โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

งานกระจกสี

ดัชนี งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

89 ความสัมพันธ์: ชฎาบริเวณกลางโบสถ์ชีวิตของพระนางพรหมจารีชีวิตของพระเยซูช่องรับแสงฟรันเชสโก เดล กอสซาพระคริสต์ทรงพระสิริพระคัมภีร์คนยากพระเจ้าพระบิดาพฤกษาพักตร์พิพิธภัณฑ์ศิลปะเว็บกวัตโตรเชนโตการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)ภาพเหมือนผู้อุทิศภาวะผู้นำมหาวิหารซันตาโกรเชมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมหาวิหารแซ็ง-เรมีมหาวิหารแซ็ง-เดอนีมหาวิหารเคอนิจส์แบร์กมาร์ก ชากาลรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยวัดขนแกะวัดซางตาครู้สวังเชอนงโซวันอาทิตย์ใบลานวิลเลียม มอร์ริสวิลเลียมแห่งมาล์มสบรีศิลปะกอทิกศิลปะสมัยกลางศิลปะคริสเตียนศิลปะตะวันตกศิลปะและสถาปัตยกรรมเมรอแว็งเฌียงสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกหลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานีหัตถกรรมหน้าต่างกุหลาบอาสนวิหารอาสนวิหารบลัวอาสนวิหารบูร์ฌอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลอาสนวิหารกลอสเตอร์อาสนวิหารกาออร์อาสนวิหารยอร์กอาสนวิหารลียงอาสนวิหารล็องอาสนวิหารวานอาสนวิหารวินเชสเตอร์...อาสนวิหารออร์เลอ็องอาสนวิหารอัสสัมชัญอาสนวิหารอ็อชอาสนวิหารตูลอาสนวิหารตูลูซอาสนวิหารปัวตีเยอาสนวิหารปีเตอร์บะระอาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็องอาสนวิหารแก็งแปร์อาสนวิหารแม็สอาสนวิหารแร็งส์อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีอาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์อาสนวิหารโอเติงอาสนวิหารเวียนอาสนวิหารเฮริฟอร์ดอาสนวิหารเปรีเกออ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็กผังอาสนวิหารจอร์โจ วาซารีจอห์น เอเวอเรตต์ มิเลจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีจิตรกรรมตะวันตกจูเซปเป อาร์ชิมโบลโดถ้วยเมรอดทอมัส แบ็กกิตดอกจิกสี่แฉกงานโมเสกตูร์แนฉากแท่นบูชาเมรอดซันตามาริอาดัลมาร์ (บาร์เซโลนา)ปีเอโตร เปรูจีโนแรยอน็องแซ็งต์-ชาแปลโบสถ์น้อยตอร์นาบูโอนีโอแซร์โครงสร้างทรงโค้งมีสันเอกรงค์เทาเซราฟีน หลุยส์ ขยายดัชนี (39 มากกว่า) »

ชฎา

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี ทรงชฎา ชฎา คือเครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ โดยทั่วไปมียอดแหลม มีกรรเจียก (กระหนกข้างหู) ประดิษฐ์ขึ้นด้วยโลหะเช่นทองหรือเงิน หรือวัสดุอื่นเช่นไม้ เปเปอร์มาเช่ หรือพลาสติก แล้วทาสีให้ดูเหมือนโลหะ ผิวด้านนอกของชฎาจะตกแต่งอย่างสวยงาม โดยการแกะสลัก ประดับอัญมณี กระจกสี และพวงดอกไม้ ชฎาเกิดขึ้นช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยพัฒนาการจากลอมพอก ชฎาและมงกุฎต่างกัน คือชฎาจะมียอดปัดไปข้างหลังเหมือนลอมพอก ส่วนมงกุฎจะมียอดแหลมเป็นปลียอด ชฎาที่เป็นเครื่องราชศิราภรณ์ส่วนใหญ่เรียกว่า "พระชฎา" หรือ "มงกุฎรอง" มีหลายชนิด ชฎามักใช้ในงานพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเจ้านายชั้นสูงและใช้ในงานนาฏศิลป์ วัฒนธรรมสมัยใหม่มีการใช้ชฎาเป็นเครื่องแต่งตัวในการเดินแบบ ถ่ายภาพยนตร์ และประกอบการแสดง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและชฎา · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและบริเวณกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตของพระนางพรหมจารี

ีวิตของพระแม่พรหมจารี (Life of the Virgin) หรือชีวิตของพระแม่มารี เป็นฉากชุดจากชีวิตของพระแม่มารีย์มารดาของพระเยซูที่เป็นหัวเรื่องที่ใช้เขียนภาพชุดในศิลปะคริสต์ศาสนามักจะเป็นชุดที่ประกอบกับหรือเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซู จำนวนฉากก็ต่างกันไปตามแต่เนื้อที่ใช้วาดภาพ ลักษณะการเขียนก็อาจจะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมแผง หน้าต่างประดับกระจกสี หนังสือวิจิตร พรมทอแขวนผนัง งานสลักหิน งานแกะงาช้างและอื่น.

ใหม่!!: งานกระจกสีและชีวิตของพระนางพรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตของพระเยซู

ีวิตของพระคริสต์ (Life of Christ) เป็นฉากชุดจากชีวิตบนโลกของพระเยซูที่เป็นหัวเรื่องที่ใช้ในการเขียนภาพชุดในศิลปะศาสนาคริสต์ มักจะเป็นชุดเอกลักษณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระนางพรหมจารี จำนวนฉากก็ต่างกันไปตามแต่เนื้อที่ใช้วาดภาพ ลักษณะการสร้างงานก็อาจจะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมแผง หน้าต่างประดับกระจกสี เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร พรมทอแขวนผนัง งานสลักหิน งานแกะงาช้างและอื่นๆ บางฉากก็เป็นภาพเขียนเดี่ยว ๆ เช่น “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” ที่นิยมเขียนกันมาก ชุดที่นิยมเขียนกันก็ได้แก่ชุดที่เกี่ยวกับการประสูติและพระทรมานของพระเยซู ที่นำไปสู่การตรึงพระเยซูที่กางเขนและการคืนพระชนม์ แต่ภาพเขียนที่เกี่ยวกับการเทศนาก่อนที่จะถึงเหตุการณ์ในวาระสุดท้ายของพระองค์แทบจะไม่เขียนกันในยุคกลางด้วยเหตุผลหลายอย่าง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและชีวิตของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

ช่องรับแสง

ั้นระหว่างหลังคาบนและหลังคาล่างคือ “ช่องรับแสง” ที่วัดเซนต์นิโคไลที่สตราลซุนด์ (Stralsund) ช่องรับแสง (ˈklɪə(r)stɔəri; Overstorey) หรือที่แปลตรงตัวว่า “ชั้นที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง” (clear storey) เป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างที่หมายถึงชั้นบนของบาซิลิกาโรมัน หรือเหนือทางเดินกลางหรือบริเวณพิธีของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ หรือ สถาปัตยกรรมกอธิคของคริสต์ศาสนสถาน ผนังซึ่งสูงขึ้นไปจากทางเดินข้างและปรุด้วยหน้าต่าง จุดประสงค์ของการมี “ช่องรับแสง” ก็เพื่อให้แสงสว่างสามารถส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างได้.

ใหม่!!: งานกระจกสีและช่องรับแสง · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันเชสโก เดล กอสซา

ฟรานเชสโค เดล คอสสา (Francesco del Cossa) (ราว ค.ศ. 1430 - ราว ค.ศ. 1477) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีตอนต้นของตระกูลการเขียนภาพแบบเฟอร์ราราของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและฟรันเชสโก เดล กอสซา · ดูเพิ่มเติม »

พระคริสต์ทรงพระสิริ

ระคริสต์ทรงพระสิริ (Christ in Glory) หรือ พระคริสต์ผู้ยิ่งใหญ่ (Christ in Majesty Majestas Domini), เป็นภาพพระเยซูประทับบนบัลลังก์ในฐานะประมุขของโลก ในการวางองค์ประกอบของงานศิลปะจะเป็นภาพที่จะมองจากด้านหน้าเสมอ และมักจะขนาบด้วยคนหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปแล้วแต่บริบท ลักษณะ ภาพ “พระคริสต์ทรงพระสิริ” เป็นภาพที่วิวัฒนาการมาตั้งแต่ศิลปะคริสเตียนยุคแรกที่นำมาโดยตรงจากภาพจักรพรรดิโรมันบนบัลลังก์ ในศิลปะไบแซนไทน์จะมีลักษณะที่ต่างออกไปเล็กน้อยเป็นภาพครึ่งพระองค์ “พระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ” (Christ Pantocrator) และจะไม่มีสิ่งอื่นใดประกอบ และภาพ “เดอีซิส” (Deesis) ที่เป็นภาพทั้งพระองค์บนบัลลังก์ขนาบด้วยพระแม่มารีย์และนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญองค์อื่น ๆ ทางตะวันตกองค์ประกอบของภาพวิวัฒนาการมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยังคงดำรงความสำคัญจนมาถึงปลายศิลปะบารอกที่เป็นภาพที่ลอยอยู่บนฟ้.

ใหม่!!: งานกระจกสีและพระคริสต์ทรงพระสิริ · ดูเพิ่มเติม »

พระคัมภีร์คนยาก

หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อาจจะสร้างจากชิ้นส่วนของบานหน้าต่างเดิมสองบาน รายละเอียดจากหน้าต่างสองหน้าต่างจากมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่เป็นเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน แต่ตัวแบบสองตัวในภาพทางด้านซ้ายเป็นตัวเดียวกัน และเสา โต๊ะ เชิงเทียน และหนังสือ ภาพซ้ายสร้างในสมัยกลาง และภาพขวาในสมัยวิกตอเรีย พระคัมภีร์คนยาก (Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ใหม่!!: งานกระจกสีและพระคัมภีร์คนยาก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพระบิดา

วาดพระเจ้าพระบิดาโดย Julius Schnorr ค.ศ. 1860 พระเจ้าพระบิดา (God the Father) เป็นคำที่ใช้เรียกพระเจ้าในศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาห์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาเพราะเชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้สร้าง ผู้บัญญัติธรรม และผู้ปกป้อง ส่วนทางศาสนาคริสต์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาตามเหตุผลเดียวกับศาสนายูดาห์ แต่ก็เป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างพระบิดาและพระเยซูซึ่งเป็นพระบุตรของพระองค์ด้วย คำว่า พระบิดา บ่งบอกว่าพระองค์เป็นผู้ทรงสรรพานุภาพ เป็นผู้ปกป้องดูแล เป็นสัพพัญญู และทรงอยู่ทุกหนแห่ง ซึ่งเกินกว่าการที่มนุษย์ธรรมดาจะเข้าใจได้ เช่น นักบุญทอมัส อไควนัส นักปราชญ์แห่งคริสตจักรคนสำคัญเขียนสรุปไว้ว่าท่านเองก็ยังไม่เข้าใจพระบิดาเล.

ใหม่!!: งานกระจกสีและพระเจ้าพระบิดา · ดูเพิ่มเติม »

พฤกษาพักตร์

ันทวยพฤกษพักตร์ในรูปของลายใบอาแคนธัสรองรับประติมากรรมนายอาชาแห่งแบมเบิร์กภายในมหาวิหารแบมเบิร์กที่แกะสลักเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 พฤกษาพักตร์ หรือ รุกขามนุษย์ (Green Man) คือประติมากรรม, จิตรกรรม หรือรูปสัญลักษณ์อื่นๆ ของใบหน้าที่ล้อมรอบไปด้วยใบไม้ กิ่งไม้ หรือเถาไม้เลื้อย ที่งอกออกมาจากจมูก ปาก หรือส่วนอื่นๆ ของใบหน้า ไม้ที่งอกออกมาอาจจะมีดอกมีผลด้วยก็ได้ การตกแต่งด้วยพฤกษพักตร์มักจะใช้สำหรับเป็นสิ่งตกแต่งของสถาปัตยกรรม พฤกษาพักตร์มักจะพบในรูปของประติมากรรมทั้งภายนอกและภายในคริสต์ศาสนสถาน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ของคฤหัสน์ นอกจากนั้น “The Green Man” ยังเป็นชื่อที่นิยมใช้กันสำหรับสิ่งก่อสร้างสารธาณะ และปรากฏในหลายรูปหลายลักษณะเช่นบนป้ายโรงแรมเล็กๆ ที่บางครั้งอาจจะเป็นรูปเต็มตัวที่ไม่แต่จะเป็นเพียงเป็นใบหน้าเท่านั้น ลักษณะพฤกษาพักตร์มีด้วยกันหลายแบบหลายลักษณะ และพบในวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก พฤกษาพักตร์มักจะเป็นเทพารักษ์ที่เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ที่มีมาในวัฒนธรรมต่างๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปแล้วก็มักจะตีความหมายกันว่าพฤกษาพักตร์เป็นนัยยะของการเกิดใหม่ที่เป็นสัญลักษณ์ของวัฏจักรของการเจริญเติบโตเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของแต่ละปีที่มาถึง บ้างก็สันนิษฐานว่าพฤกษาพักตร์เป็นตำนานที่พัฒนาขึ้นมาต่างหากจากความเชื่ออื่นๆ ในสมัยโบราณ และวิวัฒนาการต่อมาจนแตกแยกกันออกไปในวัฒนธรรมต่างๆ ที่เห็นได้จากตัวอย่างในของพฤกษาพักตร์ในสมัยต่างๆ ของประวัติศาสตร.

ใหม่!!: งานกระจกสีและพฤกษาพักตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเว็บ

ัณฑ์ศิลปะเว็บ (Web Gallery of Art) เป็นเว็บไซต์ที่แสดงภาพงานจิตรกรรมและประติมากรรมตะวันตกสมัยบาโรก กอธิค และ เรอเนซองส์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะออนไลน์มีภาพงานศิลปะด้วยกันทั้งหมดกว่า 15,400 ภาพบางภาพมีคำอธิบายและคำวิจัยประกอบ นอกจากภาพเขียนแล้วพิพิธภัณฑ์ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับชีวประวัติของศิลปิน และ ที่จัดเป็นหัวข้อเช่น หรือ หน้าแสดงการเปรียบเทียบภาพเขียนชื่อ “จูดิธตัดหัวโฮโลเฟอร์เนส” (Giuditta che decapita Oloferne) ที่เขียนโดยคาราวัจโจและ อาร์เทมิเซีย เจ็นทิเลสชิ ผู้ใช้สามารถใช้ระบบการเรียกข้อมูลที่ต้องการได้จากฐานข้อมูล ข้อมูลอาจจะดึงได้จาก: เมื่อพบภาพที่ต้องการแล้วผู้ใช้ก็สามารถเลือกขนาดภาพที่จะชมและดนตรีประกอบได้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะออนไลน์ก่อตั้งโดย อีมิล เคร็น และแดเนียล มาร์กซ ภาพงานศิลปะที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ศิลปะเว็บเป็นภาพที่ลิขสิทธิ์หมดอายุ แต่ลิขสิทธิ์ตามกฎหมายยังครอบคลุมในการ reproduce ภาพ พิพิธภัณฑ์ให้คำจำกัดความเรื่องลิขสิทธิ์ว่า “พิพิธภัณฑ์ศิลปะเว็บจดทะเบียนลิขสิทธิ์ในฐานะที่เป็นฐานข้อมูล ภาพและเอกสารที่ผู้ใช้ดาวน์โหลดจากฐานข้อมูลนี้นำไปใช้ได้เฉพาะทางการศึกษาและทางส่วนบุคคล ห้ามใช้ในการแจกจ่ายไม่ว่าในรูปแบบใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของงานตามกฎหมาย” แต่โดยทั่วไปแล้วพิพิธภัณฑ์ศิลปะเว็บมิได้ระบุข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวกับเจ้าของงานบนหน้าที่แสดงภาพ ในสหรัฐอเมริกากฎหมายลิขสิทธิ์มิได้ครอบคลุมการ reproduce ภาพที่เป็นสมบัติของสาธารณชนแล้วตามการตัดสินของศาลในคดีระหว่าง “ห้องสมุดศิลปะบริดจ์แมน และ บริษัทคอเรล” กรณีเช่นเดียวกันนี้ในบางท้องถิ่นหรือในบางประเทศอาจจะเป็นเช่นสหรัฐอเมริกาแต่ไม่ทั้งหม.

ใหม่!!: งานกระจกสีและพิพิธภัณฑ์ศิลปะเว็บ · ดูเพิ่มเติม »

กวัตโตรเชนโต

กวัตโตรเชนโต (Quattrocento แปลว่า "400" หรือจากคำว่า "millequattrocento" ที่แปลว่า "1400") เป็นสมัยศิลปะของปลายยุคกลางโดยเฉพาะในสมัยกอทิกนานาชาติและต้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิท.

ใหม่!!: งานกระจกสีและกวัตโตรเชนโต · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)

นายช่างโบฮีเมีย ราวปี ค.ศ. 1350 แสดงให้เห็นอิทธิพลของไบเซนไทน์แบบอิตาลีในราชสำนักของจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การประสูติของพระเยซู (Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาคริสต์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันคริสต์มาสตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่างๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า “แม่พระและพระกุมาร” หรือ “พระนางพรหมจารีและพระกุมาร” แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด “การประสูติของพระเยซู” ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่นๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่นๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว รูปปั้นแบบลอยตัวของ “การประสูติของพระเยซู” มักจะทำเป็น “Creche” หรือ “Presepe” ซึ่งเรียกว่า “ฉากพระเยซูประสูติ” (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า “Tableau vivant” ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: งานกระจกสีและการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนผู้อุทิศ

“การชื่นชมของพระบุตร” ฌอง เฮย์ ผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางขวาและเป็นส่วนหนึ่งของของภาพ ภาพเหมือนผู้อุทิศ หรือ ภาพรวมผู้อุทิศ (donor portrait หรือ votive portrait) คือภาพเหมือนในจิตรกรรมหรืองานศิลปะแบบอื่นเช่นประติมากรรมที่แสดงภาพของเจ้าของภาพหรือผู้จ้างให้สร้างงานศิลปะชิ้นนั้นที่อาจจะรวมทั้งครอบครัว และญาติพี่น้องของผู้จ้าง หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวกับผู้จ้างด้วย “ภาพรวมผู้อุทิศ” (votive portrait) มักจะภาพทั้งภาพที่รวมทั้งภาพหลักและผู้อุทิศที่อยู่ในภาพ แต่ “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” (donor portrait) มักจะหมายถึงภาพเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับผู้อุทิศเท่านั้น “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” เป็นที่นิยมกันในการสร้างศิลปะคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะในงานจิตรกรรมจากยุคกลาง และยุคเรอเนสซองซ์ที่มักจะแสดงผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางด้านหน้าสองข้างของภาพ และบ่อยครั้งที่แม้แต่ในตอนปลายของยุคเรอเนสซองซ์ที่ผู้อุทิศโดยเฉพาะเมื่อแสดงทั้งครอบครัวจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเอกในภาพมากที่ขัดกับทฤษฎีการวาดทัศนมิติ เมื่อมาถึงยุคเรอเนสซองซ์ผู้อุทิศก็เริ่มมีความสำคัญขึ้นและกลายเป็นส่วนสำคัญของภาพที่อาจจะเป็นผู้เห็นเหตุการณ์หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นผู้ร่วมเหตุการณ์ไปเลยก็ได้.

ใหม่!!: งานกระจกสีและภาพเหมือนผู้อุทิศ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะผู้นำ

กษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์ซาโลมอน บนหน้าต่างงานกระจกสี ณ มหาวิหารสทราซบูร์ ภาวะผู้นำ หรือ ความเป็นผู้นำ เป็นทั้งพื้นที่การวิจัยและทักษะการปฏิบัติที่ครอบคลุมถึงความสามารถของแต่ละบุคคลหรือองค์กร เพื่อ "นำ" หรือแนะนำบุคคลอื่น, ทีม หรือทั้งองค์กร ซึ่งมีข้อโต้แย้งของมุมมองต่าง ๆ จากการเปรียบเทียบความเป็นผู้นำของตะวันออกและตะวันตก ตลอดจนวิธีการของสหรัฐ (ในตะวันตก) กับยุโรป โดยทางวิชาการของสหรัฐนิยามความเป็นผู้นำว่า "กระบวนการของอิทธิพลทางสังคม ที่บุคคลหนึ่งสามารถขอความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากผู้อื่นสู่ความสำเร็จของภารกิจทั่วไป" ส่วนความเป็นผู้นำจากมุมมองของยุโรปและไม่ใช่มุมมองด้านวิชาการหมายถึง ผู้นำที่สามารถขับเคลื่อน ไม่ใช่แค่เป้าหมายของกลุ่มเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการค้นหาพลังอำนาจส่วนบุคคลด้วย การศึกษาภาวะผู้นำเกี่ยวกับภาวะผู้นำได้สร้างทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับลักษณะต่าง ๆ, สถานการณ์ปฏิสัมพันธ์, หน้าที่, พฤติกรรม, อำนาจ, วิสัยทัศน์และค่านิยม, เสน่ห์ และสติปัญญา ท่ามกลางคนอื่น.

ใหม่!!: งานกระจกสีและภาวะผู้นำ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันตาโกรเช

้านหน้าบาซิลิกา ภายใน บาซิลิกาซานตาโครเช (ภาษาอิตาลี: Basilica di Santa Croce; ภาษาอังกฤษ: Basilica of the Holy Cross) เป็นวัดบาซิลิกาชั้นรองของนิกายโรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ที่ตั้งแต่เดิมเป็นที่ลุ่มนอกกำแพงเมืองฟลอเรนซ์ ภายในวัดเป็นที่เก็บศพคนสำคัญๆ ของอิตาลีเช่นไมเคิล แอนเจโล, กาลิเลโอ กาลิเลอี, และคนอื่นจึงเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “Pantheon of the Italian Glories” (จุดยอดของความเลิศของอิตาลี).

ใหม่!!: งานกระจกสีและมหาวิหารซันตาโกรเช · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (Basilica di San Francesco d'Assisi; Basilica of St.) ตั้งอยู่ที่เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกของคณะฟรันซิสกัน ซึ่งเป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีก่อตั้งขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชั้นบนและชั้นล่างของมหาวิหารมองจากจัตุรัสเดลเลลอจเจ (Piazza delle Logge).

ใหม่!!: งานกระจกสีและมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารแซ็ง-เรมี

มหาวิหารนักบุญเรมีแห่งแร็งส์ (Basilique Saint-Remi de Reims) เป็นอดีตแอบบีย์ ตั้งอยู่ในเมืองแร็งส์ ประเทศฝรั่งเศส มีก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: งานกระจกสีและมหาวิหารแซ็ง-เรมี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารแซ็ง-เดอนี

มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (Basilique Saint-Denis) เดิมเป็นแอบบีย์ชื่อ อารามแซ็ง-เดอนี ที่ตั้งอยู่ที่แซ็ง-เดอนีที่ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของปารีส ต่อมาถูกยกสถานะขึ้นเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลแซ็ง-เดอนีในปี ค.ศ. 1966 มหาวิหารแซ็ง-เดอนีมีความสำคัญทั้งทางสถาปัตยกรรมและทางประวัติศาสตร์ต่อประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารแซ็ง-เดอนีก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 บนที่ตั้งของที่ฝังศพของนักบุญเดนิสผู้เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศสองค์หนึ่งในสามองค์ มหาวิหารกลายเป็นสถานที่สำหรับการแสวงบุญและใช้เป็นที่บรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสเกือบทุกพระองค์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และบางพระองค์จากก่อนหน้านั้น (แต่ไม่ใช่สถานที่สำหรับพระราชพิธีราชาภิเษกที่ทำกันที่มหาวิหารแร็งส์ แต่พระราชพิธีราชาภิเษกพระราชินีมักทำกันที่นี่) มหาวิหารจึงกลายเป็นสิ่งก่อสร้างกลุ่มที่ซับซ้อน ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 อธิการซูว์เฌสร้างบางส่วนของมหาวิหารใหม่โดยใช้วิธีการก่อสร้างที่ล้ำสมัยสำหรับยุคนั้น และใช้การตกแต่งที่นำมาจากสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ การก่อสร้างครั้งนี้ถือกันว่าเป็นก่อสร้างสิ่งก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมกอทิกที่แท้จริงเป็นครั้งแรก นอกจากนั้นมหาวิหารก็ยังเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแรยอน็อง และกลายมาเป็นแบบการก่อสร้างของมหาวิหารและแอบบีย์อื่น ๆ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ต่อม.

ใหม่!!: งานกระจกสีและมหาวิหารแซ็ง-เดอนี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารเคอนิจส์แบร์ก

อาสนวิหารเคอนิจส์แบร์ก (Königsberg Cathedral) เป็นอาสนวิหารศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซียที่ตั้งอยู่ที่เมืองคาลินกราด (เดิมเคอนิจส์แบร์กในเยอรมนี) บนเกาะเพรเกิล (เพรโกลยา) ในสหพันธรัฐรัสเซีย หรือเรียกว่าคไนพ์ฮอฟในภาษาเยอรมัน.

ใหม่!!: งานกระจกสีและมหาวิหารเคอนิจส์แบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ก ชากาล

“มาร์ก ชากาล” (4 กรกฎาคม ค.ศ. 1941) โดย คาร์ล ฟาน เวคเทิน (Carl Van Vechten) มาร์ก ชากาล (Marc Chagall; מאַרק שאַגאַל; Марк Захарович Шага́л, Mark Zakharovich Shagal; Мойша Захаравіч Шагалаў, Mojša Zaharavič Šagałaŭ; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Moishe Shagal; 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1887 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1985) เป็นจิตรกรชาวเบลารุส-ฝรั่งเศส (เดิมเป็นชาวยิว-เบลารุส) คนสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชากาลเกิดที่เบลารุสซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย เขาเป็นศิลปินผู้มีส่วนในขบวนการศิลปะสมัยใหม่หลังภายหลังสมัยศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ แต่งานของชากาลจะจัดเข้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ยาก เป็นงานที่เต็มไปด้วยการใช้สัญลักษณ์ นอกจากงานจิตรกรรมแล้วชากาลยังมีงานกระจกสีและงานโมเสก.

ใหม่!!: งานกระจกสีและมาร์ก ชากาล · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

วัดขนแกะ

วัดโฮลีทรินิตีที่ลองเมลฟอร์ดในซัฟโฟล์คเป็นตัวอย่างที่ดีของ “วัดขนแกะ” วัดขนแกะ (Wool church) คือวัดในอังกฤษที่สร้างจากทุนทรัพย์ที่ได้มาจากกิจการการค้าขายขนแกะอันรุ่งเรืองในยุคกลาง พ่อค้าที่ร่ำรวยจากกิจการที่ว่าก็แสดงออกโดยการสร้างคริสต์ศาสนสถานที่หรูหราที่แสดงถึงความมั่งคั่งที่ได้รับ วัดขนแกะส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณค็อทสวอลด์ และ อีสต์แองเกลีย วัดโฮลีทรินิตีที่ลองเมลฟอร์ดในซัฟโฟล์คถือกันว่าเป็นตัวอย่างของ “วัดขนแกะ” ที่สร้างอย่างงดงามที่สุดวัดหนึ่งในอังกฤษ ที่ส่วนใหญ่สร้างระหว่างปี..

ใหม่!!: งานกระจกสีและวัดขนแกะ · ดูเพิ่มเติม »

วัดซางตาครู้ส

วัดซางตาครู้ส, โบสถ์ซางตาครู้ส หรือ วัดกุฎีจีน (Santa Cruz Church) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยกุฎีจีน แยกซอยอรุณอมรินทร์ 4 (ถนนเทศบาล สาย 1) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร อาคารวัดแห่งนี้เป็นอาคารหลังที่สามซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนอาคารวัดหลังเดิมที่คับแคบและชำรุดทรุดโทรมมาก โดยมีคุณพ่อกูเลียลโม กิ๊น ดา ครู้ส เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2459 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2539 โดยมีคุณพ่อศวง ศุระศรางค์ เป็นผู้ริเริ่มเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป ปัจจุบันวัดหลังนี้มีอายุรวมแล้ว ปี อาคารวัดซางตาครู้สเป็นอาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกเช่นเดียวกับอาสนวิหารอัสสัมชัญ มีจุดเด่นที่ยอดโดมแบบอิตาลีซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับโดมแห่งมหาวิหารฟลอเรนซ์หรือโดมของพระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในเป็นอาคารชั้นเดียว มีจุดเด่นอีกประการคือ การใช้เสาลอยรับน้ำหนักของฝ้าเพดานแบบโค้ง รวมถึงกระจกสีที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา วัดซางตาครู้สเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีนเก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยบริเวณที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้กับพระราชวังเดิม สมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระราชทานที่ดินให้แก่ชาวโปรตุเกสซึ่งร่วมทำการศึกต่อต้านพม่าจนได้รับชัยชนะ นักบวชชาวโปรตุเกสจึงได้เริ่มก่อสร้างอาคารวัดหลังแรกที่สร้างด้วยไม้ทั้งหมดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313 ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในชุมชนในปี พ.ศ. 2376 ทำให้อาคารวัดพังเสียหายทั้งหมด จึงต้องก่อสร้างใหม่ด้วยอิฐถือปูน และได้ก่อสร้างใหม่อีกครั้งในปี..

ใหม่!!: งานกระจกสีและวัดซางตาครู้ส · ดูเพิ่มเติม »

วังเชอนงโซ

วังเชอนงโซ (Château de Chenonceau) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเชอนงโซ (Chenonceaux) ในจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส วังเดิมสร้างบนโรงป่นแป้งเก่าบนฝั่งแม่น้ำแชร์ และสร้างมาก่อนหน้าที่จะมีหลักฐานทางเอกสารเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 วังปัจจุบันออกแบบโดยฟีลีแบร์ เดอ ลอร์ม (Philibert De l'Orme) สถาปนิกเรอเนซองซ.

ใหม่!!: งานกระจกสีและวังเชอนงโซ · ดูเพิ่มเติม »

วันอาทิตย์ใบลาน

“พระเยซูเข้ากรุงเยรูซาเลม” ภาพวาดบนการ์ดไบเบิลสมัยต้นศตวรรษที่ 20 วันอาทิตย์ใบลาน (คาทอลิก), อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ หรือ วันอาทิตย์ทางตาล (โปรเตสแตนต์), กรมการศาสนา หรือ วันอาทิตย์ใบปาล์ม (อีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์) (Palm Sunday) เป็นวันสมโภชสำคัญวันหนึ่งในศาสนาคริสต์ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ก่อนอีสเตอร์ เป็นวันฉลองเหตุการณ์ที่ระบุบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ ในโอกาสที่พระเยซูเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเลมก่อนรับพระทรมาน โบสถ์คาทอลิกจะแจกใบลานที่ผูกกับกางเขนในโอกาสนี้แต่ในบางท้องถิ่นที่ไม่มีใบปาล์มก็จะแจกใบไม้อย่างอื่นที่มีในท้องถิ่น ถ้าเช่นนั้นก็จะเรียกตามใบไม้ที่แจกเช่น “วันอาทิตย์ช่อยู" สำหรับที่ที่แจกช่อยูเป็นต้น หรือเรียกอย่างกว้างๆ ว่า “วันอาทิตย์กิ่งไม้” (Branch Sunday).

ใหม่!!: งานกระจกสีและวันอาทิตย์ใบลาน · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม มอร์ริส

วิลเลียม มอร์ริส (William Morris) (24 มีนาคม ค.ศ. 1834 - 3 ตุลาคม ค.ศ. 1896) เป็นศิลปิน นักเขียน และนักสังคมนิยมชาวอังกฤษ เป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานของ British Arts and Crafts movement และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสหราชอาณาจักร รวมถึงเป็นกวีและนักประพันธ์นวนิยายด้วย เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ออกแบบลวดลายบนผนัง มอร์ริสเคยเป็นนักศึกษาที่วิทยาลัย Exeter มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานเป็นสถาปนิก ต่อมาจึงพบว่าตัวเองชอบศิลปะการวาดมากกว่า มอร์ริสได้ตั้งบริษัทร่วมกับเพื่อน และสร้างงานศิลปะเช่น ภาพวาดบนกระจกสี.

ใหม่!!: งานกระจกสีและวิลเลียม มอร์ริส · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียมแห่งมาล์มสบรี

วิลเลียมแห่งมาล์มสบรี (William of Malmesbury; ราวระหว่าง ค.ศ. 1080/ค.ศ. 1095 - ค.ศ. 1143) วิลเลียมแห่งมาล์มสบรีเป็นนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษจากวิลท์เชอร์ของคริสต์ศตวรรษที่ 12 บิดาของวิลเลียมเป็นชาวนอร์มันส่วนมารดาเป็นชาวอังกฤษ วิลเลียมใช้ชีวิตส่วนใหญ่เป็นนักบวชอยู่ที่แอบบีมาล์มสบรีในวิลท์เชอร.

ใหม่!!: งานกระจกสีและวิลเลียมแห่งมาล์มสบรี · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะกอทิก

ลปะกอทิก (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาในการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอทิกนานาชาติ ศิลปะกอทิกนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร ศิลปะกอธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส) มหาวิหารนัวยง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารล็อง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารอามีแย็ง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์ (อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ) เป็นต้น มุขด้านตะวันออกของวิหาร Chartres Cathedral (ราว ค.ศ. 1145) รูปปั้นประกอบสถาปัตยกรรมนี้เป็นประติมากรรมศิลปะกอทิกตอนต้น ซึ่งแสดงวิวัฒนาการในรูปแบบเป็นแบบอย่างแก่ประติมากรรุ่นต่อมา ศิลปะกอทิกเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า"กอธิค" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนปลายของอิตาลี เรียกรูปแบบของศิลปะ ที่เกิดในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นผลงานของพวกกอท แฟรงก์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซัน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ ประการสำคัญ เป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมันและถึงพร้อมด้านศิลปวิทยาการ ดังนั้นถ้อยสำเนียงหรือนัยยะ ที่ใช้เรียกว่า "ศิลปะกอทิก" จึงเป็นการเรียกขานที่บ่งบอกไปในทางเย้ยหยันมากกว่าการชื่นชม เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าศิลปะแบบกรีก-โรมัน ที่มีกฎเกณท์ชัดเจน ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้รื้อฟื้นกลับมาปรับใช้ในยุคสมัยของตน จนเรียกชื่อยุคว่าเรอเนซองค์ หรือฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึงย้อนกลับไปรื้อฟื้นศิลปวิทยาการแบบกรีก-โรมันขึ้นมาอีกนั้น จึงยิ่งส่งผลให้มองศิลปกรรมอันเกิดจากฝีมือของผู้ทำลายอาณาจักรโรมันยิ่งดูไร้คุณค่าไร้รสนิยมยิ่งขึ้น จนนักวิจารณ์บางคนในยุคเรอเนซองส์ใช้คำกล่าวหาศิลปะกอธิคค่อนข้างรุนแรงว่าเป็นศิลปะที่ "ไร้รสนิยม" และ"วิตถาร" อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวยุโรปทั่วไปนอกจากอิตาลีแล้ว มักจะเรียกศิลปกรรมกอธิคอย่างยอมรับมากกว่าจะดูแคลน โดยพวกเขาจะเรียกศิลปะกลุ่มนี้เป็นภาษาละตินว่า Opus Modernum หรืองานสมัยใหม่ ศิลปกรรมกอทิกเป็นศิลปะที่มีคุณค่าในตนเองอีกลักษณะรูปแบบหนึ่งของโลก ส่งผลต่อกระแสการหวนกลับไปสู่การชื่นชมและสร้างงานศิลปกรรมกอธิคอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 ทั้งในยุโรปและอเมริกา จนกลายเป็นยุคที่เรียกว่า Gothic Revival.

ใหม่!!: งานกระจกสีและศิลปะกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสมัยกลาง

ประติมากรรมโรมาเนสก์ ศิลปะยุคกลาง (Medieval art) “ศิลปะยุคกลาง” ในโลกตะวันตกครอบคลุมเนื้อหาทั้งทางเวลาและภูมิภาคที่ยืนยาวกว่า 1000 ปีของประวัติศาสตร์ศิลปะของยุโรป, ตะวันออกกลาง และ แอฟริกาเหนือ บริบทของศิลปะยุคกลางรวมขบวนการทางศิลปะและสมัยศิลปะที่สำคัญๆ ทั้งระดับชาติ, ระดับท้องถิ่น, ประเภทงาน, การฟื้นฟู, งานศิลปะ และ ศิลปินเอง นักประวัติศาสตร์ศิลป์พยายามที่จะให้ความหมายและนิยามศิลปะยุคกลางออกเป็นสมัยและ ลักษณะแต่ก็ประสบกับปัญหา โดยทั่วไปแล้วก็จะรวมคริสเตียนยุคแรก, ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน, ศิลปะไบแซนไทน์, ศิลปะเกาะ, ยุคก่อนโรมาเนสก์ and ศิลปะโรมาเนสก์ และศิลปะกอธิค และยังรวมไปถึงสมัยอื่นๆ อีกหลายสมัยภายในกลุ่มลักษณะนี้ นอกจากการแบ่งแยกลักษณะไปตามภูมิภาคแล้วลักษณะของสังคมโดยทั่วไปในช่วงนี้เป็นสังคมที่อยู่ในระหว่างการสร้างตนเองให้เป็นชาติเป็นวัฒนธรรม และจะมีลักษณะศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่นศิลปะแองโกล-แซ็กซอน หรือ ศิลปะนอร์ส งานศิลปะยุคกลางมีหลายรูปแบบแต่สิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็นก็ได้แก่งานประติมากรรม, หนังสือวิจิตร, งานกระจกสี, งานโลหะ และ งานโมเสกซึ่งเป็นงานที่มีความเป็นถาวรภาพมากกว่าจิตรกรรมฝาผนัง งานไม้ หรือ ผ้าและเครื่องแต่งกาย, รวมทั้งพรมแขวนผนัง ศิลปะยุคกลางในยุโรปวิวัฒนาการมาจากต้นรากของธรรมเนียมนิยมทางศิลปะของจักรวรรดิโรมันรูปสัญลักษณ์คริสเตียนของสมัยคริสเตียนตอนต้น ลักษณะดังกล่าวมาผสมผสานกับวัฒนธรรมทางศิลปะของ “อนารยชน” จากทางตอนเหนือของยุโรปออกมาเป็นศิลปะอันมีคุณค่าที่เป็นงานศิลปะที่วางรากฐานของศิลปะของยุโรปต่อมา และอันที่จริงแล้วศิลปะยุคกลางก็คือประวัติศาสตร์ของปฏิกิริยาระหว่างองค์ประกอบของศิลปะคลาสสิก, คริสเตียนตอนต้น และอนารยชน นอกไปจากลักษณะที่ออกจะเป็นทางการของศิลปะคลาสสิกแล้ว ก็เป็นธรรมเนียมนิยมในการสร้างงานที่แสดงสัจนิยมของสิ่งที่สร้างที่จะเห็นได้จากงานศิลปะไบแซนไทน์ตลอดยุคนี้ที่ยังคงมีเหลืออยู่ให้เห็น ขณะเดียวกันกับที่ทางตะวันตกดูจะผสานหรือบางครั้งก็จะเป็นการแข่งขันกับการแสดงออกที่เกิดขึ้นในศิลปะตะวันตก และ องค์ประกอบของการตกแต่งอันมีชีวิตจิตใจของทางตอนเหนือของยุโรป ศิลปะยุคกลางมาสิ้นสุดลงในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่เป็นสมัยของการหวนกลับมาฟื้นฟูความเชี่ยวชาญและคุณค่าของศิลปะคลาสสิก จากนั้นศิลปะยุคกลางก็หมดความสำคัญลงและได้รับการดูแคลนต่อมาอีกหลายร้อยปี เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะยุคกลางก็ได้รับการฟื้นฟูกันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และเห็นกันว่าเป็นสมัยศิลปะที่มีความรุ่งเรืองเป็นอันมากและเป็นพื้นฐานของการวิวัฒนาการของศิลปะตะวันตกต่อม.

ใหม่!!: งานกระจกสีและศิลปะสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: งานกระจกสีและศิลปะคริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะตะวันตก

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: งานกระจกสีและศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะและสถาปัตยกรรมเมรอแว็งเฌียง

มทรัพย์กูร์ดอง ปัวติเยร์ ศิลปะและสถาปัตยกรรมเมรอแว็งเฌียง (Merovingian art and architecture) คือศิลปะและสถาปัตยกรรมของราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงของแฟรงก์ที่รุ่งเรืองระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในบริเวณที่ปัจจุบันคือฝรั่งเศสและเยอรมนี การเรืองอำนาจของราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงในบริเวณกอลในคริสต์ศตวรรษที่ 5 นำความเปลี่ยนแปลงอันสำคัญมาสู่งานศิลปะ แต่ประติมากรรมถอยหลังไปเป็นเพียงงานแกะตกแต่งโลงหิน, แท่นบูชา และเฟอร์นิเจอร์ทางศาสนาอย่างง่ายๆ แต่งานทองและงานศิลปะสาขาใหม่--การคัดเขียนหนังสือวิจิตร--ผสานงานวาดรูปสัตว์แบบ “อนารยชน” เข้ามาด้วย พร้อมด้วยลวดลายแบบตอนปลายสมัยโบราณ และอิทธิพลที่มาจากแดนไกลเช่นจากซีเรียและไอร์แลนด์ผสานเข้ามาในศิลปะเมรอแว็งเฌียง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและศิลปะและสถาปัตยกรรมเมรอแว็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ

ท้องพระโรงเวสต์มินสเตอร์ที่เป็นเพดานแบบ “hammerbeam roof” ภาพจากคริสต์ศตวรรษที่ 18 สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ (English Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองขึ้นในอังกฤษระหว่างราวปี ค.ศ. 1180 ถึงราวปี ค.ศ. 1520 ลักษณะของสถาปัตยกรรมกอทิกของอังกฤษก็เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมกอทิกของส่วนอื่น ๆ ในยุโรป ที่บ่งลักษณะได้จากการใช้ซุ้มโค้งแหลม, เพดานโค้งแหลม, ค้ำยัน, หน้าต่างกว้างและสูง และหอหรือหลังคาที่เป็นยอดแหลม (spire) สถาปัตยกรรมกอทิกเข้ามาในอังกฤษจากฝรั่งเศส เมื่อองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีลักษณะที่เรียกว่า “กอทิก” ได้รับการสร้างรวมกันในวัดเดียวที่บาซิลิกาแซงต์เดอนีส์นอกกรุงปารีสเป็นครั้งแรกโดยแอบบ็อตซูแกร์ ที่ได้รับการสถาปนาในปี..

ใหม่!!: งานกระจกสีและสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์ ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1040 ถึงปี ค.ศ. 1540 กลุ่มสิ่งก่อสร้างยี่สิบห้าปีหลังที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ของการก่อสร้างที่เป็นของอังกฤษแท้ แม้ว่าสิ่งก่อสร้างจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดต่างก็มีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงจุดประสงค์เดียว ในการเป็นมหาวิหารอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารมุขมณฑลและเป็นที่ตั้งของคาเทดราJohn Harvey, English Cathedrals แม้ว่าลักษณะของสิ่งก่อสร้างแต่ละสิ่งจะเป็นลักษณะอังกฤษแต่ก็เป็นลักษณะที่ต่าง ๆ กันออกไปทั้งความแตกต่างจากกันและกัน และความแตกต่างภายในมหาวิหารเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากมหาวิหารสมัยกลางอื่น ๆ เช่นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่มหาวิหารและแอบบีย์ใหญ่ ๆ เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับกลุ่มชนเดียวกัน และการสืบประวัติของลักษณะสถาปัตยกรรมก็สามารถทำได้โดยศึกษาจากสิ่งก่อสร้างหนึ่งไปยังสิ่งก่อสร้างถัดไปภายในกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นของอารามเดียวกันAlec Clifton-Taylor, ‘’The Cathedrals of England’’ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของมหาวิหารอังกฤษก็คือประวัติของสถาปัตยกรรมสมัยกลางทั้งสมัยสามารถที่จะบรรยายได้จากสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียว ที่มักจะประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมเด่น ๆ ของแต่ละยุคโดยไม่มีการพยายามแต่อย่างใดในการพยายามผสานลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละสมัยที่สร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้น ฉะนั้นลำดับเหตุการณ์ของการก่อสร้างจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งในมหาวิหารเดียวกันจึงอาจจะย้อนกลับไปกลับมาภายในบริเวณต่างๆ ของสิ่งก่อสร้าง จะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่มหาวิหารซอลสบรีที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมตระกูลเดียวที่กลมกลืนกันไปทั้งตัวสิ่งก่อสร้าง เพราะเป็นการสร้างรวดเดียวเสร็จBanister Fletcher, ‘’History of Architecture on the Comparative Method.’’.

ใหม่!!: งานกระจกสีและสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: งานกระจกสีและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี

หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (ราว ค.ศ. 1908) หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany.) (18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848 - 17 มกราคม ค.ศ. 1933) เป็นศิลปินผู้ออกแบบและสร้างงานกระจกสีผู้มีความสำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีบทบาทในขบวนการอาร์ตนูโวและสุนทรียนิยม (Aestheticism) ทิฟฟานีมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ออกแบบที่มีชื่อเสียงที่เรียกตนเองว่า “Associated Artists” ซึ่งในจำนวนสมาชิกก็มี ล็อกวูด เดอฟอเรสท์, แคนเดส วีลเลอร์ และแซมมูเอล โคลแมน ทิฟฟานีออกแบบหน้าต่างประดับกระจกสี, โคมตะเกียง, แก้วโมเสก, แก้วเป่า, เซรามิค, เครื่องเพชรพลอย, เครื่องเคลือบ และงานโลห.

ใหม่!!: งานกระจกสีและหลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี · ดูเพิ่มเติม »

หัตถกรรม

หัตถกรรม หัตถกรรม (Handicraft) คือ งานช่างที่ทำด้วยมือหรืออุปกรณ์ง่าย ๆ อาศัยทักษะและเน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก โดยทั่วไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมและศาสนา สามารถนำมากับไข่ตุ๋ได้อร่อยมากในชีวิตประจำวันได้ ผลิตขี้ภัณฑ์ที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก หรือผลิตด้วยเครื่องจักร ไม่เรียกว่าหัตถกรรม.

ใหม่!!: งานกระจกสีและหัตถกรรม · ดูเพิ่มเติม »

หน้าต่างกุหลาบ

“หน้าต่างกุหลาบ” ในมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส หน้าต่างกุหลาบ (rose window) โดยทั่วไปหมายถึงหน้าต่างทรงกลมซึ่งมักจะใช้ในการสร้างคริสต์ศาสนสถานโดยเฉพาะที่เป็นสถาปัตยกรรมกอทิก คำว่า “rose window” เริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ พจนานุกรมอ๊อกซฟอร์ดระบุว่า rose ในที่นี้หมายถึง ดอกกุหลาบ คำว่า “หน้าต่างกุหลาบ” มักจะหมายถึงหน้าต่างที่แบ่งเป็นซี่ ๆ ด้วยหิน กระจายออกไปจากเพลาศูนย์กลาง คำว่า “หน้าต่างกลม” มักจะใช้เฉพาะหน้าต่างกลมที่เป็นแบบที่ซับซ้อนซึ่งดูคล้ายกลีบกุหลาบหรือกลีบดาวเรืองซ้อน หน้าต่างกลมที่ไม่มีซี่ที่นิยมทำกันในโบสถ์ในประเทศอิตาลีเรียกว่า “หน้าต่างตา” (Ocular window หรือ oculus) “หน้าต่างกลม” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกซึ่งจะเห็นได้จากในมหาวิหารทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส แต่แท้ที่จริงแล้วการสร้างหน้าต่างกลมเริ่มตั้งแต่ยุคกลาง การสร้างหน้าต่างกลมหันกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: งานกระจกสีและหน้าต่างกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารบลัว

อาสนวิหารบลัว (Cathédrale de Blois) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญหลุยส์แห่งบลัว (Cathédrale Saint-Louis de Blois) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลบลัว ตั้งอยู่ในเขตเมืองบลัว จังหวัดลัวเรแชร์ ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญหลุยส์ อาสนวิหารแรนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารบลัว · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารบูร์ฌ

อาสนวิหารบูร์ฌ (Cathédrale de Bourges) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งบูร์ฌ (Cathédrale Saint-Étienne de Bourges) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองบูร์ฌในประเทศฝรั่งเศส และเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลบูร์ฌ โดยอุทิศแด่นักบุญสเทเฟน มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างด้วยความยิ่งใหญ่และกลมกลืนกันทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนหน้าบัน รูปปั้นประดับโดยรอบ และงานกระจกสี อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกละเลยมาเป็นระยะเวลายาวนาน อย่างไรก็ตาม ความสำคัญทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารแห่งนี้ก็โดดเด่นไม่แพ้กับอาสนวิหารชั้นนำที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ในประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารบูร์ฌ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล

อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล (Cathedral of the Immaculate Conception) เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรี ตั้งอยู่บริเวณริมคลองจันทบุรี ตรงข้ามชุมชนเก่าแก่จันทบูร ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี วิหารปัจจุบันนี้เป็นหลังที่ 5 ซึ่งบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ ชาวฝรั่งเศส ได้ทำพิธีเสกขึ้นในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2452และก่อสร้างขึ้นโดยคุณพ่อเปรีกาล เดิมวิหารติดยอดแหลมบริเวณหอระฆังทั้ง 2 หอ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2483, ผู้จัดการ.สืบค้นเมื่อ 05/06/2559 ทางรัฐบาลได้มีคำสั่งให้ทำการรื้อออกด้วยเหตุผลว่าจะเป็นเป้าทิ้งระเบิดจากเครื่องบินรบ, amazing Thailand.สืบค้นเมื่อ 05/06/2559 จนภายหลังสงครามยุติก็ได้นำมาติดตั้งอีกครั้งในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552 วิหารแห่งนี้มีอายุรวมแล้วกว่า ปี อาสนวิหารนับเป็นวิหารที่อยู่คู่ชุมชนชาวจันทบูรมาช้านาน นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 วิหารแห่งแรกได้ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มชาวญวน 130 คน ที่หนีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในประเทศเวียดนาม เข้ามาตั้งรกรากในปี พ.ศ. 2254 โดยมีบาทหลวงเฮิ้ต โตแลนติโน เป็นผู้ดูแลกลุ่มชาวญวนเหล่านี้ และได้ทำการก่อสร้างวิหารหลังแรกขึ้นในระหว่างปี..

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารกลอสเตอร์

วิวจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาสนวิหารกลอสเตอร์เมื่อปี ค.ศ. 1828 อาสนวิหารกลอสเตอร์ (Gloucester Cathedral) เป็นอาสนวิหารที่ตั้งอยู่ตอนเหนือของเมืองกลอสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แต่เดิมเป็นแอบบีย์ที่อุทิศให้นักบุญเปโตร เมื่อราวปี..

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารกลอสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารกาออร์

อาสนวิหารกาออร์ (Cathédrale de Cahors) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งกาออร์ (Cathédrale Saint-Étienne de Cahors) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลกาออร์ ตั้งอยู่ที่เมืองกาออร์ จังหวัดล็อต แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์กับสถาปัตยกรรมกอทิกได้อย่างดียิ่ง อาสนวิหารแห่งนี้ยังเป็นสถานที่บรรจุเรลิกสำคัญของพระเยซู ซึ่งเรียกว่า "Sainte Coiffe" ซึ่งเป็นหมวกผ้าคลุมศีรษะเพื่อใช้แต่งพระศพพระเยซูเมื่อตอนสิ้นพระชนม์ ซึ่งเรลิกชิ้นนี้ถูกนำกลับมาจากแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ โดยเฌโร เดอ การ์ดายัก อาสนวิหารแห่งกาออร์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862 รวมทั้งยังอยู่ในมรดกโลกโดยยูเนสโก โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางซานเตียโกเดกอมโปสเตลาในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารกาออร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารยอร์ก

อาสนวิหารยอร์ก (York Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า "อาสนวิหารและคริสตจักรมหานครแห่งนักบุญเปโตรในกรุงยอร์ก" (The Cathedral and Metropolitical Church of St Peter in York) เป็นคริสต์ศาสนสถานประเภทอาสนวิหารที่สร้างเป็นแบบกอธิคที่ใหญ่ที่เป็นที่สองรองจากอาสนวิหารโคโลญในประเทศเยอรมนี ทางตอนเหนือของทวีปยุโรป อาสนวิหารยอร์กตั้งอยู่ที่เมืองยอร์กในยอร์กเชอร์ ทางตอนเหนือของ สหราชอาณาจักร เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของของอาร์ชบิชอปแห่งยอร์กซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในคริสตจักรแห่งอังกฤษรองจากอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี อาสนวิหารยอร์กถือกันว่าเป็น “high church” ของนิกายแองโกล-คาทอลิก (Anglo-Catholicism) ของคริสตจักรแองกลิคัน อาสนวิหารมีทางเดินกลางที่สร้างแบบกอธิควิจิตร (Decorated Gothic) และหอประชุมนักบวช บริเวณร้องเพลงสวดและทางด้านหลังเป็นแบบกอธิคแบบ กอธิคสูง (Perpendicular Gothic) ทางด้านเหนือของแขนกางเขนเป็นแบบกอธิคอังกฤษตอนต้น ทางเดินกลางมีหน้าต่างเหนือบานประตูที่สร้างเมื่อ..

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารลียง

อาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญสเทเฟนแห่งลียง (La Primatiale Saint-Jean-Baptiste-et-Saint-Étienne) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า อาสนวิหารนักบุญยอห์น (Cathédrale Saint-Jean) และ อาสนวิหารลียง (Cathédrale de Lyon) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกที่อยู่ในระดับสูงกว่าอาสนวิหารทั่วไปหรือที่เรียกว่า primatial cathedral เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลลียง โดยตามตำแหน่งแล้ว อัครมุขนายกแห่งลียงยังรั้งตำแหน่งผู้นำแห่งชาวกอลทั้งปวง (Primat des Gaules) อีกด้วย อาสนวิหารตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของเมืองลียง จังหวัดโรน แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่สองอัครทูตสำคัญ คือนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญสเทเฟน โดยแต่แรกอาสนวิหารนี้ตั้งใจสร้างเพื่ออุทิศให้แก่นักบุญสเทเฟน และให้เกียรติแก่ผู้ให้ศีลล้างบาปแก่พระองค์ด้วย นั่นคือนักบุญยอห์น จึงเป็นที่มาของชื่อทั้งสองของอาสนวิหารแห่งนี้ อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารลียง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารล็อง

อาสนวิหารล็อง (Cathédrale de Laon) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งล็อง (Cathédrale Notre-Dame de Laon) สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำแพริชในนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารของอดีตมุขมณฑลล็องซึ่งในปัจจุบันอยู่ในการปกครองของมุขนายกประจำมุขมณฑลซัวซง อันเป็นผลจากการควบรวมตามความตกลง ค.ศ. 1801 อาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองล็อง จังหวัดแอน แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในสถานที่แห่งแรกในแบบสถาปัตยกรรมกอทิกในประเทศฝรั่งเศส โดยสร้างหลังจากอาสนวิหารแซ็ง-เดอนีและอาสนวิหารนัวยง และยังสร้างก่อนอาสนวิหารแม่พระแห่งปารีสอีกด้วย อาสนวิหารล็องได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารล็อง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารวาน

อาสนวิหารวาน (Cathédrale de Vannes) หรือเรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งวาน (Cathédrale Saint-Pierre de Vannes) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลวาน และยังมีฐานะเป็นมหาวิหารด้วย ตั้งอยู่ที่เมืองวาน จังหวัดมอร์บีอ็อง แคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร อาสนวิหารวานสร้างในแบบสถาปัตยกรรมกอทิก โดยตั้งอยู่บนสถานที่ของอาสนวิหารเดิมซึ่งเป็นแบบโรมาเนสก์ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 การก่อสร้างกินเวลายาวนานถึง 500 ปี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และถ้ายังนับรวมกับอายุของหอระฆังเก่าแบบโรมาเนสก์แล้วจะรวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้นถึงกว่า 700 ปีด้วยกัน อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1903.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารวาน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารวินเชสเตอร์

อาสนวิหารวินเชสเตอร์ (Winchester Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองวินเชสเตอร์ เทศมณฑลแฮมป์เชอร์ สหราชอาณาจักร ตัวอาสนวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารวินเชสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารออร์เลอ็อง

อาสนวิหารออร์เลอ็อง (Cathédrale d'Orléans) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารกางเขนศักดิ์สิทธิ์แห่งออร์เลอ็อง (Cathédrale Sainte-Croix d'Orléans) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งออร์เลอ็อง ตั้งอยู่ที่เมืองออร์เลอ็องในประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอทิก อาสนวิหารเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเพราะความเกี่ยวพันกับนักบุญโยนออฟอาร์คผู้เป็นวีรสตรีของฝรั่งเศส โยนออฟอาร์คเข้าร่วมพิธีมิสซาที่อาสนวิหารเมื่อค่ำวันที่ 2 พฤษภาคม..

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอัสสัมชัญ

อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ หรือโบสถ์อัสสัมชัญ (Assumption Cathedral) เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ และ 3 โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ตั้งอยู่ที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร วิหารสร้างขึ้นครั้งแรกในรูปแบบทรงไทยโดยบาทหลวงปาสกัล ซึ่งเป็นชาวไทย-โปรตุเกส โบสถ์หลังปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2452 โดยคุณพ่อกอลมเบต์ เจ้าอาวาสวัดชาวฝรั่งเศสในขณะนั้น เพื่อรองรับการขยายตัวของคริสต์ศาสนิกชนที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยมีสถาปนิกชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง โดยมีวัสดุก่อสร้างเช่นหินอ่อนและกระจกสี ซึ่งสั่งมาจากประเทศฝรั่งเศส สิงคโปร์และอิตาลี วิหารได้รับการออกแบบในรูปของงานสถาปัตยกรรมเรเนซองส์ มีความสูงของหอระฆังตั้งแต่ยอดหอคอยจดพื้น 32 เมตรด้วยกัน ส่วนด้านในผนังและเพดานก็ตกแต่งด้วยจิตรกรรมแบบเฟรสโกและประติมากรรมปูนปั้นที่แสดงถึงเรื่องราวความเชื่อของทางศาสนาคริสต์ ปัจจุบันวิหารมีอายุเก่าแก่อายุกว่า ปี เป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและยังได้การยกย่องให้เป็นหนึ่งในอาสหวิหารที่สวยที่สุดในไทยอีกด้ว.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารอัสสัมชัญ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอ็อช

อาสนวิหารอ็อช (Cathédrale d'Auch) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งอ็อช (Cathédrale Sainte-Marie d'Auch) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลอ็อช ตั้งอยู่ที่เมืองอ็อช จังหวัดแฌร์ แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี อาสนวิหารแห่งนี้ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ถึง 3 ด้าน ด้วยความยาวถึง 102 เมตร และกว้าง 35 เมตร เริ่มการก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1489 โดยการสนับสนุนของฟร็องซัว เดอ ซาวัว โดยสร้างบนซากปรักหักพังของอาสนวิหารโรมาเนสก์เก่าซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอาสนวิหารนักบุญอ็อสแต็งด์ และมีการเสกขึ้นเป็นอาสนวิหารเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1548 ในขณะที่งานก่อสร้างทั้งหมดยังไม่เสร็จสิ้น จนกระทั่งอีกราวสองร้อยกว่าปีต่อมา ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบกอธิกวิจิตร (ฟล็องบัวย็อง) ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ทั้งหมดสร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยหน้าบันหลัก และมุขทางเข้าตกแต่งด้วยเสาแบบคอรินเทียน ภายในประกอบด้วยชาเปลกว่า 21 หลัง งานตกแต่งภายในมีความโดดเด่นด้วยงานกระจกสีถึง 18 ชิ้น โดยศิลปินอาร์โน เดอ มอล บริเวณร้องเพลงสวดได้รับการประดับประดาด้วยงานไม้ถึง 115 ชิ้น ซึ่งไม่ทราบผู้ออกแบบ ซึ่งต่อเป็นฉากในพระคัมภีร์ไบเบิลซึ่งเล่าเรื่องต่อมาจากงานกระจกสีโดยรอบ อาสนวิหารอ็อชได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906 รวมทั้งยังอยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางซานเตียโกเดกอมโปสเตลาในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารอ็อช · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารตูล

อาสนวิหารตูล (Cathédrale de Toul) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูล (Cathédrale Saint-Étienne de Toul) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน (ปฐมมรณสักขี) ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของตูล จังหวัดเมอร์เตมอแซล ในแคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องซี-ตูลร่วมกับอาสนวิหารแม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์แห่งน็องซี อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างของอาคารกอทิกที่สวยงามและสมบูรณ์ โดยเฉพาะหน้าบันทางเข้าทิศตะวันตก อีกทั้งยังเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกแบบกอทิกแบบฟล็องบัวย็องซึ่งรวมถึงระเบียงคดแบบกอทิก ซึ่งถือว่าเป็นระเบียงคดแห่งที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังมีชาเปลแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาอีก 2 แห่งด้วย อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840 (รายชื่อครั้งที่ 1).

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารตูล · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารตูลูซ

อาสนวิหารตูลูซ (Cathédrale de Toulouse) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูลูซ (Cathédrale Saint-Étienne de Toulouse) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลตูลูซ ตั้งอยู่ที่กร็อง-รง (Grand-Rond) ในเขตเมืองตูลูซ จังหวัดโอต-การอน ในแคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน ปีที่ก่อสร้างนั้นยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน จากหลักฐานพบการกล่าวถึงโบสถ์แห่งหนึ่งในที่ตั้งเดียวกันในปี..

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารตูลูซ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารปัวตีเย

อาสนวิหารปัวตีเย (Cathédrale de Poitiers) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งปัวตีเย (Cathédrale Saint-Pierre de Poitiers) เป็นทั้งอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกและไมเนอร์บาซิลิกา (minor basilica) ในสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 10 (ตั้งแต่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1912) เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลปัวตีเย ตั้งอยู่ที่เมืองปัวตีเย จังหวัดเวียน แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้เป็นที่น่ารู้จักน้อยกว่าโบสถ์แม่พระองค์ใหญ่แห่งปัวตีเย (Notre-Dame la Grande de Poitiers) อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นสิ่งก่อสร้างที่ทำจากหินที่ใหญ่ที่สุดในเมืองและสามารถมองเห็นได้จากในเมืองโดยรอบ สร้างโดยความสนับสนุนจากเอลินอร์แห่งอากีแตน สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ และพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารปัวตีเย · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารปีเตอร์บะระ

อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์ หรือ อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Peterborough Cathedral หรือ Cathedral Church of St Peter, St Paul and St Andrew) มีชื่อเต็มว่า "อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์, เซนต์พอล และเซนต์แอนดรูว์" ที่อุทิศให้แก่นักบุญปีเตอร์ นักบุญพอล และนักบุญแอนดรูว์ นักบุญทั้งสามองค์มีรูปปั้นอยู่บนจั่วสามจั่วด้านหน้าของอาสนวิหาร อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เป็นคริสต์ศาสนสถานระดับอาสนวิหาร ของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ของสังฆมณฑลปีเตอร์บะระห์ในสังฆเขตแคนเตอร์บรีที่ตั้งอยู่ที่เมืองปีเตอร์บะระห์ในอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ และ กอธิค อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เดิมก่อตั้งขึ้นในสมัยแซ็กซอนสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบนอร์มันหลังจากการก่อสร้างใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปีเตอร์บะระห์ก็เช่นเดียวกับอาสนวิหารเดอแรม และ อาสนวิหารอีลีที่เป็นสิ่งก่อสร้างจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในอังกฤษที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมมากนักแม้ว่าจะได้รับการขยายต่อเติมและการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาหลายครั้งก็ตาม อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์มีชื่อเสียงว่ามีด้านหน้าที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษตอนต้นอย่างเด่นชัด ที่มีประตูโค้งใหญ่มหึมาที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดที่สร้างเช่นเดียวกันนั้นมาก่อน หรือสร้างตามมา ลักษณะที่ปรากฏเป็นเชิงที่ไม่สมมาตร เพราะหอหนึ่งในสองหอที่สูงขึ้นมาหลังด้านหน้านสร้างไม่เสร็จ แต่จะมองเห็นได้ก็จากระยะทางไกลจากตัวอาสนวิหารเท่านั้น.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารปีเตอร์บะระ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง

อาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง (Cathédrale de Clermont-Ferrand) หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งแกลร์มง-แฟร็อง (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Clermont-Ferrand) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ตั้งอยู่ที่เมืองแกลร์มง-แฟร็องในจังหวัดปุย-เดอ-โดมในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส และเป็นที่ตั้งอาสนะของอาร์ชบิชอปแห่งแกลร์มง สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอทิกที่สร้างด้วยหินภูเขาไฟสีดำทั้งหลังที่ทำให้เป็นเอกลักษณ์จากอาสนวิหารอื่นและมองเห็นแต่ไกลจากหอสูงสองหอที่สูง 96.2 เมตรเหนือสิ่งก่อสร้างอื่นใดของตัวเมือง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแก็งแปร์

อาสนวิหารแก็งแปร์ (Cathédrale de Quimper) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญกอร็องแต็งแห่งแก็งแปร์ (Cathédrale Saint-Corentin de Quimper) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำมุขมณฑลแก็งแปร์และเลอง ตั้งอยู่ในเขตเมืองแก็งแปร์ จังหวัดฟีนิสแตร์ ในแคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่นักบุญกอร็องแต็งแห่งแก็งแปร์ ซึ่งเป็นมุขนายกองค์แรกของแก็งแปร์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 อาสนวิหารแห่งแก็งแปร์นี้สร้างขึ้นบนสักการสถานโบราณแบบโรมาเนสก์นามว่า "โบสถ์แม่พระ" ซึ่งสร้างสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 และอาสนวิหารแห่งใหม่นี้ยังจัดเป็นอาสนวิหารแบบกอทิกที่เก่าแก่ที่สุดหนึ่งในสามแห่งของแคว้นเบรอตาญ อีกสองแห่งได้แก่ อาสนวิหารเทรกุยเย และอาสนวิหารแซ็ง-ปอล-เดอ-เลอง อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1862.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารแก็งแปร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแม็ส

อาสนวิหารแม็ส (Cathédrale de Metz) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งแม็ส (Cathédrale Saint Étienne de Metz) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลแม็ส ตั้งอยู่ที่เมืองแม็ส จังหวัดมอแซล แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสำคัญคือนักบุญสเทเฟน ห้องเก็บสมบัติของอาสนวิหารได้สะสมของมีค่ามานานนับพันปี โดยเป็นของสะสมของมุขมณฑลแม็สที่รวมถึงผ้าคลุมแท่นบูชาและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ อาสนวิหารแม็สถือเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่มีโถงทางเดินโบสถ์ที่สูงที่สุดแห่งหนี่งของโลก และยังมีชื่อเล่นว่า "โคมไฟแห่งพระผู้เป็นเจ้า" (La Lanterne du Bon Dieu) อันเนื่องมาจากมีโครงสร้างหน้าต่างที่เป็นงานกระจกสีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกJolin J.L. (2001) La lanterne du Bon Dieu.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแร็งส์

อาสนวิหารแร็งส์ (Cathédrale de Reims) หรือชื่อทางการว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งแร็งส์ (Cathédrale Notre-Dame de Reims) เป็นอาสนวิหารสำคัญของเมืองแร็งส์ จังหวัดมาร์น ประเทศฝรั่งเศส ที่เคยใช้ในพิธีสวมมงกุฎกษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างบนฐานของวิหารเดิมที่ถูกเพลิงไหม้ไปเมื่อ..

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารแร็งส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี (Canterbury Cathedral) เป็นอาสนวิหารแองกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองแคนเทอร์เบอรี ในสหราชอาณาจักร เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ซึ่งเป็นผู้นำคริสตจักรแห่งอังกฤษและผู้นำเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียน และเป็นที่ตั้งอาสนะของนักบุญออกัสติน (Chair of St. Augustine) ชื่อที่เรียกกันเป็นทางการของอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีคือ “อาสนวิหารและคริสตจักรมหานครของพระคริสต์ เมืองแคนเทอร์เบอร์รี” (Cathedral and Metropolitical Church of Christ at Canterbury).

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์

อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์ (Cathédrale de Saint-Flour) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งแซ็ง-ฟลูร์ (Cathédrale Saint-Pierre de Saint-Flour) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลมุขมณฑลแซ็ง-ฟลูร์ ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-ฟลูร์ จังหวัดก็องตาล ในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งในอาสนวิหารทั้งหมดสี่แห่งของภูมิภาคโอแวร์ญ ตั้งอยู่กลางใจเมืองเก่าของแซ็ง-ฟลูร์ และเป็นอาสนวิหารที่สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมกอทิกสร้างเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 15 บนที่ตั้งของบาซิลิกาแบบโรมาเนสก์เดิม หินที่ใช้สร้างมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับสิ่งก่อสร้างทางคริสต์ศาสนาในแถบนี้ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟมีสีดำสนิทอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาสนวิหาร ต่อมาภายหลังอาสนวิหารได้ถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรมลงมากในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารโอเติง

อาสนวิหารโอเติง (Cathédrale d'Autun) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญลาซารัสแห่งโอเติง (Cathédrale Saint-Lazare d'Autun) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกอันเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโอเติง ตั้งอยู่ที่เมืองโอเติง จังหวัดโซเนลัวร์ แคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญลาซารัสแห่งแอ็กซ์ สร้างขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12 เพื่อเป็นอาสนวิหารหลังใหม่ทดแทน "อาสนวิหารนักบุญนาซาริอุสแห่งโอเติง" อาสนวิหารหลังเก่าซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 อาสนวิหารโอเติงเป็นหนึ่งในตัวอย่างของอาสนวิหารแบบโรมาเนสก์ที่ประกอบด้วยทั้งงานสถาปัตยกรรมและศิลปะตกแต่งภายในช่วงที่สมัยที่ศิลปะโรมาเนสก์มีความเจริญถึงขีดสุด และยังเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ในประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารโอเติง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเวียน

อาสนวิหารเวียน (Cathédrale de Vienne) หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารนักบุญมอริซแห่งเวียน (Cathédrale Saint-Maurice de Vienne) ปัจจุบันเป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก ในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหาร ที่ตั้งอยู่ที่เมืองเวียน ในจังหวัดอีแซร์ ประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารเวียนเป็นอาสนวิหารที่อุทิศแด่นักบุญมอริซ เดิมอาสนวิหารเป็นที่ทำการของบิชอปของมุขมณฑลเวียน และต่อมาของอัครมุขมณฑลเวียน และภายหลังถูกยุบไปตามข้อตกลง ค.ศ. 1801 ระหว่างจักรพรรดินโปเลียนกับสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 โดยไปเพิ่มตำแหน่งของบิชอปแห่งลียงให้เป็นบิชอปแห่งลียง-เวียน (ค.ศ. 1822–2006) และตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารเวียน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเฮริฟอร์ด

อาสนวิหารเฮริฟอร์ด อาสนวิหารเฮริฟอร์ด (Hereford Cathedral) เป็นอาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองเฮริฟอร์ดในสหราชอาณาจักร อาสนวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารเฮริฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเปรีเกอ

อาสนวิหารเปรีเกอ (Cathédrale de Périgueux) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญฟรอนโตแห่งเปรีเกอ (Cathédrale Saint-Front de Périgueux) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลเปรีเกอ ตั้งอยู่ที่เมืองเปรีเกอ แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาสนวิหารแห่งเมืองเปรีเกอมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1669 หรืออาจจะหมายถึงอาสนวิหารก่อนหน้านั้นคือ "อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งนครเปรีเกอ" (Cathédrale Saint-Étienne-de-la-Cité de Périgueux) อาสนวิหารทั้งสองเดิมเป็นที่ตั้งของบิชอปแห่งเปรีเกอหรือบิชอปแห่งเปรีเกอและซาร์ลาที่เป็นชื่อมุขมณฑลมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: งานกระจกสีและอาสนวิหารเปรีเกอ · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก “ลากูลู (หลุยส์ เวเบ) มาถึงมูแล็งรูฌ” (La Goulue arriving at the Moulin Rouge) (ค.ศ. 1892) อ็องรี มารี แรมง เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก-มงฟา (Henri Marie Raymond de Toulouse-Lautrec-Monfa; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1864 - 9 กันยายน ค.ศ. 1901) เป็นจิตรกร ช่างพิมพ์ ช่างเขียนแบบ และอิลลัสเตรเตอร์ (Illustrator) สมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนโปสเตอร์ของชีวิตผู้คนในบริเวณมงมาตร์ และผู้ชอบใช้ชีวิตในวงการของความฟุ้งเฟ้อและโรงละครในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษ (fin de siècle) ของปารี.

ใหม่!!: งานกระจกสีและอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: งานกระจกสีและผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จอร์โจ วาซารี

อร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) (30 กรกฎาคม ค.ศ. 1511 - 27 มิถุนายน ค.ศ. 1574) เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี ผลงานที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากที่สุดคืองานบันทึก ประวัติชีวิตและงานของศิลปินอิตาลีก่อนหน้าและร่วมสมัยในชื่อ “ชีวิตจิตรกร, ประติมากร, และสถาปนิกผู้ดีเด่น” (หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ชีวิตศิลปิน” (The Vite)) ซึ่งเป็นงานที่ยังมีการอ้างอิงกันในการเขียนประวัติชีวิตศิลปินหรือการวิจัยจิตรกรรมและประติมากรรมกันอยู่จนทุกวันนี้.

ใหม่!!: งานกระจกสีและจอร์โจ วาซารี · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เอเวอเรตต์ มิเล

อห์น เอเวอเรตต์ มิเล หรือ เซอร์จอห์น เอเวอเรตต์ มิเล บาโรเนตที่ 1, PRA (John Everett Millais หรือ Sir John Everett Millais, 1st Baronet, PRA) (8 มิถุนายน ค.ศ. 1829 - 13 สิงหาคม ค.ศ. 1896) เป็นจิตรกรและนักวาดภาพประกอบของกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรม, ภาพวาดเส้น และภาพพิมพ์ มิเลเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล.

ใหม่!!: งานกระจกสีและจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: งานกระจกสีและจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมตะวันตก

“สาวใส่ต่างหูมุก” (ค.ศ. 1665 - 1667) โดย โยฮันส์ เวร์เมร์ หรือรู้จักกันในชื่อ “โมนาลิซาเหนือ” จิตรกรรมตะวันตก (Western painting) ประวัติของจิตรกรรมตะวันตกเป็นประวัติที่ต่อเนื่องกันมาจากการเขียนภาพตั้งแต่ก่อนยุคกลางหรือศิลปะของกรีกและโรมัน เริ่มแรกการเขียนภาพเป็นแบบศิลปะแสดงลักษณ์ (Representational art) และลวดลายแบบกรีกและโรมันมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงวิวัฒนาการมาเป็นศิลปะนามธรรม (Abstract art) และศิลป์มโนทัศน์ (Conceptual art) การวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันตกคล้ายคลึงกับการวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันออกโดยทั่วไปในสองสามร้อยปีหลัง ศิลปะแอฟริกา, ศิลปะอิสลาม, ศิลปะอินเดีย, ศิลปะจีน, และศิลปะญี่ปุ่น แต่ละอย่างที่กล่าวมาต่างก็มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปก และในที่สุดศิลปะก็กลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันออก จิตรกรรมตะวันตกเริ่มด้วยการเขียนภาพสำหรับสถาบันศาสนา ต่อมาผู้อุปถัมภ์ก็ขยายออกมารวมถึงเจ้านายและชนชั้นกลาง ตั้งแต่ยุคกลาง มาจนถึง ยุคเรเนสซองส์ จิตรกรสร้างงานให้กับสถาบันศาสนาและลูกค้าผู้มั่งคั่ง พอมาถึงสมัยสมัยบาโรกจิตรกรก็รับงานจากผู้มีการศึกษาดีขึ้นและจากชนชั้นกลางผู้มีฐานะดี ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 จิตรกรก็เป็นอิสระจากความต้องการของผู้อุปถัมภ์หรือลูกค้าในการวาดแต่เพียงภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ตำนานเทพ ภาพเหมือน หรือ ภาพเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ปรัชญาที่ว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” (art for art's sake) ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นโดยการแสดงออกทางผลงานเช่นงานเขียนของฟรานซิสโก โกยา, จอห์น คอนสเตเบิล (John Constable) และ เจย์ เอ็ม ดับเบิลยู เทอร์เนอร์ (J.M.W. Turner) สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของการเขียนภาพเกิดขึ้นในทวีปยุโรประหว่างยุคเรเนสซองส์ซึ่งเป็นสมัยที่มีการวิวัฒนาการต่างๆ รวมทั้งการวาดเส้น การเขียนแบบทัศนียภาพ การสร้างสถาปัตยกรรมใหญ่ๆ การทอพรมแขวนผนัง การสร้างหน้าต่างประดับกระจกสี การสร้างประติมากรรม และเป็นสมัยก่อนหน้าและหลังจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ หลังจากการพัฒนาในด้านต่างๆ ในยุคเรเนสซองส์ จิตรกรรมตะวันตกตั้งแต่ยุคบาโรกมาจนถึงศิลปะร่วมสมัยก็ยังคงวิวัฒนาการต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21.

ใหม่!!: งานกระจกสีและจิตรกรรมตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จูเซปเป อาร์ชิมโบลโด

ูเซปเป อาร์ชิมโบลโด (Giuseppe Arcimboldo หรือ Giuseppe Arcimboldi) (ค.ศ. 1527 - 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1593) เป็นจิตรกรชาวอิตาลีผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้เขียนภาพเหมือนแบบมีจินตนาการเช่นเขียนเป็นภาพที่ใช้ผลไม้, ผัก, ดอกไม้, ปลา และหนังสือ ที่จัดประกอบเข้าด้วยกันจนเป็นหน้าตาที่ทราบว่าเป็นภาพเหมือนของผู้ใ.

ใหม่!!: งานกระจกสีและจูเซปเป อาร์ชิมโบลโด · ดูเพิ่มเติม »

ถ้วยเมรอด

้วยเมรอด (coupe de Mérode; Mérode Cup) เป็นเครื่องเคลือบลงยาที่ทำในภูมิภาคเบอร์กันดีในฝรั่งเศสราวปี ค.ศ. 1400 ชื่อถ้วยมาจากชื่อของตระกูลเบลเยียมโบราณที่เคยเป็นเจ้าของ ตัวถ้วยทำด้วยเงินชุบทองตกแต่งด้วยรายละเอียดที่เป็นนก ผลไม้ และเถาองุ่น ส่วนด้านข้าง ฝาปิด และฐานเป็นแผ่นเงินชุบทองบาง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและถ้วยเมรอด · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส แบ็กกิต

นักบุญทอมัส แบ็กกิต (Thomas Becket) ต่อมารู้จักกันในชื่อ Thomas à Becket เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดใน..

ใหม่!!: งานกระจกสีและทอมัส แบ็กกิต · ดูเพิ่มเติม »

ดอกจิกสี่แฉก

อกจิกสี่แฉกเหนือประตูทางตะวันตกของแอบบีครอยแลนด์เป็นภาพนูนจากฉากชีวิตของนักบุญกูธแล็ค (Saint Guthlac) ''สังเวยไอแซ็ค'' by ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ดอกจิกสี่แฉก (Quatrefoil) ทางภาษาศาสตร์แปลว่า “สี่ใบ” ที่ใช้ในบริบทต่างๆ ของสิ่งที่มีสี่แฉกหรือสี่กลี.

ใหม่!!: งานกระจกสีและดอกจิกสี่แฉก · ดูเพิ่มเติม »

งานโมเสก

งานโมเสก (Mosaic.) เป็นศิลปะการตกแต่งด้วยชิ้นแก้ว, หิน, หรือกระเบื้องชิ้นเล็กๆ ซึ่งใช้เป็นการตกแต่งภายในเช่นภายในมหาวิหาร การตกแต่งลวดลายหรือภาพทำจากชิ้นกระเบื้องหรือเศษจากเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “tesserae” หรือ กระจกสี หรือแก้วใสเคลือบด้วยโลหะข้างหลัง งานโมเสก.

ใหม่!!: งานกระจกสีและงานโมเสก · ดูเพิ่มเติม »

ตูร์แน

ตูร์แน (Tournai) หรือ โดร์นิก (Doornik) เป็นเมืองในเขตวัลลูน มณฑลแอโน และเขตเทศบาลหนึ่งของเบลเยียม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงบรัสเซลส์ไปประมาณ 85 กิโลเมตร ตัวเมืองมีแม่น้ำสเกลต์พาดผ่านกลางเมือง เมืองตูร์แนยังเป็นที่ตั้งของมุขมณฑลตูร์แน (Diocese of Tournai) อีกด้วย ตูร์แนเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งเบลเยียม คู่กับอาร์ลงและตองเคอเรน อันเป็นเมืองสำคัญส่วนหนึ่งของเคาน์ตีฟลานเดอร์ (Comté de Flandre) ตั้งแต่สมัยยุคกลาง โดยเป็นที่ตั้งของหอระฆังที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเบลเยียม และอาสนวิหารแม่พระแห่งตูร์แน ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก โดยมหาวิหารนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ของยุคกลางที่ผสมผสานกันด้วยสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอทิกอย่างสวยงาม พร้อมทั้งหอคอยขนาดใหญ่จำนวนห้าหออันเป็นเอกลักษณ์สำคัญและเป็นที่มาของชื่อเล่นของตูร์แนว่า "เมืองแห่งหอระฆังทั้งห้า".

ใหม่!!: งานกระจกสีและตูร์แน · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาเมรอด

ฉากแท่นบูชาเมรอด (Mérode Altarpiece) หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ (Annunciation Altarpiece) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ระหว่างปี ค.ศ. 1425 ถึงปี ค.ศ. 1428 แต่บ้างก็เชื่อว่าเขียนโดยผู้ติดตามหรือเป็นงานก๊อบปี้จากงานดั้งเดิมของกัมปิน ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันให้คำบรรยายภาพนี้ว่าเขียนโดย "โรเบิร์ต กัมปิน และผู้ช่วย" "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่งดงามที่สุดของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในนิวยอร์กและในทวีปอเมริกาเหนือ จนกระทั่งการมาถึงของภาพ "การประกาศของเทพ" โดยยัน ฟัน ไอก์ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" กลายเป็นงานเขียนที่มีชื่อที่สุดของฟัน ไอก์ ที่อาจจะเป็นเพราะฟัน ไอก์ใช้สร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัยโดยมีภูมิทัศน์เมืองลิบ ๆ ที่เห็นจากหน้าต่าง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและฉากแท่นบูชาเมรอด · ดูเพิ่มเติม »

ซันตามาริอาดัลมาร์ (บาร์เซโลนา)

ซันตามาริอาดัลมาร์ (Santa Maria del Mar) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกตั้งอยู่ในแขวงลาริเบราของเมืองบาร์เซโลนา ในประเทศสเปน ซันตามาริอาดัลมาร์เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1329 ถึงปี ค.ศ. 1383 ระหว่างยุคอันรุ่งเรืองทางการเดินเรือและการค้าทางทะเลของกาตาลุญญา สถาปัตยกรรมเป็นแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมกอทิกแบบกาตาลาที่แสดงความกลมกลืนอันเห็นได้ยากในสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ของยุคกลางCirici, Alexandre.

ใหม่!!: งานกระจกสีและซันตามาริอาดัลมาร์ (บาร์เซโลนา) · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอโตร เปรูจีโน

“ภาพเหมือนตนเอง” (ค.ศ. 1497–1500) เปียโตร เปรูจิโน (Pietro Perugino; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Pietro Vannucci, ค.ศ. 1446 - ค.ศ. 1524) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอเนซองส์คนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน และการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและปีเอโตร เปรูจีโน · ดูเพิ่มเติม »

แรยอน็อง

มหาวิหารโคโลญ (ค.ศ. 1248-ค.ศ. 1322) ที่ถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแรยอน็องที่งดงามที่สุดของยุคกลางหน้าต่างกุหลาบแบบแรยอน็องของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส แรยอน็อง (Rayonnant) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1240 จนถึง ค.ศ. 1350 แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่วิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่หันความสนใจจากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และความกว้างใหญ่ของสิ่งก่อสร้างเช่นมหาวิหารชาทร์ หรือทางเดินกลางของมหาวิหารนอเทรอดามแห่งอาเมียงมาเป็นการคำนึงถึงผิวสองมิติของสิ่งก่อสร้าง และการตกแต่งด้วยลวดลายที่ซ้ำซ้อนที่มีขนาดต่าง ๆ กัน หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 แรยอน็องก็ค่อยวิวัฒนาการไปเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกตอนปลายและสถาปัตยกรรมกอทิกวิจิตร และดังกล่าวแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดแจ้ง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

แซ็งต์-ชาแปล

แซ็งต์-ชาแปล (La Sainte-Chapelle, The Holy Chapel) เป็นโบสถ์น้อยของนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่กรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส เป็นสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมกอทิก แซ็งต์-ชาแปลอาจจะถือกันว่าเป็นงานชิ้นที่งดงามที่สุดของสถาปัตยกรรมแรยอน็องซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิก.

ใหม่!!: งานกระจกสีและแซ็งต์-ชาแปล · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยตอร์นาบูโอนี

ปลทอร์นาบุโอนิ (Tornabuoni Chapel, Cappella Tornabuoni) เป็นชาเปลหลักหรือชาเปลของบริเวณร้องเพลงสวดอยู่ภายในบาซิลิกาซานตามาเรียโนเวลลาที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สิ่งที่สำคัญที่สุดภายในชาเปลคืองานจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีและสมบูรณ์ที่เขียนโดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดาและห้องเขียนภาพระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1490.

ใหม่!!: งานกระจกสีและโบสถ์น้อยตอร์นาบูโอนี · ดูเพิ่มเติม »

โอแซร์

อแซร์ (Auxerre) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดอียอนในแคว้นบูร์กอญ ประเทศฝรั่งเศส เมืองโอแซร์ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝรั่งเศสระหว่างกรุงปารีสกับเมืองดีฌง โอแซร์เป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและอุตสาหกรรมที่รวมทั้งการผลิตอาหาร การทำงานไม้ และแบตเตอรี นอกจากนั้นก็ยังมีความสำคัญในการผลิตเหล้าองุ่นที่มีชื่อเสียงที่รวมทั้งชาบลี สถานที่ที่น่าสนใจของโอแซร์ก็ได้แก่ตัวเมืองเก่าและมหาวิหารแซ็งเตเตียนแห่งโอแซร์ที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่มีหน้าต่างประดับกระจกสีที่มีชื่อเสียง.

ใหม่!!: งานกระจกสีและโอแซร์ · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างทรงโค้งมีสัน

รงสร้างทรงโค้งมีสันที่มหาวิหารแร็งส์ โครงสร้างทรงโค้งมีสัน โครงสร้างทรงโค้งมีสัน (rib vault; croisée d'ogives) เป็นโครงสร้างทรงโค้งแบบหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณจุดที่ตัดกันระหว่างโครงสร้างทรงโค้งประทุน (barrel vault) จำนวนสองหรือสามส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดสันซึ่งมักจะตกแต่งด้วยบริเวณโค้งสันด้วยหินแกะสลักเป็นลายต่าง ๆ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับโครงสร้างทรงโค้งสันทแยงมุม (groin vault) ซึ่งเป็นโครงสร้างของเพดานโค้งในยุคที่เก่ากว่า โดยกลไกคือการถ่ายเทน้ำหนักของบริเวณเพดานลงออกด้านข้างไปยังบริเวณเสาโดยรอบ ซึ่งเหมือนกันกับแบบโค้งสัน เพียงแต่แบบใหม่นี้สามารถทำให้สถาปนิกสามารถสร้างสรรค์ความอลังการได้มากกว่าโดยเฉพาะในสมัยสถาปัตยกรรมกอทิกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ ซึ่งมักจะคู่กันกับครีบยันลอย ซึ่งต่างกับสมัยโรมาเนสก์ที่ใช้เพียงครีบยันธรรมดาและกำแพงอันหนาเพื่อรับแรงโดยตรงจากโครงสร้างทรงโค้งแบบครึ่งวงกลม ในสถาปัตยกรรมกอทิก โครงสร้างทรงโค้งมีสันนี้เป็นวิธีที่กระจายน้ำหนักรวมลงที่ปลายเสาโดยตรงโดยไม่ผ่านผนังหรือกำแพง ซึ่งทำให้สามารถสร้างกำแพงที่บาง สูง และยังเป็นบานหน้าต่างขนาดใหญ่เพื่อใส่งานกระจกสีได้อย่างง่ายดาย และจากบริเวณปลายเสาก็ถ่ายเทน้ำหนักลงที่ครีบยันลอย โครงสร้างทรงโค้งมีสันในสมัยแรกซึ่งฝังอยู่ในโครงสร้างของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบตัวอย่างได้ที่บริเวณทางเดินข้างของบริเวณร้องเพลงสวดของมหาวิหารเดอรัม และที่โบสถ์แซ็ง-เอเตียนแห่งก็อง ซึ่งทั้งสองที่นี้เป็นวิหารในยุคแรก ๆ ที่มีการใช้โครงสร้างทรงโค้งมีสันเข้ากับสถาปัตยกรรมโรมาเนสก.

ใหม่!!: งานกระจกสีและโครงสร้างทรงโค้งมีสัน · ดูเพิ่มเติม »

เอกรงค์เทา

“Battesimo Della Gente” หนึ่งในศิลปะเอกรงค์โดยอันเดรอา เดล ซาร์โตที่ใช้สีเทาและสีน้ำตาล (จิตรกรรมฝาผนังที่ฟลอเรนซ์ (ค.ศ. 1511-ค.ศ. 1526) ศิลปะเอกรงค์ หรือ เอกรงค์เทา (Grisaille) มาจากภาษาฝรั่งเศส “gris” ที่แปลว่าสีเทาเป็นคำที่ใช้สำหรับจิตรกรรมหรือศิลปกรรมที่เป็นเอกรงค์ (monochrome) หรือสีเดียวทั้งภาพที่มักจะเป็นระดับสีในกลุ่มสีเทาหรือสีน้ำตาลโดยเฉพาะที่ใช้ในการตกแต่ง หรือ เพื่อแสดงให้เห็นเหมือนเป็นภาพนูนหรือประติมากรรมนูน ศิลปะเอกรงค์บางชิ้นก็จะใช้ระดับเหลือบของสีที่กว้างกว่าที่กำหนดไว้เช่นในงานเขียนของอันเดรอา เดล ซาร์โตที่เห็นในภาพ หรืออาจจะเป็นงานสองสีเช่นหน้าต่างประดับกระจกสีที่เล่นสีเหลืองน้ำตาลเป็นต้น ศิลปะเอกรงค์อาจจะเขียนโดยในการตกแต่งโดยตั้งใจเช่นการเขียนสีรองพื้นสำหรับการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน หรือในการใช้เป็นหุ่นจำลองสำหรับให้ช่างแกะพิมพ์ บางครั้งรูเบนส์ก็จะให้ช่างเขียนร่างภาพเป็นเอกรงค์สำหรับให้ช่างแกะพิมพ์ การใช้เอกรงค์ไม่จำกัดอยู่แต่งเพียงในงานจิตรกรรมแต่อาจจะเป็นศิลปะในรูปแบอื่นๆ เช่นหน้าต่างประดับกระจกสี.

ใหม่!!: งานกระจกสีและเอกรงค์เทา · ดูเพิ่มเติม »

เซราฟีน หลุยส์

ซราฟีน หลุยส์ หรือ เซราฟีนแห่งซ็องลี (Séraphine Louis หรือ Séraphine de Senlis) (3 กันยายน ค.ศ. 1864 - 11 ธันวาคม ค.ศ. 1942) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสประเภทศิลปะไร้มายา เซราฟีน หลุยส์ผู้สอนตนเองให้เขียนภาพได้รับแรงบันดาลจากความศรัทธาในศาสนาและจากหน้าต่างประดับกระจกสีในคริสต์ศาสนสถานและศิลปะคริสต์ศาสนาอื่น ๆ ความรุนแรงของภาพเขียนของเซราฟีนทั้งทางด้านการใช้สีและในการเขียนเลียนแบบบางครั้งก็ตีความหมายกันว่ามาจากจิตใต้สำนึกที่เกิดจากการดำรงชีพอยู่ระหว่างความเปี่ยมสุข (ecstasy) กับภาวะความผิดปกติทางจิต.

ใหม่!!: งานกระจกสีและเซราฟีน หลุยส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Stained glassStained glass windowกระจกสีศิลปะกระจกสีหน้าต่างประดับกระจกสีงานประดับกระจกสี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »