โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คาร์บอนมอนอกไซด์

ดัชนี คาร์บอนมอนอกไซด์

คาร์บอนมอนอกไซด์ มีสูตรทางเคมี "CO" เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส แต่มีความเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อระบบลำเลียงเลือด โมเลกุลประกอบไปด้วยคาร์บอนหนึ่งอะตอมและออกซิเจนหนึ่งอะตอมเชื่อมกันด้วยพันธะโควาเลนต์ อาจจัดได้ว่าเป็นสารประกอบแอนไฮไดรด์อย่างหนึ่งของกรดฟอร์มิก ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารประกอบคาร์บอน โดยเฉพาะเครื่องยนต์สันดาปภายใน คาร์บอนมอนออกไซด์จะเกิดได้มากเมื่อออกซิเจนไม่เพียงพอในการสันดาป คาร์บอนมอนอกไซด์สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เผาไหม้ในอากาศจะเกิดเปลวเพลิงสีน้ำเงินและให้คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา แม้ว่าจะมีความเป็นพิษอย่างร้ายแรงคาร์บอนมอนออกไซด์ก็มีประโยชน์ในโลกปัจจุบันอย่างมากเพราะเป็นสารตั้งต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างอื่นนานาชนิด หมวดหมู่:พิษวิทยา หมวดหมู่:สารเคมี.

41 ความสัมพันธ์: บุหรี่กฎสัดส่วนพหุคูณกรดฟอร์มิกกรดซอร์บิกการถ่ายโอนสัญญาณการฆ่าตัวตายโดยการเผาถ่านการแปรสภาพเป็นแก๊สภาวะขาดอากาศหายใจมอริส ฟาร์กยานพาหนะแก๊สธรรมชาติวัฏจักรคาร์บอนสสารผสมอากาศกับเชื้อเพลิงเอทานอลทั่วไปสารประกอบอนินทรีย์สปีชีส์เฝ้าระวังออกซิเจนเหลวอนุมูลอิสระทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุลท่อนาโนคาร์บอนดาวพลูโตดาวยูเรนัสดาวศุกร์ดาวหางดาวอังคารควันคาร์บอนซับออกไซค์คาร์บอนไดออกไซด์ซินแก๊สแก๊สธรรมชาติเหลวแก๊สเชี้อเพลิงแก๊สเรือนกระจกโมเลกุลส่งสัญญาณที่สองไรโซเบียมไดคลอโรมีเทนไซโทโครมไซโคลเพนตาไดอีนิลไอเอิร์น ไดคาร์โบนิล ไดเมอร์เชื้อเพลิงชีวภาพเมฆโมเลกุลเหตุระเบิดในเทียนจิน พ.ศ. 2558เฮปตาซีนเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา1-โพรพานอล

บุหรี่

หรี่สองมวน ขณะยังไม่จุด บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และบุหรี่ · ดูเพิ่มเติม »

กฎสัดส่วนพหุคูณ

ตัวอย่าง กฎสัดส่วนพหุคูณ จากสารประกอบออกไซด์ของไนโตรเจน กำหนดให้ไนโตรเจนมีปริมาณ 1 กรัมในทุกสารประกอบ ในทางเคมี กฎสัดส่วนพหุคูณ (law of multiple proportions) เป็นกฎพื้นฐานของปริมาณสารสัมพันธ์ บางครั้งเรียกว่ากฎของดาลตัน ตามชื่อของจอห์น ดาลตันผู้ตั้งกฎดังกล่าว กฎสัดส่วนพหุคูณกล่าวว่า ถ้าธาตุสองชนิดสามารถรวมกันได้เป็นสารประกอบมากกว่าหนึ่งอย่าง กำหนดให้มวลของธาตุชนิดแรกคงที่ อัตราส่วนระหว่างมวลของธาตุชนิดที่สองในสารประกอบแต่ละชนิดที่ว่านั้นจะเป็นเลขจำนวนเต็มน้อยๆ เช่น สารประกอบออกไซด์ของคาร์บอน สองชนิด CO และ CO2 กำหนดให้คาร์บอนมีปริมาณ 100 กรัม ในสารประกอบทั้งสอง ในคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) มีออกซิเจน 133 กรัม ส่วนในคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีออกซิเจน 266 กรัม อัตราส่วนระหว่างมวลออกซิเจนในสารประกอบทั้งสอง คือ 266:133 ≈ 2:1 เป็นสัดส่วนระหว่างจำนวนเต็มน้อยๆ ตามก.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และกฎสัดส่วนพหุคูณ · ดูเพิ่มเติม »

กรดฟอร์มิก

กรดฟอร์มิก หรือกรดมด (Formic acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิกชนิดหนึ่งที่โครงสร้างไม่ซับซ้อน มีสูตรโมเลกุลว่า CH2O2 และเรียกตามระบบ IUPAC ว่า กรดเมทาโนอิก (Methanoic acid), พบตามธรรมชาติในสัตว์จำพวกมดและผึ้ง ซึ่งมีไว้สำหรับป้องกันตัวจากศัตรู, โดยคำว่า "formic" ได้มาจากคำในภาษาละตินว่า formica ซึ่งแปลว่ามดนั่นเอง.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และกรดฟอร์มิก · ดูเพิ่มเติม »

กรดซอร์บิก

กรดซอร์บิก (sorbic acid) หรือ 2,4-กรดเฮกซะไดอีโนอิก (2,4-hexadienoic acid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในธรรมชาติ มีสูตรเคมีคือ C6H8O2 เป็นของแข็งไม่มีสี ละลายในน้ำและระเหิดได้เร็ว.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และกรดซอร์บิก · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายโอนสัญญาณ

วิถีการถ่ายโอนสัญญาณหลัก ๆ (แบบทำให้ง่าย) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในเซลล์ การถ่ายโอนสัญญาณ หรือ การแปรสัญญาณ (signal transduction) เป็นกระบวนการทางเคมีหรือทางกายภาพโดยเป็นลำดับการทำงาน/ลำดับเหตุการณ์ในระดับโมเลกุล ที่โมเลกุลส่งสัญญาณ (ปกติฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาท) จะเริ่มการทำงาน/ก่อสภาพกัมมันต์ของหน่วยรับ ซึ่งในที่สุดมีผลให้เซลล์ตอบสนองหรือเปลี่ยนการทำงาน โปรตีนที่ตรวจจับสิ่งเร้าโดยทั่วไปจะเรียกว่า หน่วยรับ (receptor) แม้ในบางที่ก็จะใช้คำว่า sensor ด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการจับของลิแกนด์กับหน่วยรับ (คือการพบสัญญาณ) จะก่อลำดับการส่งสัญญาณ (signaling cascade) ซึ่งเป็นลำดับเหตุการณ์ทางเคมีชีวภาพตามวิถีการส่งสัญญาณ (signaling pathway) เมื่อวิถีการส่งสัญญาณมากกว่าหนึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับกันและกัน นี่ก็จะกลายเป็นเครือข่าย เป็นการประสานการตอบสนองของเซลล์ บ่อยครั้งโดยเป็นการส่งสัญญาณแบบร่วมกัน ในระดับโมเลกุล การตอบสนองเช่นนี้รวม.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และการถ่ายโอนสัญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าตัวตายโดยการเผาถ่าน

การฆ่าตัวตายโดยการเผาถ่าน เป็นการฆ่าตัวตายโดยเผาถ่านในห้องปิด มีความคล้ายกับวิธีการฆ่าตัวตายด้วยการขาดอากาศหายใจจากแก๊สเฉื่อ.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และการฆ่าตัวตายโดยการเผาถ่าน · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสภาพเป็นแก๊ส

กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (Gasification) เป็นการเปลี่ยน รูปพลังงานจากชีวมวลซึ่งเป็นเชื้อเพลิงแข็งให้เป็นเชื้อเพลิงแก๊ส(แก๊สเชี้อเพลิง) โดยให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 700°C ผ่านตัวกลางของกระบวนการเช่น อากาศ ออกซิเจนที่มีจำนวนจำกัด หรือไอน้ำ ซึ่งกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นจะมีความแตกต่างจากกระบวนการเผาไหม้อย่างสิ้นเชิงโดยการเผาไหม้เป็นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นอย่างสมบูรณ์ในหนึ่งกระบวนการเท่านั้น แต่สำหรับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นเป็นการเปลี่ยนรูปพลังงานเคมีภายในของคาร์บอนในชีวมวลไปเป็นแก๊สที่สามารถเผาไหม้ได้ (Combustible Gas) โดยอาศัยปฏิกิริยา 2 กระบวนการ โดยแก๊สที่ผลิตได้จะมีคุณภาพที่ดีกว่าและง่ายต่อการใช้งานกว่าชีวมวล ยกตัวอย่างเช่น สามารถใช้เดินเครื่องยนต์แก๊ส และกังหันแก๊ส (Gas Turbine) หรือใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงเหลวต่อไป อีกนัยหนึ่ง กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊สเป็นกระบวนการเปลี่ยนรูปทางด้านเคมีความร้อน (Thermochemical Conversion Process) โดยอาศัยอากาศ ออกซิเจน หรือไอน้ำ ที่มีอุณหภูมิสูงกว.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และการแปรสภาพเป็นแก๊ส · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะขาดอากาศหายใจ

วะขาดอากาศหายใจ การขาดอากาศหายใจ การหยุดหายใจหรือการหายใจไม่ออก (asphyxia หรือ asphyxiation) เป็นภาวะขาดออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายอย่างรุนแรงอันเกิดจากการหายใจผิดปกติ ภาวะขาดอากาศหายใจก่อให้เกิดภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อยทั่วไป ซึ่งส่งผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะเป็นหลัก มีหลายเหตุซึ่งสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะขาดอากาศหายใจ ซึ่งล้วนแต่ทำให้บุคคลไม่สามารถได้รับออกซิเจนเพียงพอโดยการหายใจเป็นระยะเวลานาน ภาวะขาดอากาศหายใจทำให้โคม่าหรือเสียชีวิตได้.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และภาวะขาดอากาศหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

มอริส ฟาร์ก

มอริส ฟาร์ก (Maurice Fargues; 23 เมษายน ค.ศ. 1913 — 17 กันยายน ค.ศ. 1947) เป็นนักดำน้ำในสังกัดกองทัพเรือฝรั่งเศส และเป็นเพื่อนสนิทของฌัก กุสโต scuba-museum.com (Retrieved on June 16, 2011) ในเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และมอริส ฟาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ยานพาหนะแก๊สธรรมชาติ

รถยนต์ฮอนด้าซิวิครุ่นปี 2009 ใช้เชื้อเพลิงทางเลือก ยานพาหนะแก๊สธรรมชาติ หรือ เอ็นจีวี (Natural gas Vehicle, NGV) เป็นยานพาหนะใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เช่น แก๊สธรรมชาติอัด หรือ CNG แก๊สธรรมชาติเหลว ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดเพื่อลดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ในปี พ.ศ. 2553 มียานพาหนะที่ใช้แก๊สธรรมชาติทั่วโลกประมาณ 12.7 ล้านคัน ยานพาหนะที่ใช้แก๊สธรรมชาติสามารถใช้ได้ตั้งแต่รถขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่ ยานพาหนะที่ใช้แก๊สธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงจะมีการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่สะอาดกว่าเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ระดับการปลดปล่อยสารก่อมลพิษ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ในปริมาณต่ำกว่าและค่าฝุ่นเป็นศูน.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และยานพาหนะแก๊สธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรคาร์บอน

แผนภูมิของวัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรคาร์บอน เป็นวัฏจักรชีวธรณีเคมี ซึ่งคาร์บอนถูกแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งมีชีวิต, พื้นดิน, น้ำ และบรรยากาศของโลกคาร์บอนเป็นธาตุสำคัญธาตุหนึ่งของสิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบประมาณ 50%ของเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต และในรูปคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช การหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 3 แบบ ตามระยะเวลาที่ใช้ในการหมุนเวียนให้ครบรอบคือ ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และวัฏจักรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

สสารผสมอากาศกับเชื้อเพลิงเอทานอลทั่วไป

ทสรุปของเอทานอลส่วนผสมสำคัญที่นำมาใช้ทั่วโลก มีสสารผสมอากาศกับเชื้อเพลิงเอทานอลทั่วไปใช้หลายแบบทั่วโลก การใช้เอทานอลมีน้ำหรือไร้น้ำในเครื่องยนต์สันดาปภายในจะเป็นไปได้ต่อเมื่อมีการออกแบบหรือดัดแปรเครื่องยนต์สำหรับความมุ่งหมายนั้น และใช้ได้เฉพาะในรถยนต์ รถบรรทุกขนาดเบาและรถจักรยานยนต์ เอทานอลไร้น้ำสามารถผสมกับแกโซลีน (เบนซิน) สำหรับใช้ในเครื่องยนต์แกโซลีน แต่เอทานอลที่มีปริมาณเอทานอลสูงจะได้ก็ต่อเมื่อมีการดัดแปรเครื่องยนต์เล็กน้อย สสารผสมอากาศกับเชื้อเพลิงเอทานอลมีหมายเลข "E" ซึ่งอธิบายร้อยละของเชื้อเพลิงเอทานอลในสสารผสมโดยปริมาณ เช่น E85 คือ เอทานอลไร้น้ำ 85% กับแกโซลีน 15% การผสมเอทานอลต่ำ ตั้งแต่ E5 ถึง E25 เรียกอีกอย่างว่า แก๊สโซฮอล์ (gasohol, ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถานว่า แกโซฮอล) แม้ในระดับนานาชาติ คำนี้ใช้หมายถึงสูตรผสม E10 มากที่สุด สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์นั้นมีองค์ประกอบต่างกับน้ำมันเบนซิน คือน้ำมันเบนซินมี เอมทีบีอี (MTBE) เป็นตัวเพิ่มออคเทน ส่วนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ใช้เอทานอล เป็นตัวเพิ่มออคเทน เอทานอลให้พลังงานน้อยกว่าเอมทีบีอี (MTBE) โดยต่างกันอยู่ร้อยละ 1.6-1.8 การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์นั้นออกซิเจนที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในเอทานอล จะช่วยให้การเผาไหม้ภายในห้องเครื่องสมบูรณ์ขึ้นอีก และลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จะปล่อยออกมาจากท่อไอเสี.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และสสารผสมอากาศกับเชื้อเพลิงเอทานอลทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound) คือสารประกอบเคมีที่นิยามตรงข้ามกับสารประกอบอินทรีย์ เป็นการจัดแบ่งสารเคมีตามความเชื่อแต่ดั้งเดิม ที่ให้สารเคมีที่ไม่ได้เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตเป็นสารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบอนินทรีย์มักไม่มีพันธะเชื่อมระหว่างอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจน ถึงแม้สารประกอบอนินทรีย์จะมีอยู่มากมายแต่เทียบไม่ได้กับจำนวนของสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในโลก สารประกอบคาร์บอนเกือบทั้งหมดถูกจัดให้เป็นสารประกอบอินทรีย์แต่ก็มีบางตัวถูกกำหนดชัดเจนว่าเป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และสารประกอบอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์เฝ้าระวัง

นกคีรีบูนเลี้ยงแบบเดียวกับที่มักถูกใช้ตรวจก๊าซในเหมืองถ่านหิน สปีชีส์เฝ้าระวัง (sentinel species) คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่ถูกใช้เพื่อตรวจจับภัยอันตรายต่อมนุษย์ โดยเตือนก่อนจะเกิดอันตราย เป็นคำที่มักถูกใช้กับภัยทางสิ่งแวดล้อม สัตว์บางชนิดสามารถใช้เพื่อเฝ้าระวังได้เพราะว่าพวกมันอาจตอบสนองต่อภัยอันตรายบางอย่างได้เร็วกว่ามนุษย์ในสภาพแวดล้อมเดียวกันNational Research Council (U.S.). คนได้สังเกตสัตว์เพื่อเป็นสัญญาณภัยที่ใกล้เข้ามาเป็นเวลานานแล้ว โดยมีการใช้พืชและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เพื่อสิ่งนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และสปีชีส์เฝ้าระวัง · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจนเหลว

ังบรรจุออกซิเจนเหลว ออกซิเจนเหลว (liquid oxygen; ย่อ LOX) เป็นออกซิเจนในรูปของเหลวอุณหภูมิต่ำมาก ได้จากการกลั่นลำดับส่วนอากาศเหลว มีสีฟ้าอ่อน มีคุณสมบัติเป็นพาราแมกเนติก ออกซิเจนเหลวมีความหนาแน่น 1.141 g/cm3 (1.141 kg/L, 1141 kg/m3) มีจุดเยือกแข็งที่ 54.36 K (−218.79 °C, −361.82 °F) มีจุดเดือดที่ 90.19 K (−182.96 °C, −297.33 °F) ที่ 101.325 kPa (760 mmHg) มีอัตราส่วนขยายตัว 1:861 ภายใต้ 1 บรรยากาศมาตรฐาน (100 kPa) และที่ 20 °C (68 °F) ด้วยเหตุนี้ จึงมีการขนส่งออกซิเจนเหลวทางอากาศเพื่อใช้หายใจในเชิงพาณิชย์และทางการทหาร ด้วยอุณหภูมิที่ต่ำมาก วัตถุที่สัมผัสกับออกซิเจนเหลวจะเปราะ ออกซิเจนเหลวเป็นตัวออกซิไดซ์ที่มีฤทธิ์สูง หากเผาออกซิเจนเหลวจะทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง วัตถุที่ราดด้วยออกซิเจนเหลวเมื่อถูกเผาจะไหม้อย่างรวดเร็ว ออกซิเจนเหลวใช้เป็นก๊าซเชิงอุตสาหกรรมและใช้เป็นตัวออกซิไดซ์ในการขับเคลื่อนยานอวกาศ โดยผสมกับไฮโดรเจนเหลว เคโรซีนและมีเทน.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และออกซิเจนเหลว · ดูเพิ่มเติม »

อนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (radical หรือมักใช้ว่า free radical) คือ อะตอม โมเลกุลหรือไอออนซึ่งมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือการจัดเรียงเป็นเชลล์เปิด (open shell) อนุมูลอิสระอาจมีประจุเป็นบวก ลบหรือเป็นศูนย์ก็ได้ ด้วยข้อยกเว้นบางประการ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหล่านี้ทำให้อนุมูลอิสระว่องไวต่อปฏิกิริยาสูง อนุมูลอิสระมีบทบาทสำคัญในการสันดาป เคมีบรรยากาศ พอลิเมอไรเซชัน เคมีพลาสมา ชีวเคมี และกระบวนการทางเคมีอีกหลายอย่าง ในสิ่งมีชีวิต ซูเปอร์ออกไซด์ ไนตริกออกไซด์และผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาของมันควบคุมหลายกระบวนการ เช่น ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมตัวกลางของสารประกอบทางชีวภาพหลายชนิด อนุมูลอิสระเกิดขึ้นเป็นปกติจากปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส โคบอลต์ โครเมียม นิเกิลน้อย มักเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยร่างกายจะมีระบบกำจัดอนุมูลอิสระ แต่หากร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอก เช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีไขมันประกอบสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง ๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเลต การแผ่รังสี รังสีเอกซ์ หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากไอเสียรถยนต์ มากเกินไป หรือในภาวะที่ร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ลดลง ก็จะทำให้มีอนุมูลอิสระมากเกินไป เป็นสาเหตุของโรคภัยได้ อนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อไขมัน (โดยเฉพาะไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ) โปรตีน หน่วยพันธุกรรม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ ทำให้เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด โรคที่สำคัญและมีการศึกษากันมาก ได้แก่ โรคหลอดเลือดตีบและแข็งตัว โรคมะเร็งบางชนิด โรคอัลไซเมอร์ โรคไขข้ออักเสบ โรคความแก่ เป็นต้น.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และอนุมูลอิสระ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล

ทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (molecular orbital (MO) theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างอิเล็กทรอนิกของโมเลกุลโดยไม่ได้พิจารณาว่าอิเล็กตรอนจะอยู่เฉพาะในพันธะระหว่างอะตอมเท่านั้น แต่พิจารณาว่าอิเล็กตรอนมีการเคลื่อนที่ไปทั่วโมเลกุลภายใต้อิทธิพลของนิวเคลียสทั้งหมดที่มีในโมเลกุลโดยตัวทฤษฎีใช้ความรู้เกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัมในการอธิบายพฤติกรรมของอิเล็กตรอน เมื่อเรากล่าวถึงออร์บิทัลเชิงอะตอม (atomic orbitals; AOs) เราจะพิจารณาว่าออร์บิทัลประกอบด้วยอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆอะตอมหนึ่งๆนั้น ออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (molecular orbitals; MOs) จะพิจารณาว่าประกอบด้วยเวเลนซ์อิเล็กตรอนของอะตอมต่างๆที่ประกอบกันเป็นโมเลกุลนั่นเอง โดยทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุลถูกเสนอขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จากการศึกษาการเกิดพันธะเคมีโดยการประมาณตำแหน่งของอิเล็กตรอนที่เกิดพันธะหรือออร์บิทัลเชิงโมเลกุลเป็นการรวมกันเชิงเส้นตรงของออร์บิทัลเชิงอะตอม (Linear Combinations of Atomic Orbitals; LCAO) ซึ่งการประมาณนี้ในปัจจุบันจะประยุกต์ใช้ทฤษฎีฟังก์ชันนัลความหนาแน่น (Density Functional Theory; DFT) หรือ แบบจำลองฮาร์ทรี-ฟอกก์ (Hartree–Fock (HF) models) กับสมการชเรอดิงเงอร.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

ท่อนาโนคาร์บอน

ท่อนาโนคาร์บอน (Carbon nanotubes) คือ วัสดุที่มีรูปทรงเป็นท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในระดับนาโนเมตร ผนังท่ออาจมีเพียงแค่ชั้นเดียว (Single-walled) หรือหลายชั้น (Multi-walled) ซึ่งประกอบขึ้นจากอะตอมของธาตุคาร์บอนเพียงธาตุเดียว ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1991 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ Sumio Iijima ปัจจุบันพบว่ามีสมบัติที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ทำเส้นใยเสริมความแข็งแกร่งในวัสดุคอมพอสิท ทำอิเล็กโทรดเพิ่มกำลังไฟและอายุการใช้งานในแบตเตอรี และตัวเก็บประจุ เป็นต้น ท่อนาโนคาร์บอนมีโครงสร้างและสมบัติหลากหลายซึ่งขึ้นกับวิธีที่ใช้ในการสังเคราะห.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และท่อนาโนคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และดาวพลูโต · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยูเรนัส

ซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล ภาพจากยานวอยเอเจอร์ 2 แสดง ดาวยูเรนัส วงแหวน และดวงจันทร์บริวาร ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และดาวยูเรนัส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวศุกร์

วศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และดาวศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหาง

ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางเวสต์ ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และดาวหาง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ควัน

'''ควัน''' จากไฟป่า ควัน จัดเป็นคอลลอยด์ ที่เป็นอนุภาคของของแข็งหรือของเหลว กระจายอยู่ในตัวกลางที่เป็นแก๊สที่มีอยู่ในอากาศ จะถูกปล่อยออกมาเมื่อมีการเผาวัสดุหรือเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน พร้อมกับปริมาณของอากาศหรือผสมในมวลสารชนิดอื่น ซึ่งเป็นส่วนเกินจากผลที่เกิดขึ้นจากความร้อน เช่น เตา, เทียนไข, ตะเกียงน้ำมัน และเตาไฟ แต่ก็อาจใช้สำหรับเป็นการกำจัดศัตรูพืช, การสื่อสารโดยใช้สัญญาณควัน, การป้องกันตัวโดยการสร้างฉากควัน, การทำอาหารเช่นแซลมอนรมควัน หรือเครื่องยาสูบชนิดต่างๆ ควันยังใช้ในพิธีกรรม, ธูปบูชา, ยางหอม ที่เผาเพื่อผลิตกลิ่น ในบางครั้งควันยังถูกนำไปใช้เป็นสารแต่งกลิ่น และเครื่องป้องกันสำหรับของกินต่างๆ ควันยังเป็นส่วนประกอบของไอเสียที่เกิดจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอเสียจากดีเซล ซึ่งควันจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ควันดำ คืออนุภาคของถ่านหรือคาร์บอนที่มีลักษณะเป็นผงและเขม่าเล็ก ๆ ที่เหลือจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นมาส่วนใหญ่ เช่น รถเมล์ รถปิกอัพดีเซล รถที่มีขนาดใหญ่ทั่วๆไป และจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งควันดำนอกจากจะบดบังยังส่งผลต่อการมองเห็นและเกิดความสกปรกและยังสามารถเข้าไปสู่ปอดโดยการหายใจอีกด้วย และสะสมอยู่ในถุงลมปอดซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง หรือเป็นตัวนำสารให้เกิดโรคมะเร็งปอดและทำให้หลอดลมอักเสบได้ ควันขาว เกิดจากเครื่องยนต์ที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี โดยเฉพาะรถจักยานยนต์เก่าๆ ควันขาวคือสารไฮโดรคาร์บอนหรือน้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงที่ยังไม่ถูกเผาไหม้ แล้วมีการปล่อยออกมาทาง ท่อไอเสีย โดยที่สารไฮโดรคาร์บอนนี้เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะเกิดปฏิกิริยาในการสร้างก๊าซโอโซนซึ่งเป็นพิษภัยที่มีความรุนแรงการสูดควัน ถือเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของอัคคีภัยในอาคารสถานที่ ควันสามารถสังหารผู้คนได้โดยความร้อน, สารพิษ และเข้าปอดจนเกิดการระคายเคืองโดยคาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้อื่นๆ อนุภาคของควันจัดเป็นละอองลอยหรือหมอก ของอนุภาคของแข็งหรือหยดของเหลวที่แพร่กระจายไปในอากาศซึ่งมักมองเห็นได้เมื่อถูกกระทบกับแสง โดยปกติแล้วหมอกควันไม่ได้ขัดขวางต่อการมองภาพ หากแต่มันเป็นอนุภาคที่มีความละเอียดจนบดบังการมองเห็นแบบปกติไป.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และควัน · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอนซับออกไซค์

ร์บอนซับออกไซค์ หรือ ไตรคาร์บอนซับออกไซค์ คือปริมาณออกไซด์ของคาร์บอนที่มีอยู่ในสูตรเคมี C3O2 หรือ O.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนซับออกไซค์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอนไดออกไซด์

ร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ และหาจยใจไม่ออกเนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซินแก๊ส

ซินแก๊ส Syngas, or synthesis gas, เป็นแก๊สเชื้อเพลิงผสม ส่วนผสมหลักประกอบด้วย ไฮโดรเจน, คาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ชื่อนี้เพราะถูกใช้เป็นตัวกลางในการผลิต synthetic natural gas (SNG) และ แอมโมเนีย หรือ เมทานอล นอกจากนี้ ซินแก๊ส ยังใช้ผลิตปิโตรเลียมสังเคราะห์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงและตัวหล่อลื่นในการผลิตแก๊สโวลีนอีกด้วย ซินแก๊สเผาไหม้ได้ดี และถูกนำไปใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในบ่อยๆ แต่มีความหนาแน่นของพลังงานน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของแก๊สธรรมชาติเท่านั้น วิธีการผลิตซินแก๊ส คือการใช้ขบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (gasification) ของถ่านหิน หรือ มวลชีวภาพ หรือขบวนการเปลี่ยนสถานะจากพลังงานเหลือใช้โดยใช้เทคนิคของ gasification หรือใช้ขบวนการ เปลี่ยนรูปไอน้ำของแก๊สธรรมชาติหรือสารไฮโดรคาร์บอนเหลวให้เป็นแก๊สไฮโดรเจน.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และซินแก๊ส · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สธรรมชาติเหลว

ัญลักษณ์แก๊สธรรมชาติเหลวของจีน แก๊สธรรมชาติเหลว (Liquefied natural gas หรือ LNG) เป็นก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำไปทำให้สถานะของก๊าซกลายเป็นของเหลวโดยทำให้อุณหภูมิลดลงส่งผลให้ปริมาตรลดลงเหลือประมาณ 1/600 เท่าของปริมาตรเดิม โดยการใช้ความเย็นที่ ลบ 162องศาเซลเชียส หรือที่ลบ260องศาฟาเรนท์ไฮต์ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการขนส่ง เมื่อต้องการนำไปประโยชน์จะนำเข้าสู่กระบวนการเพิ่มอุณหภูมิซึ่งกลายเป็นเชื้อเพลิงในรูปของแก๊สธรรมชาติอัดสาระคดี เรียกข้อมูลล่าสุด 21 เมษายน 2555.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และแก๊สธรรมชาติเหลว · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สเชี้อเพลิง

แก๊สเชื้อเพลิง เป็นเชื้อเพลิงแบบหนึ่งที่ในสภาวะปกติอยู่ในรูปของแก๊ส ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอน (เช่น มีเทน หรือ โพรเพน) บวกกับไฮโดรเจน, คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือสารประกอบอื่นๆ เป็นสารทีใช้สร้างพลังงานความร้อนหรือพลังงานแสงสว่างและสามารถส่งตามท่อออกจากแหล่งผลิตได้ แก๊สเชื้อเพลิงจะต้องถูกเติมกลิ่นเข้าไป เพื่อเตือนผู้ใช้หากเกิดการรั่วไหลเกิดขึ้น ในปัจจุบัน แก๊สที่ใช้ส่วนใหญ่คือ แก๊สธรรมชาต.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และแก๊สเชี้อเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สเรือนกระจก

ice core) ล่าง: ปริมาณสุทธิของคาร์บอนที่เพิ่มในบรรยากาศเปรียบเทียบกับคาร์บอนที่ปลดปล่อยจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) หรือบางครั้งเรียกย่อๆว่า GHG คือแก๊สในบรรยากาศที่ดูดซับและปลดปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)อินฟราเรดร้อน (thermal infrared range) ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนบางส่วนออกสู่ห้วงอวกาศภายนอกและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิในโลกจะต่ำกว่าปัจจุบันที่ 14 °C (57 °F) ลงอีก 33 °C (59 °F) แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และแก๊สเรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง

มเลกุลส่งสัญญาณที่สอง (Second messenger) เป็นโมเลกุลให้สัญญาณภายในเซลล์ (intracellular signaling molecule) ที่เซลล์หลั่งออกเพื่อเริ่มการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพ เช่น การเพิ่มจำนวนเซลล์ (proliferation) การเปลี่ยนสภาพ (differentiation) การอพยพย้ายที่ การรอดชีวิต และอะพอพโทซิส ดังนั้น โมเลกุลส่งสัญญาณที่สองจึงเป็นองค์ประกอบเริ่มต้นองค์หนึ่งที่จุดชนวนลำดับการถ่ายโอนสัญญาณ (signal transduction) ภายในเซลล์ ตัวอย่างของโมเลกุลส่งสัญญาณที่สองรวมทั้ง cyclic adenosine monophosphate (cAMP), cyclic guanosine monophosphate (cGMP), inositol trisphosphate (IP3), ไดกลีเซอไรด์ และแคลเซียม เซลล์จะหลั่งโมเลกุลส่งสัญญาณที่สองเมื่อได้รับโมเลกุลส่งสัญญาณนอกเซลล์ ซึ่งเรียกว่า โมเลกุลส่งสัญญาณที่หนึ่ง (first messenger) และเป็นปัจจัยนอกเซลล์ บ่อยครั้งเป็นฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาท เช่น เอพิเนฟรีน, growth hormone, และเซโรโทนิน เพราะฮอร์โมนแบบเพปไทด์และสารสื่อประสาทปกติจะเป็นโมเลกุลชอบน้ำ จึงไม่อาจผ่านข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งเป็นชั้นฟอสโฟลิพิดคู่ เพื่อเริ่มการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์โดยตรง นี่ไม่เหมือนฮอร์โมนแบบสเตอรอยด์ซึ่งปกติจะข้ามได้ การทำงานที่จำกัดเช่นนี้จึงทำให้เซลล์ต้องมีกลไกถ่ายโอนสัญญาณ เพื่อเปลี่ยนการส่งสัญญาณของโมเลกุลที่หนึ่งให้เป็นการส่งสัญญาณของโมเลกุลที่สอง คือให้สัญญาณนอกเซลล์แพร่กระจายไปภายในเซลล์ได้ ลักษณะสำคัญของระบบนี้ก็คือ โมเลกุลส่งสัญญาณที่สองอาจจับคู่ในลำดับต่อ ๆ ไปกับกระบวนการทำงานของ kinase แบบ multi-cyclic เพื่อขยายกำลังสัญญาณของโมเลกุลส่งสัญญาณแรกอย่างมหาศาล ยกตัวอย่างเช่น RasGTP จะเชื่อมกับลำดับการทำงานของ Mitogen Activated Protein Kinase (MAPK) เพื่อขยายการส่งสัญญาณแบบ allosteric ของปัจจัยการถอดรหัส (transcription factor) เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ เช่น Myc และ CREB นักเภสัชวิทยาและเคมีชีวภาพชาวอเมริกัน เอิร์ล วิลเบอร์ ซัทเทอร์แลนด์ จูเนียร์ (Earl Wilbur Sutherland, Jr) เป็นผู้ค้นพบโมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง เป็นงานที่เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี..

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และโมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ไรโซเบียม

รโซเบียม (Rhizobium) เป็นจีนัสของแบคทีเรียที่อยู่ในปมรากของพืชตระกูลถั่ว มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงตลอดวงชีวิต แหล่งพลังงานของไรโซเบียมได้แก่ มอลโตส ซูโครส กลูโคสและแมนนิทอลแต่ไม่สามารถใช้เซลลูโลส แป้งและเพกตินเป็นแหล่งพลังงานได้ สมศักดิ์ วังใน.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และไรโซเบียม · ดูเพิ่มเติม »

ไดคลอโรมีเทน

ลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์ (Dichloromethane หรือ Methylene chloride) คือ สารประกอบชนิดหนึ่ง มีสูตรเป็น CH2Cl2 เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ง่าย มีกลิ่นหอม มักใช้เป็นตัวทำละลาย เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเป็นสารประกอบคลอโรคาร์บอนที่มีอันตรายน้อยที่สุดชนิดหนึ่ง การเตรียมไดคลอโรมีเทนสามารถทำได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1840 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อองรี วิกเตอร์ เรโญลต์ (Henri Victor Regnault) โดยแยกไดคลอโรมีเทนออกจากของผสมของคลอโรมีเทนกับคลอรีนระหว่างที่ถูกแสงอาทิต.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และไดคลอโรมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

ไซโทโครม

ซโตโครมซีกับฮีมซี ไซโทโครม (Cytochromes) เป็นโปรตีนที่มีหมู่ฮีมที่รับผิดชอบต่อการสร้าง ATP จากการขนส่งอิเล้กตรอน พบทั้งที่เป็นหน่วยเดียว เช่น ไซโทโครมซี หรือเป็นหน่วยย่อยของเอนไซม์เชิงซ้อนที่เร่งปฏิกิริยารีดอกซ.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และไซโทโครม · ดูเพิ่มเติม »

ไซโคลเพนตาไดอีนิลไอเอิร์น ไดคาร์โบนิล ไดเมอร์

ซโคลเพนตาไดนิลไอเอิร์น ไดคาร์โบนิล ไดเมอร์ (Cyclopentadienyliron dicarbonyl dimer) เป็นสารประกอบเคมีที่มีสูตร (C5H5)2Fe2(CO)4 นอกจากนี้ยังย่อเป็น Cp2Fe2(CO)4 มันถูกเรียกว่า Fp2 หรือ "ฟิบไดเมอร์" มันเป็นผลึกของแข็งแดงเข้มสีม่วง ซึ่งมีได้อย่างง่ายดายที่ละลายน้ำได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ขั้วปานกลาง เช่น คลอโรฟอร์ม และ ไพไรดิน แต่อย่างน้อยสามารถละลายในคาร์บอนเตตระคลอไรด์ และคาร์บอนไดซัลไฟด์ Cp2Fe2(CO)4 เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำแต่มีเสถียรภาพทางน้ำ.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และไซโคลเพนตาไดอีนิลไอเอิร์น ไดคาร์โบนิล ไดเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิงชีวภาพ

ื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เป็น เชื้อเพลิง ที่ได้จาก ชีวมวล หรือ มวลชีวภาพ ซึ่งเป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิต หรือ ผลิตผลจากการสร้างและสลายของสิ่งมีชีวิต (metabolic byproducts) เช่นมูลสัตว์ ซึ่งเป็น พลังงานทดแทน (Alternative energy) และเป็นพลังงานสะอาด (clean energy)ไม่เหมือนพลังงานจาก แหล่งธรรมชาติ อื่น เช่น ปิโตรเลียม ถ่านหิน และ เชื้อเพลิง นิวเคลียร.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และเชื้อเพลิงชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เมฆโมเลกุล

กลุ่มเมฆในเนบิวลากระดูกงูเรือซึ่งถูกแสงดาวเป็นเวลาหลายล้านปีจนมีอุณหภูมิสูงมากและแตกตัวออกจากเนบิวลา ใกล้ ๆ กันจะเห็นดาวฤกษ์สว่างอยู่ ภาพของเมฆกลายเป็นสีแดงเพราะกระบวนการขจัดแสงน้ำเงินเพื่อลดความฟุ้งของฝุ่นในภาพ ภาพนี้ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในปี พ.ศ. 2542 เมฆโมเลกุล (Molecular Cloud) คือเมฆระหว่างดวงดาวชนิดหนึ่งที่มีความหนาแน่นมากและมีขนาดใหญ่พอจะทำให้เกิดการก่อตัวของโมเลกุลได้ โดยมากจะเป็นโมเลกุลของไฮโดรเจน (H2) บางครั้งก็เรียกว่า "อนุบาลดาวฤกษ์" (Stellar nursery) ในกรณีที่มีการก่อตัวของดาวฤกษ์อยู่ภายใน การตรวจจับโมเลกุลไฮโดรเจนโดยการสังเกตการณ์อินฟราเรดหรือการสังเกตการณ์คลื่นวิทยุจะทำได้ยากมาก ดังนั้นการตรวจจับมักใช้การสำรวจความมีอยู่ของ H2 โดยอาศัย CO (คาร์บอนมอนอกไซด์) โดยถือว่าสัดส่วนระหว่างการสะท้อนแสงของ CO กับมวล H2 เป็นค่าคงที่ แม้ว่าหลักการของสมมุติฐานนี้จะยังเป็นที่สงสัยอยู่ในการสังเกตการณ์ดาราจักรแห่งอื่น.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และเมฆโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

เหตุระเบิดในเทียนจิน พ.ศ. 2558

แผนที่บริเวณท่าเรือเทียนจิน พ.ศ. 2554 ภาพความเสียหายต่ออาคารและรถยนต์ที่ปรากฏในเช้าวันต่อมา ควันไฟจากการลุกไหม้ในเช้าวันต่อมา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม..

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และเหตุระเบิดในเทียนจิน พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

เฮปตาซีน

ปตาซีน (Heptacene) เป็นโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ที่มีวงอะซีนเชื่อต่อกัน 7 วง สารตัวนี้เป็นสารที่นักเคมีพยายามศึกษามานาน เพราะศักยภาพที่น่าสนใจทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ สามารถสังเคราะห์ได้ใน..

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และเฮปตาซีน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา

รื่องฟอกไอเสียแบบใช้เหล็กเป็นแกนรองรับสารเร่งปฏิกิริยา เครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา (catalytic converter) เป็นอุปกรณ์สำหรับ กำจัด ลด ปริมาณมลพิษ ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ก่อนปล่อยออกสู่บรรยาก.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

1-โพรพานอล

1-โพรพานอล (1-Propanol) หรือ โพรพาน-1-ออล (Propan-1-ol) หรือโพรพิลแอลกอฮอล์ (Propyl alcohol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยคาร์บอนสามอะตอมในหนึ่งโมเลกุลประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิลที่ปลาย แอลกอฮอล์ชนิดนี้ใส ไม่มีสี ติดไฟได้ มีสมบัติทางเคมีเช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ทั่วไปคือ สามารถฟอกสีโบรมีนได้ สามารถทำปฏิกิริยากับกรดอะซิติกเกิดเป็นโพรพิลอะซิเตต โดยอาศัยกรดซัลฟิวริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา 1-โพรพานอลเตรียมได้ โดยอาศัยปฏิกิริยาเติมไฮโดรเจนของโพรพิโอนัลดีไฮด์ ซึ่งโพรพิโอนัลดีไฮด์เตรียมได้จากปฏิกิริยาไฮโดรฟอร์มิเลชันของเอทิลีน กับคาร์บอนมอนอกไซด์ และ ไฮโดรเจน ในสภาวะที่มีตัวเร่งปฏิกิริยา 1-โพรพานอลสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในได้ โดยมีค่าเลขออกเทนที่ 118 และดัชนีต่อต้านการน็อก (Anti-Knock Index) ที่ 108.

ใหม่!!: คาร์บอนมอนอกไซด์และ1-โพรพานอล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

COCarbon monoxide

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »