โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี

ดัชนี จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี

ฟริดริชที่ 3 (Friedrich III) (18 ตุลาคม ค.ศ. 1831 – 15 มิถุนายน ค.ศ. 1888) จักรพรรดิแห่งเยอรมนี (ไกเซอร์) กษัตริย์แห่งปรัสเซีย ในปี..1888 พระองค์เป็นโอรสของ เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย และ ออกัสตาแห่งแซ็กซ์-ไวมาร.

29 ความสัมพันธ์: พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซราชกุมารีราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียรายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซียรายพระนามสมเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซียสมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนียสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรออทโท ฟอน บิสมาร์คจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนีจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีจักรพรรดิเยอรมันจักรวรรดิเยอรมันแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนีไกเซอร์เฟรเดอริกาแห่งฮาโนเวอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซเว็ดดิงมาร์ชเอากุสตาแห่งซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัคเฮลมุท คาร์ล แบร์นฮาร์ด ฟอน มอลท์เคอเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์กเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีเจ้าชายนิโกเลาส์แห่งกรีซและเดนมาร์กเจ้าชายเฟรเดอริก ชาร์ลแห่งเฮสส์เจ้าชายเปาโลส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซเจ้าหญิงมาร์กาเรเทแห่งปรัสเซียเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารีเจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย15 มิถุนายน18 ตุลาคม

พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ

ระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ (Κωνσταντῖνος Αʹ, Βασιλεὺς τῶν Ἑλλήνων, Konstantínos Αʹ, Vasiléfs ton Ellínon; 12 สิงหาคม พ.ศ. 2411 – 11 มกราคม พ.ศ. 2466) เป็นพระมหากษัตริย์กรีซตั้งแต..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ราชกุมารี

ราชกุมารี (The Princess Royal) เป็นพระอิสริยยศตามราชประเพณี (แต่ไม่เป็นแบบอัตโนมัติ) ซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ที่สุด พระอิสริยยศนี้ดำรงอยู่ตลอดพระชนม์ชีพของเจ้าหญิงพระองค์นั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะสถาปนาเจ้าหญิงพระองค์อื่นให้เป็นราชกุมารีอีกพระองค์ได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ไม่เคยทรงดำรงตำแหน่งราชกุมารีเลย) จวบจนถึงปัจจุบันนี้ได้มีราชกุมารีมาแล้วทั้งสิ้น 7 พระองค์ โดยพระองค์ล่าสุดคือ เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี พระอิสริยยศนี้เกิดขึ้นเมื่อสมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย (พ.ศ. 2252 - 2312) พระราชธิดาในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และพระมเหสีในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ มีพระประสงค์จะเลียนแบบการสถาปนาพระอิสริยยศ "Madame Royale" ให้กับพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของกษัตริย์ฝรั่งเศส พระอิสริยยศนี้จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาต (Royal Warrant) ไม่ใช่สถาปนาจากพระราชสัญญาบัตร (Letters Patent) และไม่ได้พระราชทานแก่พระราชธิดาพระองค์ใหญ่โดยอัติโนมัติ หากแต่จะเป็นการแต่งตั้งจากพระราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ เจ้าหญิงแมรี (หรือ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2) (พ.ศ. 2208 - 2237) พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าเจมส์ที่ 2 และสมเด็จพระราชินีมเหสีในพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2193 - 2245) และเจ้าหญิงโซฟี โดโรเทอา พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระเจ้าจอร์จที่ 1 และต่อมาเป็นพระราชินีมเหสีในพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทั้งสองทรงเหมาะสมกับพระอิสริยยศนี้ หากแต่ไม่ทรงได้รับพระราชทาน.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

มเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี พระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Descendants of Queen Victoria) เป็นเรื่องราวของการสืบสายพระโลหิตของพระราชโอรสและธิดาทั้งหมด 9 พระองค์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร (อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย; 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2362 - 22 มกราคม พ.ศ. 2444 เสวยราชสมบัติ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2380) โดยมีพระราชนัดดา 42 พระองค์ และพระราชปนัดดา (เหลน) 88 พระองค์ แต่ละพระองค์จึงเป็นทั้งพี่น้องกันหรือพระญาติชั้นที่หนึ่งซึ่งกันและกัน (first cousin) และด้วยการอภิเษกสมรสเข้าไปยังราชสำนักต่างๆ ในทวีปยุโรป พระองค์จึงทรงมีผลกระทบต่อโชคชะตาของราชวงศ์ยุโรปอย่างมาก ทรงมีความเกี่ยวข้องทางสายพระโลหิตและการอภิเษกสมรสกับราชวงศ์สเปน เยอรมนี กรีซ รัสเซีย โรมาเนีย ยูโกสลาเวีย นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก จึงทำให้ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า สมเด็จย่าแห่งยุโรป (Grandmother of Europe) สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ เป็นเวลา 63 ปีเศษ ระหว่างปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย

ตราอาร์มของราชอาณาจักรปรัสเซีย รายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย (List of monarchs of Prussia) เป็นรายนามและรายพระนามของประมุขของอดีตรัฐเยอรมันแห่งปรัสเซีย ที่เดิมเป็นรัฐอัศวินทิวทอนิก บนฝั่งทะเลบอลติกที่อัศวินทิวทอนิกพิชิตได้มาจากโปแลนด์และลิทัวเนีย ต่อมาเป็นดัชชีภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรโปแลนด์ ดัชชีปรัสเซีย ราชอาณาจักรปรัสเซียอิสระ ราชอาณาจักรภายในจักรวรรดิเยอรมัน และเสรีรัฐปรัสเซียของเยอรมนีในที่สุด ประวัติศาสตร์ของปรัสเซียตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและรายพระนามพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามสมเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซีย

มเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซีย(อังกฤษ: Queen of Prussia)เป็นพระอิสริยยศของพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรปรัสเซียตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี ค.ศ. 1701 จนถึงคราวล่มสลายในปีค.ศ. 1918 จนถึงเมื่อปีค.ศ. 1806 สมเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซียยังดำรงพระอิสริยยศเป็นพระชายาในเจ้าชายผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบวร์กอีกด้วย และภายหลังจากปีค.ศ. 1871 สมเด็จพระราชินีก็ยังดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดินีแห่งเยอรมนี อีกด้ว.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและรายพระนามสมเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย

มเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย หรือ สมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนีย (โรมาเนีย: Mihai I al României, Michael I al României) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโรมาเนียระหว่าง..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและสมเด็จพระราชาธิบดีมีไฮที่ 1 แห่งโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ

มเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ (Κωνσταντῖνος Βʹ, Konstantínos IIʹ; พระราชสมภพ 2 มิถุนายน 2483) เป็นพระมหากษัตริย์ของกรีซ ตั้งแต่ปี 1964 จนถึงการล้มล้างระบอบกษัตริย์ในปี 1973 พระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระเจ้าพอลที่ 1 แห่งกรีซพระราชบิดาของพระองค์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งกรีซ ในราชวงศ์กลึคสบวร์ก แม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นที่รักของประชาชน แต่ในไม่ช้าประเทศกรีซก็เกิดการขัดแย้งและนำไปสู่การรัฐประหาร เมื่อวันที่ 21 เมษายน 1967 หลังจากการรัฐประหาร พระองค์ทรงถูกเนรเทศโดยกองทัพพร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์ ให้ออกจากประเทศกรีซและมิให้กลับมาอีก.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและออทโท ฟอน บิสมาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี

วิลเฮล์ม ฟรีดริช ลุดวิจ ฟอน โฮเอินโซลเลิร์น (Wilhelm Friedrich Ludwig von Hohenzollern) เป็นกษัตริย์แห่งปรัสเซียและจักรพรรดิเยอรมันจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น ภายใต้การปกครองของพระองค์ร่วมกับนายกรัฐมนตรีออทโท ฟอน บิสมาร์ค สามารถนำพาราชอาณาจักรปรัสเซียมีชัยเหนือสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียและนำไปสู่การรวมชาติเยอรมันขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมันในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี

ักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II หรือ Friedrich Wilhelm Albert Viktor von Preußen 27 มกราคม พ.ศ. 2402 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2484) หรือ พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระราชโอรสใน พระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 กับพระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเยอรมัน และพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งปรัสเซีย ทรงดำรงวาระตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ทรงเป็นผู้ที่มีความชื่นชมในศักยภาพทางทหารของจักรวรรดิ ทรงเห็นว่ากองทัพเป็นผู้รวมชาติเยอรมันและสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับจักรวรรดิ หาใช่สมาชิกรัฐสภาไม่ พระองค์จึงทรงมุ่งมั่นที่จะใช้กำลังทหารเพื่อขยายอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันไปทั่วโลก ซึ่งมีผลต่อสถานการณีการเมืองในยุโรปอย่างมาก ก่อให้เกิดการช่วงชิงผลประโยชน์และอำนาจซึ่งกันและกัน ตลอดจนเกิดการแบ่งแยกมหาอำนาจยุโรปเป็น 2 ค่าย จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงใน..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเยอรมัน

ักรพรรดิเยอรมัน (Deutscher Kaiser) เป็นพระอิสริยยศของพระประมุขแห่งจักรวรรดิเยอรมัน เริ่มใช้ตั้งแต่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย เฉลิมพระปรมาภิไธยพระองค์เองเป็น "ดอยท์เชอร์ไกเซอร์" ในวันที่ 18 มกราคม..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและจักรพรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี

แอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี (German East Africa; Deutsch-Ostafrika) เป็นอาณานิคมของจักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2434 ถึง พ.ศ. 2461 ซึ่งปัจจุบันเป็น บุรุนดี รวันดา และ แทนซาเนีย อาณานิคมก่อตั้งขึ้นเมื่อกองทัพเยอรมันนั้นปฏิวัติต่อต้านอาณานิคมในยุคทศวรรษ 1880 ต่อมาได้สิ้นสุดลงด้วยการถูกพิชิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 และถูกแบ่งให้กับอังกฤษ กับเบลเยี่ยม และมีสถานะเป็นรัฐอารักขาของสันนิบาตชาต.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ไกเซอร์

วิลเฮล์มที่ 2 แห่งจักรวรรดิเยอรมัน ไกเซอร์ (Kaiser) คือพระอิสริยยศเยอรมันซึ่งเทียบได้กับจักรพรรดิ มีรากศัพท์มาจากคำว่าซีซาร์ของอาณาจักรโรมัน เช่นเดียวกับคำว่าซาร์ในภาษารัสเซีย ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่สูงที่สุด คำว่าไกเซอร์เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกจักรพรรดิในภาษาฮอลแลนด์ จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เรียกตนเองว่า ไกเซอร์ เนื่องจากมองว่าอาณาจักรของตนนั้นสืบทอดมาจากจักรวรรดิโรมัน จึงได้ใช้ชื่อนี้เพื่อแสดงถึงต้นกำเนิดเก่าก่อน นอกจากนี้ พระเจ้าแผ่นดินแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีที่มาจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ก็ใช้พระอิสริยยศว่า "ไกเซอร์" เช่นกัน ไกเซอร์แห่งจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804–1918) ได้แก่.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและไกเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟรเดอริกาแห่งฮาโนเวอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ

้าหญิงเฟรเดอริกาแห่งฮาโนเวอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ (พระนามเต็ม: เฟรเดอริกา หลุยส์ ไธรา วิกตอเรีย โอลกา ซิซิลี อิสซาเบล คริสตินา; กรีก: Φρειδερίκη,18 เมษายน พ.ศ. 2460 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524) เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีพอลที่ 1 แห่งกรีซ พระนางจึงมีพระยศเป็นสมเด็จพระราชินีเฟรเดอริกาแห่งกรีซ (กรีก: Βασίλισσα Φρειδερίκη των Ελλήνων).

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเฟรเดอริกาแห่งฮาโนเวอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

เว็ดดิงมาร์ช

thumb เว็ดดิงมาร์ช (Wedding march) ของเฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น ในบันไดเสียงซี เมเจอร์ แต่งขึ้นในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเว็ดดิงมาร์ช · ดูเพิ่มเติม »

เอากุสตาแห่งซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัค

อากุสตาแห่งซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัค (Augusta von Saxe-Weimar-Eisenach) เป็นเจ้าหญิงเยอรมันจากดัชชีซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัค ซึ่งอภิเษกเข้าสู่ราชวงศ์ปรัสเซีย เมื่อพระราชสวามีได้ขึ้นเป็นพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทำให้พระนางมียศเป็นพระราชินีแห่งปรัสเซีย ต่อมาเมื่อพระราชสวามีได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมัน ทำให้พระนางมียศตามขึ้นเป็นจักรพรรดินีเยอรมัน ในปี 1826 ขณะที่ทรงมีพระชนม์เพียง 14 ชันษา พระนางได้พบกับเจ้าชายวิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย ว่าที่พระสวามีซึ่งแก่กว่าถึง 14 ปี เมื่อพบกันครั้งนั้น เจ้าชายวิลเฮล์มทรงดำริว่าเจ้าหญิงเอากุสตาเป็นสตรีที่ยอดเยี่ยม แต่ไม่น่าดึงดูดใจเท่าเจ้าหญิงมารีผู้เป็นพี่สาวของพระนาง ทั้งสองจำยอมต้องหมั้นกันทั้งที่เจ้าชายวิลเฮล์มทรงมีคนรักอยู่ก่อน (เจ้าหญิงเอลิซา รัดซีวีล แห่งโปแลนด์) ทั้งสองอภิเษกสมรสกันในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเอากุสตาแห่งซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัค · ดูเพิ่มเติม »

เฮลมุท คาร์ล แบร์นฮาร์ด ฟอน มอลท์เคอ

ลมุท คาร์ล แบร์นฮาร์ด ฟอน มอลท์เคอ (Helmuth Karl Bernhard von Moltke) เป็นจอมพลเยอรมันและเป็นเสนาธิการกองทัพปรัสเซียเป็นเวลากว่า 30 ปีในสามรัชกาลของกษัตริย์ปรัสเซีย เขาเป็นผู้ริเริ่มใช้การบังคับบัญชาสมัยใหม่ในการทัพ เขาได้รับการยกย่องเป็น "ผู้วางระเบียบกองทัพและนักกลยุทธ์อันเยี่ยมยอด" รวมอยู่ในตัวคนเดียว เขามักถูกเรียกว่า "มอลเคอคนโต" (Moltke der Ältere) เพื่อไม่ให้สับสนกับ เฮลมุท โยฮันน์ ลุดวิจ ฟอน มอลท์เคอ จอมพลเยอรมันอีกคนในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่มีศักดิ์เป็นหลานลุงซึ่งถูกเรียกว่า "มอลเคอคนเล็ก" (Moltke der Jüngere) เขาได้รับแต่งตั้งเป็น กราฟ ฟอน มอลท์เคอ (Graf von Moltke) อันเป็นตำแหน่งเทียบเท่าเคานต์ มอลท์เคอเริ่มดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองทัพปรัสเซียเมื่อปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเฮลมุท คาร์ล แบร์นฮาร์ด ฟอน มอลท์เคอ · ดูเพิ่มเติม »

เฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก

้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525) เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 2 แห่งโรมาเนียและเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระราชาธิบดีไมเคิลที่ 1 แห่งโรมาเนี.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี

้าชาย ฟรันซ์ อัลแบร์ท เอากุสตุส คาร์ล เอ็มมานูเอล แห่งซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ (Franz Albert August Karl Emanuel von Sachsen-Coburg-Saalfeld) หรือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี (Albert, Prince Consort) เป็นเจ้าชายเยอรมันซึ่งสมรสเข้าสู่พระราชวงศ์อังกฤษ ทรงเป็นพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร จึงทำให้พระองค์ดำรงพระยศเป็น "เจ้าชายพระราชสวามี" อย่างเป็นทางการเพียงพระองค์เดียว ภายหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียใน..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายนิโกเลาส์แห่งกรีซและเดนมาร์ก

้าชายนิโกเลาส์แห่งกรีซและเดนมาร์ก (Νικόλαος της Ελλάδος, ประสูติ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1969) เป็นพระโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซและสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ เจ้าชายนิโกเลาส์ เสกสมรสกับเจ้าหญิงตาเตียนาแห่งกรีซและเดนมาร์ก (ประสูติ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1980) เจ้าหญิงตาเตียนาทรงสืบเชื้อสายมาจาก เจ้าชายวิลเลียมที่ 2 อเลกเตอร์แห่ง.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเจ้าชายนิโกเลาส์แห่งกรีซและเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายเฟรเดอริก ชาร์ลแห่งเฮสส์

้าชายเฟรเดอริก ชาร์ล หลุยส์ คอนสแตนตินแห่งเฮสส์ (Frederick Charles Louis Constantine, Prince of Hesse) (1 พฤษภาคม 1868 - 28 พฤษภาคม 1940) เป็นประมุขแห่งราชวงศ์เฮสส์ ตั้งแต่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1925 จนถึง 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 พระองค์ทรงเป็นพระเทวัน (พี่เขย) ของสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี พระองค์เคยได้รับเลือกให้ครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1918 แต่พระองค์ก็ทรงสละสิทธิ์นั้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1918.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเจ้าชายเฟรเดอริก ชาร์ลแห่งเฮสส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายเปาโลส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ

้าชายเปาโลส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ (Παύλος ντε Γκρέτσια; ประสูติ 20 พฤษภาคม 1967) เป็นมกุฎราชกุมารแห่งกรีซ ตั้งแต่ปี 1964 จนถึงการล้มล้างระบอบกษัตริย์ในปี 1973 พระองค์เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซและสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ พระองค์เสกสมรสกับเจ้าหญิงมารี แชนทัล มีพระโอรสธิดาด้วยกัน 5 พระองค์ได้แก.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเจ้าชายเปาโลส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมาร์กาเรเทแห่งปรัสเซีย

้าหญิงมาร์กาเรเทแห่งปรัสเซีย หรือ มาร์กาเรเท เบียทริซ ฟีโอดอรา (Princess Margarete of Prussia; 22 เมษายน พ.ศ. 2415 - 22 มกราคม พ.ศ. 2497) เป็นพระธิดาองค์เล็กในจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2431) และ เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี (พ.ศ. 2380 - พ.ศ. 2444) พระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี เจ้าหญิงมาร์กาเรเท หรือที่รู้จักในหมู่พระประยูรญาติว่า "มอสซี่" ประสูติในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2415 ณ เมืองพอตสดัม ประเทศเยอรมนี โดยเป็นพระธิดาพระองค์เล็กที่สุดในบรรดาพระโอรสและธิดาทั้งแปดองค์ พระองค์ทรงใกล้ชิดกับพระชนนีและชื่นชอบความเป็นอังกฤษเช่นเดียวกับพระภคินีทั้งสองคือ เจ้าหญิงวิกตอเรีย และ เจ้าหญิงโซฟี.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเจ้าหญิงมาร์กาเรเทแห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี

้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี หรือพระนามเต็ม วิกตอเรีย อเดเลด แมรี หลุยซา (ประสูติ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2383 สวรรคต 5 สิงหาคม พ.ศ. 2444) พระราชธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา เป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย

้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย (Princess Sophia of Prussia) (โซเฟีย โดโรเธีย อุลริเคอ อลิซ; 14 มิถุนายน พ.ศ. 2413 - 13 มกราคม พ.ศ. 2475) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและเจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

15 มิถุนายน

วันที่ 15 มิถุนายน เป็นวันที่ 166 ของปี (วันที่ 167 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 199 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและ15 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

18 ตุลาคม

วันที่ 18 ตุลาคม เป็นวันที่ 291 ของปี (วันที่ 292 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 74 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนีและ18 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฟริดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี (โฮเฮนซอลเลิร์น)พระเจ้าฟริดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี (โฮเฮนซอลเลิร์น)จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »