เหอเป่ย์ นอกจากนี้ยังมีชาวแมนจูอาศัยอยู่ในประเทศรัสเซียอันได้แก่ ดินแดนปรีมอร์สกี บางส่วนของดินแดนฮาบารอฟสค์และแคว้นอามูร์ ประวัติโดยสังเขปของชาวแมนจูนั้น ในทัศนคติของชาวฮั่น ถือได้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนหรือคนป่าเถื่อน ชาวแมนจูได้สืบเชื้อสายมาจากชาวหนี่เจิน (Jurchen; 女真) ที่ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์จินตอนแรกขึ้นทางตอนเหนือของจีน ในช่วง..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและชาวแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

ชางลั่งถิง

งลั่งถิงหรือพลับพลาเกลียวคลื่น (อังกฤษ: Canglang Pavilion) มีชื่อที่แปลเป็นภาษาอังกฤษหลากหลายว่า the Great Wave Pavilion หรือ Surging Wave Pavilion หรือ Blue Wave Pavilion เป็นหนึ่งในสวนโบราณ เมืองซูโจวที่ได้รับการยกย่องโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นมรดกโลกอีกแห่งหนึ่ง ชางลั่งถิงตั้งอยู่ที่เลขที่ 3 ถนนชางลั่งถิงในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน สวนแห่งนี้เป็นหนึ่งในสี่สวนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเมืองซูโจวและยังเป็นสวนที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องจากสามารถสืบค้นประวัติของสวนย้อนหลังได้ถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (Northern Song Dynasty) ในราวปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและชางลั่งถิง · ดูเพิ่มเติม »

ฟู่เหิง

ฟู่เหิง (ဖူဟင်း), ยอดนักการทหารและนักปกครองแห่งกองธงเหลืองขลิบ(กองธงที่สำคัญที่สุดแห่งราชวงค์ชิง ขึ้นตรงต่อองค์จักรพรรดิ) โดยตัวฟู่เหิงยังมีอีกฐานะหนึ่งเป็นน้องชายของจักรพรรดินีเสี้ยวเสียนฉุน จักรพรรดิเฉียนหลงทรงโปรดปรานฟู่เหิงผู้นี้มากทั้งเรื่องสติปัญญาและความรอบคอบในการทำงานโดยมักจะสอบถามความคิดเห็นจากเขาก่อนตัดสินใจในหลายๆเรื่อง ซึ่งฟู่เหิงเองก็ไม่ทำให้พระองค์ผิดหวังเลยไม่ว่าจะเรื่องการเมืองหรือการทหาร จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดปราณเขาถึงขนาดยกย่องว่าเป็นเหมือนน้องชายอีกคนหนึ่ง อีกสิ่งที่แสดงถึงความใส่ใจในตัวฟู่เหิงคือการแต่งตั้งลูกชายของเขาอย่างฝูคังอาน ให้มีบรรดาศักดิ์เป็นกู้ซานเป้ยจื่อเปรียบเสมือนโอรสบุญธรรมอีกคนของพระองค์ จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของเขาคือ สงครามจีน-พม่า ซึ่งต้าชิงต้องพ่ายแพ้ไปแล้วถึง3ครั้งแถมยังต้องเสียหมิงรุ่ยยอดนักการทหารซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชายของเขาไปอีกคน ในครั้งนี้จักรพรรดิเฉียนหลงจึงได้ตัดสินใจระดมเสนาบดีครั้งใหญ่ที่สุดในยุคพระองค์ และยังส่งกองทัพที่ดีที่สุดของราชวงค์ชิงในยุคนั้นอย่างทัพแปดกองธงหวังพิชิตพระเจ้ามังระให้จงได้ โดยพระองค์ได้แต่งตั้งฟู่เหิงให้เป็นผู้นำทัพในศึกครั้งนี้ และทำพิธีส่งกองทัพนี้อย่างยิ่งใหญ่ต่อหน้าพระบรมวงศานุวงศ์แห่งต้าชิงด้วยพระองค์เอง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและฟู่เหิง · ดูเพิ่มเติม »

ฟ่ง ไสหยก

ฟ่ง ไสหยก (อังกฤษ: Fong Sai-yuk) หรือ ปึง ซีเง็ก (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ฟาง ซื่ออี้ (ตามสำเนียงจีนกลาง) เป็นวีรบุรุษมวยกังฟูอีกคนหนึ่งที่ระบือชื่อของจีน เป็นตำนานเล่าขานจวบจนปัจจุบันเช่นเดียวกับ หง ซีกวน (洪熙官) หรือ อั้ง อีกัว และ โอว ฮู้ยเคียง ผู้เป็นศิษย์ร่วมสำนักเส้าหลิน หากแต่เรื่องราวของฟ่ง ไสหยก นั้นเชื่อว่าเป็นเพียงเรื่องแต่ง ซึ่งทั้ง ฟ่ง ไสหยก, หง ซีกวน และ โอว ฮุ้ยเคียง นั้น บางครั้งจะถูกเรียกว่า 3 พยัคฆ์เส้าหลิน เช่นเดียวกับ 10 พยัคฆ์เส้าหลิน (廣東十虎) ซึ่งเรื่องราวทั้ง 3 คนนี้นั้นปรากฏในนิยายกำลังภายใน เรื่อง เฉียนหลงประพาสกังหนำ ซึ่งเป็นเรื่องราวของฮ่องเต้เฉียนหลงเมื่อครั้งทรงประพาสภาคใต้ของจีน พร้อมกับได้ทรงกำจัดผู้ต่อต้านชาวฮั่นไปทั้งหมด ด้วยการส่งยอดฝีมือจากบู๊ตึ้งและง้อไบ๊ให้มาร่วมกำจัดศิษย์ของสำนักเส้าหลิน ประวัติของ ฟ่ง ไสหยก ตามที่ปรากฏ เกิดที่มณฑลกวางตุ้ง เป็นบุตรชายของ ฟ่ง ตั๊ก (方德) คณบดีที่ร่ำรวย ส่วนมารดานั้นคือ เหมียว ชุ่ยฮัว เป็นบุตรสาวของจอมยุทธที่มีชื่อ สรุปคือ ฟ่ง ไสหยก นั้นมีสายเลือดของชาวยุทธมาแต่กำเนิด และฝึกวิทยายุทธมาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เมื่ออายุได้ 14 ได้ประลองฝีมือเอาชนะศิษย์อันธพาลของสำนักบู๊ตึ้งได้ และสร้างวีรกรรมไว้มากมาย รวมถึงการต่อต้านราชวงศ์ชิงด้วย บางเรื่องเล่าว่า ฟ่ง ไสหยกได้เข้าร่วมกับสมาคมดอกไม้แดงด้วย จนในที่สุดทางราชสำนักชิงต้องส่งมือสังหารมาสังหาร ซึ่งกล่าวกันว่า คือ แม่ชีอู่เหมย ระหว่างเผาวัดเส้าหลิน จนถึงแก่ความตายด้วยวัยเพียง 24 ปี เรื่องราวฟ่ง ไสหยก นั้น เชื่อกันว่าไม่มีตัวตนจริง เป็นเพียงบุคคลในอุดมคติเช่นเดียวกับ หง ซีกวน ซึ่งเป็นตำนานร่วมกัน แต่อย่างไรก็ดี เพลงหมัดมวยในแบบของฟ่ง ไสหยก นั้น คือ มวยสกุลหง และมวยหย่งซุน ก็กลายเป็นมรดกตกทอดมายังผู้ฝึกกังฟูในยุคถัดมา เช่น หวง เฟยหง และ ยิปมัน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง โดยภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับฟ่ง ไสหยก เรื่องแรกนั้น คือ Fong Sze Yu's Battle in the Boxing Ring ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1928 ส่วนในยุคปัจจุบันได้แก่ Fong Sai-yuk ในปี ค.ศ. 1993 นำแสดงโดย หลี่ เหลียนเจี๋ย และจ้าว เหวินจั๋ว และในแบบซีรีส์ นำแสดงโดย จาง เหว่ยเจี้ยน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและฟ่ง ไสหยก · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2254

ทธศักราช 2254 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพ.ศ. 2254 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2278

ทธศักราช 2278 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพ.ศ. 2278 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2310

ทธศักราช 2310 ตรงกับคริสต์ศักราช 1767 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพ.ศ. 2310 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2342

ทธศักราช 2342 ตรงกับคริสต์ศักราช 1779 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพ.ศ. 2342 · ดูเพิ่มเติม »

พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก

ปสเตอร์ภาพยนตร์ โปสเตอร์โปรโมทภาพยนตร์ก่อนเข้าฉาย พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก (Crouching Tiger, Hidden Dragon) นำแสดงโดย โจว เหวินฟะ, จาง จื่ออี๋, มิเชลล์ โหยว, เจิ้ง เพ่ยเพ่ย กำกับโดย อั้งลี่ ออกฉายในปี ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก · ดูเพิ่มเติม »

พยัคฆ์ร้ายกิโยติน

ัคฆ์ร้ายกิโยติน (The Guillotines; จีนตัวเต็ม: 血滴子; จีนตัวย่อ: 血滴子; พินอิน: Xiě Dī Zǐ / Xuè Dī Zǐ) ภาพยนตร์กำลังภายในสัญชาติฮ่องกง ออกฉายในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพยัคฆ์ร้ายกิโยติน · ดูเพิ่มเติม »

พระยามหานุภาพ (อัน)

ระยามหานุภาพ (อัน) มีชีวิตอยู่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมัยรัชกาลที่ 1 ประวัติของท่านไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าได้ร่วมเดินทางไปกับคณะทูตเพื่อเจริญพระราชไมตรีกับจักรพรรดิเฉียนหลง ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อ พ.ศ. 2324 แต่จะไปในตำแหน่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน ทางด้านการกวีท่านเป็นผู้มีฝีปากทางกลอนด้วยผู้หนึ่งในสมัยนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพระยามหานุภาพ (อัน) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังฤดูร้อน

ระราชวังฤดูร้อน (Summer Palace) หรือ อี๋เหอ-ยฺเหวียน (Gardens of Nurtured Harmony) เป็นพระราชวังอยู่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพระราชวังหยวนหมิงหยวน ห่างจากพระราชวังต้องห้ามไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร อี๋เหอ-ยฺเหวียนมีพื้นที่ประมาณ 2.9 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเนินเขาสูง 60 เมตร มีพระตำหนักอยู่บนเนิน และทะเลสาบคุนหมิง มีเนื้อที่ประมาณ 2.2 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 3 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยทะเลสาบนี้เกิดจากการใช้แรงงานคน ขุดดินขึ้นไปถมเป็นเนินเขา สำหรับสร้างพระตำหนัก อี๋เหอ-ยฺเหวียนเริ่มก่อสร้างในสมัยราชวงศ์จิน (ค.ศ. 1115 - 1234) โดยจักรพรรดิไหหลิงหวัง เมื่อย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ปักกิ่ง และเป็น่ที่ประทับของจักรพรรดิราชวงศ์หยวน จนกระทั่งถึงรัชกาลของจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง ทรงบูรณะและสร้างพระตำหนักแห่งใหม่บนเนินเขา ในปี ค.ศ. 1749.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพระราชวังฤดูร้อน · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังฤดูร้อนเดิม

วาดแสดงพระราชวังยฺเหวียนหมิง-ยฺเหวียน ภาพวาดแสดงการปล้มสะดม และขนโบราณวัตถุออกจากพระราชวัง โดยกองทหารฝรั่งเศส ซากปรักหักพังของยฺเหวียนหมิง-ยฺเหวียน พระราชวังฤดูร้อนเดิม (Old Summer Palace) เป็นที่รู้จักในชื่อ ยฺเหวียนหมิง-ยฺเหวียน (Gardens of Perfect Brightness) เดิมมีชื่อเรียกว่า ยฺวี่-ยฺเหวียน (Imperial Gardens) เป็นกลุ่มพระราชวัง และสวนหย่อม ตั้งอยู่บริเวณชานกรุงปักกิ่ง ห่างจากพระราชวังต้องห้ามไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 8 กิโลเมตร ในบริเวณใกล้เคียงกับพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอ-ยฺเหวียน ยฺเหวียนหมิง-ยฺเหวียน สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 เพื่อเป็นที่ประทับของจักรพรรดิราชวงศ์ชิง มีเนื้อที่ประมาณ 3.5 ตารางกิโลเมตร พระตำหนักส่วนใหญ่สร้างด้วยหิน ตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก จากการออกแบบของ Giuseppe Castiglione และ Michel Benoist สถาปนิกเยซูอิตชาวอิตาลี พระราชวังยฺเหวียนหมิง-ยฺเหวียน เริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1707 ในรัชกาลจักรพรรดิคังซี เพื่อพระราชทานแก่พระราชโอรสองค์ที่สี่ ซึ่งต่อมาได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิหย่งเจิ้น และทรงขยายอาณาเขตพระราชวัง ในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพระราชวังฤดูร้อนเดิม · ดูเพิ่มเติม »

พระสนมเอกชิ่งกง

ระมเหสีชิ่งกง หรือ ชิ่งกงหวงกุ้ยเฟย (ค.ศ. 1724-ค.ศ. 1774) เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพระสนมเอกชิ่งกง · ดูเพิ่มเติม »

พระสนมเอกฮุ่ยเสียน

ระมเหสีฮุ่ยเสียน (ไม่ปรากฏ-ค.ศ. 1745) เป็นภรรยาพระเจ้าเฉียนหลง เป็นหนึ่งในพระภรรยาเจ้าของจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงกำเนิดในสกุลชาวฮั่นที่เก่าแก่ คือ สกุลเกา ต่อมาสกุลนี้ถูกเปลี่ยนโดยจักรพรรดิเจียซิ่ง เป็นสกุลในกองธงแมนจูนามว่า เกาเจีย ไม่ปรากฏปีที่ถือกำเนิด แต่คาดว่าพระนางคงกำเนิดในช่วงราวๆ ปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพระสนมเอกฮุ่ยเสียน · ดูเพิ่มเติม »

พระสนมเอกฉุนฮุ่ย

พระสาทิสลักษณ์พระอัครมเหสีชุนฮุยในฉลองพระองค์ช่วงพระราชพิธีช่วงเช้า พระมเหสีชุนฮุยหรือ ชุนฮุยหวงกุ้ยเฟย (ค.ศ. 1713 - ค.ศ. 1760) เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง พระนางชุนฮุ่ยทรงประสูติเมื่อปี ๑๗๑๓ และได้สมรสกับเฉียนหลงราวๆ ปี ๑๗๒๘ อยู่ในศักดิ์ฐานะของ ซู่ฝูจิ้น ในปี ๑๗๓๕ นางให้กำเนิดพระโอรสองค์ที่ ๓ แก่เฉียนหลง คือ องค์ชายสามหย่งจาง ในปีที่พระสวามีครองราชย์นางได้รับการสถาปนาเป็น ชุนผิน ในปี๑๗๓๗ ได้รับการสถาปนาเป็น ชุนเฟย ในปี๑๗๔๓ นางได้ให้กำเนิดพระโอรสองค์ที่ ๖ แก่เฉียนหลง พระนามว่า องค์ชายหย่งหรง ในปี๑๗๔๕ ประสูติองค์หญิง ๔ เหอเจีย และได้รับการสถาปนาเป็น ฮุ่ยกุ้ยเฟย และดำรงพระยศมาจนถึงปี ๑๗๖๐ ได้เสด็จทิวงคตในวัยเพียง ๔๙ ชันษา ได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นฮองกุ้ยเฟย องค์ที่ ๔ ของรัชศก เฉียนหลง พระนามว่า ชุนฮุ่ยฮองกุ้ยเฟย พระราชโอรส องค์ชาย ๓ หย่งจาง (永璋,1735-1760) สุนจุ้นอ๋อง(循郡王) สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์ องค์ชาย ๖ หย่งหรง (永瑢,1744–1790) จื้อจวงชินอ๋อง(質莊親王,1759-1790) พระราชธิดา องค์หญิง ๔ เหอเจีย(和嘉1745–1767) ตำแหน่ง เหอซั่วกงจู่ (和硕公主) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2256 หมวดหมู่:พระสนมราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพระสนมเอกฉุนฮุ่ย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้ามังระ

ระเจ้ามังระ หรือ พระเจ้าซินพะยูชิน (ဆင်ဖြူရှင်;‌ Hsinbyushin.) เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในจำนวน 6 พระองค์ของพระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์อลองพญาหรือราชวงศ์คองบอง ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์อลองพญา ในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพระเจ้ามังระ · ดูเพิ่มเติม »

พิชัยสงครามซุนจื่อ

ัยสงครามซุนจื่อ (The Art of War) เป็นตำรายุทธศาสตร์การทหารหรือตำราพิชัยสงครามของจีน ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อราวหกร้อยปีก่อนคริสตกาลโดยซุนจื่อ นักยุทธศาสตร์คนสำคัญในยุครณรัฐของจีน เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามฉบับนี้มี 13 บท แต่ละบทเน้นถึงแต่ละแง่มุมของการสงคราม ตำราพิชัยสงครามของซุนจื่อเป็นหนึ่งในตำรายุทธศาสตร์การทหารเล่มหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนับได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกและเล่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเชิงยุทธศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อแนวคิดทางการทหาร กลยุทธทางธุรกิจ และแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซุนจื่อถือเป็นบุคคลแรกที่ตระหนักในความสำคัญของตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งจากเงื่อนไขเชิงรุกในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความคิดเชิงรับของฝ่ายคู่แข่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาได้สอนว่า ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงการวางแผนกำหนดสิ่งที่จะลงมือทำเท่านั้น แต่ยังต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสถานการณ์ต่างๆ ด้วย ตำราพิชัยสงครามเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพิชัยสงครามซุนจื่อ · ดูเพิ่มเติม »

กรมความลับทหาร

กรมความลับทหาร (Grand Council) เป็นองค์กรสำคัญในการกำหนดนโยบายการปกครองแผ่นดินของประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งจักรพรรดิหย่งเจิ้ง (雍正帝) ทรงจัดตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและกรมความลับทหาร · ดูเพิ่มเติม »

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองหรือ สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สองระหว่างราชวงศ์โกนบองแห่งพม่า กับราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งอยุธยา ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีคนไทยเกือบสี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โกนบอง

ราชวงศ์โกนบอง (ကုန်းဘောင်ခေတ်,; Konbaung Dynasty) เป็นราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์พม่า และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และสิ้นสุดการปกครองระบอบราชาธิปไตยของพม่า ราชวงศ์อลองพญานั้นได้รับการสถาปนาขึ้นโดยการเสวยราชสมบัติของพระเจ้าอลองพญาในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและราชวงศ์โกนบอง · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์ทั่วโลกตามรัชกาล

นี่คือรายพระนามพระมหากษัตริย์ทั่วโลกตามรัชกาล ซึ่งเรียงลำดับพระมหากษัตริยที่ทรงครองราชย์ 60 ปีขึ้นไปตามรัชกาล.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและรายพระนามพระมหากษัตริย์ทั่วโลกตามรัชกาล · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช

มหาราช (The Great) เป็นชื่อต่อท้ายพระนามของกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนทั้งด้านการรบ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ การรักษาเอกราชของประเทศ คงไว้ด้วยความยุติธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดี ในกลุ่มคนที่พูดภาษานั้น ๆ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น "มหาราช" เขียนไว้ที่ท้ายพระนาม.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและรายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามรัชทายาทจีน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและรายพระนามรัชทายาทจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ชิง

* พระนามเดิม จักรพรรดิราชวงศ์ทรงอยู่ในราชสกุล อ้ายซินเจว๋หลัว (อักษรจีนตัวย่อ: 爱新觉罗; อักษรจีนตัวเต็ม: 愛新覺羅; พินอิน: àixīn juéluó) แต่ตามปฏิบัติของชาวแมนจู การเรียกชื่อไม่จำเป็นต้องรวมนามสกุล.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและรายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิจีน

รายพระนามจักรพรรดิจีน รวมถึงรัชทายาทของประเทศจีนที่มีชื่อต่างๆ จากยุคโบราณ จนถึงราชวงศ์ชิง การปกครองมักจะถือกรรมสิทธิ์คือ กษัตริย์ (Chinese: 王 Wáng) มีการแบ่งแยกจีนในรัฐต่อสู้กันแยกเป็นสัดส่วน รายพระนามจักรพรรดิจีน มี ดังนี้ สำหรับลิงก์เหล่านี้เพื่อดูว่าเหล่าราชวงศ์มีความสัมพันธ์กัน ไดแก่ พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในยุคโบราณ → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงต้น → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงกลาง → พระราชตระกูลของจักรพรรดิจีนในช่วงปล.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและรายพระนามจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดินีจีน

ในจักรวรรดิจีน จักรพรรดินี เป็นพระอิสริยยศของพระอัครมเหสีในจักรพรรดิจีน และ จักรพรรดินีพันปีหลวง เป็นพระอิสริยยศของพระราชชนนีในจักรพรรดิจีนพระองค์ปัจจุบันหรือพระองค์ก่อน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและรายพระนามจักรพรรดินีจีน · ดูเพิ่มเติม »

วัดเส้าหลิน

วัดเส้าหลินหรือสำนักเส้าหลิน (เส้าหลินซื่อ; แต้จิ๋ว: เสี้ยวลิ้มยี่; ฮกเกี้ยน: เชี้ยวหลิมซี; คำแปล: วัดป่าบนเขาเส้าซื่อ) เป็นวัดทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความเก่าแก่อายุมากกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน หนึ่งในจำนวนห้ายอดเขาอันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวจีน เป็นเทือกเขาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดทั้งในด้านของประวัติศาสตร์และในแวดวงยุทธภพ ประกอบด้วยยอดเขาน้อยใหญ่จำนวน 72 ยอด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือในกลุ่มของเขาไท่ซื่อ จำนวน 36 ยอด และกลุ่มของเขาเส้าซื่อ จำนวน 36 ยอด ในอำเภอเติงเฟิง เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองเจิ้งโจวและเมืองลั่วหยาง บริเวณรอบ ๆ วัดเส้าหลินเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ใช้สำหรับฝึกวิทยายุทธของหลวงจีน รายล้อมด้วยป่าเจดีย์หรือถ่าหลิน ซึ่งเป็นสุสานของอดีตเจ้าอาวาสและหลวงจีน ซึ่งมีมาตั้งแต่ในยุคสมัยของราชวงศ์ถัง วัดเส้าหลินมีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในประเทศจีนและในต่างประเทศ ได้รับการกล่าวขานในเรื่องของกระบวนท่าวิทยายุทธ เพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินเป็นอย่างมาก เป็นแหล่งวิชาการต่อสู้และศิลปะการป้องกันตัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน ปรากฏชื่อในนิยายกำลังภายในหลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งล้วนแต่กล่าวถึงวิชาเพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินอยู่เสมอ โดยเฉพาะนิยายกำลังภายในของกิมย้งเช่น มังกรหยก, จอมใจจอมยุทธ์, จิ้งจอกภูเขาหิมะ เป็นต้น ปัจจุบันมีหลวงจีนที่บวชเพื่อศึกษาธรรมะและกังฟูจำนวน 180 รูป มีหลวงจีน ซือ หย่งซิน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศจีน ที่ทางรัฐบาลจีนได้ร้องขอต่อองค์กรยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และได้รับการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ร่วมกับโบราณสถานอีก 5 แห่ง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและวัดเส้าหลิน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

มเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (พระยศเดิม:สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด; พระราชสมภพ: 21 กันยายน พ.ศ. 2310 — สวรรคต: 18 ตุลาคม พ.ศ. 2379) หรือคนทั้งหลาย เรียกว่า สมเด็จพระพันวษา เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ต่อมาได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสวามี พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี พระราชโอรสพระองค์เล็ก พระองค์สวรรคตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระบรมอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาต.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

มเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (แต้จิ๋ว: Dênchao; 17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรนั้น เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อม..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

สวนจี้ชั่ง

วนจี้ชั่ง (Jichang Garden) ตั้งอยู่ถนนเขาฮุ่ย (Huishan Street) ในสวนซีฮุ่ย (锡惠公园) ทางตะวันออกของเขาฮุ่ย (惠山) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกในแถบชานเมืองอู๋ซี มณฑลเจียงซู ประเทศจีน และยังตั้งอยู่ใกล้กับวัดการุญบรรพต (惠山寺) สวนจี้ชั่งมีชื่อเสียงว่าเป็นสวนจีนโบราณในภาคใต้ของประเทศจีน และได้รับการบันทึกให้เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติเมื่อวันที่ 13 มกราคม 1988 มีสวนหลายแห่งที่ใช้สวนจี้ชั่งเป็นต้นแบบ เช่น สวนสราญรมย์ (谐趣园) ในพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน (颐和园) และสวนกั้วหรันต้ากง (廓然大公) หรือหอกระเรียนคู่ (双鹤斋) ในพระราชวังฤดูร้อนหยวนหมิงหยวน (圆明园) เมืองปักกิ่ง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและสวนจี้ชั่ง · ดูเพิ่มเติม »

สวนป่าสิงโต

วนป่าสิงโต (อังกฤษ: Lion Grove Garden) หรือสวนซือจึ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 23 ถนนหยวนหลิน เขตผิงเจียง (Pingjiang District; 平江区) ในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน เป็นสวนที่มีความโดดเด่นที่อาณาบริเวณขนาดกว้างใหญ่และมีหินประดับจากไท่หู (หรือทะเลสาบหู) อันสวยงามซับซ้อนที่จัดแต่งอยู่กลางสวน ชื่อของสวนได้มาจากลักษณะของหินประดับนี้ที่มีรูปร่างคล้ายสิงโต นอกจากนั้นสวนป่าสิงโตยังได้รับการบันทึกให้เป็นหนึ่งในสวนโบราณเมืองซูโจวที่เป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) เช่นกัน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและสวนป่าสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

สิบการทัพใหญ่

222px 222px 222px สิบการทัพใหญ่ (Ten Great Campaigns) เป็นชุดสงครามในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ซึ่งมีประกาศในหนังสือประจำปีทางการของราชวงศ์ชิง สิบการทัพใหญ่ได้แก่ สามการทัพเพื่อขยายอาณาเขตการควบคุมของจีนในเอเชียกลาง แบ่งเป็นสองครั้งต่อดซุงการ์ (1755–1757) และการปราบปรามซินเจียง (1758–1759) อีกเจ็ดการทัพที่เหลือนั้น มีลักษณะเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อย (police action) ตรงแนวพรมแดนที่สถาปนาไว้ก่อนแล้ว แบ่งเป็น สองครั้งเพื่อปราบปรามกบฏจินฉวนในเสฉวน หนึ่งครั้งต่อกบฏในไต้หวัน (1787–1788) และการรบนอกประเทศอีกสี่ครั้ง ต่อพม่า (1765–1769) เวียดนาม (1788–1789) และชาวกุรข่าที่ชอบทำสงครามในเนปาลตรงชายแดนระหว่างทิเบตกับอินเดีย (1790–1792) ซึ่งนับเป็นสองการทั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและสิบการทัพใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สื่อ เขอฝ่า

ื่อ เขอฝ่า (4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1601 – 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1645), ชื่อทางการแบบจีน เซี่ยนชือ และ เต้าหลิน, เป็นข้าราชการและนักอักษรแห่งราชวงศ์หมิง สื่อ เขอฝ่า เกิดที่ เซี่ยงฟู่ (祥符; ปัจจุบันคือ ไคเฟิง, เหอหนาน) และอ้างสิทธิ์สืบเชื้อสายมาจาก เขตต้าซิง, จังหวัดชุนเตียน (順天府大興縣; ในปัจจุบันคือ ปักกิ่ง).

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและสื่อ เขอฝ่า · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–พม่า

งครามจีน–พม่า (တရုတ်-မြန်မာ စစ်, 中緬戰爭, 清緬戰爭) หรือ การบุกพม่าของราชวงศ์ชิง หรือ การทัพพม่าแห่งราชวงศ์ชิง (Qing invasions of Burma, Myanmar campaign of the Qing Dynasty) เป็นการสงครามระหว่างราชวงศ์ชิงของจีน กับราชวงศ์โกนบองของพม่า กินเวลา 4 ปี ระหว่าง..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและสงครามจีน–พม่า · ดูเพิ่มเติม »

สนมเสาวคนธ์

สนมเสาวคนธ์ (Fragrant Concubine) เป็นบุคคลในตำนาจจีนซึ่งเชื่อกันว่า พระเจ้าเฉียนหลงรับเป็นภรรยาในช่วงศตวรรษที่ 18 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2277 หมวดหมู่:พระสนมราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและสนมเสาวคนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญากองตน

thumb สนธิสัญญากองตน เป็นการทำสัญญาพักรบในสงครามจีน-พม่าที่ต่อเนื่องยาวนานถึง4ปี ตั้งแต่เดือนธันวาคม..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและสนธิสัญญากองตน · ดูเพิ่มเติม »

หมิงรุ่ย

หมิงรุ่ย (မင်းယွီ) เป็นทหารที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งของราชวงค์ชิงในยุคนั้น ตลอดเวลาที่เขาทำสงคราม เขามักจะมองหาจุดอ่อนในกองทัพของศัตรูก่อนเสมอ เมื่อเจอแล้วก็จะทำการโจมตีอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้ตลอดเวลาที่เขาเป็นผู้บัญชาการทหารนั้น แทบไม่เคยพ่ายแพ้แก่ผู้ใดเลย ไม่ว่าจะมองโกลหรือพวกอุยเกอร์ในซินเจียง หมิงรุ่ยนับได้ว่าเป็นขุนศึกคู่พระทัยคนหนึ่งของจักรพรรดิเฉียนหลง ซึ่งพระองค์โปรดปรานเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องความสามารถและอายุที่ยังไม่มากนัก นับได้ว่าเป็นตัวเต็งเสาหลักอีกคนหนึ่งของราชวงค์ชิง แต่จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึงเมื่อครั้งจักรพรรดิเฉียนหลงตัดสินใจ ทำสงครามกับพระเจ้ามังระ ซึ่งก็พ่ายแพ้ถึงสองครั้ง พระองค์จึงตัดสินใจส่งหมิงรุ่ย ขุนพลเอกของราชวงค์ชิงลงมาเพื่อหวังจะปราบปรามอาณาจักรทางใต้ให้ราบคาบ โดยได้ส่งกองทหารที่ดีที่สุดของราชวงค์ชิงในยุคนั้นอย่างกองทัพแปดกองธง 50,000 นาย ลงมาทำศึก แต่การณ์ก็ไม่ได้เป็นดังนั้นเมื่อหมิงรุ่ยต้องมาพบกับ นักการทหารที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งของพม่าอย่างอะแซหวุ่นกี้ เส้นทางการบุกของหมิงรุ่ย แบ่งทัพเป็น 2 ทาง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหมิงรุ่ย · ดูเพิ่มเติม »

หยวน หง

หยวนหง หรือ จัสติน หยวน (ชื่อภาษาอังกฤษ: Justin Yuan, Yuan Hong) เป็นนักแสดงที่โด่งดังจากซีรีส์เรื่องปู้ปู้จิงซิน ในบทขององค์ชาย 13 หรือ อิ้นเสียง และ โปเย โปโลเย ตอน วิชามารกระชากวิญญาณ เข้าสู่วงการจากการจบการศึกษาจากสถาบันการแสดงละครปักกิ่ง ร่วมรุ่นเดียวกับหู เกอ, เผิง อวี๋เยี่ยน และจาง ป๋อจือ ชีวิตครอบครัว แต่งงานกับ จาง ซินอี ในปลายเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหยวน หง · ดูเพิ่มเติม »

หยง แซ่แต้

หยง แซ่แต้ (鄭鏞)นิธิ เอียวศรีวง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหยง แซ่แต้ · ดูเพิ่มเติม »

หย่งหลิน

งชินหวัง พระนามเดิมหย่งหลิน (17 มิถุนายน ค.ศ.1766 - 25 เมษายน ค.ศ.1820) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 17 ในจักรพรรดิเฉียนหลงกับจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน และยังเป็นพระอนุชาร่วมพระราชมารดาในจักรพรรดิเจียชิ่ง ปีเฉียนหลงที่ 54 (ค.ศ.1789) หย่งหลินได้รับแต่งตั้งเป็นเป้ยเล่อ (貝勒) จากการช่วยจักรพรรดิเจียชิ่งบริหารราชการแผ่นดินจึงได้รับแต่งตั้งเป็นชิ่งจวิ้นหวัง (慶郡王) ในปีเจียชิ่งที่ 4 (ค.ศ. 1799) สุดท้ายในปีเจียชิ่งที่ 25 (ค.ศ. 1820) หย่งหลินได้รับการแต่งตั้งเป็นชิ่งซีชินหวัง (慶僖親王) แต่ก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน ปีกวางสูที่ 24 เชื้อสายของเจ้าชายหย่งหลินได้รับสถาปนาเป็นชั้นอ๋องพระมาลาเหล็กและได้ถือให้เจ้าชายหย่งหลินเป็นอ๋องพระมาลาเหล็กสายเหอซั่วชิ่งชินหวังพระองค์แรก.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหย่งหลิน · ดูเพิ่มเติม »

หย่งหวง

ติ้งชินหวัง พระนามเดิมหย่งหวง (永璜) เป็นเจ้าชายในราชวงศ์ชิง ประสูติวันที่ 5 กรกฎาคม..1728 เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในจักรพรรดิเฉียนหลงกับเจ๋อหมิ่นหวงกุ้ยเฟย์ ตระกูลฟู่ฉา ในปี..1748 พระจักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จประพาสทางภาคใต้ของประเทศจีน และจักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุน ตระกูลฟู่ฉาสวรรคตอย่างกะทันหัน พระจักรพรรดิจึงทรงมอบหมายให้เจ้าชายหย่งหวงในฐานะที่เป็นเจ้าชายพระองค์ใหญ่เป็นผู้ดูแลงานพระราชพิธีพระศพของพระจักรพรรดินีพร้อมด้วยเจ้าชายสามหย่งจาง แต่เพราะเจ้าชายทั้งสองพระองค์ไม่ได้มีท่าทีที่โศกเศร้าแต่อย่างใดกับการสวรรคตลยเป็นเหตุให้พระจักรพรรดิพิโรธหนัก จนทรงตำหนิเจ้าชายทั้งสองอย่างร้ายแรงถึงขั้นทรงลบรายชื่อเจ้าชายทั้งสองออกจากการคัดเลือกรัชทายาท เจ้าชายหย่งหวงทรงเป็นสมาชิกสังกัดกองธงน้ำเงิน สิ้นพระชนม์วันที่ 21 เมษายน..1750 ขณะพระชันษาได้ 22 ปี ภายหลังสิ้นพระชนม์จึงได้รับพระอิสริยยศเป็นติ้งอันชินหวัง (定安親王).

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหย่งหวง · ดูเพิ่มเติม »

หย่งฉี

หรงฉุนชินหวัง พระนามเดิมหย่งฉี (永琪) เป็นเจ้าชายแห่งจักรวรรดิต้าชิง เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ห้าในจักรพรรดิเฉียนหลง ที่ประสูติกับยฺหวีกุ้ยเฟย์ (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นคนรอบคอบและขยันหมั่นเพียรตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ในบรรดาเจ้าชายทั้งหมด ทรงเป็นท่านแรกที่ไปถึงสถานที่เรียนเสมอ ทรงสนิทสนมกับเจ้าชายหย่งเหยี่ยน พระอนุชาต่างพระมารดา ทรงปรีชาสามารถในการตรัสภาษาแมนจูและภาษามองโกลอย่างคล่องแคล่ว และยังทรงรอบรู้ด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และการคำนวณปฏิทินจันทรคติ ทรงมีผลงานคือหนังสือเรื่อง เจียวถง เถิงเก่า (蕉桐幐稿) นอกจากนี้ยังทรงปรีชาสามารถในด้านการแต่งบทกวี ประดิษฐ์ตัวอักษร และอีกทั้งยังทรงมีฝีพระหัตถ์ในด้านการขี่ม้าและยิงธนู จากพรสวรรค์เหล่านี้ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่สนิทเสน่หาของพระบิดายิ่งนัก ใน..1763 เกิดไฟไหม้ในพระราชวังฤดูร้อนเก่า และเจ้าชายหย่งฉีได้ทรงแบกพระบิดาไว้บนหลังและพาไปที่ปลอดภัย สองปีต่อมาจักรพรรดิเฉียนหลงได้ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น “หรงชินหวัง” (榮親王) และเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกที่ได้รับพระนามอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ตัวอักษรคำว่า “หรง” (榮) นั้นหมายถึง “บารมี” หรือ “เกียรติ” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงตั้งความหวังไว้สูงมากกับพระราชโอรสองค์นี้.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหย่งฉี · ดูเพิ่มเติม »

หย่งเฉิง

ลฺหวี่ตวนชินหวัง พระนามเดิมหย่งเฉิง (永珹) เป็นเจ้าชายแห่งต้าชิง ประสูติวันที่ 21 กุมภาพัน..1739 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สี่ของพระจักรพรรดิเฉียนหลงกับชูเจียหวงกุ้ยเฟย์ ตระกูลจินเจีย ในรัชสมัยเฉียนหลงปีที่ 28 (ค.ศ.1763) ได้สืบทอดพระอิสริยยศ "ลฺหวี่ชินหวัง" ต่อจากเจ้าชายอิ้นเถา พระราชโอรสในพระจักรพรรดิคังซี โดยมีพระอิสริยยศเป็นลฺหวี่ตวนชินหวัง (履端親王) เจ้าชายหย่งเฉิงสิ้นพระชนม์วันที่ 5 เมษายน..1777 สิริพระชันษาด้ 38 ปี.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหย่งเฉิง · ดูเพิ่มเติม »

หวั่นกุ้ยไท่เฟย์

หว่านกุ้ยไท่เฟย (ค.ศ. 1716-ค.ศ. 1807) เป็นพระอัครชายาในสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหวั่นกุ้ยไท่เฟย์ · ดูเพิ่มเติม »

หวง รื่อหัว

หวง รื่อหัว (Wong4 Jat6-waa4 ว่อง หยัดว่า; หรือที่นิยมออกเสียงว่า หวง เย่อหัว) นักแสดงชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียง หวง รื่อหัว เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1961 ที่ฮ่องกง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า เฟลิก หวง (Felix Wong; Felix Wong Yat Wah) เริ่มต้นอาชีพนักแสดงหลังจบมัธยมกับทางทีวีบีในปี ค.ศ. 1980 โดยจบจากโรงเรียนการแสดงของทีวีบีในปี ค.ศ. 1979 หวง รื่อหัว มีบทบาทที่เป็นที่รู้จักกันดีจากบท ซีจุ๊ในแปดเทพอสูรมังกรฟ้า ฉบับปี ค.ศ. 1982, ก๊วยเจ๋ง ในมังกรหยก ฉบับปี ค.ศ. 1983 และ เฉียวฟงใน แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ฉบับปี ค.ศ.1997 จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในห้าพยัคฆ์ทีวีบี ซึ่งประกอบไปด้วย หวง รื่อหัว, เหมียว เฉียวเหว่ย, ทัง เจิ้นเย่, หลิว เต๋อหัว และเหลียง เฉาเหว่ย ผลงานในระยะหลังของ หวง รื่อหัว ได้แก่ Golden Chicken ในปี ค.ศ. 2002, Wait 'til You're Older ในปี ค.ศ. 2005 และภาพยนตร์จากโปรเจกต์ของหลิว เต๋อหัว ที่นำนักแสดงห้าพยัคฆ์ทีวีบีกลับมาร่วมแสดงกันอีกครั้ง ในเรื่อง Brothers ในปี ค.ศ. 2007 ซึ่งได้เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยด้วย ชีวิตส่วนตัว หวง รื่อหัว สมรสแล้วกับเหลียง เจียหัว ซึ่งเป็นนักแสดงของทีวีบีเช่นกัน มีบุตรสาวหนึ่งคน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหวง รื่อหัว · ดูเพิ่มเติม »

หฺวันซิ่วชันจฺวัง

หฺวันซิ่วชันจฺวัง แปลว่า บ้านพักเชิงเขาโอบล้อมด้วยความงาม (Mountain Villa with Embracing Beauty) เป็นสวนซึ่งตั้งอยู่ที่เลขที่ 272 ถนนจิ่งเต๋อ (景德路 272号) ภายในบริเวณของพิพิธภัณฑ์งานเย็บปักถักร้อย (Embroidery Museum) ใกล้กับศูนย์กลางเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน หฺวันซิ่วชันจฺวังได้รับการบัณทึกให้เป็นมรดกโลกในปี 1997 โดย องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ร่วมกับสวนโบราณเมืองซูโจวแห่งอื่น ๆ อีกสามแห่งที่ได้รับการบันทึกในปีเดียวกัน สวนแห่งนี้อาจนับได้ว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในบรรดาสวนโบราณแห่งเมืองซูโจว.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหฺวันซิ่วชันจฺวัง · ดูเพิ่มเติม »

หง ซีกวน

หง ซีกวน หรือ อั้ง อีกัว (แต้จิ๋ว) (Hung Hei-Gun; 洪熙官; พินอิน: Hóng Xīguān) วีรบุรุษมวยกังฟูผู้คิดค้นเพลงมวยสกุลหง หรือ หงฉวน (洪拳) และเป็นตำนานร่วมกับ ฟ่ง ไสหยก หรือ ปึง ซีเง็ก และ โอว ฮู้ยเคียง ซึ่งทั้ง 3 ได้รับการขนามนามว่าเป็น 3 พยัคฆ์เส้าหลิน เช่นเดียวกับ 10 พยัคฆ์เส้าเหลิน (廣東十虎) นักสู้กังฟูอีกกลุ่มในเวลาต่อมา หง ซีกวน เกิดที่มณฑลกวางตุ้ง เดิมมีชื่อว่า จิว อาชีพเดิมเคยเป็นคนขายใบชา ก่อนที่จะฝึกกังฟูกับวัดเส้าหลินกับหลวงจีนจื้อส้าน ร่วมกับ ฟ่ง ไสหยก และ โอว ฮู้ยเคียง โดยที่ หง ซีกวน เป็นแกนนำกลุ่มด้วยความที่เป็นคนอาวุโสและอุปนิสัยเยือกเย็นที่สุด เพื่อเข้าร่วมกับพรรคดอกไม้แดงทำการต่อต้านแมนจูที่กดขี่ชาวฮั่นโดยราชวงศ์ชิง ซึ่งเรื่องราวของ 3 นั้นได้ถูกกล่าวถึงไว้ในนิยายกำลังภายในเรื่อง เฉียนหลงประพาสกังหนำ อันเป็นเรื่องราวของฮ่องเต้เฉียนหลงเมื่อครั้งเสด็จประพาสภาคใต้ของจีน พร้อมกับทรงส่งยอดฝีมือจากสำนักต่าง ๆ เช่น บู๊ตึ้งและง้อไบ๊ เพื่อกำจัดคนจากสำนักเส้าหลินที่ต่อต้านแมนจู ซึ่ง ฟ่ง ไสหยก เป็นคนแรกที่เสียชีวิต ก่อนจะตามด้วย โอว ฮู้ยเคียง ส่วน หง ซีกวน นั้นเป็นบุคคลสุดท้ายที่มีชีวิตอยู่ ในวัฒนธรรมร่วมสมัยบางอย่าง เช่น นวนิยาย หรือภาพยนตร์และซีรีส์ ได้กำหนดให้ หง ซีกวน เป็นตัวเอกในบรรดาคนทั้ง 3 และในบางเรื่องก็ให้ หง ซีกวนถูกฆ่าตายในที่สุด แต่ในบางเรื่อง หง ซีกวน ก็มิได้ตาย และในบางตำนานก็เชื่อว่า หง ซีกวนมีชีวิตยืนยาวนานถึง 182 ปี อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับ ฟ่ง ไสหยก แล้ว หง ซีกวน ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความเป็นไปได้มากว่าที่จะมีตัวตนจริงมากกว่า แต่บางส่วนก็ถิอว่า หง ซีกวน เป็นเพียงบุคคลในอุดมคติ โดยเป็นบุคคลในบุคลาธิษฐานที่แต่งขึ้นมาเพื่อเสริมวีรกรรมของ หง ซิ่วฉวน (洪秀全) ผู้นำกบฏไท่ผิง ที่มีตัวตนจริงมากกว.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหง ซีกวน · ดูเพิ่มเติม »

หงฉือ

หงฉือ (弘時 Hóngshí; 18 มีนาคม ค.ศ. 1704 – 20 กันยายน ค.ศ. 1727) เป็นเจ้าชายชาวแมนจูแห่งราชสกุลอ้ายซินเจว๋หลัวในราชวงศ์ชิง เป็นโอรสองค์ที่สามของจักรพรรดิหย่งเจิ้ง ถูกพระบิดาถอดเป็นสามัญชนใน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหงฉือ · ดูเพิ่มเติม »

อะแซหวุ่นกี้

มะฮาตีฮะตูระ (แปลงเป็นไทย มหาสีหสุระ, မဟာသီဟသူရ, Maha Thiha Thura; ราวพุทธศักราช 2263-2325) เอกสารไทยเรียก อะแซหวุ่นกี้ เป็นแม่ทัพแห่งกองทัพพม่าช่วง..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและอะแซหวุ่นกี้ · ดูเพิ่มเติม »

อากุ้ย

อากุ้ย แห่งกองธงขาว เป็นแม่ทัพคนสำคัญของจักรพรรดิเฉียนหลง ผู้ทำศึกมากมายตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทั้งสิบการทัพใหญ่และอีกหลายต่อหลายศึก ภายหลังอากุ้ยได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาบุญธรรมของจักรพรรดิเจียชิ่งและองค์ชายหย่งหลิน โดยหลังจากอากุ้ยเสียชีวิต จักรพรรดิเจียชิ่งยกย่องอากุ้ยเป็นเสมือนจุ้นหวัง และให้วาดภาพอากุ้ยสวมเครื่องแบบของเชื้อพระวงศ์ โดยภาพดังกล่าววาดขึ้นในปีเจียชิ่งที่ 3.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและอากุ้ย · ดูเพิ่มเติม »

อิ่งกุ้ยเฟย์

อิ่งกุ้ยเฟย (ค.ศ. 1731 - 1800) เป็นพระราชเทวีในสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและอิ่งกุ้ยเฟย์ · ดูเพิ่มเติม »

อิ้นหลี่

กั๋วจวิ้นหวัง (Prince Guo of the First Rank, 24 มีนาคม 1697 – 21 มีนาคม 1738) พระนามเดิมเมื่อแรกประสูติคือ อิ้นหลี่ พระราชโอรสองค์ที่ 17 ของ จักรพรรดิคังซี ที่ประสูติจาก พระอัครชายาฉุนอี้ฉิน สกุลเฉินอีกทั้งยังเป็นพระราชอนุชาต่างพระมารดาของ จักรพรรดิยงเจิ้ง เมื่อจักรพรรดิหย่งเจิ้งขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากจักรพรรดิคังซีพระราชบิดาพระองค์ได้ให้พระเชษฐาและพระอนุชาเปลี่ยนพระนามองค์ชายอิ้นหลี่จึงเปลี่ยนพระนามเป็น ยฺหวิ่นหลี.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและอิ้นหลี่ · ดูเพิ่มเติม »

อิ้นถี

ซฺหวินจวิ้นหวัง พระนามเดิมอิ้นถี (16 มกราคม ค.ศ. 1688 – 13 มกราคม ค.ศ. 1756) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 14 ของจักรพรรดิคังซีที่ประสูติจากจักรพรรดินีเซี่ยวกงเหริน อีกทั้งเป็นพระอนุชาร่วมพระราชมารดากับจักรพรรดิยงเจิ้ง เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ได้ทรงให้พระเชษฐาและพระอนุชาเปลี่ยนพระนาม เจ้าชายอิ้นถีจึงเปลี่ยนพระนามเป็นยฺหวิ่นถี (允禵).

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและอิ้นถี · ดูเพิ่มเติม »

อี้ซิน

กงชินหวัง ซึ่งมีพระนามเดิมว่าอี้ซิน (แมนจู:ᠠᡳᠰᡳᠨ ᡤᡳᠣᡵᠣ ᡳ ᡥᡳᠨ) ประสูติเมื่อ 11 มกราคม..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและอี้ซิน · ดูเพิ่มเติม »

องค์หญิงกำมะลอ

องค์หญิงกำมะลอ (จีน: 還珠格格 พินอิน: Huán zhū gégé -หวนจูเก๋อเก๋อ, อังกฤษ: Princess Pearl หรือ Princess Returning Pearl หรือเรียกโดยย่อว่า "HZGG" ซึ่งมาจากการการย่อของการสะกดพินอิน) เป็นละครชุดของไต้หวัน ในภาคหนึ่ง และ ภาคสอง นำแสดงโดย เจ้าเวย, หลินซินหยู, ซู โหย่วเผิง (蘇有朋) และ โจวเจี๋ย และภาคสองมีนักแสดงอีกคนคือWang Yan(周杰) และสำหรับภาคสามมีการเปลี่ยนตัวนำแสดงหลักเป็น หวงอี้ (黃奕), หม่าอีลี่ (馬伊琍) และ กู่จวีจี (古巨基) แต่สำหรับ โจวเจี๋ยและWang Yan นั้นไม่เปลี่ยน โดยเริ่มฉายภาคแรกในปี พ.ศ. 2541 ภาคสองฉายในปี 2542 และภาคสามฉายในปี 2546 องค์หญิงกำมะลอ เป็นที่นิยมมากในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และไทย รวมถึงในไต้หวันเอง เนื้อหาของภาพยนตร์ชุดนี้มาจากนวนิยายของผู้แต่งนวนิยายหญิงชาวไต้หวัน ฉงเหยา (瓊瑤) โดยผู้แต่งได้แรงบันดาลใจจากการแต่งเรื่องนี้จากพระธิดาบุญธรรมของจักรพรรดิเฉียนหลง (乾隆) สมัยราชวงศ์ชิง และดัดแปลงมาเป็นองค์หญิงหวนจู ในประเทศไทย องค์หญิงกำมะลอ เคยออกอากาศทางช่อง 3 ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2542 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.25 น. และได้นำกลับมาออกอากาศซ้ำ และออกอากาศจนถึงภาคสาม องค์หญิงกำมะลอได้กลับมาสร้างใหม่อีกครั้งในปี 2011.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและองค์หญิงกำมะลอ · ดูเพิ่มเติม »

จวงชินหวัง

หอชั่วจวงชินหวัง เป็นพระอิสริยยศอ๋องชั้นเอก ที่จักรพรรดิซุ่นจื้อพระราชทานให้เจ้าชายชั่วไซพระเชษฐาในปี..1651 ตอนนั้นมีชื่อตำแหน่งว่า เหอชั่วเฉิงเจ๋อชินหวัง() สมัยต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นเหอชั่วจวงชินหวัง จักรพรรดิเฉียนหลงได้ทรงบรรจุอ๋องสายนี้ให้เป็นหนึ่งในอ๋องพระมาลาเหล็กและได้สืบทอดมาทั้งสิ้น 13 อง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจวงชินหวัง · ดูเพิ่มเติม »

จอมนางวังต้องห้าม 3

อมนางวังต้องห้าม 3 (Palace 3: The Lost Daughter, หรือ "กงสั่วเหลียนเฉิง") สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2557 เป็นละครภาคที่ 3 ของละครชุด "จอมนางวังต้องห้าม" เป็นภาคต่อจากละครเรื่อง จอมนางวังต้องห้าม 2 โดยละครจะเล่าเรื่องย้อนกลับไปในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง (ชิงเกาจงฮ่องเต้) แห่งราชวงศ์ชิง (หรือแมนจู) เนื้อหากล่าวถึงโชคชะตาที่พลิกผันของสองหนุ่มสาว "เหลียนเฉิง" และ "เหิงไท่" นำแสดงโดย หยวน ซานซาน,ลู่ อี้ ละครเรื่องนี้ออกอากาศทางช่องเหอหนานทีวีในจีน แต่ในไทยจะออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจอมนางวังต้องห้าม 3 · ดูเพิ่มเติม »

จอมใจจอมยุทธ์

อมใจจอมยุทธ์ หรือ ตำนานอักษรกระบี่ (The Book and the Sword) เป็นผลงานเรื่องแรกของ กิมย้ง หรือในชื่อ จือเกี่ยมอึ้งชิ้วลก (Shu Jian En Chau Lu: จอมใจจอมยุทธ์) ซึ่งเขียนขึ้นครั้งแรกราว..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจอมใจจอมยุทธ์ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ แม็คคาร์ทนีย์ เอิร์ลแม็คคาร์ทนีย์ที่ 1

จอร์จ แม็คคาร์ทนีย์, เอิร์ลแม็คคาร์ทนีย์ที่ 1 KB (George Macartney, 1st Earl Macartney, 14 พฤษภาคม 1737 — 31 พฤษภาคม 1806) นักการทูตและรัฐบุรุษชาวอังกฤษเป็นที่รู้จักจากการเป็นทูตชาวอังกฤษคนแรกที่เดินทางมายังจีนในรัชสมัย จักรพรรดิเฉียนหลง หมวดหมู่:ชาวอังกฤษ.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจอร์จ แม็คคาร์ทนีย์ เอิร์ลแม็คคาร์ทนีย์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิยงเจิ้ง

มเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง ทรงพระราชสมภพเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิน, อิ้นเจวิน (ภาษาจีน: 胤禛) เล่ากันว่า พระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) องค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช" (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีแม้จะเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนได้เฉพาะฉบับที่เป็นตัวอักษรฮั่นเท่านั้น แต่ฉบับอักษรแมนจูที่มีการเขียนคู่กันด้วยไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ) เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำคือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาทจากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีตเป็นแต่งตั้งโดยเป็นความลับโดยเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรงและจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เองอีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคตแต่ในระหว่างที่ครองราชย์ต้องพบกับปัญหากบฏหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกันยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครองการบริหารเอาไว้หลายด้านกิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ ตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น รวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง) จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อ ซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน และนำไปเสริมเติมแต่งเพื่อสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง จักรพรรดิย่งเจิ้งสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2278 ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน โดยมีสาเหตุคล้ายกับการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีอ่องเต้ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังก์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนามเมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดิยงเจิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีจี้

ักรพรรดินีจี้ ตระกูลอูลาน่าลา (繼皇后烏喇納喇氏 Jì Huánghòu Wūlānàlā Shì) หรือที่รู้จักกันในไทยว่า "จี้ฮองเฮา " จากภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง องค์หญิงกำมะลอ เป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่สองในจักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดินีจี้ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน

องค์ชายหยงเหยี๋นพระราชโอรส จักรพรรดินีเสี้ยวอี้ฉุน (孝儀純皇后Empress_Xiaoyichun ') หรือที่รู้จักกันในไทยขณะทรงพระยศเป็นพระมเหสีว่า "พระมเหสีหลิง " จากภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง องค์หญิงกำมะลอ เป็นพระมเหสีในจักรพรรดิเฉียนหลง และเป็นพระราชมารดาในจักรพรรดิเจียชิ่ง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเซี่ยน

มเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวจิงเซี่ยน (孝敬宪皇后Empress Xiaojingxian; ค.ศ. 1722- ค.ศ1731-) เป็นพระอัครมเหสีในจักรพรรดิยงเจิ้ง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดินีเซี่ยวจิ้งเซี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย

ระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวซู่ ใน จักรพรรดิเจียชิ่งในฉลองพระองค์ช่วงพระราชพิธีช่วงเช้า สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวซู่รุ่ย (孝淑睿皇后; Empress Xiaoshurui) เป็นพระจักรพรรดินีพระองค์แรกในจักรพรรดิเจียชิ่งและพระราชมารดาในจักรพรรดิเต้ากวง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยน

ักรพรรดินีเสี้ยวเชิ่งเซี่ยน (1 มกราคม 1693 - 2 มีนาคม 1777) เป็นพระมเหสีในจักรพรรดิยงเจิ้งและเป็นที่รู้จักดีในฐานะพระราชมารดาในจักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุน

ระสาทิสลักษณ์พระอัครมเหสีฟู่ฉาในฉลองพระองค์ช่วงพระราชพิธีช่วงเช้า พระสาทิสลักษณ์พระอัครมเหสีเสี้ยวเสียนชุน จักรพรรดินีเสี้ยวเสียนชุน เป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกในจักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง

ระสาทิสลักษณ์พระอัครมเหสีหนิวฮูหลู่ขณะทรงพระยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีในจักรพรรดิเจียชิ่ง พระสาทิสลักษณ์พระพันปีหลวงกงฉือ พระพันปีหลวง ใน จักรพรรดิเต้ากวงในฉลองพระองค์ช่วงพระราชพิธีช่วงเช้า สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง (孝和睿皇后; Empress Xiaoherui) เป็นพระจักรพรรดินีพระองค์ที่สองในจักรพรรดิเจียชิ่งและสมเด็จพระพันปีหลวงในจักรพรรดิเต้ากวง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเกาจง

ักรพรรดิเกาจง (Gaozong) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดิเกาจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเจียชิ่ง

มเด็จพระจักรพรรดิเจียชิ่ง (จักรพรรดิชิงเหรินจง) (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) เป็นโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เดิมมีพระนามว่า หย่งเยี๋ยน (顒琰) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) เมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษา ภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชบิดา แต่อำนาจในการปกครองแผ่นดินแท้จริงยังอยู่ในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจนถึงปีที่ 3 ที่ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงได้สวรรคต และพระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง เมื่อทรงได้อำนาจเต็มแล้ว ทรงได้กำจัดเหอเซิน ที่เป็นขุนนางกังฉิน โกงกินชาติ ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงรวบรวมขุนนางและบรรดาผู้ที่จงรักภักดีเพื่อกำจัดเหอเซิน โดยบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการครั้งนี้คือ อ๋องเฉิน ซึ่งเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระองค์และเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อได้ยึดทรัพย์เหอเซินแล้ว พบว่าเงินจำนวนที่เหอเซินยักยอกไว้นั้นมีมูลค่าเท่ากับรายได้ประเทศชาติถึง 10 ปี แต่เมื่อจับกุมเหอเซินได้แล้วกลับลังเลพระทัยที่จะประหารชีวิต เนื่องจากทรงเคยรับคำพระราชบิดา จักรพรรดิเฉียนหลงเอาไว้ว่าจะไว้ชีวิตเหอเซิน เมื่อพระองค์สวรรคต แต่ได้ถูกอ๋องเฉินและบรรดาขุนนางทูลทัดทาน จึงได้ตัดสินพระทัยบังคับให้เหอเซินผูกคอตาย ตลอดรัชสมัย ทรงพบกับการก่อกบฏและเรื่องทางความมั่นคงมากมาย เช่น กบฏพรรคบัวขาว, กบฏโจรสลัดไต้หวัน กบฏพรรคเที่ยงธรรม เป็นต้น ซึ่งกบฏเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นกบฏชาวฮั่นที่รวบรวมคนไว้เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงกอบกู้ราชวงศ์หมิงนั่นเอง มีพระโอรส 3 พระองค์ พระโอรสองค์โตเกิดจากพระอัครมเหสีฮีตียา ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีที่ทรงรักยิ่ง แต่พระนางสิ้นพระชนม์ไปก่อนเมื่ออายุยังน้อย และพระโอรสอีก 2 พระองค์ ที่เกิดจากพระมเหสีหนิวฮูลู่ พระอัครมเหสีองค์ใหม่ที่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาจากการเป็นพระมเหสี ซึ่งพระองค์ไม่เคยโปรดพระนางเลย แต่ต้องทรงสถาปนาเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยต้องการให้เหล่าขุนนางและประชาราษฎร์เห็นถึงพระทัยเมตตาของพระองค์ เหตุที่ไม่โปรดพระมเหสีหนิวฮูลู่ นี้ เพราะพระนางเป็นบุตรสาวของขุนนางที่เคยเป็นพรรคพวกเหอเซินมาก่อน จึงไม่ไว้วางพระทัย ในรัชสมัยของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ปรากฏกรณีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติมาตลอด เช่น เกิดกบฏต่างๆ การที่เวียดนามขอแยกออกไปเป็นประเทศเอกราช เป็นต้น ซึ่งพระองค์ทรงใช้ทั้งนโยบายที่ผ่อนปรนและแข็งกร้าวสลับกันไป เช่น การห้ามชาวแมนจูแต่งงานกับชาวฮั่นเด็ดขาด หรือ การห้ามชาวคริสต์เผยแพร่ศาสนาเด็ดขาด รวมทั้งการห้ามราษฎรสูบฝิ่นด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งทั้งหมดเหล่านี้จะส่งผลต่อความมั่นคงตามมาในภายหลัง ในปลายรัชสมัย มีพระพลานามัยอ่อนแอ ด้วยทรงสูงพระชันษาประกอบกับการกลัดกลุ้มพระทัยอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับราชภารกิจ สวรรคตในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) พระชนมายุ 61 พรรษา รวมระยะเวลาที่ได้ทรงครองราชย์ 24 ปี และผู้ที่ครองราชย์สืบต่อมาคือ องค์ชายเหมี่ยนหนิง ภายหลังขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดิเจียชิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเต้ากวัง

ักรพรรดิเต้ากวัง พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าเตากวาง เป็นองค์ชายรองในจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง เดิมมีพระนามว่า เหมียนหนิง (綿寧) (แปลว่า อาทิตย์อัสดง) แต่ได้เปลี่ยนพระนามใหม่ภายหลังขึ้นครองราชย์ว่า หมิ่นหนิง (旻宁) (แปลว่า ท้องฟ้า หรือ จักรวาล) จักรพรรดิเต้ากวัง ประสูติจากมเหสีที่มีชื่อว่า จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย(孝淑皇后) แต่พระมารดาได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ยังเยาว์วัย จักรพรรดิเจี่ยชิงพระราชบิดาจึงได้สถาปนาพระมเหสีองค์ใหม่ขึ้นเป็นจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย (孝和皇后) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอูนาลา ขุนนางพวกเดียวกับเหอเซิน ที่ทรงไม่ไว้วางพระทัย แต่ทรงทำไปด้วยด้วยเหตุผลทางการเมือง นั่นทำให้จักรพรรดิเต้ากวังเมื่อยังทรงพระเยาว์ก็ไม่โปรดในตัวพระนางด้วยเช่นกัน แม้จะมีศักดิ์เป็นพระมารดาเลี้ยงก็ตาม แต่ได้ทรงเปลี่ยนทัศนะที่มีต่อพระนางใหม่ เมื่อครั้งหนึ่งที่ได้เสด็จไปไหว้บรรพกษัตริย์ที่สุสานราชวงศ์ชิงด้วยกัน และได้มีโจรกบฏกลุ่มหนึ่งมาจับตัวพระองค์และพระนางไปพร้อมกับสามัญชนกลุ่มหนึ่ง พวกกบฏบังคับให้พระองค์และพระนางบอกว่าใครเป็นใคร หากเงียบ ก็จะให้จ้วงแทงพระนางด้วยมีด พระนางก็ปิดปากเงียบไม่ยอมบอก นั่นจึงทำให้พระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระนางเสี้ยวเหอมากและยอมรับพระนางในที่สุด จักรพรรดิเต้ากวัง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกะทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็กพระนางเสี้ยวเหอของคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้พระนางเสี้ยวเหอตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน ซึ่งพระนางเสี้ยวเหอได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้พระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้ ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนางลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ สงครามฝิ่นกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) และ พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำมาสู่การสูญเสียเกาะฮ่องกงและการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง จักรพรรดิเต้ากวังมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปรานปืนเป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์สืบไปคือ องค์ชายอี้จู่ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิเสียนเฟิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดิเต้ากวัง · ดูเพิ่มเติม »

จาง เฟิงอี้

ง เฟิงอี้ เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจาง เฟิงอี้ · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งจอกภูเขาหิมะ

้งจอกภูเขาหิมะ (雪山飛狐, Fox Volant of the Snowy Mountain, Flying Fox of Snowy Mountain) หรือ เซาะฮัวปวยฮู้ เป็นนิยายกำลังภายในของกิมย้งจัดเป็นเรื่องสั้นที่เขียนได้ดีที่สุดและโดดเด่นที่สุดของยุทธจักรนิยาย โดยวิธีการดำเนินแบบเล่าเรื่อง มาตรแม้นว่าเป็นเรื่องราวเดียวกันแต่เมื่อกล่าวจากปากแต่ละคนกลับผิดแผกแตกต่างตลอดทั้งเนื้อเรื่องกล่าวถึงปริศนาลี้ลับมากมาย ใช้วิธีการผูกเรื่องคล้ายกับการสืบสวนคดีแบบปากต่อปากจากนั้นนำเรื่องราวทั้งหมดมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันจนได้ปรากฏข้อเท็จจริง ในด้านของเนื้อหาแม้ไม่นับว่าเลิศพบจบแผ่นดินดุจดั่งสามไตรภาคมังกรหยก แปดเทพอสูรมังกรฟ้า และกระบี่เย้ยยุทธจักร แต่นับว่าสามารถสะท้อนนิสัยใจคอพื้นเพของมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยมเรื่องหนึ่งโดยผ่านการกล่าววาจาซึ่งสะท้อนลักษณะนิสัยและความคิดของมนุษย์ อนึ่งนั้นมาตรแม้นว่าจิ้งจอกภูเขาหิมะจะมีเนื้อเรื่องและตัวละครเกี่ยวเนื่องกันกับจิ้งจอกอหังการแต่นักอ่านสามารถอ่านโดยแยกจากกันได้ ทั้งนี้เพราะแม้ว่าจิ้งจอกภูเขาหิมะเขียนขึ้นก่อนแต่กลับเป็นเรื่องราวภายหลังจิ้งจอกอหังการ และกิมย้งแต่งโดยให้ทั้งสองเป็นเอกเทศแยกจากกัน แต่ถึงกระนั้นเมื่อนำเรื่องนี้มาสร้างภาพยนตร์หรือละครโทรทัศน์ผู้สร้างก็ยังมิวายรวมสองเรื่องเข้าด้วยกันเป็น จิ้งจอกภูเขาหิมะ เรื่องเดียวอยู่ดี.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจิ้งจอกภูเขาหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

ธวัช รัตตะชัย

วัช รัตตะชัย (ชื่อเล่น: ต่อ) เกิดวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 เป็นนักพากย์ชาวไทย พากย์ให้กับทาง ช่อง 3 และ ไทยพีบีเอส เริ่มมีชื่อเสียงมาจากการพากย์บทซีรีส์ รักใสใสหัวใจสี่ดวง และกลายเป็นเสียงพากย์ของแวนเนส วู ในฉบับภาษาไทย ในปัจจุบัน มีผลงานในการพากย์การ์ตูนให้กับทาง โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ น้าต่อมักจะได้พากย์เสียงวัยรุ่นชายหรือไม่ก็พระเอกกับคุณลุง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและธวัช รัตตะชัย · ดูเพิ่มเติม »

ถัง กั๋วเฉียง

กบท ขงเบ้ง ถัง กั๋วเฉียง (Tang Guoqiang, จีน: 唐国强, พินอิน: Táng Guóqiáng) นักแสดงชาวจีน ผู้รู้จักบทบาทดีจากการรับบท ขงเบ้ง ในสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของ CCTV เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1952 ในครอบครัวที่เป็นแพทย์ ที่เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง เริ่มต้นอาชีพนักแสดงในปี ค.ศ. 1970 หลังสำเร็จการศึกษาระดับมัธยม ถัง กั๋วเฉียง มีบทบาทที่รู้จักดีจากการรับบทเป็น ขงเบ้ง จากสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของ CCTV และจากการรับทเป็น จักรพรรดิหย่งเจิ้น, จักรพรรดิหลี่ซื่อหมิน และ รับบท เหมาเจ๋อตุง หลายต่อหลายครั้ง เช่น The Founding Of A Republic ในปี ค.ศ. 2009 เป็นต้น ชีวิตส่วนตัว เคยผ่านการสมรสมาแล้ว 2 ครั้ง โดยมีลูกสาวเกิดกับภรรยาคนแรก และลูกชายกับภรรยาคนที่สอง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและถัง กั๋วเฉียง · ดูเพิ่มเติม »

ที่ประชุมอำมาตย์ราชวงศ์หารือราชกิจ

ที่ประชุมอำมาตย์ราชวงศ์หารือราชกิจ (Deliberative Council of Princes and Ministers, Council of Princes and High Officials, หรือ Assembly of Princes and High Officials) เรียกโดยย่อว่า ที่หารือราชกิจ (Deliberative Council) เป็นคณะที่ปรึกษาของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิจีนช่วงต้นราชวงศ์ชิง เกิดจากคณะบุคคลที่ประชุมกันอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งหนูเอ่อร์ฮาชื่อ (努爾哈赤; ค.ศ. 1559–1626) ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์ชิง ทรงจัดตั้งขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1610–20 แล้วหฺวัง ไถจี๋ (黃台吉; ค.ศ. 1592–1643) จักรพรรดิพระองค์ถัดมา ทรงจัดตั้งอย่างเป็นทางการใน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและที่ประชุมอำมาตย์ราชวงศ์หารือราชกิจ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1730

..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและคริสต์ทศวรรษ 1730 · ดูเพิ่มเติม »

ความฝันในหอแดง

วามฝันในหอแดง (The Dream of the Red Chamber; 红楼梦 (หงโหล่วเมิ่ง) เป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับสามก๊ก, ไซอิ๋ว และซ้องกั๋ง(108 วีรบุรุษเขาเหลียงซาน).

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและความฝันในหอแดง · ดูเพิ่มเติม »

งิ้ว

นักแสดงงิ้ว งิ้ว หรือ อุปรากรจีน (Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย เดิมประเทศจีนมีงิ้วราว 300 กว่าประเภท ส่วนใหญ่จะเป็นงิ้วท้องถิ่น ส่วนงิ้วระดับประเทศ เช่น งิ้วปักกิ่ง, งิ้วเส้าซิง, งิ้วเหอหนัน และงิ้วกวางตุ้ง โดยงิ้วปักกิ่งเป็นงิ้วที่มีชื่อเสียงมากที่สุด โดยปัจจุบันถือเป็นตัวแทนงิ้วประจำชาติจีน ในบรรดางิ้วจีนกว่า300ประเภท "งิ้วคุนฉวี่"昆曲 "งิ้วกวางตุ้ง"粤剧/粵劇 และ"งื้วปักกิ่ง"京剧/京劇 ได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโก และได้ขึ้นทะเบียนเป็น ‘มรดกโลก’ ในปี 2001,2009และ2010 ตามลำดั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและงิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

ตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีน

ตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีน เป็นเครื่องที่แสดงถึงความมีอำนาจสูงที่สุดของแผ่นดินแผ่นดินจีนในประวัติศาสตร์ ตราประทับพระราชลัญจกรในจักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและตราประทับพระราชลัญจกรของจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

ตุนเฟย์

ระอัครชายาตุน หรือ ตุนเฟย (Consort Dun,, 27 มีนาคม 1746 – 6 มีนาคม 1806) พระอัครชายาในพระจักรพรรดิเฉียนหลงประสูติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม..1746 เป็นธิดาของ หวังซื่อเก๋อ ผู้บัญชาการกองธงขาวหนึ่งในแปดกองธงของราชวงศ์ชิงเข้าวังถวายตัวเมื่อ..1764 และได้รับพระยศเป็นพระสนมหย่งขั้นฉางไจ้และได้รับเลื่อนพระยศอีกครั้งเป็นพระสนมหย่งขั้นกุ้ยเหรินและใน..1770 ก็ได้รับเลื่อนพระยศเป็นพระชายาตุน (ตุนผิน) และใน..1774 ก็ได้รับพระยศเป็นพระอัครชายาตุน (ตุนเฟย) และมีประสูติกาลองค์หญิงกู้หลุนหอเสี้ยวซึ่งเป็นพระธิดาองค์สุดท้ายในพระจักรพรรดิเฉียนหลงและพระจักรพรรดิก็โปรดปรานพระธิดาองค์นี้เป็นอย่างมาก ใน..1778 พระนางทำร้ายร่างกายนางกำนัลส่วนพระองค์ในตำหนักจนเสียชีวิตซึ่งการทำร้ายผู้อื่นจนตายถือเป็นความผิดร้ายแรงและโทษของพระนางก็ร้ายแรงมากแต่เพราะพระนางเป็นพระมารดาขององค์หญิงกู้หลุนเหอเสี้ยวพระจักรพรรดิจึงลดพระยศของพระนางจากตำแหน่งเฟยลงมาเป็นตำแหน่งผินและต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวของนางกำนัลที่เสียชีวิตสองปีถัดมาคือ..1780 พระนางก็ได้รับพระยศเป็นเฟยดังเดิมพระนางสิ้นพระชนม์วันที่ 6 มีนาคม..1806 รวมพระชนม์ได้ 59 ชันษา หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและตุนเฟย์ · ดูเพิ่มเติม »

ตี๋เหรินเจี๋ย ผจญกับดักเทพมังกร

ตี๋เหรินเจี๋ย ผจญกับดักเทพมังกร (อังกฤษ: Young Detective Dee: Rise of the Sea Dragon) เป็นภาพยนตร์แอคชั่นแฟนตาซี สัญชาติจีน สร้างขึ้นเมื่อปี ..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและตี๋เหรินเจี๋ย ผจญกับดักเทพมังกร · ดูเพิ่มเติม »

ซินกุ้ยเฟย์

ซินกุ้ยเฟย (ไม่ปรากฏ - ค.ศ. 1764) เป็นพระราชเทวีในสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและซินกุ้ยเฟย์ · ดูเพิ่มเติม »

โม่ลี่ฮัว

นื้อร้องและทำนองเพลง Gekkin Gakufu) ฉบับ พ.ศ. 2420 แต่เขียนชื่อเพลงผิดเป็น "抹梨花" (อ่าน 'โม่ลี่ฮัว' เหมือนกัน) โม่ลี่ฮัว ('เจ้าดอกมะลิ') เป็นเพลงลูกทุ่งจีนซึ่งได้รับความนิยม", Mar 3rd 2011 เพลงนี้มีอายุย้อนหลังไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 ภายหลังจึงได้รับการสร้างสรรค์ในหลาย ๆ รูปแบบ จนเป็นที่นิยมทั้งในและนอกประเทศจีน เพลงนี้ยังได้รับการใช้ในงานสำคัญหลายงาน เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน 2547 โอลิมปิกฤดูร้อน 2548 พิธีเปิดเซี่ยงไฮ้เอกซ์โป 2553 รวมถึงในการปฏิวัติดอกมะลิเมื่อปี 2554 ซึ่งเพลงนี้ถูกรัฐบาลจีนปิดกั้นมิให้เผยแพร่ด้ว.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและโม่ลี่ฮัว · ดูเพิ่มเติม »

ไท่ช่างหฺวัง

ท่ช่างหฺวัง (แปลตรงตัวว่า พระเจ้าหลวง) เป็นสมัญญาของจักรพรรดิจีนที่สละราชสมบัต.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและไท่ช่างหฺวัง · ดูเพิ่มเติม »

เหอซั่วรุ่ยชินอ๋อง

หอซั่วรุ่ยชินอ๋อง เป็นตำแหน่งอ๋องที่จักรพรรดิหวงไท่จี๋พระราชทานให้แก่องค์ชายตัวเอ่อร์กุ่น โดยได้รับพระราชทานในปี..1636 ถีงแม้จะโดนริบตำแหน่งภายหลังตัวเอ่อร์กุ่นสิ้นพระชนม์ แต่ก็ได้รับพระราชทานคืนในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ตำแหน่งเหอซั่วรุ่ยชินอ๋องยังได้บรรจุอยู่ในอ๋องพระมาลาเหล็ก ทำให้ตำแหน่งอ๋องได้รับการสืบทอดไปยังลูกหลานขององค์ชายตัวเอ่อร์กุ่น.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและเหอซั่วรุ่ยชินอ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

เหอเซิน

หอเซิน (Heshen,, 1 กรกฎาคม 1750 – 22 กุมภาพันธ์ 1799) ขุนนางคนสำคัญในรัชสมัย จักรพรรดิเฉียนหลง แห่ง ราชวงศ์ชิง เขาเป็นสมาชิกของ กองธงแดง ซึ่งเป็นหนึ่งใน แปดกองธง และเป็นที่รู้จักจากการเป็นขุนนางที่ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เมื่ออดีตจักรพรรดิเฉียนหลงซึ่งขณะนั้นเป็น ไท่ซ่างหวง หรือพระเจ้าหลวงสวรรคตในวันที่ 7 กุมภาพัน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและเหอเซิน · ดูเพิ่มเติม »

เอ๋าไป้

กูวาลเจีย โอโปย (แมนจู: Gūwalgiya Oboi; กวาเอ่อร์เจีย เอ๋าไป้) (ค.ศ. 1610–1669) เป็นขุนนางฝ่ายทหารชาวแมนจูผู้รับใช้ ราชวงศ์ชิง ตั้งแต่ต้นราชวงศ์ เป็นหนึ่งในสี่ผู้สำเร็จราชการของจักรพรรดิคังซี แต่ท้ายสุดกลับถูกจำคุกด้วยข้อหา 24 ข้อ.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและเอ๋าไป้ · ดูเพิ่มเติม »

เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน

นหวน จอมนางคู่แผ่นดิน (Empreses in the Palace, The Legend of Zhen Huan) ละครโทรทัศน์จีนแนวพีเรียดอิงประวัติศาสตร์ที่ออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและเจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน · ดูเพิ่มเติม »

เจิ้ง เส้าชิว

้ง เส้าชิว (Adam Cheng Siu-Chow, Adam Cheng) นักแสดงชายและนักร้องชื่อดังชาวฮ่องกง เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 ที่ฮ่องกง บิดามารดาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เจิ้ง เส้าชิว มีผลงานโดดเด่นมากทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่, ฮ่องกง และไต้หวันในยุคทศวรรษที่ 70 และ 80 สังกัด TVB โดยมีบทบาทการแสดงที่เป็นที่จำได้เป็นอย่างดี คือ ชอลิ้วเฮียง ในละครโทรทัศน์ชุด Chor Lau-heung ในปี ค.ศ. 1979 และ เตียบ่อกี้ ใน The Heaven Sword and Dragon Saber (ดาบมังกรหยก) ในปี ค.ศ. 1978 จากนั้นผลงานที่โดดเด่นในยุคทศวรรษที่ 90 ได้แก่ The Greed of Man (เจ้าพ่อตลาดหุ้น) ในปี ค.ศ. 1992 คู่กับ หลิว ชิงหวิน นักแสดงรุ่นน้อง ชีวิตส่วนตัว เจิ้ง เส้าชิวสมรสกับ เสิ่น เตี้ยนเสีย (เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี ค.ศ. 2008) นักแสดงหญิงร่างอ้วนอารมณ์ดีในปี ค.ศ. 1985 ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคน ที่ปัจจุบันเป็นนักแสดงอีกคน คือ เจิ้ง ซินอี้ แต่ต่อมาทั้งคู่ได้หย่าร้างกัน และต่อมา เจิ้ง เส้าชิวก็สมรสอีกครั้งกับ กุน ชิงวา ซึ่งเป็นภรรยาคนปัจจุบัน ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 3 คน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและเจิ้ง เส้าชิว · ดูเพิ่มเติม »

เจียงหนาน

Xishi bridge, Mudu, Suzhouเจียงหนาน (Jiangnan;; หรือบางครั้งสะกดว่า Kiang-nan) คือพื้นที่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนปัจจุบัน โดยรวมถึงพื้นที่ตอนใต้ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Yangtze River Delta) ด้วย บริเวณเจียงหนานมีพื้นที่ครอบคลุมนครเซี่ยงไฮ้ ทางตอนใต้ของมณฑลเจียงซู ทางตอนใต้ของมณฑลอานฮุย ทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซี และตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียง เมืองสำคัญในบริเวณนี้ ได้แก่ เมืองเซี่ยงไฮ้ หนานจิง หนิงป่อ หางโจว ซูโจว อู๋ซี ฉางโจว (อังกฤษ: Changzhou; จีน: 常州; พินอิน: Chángzhōu) และ เช่าซิง (Shaoxing; จีนตัวย่อ: 绍兴; จีนตัวเต็ม: 紹興; พินอิน: Shàoxīng) ประชาชนในบริเวณเจียงหนานส่วนมากมักใช้ภาษาจีนอู๋เป็นภาษาพูดประจำท้องถิ่น.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและเจียงหนาน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงกู้หลุนเหอเซี่ยว

องค์หญิงกู้หลุนเหอเซี่ยว (Gurun Princess Hexiao,, 2 กุมภาพันธ์ 1775 – 13 ตุลาคม 1823) พระนามเดิมไม่ปรากฎ องค์หญิงชาว แมนจู แห่ง ราชวงศ์ชิง เป็นพระราชธิดาองค์ที่ 10 และองค์สุดท้ายของ จักรพรรดิเฉียนหลง ส่วนพระมารดาคือ ตุนเฟย์ หรือ พระอัครชายาตุน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและเจ้าหญิงกู้หลุนเหอเซี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

เฉิงผิน

ระชายาเฉิง หรือ เฉิงผิน (Imperial Concubine Cheng, ? – 1784) พระชายาในพระจักรพรรดิเฉียนหลงประสูติปีใดไม่ปรากฏเป็นธิดาของ หนิ่วฮู่ลู่ มู่เค่อเติง เข้าวังถวายตัวใน..1757 เป็นพระสนมหลานตำแหน่งกุ้ยเหริน และใน..1776 จึงได้รับพระยศเป็นพระชายาเฉิง (เฉิงผิน) พระนางสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันใน..1784 จากการพลัดตกน้ำจึงจมน้ำสิ้นพระชนม์ในขณะที่เสด็จประพาสทางใต้กับพระจักรพรรดิเฉียนหลง หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและเฉิงผิน · ดูเพิ่มเติม »

เนเมียวสีหบดี

นเมียวสีหบดี (နေမျိုးသီဟပတေ့, Ne Myo Thihapate) เขาเป็นแม่ทัพของราชวงศ์คองบองที่โดดเด่นมีฝีมือการรบเป็นที่น่าเกรงขาม อีกทั้งเป็นทหารคู่บารมีของพระเจ้ามังระอีกคนหนึ่ง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและเนเมียวสีหบดี · ดูเพิ่มเติม »

13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง

13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง (The Rise and Fall oสf Qing Dynasty) ซีรีส์ชุดของสถานีโทรทัศน์ ATV ของฮ่องกง นับเป็นซีรีส์ชุดใหญ่ ด้วยการออกอากาศนานถึง 5 ปี โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นภาคใหญ่ ๆ ทั้งหมด 4 ภาค เป็นเรื่องราวของของประวัติศาสตร์จีนยุคราชวงศ์ชิง ตั้งแต่ยุคบุกเบิกและก่อตั้งราชวงศ์ไปจนกระทั่งมาถึงการล่มสลาย นำแสดงโดยนักแสดงมากมาย อาทิ หวังเหว่ย (รับบทเป็น นูรฮาชี), เหมียว เข่อซิ่ว (รับบทเป็น เสี้ยวจวงไทเฮา), หมีเซียะ (รับบทเป็น ซูสีไทเฮา), ทัง เจิ้นเย่ (รับบทเป็น จักรพรรดิกวางสู), ชี เหม่ยเจิน (รับบทเป็น สมเด็จ พระมเหสีเจิน) เป็นต้น.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและ13 ฮ่องเต้ตำนานจักรพรรดิราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

25 กันยายน

วันที่ 25 กันยายน เป็นวันที่ 268 ของปี (วันที่ 269 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 97 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและ25 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Qianlong Emperorสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงจักรพรรดิ์เฉียนหลงเฉียนหลง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »