เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

งูเขียวหางไหม้ลายเสือ

ดัชนี งูเขียวหางไหม้ลายเสือ

งูเขียวหางไหม้ลายเสือ หรือ งูพังกา (Shore pit viperBrown JH.U.S. Navy. 1991. Poisonous Snakes of the World. US Govt. New York: Dover Publications Inc. 203 pp. ISBN 0-486-26629-X.) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง มีพิษอ่อน เมื่อเข้าใกล้จะสั่นหางขู่และฉกกัดอย่างรวดเร็ว ออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยบนต้นไม้เป็นพุ่มเตี้ยๆ ตามป่าชายเลน หรือตามริมฝั่งคลองที่ติดกับทะเล พบในประเทศอินเดีย (รัฐอัสสัม, หมู่เกาะอันดามัน), ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศพม่า, ประเทศไทย, มาเลเซียตะวันตก, ประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศอินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา).

สารบัญ

  1. 1 ความสัมพันธ์: งูเขียวหางไหม้

งูเขียวหางไหม้

ำหรับงูเขียวจำพวกอื่น ดูที่: งูเขียว งูเขียวหางไหม้ (Green pit vipers, Asian pit vipers Mehrtens JM.) เป็นงูที่อยู่ในสกุล Trimeresurus ในวงศ์งูพิษเขี้ยวพับ (Viperidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีหัวยาวมนใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ตัวอ้วนสั้น ปลายหางมีสีแดง ลำตัวมีสีเขียวอมเหลืองสด บางตัวมีสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงสด บางตัวมีหางสีแดงคล้ำเกือบเป็นสีน้ำตาล อันเป็นที่มาของชื่อ จัดเป็นงูพิษอ่อน ผิดไปจากงูสกุลหรือชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยผู้ที่ถูกกัดจะไม่ถึงกับเสียชีวิต นอกจากเสียแต่ว่ามีโรคหรืออาการอื่นแทรกแซง โดยผู้ที่ถูกกัดจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงทันทีที่ถูกกัด แล้วค่อย ๆหายใน 5-6 ชั่วโมง บริเวณที่ถูกกัดจะบวมอย่างรวดเร็วในระยะ 3-4 วันแรก จากนั้นจะค่อย ๆ ยุบบวมในเวลา 5-7 วัน อาจจะมีเลือดออกจากรอยเขี้ยว แต่ไม่มาก หากมีอาการมากกว่านี้ถือว่าเป็นอาการหนัก เป็นงูที่เลื้อยช้า ๆ ไม่รวดเร็ว มีนิสัยดุและฉกกัดเมื่อเข้าใกล้ ชอบอาศัยตามซอกชายคา, กองไม้, กระถางต้นไม้, กอหญ้า ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งบนต้นไม้ และตามพื้นดินที่มีหญ้ารก ๆ โดยกิน นก, จิ้งจก, ตุ๊กแก, สัตว์ฟันแทะ รวมถึงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร ขณะเกาะนอนบนกิ่งไม้ จะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้ โดยปกติ เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 8-12 ตัว แต่ก็มีบางชนิดเหมือนกันที่ออกลูกเป็นไข่ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก พบประมาณ 35 ชนิด ในประเทศไทย พบชุกชุมในภาคกลางและภาคตะวันออก เช่น งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T.

ดู งูเขียวหางไหม้ลายเสือและงูเขียวหางไหม้

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Trimeresurus purpureomaculatusงูพังกา