โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คำอุทาน

ดัชนี คำอุทาน

คำอุทาน หมายถึง คำที่อาจจะเป็นคำที่ใช้แสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้พูด ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น (แม้ว่าคำอุทานส่วนมากจะมีคำนิยามที่ชัดเจน) คำอย่างเช่น เอ่อ, เอิ่ม ก็ถือว่าเป็นคำอุทานเช่นกัน คำอุทานมักจะวางอยู่หน้าประโยค อ.

10 ความสัมพันธ์: พินอินราชาศัพท์ (ภาษาไทย)อักษรเขมรคำโอเยซMehMMOKYes และ noYo

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: คำอุทานและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชาศัพท์ (ภาษาไทย)

ราชาศัพท์ เป็นระเบียบการใช้ภาษาไทยให้สุภาพตามชั้นของบุคคลซึ่งแบ่งเป็นห้าชั้น ได้แก่ 1) พระราชา 2) เจ้านาย หรือพระราชวงศ์ 3) พระสงฆ์ของศาสนาพุทธ 4) ข้าราชการ และ 5) สุภาพชนทั่วไป.

ใหม่!!: คำอุทานและราชาศัพท์ (ภาษาไทย) · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเขมร

ตัวอย่างอักษรเขมรสองแบบ อักษรเขมร (អក្សរខ្មែរ)​ ​คือรูปอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรหลังปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1200-1400) ซึ่งเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1100-1200) อีกต่อหนึ่ง อักษรปัลลวะนี้ เป็นอักษรที่มาจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งเป็นชุดอักษรที่มีกำเนิดมาจากอักษรพราหมี ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พุทธศตวรรษที่ 3) จารึกอักษรเขมรเก่าสุด พบที่ปราสาทโบเร็.ตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ อายุราว..

ใหม่!!: คำอุทานและอักษรเขมร · ดูเพิ่มเติม »

คำ

ำ เป็นหน่วยของภาษาที่สื่อถึงความหมายซึ่งประกอบด้วยพยางค์หนึ่งพยางค์หรือมากกว่า ปกติแล้วในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำแสดงถึงความหมายและที่มาของคำนั้น โดยการนำคำหลายคำมาประกอบกันจะทำให้เกิดวลีหรือประโยคซึ่งใช้สื่อความหมายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป.

ใหม่!!: คำอุทานและคำ · ดูเพิ่มเติม »

โอเยซ

อเยซ หรือ โอเย (oyez) เป็นคำอุทานที่จะร้องขึ้นสามครั้งตามประเพณี เมื่อเปิดศาลในสหรัฐอเมริกา และหลาย ๆ ประเทศทางยุโรป ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในศาลอังกฤษไม่จำต้องใช้ภาษาอังกฤษในกระบวนพิจารณา แต่จะใช้ภาษาฝรั่งเศสทางกฎหมายแทนก็ได้ และภาษาฝรั่งเศสทางกฎหมายนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาฝรั่งเศสที่ค่อย ๆ พัฒนาหลังจากเหตุการณ์ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ ที่ยังผลให้ ภาษาแองโกล-นอร์มันได้เป็นภาษาชั้นสูงในประเทศอังกฤษไป คำว่า "โอเยซ" มีรากมาแต่คำภาษาแองโกล-นอร์มันว่า "โอเยซ" (oyez) อันเป็นพหูพจน์ของคำเชิงสั่งว่า "โอเยอร์" (oyer) ซึ่งมาจากคำภาษาฝรั่งเศส "อูยีร์" (ouïr) หมายความว่า "ไต่สวน" (hear) เพราะฉะนั้น "โอเยซ" จึงหมายความว่า "จะไต่สวนเจ้า" (hear ye) และเดิมใช้เป็นคำตวาดให้หุบปากหรือเรียกความสนใจ การใช้เช่นนี้เป็นเรื่องปรกติสามัญมากสำหรับบริเตนในมัชฌิมยุค ปัจจุบัน คำ "โอเยซ" ยังใช้อยู่ในศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา โดยเมื่อเริ่มกระบวนพิจารณาแต่ละคราว จ่าศาล (marshal of the Court หรือ Court Crier) จะร้อง "โอเยซ! โอเยซ! โอเยซ! บรรดาผู้มีกิจธุระในศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาอันทรงเกียรตินี้ จงเข้ามาใกล้ และจงมนสิการ ด้วยว่าบัดนี้ศาลจะนั่งพิจารณาแล้ว พระผู้เป็นเจ้าโปรดปกปักสหรัฐและศาลอันทรงเกียรตินี้ด้วยเทอญ" ("Oyez! Oyez! Oyez! All persons having business before the Honorable, the Supreme Court of the United States, are admonished to draw near and give their attention, for the Court is now sitting. God save the United States and this Honorable Court!") แล้วศาลจะตบโต๊ะครั้งหนึ่ง นอกจากในศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาแล้ว ศาลอื่น ๆ ระดับสหรัฐก็ใช้ถ้อยคำดุจเดียวกัน เช่น ศาลอุทธรณ์ภาคเจ็ดแห่งสหรัฐ (United States Court of Appeals for the Seventh Circuit) รวมถึงศาลทั้งหลายในรัฐเวอร์จิเนีย คำอุทาน "โอเยซ" นี้ โฆษกเมือง (town crier) ยังใช้ร้องเพื่อเรียกความสนใจของชาวเมืองเมื่อป่าวประกาศเนื้อความต่าง ๆ ด้ว.

ใหม่!!: คำอุทานและโอเยซ · ดูเพิ่มเติม »

Meh

Meh เป็นคำอุทานที่แสดงความเป็นกลาง หรือความเบื่อหน่าย และอาจหมายถึง "แม้ว่าจะจริงก็ตาม" คำนี้มักถือว่าเทียบเท่ากับการยักไหล่โดยใช้วาจา การใช้คำว่า "meh" แสดงให้เห็นว่าผู้พูดไม่แยแส ไม่สนใจ หรือเป็นกลาง ต่อคำถามหรือประเด็นที่กำลังพูดถึง บางครั้งอาจใช้เป็นคำคุณศัพท์ หมายความว่าสิ่งนั้นธรรมดาหรือไม่โดดเด่น.

ใหม่!!: คำอุทานและMeh · ดูเพิ่มเติม »

MM

MM, Mm, mM, mm ฯลฯ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คำอุทานและMM · ดูเพิ่มเติม »

OK

"OK" (หรือสะกดเป็น "okay", "ok", หรือ "O.K.") เป็นคำที่แสดงถึงการอนุมัติ การยอมรับ ความเห็นชอบ การตกลง และการเรียนรู้ "OK" ที่เป็นคำคุณศัพท์ สามารถใช้แสดงการยอมรับโดยไม่ต้องอนุมัติได้คำว่า "OK" ได้กลายเป็นคำยืมในภาษาต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคำคุณศัพท์ "okay" หมายถึง "เพียงพอ", "ยอมรับได้" ("this is okay to send out"), หรือ "ธรรมดา" มักจะไม่ได้มีความหมายว่า "ดี" ("the food was okay") คำว่า "OK" ยังทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ในทำนองเดียวกันได้ด้วย ในฐานะคำอุทาน อาจแสดงถึงการยอมทำตาม ("Okay, I will do that") หรือข้อตกลง ("Okay, that's good") ในฐานะคำนามและคำกริยา จะหมายถึง "ตกลง หรือการตกลง" ("The boss okayed the purchase," และ "The boss gave his okay to the purchase.") ในฐานะคำเชื่อมความ อาจใช้ระดับน้ำเสียงที่เหมาะสมเพื่อแสดงความสงสัย หรือต้องการคำยืนยัน ("Okay?" or "Is that okay?")Yngve, Victor.

ใหม่!!: คำอุทานและOK · ดูเพิ่มเติม »

Yes และ no

ในภาษาอังกฤษยุคใหม่ Yes และ No เป็นคำที่ใช้แสดงการยืนยัน (affirmative) และปฏิเสธ (negative) ตามลำดับ เดิมที ภาษาอังกฤษใช้ระบบคำสี่คำหรือมากกว่ารวมถึงภาษาอังกฤษกลางตอนต้นด้วย แต่ในยุคใหม่ได้ลดลงเหลือระบบสองคำประกอบด้วยเพียงคำว่า "yes" และ "no" บางภาษา การตอบคำถามใช่-ไม่ใช่ (yes-no question) ไม่ได้ใช้คำตอบคำเดียวอย่างคำว่า yes หรือ no ภาษาเวลส์และภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในหลายภาษาที่ตอบคำถามดังกล่าวโดยใช้รูปยืนยันหรือปฏิเสธในกริยานั้น ๆ แทนที่จะใช้คำว่า "yes" และ "no" แม้ว่าทั้งสองภาษาจะมีคำที่หมายความใกล้เคียงกับ "yes" และ "no" ภาษาอื่น ๆ อาจมีทั้งระบบสองคำ สามคำ และสี่คำ ขึ้นกับว่าเจ้าของภาษาใช้คำที่หมายความว่า "yes" หรือ "no" ทั้งหมดกี่คำ บางภาษา เช่น ภาษาละติน ไม่มีระบบคำว่า yes-no คำว่า "yes" และ "no" นั้นมิอาจแบ่งเป็นชนิดของคำใด ๆ ได้ง่าย ๆ แม้ว่าบางครั้งจะถือว่าเป็นคำอุทาน แต่มันไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว และถือว่าไม่ใช่คำกริยาวิเศษณ์ด้วย ความแตกต่างระหว่างภาษา ความจริงที่ว่าคำสำหรับคำว่า "yes" และ "no" ของภาษาต่าง ๆ มีชนิดของคำและการนำไปใช้ไม่เหมือนกัน และบางภาษาไม่มีระบบนี้ ทำให้การแปลภาษาตามสำนวนเจ้าของภาษาทำได้ยาก หมวดหมู่:คำภาษาอังกฤษ.

ใหม่!!: คำอุทานและYes และ no · ดูเพิ่มเติม »

Yo

Yo เป็นคำอุทานสแลงภาษาอังกฤษ มักเป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน คำดังกล่าวเป็นที่นิยมอย่างสูงหลังจากใช้กันทั่วไปในฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลวาเนีย ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1940 แม้ว่ามักจะใช้ทักทายกัน คำว่า yo อาจลงท้ายประโยคได้ เพื่อให้ความสนใจที่บุคคลหรือกลุ่มหนึ่ง ๆ หรือเพื่อเรียกร้องความสนใจจากอีกคนหรืออีกกลุ่มหนึ่ง คำดังกล่าวอาจชี้ให้เห็นว่าคำกล่าวที่เพิ่งพูดออกมาก่อนหน้านั้นสำคัญกว่า หรืออาจเป็นเพียงแค่ "สิ่งดึงดูดความสนใจ".

ใหม่!!: คำอุทานและYo · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »