เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฆราวาสนิยม

ดัชนี ฆราวาสนิยม

ราวาสนิยม (secularism) คือ แนวปรัชญาที่ว่าสถาบันการปกครองหรือสถาบันการเมือง หรือ สถาบันในรูปอื่นควรจะดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากการอำนาจการควบคุมของสถาบันศาสนา และหรือความเชื่อทางศาสนา ในแง่หนึ่งสถาบันที่ดำเนินนโยบาย “ฆราวาสนิยม” จะเป็นสถาบันที่ยึดนโยบายดำรงความเป็นกลางในทางด้านความเชื่อทางศาสนาของประชาชนและ/หรือผู้อยู่ใต้การปกครอง, ดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากกฎและคำสอน หรือ ความเชื่อทางศาสนา, ไม่ใช้อำนาจตามหลักความเชื่อทางศาสนาในการบังคับประชาชน และ ไม่มีการมอบอภิสิทธิพิเศษหรือให้การช่วยเหลือแก่สถาบันศาสนา ส่วนในอีกแง่หนึ่ง “ฆราวาสนิยม” หมายถึงมุมมองที่เกี่ยวกับกิจกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมและการตัดสินใจทางการเมือง ว่าควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติอันเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา ฆราวาสนิยมในรูปแบบที่แท้จริงแล้วจะติเตียนความเป็นอนุรักษนิยมของศาสนา และมีความเห็นว่าศาสนาเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของมนุษย์เพราะเป็นสิ่งที่เน้นความเชื่องมงาย และ สิทธันต์ (dogma) เหนือเหตุผลและกระบวนการในสิ่งที่พิสูจน์ได้ (scientific method) พื้นฐานของปรัชญาฆราวาสนิยมมาจากหลักการคิดของนักปรัชญากรีกและโรมันเช่นมาร์คัส ออเรลิอัส และ เอพิคารัส, จากผู้รู้รอบด้านของปรัชญามุสลิมของยุคกลาง เช่น อิบุน รัชด์, จากนักคิดของยุคเรืองปัญญา เช่น เดอนีส์ ดิเดอโรต์, วอลแตร์, จอห์น ล็อก, เจมส์ แมดิสัน, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน และ ทอมัส เพน และ จากนักคิดเสรี (freethinkers), นักอไญยนิยม (Agnosticism) หรือ นักอเทวนิยม เช่น เบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์ และ โรเบิร์ต อิลเกอร์โซลล.

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: ชาวนอร์เวย์ฟะตะห์พระราชกฤษฎีกานองซ์พระคริสตราชาพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์การปฏิวัติฝรั่งเศสการแยกศาสนจักรกับอาณาจักรการเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวารัฐโลกวิสัยลัทธิซาตานลาวีสหสาธารณรัฐอาหรับสากลศักราชเฏาะลากสามครั้งในอินเดีย

ชาวนอร์เวย์

วนอร์เวย์ (Nordmenn) คือประชาชนที่เกิดในประเทศนอร์เว.

ดู ฆราวาสนิยมและชาวนอร์เวย์

ฟะตะห์

ฟะตะห์ หรือ ฟัตห์ (Fatah; فتح) เป็นพรรคการเมืองของปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นขั้วอำนาจปาเลสไตน์กับกลุ่มฮะมาส ได้สู้รบกันมาตลอด และต่อมาได้เจรจาหยุดยิงและมีการเลือกตั้งในปาเลสไตน์ 25 มกราคม พ.ศ.

ดู ฆราวาสนิยมและฟะตะห์

พระราชกฤษฎีกานองซ์

ระราชกฤษฎีกานองซ์เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1598 พระราชกฤษฎีกานองซ์ (Édit de Nantes; Edict of Nantes) เป็นพระราชกฤษฎีกาที่พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ทรงตราขึ้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน..

ดู ฆราวาสนิยมและพระราชกฤษฎีกานองซ์

พระคริสตราชา

"พระคริสตราชา" ผลงานของยัน ฟัน ไอก์ พระคริสตราชา (Christ the King) เป็นสมัญญาที่คริสต์ศาสนิกชนถวายแด่พระเยซู ในฐานะที่ทรงเป็นพระคริสต์และเป็นกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งหล.

ดู ฆราวาสนิยมและพระคริสตราชา

พันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์

Russian Empire พันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ (หรือ มหาสัมพันธมิตร) เป็นพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยรัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซีย ซึ่งก่อตั้งและลงนามโดยชาติทั้งสามในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 26 กันยายน..

ดู ฆราวาสนิยมและพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ดู ฆราวาสนิยมและการปฏิวัติฝรั่งเศส

การแยกศาสนจักรกับอาณาจักร

การแยกศาสนจักรกับอาณาจักร (separation of church and state) เป็นแนวคิดทางปรัชญาและนิติปรัชญาที่กำหนดให้มีระยะห่างทางการเมืองในความสัมพันธ์ขององค์การศาสนาและรัฐชาติ โดยเนื้อหาแล้ว แนวคิดนี้หมายถึงการสร้างรัฐที่เป็นฆราวาส (ไม่ว่าจะมีการแบ่งแยกระหว่างฝ่ายศาสนากับฝ่ายรัฐไว้โดยชัดแจ้งตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม) รวมถึงการยุบเลิกหรือเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์มีอยู่อย่างเป็นทางการในระหว่างศาสนากับรัฐ ในสังคมหนึ่ง ๆ ระดับการแบ่งแยกทางการเมืองระหว่างศาสนากับรัฐนั้นย่อมกำหนดตามโครงสร้างทางกฎหมายและแนวคิดทางกฎหมายที่นิยมอยู่ในเวลานั้น เช่น หลักความยาวแขน (arm's length principle) ซึ่งนำเสนอรูปแบบความสัมพันธ์ที่ทั้งสองมีปฏิสัมพันธ์กันในฐานะหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ต่างหากจากกัน แนวคิดเรื่องการแยกศาสนจักรกับอาณาจักรนั้นเป็นปรัชญาคู่ขนานกับแนวคิดฆราวาสนิยม (secularism), คตินิยมยุบเลิกศาสนจักร (disestablishmentarianism), เสรีภาพทางศาสนา (religious liberty), และพหุนิยมทางศาสนา (religious pluralism) ซึ่งด้วยแนวคิดเหล่านี้ รัฐในยุโรปจึงรับเอาบทบาทบางอย่างในทางสังคมขององค์การศาสนามาเป็นของตน เป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ทางสังคมที่ก่อให้เกิดประชากรและพื้นที่สาธารณะที่เป็นฆราวาสในทางวัฒนธรรม ในทางปฏิบัติแล้ว การแยกศาสนจักรกับอาณาจักรแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ บางประเทศ เช่นฝรั่งเศส ใช้แนวคิดความเป็นฆราวาสอย่างเคร่งครัด บางประเทศแยกศาสนากับรัฐจากกันอย่างสิ้นเชิงโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น อินเดีย และสิงคโปร์ ขณะที่บางประเทศ เช่น เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร และมัลดีฟส์ ยังยอมรับนับถือศาสนาประจำรัฐอยู่ในทางรัฐธรรมนูญ.

ดู ฆราวาสนิยมและการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร

การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา

ำว่า ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา (left-right politics) เป็นระบบจำแนกจุดยืน อุดมการณ์ทางการเมืองและพรรคการเมือง การเมืองฝ่ายซ้ายและการเมืองฝ่ายขวามักถูกนำเสนอว่าขัดแย้งกัน แม้ว่าปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มอาจมีจุดยืนฝ่ายซ้ายในประเด็นหนึ่ง และจุดยืนฝ่ายขวาในอีกประเด็นหนึ่งก็ได้ ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่กำเนิดของคำดังกล่าว ฝ่ายซ้ายถูกเรียกว่า "ขบวนการเคลื่อนไหว" (party of movement) และฝ่ายขวาถูกเรียกว่า "ขบวนการระเบียบ" (party of order) จุดยืนแบบเป็นกลางเรียกว่า สายกลาง (centrism) และบุคคลที่มีจุดยืนดังกล่าวเรียกว่า กลุ่มสายกลางหรือผู้เดินสายกลาง (moderate) มีความเห็นพ้องทั่วไปว.

ดู ฆราวาสนิยมและการเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา

รัฐโลกวิสัย

รัฐโลกวิสัย หรือ รัฐฆราวาส (secular state) เป็นแนวคิดสืบเนื่องมาจากหลักฆราวาสนิยม (secularism) ที่ให้รัฐมีหรือแสดงความเป็นกลางในประเด็นทางศาสนา โดยไม่สนับสนุนทั้งศาสนาและการไม่มีศาสนา รัฐฆราวาสยังพึงปฏิบัติกับพลเมืองทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาเหล่านั้นถือศาสนาใด ในการนี้ รัฐพึงเลี่ยงการให้ความสำคัญแก่พลเมืองเพราะถือหรือไม่ถือศาสนาใด รัฐฆราวาสไม่พึงมีศาสนาประจำรัฐ ถึงแม้ว่าการไม่มีศาสนาประจำรัฐจะไม่ได้หมายความว่ารัฐนั้นเป็นฆราวาสเต็มตัวก็ตาม อย่างไรก็ดี รัฐที่เป็นฆราวาสอย่างแท้จริงนั้นพึงดำเนินการปกครองบ้านเมืองโดยปราศจากอิทธิพลจากศาสนา และพึงให้องค์การศาสนาปกครองตนเองโดยปราศจากอิทธิพลของรัฐ ตามหลักการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร.

ดู ฆราวาสนิยมและรัฐโลกวิสัย

ลัทธิซาตานลาวี

แอนตัน ลาวี ผู้ก่อตั้งลัทธิซาตานลาวี ลัทธิซาตานลาวี (LaVeyan Satanism) เรียกอย่างง่ายว่าลัทธิซาตาน เป็นปรัชญาทางศาสนาที่ก่อตั้งโดยแอนตัน ลาวีในปี..

ดู ฆราวาสนิยมและลัทธิซาตานลาวี

สหสาธารณรัฐอาหรับ

หสาธารณรัฐอาหรับ (United Arab Republic; UAR; الجمهورية العربية المتحدة) เป็นสหภาพทางการเมืองอายุสั้นระหว่าง อียิปต์ และ ซีเรีย การรวมตัวกันเริ่มต้นเมื่อ..

ดู ฆราวาสนิยมและสหสาธารณรัฐอาหรับ

สากลศักราช

มัญศักราช ศักราชกลาง หรือ สากลศักราช (Common Era: CE) หรือ ปัจจุบันศักราช (Current Era: CE) เป็นระบบนับปี (ปีปฏิทิน) สำหรับปฏิทินเกรกอเรียนและปฏิทินจูเลียน ซึ่งนับปีตั้งแต่เริ่มยุคปัจจุบันเป็นต้นมา อันตรงกับคริสต์ศักราช (ค.ศ.) 1 ส่วนปีก่อนหน้านี้เรียกว่า ปีก่อนสามัญศักราช (before the Common/Current Era: BCE) ระบบสามัญศักราชสามารถใช้แทนระบบศักราชไดโอไนซัส (Dionysian era) ซึ่งแบ่งศักราชออกเป็น..

ดู ฆราวาสนิยมและสากลศักราช

เฏาะลากสามครั้งในอินเดีย

ฏาะลากสามครั้ง (triple talaq) เป็นรูปแบบหนึ่งของการหย่าในศาสนาอิสลาม (ซึ่งภาษาอาหรับเรียก talaq-e-mughallazah แปลว่า การหย่าอันลบล้างมิได้) ชายมุสลิมสามารถหย่าภรรยาได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพียงแจ้งภรรยาว่า "เฏาะลาก" (talaq แปลว่า "หย่า") สามครั้ง ซึ่งมักทำในคราวเดียว ไม่ว่าด้วยวาจา ด้วยลายลักษณ์อักษร หรือปัจจุบันด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ก็มี การแจ้งเฏาะลากสามครั้งที่ประพฤติกันในหมู่มุสลิมอินเดียนั้นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เสมอมา บรรดาผู้ตั้งคำถามเห็นว่า การหย่าดังกล่าวเป็นการไม่ยุติธรรม สร้างความเหลื่อมล้ำทางเพศ ขัดต่อสิทธิมนุษยชน และขัดต่อหลักฆราวาสนิยม อันเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องถึงการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งที่เป็นระเบียบเดียวกันทั่วประเทศ และเกี่ยวพันไปถึงรัฐบาลอินเดียกับศาลสูงสุดอินเดีย ฉะนั้น ในวันที่ 22 สิงหาคม..

ดู ฆราวาสนิยมและเฏาะลากสามครั้งในอินเดีย

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Secularism