โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จดหมายเหตุ

ดัชนี จดหมายเหตุ

หอจดหมายเหตุ (archive) หมายถึงบันทึก หรือรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยผู้บันทึกอาจเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลทั่วไปก็ได้ เพื่อบันทึกไว้สำหรับใช้อ้างอิงในอนาคต ตั้งแต่ครั้งอดีต พระมหากษัตริย์ไทย โปรดเกล้าฯให้มีธรรมเนียมการจดบันทึกเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยผู้มีหน้าที่จดบันทึกดังกล่าวเรียกว่าอาลักษณ์ จดหมายเหตุนี้จะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในหอจดหมายเหตุหรือหอหลวง เพื่อให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาต่อคนรุ่นหลัง จดหมายเหตุในราชวงศ์นี้ บางทีก็เรียกพระราชพงศาวดาร เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่า และพระราชพงศาวดารเหนือในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จดหมายเหตุที่บันทึกโดยบุคคลในอดีตก็มีความสำคัญไม่น้อย มีทั้งการบันทึกเหตุการณ์ทั่วไป การบันทึกเรื่องราวของตนเองอย่างลักษณะไดอารี่ ฯลฯ บางฉบับมีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมาก เช่น จดหมายเหตุบางกอก (อังกฤษ: Bangkok Recorder) ของหมอบรัดเลย์ จดหมายเหตุลาลูแบร์ (ฝรั่งเศส: Du Royaume de Siam) เขียนโดยมองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ.116 ของพระยาศรีสหเทพ (เส็ง) จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี จดหมายเหตุจีนว่าด้วยกรุงสยาม เป็นต้น จดหมายเหตุในอดีตพบว่ามีการบันทึก โดยการเขียน การพิมพ์ ลงบนวัสดุต่างๆตามยุคสมัย เช่น แผ่นหิน ใบลาน กระดาษ เป็นต้น.

26 ความสัมพันธ์: บางกอกรีคอเดอพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระปรางค์วัดมหาธาตุการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ลายรดน้ำวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหารสามก๊กสารคดีหอหลวงอาณาจักรเชียะโท้อาคารสวนกุหลาบอีดิทอะธอนจดหมายเหตุลาลูแบร์จดหมายเหตุวันวลิตดรุโณวาทตำบลบ้านสวน (อำเภอเมืองสุโขทัย)ตำนานทองซอสามสายแดน บีช บรัดเลย์โบราณคดีไกลบ้านไลพ์ซิชเรือไทยเวย์แบ็กแมชชีนเจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)

บางกอกรีคอเดอ

งกอกรีคอเดอ (The Bangkok Recorder ทับศัพท์แบบปัจจุบัน บางกอกรีคอร์เดอร์) หรือชื่อไทย หนังสือจดหมายเหตุ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยเล่มแรก ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: จดหมายเหตุและบางกอกรีคอเดอ · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ทางไปอำเภอประโคนชัย สร้างในปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงก่อตั้งเมืองบุรีรัมย์ เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก พระบรมราชานุสาวรีย์มีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ฉลองพระองค์แบบนักรบตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ประทับบนช้างศึก จากจดหมายเหตุประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 7 กล่าวว่า ใน พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปปราบพระยาซึ่งคบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอินแห่งจำปาศักดิ์ ขณะเดินทัพพบเมืองร้างอยู่ที่ลุ่มน้ำห้วยจระเข้มาก มีชัยภูมิดีแต่ไข้ป่าชุกชุม ชาวเขมรป่าดงไม่กล้าเข้ามาอยู่อาศัย แต่ตั้งบ้านเรือนอยู่โดยรอบ จึงรวบรวมผู้คนตั้งเป็นเมืองแปะ และให้บุตรเจ้าเมืองพุทไธสมันซึ่งติดตามมาด้วยเป็นเจ้าเมือง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครภักดี ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองบุรีรัมย์ ถนนเสด็จนิวัต.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระปรางค์วัดมหาธาตุ

ระปรางค์วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองกระแซง อำเภอเมืองเพชรบุรี (อำเภอคลองกระแชง) สร้างมามากกว่า 1,900 ปี มีพระปรางค์ห้ายอด ล้อมรอบด้วยพระระเบียงคด ที่หน้าบันพระวิหารหลวงประดับลวดลายปูนปั้นศิลปะสมัยอยุธยา ใบเสมาคู่สมัยอยุธยาตอนปลาย ทำด้วยหินทรายแดง จำหลักลวดลายทั้งใบ ความสูงถึงยอดนภศูลประมาณ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและพระปรางค์วัดมหาธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

มเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 เวลา 02.54 นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระศพระหว่างวันที่ 3 มกราคม-12 เมษายน พ.ศ. 2551 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง หมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกสัปตปฎลเศวตฉัตรเหนือยอดพระเมรุในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และหมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ซึ่งพระราชพิธีสองอย่างหลังจะมีขึ้น ณ พระเมรุ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้เป็นระบบการจำแนกห้องสมุดประกอบด้วย 10 หมวดใหญ่ (class) แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็นสิบหมวดย่อย (division) แต่ละหมวดย่อยมีสิบหมู่ย่อย (section) ตัวอย่างเช่น หมวดใหญ่ 600 ("เทคโนโลยี") มีหมวดย่อย 630 ("เกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง") ซึ่งมีหมู่ย่อย 636 ("การเลี้ยงสัตว์") ในทางปฏิบัติ มีทั้งหมด 99 จาก 100 หมวดย่อยและ 908 จาก 1000 หมู่ย่อย เนื่องจากบางส่วนเลิกใช้แล้วหรือยังไม่กำหน.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ · ดูเพิ่มเติม »

ลายรดน้ำ

ลายรดน้ำ บนฝาผนังวัดสุทัศน์ ลายรดน้ำ เป็นงานประณีตศิลป์ของไทยชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในงานจิตรกรรมประเภทสีเอกรงค์ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี จากหลักฐานในจดหมายเหตุกรุงสยามและกรุงจีน ซึ่งบรรยายถึง พ่อขุนรามคำแหงทรงเจริญพระอักษรแต่งตั้งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนโดยการเขียนพระราชสาส์นเป็นลายรดน้ำ ลายรดน้ำ เป็นลวดลายหรือภาพ รวมไปถึงภาพประกอบลายต่าง ๆ ที่ปิดด้วยทองคำเปลวบนพื้นรัก โดยขั้นตอนการทำสุดท้ายคือการเอาน้ำรด ให้ปรากฏเป็นลวดลาย จึงกล่าวได้ว่า “ลายรดน้ำ” คือ ลายทองที่ล้างด้วยน้ำ งานเขียนลายรดน้ำส่วนใหญ่จะเขียนประดับตามสถานที่ต่าง ๆ เช่นประตู หน้าตา ฝาผนัง รวมถึงเครื่องไม้ใช้สอยต่าง ๆ ด้วย ภาพ:Bkkwangsuanpakkardrb03.jpg|หอเขียนลายรดน้ำวังสวนผักกาด กรุงเทพ ภาพ:Watrakhangdoorpano0609.jpg|บานประตูพระอุโบสถ วัดระฆัง กรุงเทพ ภาพ:Watrakhanghortrai052000b.jpg|ตู้พระธรรมลายรดน้ำภายในหอพระไตรปิฎกวัดระฆัง กรุงเทพ หมวดหมู่:ศิลปะไทย.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและลายรดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา ต่อมาถูกยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: จดหมายเหตุและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สารคดี

ำหรับนิตยสาร ดู สารคดี (นิตยสาร) สารคดี เป็นงานเขียนหรือวรรณกรรมร้อยแก้วในลักษณะตรงข้ามกับกับบันเทิงคดี (Fiction) ที่มุ่งให้สาระความรู้แก่ผู้อ่านเป็นเบื้องต้น มีความเพลิดเพลินเป็นเบื้องหลัง ที่มุ่งแสดงความรู้ ความคิด ความจริง ความกระจ่างแจ้ง และเหตุผลเป็นสำคัญ อาจจะเขียนเชิงอธิบาย เชิงวิจารณ์เชิงแนะนำสั่งสอน เป็นต้น.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและสารคดี · ดูเพิ่มเติม »

หอหลวง

หอหลวง คือหอหนังสือหลวง ตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวังโดยมีหออาลักษณ์ตั้งอยู่ใกล้กัน หอหลวงเป็นสถานที่เก็บ รักษาเอกสารราชการในสมัยโบราณ ได้แก่ ต้นฉบับตัวเขียนที่เป็นตำรา กฎหมาย จดหมายเหตุ พงศาวดาร และวรรณคดีต่าง ๆ โดยมีเจ้าพนักงานดูแลรักษาดูแลรักษา ทั้งงานด้านเอกสาร ภาษา และหนังสือ เอกสารที่เก็บอยู่ที่หอหลวงจึงเรียกว่า หนังสือหอหลวง หอหลวงในสมัยอยุธยา ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ระบุว่า อยู่ในสระ มุมกำแพงสวนกระต่าย และมีหออาลักษณ์ตั้งอยู่ใกล้กัน ที่ริมกำแพงสวนกระต่าย หอหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นตึกชั้นเดียว ตั้งอยู่ริมถนนหน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ดังมีภาพตึกเขียนไว้ในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ในห้องส่วนที่เขียนภาพการพิธีทำขนมเบื้องเลี้ยงพระ ต่อมาในปี..

ใหม่!!: จดหมายเหตุและหอหลวง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรเชียะโท้

อาณาจักรเชียะโท้(赤土国)เป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้อาณาจักรตามพรลิงก์ เมืองสำคัญของอาณาจักรนี้สันนิษฐานว่าอาจจะอยู่แถบกลันตันหรือบริเวณจังหวัดพัทลุงในปัจจุบัน มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษ 9 - 12 ตามจดหมายเหตุของจีนได้กล่าวว่าอาณาจักรเชียะโท้ ราชวงศ์ของกษัตริย์นามว่าชือทัน กษัตริย์ทรงพระนามว่า ลิ-ฟู-โท-ลี มีมเหสี 3 องค์ ซึ่งเป็นบุตรธิดาของอาณาจักรใกล้เคียง.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและอาณาจักรเชียะโท้ · ดูเพิ่มเติม »

อาคารสวนกุหลาบ

....

ใหม่!!: จดหมายเหตุและอาคารสวนกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

อีดิทอะธอน

อีดิทอะธอน ''72 โอรัสโกงโรดิง'' ในเม็กซิโกซิตี เป็นอีเวนต์ที่ยาวนานที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยได้รับการยอมรับจากบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ผู้เข้าร่วมประชุมหญิงในปี ค.ศ. 2013 ของอีเวนต์อาร์ตอีดิทอะธอน ในวอชิงตัน ดี.ซี. อีดิทอะธอนในเซาเปาลู ประเทศบราซิล ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การสร้างและปรับปรุงบทความวิกิพีเดียที่เกี่ยวข้องกับคตินิยมสิทธิสตรี, สิทธิสตรี และสตรีที่โดดเด่น ในโครงการของชุมชนออนไลน์ต่าง ๆ เช่น วิกิพีเดีย, โอเพินสตรีตแมป และโลคอลวิกิ อีดิทอะธอน (Edit-a-thon) เป็นอีเวนต์ที่จัดขึ้นสำหรับผู้แก้ไขบทความ และปรับปรุงหัวข้อที่เฉพาะเจาะจง หรือประเภทของเนื้อหา ซึ่งมักจะรวมถึงการฝึกอบรมในการแก้ไขพื้นฐานสำหรับผู้แก้ไขรายใหม่ พวกเขามักจะเกี่ยวข้องกับการพบปะ แต่ไม่สามารถเผยแพร่ได้อย่างช่ำชองนัก ทั้งนี้ คำว่าอีดิทอะธอนเป็นคำผสมมาจากคำว่า "อีดิท" และ "มาราธอน" วิกิมีเดียอิดิทอะธอนเกิดขึ้นจากสำนักงานใหญ่ของสาขาวิกิมีเดีย, สถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งมหาวิทยาลัยโซโนมาสเตต, มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต, มหาวิทยาลัยวิกตอเรียในประเทศแคนาดา เช่นเดียวกับสถาบันทางวัฒนธรรม เช่นพิพิธภัณฑ์หรือจดหมายเหตุ โดยอีเวนต์ที่จัดขึ้นประกอบด้วยหัวข้อเช่นมรดกทางวัฒนธรรม, ของที่สะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์, ประวัติศาสตร์ของสตรี, คตินิยมสิทธิสตรี, การลดช่องว่างทางเพศของวิกิพีเดีย, ประเด็นความยุติธรรมทางสังคม และหัวข้ออื่น ๆ บรรดาสตรี และชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา รวมถึงชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ต่างใช้อีดิทอะธอนในฐานะของการลดช่องว่างทางเพศและเชื้อชาติสำหรับการเข้าสู่วิกิพีเดีย ซึ่งบางส่วนได้รับการจัดโดยวิกิพีเดียในถิ่นที่อยู่ ส่วนอีดิทอะธอนที่ยาวนานที่สุดจัดขึ้นที่มูเซโอโซว์มายาของเม็กซิโกซิตีตั้งแต่วันที่ 9 ถึง 12 มิถุนายน..

ใหม่!!: จดหมายเหตุและอีดิทอะธอน · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายเหตุลาลูแบร์

กจดหมายเหตุลาลูแบร์ พ.ศ. 2236 จดหมายเหตุลาลูแบร์ (Du Royaume de Siam แปลตามตัวคือ "ว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม") เป็นจดหมายเหตุพงศาวดารที่กล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2230 โดยซีมง เดอ ลา ลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณนาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเจ้าตัวจะอยู่เพียง 3 เดือน 6 วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมากรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับแปลในประเทศไทยมีอยู่ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์แปล โดยทรงแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ และฉบับแปลของสันต์ ท.โกมลบุตร จากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส สวัสดีชาวโลกเราจะมายึดครองโลกโดยเริ่มจากประเทศ อเมริก.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและจดหมายเหตุลาลูแบร์ · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายเหตุวันวลิต

หมายเหตุวันวลิต เป็นจดหมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่งขึ้นด้วยภาษาฮอลันดาโดยนายเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremais van Vliet) ชาวฮอลันดา เมื่อปี..

ใหม่!!: จดหมายเหตุและจดหมายเหตุวันวลิต · ดูเพิ่มเติม »

ดรุโณวาท

รุโณวาท เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของคนไทยที่เผยแพร่แก่ประชาชน และดำเนินการโดยคนไทย เริ่มออกฉบับแรกเมื่อ 7 กรกฎาคม..

ใหม่!!: จดหมายเหตุและดรุโณวาท · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลบ้านสวน (อำเภอเมืองสุโขทัย)

ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมานับแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สืบความจากหลักฐานการตั้งถิ่นฐานโดยมีวัดเป็นศูนย์ในอดีต พร้อมกับหลักฐานวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรที่มีประวัติเนื่องต่อกับชุมชนในอดีตล่วงมาจนถึงปัจจุบัน ตำบลบ้านสวนเป็นศูนย์การการเพราะปลูกข้าว "คุณภาพ" ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย อันเนื่องเป็นที่ลุ่มที่เหมาะแก่การทำเกษตร.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและตำบลบ้านสวน (อำเภอเมืองสุโขทัย) · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานทอง

''Legenda Aurea'', 1290 circa, Biblioteca Medicea Laurenziana, Florence ภาพนักบุญจอร์จ ฆ่ามังกรเป็นเรื่องหนึ่งที่รวบรวมในตำนานทอง ภาพนักบุญคริสโตเฟอร์แบกพระเยซูข้ามแม่น้ำ โดยคอนราด วิทซ-หนึ่งในนักบุญในตำนานทอง นักบุญมาร์กาเร็ตแห่งอันติโอก ดึงดูดความสนใจนายทหารโรมัน โดย ฌอง โฟเคท์ (Jean Fouquet) จากหนังสือวิจิตร (Illuminated manuscript) “การพลีชีพของนักบุญไพรมัส และนักบุญเฟลิซิอานัส” จากตำนานทองของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ภาพนักบุญแอนดรูว์ผู้ที่ถูกตรึงกางเขนบนกางเขนเอ็กซ์-หนึ่งในนักบุญในตำนานทอง ตำนานทอง (Legenda Aurea) เป็นตำนานชีวิตนักบุญที่รวบรวมราวปี..

ใหม่!!: จดหมายเหตุและตำนานทอง · ดูเพิ่มเติม »

ซอสามสาย

ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จำพวกเครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและซอสามสาย · ดูเพิ่มเติม »

แดน บีช บรัดเลย์

หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ แพทยศาสตรบัณฑิต (Dan Beach Bradley) หรือบางคนเขียนเป็น หมอบรัดเล หมอปลัดเล หมอปรัดเล หรือ หมอปรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและแดน บีช บรัดเลย์ · ดูเพิ่มเติม »

โบราณคดี

การขุดค้นซากโบราณ โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงที่เดียวในประเทศไท.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและโบราณคดี · ดูเพิ่มเติม »

ไกลบ้าน

กลบ้าน เป็นพระราชนิพนธ์ลายพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ผู้ซึ่งสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถในตำแหน่งเลขาธิการฝ่ายใน รวมจำนวน 43 ฉบับ เสด็จประพาสยุโรปเป็นระยะเวลา 225 วัน ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับพระราชภารกิจแต่ละวันนับตั้งแต่เสด็จลง เรือพระที่นั่งมหาจักรี ออกจากกรุงเทพมหานคร ผ่านประเทศต่าง ๆ โดยทางเรือและรถไฟตามลำดับ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก และประเทศนอร์เวย์ เป็นการเล่าทำนองการบันทึกจดหมายเหตุ หรือรายงานประจำวัน อีกทั้งมีเกร็ดความรู้เรื่องราวต่าง ๆ พร้อมทั้งเสนอแนวพระราชดำริและพระราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างเสด็จประพาส สะท้อนให้เห็นทัศนคติ สภาพบ้านเมือง สังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะทัศนียภาพ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ธรรมชาติ ตลอดจนความเจริญทางวิทยาการของนานาอารยประเท.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและไกลบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

ไลพ์ซิช

ลพ์ซิช (Leipzig) เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในรัฐซัคเซิน ในประเทศเยอรมนี มีประชากร 515,110 คน และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในรัฐ และเป็นเมืองที่มีระบบการปกครองในรูปแบบเขตปกครองพิเศษ ชื่อ "ไลพ์ซิช" มาจากภาษาสลาฟว่า "ลิพสค์" (Lipsk) ซึ่ง แปลว่า ตั้งอยู่บนพื้นที่ ที่มีต้นไม้ดอกเหลือง นอกจากนี้ ไลพ์ซิชยังเป็นชื่อของเขตปกครองภายในรัฐซัคเซิน โดยในสหพันธรัฐแซกโซนีประกอบด้วย 3 เขตปกครอง (Landkreise) และ 3 เขตปกครองพิเศษ (Kreisfreie Städte) โดยเขตปกครองไลพ์ซิชเป็นเขตปกครองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหพันธรัฐแซกโซนี เนื้อหาของบทความนี้กล่าวถึงเฉพาะเมืองไลพ์ซิชซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษเท่านั้น.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและไลพ์ซิช · ดูเพิ่มเติม »

เรือไทย

รือไทย คือเรือในประเทศไท.

ใหม่!!: จดหมายเหตุและเรือไทย · ดูเพิ่มเติม »

เวย์แบ็กแมชชีน

วย์แบ็กแมชชีน เป็นบันทึกดิจิตอลของเวิลด์ไวด์เว็บ และข้อมูลต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต ที่สร้างขึ้นโดยอินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์ องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรที่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก จัดตั้งขึ้นโดย บรูว์สเตอร์ เคล และ บรูซ กิลเลียต และมีการเก็บรักษาข้อมูลจากอเล็กซาอินเทอร์เน็ต บริการนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูหน้าเว็บรุ่นที่จัดเก็บไว้ในเวลาต่าง ๆ ได้ ซึ่งที่อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์เรียกว่า "ดัชนีสามมิติ".

ใหม่!!: จดหมายเหตุและเวย์แบ็กแมชชีน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)

้าพระยาสุรินทราชา นามเดิมจันทร์ ประชาชนชาวนครศรีธรรมราชขนานนามว่า อุปราชจันทร์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช ต้นสกุล จันทโรจวงศ์ เป็นข้าหลวงสำเร็จราชการหัวเมือง ฝั่งตะวันตก ระหว่าง..

ใหม่!!: จดหมายเหตุและเจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »