โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส

ดัชนี จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส

ักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส (Marcus Aurelius หรือ Marcus Aurelius Antoninus Augustus) (ราว 26 เมษายน ค.ศ. 121Augustan History, "Marcus Aurelius" – 17 มีนาคม ค.ศ. 180) มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 161 ถึง ค.ศ. 169 โดยปกครองร่วมกับ ลูกิอุส เวรุส (Lucius Verus) พระอนุชาบุญธรรม จนเวรุสสิ้นพระชนม์ในปี 169; จากนั้นเอาเรลิอุสทรงปกครองต่อมาโดยลำพังพระองค์เองระหว่างปี ค.ศ. 169 ถึง ค.ศ. 177 และ ทรงปกครองร่วมกับ ก็อมมอดุส (Commodus) ผู้เป็นราชโอรสของพระองค์ ระหว่าง ค.ศ. 177 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 180 มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของ “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และถือกันว่าเป็นนักปรัชญาลัทธิสโตอิก (Stoicism) คนสำคัญคนหนึ่ง เหตุการณ์สำคัญในสมัยการปกครองของมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ได้แก่สงครามในเอเชียกับจักรวรรดิพาร์เธียน (Parthian Empire), และกับชนเผ่าเจอร์มานิคตามบริเวณพรมแดนโรมัน-เจอร์มานิคัส (LimesGermanicus) เข้าไปในกอลและข้ามแม่น้ำดานูบ และการปฏิวัติทางตะวันออกที่นำโดยอาวิเดียส คาสเซียส (Avidius Cassius) ที่ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากความสามารถในการสงครามแล้วมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ยังมีงานเขียน “Meditations” ที่เขียนเป็นภาษากรีกระหว่างที่ทำการรณรงค์ระหว่างปี..

22 ความสัมพันธ์: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียกลุ่มชนเจอร์แมนิกการสำรวจกำแพงฮาดริอานุสภาษาละตินราชวงศ์เนอร์วัน-อันโตเนียนรายพระนามจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันริชาร์ด แฮร์ริสศาสนาพุทธกับจิตวิทยาสันติภาพโรมันจักรพรรดิก็อมมอดุสจักรพรรดิลูกิอุส เวรุสจักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุสจักรพรรดิดิอาดูแมนิอานุสฆราวาสนิยมตอกานักบุญเซซีลีอานักรบผู้กล้าผ่าแผ่นดินทรราชเศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่นเสามาร์กุส เอาเรลิอุสเอคาร์ต ทอเลอเทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา

พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (เยอรมัน: Friedrich II.; อังกฤษ: Frederick II หรือ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช (24 มกราคม ค.ศ. 1712 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1786 เป็นพระมหากษัตริย์ปรัสเซียจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น โดยทรงครองราชย์ระหว่างปีค.ศ. 1740 จนถึงปีค.ศ. 1786 พระองค์ทรงเป็นลำดับที่สามและ ‘กษัตริย์ในปรัสเซีย(King in Prussia)’ องค์สุดท้าย ก่อนที่จะฉลองพระอิสรยยศขึ้นเป็น ‘กษัตริย์แห่งปรัสเซีย(King of Prussia)’ หลังจากที่ได้รับดินแดนทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของปรัสเซีย นอกจากนั้นก็ยังทรงดำรงตำแหน่งผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบวร์กในพระนามว่า “ฟรีดริชที่ 4” และทรงได้รับสมญานามว่า ‘พระเจ้าฟรีดริชมหาราช’ และมีพระนามเล่นว่า ‘เจ้าฟริทซ์แก่(der Alte Fritz)” พระเจ้าฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” เมื่อยังทรงพระเยาว์ฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีจักรวรรดิออสเตรียและยึดครองบริเวณไซลีเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบันซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ราชอาณาจักรปรัสเซีย ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมอาณาจักรต่าง ๆ ที่เคยเป็นราชรัฐเล็กของปรัสเซียเข้าด้วยกันรวมทั้งดินแดนที่ทรงได้มาจากการแบ่งแยกโปแลนด์ พระเจ้าฟรีดริชทรงเป็นผู้สนับสนุนการปกครองระบบที่มีพื้นฐานมาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ทรงติดต่อสื่อสารกับวอลแตร์ นักปรัชญาเป็นเวลาราวห้าสิบปี และมีความสนิทสนมกันมากแต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งโดยตลอด พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ คือการปรับปรุงระบบการบริหารราชการและข้าราชการ และยังทรงสนับสนุนเสรีภาพของการนับถือศาสนา ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินและนักปรัชญา เมื่อสิ้นพระชนม์ร่างของพระองค์ถูกฝังอยู่ที่พระราชวังที่โปรดปรานที่วังซองส์ซูซิที่เมืองพอทสดัม เมื่อสิ้นพระชนม์ บัลลังก์ตกไปเป็นของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 พระราชนัดดาเพราะพระองค์เองไม่มีพระราชโอรส ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระโอรสของเจ้าชายเอากุสท์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย พระอนุชาของพระเจ้าฟรีดริชเอง.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและกลุ่มชนเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

การสำรวจ

นักสำรวจ คาซิเมียร์ โนวัก การสำรวจ (Exploration) คือการค้นหาเพื่อบรรลุเป้าหมายของการค้นพบหรือทรัพยากร การสำรวจเกิดขึ้นในทุกสิ่งมีชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวรวมถึงมนุษย์ ในประวัติศาสตรของมนุษย์การสำรวจที่มีอิทธิพลมากที่สุดอยู่ในช่วงยุคแห่งการค้นพบเมื่อนักสำรวจชาวยุโรปแล่นเรือและเขียนแผนที่ในพื้นที่ส่วนที่เหลือของโลกด้วยเหตุผลหลายประการ ตั้งแต่นั้นมาการสำรวจครั้งใหญ่หลังยุคแห่งการสำรวจเกิดขึ้นจากการค้นพบข้อมูลสำคัญเป็นเหตุผลส่วนใหญ่ ในระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจเป็นหนึ่งในสามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงประจักษ์ (อีกสองอย่างคือการพรรณาและการอธิบาย).

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและการสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

กำแพงฮาดริอานุส

กำแพงฮาดริอานุส (Hadrian’s Wall; Vallum Aelium (the Aelian wall)) “กำแพงฮาดริอานุส” เป็นกำแพงหินบางส่วนและกำแพงหญ้าบางส่วนที่สร้างโดยจักรวรรดิโรมันขวางตลอดแนวตอนเหนือของเกาะอังกฤษใต้แนวพรมแดนอังกฤษและสกอตแลนด์ในปัจจุบัน การก่อสร้างกำแพงเริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิฮาดริอานุสในปี ค.ศ. 122 “กำแพงฮาดริอานุส” เป็นหนึ่งในสามแนวป้องกันการรุกรานอาณานิคมบริเตนของโรมัน แนวแรกเป็นแนวตั้งแต่แม่น้ำไคลด์ไปจนถึงแม่น้ำฟอร์ธที่สร้างในสมัยจักรพรรดิอากริโคลา และแนวสุดท้ายคือกำแพงอันโตนิน (Antonine Wall) แนวกำแพงทั้งสามสร้างขึ้นเพื่อ ในบรรดากำแพงสามกำแพงฮาดริอานุสเป็นกำแพงที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดเพราะยังคงทิ้งร่องรอยไว้ให้เห็นกันในปัจจุบัน กำแพงฮาดริอานุสเป็น “กำแพงโรมัน” (limes) ของเขตแดนทางเหนือของบริเตนและเป็นกำแพงที่สร้างเสริมอย่างแข็งแรงที่สุดในจักรวรรดิ นอกจากจะใช้ในการป้องกันศัตรูแล้วประตูกำแพงก็ยังใช้เป็นด่านศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีสินค้าด้วย กำแพงบางส่วนยังคงเหลือให้เห็นกันในปัจจุบันโดยเฉพาะส่วนกลาง และตัวกำแพงสามารถเดินตามได้ตลอดแนวซึ่งทำให้เป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่นิยมกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของทางตอนเหนือของอังกฤษ กำแพงนี้บางครั้งก็เรียกกันง่ายๆ ว่า “กำแพงโรมัน” กำแพงฮาดริอานุสได้รับฐานะเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี ค.ศ. 1987 องค์การอนุรักษ์มรดกอังกฤษ (English Heritage) ซึ่งเป็นองค์การราชการในการบริหารสิ่งแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของอังกฤษบรรยายกำแพงฮาดริอานุสว่าเป็น “อนุสาวรีย์ที่สำคัญที่สุดที่สร้างโดยโรมันในบริเตน”.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและกำแพงฮาดริอานุส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เนอร์วัน-อันโตเนียน

ราชวงศ์เนอร์วัน-อันโตเนียน เป็นราชวงค์ทีปกครองจักรวรรดิโรมัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 96 ถึงปี ค.ศ. 192 ประกอบไปด้วย ห้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม (Five Good Emporors) เป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิโรมัน อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิห้าพระองค์ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความยุติธรรม ได้แก่ จักรพรรดิแนร์วา จักรพรรดิทราจัน จักรพรรดิเฮเดรียน จักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส และจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส นอกจากนี้แล้วยังมีจักรพรรดิลูกิอุส เวรุสที่ปกครองร่วมกับจักริพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส และจักรพรรดิก็อมมอดุส ผู้ที่มีจิตใจเหี้ยมโหดต่างจากจักรพรรดิคนก่อน ๆ ของราชวงศ์ หมวดหมู่:จักรพรรดิโรมัน หมวดหมู่:ราชวงศ์จักรพรรดิโรมัน หมวดหมู่:ราชวงศ์แนร์วา-อันโตนีนุส.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและราชวงศ์เนอร์วัน-อันโตเนียน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและรายพระนามจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด แฮร์ริส

ริชาร์ด แฮร์ริส (Richard Harris) (1 ตุลาคม ค.ศ. 1930 - 25 ตุลาคม ค.ศ. 2002) เป็นนักแสดงชาวไอร์แลนด์ นักร้อง-นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ละครเวที ผู้กำกับภาพยนตร์และนักเขียน เขามีผลงานละครเวทีและภาพยนตร์หลายเรื่อง เป็นที่รู้จักในบทกษัตริย์อาเธอร์ใน Camelot (1967) บทโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ใน Cromwell (1970) และบทอัลบัส ดัมเบิลดอร์ ใน Harry Potter and the Philosopher's Stone (2001) และ Harry Potter and the Chamber of Secrets (2002) ซึ่งเป็นผลงานภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของเขา เขายังเคยรับบทผู้ดีอังกฤษและนักโทษในเรื่อง A Man Called Horse (1970) บทนักดวลปืนในภาพยนตร์การกำกับของคลินต์ อีสต์วูด เรื่อง Unforgiven (1992) บทจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัส ใน Gladiator (2000) และในฐานะนักร้อง เขามีเพลงที่เป็นที่รู้จักในเพลงเก่าของจิมมี เวบบ์ที่เขามาทำใหม่ที่ชื่อ "MacArthur Park" ติดท็อป 10 ทั้งสองฝากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและริชาร์ด แฮร์ริส · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

นาพุทธกับจิตวิทยา (Buddhism and psychology) เหลื่อมกันทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติในศตวรรษที่ผ่านมา โดยมีความเกี่ยวข้องกันหลัก ๆ 4 อย่าง คือ.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและศาสนาพุทธกับจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สันติภาพโรมัน

ักรวรรดิโรมันในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดในสมัยของการพิชิตโดยทราจัน สันติภาพโรมัน (Pax Romana, Roman peace) เป็นสมัยของความสันติสุขอันยืนยาวโดยแทบจะไม่มีการขยายตัวทางทหารเช่นในคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งและสองของจักรวรรดิโรมัน เนื่องจากเป็นสมัยที่ก่อตั้งโดยซีซาร์ออกัสตัสสมัยนี้บางครั้งจึงเรียกว่า “สันติภาพออกัสตัส” (Pax Augusta) ซึ่งเป็นสมัยที่ยืนยาวถึงราว 200 ปีที่เริ่มตั้งแต่ปี 27 ก่อนคริสต์ศักราชจนถึงปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและสันติภาพโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิก็อมมอดุส

ักรพรรดิก็อมมอดุส เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัส ประสูติเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 161 เมื่อพระชนมายุได้เพียง 15 ชันสา ก็ทรงครองจักรวรรดิโรมันร่วมกับพระราชบิดาในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและจักรพรรดิก็อมมอดุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิลูกิอุส เวรุส

ักรพรรดิลูกิอุส เวรุส หรือ ลูกิอุส เอาเรลิอุส เวรุส (Lucius Verus; ชื่อเต็ม: Lucius Aurelius Verus) (15 ธันวาคม ค.ศ. 130 – ค.ศ. 169) ลูกิอุส เวรุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์อันโตนิน ผู้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเลี้ยงจักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุสเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 161 ร่วมกับจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสจนเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 169 หลังจากนั้นจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัสก็ครองราชย์ต่อมาด้วยพระองค์เอง.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและจักรพรรดิลูกิอุส เวรุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส

ักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส หรือ ตีตุส เอาเรลิอุส ฟุลวุส โบอิโอนิอุส อาร์ริอุส อันโตนีนุส (Antoninus Pius; ชื่อเต็ม: Titus Aurelius Fulvus Boionius Arrius Antoninus) (19 กันยายน ค.ศ. 86 – 7 มีนาคม ค.ศ. 161) อันโตนีนุส ปิอุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์อันโตนิน ผู้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเลี้ยงจักรพรรดิฮาดริอานุสเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 138 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 161 โดยมีพระราชโอรสจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัสเป็นผู้ครองราชย์สืบต่อมา อันโตนีนุส ปิอุสทรงเป็นจักรพรรดิองค์ที่สี่ในบรรดา “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และไม่ได้รับการขนานนามว่า “ปิอุส” จนกระทั่งเมื่อขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิแล้ว การที่ทรงได้รับนามเช่นนั้นอาจจะมาจากการที่ทรงบังคับให้สภาเซเนทแต่งตั้งให้พระราชบิดาเลี้ยงเป็นเทพ แต่หนังสือ “ชีวประวัติของจักรพรรดิโรมัน” (Augustan History) เสนอว่าอาจจะเป็นเพราะทรงช่วยให้วุฒิสมาชิกให้รอดจากการถูกประหารชีวิตโดยพระราชบิดาในปลายรัชสมั.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและจักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิดิอาดูแมนิอานุส

ักรพรรดิดิอาดูแมนิอานุส หรือ มาร์คัส โอเพลลิอัส อันโทนินัส ไดอะดูเมนิอานัส (Diadumenian; ชื่อเต็ม: Marcus Opellius Antoninus Diadumenianus) (สวรรคต ค.ศ. 218) ดิอาดูแมนิอานุสเป็นซีซาร์ภายใต้พระราชบิดาจักรพรรดิมาครินัสระหว่างเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 217 จนถึงปี ค.ศ. 218 และทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันในปี ค.ศ. 218 พระองค์เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดินีโนเนีย เซลซาแต่โนเนียจะมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่เพราะพระนามปรากฏเฉพาะในบันทึก Historia Augusta พระนามเมื่อแรกเกิดคือ “มาร์คัส โอเพลลิอัส ไดอะดูเมนิอานัส” แต่ได้รับการเปลี่ยนโดยเพิ่ม “อันโทนินัส” เพื่อแสดงว่ามีความเกี่ยวข้องกับตระกูลของมาร์คัส ออเรลิอัสเช่นที่ทำกับคาราคัลลา ดิอาดูแมนิอานุสครองราชย์ได้เพียงไม่นานก็เกิดการปฏิวัติโดยกองทหารในสไตเรียที่ประกาศให้เอลากาบาลัสเป็นจักรพรรดิแทนที่ เมื่อมาครินัสทรงได้รับความพ่ายแพ้ในอันติโอค เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 218 ดิอาดูแมนิอานุสก็สิ้นพระชนม์ตามพระร.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและจักรพรรดิดิอาดูแมนิอานุส · ดูเพิ่มเติม »

ฆราวาสนิยม

ราวาสนิยม (secularism) คือ แนวปรัชญาที่ว่าสถาบันการปกครองหรือสถาบันการเมือง หรือ สถาบันในรูปอื่นควรจะดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากการอำนาจการควบคุมของสถาบันศาสนา และหรือความเชื่อทางศาสนา ในแง่หนึ่งสถาบันที่ดำเนินนโยบาย “ฆราวาสนิยม” จะเป็นสถาบันที่ยึดนโยบายดำรงความเป็นกลางในทางด้านความเชื่อทางศาสนาของประชาชนและ/หรือผู้อยู่ใต้การปกครอง, ดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากกฎและคำสอน หรือ ความเชื่อทางศาสนา, ไม่ใช้อำนาจตามหลักความเชื่อทางศาสนาในการบังคับประชาชน และ ไม่มีการมอบอภิสิทธิพิเศษหรือให้การช่วยเหลือแก่สถาบันศาสนา ส่วนในอีกแง่หนึ่ง “ฆราวาสนิยม” หมายถึงมุมมองที่เกี่ยวกับกิจกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมและการตัดสินใจทางการเมือง ว่าควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติอันเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา ฆราวาสนิยมในรูปแบบที่แท้จริงแล้วจะติเตียนความเป็นอนุรักษนิยมของศาสนา และมีความเห็นว่าศาสนาเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของมนุษย์เพราะเป็นสิ่งที่เน้นความเชื่องมงาย และ สิทธันต์ (dogma) เหนือเหตุผลและกระบวนการในสิ่งที่พิสูจน์ได้ (scientific method) พื้นฐานของปรัชญาฆราวาสนิยมมาจากหลักการคิดของนักปรัชญากรีกและโรมันเช่นมาร์คัส ออเรลิอัส และ เอพิคารัส, จากผู้รู้รอบด้านของปรัชญามุสลิมของยุคกลาง เช่น อิบุน รัชด์, จากนักคิดของยุคเรืองปัญญา เช่น เดอนีส์ ดิเดอโรต์, วอลแตร์, จอห์น ล็อก, เจมส์ แมดิสัน, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน และ ทอมัส เพน และ จากนักคิดเสรี (freethinkers), นักอไญยนิยม (Agnosticism) หรือ นักอเทวนิยม เช่น เบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์ และ โรเบิร์ต อิลเกอร์โซลล.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและฆราวาสนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ตอกา

ตอกา (toga) เป็นเครื่องแต่งกายที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของโรมันโบราณ ที่เป็นผืนผ้าที่มีความยาวราว 20 ฟุต หรือ 6 เมตรที่ใช้พันรอบตัวและมักจะพันทับทิวนิก ตอกาตามปกติแล้วจะทำด้วยขนแกะ และทิวนิกชั้นในจะเป็นลินิน หลังจากศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช ตอกาก็จะใช้เฉพาะบุรุษ และโดยผู้ที่เป็นพลเมืองโรมันเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้สวมได้ หลังจากนั้นแล้วสตรีก็จะแต่งตัวด้วยสตอล.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและตอกา · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญเซซีลีอา

นักบุญเซซีลีอา (Sancta Caecilia) เป็นนักบุญและเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี และเสียชีวิตราว..

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและนักบุญเซซีลีอา · ดูเพิ่มเติม »

นักรบผู้กล้าผ่าแผ่นดินทรราช

นักรบผู้กล้าผ่าแผ่นดินทรราช (Gladiator) เป็นภาพยนตร์แนวมหากาพย์ กำกับการแสดงโดยริดลีย์ สก็อตต์ และนำแสดงโดยรัสเซล โครว์ ออกฉายในสหรัฐอเมริกาในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เนื้อเรื่องของภาพยนตร์เกิดขึ้นที่กรุงโรมสมัยที่จักรพรรดิก็อมมอดุสปกครอง เล่าถึงมักซิมุส แม่ทัพโรมันที่สามารถนำทัพชนะศึกสงครามในการขยายอาณาเขตของโรมได้สำเร็จ ในขณะเดียวกันจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส หวังให้มักซิมุสมาสืบทอดตำแหน่งต่อจากตน ทำให้ก็อมมอดุสลูกชายไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง จึงลอบปลงพระชนม์พระบิดาและแกล้งทำเป็นว่าจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส สวรรคตด้วยโรคชรา และออกคำสั่งให้ตามจับมักซิมุสโดยกล่าวหาว่ามักซิมุสคิดจะชิงบัลลังก์ ทำให้มักซิมุสต้องหนีจากการจับกุม อีกทั้งลูกเมียเขายังถูกสังหาร เวลาต่อมามักซิมุสตกอยู่ในฐานะทาสและได้เข้าร่วมเป็นกลาดิอาตอร์นักรบเดนตายที่คอยแสดงฝีมือการต่อสู้ให้ผู้ชมได้ชม มักซิมุสต้องการแก้แค้นก็อมมอดุสที่พรากลูกเมียไปจากเขา ภาพยนตร์มีเนื้อหาที่อิงประวัติศาสตร์อยู่เล็กน้อย ซึ่งเนื้อเรื่องเกือบทั้งหมดเป็นเรื่องแต่งขึ้น เนื่องจากความจริงแล้วจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส ไม่ได้ถูกลูกชายลอบปลงพระชนม์แต่อย่างใด ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์โดยทำรายได้ไปถึง 457 ล้านเหรียญ และได้รับรางวัลต่าง ๆ มาอีกจำนวนมาก เช่น.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและนักรบผู้กล้าผ่าแผ่นดินทรราช · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

ตะขอเข็มขัด ตอกและสลักด้วยการออกแบบตามหลักของสัตว์และนกในตำนาน ราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 220) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในยุคโบราณ ปรากฏช่วงเวลาที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองและถดถอยที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ราชวงศ์ฮั่นเหนือ (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 9) ราชวงศ์ซิน (ปี ค.ศ. 9 – 23) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ปี ค.ศ. 25 – 220) ระบอบการปกครองของราชวงศ์ซินก่อตั้งโดยจักรพรรดิซินเกาจู่ (หวัง หมั่ง) เป็นระบอบการปกครองช่วงระหว่างภาวะสุญญากาศทางการเมืองคั่นกลางระหว่างการปกครองที่ยาวนานของราชวงศ์ฮั่น หลังจากที่การปกครองของจักรพรรดิซินเกาจู่ล่มสลายลง เมืองหลวงของราชวงศ์ฮั่นถูกย้ายไปทางทิศตะวันออกจากเมืองฉางอานไปยังเมืองลั่วหยาง ด้วยเหตุนี้นักประวัติศาสตร์จึงเรียกยุคก่อนและหลังว่าราชวงศ์ฮั่นตะวันตกและราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตามลำดับ เศรษฐกิจสมัยราชวงศ์ฮั่นถูกกำหนดโดยการเติบโตของประชากรอย่างแพร่หลาย การกลายเป็นเมืองเพิ่มขึ้น การเติบโตอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของอุตสาหกรรมและการค้า และการทดลองของรัฐบาลโดยแปลงสินทรัพย์ของเอกชนให้เป็นสินทรัพย์ของรัฐ ในยุคนี้ระดับของการทำเหรียญและการไหลเวียนของเหรียญเงินตราเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ รูปแบบของพื้นฐานทางระบบการเงินที่มั่นคง เส้นทางสายไหมช่วยอำนวยความสะดวกในการสถาปนาการค้าและแลกเปลี่ยนเครื่องบรรณาการกับต่างประเทศทั่วทวีปยูเรเชีย หลายสิ่งนี้ไม่เคยเป็นที่รับรู้ของชาวจีนยุคโบราณมาก่อน เมืองหลวงของราชวงศ์ทั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ฉางอาน) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ลั่วหยาง) ตั้งอยู่ท่ามกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้นทั้งด้านประชากรและด้านพื้นที่ โรงงานของรัฐบาลผลิตเครื่องตกแต่งสำหรับพระราชวังของจักรพรรดิและผลิตสินค้าสำหรับสามัญชน รัฐบาลควบคุมการก่อสร้างถนนและสะพานหลายแห่งซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจของรัฐบาลอย่างเป็นทางการและส่งเสริมการเจริญเติบโตทางการค้า ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮั่น นักอุตสาหกรรม ผู้ค้าส่งและพ่อค้า จากพ่อค้าปลีกรายย่อยไปจนถึงนักธุรกิจที่มั่งคั่งสามารถมีส่วนร่วมในความหลากหลายของอุตสาหกรรมและการค้าที่หลากหลายทั้งภายในประเทศ ในแวดวงสาธารณะ และแม้แต่ทหาร ในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่น ชาวนาที่อาศัยอยู่พื้นที่ชนบทพึ่งพาตัวเองเป็นส่วนใหญ่ แต่พวกเขาเริ่มพึ่งพาการแลกเปลี่ยนทางการค้าอย่างหนักกับเจ้าของที่ดินการเกษตรขนาดใหญ่ที่มั่งคั่ง ชาวนาชาวไร่จำนวนมากมีหนี้สินลดลงและถูกบังคับให้กลายเป็นแรงงานจ้างหรือไม่ก็เป็นผู้อยู่อาศัยที่ต้องจ่ายค่าเช่าให้กับชนชั้นเจ้าของที่ดิน รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นพยายามให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับชาวนาที่ยากจนอย่างต่อเนื่อง พวกชาวนาต้องแข่งขันกับขุนนาง เจ้าของที่ดินและผู้ประกอบการค้าที่ทรงอำนาจและอิทธิพล รัฐบาลพยายามจำกัดอำนาจของกลุ่มคนที่มั่งคั่งเหล่านี้โดยการเก็บภาษีและออกกฎระเบียบทางราชการอย่างหนัก ถึงแม้ว่ารัฐบาลของจักรพรรดิฮั่นอู่ (ปี 141 – 87 ก่อนคริสตกาล) ได้แปรรูปอุตสาหกรรมเหล็กและเกลือให้กลายเป็นกิจการของรัฐ อย่างไรก็ตาม การผูกขาดของรัฐบาลเหล่านี้ถูกยกเลิกในระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก การแทรกแซงของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นในด้านเศรษฐกิจภาคเอกชนระหว่างปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ส่งผลให้ชนชั้นพ่อค้าเชิงพาณิชย์อ่อนแอลงอย่างหนัก การแทรกแซงของรัฐบาลช่วยให้เจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งเพิ่มอำนาจพวกเขาและรับประกันความต่อเนื่องของเศรษฐกิจที่ครอบงำการเกษตร เจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งครอบงำกิจกรรมด้านการค้าได้เป็นอย่างดี ปรับปรุงอำนาจการปกครองให้อยู่เหนือชาวนาที่อยู่ในชนบททั้งหมด ผู้ซึ่งรัฐบาลไว้วางใจเพราะรายได้จากการจัดเก็บภาษี กำลังทางทหารและแรงงานสาธารณะ โดยในปีคริสต์ทศวรรษที่ 180 วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นเหตุให้รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นกระจายอำนาจมากขึ้น ขณะที่เจ้าของที่ดินรายใหญ่มีอิสระและมีอำนาจในชุมชนของพวกเขามากขึ้น.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและเศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

เสามาร์กุส เอาเรลิอุส

มาร์กุส เอาเรลิอุส (Columna Centenaria Divorum Marci et Faustinae, Colonna di Marco Aurelio, Column of Marcus Aurelius) เป็นคอลัมน์ดอริคที่ประกอบด้วยลายสลักภาพนูนเป็นเกลียวรอบลำเสาที่สร้างขึ้นเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสตามแบบเสาไตรยานุส เสามาร์กุส เอาเรลิอุสยังคงตั้งอยู่ที่ตั้งดั้งเดิมที่จัตุรัสโคลอนนาก่อนหน้าวังคีกีในกรุงโรมในประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและเสามาร์กุส เอาเรลิอุส · ดูเพิ่มเติม »

เอคาร์ต ทอเลอ

อคาร์ต ทอเลอ (ชื่อเกิด Ulrich Leonard Tölle เกิดวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948) เป็นชาวเยอรมัน อาศัยอยู่ในประเทศแคนาดา รู้จักกันในนามนักประพันธ์หนังสือ พลังแห่งจิตปัจจุบัน (The Power of Now) และโลกใหม่ ตื่นรู้สู่จุดหมายแห่งชีวิต (A New Earth: Awakening to your Life's Purpose) ใน..

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและเอคาร์ต ทอเลอ · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา

ทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา (Temple of Antoninus and Faustina) เป็นเทวสถาน (Roman temple) โรมันโบราณที่ตั้งอยู่ในกรุงโรมภายในบริเวณที่เรียกว่าฟอรุมโรมัน (Roman Forum) บนถนนซาครา (Via Sacra) ตรงกันข้ามกับเรเจีย (Regia) เทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินาสร้างในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสและเทวสถานแห่งอันโตนินัสและฟาอัสตินา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Marcus Aureliusมาร์คัส ออเรลิอัสมาร์คุส ออเรลิอุสจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »