โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ดัชนี จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Federico II del Sacro Romano Impero; Friedrich II 26 ธันวาคม พ.ศ. 1737–13 ธันวาคม พ.ศ. 1793) เสด็จพระราชสมภพที่นครเจซี ประเทศอิตาลี เป็นพระราชนัดดาของจักรพรรดิฟรีดิชที่ 1 ขึ้นครองราชย์แทนจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 1763 และทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์โฮเฮนสเตาเฟ็น ทรงเป็นกษัตริย์แห่งซิชิลีเมื่อ พ.ศ. 1741 และกษัตริย์แห่งเยอรมนีเมื่อ พ.ศ. 1755 จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 ได้รับราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์โดยพระสันตะปาปา เมื่อ พ.ศ. 1743 พระองค์มีความปรารถนาสูงยิ่งใคร่ที่จะผนึกอำนาจจักรวรรดิในอิตาลีให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยอาศัยอิทธิพลของพระสันตะปาปา พระองค์ได้อุทิศพระวรกายเป็นอย่างมากในความพยายามขยายอาณาเขตอิตาลี แต่แผนของพระองค์ทำให้เมืองต่างๆ ที่ขึ้นอยู่กับแคว้นลอมบาร์ดต่อต้านไม่พอใจ รวมทั้งองค์พระสันตปาปาด้วย เมื่อทรงเป็นผู้นำทัพในสงครามครูเสดครั้งที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 1771 (ค.ศ. 1228) พระองค์ทรงยึดเมืองเยรูซาเลมและตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเลมเมื่อ พ.ศ. 1772 เมื่อเสด็จกลับถึงอิตาลีจากการสงคราม พระองค์กลับต้องมาต่อสู้ขัดแย้งกับองค์พระสันตะปาปาจนสิ้นพระชนม์ จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 เสด็จสวรรคตลงเมื่อปี..

26 ความสัมพันธ์: บารีพระเจ้ารูดอล์ฟที่ 1 แห่งเยอรมนีกัสเตลเดลมอนเตการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ราชอาณาจักรโบฮีเมียรายชื่อสนธิสัญญารายพระนามพระมหากษัตริย์เยอรมนีสารตราทองสารตราทองแห่งรีมีนีสงครามครูเสดครั้งที่ 6สงครามครูเสดครั้งที่ 8อาสนวิหารอาเคินจักรพรรดิออทโทที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 7 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมประวัติศาสตร์เยอรมนีปราสาทไฮเดิลแบร์คแม็ทธิว แพริสโรโกโกเกลฟ์และกิเบลลิเนเภสัชกรรมเภสัชกรรมสมัยกลางเภสัชศาสตร์เสรีนครลือเบ็ค18 มีนาคม26 ธันวาคม

บารี

รี (Bari) เป็นเมืองหลักของแคว้นปุลยา บนชายฝั่งทะเลเอเดรียติก ประเทศอิตาลี เป็นเมืองสำคัญอันดับ 2 ในด้านเมืองเศรษฐกิจบนแผ่นดินใหญ่ทางใต้ของอิตาลี รองจากเมืองเนเปิลส์ เมืองมีประชากรราว 326,799 คน (ค.ศ. 2015) บนพื้นที่ ขณะที่เขตเมืองมีประชากร 700,000 คน เขตมหานครมีประชากร 1.3 ล้านคน บารีแบ่งพื้นที่เมืองเป็น 4 ส่วน ทางเหนือมีเมืองเก่าบนคาบสมุทร ตั้งอยู่ระหว่างท่าเรือทันสมัย 2 แห่ง มีมหาวิหารนักบุตรนิโคลัส, มหาวิหารซานซาบีโน (1035–1171) และปราสาทโฮเอินชเตาเฟิน ที่สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ในปัจจุบันเป็นย่านกลางคืนที่สำคัญ ทางทิศใต้มีค่ายทหารมูรัต (สร้างโดยฌออากีม มูว์รา) ตรงกลางของเมืองบารีเป็นที่พักอาศัยสมัยใหม่ สร้างขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 ตรงเขตชานเมืองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในคริสต์ทศวรรษ 1990 เมืองยังได้พัฒนาสนามบินที่ตั้งชื่อตามสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 โดยสนามบินชื่อ สนามบินการอล วอยตือวา ที่เชื่อมต่อกับหลายเมืองในยุโรป.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และบารี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้ารูดอล์ฟที่ 1 แห่งเยอรมนี

ระเจ้ารูดอล์ฟที่ 1 แห่งเยอรมนี (Rudolph I of Germany) (1 พฤษภาคม ค.ศ. 1218 – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1291) (Rudolph of Habsburg) รูดอล์ฟทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมันระหว่างปี ค.ศ. 1273 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1291 พระองค์ทรงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความมีอิทธิพลให้ราชวงศ์ฮับส์บูร์กเป็นราชวงศ์ชั้นนำในบรรดาราชวงศ์เยอรมันต่าง ๆ ในยุคกลาง และทรงเป็นสมาชิกของราชวงศ์ฮับส์บูร์กองค์แรกที่ได้รับดัชชีออสเตรียและดัชชีสติเรีย ซึ่งเป็นดินแดนที่จะกลายมาอยู่ภายใต้การปกครองของฮับส์บูร์กต่อมาอีกกว่า 600 ปี และเป็นสองรัฐที่เป็นหลักของประเทศออสเตรียปัจจุบัน.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และพระเจ้ารูดอล์ฟที่ 1 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

กัสเตลเดลมอนเต

กัสเตลเดลมอนเต (Castel del Monte, "ปราสาทบนภูเขา") เป็นปราสาทที่ตั้งอยู่ในแคว้นปูลยาทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอิตาลี ที่สร้างโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ราวระหว่างปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และกัสเตลเดลมอนเต · ดูเพิ่มเติม »

การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์

250px 250px การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ (royal intermarriage) คือการแต่งงานระหว่างสมาชิกของราชวงศ์ผู้ปกครองสองราชวงศ์ ซึ่งในอดีตถือเป็นยุทโธบายทางการทูตที่ใช้กันโดยทั่วไปเพื่อผลประโยชน์ของชาติ ในบางครั้งการเสกสมรสนี้เกิดขึ้นด้วยการบังคับใช้กระบวนการทางกฎหมายต่อบุคคลผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์ และในหลาย ๆ ครั้งเกี่ยวข้องกับนโยบายทางการเมืองและ/หรือขนบธรรมเนียมของระบอบราชาธิปไตยเสียเป็นส่วนใหญ่ ในทวีปยุโรป การเสกสมรสในลักษณะนี้เป็นที่แพร่หลายอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่สมัยกลางจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในขณะที่หลักฐานของการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ในส่วนอื่น ๆ ของโลก สามารถสืบค้นย้อนไปได้ไกลที่สุดถึงยุคสัมฤทธิ์ ซึ่งบ่อยครั้งที่พระมหากษัตริย์ในอดีตมักจะพยายามแผ่ขยายราชวงศ์ของพระองค์ออกไปทั้งในและนอกประเทศ ดังนั้นสายสัมพันธ์ทางเครือญาติซึ่งเกิดจากการเสกสมรสนี้ จึงเป็นปัจจัยที่ช่วยทั้งกระตุ้นและยับยั้งความขัดแย้งและการรุกรานระหว่างรัฐBucholz, p.228 ทั้งยังช่วยริเริ่ม ส่งเสริม และรับประกันสันติภาพระหว่างรัฐได้อีกด้วย นอกจากนี้สายสัมพันธ์ทางเครือญาติจากการเสกสมรสยังสามารถรักษามิตรไมตรีของสองราชวงศ์ ที่ต่างพยายามหลีกเลี่ยงภัยคุกคามจากการรุกรานและความขัดแย้งอันมีชนวนเหตุมาจากการยุยงของราชวงศ์ที่สาม พร้อมเสริมสร้างโอกาสที่จะผนวกรวมดินแดนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนจากการอ้างสิทธิ์ทางกฎหมายเหนือราชบัลลังก์ หรือแม้กระทั่งการอ้างสิทธิ์เหนือส่วนหนึ่งของรัฐ เช่น อาณานิคม ผ่านการรับช่วงสืบทอดอำนาจการปกครองในกรณีที่รัฐนั้นเกิดปัญหาไร้รัชทายาทสืบทอดราชบัลลังก์ หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์องค์ก่อนหน้าไม่มีรัชทายาทเพศชายไว้สืบทอดราชสมบัติโดยปราศจากข้อกังขาได้ ในบางส่วนของทวีปยุโรป ราชวงศ์ต่าง ๆ ยังคงนิยมเสกสมรสระหว่างกันเป็นปกติ (สมาชิกราชวงศ์เสกสมรสกับตระกูลขุนนางต่าง ๆ ภายในรัฐ) ไปจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 16 และนับแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเริ่มหันมานิยมการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ของรัฐอธิปไตยต่าง ๆ มากขึ้น แต่ในส่วนอื่น ๆ ของโลก การเสกสมรสเช่นนี้กลับได้รับความนิยมน้อยกว่ามากและเริ่มลดจำนวนลงตามกาลเวลาที่ผ่านไป หรือแปรเปลี่ยนไปตามขนบธรรมเนียมและนโยบายการต่างประเทศในขณะนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรโบฮีเมีย

ราชอาณาจักรโบฮีเมีย (Kingdom of Bohemia; České království; Königreich Böhmen; Regnum Bohemiae) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในตอนกลางของทวีปยุโรปที่ได้รับการก่อตั้งโดยสารตราทองแห่งซิซิลีที่ออกโดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1212 ที่เป็นพระราชโองการที่ยกฐานะดัชชีโบฮีเมียขึ้นเป็นราชอาณาจักร ราชอาณาจักรโบฮีเมียจึงเป็นสมาชิกอิสระของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรียและมาถูกยุบในปี ค.ศ. 1918 เมื่อจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลายลง เมื่อพระเจ้าคาร์ลที่ 3 แห่งโบฮีเมียทรงสละราชสมบัติ การประชุมสภาแห่งชาติปลดราชวงศ์ฮับส์บูร์ก-โลทริงเงินและประกาศให้เป็นสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1 ราชอาณาจักรโบฮีเมียเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของพระมหากษัตริย์โบฮีเมีย (Lands of the Bohemian Crown) ที่รวมทั้ง.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และราชอาณาจักรโบฮีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์เยอรมนี

รายพระนามกษัตริย์และจักรพรรดิเยอรมนี (List of German monarchs) รายพระนามข้างล่างเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิที่ปกครองเยอรมนีตั้งแต่การแยกตัวมาเป็นราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออก ในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และรายพระนามพระมหากษัตริย์เยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

สารตราทอง

รตราทองของอเล็กซิออสที่ 3 แห่งเทรบิซอนด์ (Alexios III of Trebizond) ค.ศ. 1374 ตราทองของสารตราทอง ค.ศ. 1356''' ออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สารตราทอง (Golden Bull หรือ Golden Baal) หมายถึงสารตราสีทองที่ประทับในพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ และต่อมาโดยพระมหากษัตริย์ในยุโรปในระหว่างยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (หรือ “bulla aurea” หรือ “ตราทอง” ในภาษาละติน) “สารตราทอง” เป็นวลีที่ใช้ในยุโรปตะวันตก ส่วนในจักรวรรดิไบแซนไทน์ก็เรียกว่า “chrysobullos logos” หรือ “chrysobulls” (χρυσός, หรือ “chrysos” ในภาษากรีกแปลว่า “ทอง”). “สารตราทอง” เป็นพระราชบัญญัติที่ประกาศใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกือบแปดร้อยปี และเป็นการออกโดยฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงหน้าที่การรับผิดของฝ่ายที่มีผลต่อ ซึ่งเป็นการทำให้ความมีประสิทธิภาพของอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์อ่อนลงไปในสายตาของประเทศอื่น ฉะนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 จักรวรรดิไบแซนไทน์จึงพยายามแสวงหาความตกลงจากฝ่ายตรงข้ามก่อนที่จะออกมาเป็นพระราชบัญญัติ พระมหากษัตริย์อื่นๆ ในยุโรปก็นำความคิดนี้ไปใช้แต่ในบางโอกาสเท่านั้น สารตราทองที่ไม่ได้ออกโดยจักรวรรดิไบแซนไทน์ทำให้พระราชบัญญัติมีน้ำหนักมากกว่าพระราชบัญญัติอื่นๆ ที่ออกตามปกติ สารตราทองที่สำคัญๆ ก็ได้แก่.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสารตราทอง · ดูเพิ่มเติม »

สารตราทองแห่งรีมีนี

รตราทองแห่งรีมีนี (Golden Bull of Rimini) เป็นสารตราทองที่ออกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่รีมีนีในอิตาลีในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1226 เพื่อเป็นการรับรองสิทธิของอัศวินทิวทันในการเป็นเจ้าของแคว้นปรัสเซียที่ยึดมาได้ สารตรานี้เป็นฉบับแรกของเอกสารที่คล้ายคลึงกันสามฉบับ ที่ตามมาด้วย "สนธิสัญญาครูสซวิคา" (Treaty of Kruszwica) ของปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสารตราทองแห่งรีมีนี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 6

ระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2ทรงพบกับอัล-คามิล สงครามครูเสดครั้งที่ 6 (Sixth Crusade) (ค.ศ. 1228-ค.ศ. 1229) สงครามครูเสด ครั้งนี้เริ่มขึ้นเพียงเจ็ดปีหลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 5.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสงครามครูเสดครั้งที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 8

งครามครูเสดครั้งที่ 8 (Eighth Crusade) (ค.ศ. 1270) สงครามครูเสดครั้งนี้เริ่มขึ้นโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1270 บางครั้ง “สงครามครูเสดครั้งที่ 8” ก็นับเป็นครั้งที่เจ็ด ถ้ารวมสงครามครูเสดครั้งที่ 5 และ ครั้งที่ 6 ของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เข้าเป็นครั้งเดียวกัน และสงครามครูเสดครั้งที่ 9 ก็นับเป็นครั้งเดียวกับครั้งที่ 8 พระเจ้าหลุยส์ทรงพระราชวิตกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรียเมื่อสุลต่านมามลุคไบบาร์เข้าโจมตีอาณาจักรครูเสดที่ยังเหลืออยู่ ไบบาร์ฉวยโอกาสหลังจากที่สาธารณรัฐเวนิส และ สาธารณรัฐเจนัวต่อสู้กันในสงครามระหว่างปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอาเคิน

อาสนวิหารอาเคิน (Aachener Dom) เรียกกันว่าอาสนวิหารหลวง (Imperial Cathedral; Kaiserdom) ในนิกายโรมันคาทอลิกอยู่ที่เมืองอาเคิน ประเทศเยอรมนี วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดทางภาคเหนือของทวีปยุโรป ระหว่างยุคกลางวัดนี้ชื่อ Royal Church of St.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และอาสนวิหารอาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิออทโทที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

มเด็จพระจักรพรรดิออตโตที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Otto IV, Holy Roman Emperor) (ค.ศ. 1175 หรือ ค.ศ. 1176 - 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1218) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์เวลฟ ระหว่างปี ค.ศ. 1198 แต่ถูกปลดจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 1215 ออตโตเป็นพระราชโอรสในไฮน์ริคที่ 12 ดยุคแห่งบาวาเรีย และ มาทิลดา แพลนทาเจเน็ท เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1218.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรพรรดิออทโทที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 7 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิไฮน์ริชที่ 7 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Henry VII, Holy Roman EmperorBritannica online encyclopedia article on Henry VII (Holy Roman emperor)) (ราว ค.ศ. 1275 หรือ ค.ศ. 1279 - 24 สิงหาคม ค.ศ. 1313) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์ลักเซมเบิร์กผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างปี ค.ศ. 1312 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1313.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 7 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม

ลังยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม มีวิวัฒนาการไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เนื่องจากยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และเภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการทางการแพทย์ ทั้งแผนตะวันตกและตะวันออกมาช้านาน โดย "การแพทย์" สามารถแบ่งออกเป็นหลายสาขา ได้แก่ เวชกรรม เภสัชกรรม พยาบาล ทันตกรรม เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรก การแพทย์ของทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกจะอยู่ในรูปองค์รวม โดยมี "แพทย์" เป็นผู้รับผิดชอบทั้งการรักษา การปรุงยา การดูแล จนกระทั่งเมื่อวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้า ได้มีการจำแนกวิชาชีพออกตามความชำนาญมากขึ้น เพื่อฝึกหัดให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านแต่ละสาขา ระบบการแพทย์ในสมัยโบราณมักผูกพันกับอำนาจลี้ลับ เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกับการสังเกต ทดลอง วิเคราะห์ และหาความเชื่อมโยง รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมสัตว์ในการบริบาลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และได้นำมาดัดแปลงตามความเหมาะสม เกิดแนวคิดและถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน และพัฒนาขึ้นเป็นระบบ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในแต่ละภูมิภาค ในสมัยโบราณ การจัดทำเภสัชตำรับขึ้นครั้งแรกเกิดขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีการบันทึกโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม นับเป็นเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก และเริ่มมีการแบ่งสายวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ส่วนในจีน การแพทย์มักมีความผูกพันกับธรรมชาติ และใช้ปรัชญาของจีนร่วมในการรักษา ในอียิปต์เริ่มมีการจดบันทึกเภสัชตำรับเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ปาปิรุสอีเบอร์" ตลอดจนบูชาเทพเจ้าในการบำบัดโรคกว่า 10 องค์ ในสมัยกรีกโบราณ ชาวกรีกได้บูชาเทพแอสคลีปิอุส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งการแพทย์ เช่นเดียวกับพระธิดา คือ เทพีไฮเจีย เทพีแห่งสุขอนามัย โดยพระองค์จะถือถ้วยยาและงูไว้ งูเป็นสัญลักษณ์ในการดูดพิษของชาวกรีกโบราณ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบัน กรีกมีนักปราชญ์มากมาย จึงใช้ปรัชญาและทฤษฎีในการบำบัดรักษาโรคทั่วไป ส่วนในยุคโรมัน ซึ่งได้รับวิทยาการถ่ายทอดจากกรีก ได้ใช้ปรัชญาจากนักปราชญ์ในการบริบาลผู้ป่วยสืบต่อมา สมัยจักรวรรดิโรมัน กาเลนนับเป็นบุคคลสำคัญในการบริบาลผู้ป่วย โดยกาเลนจะปรุงยาด้วยตนเองเสมอจนถือว่ากาเลนเป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม" ในสมัยกลาง เมื่อโรมันเสื่อมอำนาจลง วิทยาการด้านการแพทย์เสื่อมถอยลง แต่วิทยาการทางการแพทย์ตะวันตกยังคงได้รับการถ่ายทอดจากชาวอาหรับที่มาค้าขายด้วย ในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม (Magna Charta of the Profession of Pharmacy) เมื่อ ค.ศ. 1240 ห้ามมิให้ดำเนินการตั้งร้านยาหรือธุรกิจเกี่ยวกับการขายยา ยกเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และให้แยกวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมอย่างเด็ดขาดเป็นครั้งแรก การจำแนกเภสัชกรรมออกจากเวชกรรม เรียกข้อมูลวันที่ 8 สิงหาคม..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และประวัติศาสตร์เภสัชกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เยอรมนี

ประวัติศาสตร์เยอรมนี เริ่มต้นด้วยการต้านทานการยึดครองโดยชาวโรมันของชนเจอร์มานิค ซึ่งเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายชนชาติเยอรมันก็กลายเป็นกลุ่มชนผู้มีอำนาจในยุโรปเข้าแทนที่ชาวโรมัน จนนำไปสู่กำเนิดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ จักรวรรดิที่ 1 ในสมัยกลาง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ธำรงอยู่กว่าพันปีแต่ก็เป็นเพียงจักรวรรดิที่มองไม่เห็น เพราะรัฐต่าง ๆ ในเยอรมันร้อยกว่ารัฐต่างแยกตัวเป็นอิสระจากพระจักรพรรดิ จนนโปเลียนยกเลิกจักรวรรดินี้ไปกลายเป็นสมาพันธรัฐเยอรมัน เป็นกลุ่มของรัฐต่าง ๆ จนราชอาณาจักรปรัสเซียสามารถรวมประเทศเยอรมนีได้โดยการนำของบิสมาร์ก ก็กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมัน หรือ จักรวรรดิที่ 2 แต่ด้วยการปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้เยอรมนีกลายเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ แต่ถูก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซียึดอำนาจเปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการและแผ่ขยายดินแดนไปทั่วยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองหรือ จักรวรรดิที่ 3 แต่ฮิตเลอร์พ่ายแพ้สงคราม เยอรมนีจึงถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เยอรมนีตะวันออก และ เยอรมนีตะวันตก จนรวมกันกลายเป็นประเทศเยอรมนีอีกครั้งใน ค.ศ. 1990.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และประวัติศาสตร์เยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทไฮเดิลแบร์ค

ปราสาทไฮเดิลแบร์ค มุมมองจากทิศเหนือ ปราสาทไฮเดิลแบร์ค (Heidelberger Schloss) เป็นปราสาทเก่าในเมืองไฮเดิลแบร์ค ประเทศเยอรมนี เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างจากยุคเรอแนซ็องส์ที่สำคัญที่สุดในตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อใด แต่ปราสาทหลังนี้ได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และปราสาทไฮเดิลแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

แม็ทธิว แพริส

แม็ทธิว แพริส (Matthew Paris) (ราว ค.ศ. 1200 - (ค.ศ. 1259) แม็ทธิว แพริสเป็นนักบวชเบ็นนาดิคติน, นักบันทึกพงศาวดาร (Chronicler) ของยุคกลาง, จิตรกรหนังสือวิจิตร, นักเขียนแผนที่ชาวอังกฤษผู้จำวัดอยู่ที่สำนักสงฆ์เซนต์อัลบันในฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ แม็ทธิวเขียนงานหลายชิ้น ส่วนใหญ่เป็นงานเชิงประวัติศาสตร์ที่แม็ทธิวคัด (scribe) และวาดภาพวิจิตร (illuminate) ประกอบด้วยตนเอง งานส่วนใหญ่จะวาดบางส่วนด้วยสีน้ำที่บางครั้งก็เรียกว่า “tinted drawings” งานเขียนบางชิ้นก็เขียนเป็นภาษาละติน, บางชิ้นก็เป็นภาษาอังกฤษ-นอร์มัน หรือภาษาฝรั่งเศสสมัยกลาง บันทึกประวัติศาสตร์ “Chronica Majora” ที่แม็ทธิวเขียนเป็นหนังสือที่ได้รับการใช้ในการอ้างอิงบ่อยครั้ง แม้ว่านักประวัติศาสตร์สมัยใหม่จะทราบว่าเป็นงานเขียนที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าใดนักก็ตาม แม็ทธิวมักจะสรรเสริญสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเลิศลอย และจะหนักไปในทางประณามพระสันตะปาป.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และแม็ทธิว แพริส · ดูเพิ่มเติม »

โรโกโก

้านเหนือของวังแคทเธอรีนที่ Tsarskoye Selo - ลานราชรถ: เป็นลวดลายปูนปั้นปิดทองมาจนสมัยพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ทรงสั่งให้ติดช่อมะกอกแทน ท้องพระโรงของวังแคทเธอรีนที่ Tsarskoye Selo ศิลปะโรโกโก (Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปะแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปะโรโกโกเริ่มพัฒนามาจากศิลปะฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโกโกจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เครื่องเรือน หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเครื่องเรือนที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็ก ๆ แบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปะโรโกโกมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก คำว่าโรโกโกมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโกโกจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนตัวของใบไม้เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโกโกเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และโรโกโก · ดูเพิ่มเติม »

เกลฟ์และกิเบลลิเน

ทธการเลญาโนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเกลฟ์และกิเบลลิเน เกลฟ์ และ กิเบลลิเน (Guelphs and Ghibellines) เป็นฝักฝ่ายทางการเมืองทางตอนกลางและตอนเหนือของอิตาลีผู้หนุนหลังฝ่ายพระสันตะปาปาและสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตามลำดับระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ความขัดแย้งกันทางอำนาจระหว่างสถาบันพระสันตะปาปาและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก่อตัวขึ้นจากปัญหาข้อขัดแย้งในอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 11.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเกลฟ์และกิเบลลิเน · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชกรรม

ัชกรรม (Pharmacy) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเภสัชกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชกรรมสมัยกลาง

ัชกรรมสมัยกลาง เป็นยุคทางเภสัชกรรมในสมัยกลางของยุโรป ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกต่ออนารยชนเผ่าเยอรมันนั้น บริเวณประเทศอิตาลีได้แปรสภาพกลายเป็นสนามรบจากการุกรานของศัตรูและการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางผิวหนัง ประชากรล้มตายเป็นจำนวนมาก นับเป็นสถานการณ์อันไม่ส่งเสริมต่อการใฝ่หาความรู้ใหม่ของนักวิทยาศาสตร์หรือนักปราชญ์ทั่วไป ประชากรส่วนมากหันไปพึ่งบทบาททางศาสนาเป็นการทดแทน จนทำให้นักบวชของคริสต์ศาสนามีบทบาททางการรักษาโดยฝาแฝด Damian ซึ่งเป็นนักบวชชาวอาหรับได้รับบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายในสงครามกลางเมืองสมัยจักรพรรดิไดโอคลีเชียนในราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 พวกเขาจึงหันไปอัปถัมภ์ผู้ป่วยด้วยความรู้ทางการแพทย์และเภสัชกรรมในหลายเมืองทั่วศาสนาจักร ในภายหลังได้มีนักบวชคนอื่นๆมาร่วมช่วยเหลืออีกด้วย อย่างไรก็ดีฝาแฝด Damian ก็ยังคงเป็นตัวแทนของเภสัชกรที่คุ้มครองผู้ป่วยยิ่งกว่าการบริการ.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเภสัชกรรมสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชศาสตร์

ร้านยาแผนปัจจุบันในประเทศนอร์เวย์ เภสัชศาสตร์ ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค โดยศึกษาตั้งแต่วัตถุดิบที่จะนำมาผลิตยา การปรุงยา การเก็บรักษา ตลอดจนกระบวนการกระจายยา โดยศึกษาตั้งแต่แหล่งของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์ การวิจัยและการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารเสพติด สารพิษ และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่างๆ เภสัชศาสตร์กำเนิดขึ้นควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ในการบำบัดรักษาคนป่วยในสมัยโบราณได้นำพืช สัตว์ และแร่ธาตุในการบำบัดรักษา โดยศึกษาวิธีการจากสิ่งมีชีวิตรอบตัว จนได้มีการจดบันทึกสั่งสมองค์ความรู้สู่การพัฒนาเภสัชตำรับฉบับแรกของโลกโดยชาวสุเมเรียน และได้เริ่มมีการศึกษาฤทธิ์ของยาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในสมัยของฮิปโปเครตีส การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์ในสมัยโบราณเป็นการศึกษาในวงจำกัดของชนชั้นสูงในสังคมอาหรับและการสืบทอดตำราโดยบาทหลวงเท่านั้น จนกระทั่งสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม และการฝึกหัดทางเภสัชศาสตร์ทำให้มีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น เภสัชศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างยิ่ง การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์เน้นหลักในวิชาการด้านเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีการแบ่งสาขาวิชาทางเภสัชศาสตร์จำแนกย่อยอีกหลายสาขา โดยแบ่งเป็นด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ประกอบด้วยสาขาเภสัชวิทยา เภสัชเวท เภสัชเคมี เภสัชวิเคราะห์และเภสัชภัณฑ์ จวบจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น การผลิตยาจึงได้ประยุกต์สู่ด้านเภสัชอุตสาหกรรมด้วย ด้านเภสัชบริบาลศาสตร์ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการบริบาลผู้ป่วยและดูแลรักษาควบคุมการใช้ ตลอดจนติดตามผลการรักษาจากการใช้ยา ประกอบด้วยสาขาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล และด้านเภสัชสาธารณสุข เภสัชศาสตร์สังคมและบริหารเภสัชกิจที่ดูแลการใช้ยาในระดับประชากรและการบริหารจัดการเรื่อง.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเภสัชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนครลือเบ็ค

รีนครลือเบ็ค หรือ เสรีนครฮันเซอแห่งลือเบ็ค (Freie und Hansestadt Lübeck) เป็นนครรัฐที่รุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 1226 ถึงปี ค.ศ. 1937 ที่ตั้งอยู่ในรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์และรัฐเมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์นในประเทศเยอรมนีปัจจุบัน.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเสรีนครลือเบ็ค · ดูเพิ่มเติม »

18 มีนาคม

วันที่ 18 มีนาคม เป็นวันที่ 77 ของปี (วันที่ 78 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 288 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และ18 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

26 ธันวาคม

วันที่ 26 ธันวาคม เป็นวันที่ 360 ของปี (วันที่ 361 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 5 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และ26 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Frederick II, Holy Roman Emperorสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »