สารบัญ
118 ความสัมพันธ์: บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนบาร์เซโลนาชาวกอทชาวมัวร์ชาวยิวเซฟาร์ดีชาวโปรตุเกสชาวเคลต์บูร์โกสฟิเดลิโอพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนกลุ่มภาษาคอเคเซียนกลุ่มภาษาเคลต์กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปกลุ่มภาษาเซมิติกกอร์ตาโดกอร์โดบา (ประเทศสเปน)กัสเตยอนเดลาปลานาการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์การเคลื่อนย้ายเรลิกกาเซเรสภาษาบาเลนเซียภาษาฟินิเชียภาษาลาดิโนภาษาสเปนภาษาสเปนเก่าภาษาอาหรับภาษาฮีบรูภาษาของชาวยิวภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนียภูมิศาสตร์ยุโรปมะลิมัสยิด-มหาวิหารกอร์โดบายิบรอลตาร์ยิบรอลตาร์ (แก้ความกำกวม)ยุโรปใต้รัฐร่วมประมุขรัฐนักรบครูเสดรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาราชบัลลังก์กัสติยาราชรัฐกาตาลุญญาราชวงศ์ราชวงศ์บูร์กอญราชวงศ์ตรัสตามาราราชอาณาจักรกัสติยาราชอาณาจักรวิซิกอทราชอาณาจักรโปรตุเกสราชอาณาจักรเลอองรายชื่อสนธิสัญญา... ขยายดัชนี (68 มากกว่า) »
บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน
ริเวณเมดิเตอร์เรเนียนที่ปลูกมะกอกได้ แผนที่การเมืองของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean area) ประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในความหมายทางชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) “บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน” หมายถึงบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่อุ่น, มีฝนตกระหว่างฤดูหนาว, แห้งระหว่างหน้าร้อนที่เหมาะแก่พืชพันธุ์เมดิเตอร์เรเนียน กฎที่ว่ากันง่ายๆ คือเป็นบริเวณ “โลกเก่า” (Old World) ที่ปลูกมะกอกได้.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน
บาร์เซโลนา
ร์เซโลนา (Barcelona) หรือ บาร์ซาโลนา (Barcelona) เป็นเมืองหลักของแคว้นกาตาลุญญา และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองทั้งในด้านขนาดและประชากรของประเทศสเปน มีประชากรในตัวเมือง 1,620,943 คน แต่ถ้านับปริมณฑลโดยรอบอาจมากกว่า 4 ล้านคน ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของคาบสมุทรไอบีเรีย ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษา คือ ภาษากาตาลาและภาษาสเปน บาร์เซโลนาเป็นเมืองท่าสำคัญ และเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นอาณานิคมของโรมันมาก่อน เคยถูกยึดครองโดยชาติต่าง ๆ หลายครั้ง รวมทั้งฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและบาร์เซโลนา
ชาวกอท
อตาลันด์ทางใต้ของสวีเดนที่อาจจะเป็นต้นกำเนิดของชนกอท ชาวกอท (Goths) เป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกที่มีที่มาจากกึ่งตำนานสแกนด์ซา (Scandza) ที่เชื่อกันว่าอยู่ในบริเวณที่เป็นเยอตาลันด์ (Götaland) ในสวีเดนปัจจุบัน ชนกอทข้ามทะเลบอลติกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 มายังบริเวณที่ได้รับชื่อว่ากอทิสแกนด์ซา (Gothiscandza) ที่เชื่อว่าอยูในบริเวณตอนใต้ของบริเวณวิสตูลาในพอเมอเรเลีย (Pomerelia) ในโปแลนด์ปัจจุบัน อารยธรรมวีลบาร์ค (Wielbark culture) เป็นอารยธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเริ่มมาตั้งถิ่นฐานของชนกอทและการกลืนตัวกับชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมากลุ่มชนกอทก็เริ่มโยกย้ายถิ่นฐานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตามลำวิสตูลาแม่น้ำวิสตูลาไปจนถึงซิทเธีย (Scythia) บนฝั่งทะเลดำ ในยูเครนปัจจุบัน และได้ทิ้งร่องรอยทางโบราณคดีไว้ในวัฒนธรรมเชอร์นยาคอฟ (Chernyakhov culture) ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 3 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนกอทซิทเธียก็แยกเป็นสองกลุ่ม: เทอร์วิงกิ (Thervingi) และ กรูทุงกิ (Greuthungi) แบ่งแยกกันโดยแม่น้ำนีสเตอร์ (Dniester River) ในช่วงเวลานี้ชนกอทก็รุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นระยะ ๆ ระหว่างสมัยที่เรียกว่าสงครามกอทิก ต่อมาชนกอทก็ยอมรับคริสต์ศาสนา ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ฮั่นก็มารุกรานดินแดนกอททางตะวันออก ชนกอทบางกลุ่มถูกปราบปรามและในที่สุดก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฮันนิค (Hunnic Empire) อีกกลุ่มหนึ่งถูกผลักดันเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และที่ 6 ชนกอทก็แยกตัวออกเป็นวิซิกอทและออสโตรกอท ทั้งสองกลุ่มก่อตั้งรัฐที่มีอำนาจหลังจากจักรวรรดิโรมันในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลี ชนกอทหันมานับถือคริสต์ศาสนาลัทธิแอเรียน โดยวูลฟิลานักสอนศาสนาครึ่งกอทผู้ต่อมาย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเมอเซีย (ต่อมาเป็นบริเวณในบัลแกเรีย) กับกลุ่มผู้ติดตาม วูลฟิลาแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษากอทิค แม้ว่ากอทจะมีอำนาจในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลีแต่ก็มาพ่ายแพ้ต่อจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ผู้พยายามฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ต่อมากอทก็ถูกรุกรานโดยชนแวนดัล (Vandals) และต่อมาชนลอมบาร์ด การที่มีการติดต่อกับประชาชนโรมันของอดีตจักรวรรดิโรมันอยู่เป็นเวลานานทำให้ในที่สุดกอทก็เปลี่ยนไปยอมรับนิกายโรมันคาทอลิก ความเสื่อมโทรมของกลุ่มชนกอทมาเร่งให้เร็วขึ้นเมื่อได้รับความพ่ายแพ้ต่อมัวร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภาษาและวัฒนธรรมของกอทก็เริ่มสูญหายไป นอกจากบางส่วนที่ไปปรากฏในวัฒนธรรมอื่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กลุ่มออสโตรกอทที่หลงเหลืออยู่ก็ไปปรากฏตัวที่ไครเมีย แต่การบ่งถึงเชื้อชาติก็ไม่เป็นที่แน่นอน.
ชาวมัวร์
ชาวมัวร์ (Moors) ในยุคกลาง คำว่า “มัวร์” เป็นคำที่หมายถึงชนมุสลิมที่อาศัยอยู่ที่คาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาเหนือซึ่งเดิมเป็นชนอาหรับ หรือ เบอร์เบอร์ คำนี้ใช้เฉพาะในการอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันคำนี้ไม่ใช้แล้ว คำนี้จะใช้กล่าวถึงชนมุสลิมในประเทศสเปนแม้แต่ในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นคำโบราณและไม่ถูกต้อง เพราะคำนี้รวมชนมุสลิมและชนที่ไม่ใช่มุสลิมที่เป็นชาวอาหรับ เบอร์เบอร์ และชาวอาฟริกาอื่นๆ หรือบางครั้งก็รวมชนมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรียด้วย ในภาษาสเปนคำนี้เป็นคำที่ถือผิว หมวดหมู่:ชาวอาหรับ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและชาวมัวร์
ชาวยิวเซฟาร์ดี
วยิวเซฟาร์ดี (Sephardi Jews; ספרדי; ฮิบรูมาตรฐาน: Səfardiไทบีเรีย Səp̄arədî; พหูพจน์ ספרדים, ฮิบรูใหม่: Səfaradim ไทบีเรีย: Səp̄arədîm; Sefardíes; Sefarditas, Σεφάρδοι, Sefarad, จูเดโอ-สเปน: Sefardies) เป็นชนกลุ่มย่อยของกลุ่มชนยิวที่มาจากคาบสมุทรไอบีเรีย และ แอฟริกาเหนือ ที่มักจะกล่าวว่าคู่กับชาวยิวอัชเคนาซิ (Ashkenazi Jews) หรือ ชาวยิวมิซราฮิ (Mizrahi Jews).
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและชาวยิวเซฟาร์ดี
ชาวโปรตุเกส
วโปรตุเกส (os portugueses; Portuguese people) คือชนชาติและกลุ่มชาติพันธุ์จากประเทศโปรตุเกส ทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตอนใต้-ตะวันตกของทวีปยุโรป ใช้ภาษาโปรตุเกส โดยมากนับถือโรมันคาทอลิก จากประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโปรตุเกสและการล่าอาณานิคมในแอฟริกา เอเชีย และทวีปอเมริกา เช่นเดียวกับการอพยพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทำให้มีสังคมชาวโปรตุเกสในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและชาวโปรตุเกส
ชาวเคลต์
ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและชาวเคลต์
บูร์โกส
ที่ตั้งเมืองบูร์โกสในประเทศสเปน มหาวิหารบูร์โกส อนุสาวรีย์เอลซิด ช่องโค้งซานตามารีอา บูร์โกส (Burgos) เป็นเมืองหลักของจังหวัดบูร์โกสในแคว้นกัสติยาและเลออน ทางภาคเหนือของประเทศสเปน ตั้งอยู่บริเวณขอบด้านเหนือของที่ราบสูงตอนกลาง (Meseta Central) ห่างจากบายาโดลิดเมืองหลักของแคว้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 122 กิโลเมตร และห่างจากกรุงมาดริดไปทางทิศเหนือ 244.7 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 173,600 คนเฉพาะในอาณาเขตของเมืองและอีกประมาณ 10,000 คนในเขตชานเมือง ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีมนุษย์ดึกดำบรรพ์ (เช่น มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล) เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่เป็นเมืองบูร์โกสในปัจจุบันอย่างน้อยตั้งแต่ยุคหินใหม่ และเมื่อชาวโรมันได้เข้าครอบครองพื้นที่แถบนี้ ก็พบว่ามีชนพื้นเมืองเคลติเบเรียนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ในสมัยจักรวรรดิโรมันดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดฮิสปาเนียซีเตรีออร์และของจังหวัดฮิสปาเนียตาร์ราโกเนนซิสในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาววิซิกอทสามารถขับไล่ชาวซูเอบีออกไปได้และมีอำนาจในแถบนี้แทน จนกระทั่งชาวอาหรับบุกยึดคาบสมุทรไอบีเรียในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 แถบนี้จึงตกเป็นของชาวอาหรับด้วย แต่ก็ไม่ได้ทิ้งร่องรอยที่แสดงการครอบครองไว้มากนัก พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 มหาราชทรงตีเมืองนี้คืนได้สำเร็จประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 9 และสร้างปราสาทไว้เป็นจำนวนมากเพื่อใช้ป้องกันอาณาจักรของชาวคริสต์ทางเหนือที่ได้ขยายพื้นที่ลงมาทางทิศใต้นับจากนั้น ดินแดนแถบนี้ภายหลังจึงมีชื่อเรียกว่า กัสติยา ซึ่งแปลว่า "ดินแดนแห่งปราสาท" บูร์โกสได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเมืองตั้งแต่ ค.ศ.
ฟิเดลิโอ
ฟิเดลิโอ, โอปุสที่ 72 (Fidelio, Op. 72) หรือ ลีโอนอร์ (Leonore) เป็นอุปรากรภาษาเยอรมันความยาว 2 องก์ แต่งโดยลุดวิจ ฟาน เบโทเฟินในปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและฟิเดลิโอ
พระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส
ระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Charles VII de France; Charles VII of France) (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1403- 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1461) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัว ที่ได้รับการขนานพระนามว่า “le Victorieux” (ผู้พิชิต) หรือ “le Bien-Servi” (ผู้ได้รับการสนองพระบรมราชโองการเป็นอย่างดี) พระเจ้าชาร์ลทรงเป็นเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส การขึ้นครองราชบัลลังก์ของพระองค์ได้รับการคัดค้านโดยฝ่ายอังกฤษที่ขณะนั้นมีอำนาจอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษที่นำโดยจอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 ที่ทำการปกครองฝรั่งเศสแทนพระเจ้าเฮนรีอยู่ในปารีสก็อ้างว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทรงเป็นผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอย่างถูกต้องตามที่ระบุในสนธิสัญญาตรัวส์ (Treaty of Troyes) แต่พระเจ้าชาร์ลก็ทรงได้เข้าทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่เมืองแรงส์ในปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน
ระเจ้าเฟรนานโดที่ 2, พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอน หรือ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 5 แห่งคาสตีล (สเปน: Fernando II de Aragón, อังกฤษ: Ferdinand II of Aragon; 10 มีนาคม พ.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน
กลุ่มภาษาคอเคเซียน
กลุ่มภาษาคอเคเซียน (Caucasian languages)เป็นกลุ่มภาษาใหญ่ที่มีผู้พูดมากกว่า 10 ล้านคนในบริเวณเทือกเขาคอเคซัสของยุโรปตะวันออกและเอเชียตะวันตกซึ่งอยู่ระหว่างทะเลดำกับทะเลสาบแคสเปียน นักภาษาศาสตร์จัดแบ่งภาษาในบริเวณนี้ออกเป็นหลายตระกูล ภาษาบางกลุ่มไม่พบผู้พูดนอกบริเวณเทือกเขาคอเคซัสจึงเรียกว่ากลุ่มภาษาคอเคซั.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและกลุ่มภาษาคอเคเซียน
กลุ่มภาษาเคลต์
กลุ่มภาษาเคลต์เป็นลูกหลานของภาษาเคลต์ตั้งเดิมหรือภาษาเคลต์ทั่วไปซึ่งเป็นภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน คำว่าเคลต์เป็นคำที่ประดิษฐ์โดย Edward Lhuyd เมื่อ..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและกลุ่มภาษาเคลต์
กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรป
กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรป (Continental Celtic languages) เป็นชื่อในยุคใหม่ของกลุ่มภาษาเคลต์ที่ตายไปแล้วและเคยใช้พูดในบริเวณภาคพื้นยุโรป (ตรงข้ามกับกลุ่มภาษาเคลต์หมู่เกาะที่มีจุดกำเนิดในอังกฤษและไอร์แลนด์) กลุ่มภาษานี้ใช้พูดโดยกลุ่มชนที่ชาวโรมันและกรีกเรียกว่าเกลตอย เคลต์ กอลและกาลาแต ภาษาเหล่านี้ใช้พูดตั้งแต่คาบสมุทรไอบีเรียไปจนถึงคาบสมุทรบอลข่านและเอเชียน้อย ภาษาเหล่านี้ถูกแทนที่ด้วยกลุ่มภาษาเยอรมันและกลุ่มภาษาอิตาลี ในยุคก่อนโรมัน ชาวเคลต์มีภาษาพูดและสำเนียงต่างๆมากกว่า 12 ภาษา ซึ่งแบ่งได้เป็น.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและกลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรป
กลุ่มภาษาเซมิติก
หมายของอมาร์นา เขียนด้วย ภาษาอัคคาเดีย กลุ่มภาษาเซมิติก (Semitic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจะงอยของแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอัมฮารา (27 ล้านคน) ภาษาตึกรึญญา (6.9 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน) กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรกๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอาหรับ อักษรแอราเมอิก อักษรซีรีแอก อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและกลุ่มภาษาเซมิติก
กอร์ตาโด
กาเฟกอร์ตาโด กอร์ตาโด (cortado) หรือ กาเฟกอร์ตาโด (café cortado) เป็นกาแฟเอสเปรสโซที่เติมนมอุ่นลงไปเล็กน้อยเพื่อลดความเป็นกรด โดยทั่วไปไม่มีฟองนมมากนัก กาแฟชนิดนี้เป็นที่รู้จักอย่างดีในสเปน โปรตุเกส และลาตินอเมริกา café noisette คำว่า cortado เป็นรูปกริยาขยายในอดีตกาลของคำกริยาภาษาสเปน cortar แปลว่า "ตัด" ในที่นี้หมายถึง "ตัดรส" หรือ "ทำให้เจือจาง" นอกจากคำว่ากอร์ตาโดแล้ว ในเวเนซุเอลายังเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า "กาเฟมาร์รอน" (café marrón แปลว่า กาแฟสีน้ำตาล) เพื่อแยกความแตกต่างกับเอสเปรสโซซึ่งจะเรียกว่า "กาเฟเนโกร" (café negro แปลว่า กาแฟดำ) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "เนกริโต" (negrito) ส่วนในคิวบาและปวยร์โตรีโกเรียกว่า "กอร์ตาดิโต" (cortadito) สำหรับภาษาอื่น ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรียและลาตินอเมริกานั้น กาแฟชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "ตัลยัต" (tallat) ในภาษากาตาลา, "เอบากี" (ebaki) ในภาษาบาสก์ และ "ปิงกู" (pingo) หรือ "กาโรตู" (garoto) ในภาษาโปรตุเกส อนึ่ง ในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาหลัก บางครั้งก็จำเป็นต้องแยกความแตกต่างระหว่างกอร์ตาโดกับคัฟแฟะมัคคียาโตและคัปปุชชีโนให้ชัดเจน โดยคัฟแฟะมัคคียาโตจะมีฟองนมปิดอยู่ด้านบนเพียงเล็กน้อย ส่วนคัปปุชชีโนจะมีทั้งนมร้อนและฟองนมในปริมาณมาก.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและกอร์ตาโด
กอร์โดบา (ประเทศสเปน)
กอร์โดบา (Córdoba) เป็นเมืองในแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซีอาทางภาคใต้ของประเทศสเปน และเป็นเมืองหลักของจังหวัดกอร์โดบา มีพิกัดภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ที่ 37°88' เหนือ 4°77' ตะวันตก ริมแม่น้ำกวาดัลกีบีร์ ก่อตั้งขึ้นในสมัยโรมันโบราณในชื่อ กอร์ดูบา (Corduba) โดยเกลาดีอุส มาร์เซลลุส (Claudius Marcellus) ในปี พ.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและกอร์โดบา (ประเทศสเปน)
กัสเตยอนเดลาปลานา
กัสเตยอนเดลาปลานา (Castellón de la Plana) หรือ กัสเต็ลโยเดลาปลานา (Castelló de la Plana) เป็นเมืองหลักของจังหวัดกัสเตยอนในแคว้นบาเลนเซีย ประเทศสเปน ตั้งอยู่ทางตะวันออกของคาบสมุทรไอบีเรีย ชายฝั่งโกสตาเดลอาซาอาร์ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเมืองการท่องเที่ยวและการปลูกส้ม พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอารากอนทรงยึดเมืองนี้จากพวกมัวร์ได้ใน..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและกัสเตยอนเดลาปลานา
การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม
การขยายดินแดนระหว่างสมัยจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์, ค.ศ. 661–750/ฮ.ศ. 40-129 การพิชิตดินแดนโดยมุสลิม หรือ การพิชิตดินแดนโดยอาหรับ (Muslim conquests, فتح, “Fatah” แปลตรงตัวว่า การเปิด หรือ Jihad) (ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและการพิชิตดินแดนโดยมุสลิม
การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์
250px 250px การเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ (royal intermarriage) คือการแต่งงานระหว่างสมาชิกของราชวงศ์ผู้ปกครองสองราชวงศ์ ซึ่งในอดีตถือเป็นยุทโธบายทางการทูตที่ใช้กันโดยทั่วไปเพื่อผลประโยชน์ของชาติ ในบางครั้งการเสกสมรสนี้เกิดขึ้นด้วยการบังคับใช้กระบวนการทางกฎหมายต่อบุคคลผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์ และในหลาย ๆ ครั้งเกี่ยวข้องกับนโยบายทางการเมืองและ/หรือขนบธรรมเนียมของระบอบราชาธิปไตยเสียเป็นส่วนใหญ่ ในทวีปยุโรป การเสกสมรสในลักษณะนี้เป็นที่แพร่หลายอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่สมัยกลางจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในขณะที่หลักฐานของการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ในส่วนอื่น ๆ ของโลก สามารถสืบค้นย้อนไปได้ไกลที่สุดถึงยุคสัมฤทธิ์ ซึ่งบ่อยครั้งที่พระมหากษัตริย์ในอดีตมักจะพยายามแผ่ขยายราชวงศ์ของพระองค์ออกไปทั้งในและนอกประเทศ ดังนั้นสายสัมพันธ์ทางเครือญาติซึ่งเกิดจากการเสกสมรสนี้ จึงเป็นปัจจัยที่ช่วยทั้งกระตุ้นและยับยั้งความขัดแย้งและการรุกรานระหว่างรัฐBucholz, p.228 ทั้งยังช่วยริเริ่ม ส่งเสริม และรับประกันสันติภาพระหว่างรัฐได้อีกด้วย นอกจากนี้สายสัมพันธ์ทางเครือญาติจากการเสกสมรสยังสามารถรักษามิตรไมตรีของสองราชวงศ์ ที่ต่างพยายามหลีกเลี่ยงภัยคุกคามจากการรุกรานและความขัดแย้งอันมีชนวนเหตุมาจากการยุยงของราชวงศ์ที่สาม พร้อมเสริมสร้างโอกาสที่จะผนวกรวมดินแดนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนจากการอ้างสิทธิ์ทางกฎหมายเหนือราชบัลลังก์ หรือแม้กระทั่งการอ้างสิทธิ์เหนือส่วนหนึ่งของรัฐ เช่น อาณานิคม ผ่านการรับช่วงสืบทอดอำนาจการปกครองในกรณีที่รัฐนั้นเกิดปัญหาไร้รัชทายาทสืบทอดราชบัลลังก์ หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์องค์ก่อนหน้าไม่มีรัชทายาทเพศชายไว้สืบทอดราชสมบัติโดยปราศจากข้อกังขาได้ ในบางส่วนของทวีปยุโรป ราชวงศ์ต่าง ๆ ยังคงนิยมเสกสมรสระหว่างกันเป็นปกติ (สมาชิกราชวงศ์เสกสมรสกับตระกูลขุนนางต่าง ๆ ภายในรัฐ) ไปจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 16 และนับแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเริ่มหันมานิยมการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์ของรัฐอธิปไตยต่าง ๆ มากขึ้น แต่ในส่วนอื่น ๆ ของโลก การเสกสมรสเช่นนี้กลับได้รับความนิยมน้อยกว่ามากและเริ่มลดจำนวนลงตามกาลเวลาที่ผ่านไป หรือแปรเปลี่ยนไปตามขนบธรรมเนียมและนโยบายการต่างประเทศในขณะนั้น.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและการเสกสมรสระหว่างราชวงศ์
การเคลื่อนย้ายเรลิก
ฟรซิงในเยอรมนี (ภาพเขียนในคริพท์ของมหาวิหารไฟรซิง) การเคลื่อนย้ายวัตถุมงคล (Translation of relics) ในคริสต์ศาสนา "การเคลื่อนย้ายวัตถุมงคล" คือการโยกย้ายสิ่งของศักสิทธิ์ (เช่นการโยกย้ายอัฐิ หรือ มงคลวัตถุที่เป็นของนักบุญ) จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งที่อาจจะเป็นคริสต์ศาสนสถานอื่น หรือ มหาวิหาร การโยกย้าย หรือ "Translation" ทำได้หลายวิธีที่รวมทั้งการทำสนธยารำลึกตลอดคืน หรือ การแบกมงคลวัตถุอันมีค่าในหีบที่ทำด้วยเงินหรือทอง ภายใต้กลดคล้ายไหม การเคลื่อนย้ายอันเป็นพิธีรีตอง (elevatio corporis) ของมงคลวัตถุถือกันว่าเป็นพิธีที่เป็นการแสดงความยกย่องในความศักดิ์สิทธิ์ของผู้ที่ถูกเคลื่อนย้าย ที่เท่าเทียมกับการรับการแต่งตั้งให้เป็นนักบุญในสถาบันออร์ธอด็อกซ์ พิธีเคลื่อนย้ายในนิกายโรมันคาทอลิกมีจุดประสงค์เดียวกันจนกระทั่งมามีพิธีประกาศการเป็นนักบุญกันขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นมาตรฐานและตามพระประสงค์ของพระสันตะปาปา วันเคลื่อนย้ายมงคลวัตถุของนักบุญเป็นวันที่จะฉลองแยกจากวันสมโภชน์ เช่นวันที่ 27 มกราคมเป็นวันฉลองการเคลื่อนย้ายมงคลวัตถุของนักบุญจอห์น คริสซอสตอมจากหมู่บ้านโคมานาในอาร์มีเนียที่ทรงเสียชีวิตในปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและการเคลื่อนย้ายเรลิก
กาเซเรส
แผนที่ กาเซเรส (Cáceres) เป็นเมืองหลักของจังหวัดกาเซเรสในแคว้นเอซเตรมาดูรา ทางภาคตะวันตกของประเทศสเปน เขตเทศบาลของเมืองมีเนื้อที่ 1,750.33 ตารางกิโลเมตร (675.806 ตารางไมล์) ซึ่งเป็นขอบเขตทางภูมิศาสตร์ (เมือง) ที่ใหญ่ที่สุดในสเปน เขตเมืองเก่าหรือ "ซิวดัดโมนูเมนตัล" (Ciudad Monumental) ยังคงมีกำแพงโบราณล้อมรอบอยู่โดยยังคงลักษณะที่ได้สร้างไว้ในยุคกลางอย่างสมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยของความเป็นปัจจุบันให้เห็น มหาวิทยาลัยเอซเตรมาดูราและหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ 2 แห่งก็ตั้งอยู่ในเมืองนี้ นอกจากนี้กาเซเรสยังเป็นที่ตั้งของสังฆมณฑลคาทอลิกโกเรีย-กาเซเรส (Coria-Cáceres) กาเซเรสได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี ค.ศ.
ภาษาบาเลนเซีย
ษาบาเลนเซีย (valenciano) หรือ ภาษาวาเล็นซิอา (valencià) เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้สื่อสารกันในแคว้นบาเลนเซีย และในบริเวณเอลการ์เชของแคว้นภูมิภาคมูร์เซีย ประเทศสเปน ในแคว้นบาเลนเซีย ภาษานี้มีฐานะเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาสเปนตามธรรมนูญการปกครองตนเองของแคว้นและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน พ.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและภาษาบาเลนเซีย
ภาษาฟินิเชีย
ษาฟินิเชีย เป็นภาษาที่มีจุดกำเนิดในชายฝั่งที่เรียก "Pūt" ในภาษาอียิปต์โบราณ "คานาอัน" ในภาษาฟินิเชีย ภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก และเรียก "ฟินิเชีย"ในภาษากรีกและภาษาละติน เป็นภาษากลุ่มเซมิติกสาขาคานาอัน ใกล้เคียงกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก บริเวณดังกล่าวปัจจุบันอยู่ในเลบานอนและซีเรีย และอิสราเอลทางตอนเหนือ เป็นที่รู้จักจากจารึกต่างๆในไบบลอสและหนังสือที่เขียนด้วยภาษาต่างๆ จารึกภาษาฟินิเชียเก่าสุดพบในไบบลอส อายุราว 457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งพบทั้งใน เลบานอน ซีเรีย อิสราเอล ไซปรัส เกาะซิซิลี ตูนีเซีย โมร็อกโก แอลจีเรีย มอลตา และที่อื่นๆในคาบสมุทรไอบีเรีย การถอดความภาษาฟินิเชียใช้ความรู้ภาษาฮีบรูเป็นพื้นฐาน.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและภาษาฟินิเชีย
ภาษาลาดิโน
ษาลาดิโน (Ladino) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ ได้รับอิทธิพลจากภาษาสเปนมาก โดยเฉพาะภาษาสเปนโบราณ (คัสติลเลียน) ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาลาดิโนกับภาษาสเปน เทียบได้กับภาษายิดดิชกับภาษาเยอรมัน ผู้พูดส่วนใหญ่เป็นชาวยิวเซฟาร์ดิก ตัวอย่างเช่น ชาวยิวในเทสซาโลนิกี อิสตันบูล และอิสมีร์ โครงสร้างของภาษาใกล้เคียงกับภาษาสเปน โดยมีบางส่วนมาจากภาษาฮีบรู ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส ภาษาตุรกี ภาษากรีก และภาษาสลาฟใต้ ขึ้นกับว่าผู้พูดอาศัยอยู่ที่ใด ภาษาลาดิโนมีเสียงที่มาจากภาษาสเปนโบราณที่กลายเป็นเสียงจากเพดานอ่อน /x/ ในภาษาสเปนสมัยใหม่ ภาษาลาดิโนมีหน่วยเสียง /x/ ที่ได้จากภาษาฮีบรู ในบางบริเวณมีการสร้างคำที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น muestro จาก nuestro (ของเรา) โครงสร้างทางไวยากรณ์ใกล้เคียงกับภาษาสเปน โดยมีการเพิ่มส่วนจากภาษาฮีบรู ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส ภาษาตุรกี ภาษากรีก และภาษากลุ่มสลาฟใต้ ขึ้นกับบริเวณที่ใช้พูด ภาษาลาดิโนเป็นภาษาที่ใกล้ตายเนื่องจากผู้พูดเป็นภาษาแม่มีอายุมากและไม่ถ่ายทอดภาษาให้รุ่นต่อไป ชุมชนชาวยิวเซฟาร์ดิกในประเทศต่างๆมีความพยายามฟื้นฟูภาษานี้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับดนตรี สาเหตุที่ทำให้เป็นภาษาที่ใกล้ตายอีกอย่างหนึ่งคือการกลมกลืนไปกับภาษาสเปนสมัยใหม.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและภาษาลาดิโน
ภาษาสเปน
ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและภาษาสเปน
ภาษาสเปนเก่า
ษาสเปนเก่า (Old Spanish), ภาษากัสตียาเก่า (castellano antiguo) หรือ ภาษาสเปนยุคกลาง (español medieval) เป็นภาษาสเปนรูปแบบแรกเริ่ม ใช้สื่อสารกันในคาบสมุทรไอบีเรียยุคกลางตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 จนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงในระบบเสียงพยัญชนะจะก่อให้เกิดวิวัฒนาการมาเป็นภาษาสเปนยุคใหม่ วรรณคดีภาษาสเปนเก่าที่มีชื่อเสียงและมีเนื้อหามากที่สุดคือ เพลงขับวีรกรรมเรื่อง กันตาร์เดมิโอซิด (Cantar de Mio Cid, "บทเพลงแห่งซิดของข้า") ซึ่งแต่งขึ้นในราวปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและภาษาสเปนเก่า
ภาษาอาหรับ
ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและภาษาอาหรับ
ภาษาฮีบรู
ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและภาษาฮีบรู
ภาษาของชาวยิว
งานเขียนอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ของ Elia Levita แสดงจากซ้ายไปขวา ภาษายิดดิช - ภาษาฮีบรู - ภาษาละติน - ภาษาเยอรมัน ภาษาของชาวยิว (Jewish languages) เป็นกลุ่มของภาษาและสำเนียงที่พัฒนาในชุมชนชาวยิวทั่วโลกทั้งในยุโรป เอเชียและแอฟริกาเหนือ พัฒนาการของภาษาเหล่านี้เกิดขึ้นโดยการเพิ่มศัพท์ภาษาฮีบรูเพื่อใช้อธิบายแนวคิดเฉพาะของชาวยิวเข้าสู่ภาษาท้องถิ่น ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรฮีบรู การอยู่เป็นกลุ่มก้อนอย่างเป็นเอกเทศของชาวยิว ทำให้ภาษาเหล่านี้รักษาคำศัพท์และลักษณะดั้งเดิมของภาษาที่เป็นภาษาต้นกำเนิดได้ภาษาของชาวยิวที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษายิดดิช ซึ่งเคยมีผู้พูดมากที่สุดในอดีต ภาษาลาดิโนที่เป็นภาษาของชาวยิวเซฟาร์ดีมากว่า 5 ศตวรรษและภาษาอาหรับของชาวยิวที่ใช้พูดในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาอาหรับมากว่าพันปี ภาษาฮีบรูเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนายูดาย และเคยใช้เป็นภาษาพูดมาก่อน จนราว..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและภาษาของชาวยิว
ภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย
ูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย หรือ ภูมิภาคชายแดนสเปน หรือ ภูมิภาคชายแดนบาร์เซโลนา (Marca Hispanica หรือ Spanish March หรือ March of Barcelona) คือฉนวนดินแดนที่เลยไปจากจังหวัดเซ็พติเมเนียที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาร์เลอมาญในปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและภูมิภาคชายแดนฮิสปาเนีย
ภูมิศาสตร์ยุโรป
ูมิศาสตร์ยุโรป (Geography of Europe) คือลักษณะภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ของทวีปยุโรปซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปบนโลกและเป็นคาบสมุทรตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียโดยการแบ่งปวีปยุโรปกับทวีปเอเชียทางตะวันออกนั้นจะใช้เทือกเขายูรัลในประเทศรัสเซียในการแบ่งเขตส่วนในตะวันออกเฉียงใต้นั้นยังไม่มีการกำหนดอย่างแน่ชัดแต่ส่วนมากจะใช้แม่น้ำยูรัล, แม่น้ำเอ็มบาและทะเลดำในการแบ่งเขต โดยจุดสิ้นสุดของทวีปเอเชียคือช่องแคบบอสพอรัสในประเทศตุรกี ส่วนการแบ่งเขตของทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกานั้นจะใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยจุดที่ทวีปยุโรปใกล้กับทวีปแอฟริกามากที่สุดคือช่องแคบยิบรอลตาร์โดยมีความห่างกันเพียง 14.3 กิโลเมตรหรือ 8.9 ไมล์ ส่วนพรมแดนทางตะวันออกนั้นจะมีเทือกเขากลางสมุทรไอซ์แลนด์เป็นตัวแบ่งอาณาเขตระหว่างยุโรปกับอเมริกาเหนือ ส่วนประเทศไอซ์แลนด์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอเมริกาเหนือกับยุโรปนั้นถือว่าอยู่ในทวีปยุโรปเพราะเหตุผลด้านวัฒนธรรมและมีพื้นที่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ของทวีปยุโรปมากกว่าแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือถึง 2 เท่า นี้คือภาพถ่ายจากสถานนีอวกาศแห่งชาติโดยใช้กล้อง2ตัวโดยทางซ้ายมองไปทางเหนือและทางขวามองมาทางตรง.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและภูมิศาสตร์ยุโรป
มะลิ
มะลิ เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถาในวงศ์มะลิ มีประมาณ 200 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแถบทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ลักษณะดอกและกลิ่นมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดหรือพัน.
มัสยิด-มหาวิหารกอร์โดบา
หินภายในมัสยิดกอร์โดบา หนึ่งในประตูของมัสยิดกอร์โดบา มหาวิหาร และอดีต มัสยิดใหญ่แห่งกอร์โดบา มีชื่อเรียกในศาสนาคริสต์ว่า มหาวิหารการอัสสัมชัญพระแม่มารี (Catedral de Nuestra Señora de la Asunción) และเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่า เมซกีตา-กาเตดรัล (Mezquita-catedral, มัสยิด-มหาวิหาร) ปัจจุบันเป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับพื้นที่ส่วนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในเมืองกอร์โดบา ในแคว้นอันดาลูซีอา ทางตอนใต้ของประเทศสเปน ด้านประวัติความเป็นมานั้น เริ่มจากในปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและมัสยิด-มหาวิหารกอร์โดบา
ยิบรอลตาร์
รอลตาร์ (Gibraltar) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ใกล้กับจุดใต้สุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ในบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 6.5 ตารางกิโลเมตร ทางทิศเหนือมีพรมแดนติดต่อกับประเทศสเปน และมีประชากรประมาณ 32,000 คน สถานที่ที่มีชื่อเสียงของยิบรอลตาร์คือ โขดหินยิบรอลตาร์ (Rock of Gibraltar) ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาแห่งหนึ่งของโลก เดิมทียิบรอลตาร์เคยเป็นดินแดนหนึ่งของราชอาณาจักรสเปน จนกระทั่งในปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและยิบรอลตาร์
ยิบรอลตาร์ (แก้ความกำกวม)
ำสำคัญ "Gibraltar" สามารถหมายถึง.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและยิบรอลตาร์ (แก้ความกำกวม)
ยุโรปใต้
รปใต้ ยุโรปใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งมีดินแดนติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอยู่ในคาบสมุทรใหญ่ 3 คาบสมุทรคือ คาบสมุทรไอบีเรีย คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน อยู่ในละติจูดที่ 35 องศาเหนือถึง 47 องศาเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,316,290 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเชื้อสายเมดิเตอร์เรเนียน ประกอบไปด้วย 16 ประเทศดังนี้.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและยุโรปใต้
รัฐร่วมประมุข
ียนฉลองรัฐร่วมประมุขระหว่างโปแลนด์และลิทัวเนียเป็นสหราชอาณาจักรโปแลนด์-ลิทัวเนีย รัฐร่วมประมุข หรือ การรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักร (personal union) เป็นการรวมรัฐอิสระมากกว่าสองรัฐขึ้นไปภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ในขณะที่พรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายของอาณาจักรในกลุ่มยังคงเป็นตัวของตัวเอง สหราชไม่ใช่ “สหพันธรัฐ” (federation) ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหลายรัฐที่รวมเข้ามาเป็นรัฐเดียวกันและมีพรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายส่วนใหญ่ร่วมกัน หรือ “สหราชวงศ์” (dynastic union) ซึ่งหมายถึงการรวมภายใต้ราชวงศ์เดียวกัน แต่กระนั้นความหมายระหว่าง “สหราช” และ “สหพันธรัฐ” ก็มีความเกี่ยวพันกัน และ “สหราช” มักจะวิวัฒนาการมาเป็น “สหพันธรัฐ” การรวมตัวกันเป็น “สหราช” อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุผลหลายประการตั้งแต่การเกิดขึ้นโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันเช่นการเสกสมรสระหว่าง “สมเด็จพระราชินีนาถ” (queen regnant) ของราชอาณาจักรหนึ่ง กับ พระมหากษัตริย์ของอีกราชอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งทำให้พระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ก็จะได้รับราชบังลังก์ของทั้งสองราชอาณาจักร ไปจนถึงการผนวกดินแดน การรวมตัวกันอาจจะเป็นตามบทบัญญัติทางกฎหมาย เช่นการผ่านพระราชบัญญัติในรัฐสภาระบุการรวมตัวกัน หรืออาจจะโดยพฤตินัยซึ่งง่ายต่อการแยกตัวกลับไปเป็นอาณาจักรเดิม เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์ของบรรดาอาณาจักรร่วมที่มีระบบการสืบสันตติวงศ์ที่ต่างกัน “สหราช” ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบราชาธิปไตยเท่านั้น และบางครั้งก็จะใช้คำว่า “สหราชาธิปไตย” (dual monarchy) ในการแสดงแสดงว่าเป็นการรวมอาณาจักรของสองราชบัลลังก์ รายการข้างล่างแสดงให้เห็นถึงรายระเอียดของการรวมเป็นสหราชอาณาจักรตลอดมาในประวัติศาสตร์ ยกเว้นแต่ในกรณีของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของเครือจักรภพบริติชเช่นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และแคนาดา ซึ่งไม่ใช่การรวมเป็นสหราชอาณาจักรของโลกยุคปัจจุบัน นอกจากนั้นคำว่า “การรวมสหอำนาจ” ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้โดยนาซีเยอรมนีในการรวมตำแหน่งระดับสูงในพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน เครื่องมือทางการเมืองเดียวกันนี้นำมาใช้โดยรัฐบาลอื่นๆ เช่นสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งคล้ายกันกับ “ผู้ได้รับการแต่งตั้ง” (persona designata) ที่เป็นระบบที่เจ้าหน้าที่ทางศาลสามารถแต่งตั้งให้ผู้ไม่มีหน้าที่ทางศาลมีความรับผิดชอบในหน้าที่กึ่งเกี่ยวกับระบบยุติธรรมภายใต้ระบบคอมมอนลอว.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและรัฐร่วมประมุข
รัฐนักรบครูเสด
ตะวันออกใกล้ในปี ค.ศ. 1135 โดยมีอาณาจักรครูเสดเป็นสีเขียว อานาโตเลียและอาณาจักรครูเสด ราว ค.ศ. 1140 รัฐนักรบครูเสด (Crusader states) คือกลุ่มรัฐเจ้าขุนมูลนายที่นักรบครูเสดชาวยุโรปตะวันตกตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ในอานาโตเลีย กรีซ และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (อิสราเอลโบราณและปัจจุบัน และในบริเวณปาเลสไตน์) แต่ในที่สุดอำนาจของอิสลามในตะวันออกกลางก็พิชิตรัฐเหล่านี้ได้หมด นอกจากนั้นรัฐนักรบครูเสดก็ยังหมายถึงดินแดนอื่นที่คริสตจักรสมัยกลางได้มา (ส่วนใหญ่เป็นรัฐเล็กและเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น) เพื่อป้องกันชาวมุสลิมและดินแดนของผู้นอกศาสนาอื่น ๆ ด้ว.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและรัฐนักรบครูเสด
รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา
รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา (خلافة قرطبة, Khilāfat Qurṭuba) ปกครองคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาเหนือจากเมืองกอร์โดบา ตั้งแต่ปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา
ราชบัลลังก์กัสติยา
ราชบัลลังก์กัสติยา (Corona de Castilla) เป็นสหอาณาจักรที่มักจะกล่าวกันว่าเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและราชบัลลังก์กัสติยา
ราชรัฐกาตาลุญญา
การแบ่งแยกกาตาลุญญาระหว่างสเปนกับฝรั่งเศสในสนธิสัญญาพิเรนีส ราชรัฐกาตาลุญญา (Principat de Catalunya; Principautat de Catalonha) หรือ ราชรัฐแคทาโลเนีย (Principality of Catalonia) เป็นอดีตอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย ส่วนใหญ่อยู่ในเขตประเทศสเปน โดยมีบางส่วนที่อยู่ทางใต้ของประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน ราชรัฐแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นจากการรวมอาณาจักรเคานต์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นบริเวณชายแดนแห่งสเปน (Marca Hispanica) ระหว่างสมัยการพิชิตดินแดนคืนภายใต้การนำของเคานต์แห่งบาร์เซโลนา ต่อมาราชรัฐก็รวมตัวกันทางราชวงศ์ในปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและราชรัฐกาตาลุญญา
ราชวงศ์
ราชวงศ์ (Dynasty) คือ ลำดับของผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกันOxford English Dictionary, "dynasty, n." Oxford University Press (Oxford), 1897.
ราชวงศ์บูร์กอญ
ราชวงศ์บูร์กอญ (Casa de Borgonha, House of Burgundy) เป็นราชตระกูลที่แยกมาจากราชวงศ์คาเปต์ของราชวงศ์กาเปเตียงโดยมีโรเบิร์ตที่ 1 ดยุกแห่งบูร์กอญผู้เป็นพระราชโอรสองค์รองในพระเจ้าโรแบร์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสเป็นผู้ก่อตั้ง.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและราชวงศ์บูร์กอญ
ราชวงศ์ตรัสตามารา
ตราราชวงศ์คาสตีลและเลออน สายราชวงศ์ตรัสตามารา ตราราชวงศ์อารากอน บาเลนเซีย และซิชิลี สายราชวงศ์ตรัสตามารา ราชวงศ์ตรัสตามารา (House of Trastámara) เป็นราชวงศ์ในกษัตริย์แห่งคาบสมุทรไอบีเรียที่ปกครองอาณาจักรคาสตีลตั้งแต่ พ.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและราชวงศ์ตรัสตามารา
ราชอาณาจักรกัสติยา
ราชอาณาจักรกัสติยา (Reino de Castilla) เป็นราชอาณาจักรของยุคกลางของคาบสมุทรไอบีเรียที่เริ่มก่อตัวเป็นอิสระขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยการเป็นอาณาจักรเคานต์แห่งกัสติยาที่เป็นอาณาจักรบริวาร (vassal) ของราชอาณาจักรเลออน ชื่อ "กัสติยา" มาจากคำที่ว่าแปลว่าปราสาท เพราะในบริเวณนั้นมีปราสาทอยู่หลายปราสาท กัสติยาเป็นราชอาณาจักรหนึ่งที่ต่อมาก่อตั้งขึ้นเป็นราชบัลลังก์กัสติยาและราชบัลลังก์สเปนในที.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและราชอาณาจักรกัสติยา
ราชอาณาจักรวิซิกอท
ราชอาณาจักรวิซิกอท (Visigothic kingdom) เป็นอำนาจของยุโรปตะวันตกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นหนึ่งในรัฐที่ตามมาจากจักรวรรดิโรมันตะวันตก เดิมก่อตั้งขึ้นโดยการการตั้งถิ่นฐานของวิซิกอทภายใต้ประมุขของตนเองในอากีแตน (กอลตอนใต้) โดยรัฐบาลของโรมัน ต่อมาก็ขยายดินแดนออกไปโดยการพิชิตในคาบสมุทรไอบีเรีย ราชอาณาจักรสามารถดำรงตัวเป็นอิสระจากจักรวรรดิไบแซนไทน์เมื่อไบแซนไทน์พยายามรื้อฟื้นอำนาจของโรมันในไอบีเรียประสบความล้มเหลว แต่เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชนแฟรงค์ในกอลก็สามารถได้รับชัยชนะต่อราชอาณาจักรวิซิกอททั้งหมดยกเว้นเซ็พติมาเนีย ในที่สุดราชอาณาจักรวิซิกอทก็ล่มสลายระหว่างการโจมตีของการรุกรานของอิสลาม (Umayyad conquest of Hispania) จากโมร็อกโก ต่อมาราชอาณาจักรอัสตูเรียสก็กลายเป็นอาณาจักรที่สืบต่อจากราชอาณาจักรวิซิกอท ราชอาณาจักรวิซิกอทปกครองโดยพระมหากษัตริย์ที่มาจากการเลือกตั้งและต้องเป็นชนกอธโดยมี “เซเนท” เป็นที่ปรึกษาราชการที่ประกอบด้วยสังฆราช และขุนนาง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะพยายามก่อตั้งราชวงศ์แต่ก็ไม่มีผู้ใดทำสำเร็จ พระมหากษัตริย์องค์แรก ๆ นับถือคริสต์ศาสนานิกาย Arianism หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเป็นลัทธิไนเซียน (Nicene Creed) ซึ่งทางสถาบันศาสนาพยายามสร้างอำนาจมากขึ้นจากการประชุมสภาสงฆ์แห่งโตเลโด (Councils of Toledo) แต่กระนั้นวิซิกอทก็เป็นชาติที่มีการวิวัฒนาการทางกฎหมายทางโลกที่ก้าวหน้าที่สุดในยุโรปตะวันตก “Liber Iudiciorum” กลายมาเป็นรากฐานของกฎหมายของสเปนตลอดยุคกลาง.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและราชอาณาจักรวิซิกอท
ราชอาณาจักรโปรตุเกส
ราชอาณาจักรโปรตุเกส (Kingdom of Portugal; Reino de Portugal) เป็นอาณาจักรภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส ราชอาณาจักรตั้งอยู่ทางตะวันตกของคาบสมุทรไอบีเรียของยุโรป และรุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและราชอาณาจักรโปรตุเกส
ราชอาณาจักรเลออง
ราชอาณาจักรเลออง เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรไอบีเรีย สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 910 โดย เจ้าชายคริสเตียนแห่งอัสตูเรียส ที่ล่มสลายลงไปก่อนหน้านี้ โดยเลอองเป็นหนึ่งในแกนนำที่ช่วยขับไล่ชาวมุสลิมออกไปจากสเปน และภายหลังได้รวมเป็นส่วนหนึ่งกับราชอาณาจักรคาสตีลในปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและราชอาณาจักรเลออง
รายชื่อสนธิสัญญา
การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและรายชื่อสนธิสัญญา
ฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558
ูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและฤดูพายุเฮอร์ริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2558
ลันซาโรเต
กาะลันซาโรเต (Lanzarote) เป็นเกาะในประเทศสเปน ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของหมู่เกาะคะเนรี ในมหาสมุทรแอตแลนติก อยู่ห่างจากชายฝั่งของทวีปแอฟริการาว 125 กม.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและลันซาโรเต
ลิสบอน
ลิสบอน ลิสบอน (Lisbon) หรือ ลิชบัว (Lisboa) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศโปรตุเกส ตัวเมืองลิสบอนมีประชากร 564,657 คน ถ้ารวมเขตที่อยู่อาศัยโดยรอบด้วยจะมีประชากรประมาณ 2,760,723 คน (ข้อมูลปี 2005) ลิสบอนตั้งอยู่ทิศตะวันตกของประเทศ ริมชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของคาบสมุทรไอบีเรีย การที่ลิสบอนตั้งอยู่ทางใต้ของทวีปยุโรปและติดกับมหาสมุทร จึงได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำกัลฟ์สตรีม ทำให้ลิสบอนเป็นเมืองหลวงที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในยุโรป.
ลิงซ์สเปน
ลิงซ์สเปน (Iberian lynx) เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ถึงขั้นวิกฤต มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรไอบีเรียในยุโรปใต้ เป็นหนึ่งในสัตว์จำพวกแมวที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุดในโลก เดิมจัดเป็นชนิดย่อยของลิงซ์ยุโรป (Lynx lynx) แต่ปัจจุบันถูกแยกออกมาเป็นชนิดต่างหาก เชื่อว่าวิวัฒนาการมาจาก Lynx issiodorensis ลิงซ์สเปนมีน้ำหนัก 15-25 กิโลกรัม ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 12.8 กิโลกรัม ตัวเมีย 9.3 กิโลกรัม ซึ่งหนักใกล้เคียงกับลิงซ์แคนาดาและบอบแคตในทวีปอเมริก.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและลิงซ์สเปน
ศิลปะเกี่ยวกับความตาย
ลปะเกี่ยวกับความตาย (Funerary art) คือประเภทของงานศิลปะที่เป็นรูปแบบหรือตั้งอยู่กับร่างของผู้ตาย ที่เก็บศพเป็นคำกว้างๆ ที่สใช้สำหรับบรรจุผู้ตาย ขณะที่สมบัติสุสานคือสิ่งของที่ฝังหรือตั้งไว้กับผู้ตาย—ที่นอกไปจากร่างของผู้ตาย—ที่ได้รับการวางไว้กับผู้ตาย สิ่งของต่างๆ ที่ฝังไปกับผู้ตายอาจจะรวมทั้งสิ่งของส่วนตัว หรือวัตถุหรือสิ่งของที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับทำการฝัง หรือวัตถุหรือสิ่งของขนาดย่อที่เชื่อกันว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ตายในโลกใหม่ ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆ ในอดีตมักจะมาจากวัตถุที่ฝังไว้กับผู้ตายเหล่านี้ ศิลปะเกี่ยวกับความตายอาจจะมีวัตถุประสงค์หลายประการที่นอกไปจากเพื่อความมีสุนทรีย์ในการแสดงถึงความเชื่อหรืออารมณ์เกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย ศิลปะเกี่ยวกับความตายอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการฝังศพ, เป็นสิ่งของที่ผู้ตายจะนำไปใช้ได้ในโลกหน้า และ เป็นวัตถุเพื่อการเฉลิมฉลองชีวิตและความสำเร็จของผู้ตาย หรือ เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยในประเพณีการสักการะบรรพบุรุษ (ancestor veneration) นอกจากนั้นศิลปะเกี่ยวกับความตายก็อาจจะเป็นเครื่องเตือนถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขารของมนุษย์, เครื่องแสดงถึงคุณค่าและบทบาทของวัฒนธรรม และเป็นการเอาใจวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้กลับมาหลอกหลอนผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ วัฒนธรรมหลายวัฒนธรรมมีบุคลาธิษฐานยมทูต เช่นเทพเฮอร์มีสของกรีก หรือเทพชารุน ผู้เป็นผู้นำทางวิญญาณไปยังโลกสำหรับผู้ตาย ศิลปะเกี่ยวกับความตายมีมาตั้งแต่สมัยมนุษย์นีอันเดอร์ธอลกว่า 100,000 ปีมาแล้ว และดำเนินในทุกชาติทุกวัฒนธรรมต่อมา—ยกเว้นวัฒนธรรมฮินดูที่มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่เป็นข้อยกเว้น งานศิลปะอันมีชื่อเสียงในวัฒนธรรมยุคโบราณในอดีต—ตั้งแต่พีระมิดอียิปต์ และสมบัติฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ไปจนถึง สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ล้อมรอบฮวงซุ้ยของจักรพรรดิจีนฉินสื่อหวงแห่งราชวงศ์ฉิน, the ที่เก็บศพฮาลิคาร์นาสซัส, เรือฝังที่ซัททันฮู และ ทัชมาฮาล—เป็นที่เก็บศพหรือที่พบสิ่งของที่ฝังไปกับผู้ตายเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่แล้วศิลปะเกี่ยวกับความตายมักจะสร้างขึ้นโดยผู้อุปถัมภ์ศิลปินผู้มีฐานะดี ส่วนการฝังศพหรือทำศพของผู้มีฐานะยากจนก็อาจจะเพียงแต่เป็นภาพที่เขียนหยาบๆ ง่ายๆ และสิ่งของติดตัวที่เป็นสมบัติเมื่อมีชีวิตอยู.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและศิลปะเกี่ยวกับความตาย
สมัยกลาง
แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและสมัยกลาง
สมัยการย้ายถิ่น
แผนที่แสดงการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงที่ 5 อย่างง่ายๆ สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป หรือ สมัยการรุกรานของบาร์บาเรียน (Migration Period หรือ Barbarian Invasions, Völkerwanderung) เป็นสมัยของการอพยพของมนุษย์ (human migration) ที่เกิดขึ้นประมาณระหว่างปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและสมัยการย้ายถิ่น
สาธารณรัฐกาตาลุญญา (พ.ศ. 2560)
รณรัฐกาตาลุญญา (กาตาลาและRepública Catalana) หรือ สาธารณรัฐกาตาลุญญอ (อารัน: Republica Catalana) หรือที่รู้จักกันในชื่อ กาตาลุญญา (Catalunya; Cataluña) เป็นรัฐที่ประกาศเอกราชฝ่ายเดียวและไม่ได้รับการรับรองในคาบสมุทรไอบีเรีย สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาลงมติประกาศเอกราชจากสเปนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและสาธารณรัฐกาตาลุญญา (พ.ศ. 2560)
สาธารณรัฐโรมัน
รณรัฐโรมัน (Res pvblica Romana) (อังกฤษ: Roman Republic)เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและสาธารณรัฐโรมัน
สิงโต
งโต (Lion) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป (P.
สุริยุปราคา 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและสุริยุปราคา 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
สถาปัตยกรรมบาโรก
วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและสถาปัตยกรรมบาโรก
สงครามกลางเมืองสเปน
งครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) เป็นการรบในประเทศสเปนที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้แก่ "ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ" ประกอบด้วยกลุ่มมัชฌิมา กลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ รวมทั้งชาวกาตาลาและชาวบาสก์ที่หัวรักถิ่นและเป็นอนาธิปไตย กับ "ฝ่ายชาตินิยม" ที่เป็นฝ่ายก่อการกบฏ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ พวกการ์ลิสต์ พวกคาทอลิกหัวเก่า และพวกฟาสซิสต์ฟรังกิสต์ ซึ่งกองทัพสเปนเองก็ได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายก็พยายามระดมหาพันธมิตรต่างประเทศมาช่วยรบ ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐดึงสหภาพโซเวียตและเม็กซิโก ส่วนฝ่ายชาตินิยมดึงพวกฟาสซิสต์จากอิตาลีและนาซีเยอรมนี สงครามดังกล่าวนับว่าเป็นการเร่งความขัดแย้งที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และถูกมองว่าเป็นสงครามตัวแทนระหว่างสองลัทธิ คือ คอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและฟาสซิสต์ ฝ่ายอักษะ สงครามดังกล่าวได้มีการนำรถถังและการทิ้งระเบิดทางอากาศมาใช้ และถูกกล่าวขานถึงความโหดร้ายของสงครามและความแตกแยกทางการเมืองจากนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่หลายคน อย่างเช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, มาร์ธา เกลฮอร์น, จอร์จ ออร์เวลล์, และโรเบิร์ต คาป.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและสงครามกลางเมืองสเปน
สงครามครูเสด
กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและสงครามครูเสด
สงครามคาบสมุทร
งครามคาบสมุทร (Peninsular War) เป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียนกับฝ่ายพันธมิตรอันประกอบด้วยสหราชอาณาจักร, สเปน และ โปรตุเกส เพื่อแย่งชิงคาบสมุทรไอบีเรียในช่วงสงครามนโปเลียน สงครามเริ่มขึ้นเมื่อนายพลฌ็อง-อ็องด็อชแห่งฝรั่งเศสและกองทหารในบัญชาที่ยืมมาจากสเปน อาศัยช่วงที่โปรตุเกสขาดแคลนกำลัง เข้ารุกรานและยึดครองโปรตุเกสในปลายปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและสงครามคาบสมุทร
อักษรไอบีเรีย
อักษรไอบีเรีย จารึกของอักษรนี้พบในคาบสมุทรไอบีเรีย ฝรั่งเศสตอนใต้ และเกาะบาเลียริก อายุเก่าสุดเมื่อราว..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและอักษรไอบีเรีย
อักษรเซลติเบเรียน
อักษรเซลติเบเรียน พัฒนามาจากอักษรไอบีเรีย พบจารึกอักษรนี้มีอายุราว 57 ปีก่อนพุทธศักราช -..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและอักษรเซลติเบเรียน
อัลอันดะลุส
อัลอันดะลุส (الأندلس; Al-Andalus) เป็นชื่อภาษาอาหรับของบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียและเซ็พติเมเนียที่ปกครองโดยอาหรับและชาวมุสลิมในแอฟริกาเหนือ (ที่เรียกโดยทั่วไปว่ามัวร์) ในช่วงเวลาต่าง ๆ กันระหว่าง..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและอัลอันดะลุส
อัลคามีอา
อัลคามีอา เขียนโดยมันเซโบ เด อาเรบาโล ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 (พุทธศตวรรษที่ 21)The passage is an invitation directed to the Spanish Moriscos or Crypto-Muslims so that they continue fulfilling the Islamic prescriptions in spite of the legal prohibitions and so that they disguise and they are protected showing public adhesion the Christian faith.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและอัลคามีอา
อาบิลา
อาบิลา (Ávila) เป็นเมืองแห่งหนึ่งของประเทศสเปน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอาดาคา (Adaja) ในแคว้นปกครองตนเองกัสตียาอีเลออน อาบิลาเป็นเมืองหลักของจังหวัดที่มีชื่อเดียวกันและเป็นเมืองหลักจังหวัดที่ตั้งอยู่สูงที่สุดของประเทศ กล่าวคือ ตั้งอยู่ที่ 1,131 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ด้วยเหตุนี้ในเขตเมืองจึงมีหิมะตกค่อนข้างบ่อยในฤดูหนาว ตัวเมืองมีสภาพภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในปี ค.ศ.
ฮันนิบาล
ันนิบาล บาร์กา (Hannibal Barca) (248 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 184 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นรัฐบุรษคาร์เทจ และแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในยุคโบราณ เพราะเขาบุกโจมตีโรมและทำศึกโดยไร้พ่ายนานกว่า 15 ปี โดยใช้กลยุทธ์และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการรบ บิดาของฮันนิบาลเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์เทจ ชื่อ ฮามิลการ์ บาร์กา (Hamilcar Barca) เสียชีวิตในการรบเพื่อกำราบชนพื้นเมืองในคาบสมุทรไอบีเรีย ฮัสดรูบาล (Hasdrubal the Fair) บุตรเขยจึงรับหน้าที่เป็นแม่ทัพต่อจากเขา ฮัสดรูบาลสามารถสร้างกองทัพคาร์เทจใหม่ได้สำเร็จ แต่ไม่นานเขาก็สิ้นชีวิตลงเนื่องจากถูกชนพื้นเมืองชาวเคลต์ลอบสังหาร และก่อนที่คำสั่งแต่งตั้งแม่ทัพคนใหม่จากคาร์เทจจะมาถึง เหล่าทหารก็ยกให้ฮันนิบาลขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์ธาจีนา (ศูนย์กลางของชาวคาร์เทจในไอบีเรีย) หลังจากรับตำแหน่ง ฮันนิบาลยังไม่วางแผนโจมตีโรมในทันที เนื่องจากต้องการสร้างพันธมิตรที่เข้มแข็งกับบรรดาเมืองและชนเผ่าต่าง ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรียเสียก่อน ทว่าในบรรดาเมืองเหล่านั้น นครซากุนโต (Sagunto) ซึ่งมีเหมืองเงินที่อุดมสมบูรณ์ได้ขอเป็นพันธมิตรกับโรมและปฏิเสธข้อเสนอของฮันนิบาล นอกจากนี้ ซากุนโตยังวางแผนที่จะดึงพันธมิตรต่าง ๆ ในไอบีเรียไปจากคาร์เทจอีกด้วย ฮันนิบาลจึงตัดสินใจเข้าโจมตีซากุนโตในปี พ.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและฮันนิบาล
ฮิสเปเนีย
ปเนียหลังจากการจัดเขตการปกครองโดยจักรพรรดิไดโอคลีเชียนในปี ค.ศ. 260 ฮิสเปเนีย, ฮิสปาเนีย หรือ อิสปาเนีย (อังกฤษ, ละติน, Hispania) เป็นชื่อที่โรมันใช้เรียกคาบสมุทรไอบีเรียทั้งหมด (ที่ปัจจุบันคือประเทศสเปน โปรตุเกส อันดอร์รา ยิบรอลตาร์ และส่วนเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส) เมื่อโรมมีฐานะเป็นสาธารณรัฐ ฮิสเปเนียแบ่งเป็นสองจังหวัด ได้แก่ เนียเรอร์ฮิสเปเนีย (Nearer Hispania) และเฟอร์เทอร์ฮิสเปเนีย (Further Hispania) ระหว่างสมัย Principate เฟอร์เทอร์ฮิสเปเนียก็แบ่งเป็นสองจังหวัดใหม่คือฮิสเปเนียเบทิกาและลูซิเทเนีย ขณะที่เนียเรอร์ฮิสเปเนียเปลี่ยนชื่อเป็นฮิสเปเนียทาร์ราโคเนนซิส ต่อมาทางตะวันตกของทาร์ราโคเนนซิสก็แบ่งย่อยออกเป็นฮิสเปเนียใหม่ที่ต่อมาเรียกว่าแคลเลเชีย (หรือแกลเลเชียที่กลายมาเป็นแคว้นกาลิเซียของสเปนในปัจจุบัน) ตั้งแต่สมัยจตุราธิปไตยภายใต้จักรพรรดิไดโอคลีเชียนในปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและฮิสเปเนีย
ฮิสเปเนียทาร์ราโคเนนซิส
มุทรไอบีเรียในรัชสมัยจักรพรรดิเฮเดรียน (ปกครอง ค.ศ. 117-ค.ศ. 138) แสดงที่ตั้งจังหวัดฮิสเปเนียทาร์ราโคเนนซิส ทางตอนกลาง ตอนเหนือ และชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรไอบีเรีย ฮิสเปเนียทาร์ราโคเนนซิส หรือ ฮิสปาเนียตาร์ราโกเนนซิส (อังกฤษ, Hispania Tarraconensis) เป็นหนึ่งในจังหวัดสามแห่งในฮิสเปเนีย (คาบสมุทรไอบีเรียปัจจุบัน) ของจักรวรรดิโรมัน มีอาณาเขตครอบคลุมชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนส่วนใหญ่ ที่ราบสูงตอนกลางและตอนเหนือของประเทศสเปน ไปจนถึงแคว้นกาลิเซียและตอนเหนือของโปรตุเกสในปัจจุบัน ทางด้านใต้มีเขตแดนติดต่อกับจังหวัดฮิสเปเนียเบทิกา (ซึ่งก็คือบริเวณแคว้นอันดาลูซีอาในปัจจุบัน) ส่วนทางด้านตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติกและจังหวัดลูซิเทเนีย ฮิสเปเนียทาร์ราโคเนนซิสเป็นจังหวัดที่ตั้งขึ้นแทนจังหวัดเนียเรอร์ฮิสเปเนีย (Nearer Hispania) ซึ่งเคยมีกงสุลภายใต้ระบบสาธารณรัฐปกครองอยู่ ฮิสเปเนียทาร์ราโคเนนซิสรุ่งเรืองมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและฮิสเปเนียทาร์ราโคเนนซิส
ฮิสเปเนียเบทิกา
มุทรไอบีเรียในรัชสมัยจักรพรรดิเฮเดรียน (ปกครอง ค.ศ. 117-ค.ศ. 138) แสดงที่ตั้งจังหวัดฮิสเปเนียเบทิกาทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทร (แคว้นอันดาลูซีอา) ฮิสเปเนียเบทิกา หรือ ฮิสปาเนียไบตีกา (อังกฤษ, Hispania Baetica) เป็นหนึ่งในจังหวัดสามแห่งในฮิสเปเนีย (คาบสมุทรไอบีเรียปัจจุบัน) ของจักรวรรดิโรมัน มีเขตแดนทางตะวันตกติดกับจังหวัดลูซิเทเนีย (โปรตุเกสปัจจุบัน) และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจังหวัดฮิสเปเนียทาร์ราโคเนนซิส ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ฮิสเปเนียเบทิกากลายเป็นส่วนหนึ่งของอัลอันดะลุสภายใต้การปกครองของชาวมัวร์ พื้นที่ของจังหวัดนี้ใกล้เคียงกับอาณาเขตของแคว้นอันดาลูซีอาของสเปนในปัจจุบัน.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและฮิสเปเนียเบทิกา
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1
นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1
จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
ักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล (Pedro I, Peter I; 12 ตุลาคม พ.ศ. 2341 – 24 กันยายน พ.ศ. 2377) มีพระราชสมัญญาว่า "ผู้ปลดปล่อย" (the Liberator) ทรงเป็นผู้สถาปนาและผู้ปกครองจักรวรรดิบราซิลพระองค์แรก ทรงดำรงเป็น พระเจ้าเปดรูที่ 4 แห่งโปรตุเกส (Dom Pedro IV) จากการครองราชบัลลังก์เหนือราชอาณาจักรโปรตุเกสเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ที่ซึ่งทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "ผู้ปลดปล่อย" และ "กษัตริย์นักรบ" (the Soldier King) ประสูติในกรุงลิสบอน พระองค์เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 4 ในบรรดาพระราชบุตรทั้งหมดของพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสกับเจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์บราแกนซา เมื่อประเทศโปรตุเกสถูกกองทัพฝรั่งเศสโจมตีในปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
จักรวรรดิสเปน
ักรวรรดิสเปน (Imperio Español, Spanish Empire) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และเป็นหนึ่งในจักรวรรดิโลก (global empire) จักรวรรดิแรก ที่มีดินแดนและอาณานิคมในยุโรป, อเมริกา, เอเชีย และ โอเชียเนีย มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนอาณานิคมในแอฟริกาเป็นดินแดนที่ได้มาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก่อตัวขึ้นเป็นสหอาณาจักรในปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและจักรวรรดิสเปน
จักรวรรดิโปรตุเกส
ักรวรรดิโปรตุเกส (Portuguese Empire, Império Português) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิอาณานิคมของโลกจักรวรรดิแรกที่มีดินแดนในหลายทวีปที่รวมทั้งอเมริกาใต้, แอฟริกา, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การปกครอง และเป็นจักรวรรดิอาณานิคมที่รุ่งเรืองอยู่นานที่สุดในยุโรปที่รุ่งเรืองอยู่เป็นเวลาเกือบห้าร้อยปีตั้งแต่การพบบราซิลในปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและจักรวรรดิโปรตุเกส
จังหวัดกรานาดา
กรานาดา (Granada) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศสเปน อยู่ทางตะวันออกของแคว้นอันดาลูซีอา มีเมืองหลวงคือ กรานาดา มีพื้นที่ 12,635 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 876,184 คน นอกจากนี้ภูเขามูลาเซนในจังหวัดกรานาดา ยังเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในคาบสมุทรไอบีเรียอีกด้วย กรานาดา หมวดหมู่:แคว้นอันดาลูซีอา.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและจังหวัดกรานาดา
ข้อเขียนวอยนิช
้อความใน'''ข้อเขียนวอยนิช''' ข้อเขียนวอยนิช (Voynich manuscript) เป็นหนังสือประกอบภาพที่ยังไม่มีใครสามารถแปลความหมายได้ ซึ่งเชื่อกันว่าได้เขียนขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 หรือ 16 ผู้ประพันธ์ เนื้อหา และภาษาที่ใช้ในข้อเขียนนี้ยังคงเป็นปริศนาจนถึงปัจจุบัน ข้อเขียนวอยนิชได้รับการศึกษาจากนักรหัสวิทยา ซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรมาตลอดนับตั้งแต่ค้นพบหนังสือเล่มนี้ แต่ก็ไม่เคยมีใครสามารถแปลเนื้อหาได้แม้แต่ส่วนเดียว ซึ่งทำให้ข้อเขียนวอยนิชมีชื่อเสียงอย่างมากในประวัติศาสตร์ของเรื่องลึกลับ แต่ก็มีทฤษฏีว่าหนังสือเล่มนี้เป็นเพียงของปลอมซึ่งเขียนด้วยสัญลักษณ์ที่ไม่มีความหมายใด ๆ เลยเช่นเดียวกัน หนังสือเล่มนี้ได้รับการตั้งชื่อตาม วิลฟริด เอ็ม.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและข้อเขียนวอยนิช
ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน
ที่ตั้งของดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร (British Overseas Territories) คือดินแดน 14 ดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร แต่ไม่ได้นับเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน
คาบสมุทร
มุทร หมายถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีน้ำล้อมรอบทั้ง 3 ด้าน ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งทะเลหรือมหาสมุทรยกตัวอย่างเช่นคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรมลายูพื้นที่ ๆ มีน้ำล้อมรอบทั้ง 3 ด้านในบางครั้งก็ไม่ได้เรียกว่าคาบสมุทรเช่นหัวแหลมผาชัน สันดอนจะงอยหรือแหลม.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและคาบสมุทร
คาบสมุทรอิตาลี
ทางอากาศของคาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรอิตาลี หรือ คาบสมุทรแอเพนไนน์ (Penisola italiana, Penisola appenninica) เป็นคาบสมุทรที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือติดกับเทือกเขาแอลป์และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเอเดรียติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลไอโอเนียน และทางทิศตะวันตกติดกับทะเลติร์เรเนียนและทะเลลิกูเรียน คาบสมุทรนี้มีรูปร่างคล้ายรองเท้าบูท โดยบริเวณตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาแอเพนไนน์เป็นแกนกลาง บริเวณตอนเหนือมีที่ราบลุ่มแม่น้ำโปซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอลป์กับเทือกเขาแอเพนไนน์นั้น เป็นที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม และเป็นที่ตั้งเมืองสำคัญของประเทศอิตาลี เช่น มิลาน ตูริน เวนิส โบโลญญา ปาร์มา เวโรนา คาบสมุทรอิตาลีมีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 290 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปใต้ มีพื้นที่ประมาณ 260,000 ตารางกิโลเมตร (ไม่นับรวมพื้นที่เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย) เป็นคาบสมุทรที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจาก คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรไอบีเรีย และคาบสมุทรบอลข่าน ตามลำดับ เมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรอิตาลีเรียงตามลำดับ 4 อันดับแรกได้แก่ โรม มิลาน เนเปิลส์ และตูริน ภูมิอากาศบริเวณคาบสมุทรอิตาลีเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกคือ มะกอกเพื่อทำน้ำมันมะกอก และองุ่นเพื่อใช้ทำไวน์ เมืองท่าที่สำคัญบนคาบสมุทรอิตาลีได้แก่ เจนัว เวนิส และเนเปิล.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและคาบสมุทรอิตาลี
ต้นสมัยกลาง
ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและต้นสมัยกลาง
ซาราโกซา
แม่น้ำเอโบรขณะไหลผ่านเมืองซาราโกซา ซาราโกซา (Zaragoza) เป็นเมืองหลักของจังหวัดซาราโกซาและแคว้นอารากอน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเอโบรและแควสาขาอูเอร์บาและกาเยโก ในหุบเขาตอนกลางของแคว้นซึ่งมีภูมิทัศน์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ทะเลทราย ("โลสโมเนโกรส") ป่าหนาทึบ ทุ่งหญ้า ไปจนถึงทิวเขา ข้อมูลในปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและซาราโกซา
ซาลามังกา
ซาลามังกา (Salamanca) เป็นเมืองหลักของจังหวัดซาลามังกาในแคว้นกัสติยาและเลออน ทางภาคตะวันตกของประเทศสเปน ตั้งอยู่บนที่ราบสูงริมแม่น้ำตอร์เมส ซึ่งมีสะพานข้ามแห่งหนึ่งสูง 150 เมตร สร้างบนส่วนโค้ง (arch) 26 ชิ้นส่วน โดย 15 ชิ้นส่วนนั้นสร้างขึ้นในสมัยโรมัน ส่วนที่เหลือสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปัจจุบัน (ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและซาลามังกา
ประวัติศาสตร์สเปน
ตราสัญลักษณ์ของประเทศสเปน โบสถ์ซานตามารีอาเดลนารังโก เมืองโอเบียโด ภาคเหนือ อารามหลวงเอลเอสโกเรียล กรุงมาดริด ภาคกลาง พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ เมืองบาเลนเซีย ภาคตะวันออก ปราสาทอาลัมบรา เมืองกรานาดา ภาคใต้ ประวัติศาสตร์สเปน คือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับอาณาบริเวณส่วนใหญ่บนคาบสมุทรไอบีเรียในภูมิภาคยุโรปใต้ซึ่งมีพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านยุครุ่งเรืองและยุคตกต่ำของจักรวรรดิสากลแห่งแรกของโลกจนกลายมาเป็นราชอาณาจักรสเปนในปัจจุบัน อันเป็นช่วงฟื้นฟูตนเองหลังสมัยการปกครองแบบเผด็จการของนายพลฟรังโกได้ผ่านพ้นไป มีอยู่หลายช่วงที่ประวัติศาสตร์การเมืองและการทหารของสเปนเต็มไปด้วยความวุ่นวายและความรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายและความพยายามที่จะจัดการกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดความเชื่อในดินแดนของตนนั่นเอง มนุษย์สมัยใหม่เข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียเป็นเวลานานกว่า 35,000 ปีมาแล้ว ตามมาด้วยคลื่นผู้รุกรานและผู้ตั้งอาณานิคมชนชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวเคลต์ ชาวฟินิเชีย ชาวคาร์เทจ และชาวกรีกตลอดระยะเวลานับพัน ๆ ปี เมื่อถึงประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทั้งคาบสมุทรจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโรมัน ก่อนจะตกไปอยู่ภายใต้การปกครองจากชาววิซิกอท และในปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและประวัติศาสตร์สเปน
ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์
อร์แลนด์ราว ค.ศ. 1014 ที่ประกอบด้วยอาณาจักรต่างๆ ที่เป็นอริต่อกัน ประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์ (History of Ireland) การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ครั้งแรกในไอร์แลนด์เริ่มขึ้นราว 8000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อหมู่ชนของระบบสังคมล่าสัตว์-เก็บพืชผักเริ่มเดินทางเข้ามาจากแผ่นดินใหญ่ยุโรปอาจจะโดยทางสะพานแผ่นดินที่เคยเชื่อมระหว่างสองทวีป หลักฐานทางโบราณคดีของประชากรกลุ่มนี้แทบจะไม่มีร่องรอยให้เห็น แต่ผู้สืบเชื้อสายจากคนกลุ่มนี้และต่อมาของกลุ่มคนที่โยกย้ายเข้ามาจากคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้ทิ้งร่องรอยของแหล่งโบราณคดีสำคัญๆ ของยุคหินใหม่เอาไว้ เช่นอนุสรณ์นิวเกรนจ์ การมาถึงของนักบุญแพทริคและผู้เผยแพร่ศาสนาในต้นจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 คริสต์ศาสนาก็เข้ามาแทนที่ลัทธิพหุเทวนิยมของเคลติคที่มาสิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิงในปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์
ประเทศโมร็อกโก
มร็อกโก (ชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก, เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมาเกร็บในแอฟริกาเหนือ เป็นหนึ่งในถิ่นกำเนินชนเบอร์เบอร์ ในทางภูมิศาสตร์โมร็อกโกมีเทือกเขาหินขรุขระตรงกลาง มีทะเลทรายขนาดใหญ่และมีชายฝั่งยาวมาตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน โมร็อกโกมีพื้นที่ประมาณ 710,850 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 33.8 ล้านคน เมืองหลวงชื่อราบัตและมีเมืองใหญ่สุดชื่อกาซาบล็องกา นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกอาทิมาร์ราคิช แทงเจียร์ ซาเล่ห์ แฟ็ส แม็กแน็สและ วัจด้า ในทางประวัติศาสตร์โมร็อกโกเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคมีความเป็นอิสระและไม่ได้ถูกยุ่งเกียวหรือรุกรานโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่สุลต่าน โมเลย์ อิดริส ที่ 1ก่อตั้งรัฐโมร็อกโกครั้งแรกใน พ.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและประเทศโมร็อกโก
ประเทศโปรตุเกส
ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและประเทศโปรตุเกส
นกกระจอกบ้าน
นกกระจอกบ้าน (Eurasian Tree Sparrow) เป็นนกเกาะคอนในวงศ์นกกระจอก มีสีน้ำตาลเข้มที่กระหม่อนและหลังคอ แก้มสีขาวมีจุดดำบนแก้มแต่ละข้าง นกกระจอกทั้งสองเพศมีชุดขนคล้ายกัน นกวัยอ่อนมีสีขนจืดกว่านกที่โตเต็มที่ นกชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์เกือบทั้งทวีปยูเรเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้) และมันถูกนำไปสู่ที่อื่นๆ รวมถึง สหรัฐอเมริกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Eurasian Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้ยูเรเชีย) หรือ German Sparrow (นกกระจอกเยอรมัน) ต่างไปจากนกพื้นเมือง นกกระจอกต้นไม้อเมริกา (American Tree Sparrow) แม้ว่าจะมีหลายชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ แต่ลักษณะที่ปรากฏของนกแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตลอดแนวการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง นกกระจอกบ้านทำรังไม่เป็นระเบียบในโพรงธรรมชาติ รูในอาคาร หรือรังขนาดใหญ่ของนกสาลิกาปากดำหรือนกกระสาขาว นกจะวางไข่คราวหนึ่งห้าถึงหกฟอง ไข่จะฟักเป็นตัวภายในสองอาทิตย์ นกกินเมล็ดพืชเป็นอาหารหลัก แต่บางครั้งจะกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร โดยเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกบ้านเหมือนกับนกขนาดเล็กทั่วไปซึ่งอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อจากปรสิต โรคภัยไข้เจ็บ และถูกล่าโดยนกล่าเหยื่อ ทำให้โดยทั่วไปมีช่วงชีวิตประมาณสองปี.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและนกกระจอกบ้าน
นกสาลิกาปากดำ
นกสาลิกาปากดำ (Eurasian magpie, European magpie, Common magpie) เป็นนกสีขาวดำในวงศ์นกกา (Corvidae) พบในซีกโลกเหนือ พบทั่วไปในทวีปยุโรป บางส่วนของทวีปเอเชีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ในยุโรป โดยที่ชื่อ "Magpie" นั้นหมายถึงนกสาลิกาปากดำ เนื่องจากเป็นนกสาลิกา หรือ นกแม็กพายเพียงชนิดเดียวในยุโรปที่อยู่นอกคาบสมุทรไอบีเรีย นกสาลิกาปากดำเป็นหนึ่งในนกที่ฉลาดที่สุด และเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในที่สุดของสัตว์อัจฉริยะทั้งหมดและเป็นนกที่ชอบสะสมข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่แปลก ๆ หลายอย่างเป็นของใช้ของมนุษย์ ซึ่งมิได้มีความจำเป็นสำหรับนกเลย เช่น ลูกกอล์ฟ ในประเทศไทยถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนก นอกจากนี้แล้วนกชนิดนี้ ยังถือเป็นฉายาของนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ทีมฟุตบอลในเอฟเอ พรีเมียร์ลีก เนื่องจากมีสีขนขาว-ดำ เช่นเดียวกับสีประจำทีม.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและนกสาลิกาปากดำ
แบทเทิลออฟเดอะเยียร์
right แบทเทิลออฟเดอะเยียร์ (Battle of The Year) หรือมักเรียกว่า โบตี (BOTY) เป็นการแข่งขันเบรกแดนซ์ประจำปีในระดับประเทศ โดยแข่งขันประเภทกลุ่ม เริ่มจัดการแข่งขันเมื่อปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและแบทเทิลออฟเดอะเยียร์
แกลเลเชีย
ังหวัดแกลเลเชียหลังจากการจัดเขตการปกครองโดยจักรพรรดิไดโอคลีเชียนในปี ค.ศ. 260 แกลเลเชีย หรือ กัลไลเกีย (Gallaecia หรือ Callaecia) เป็นหนึ่งในจังหวัด ของจักรวรรดิโรมันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรไอบีเรียในบริเวณที่เป็นแคว้นกาลิเซีย แคว้นอัสตูเรียส จังหวัดเลออนในประเทศสเปนปัจจุบัน และทางตอนเหนือของประเทศโปรตุเกส โรมันตั้งชื่อจังหวัดตามชื่อชาวแกลเลซี (Gallaeci) ที่มาจากภาษากรีก “Kallaikoi” ซึ่งคือชาวเคลต์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียในบริเวณลุ่มแม่น้ำโดรูโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่คาโร ในบริเวณที่ต่อมาเป็นเมืองโปร์ตุสกาเล (Portus Cale) ที่ในปัจจุบันคือเมืองโปร์ตู แต่ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอนว่าชาวแกลเลซีเป็นชนที่มีอยู่จริงหรือไม่ เพราะกลุ่มชนหลักที่ตั้งถิ่นฐานระหว่างลุ่มแม่น้ำโดรูกับลุ่มแม่น้ำลีมาคือกลุ่มชนที่เรียกว่าชาวบราการี (Bracari).
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและแกลเลเชีย
แม่น้ำโดรู
รู (Douro) หรือ ดูเอโร (Duero) เป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักของคาบสมุทรไอบีเรีย ไหลจากต้นน้ำใกล้กับเมืองดูรูเอโลเดลาซิเอร์ราในจังหวัดโซเรีย ผ่านภาคกลางตอนบนของประเทศสเปนและภาคเหนือของประเทศโปรตุเกสไปออกทะเลที่เมืองโปร์ตู ความยาวทั้งหมด 897 กิโลเมตร ใช้เดินเรือได้เฉพาะตอนที่อยู่ในโปรตุเกสเท่านั้น ชื่อของแม่น้ำสายนี้อาจมาจากชาวเคลต์ซึ่งเคยอาศัยในดินแดนแถบนี้ก่อนสมัยโรมัน ส่วนแม่น้ำดูเอโร (ตอนที่อยู่ในสเปน) ไหลผ่านที่ราบสูงเมเซตาของภูมิภาคกัสติยาและลัดเลาะไปตามพื้นที่ของจังหวัดต่าง ๆ ในแคว้นกัสติยาและเลออน ได้แก่ จังหวัดโซเรีย จังหวัดบูร์โกส จังหวัดบายาโดลิด จังหวัดซาโมรา และจังหวัดซาลามังกา ผ่านเมืองโซเรีย อัลมาซัน อารันดาเดดูเอโร ตอร์เดซิยัส และซาโมรา โดยแม่น้ำดูเอโรในแถบนี้มีลำน้ำสาขาขนาดใหญ่อยู่บ้างเล็กน้อย ที่สำคัญได้แก่แม่น้ำปิซูเอร์กาไหลผ่านเมืองบายาโดลิด และแม่น้ำเอสลาที่ไหลผ่านเมืองเบนาเบนเต พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตดังกล่าวเป็นพื้นที่ราบ อากาศแห้ง ใช้ปลูกข้าวสาลี และบางแห่งใช้ปลูกองุ่นสำหรับทำไวน์ด้วย โดยเฉพาะที่เขตริเบราเดลดูเอโร นอกจากนี้การเลี้ยงแกะก็มีความสำคัญเช่นกัน จากนั้น แม่น้ำได้กลายเป็นพรมแดนระหว่างสเปนกับโปรตุเกสเป็นระยะทาง 112 กิโลเมตร เนื่องจากแม่น้ำช่วงนี้ถูกขนาบด้วยหุบผาชัน (canyon) จึงเป็นปราการป้องกันการรุกรานจากภายนอกในอดีตและยังเป็นเส้นแบ่งเขตของภาษาอีกด้วย ปัจจุบันพื้นที่ที่ห่างไกลนี้ได้รับการคุ้มครองในฐานะ อุทยานธรรมชาตินานาชาติโดรู เมื่อไหลผ่านเข้าสู่โปรตุเกส จะพบเขตเมืองใหญ่ได้น้อยลงตามเส้นทางแม่น้ำสายนี้ (ยกเว้นเมืองโปร์ตูและวีลานอวาดือไกยา) ลำน้ำสาขาจะเป็นสายสั้น ๆ ไหลผ่านหุบผาชันแล้วจึงไหลลงสู่แม่น้ำโดรู ลำน้ำเหล่านี้มีกระแสน้ำไหลแรงและใช้เดินเรือไม่ได้ ภาพ:International Douro view from Miranda.jpg|อุทยานธรรมชาติสากลโดรู ใกล้เมืองมีรันดา ภาพ:Duero-Zamora.jpg|แม่น้ำดูเอโร (โดรู) เมืองซาโมรา (สเปน) ภาพ:Valladolid rio pisuerga puente mayor playa.jpg|แม่น้ำปิซูเอร์กา (ลำน้ำสาขา) ที่เมืองบายาโดลิด ภาพ:Rio douro.jpg|หุบเขาโดรูบริเวณที่ปลูกองุ่นสำหรับทำไวน์พอร์ต ภาพ:Riodouro 27-9-2004.jpg|ปากแม่น้ำโดรู มองจาก Crystal Palace Gardens เมืองโปร์ตู โดรู โดรู.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและแม่น้ำโดรู
แม่น้ำเทกัส
ทกัส (Tagus), ตาโฆ (Tajo) หรือ แตฌู (Tejo) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในคาบสมุทรไอบีเรีย มีความยาว 1,038 กิโลเมตร โดยอยู่ในสเปน 716 กิโลเมตร เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างโปรตุเกสกับสเปน 47 กิโลเมตร ส่วนระยะทางที่เหลือ 275 กิโลเมตรอยู่ในโปรตุเกส แม่น้ำเทกัสมีบริเวณลุ่มน้ำ 80,100 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากลุ่มน้ำโดรู) ช่วงที่อยู่ในสเปนมีความกว้างไม่มากนัก แต่เมื่อเลยปราสาทอัลโมรอลในโปรตุเกสไปแล้วจึงเริ่มกว้างขึ้น ปัจจุบันมีเขื่อนอัลกันตาราคอยควบคุมปริมาณน้ำของแม่น้ำสายนี้อยู่ แม่น้ำเทกัสมีต้นน้ำอยู่ที่ภูเขาอัลบาร์ราซินในทิวเขาซิสเตมาอิเบริโก แคว้นอารากอน และไหลไปลงมหาสมุทรแอตแลนติกที่กรุงลิสบอน สะพานที่ใหญ่ที่สุดที่สร้างข้ามแม่น้ำสายนี้คือสะพานวัชกู ดา กามา (กรุงลิสบอน) ความยาวรวม 17.2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นสะพานที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปด้วย เมืองสำคัญที่แม่น้ำเทกัสไหลผ่าน ได้แก่ อารังฆูเอซ, โตเลโด และตาลาเบราเดลาเรย์นาในสเปน ซังตาไรและลิสบอนในโปรตุเกส ภาพ:Tagus River Panorama - Toledo, Spain - Dec 2006.jpg|แม่น้ำเทกัสที่เมืองโตเลโด ประเทศสเปน ภาพ:Porto de Lisboa (3).jpg|ท่าเรือกรุงลิสบอนที่ปากน้ำเทกัส เทกัส เทกัส.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและแม่น้ำเทกัส
แยย์ดา
แยย์ดา (Lleida) หรือ เลริดา (Lérida) เป็นเมืองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแคว้นกาตาลุญญา ประเทศสเปน เป็นเมืองหลักของเทศมณฑลซากริอาและของจังหวัดแยย์ดา และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในจังหวัด มีประชากร 137,387 คน (ณ ปี ค.ศ.
แหลมตาริฟา
แหลมตาริฟา (punta de Tarifa) หรือ แหลมโมร็อกโก (punta Marroquí) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของคาบสมุทรไอบีเรียและยุโรปภาคพื้นทวีป ตั้งอยู่ริมช่องแคบยิบรอลตาร์ในเขตเทศบาลเมืองตาริฟา จังหวัดกาดิซ แคว้นปกครองตนเองอันดาลูซิอา ประเทศสเปน เราสามารถมองเห็นชายฝั่งประเทศโมร็อกโกได้จากจุดนี้ แหลมตาริฟาเป็นปลายด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอดีตเกาะตาริฟาหรืออิสลาเดลัสปาโลมัส (Isla de Las Palomas) ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งและเชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่ของสเปนด้วยทางเชื่อม เกาะนี้เคยเป็นที่ตั้งของค่ายทหารค่ายหนึ่งระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1930 ถึง ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและแหลมตาริฟา
แคว้นกาลิเซีย
กาลิเซีย (กาลิเซียและGalicia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศสเปนที่มีฐานะเป็นแคว้นปกครองตนเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย มีพรมแดนร่วมกับประเทศโปรตุเกสทางทิศใต้ และมีพรมแดนร่วมกับแคว้นคาสตีล-เลออนและแคว้นอัสตูเรียสทางทิศตะวันออก.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและแคว้นกาลิเซีย
แคว้นกาตาลุญญา
กาตาลุญญา (Catalunya; Cataluña), กาตาลุญญอ (อารัน: Catalonha) หรือ แคทาโลเนีย (Catalonia) เป็นภูมิภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ปัจจุบัน สถานะทางรัฐธรรมนูญของภูมิภาคนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรสเปนซึ่งถือว่ากาตาลุญญาเป็นแคว้นปกครองตนเองแห่งหนึ่งของตน กับฌานาราลิตัตดากาตาลุญญา (ทบวงการปกครองในท้องถิ่น) ซึ่งถือว่ากาตาลุญญาเป็นสาธารณรัฐเอกราชหลังจากที่สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาประกาศเอกราชจากสเปนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและแคว้นกาตาลุญญา
แคว้นนาวาร์
นาวาร์ (Navarre), นาบาร์รา (Navarra) หรือ นาฟาร์โรอา (Nafarroa) เป็นจังหวัดและแคว้นปกครองตนเองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส ทิศตะวันออกติดต่อกับแคว้นอารากอน ทิศใต้ติดต่อกับแคว้นอารากอนและแคว้นลารีโอคา ส่วนทางทิศตะวันตกติดต่อกับแคว้นบาสก.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและแคว้นนาวาร์
แซแนกาผู้ลูก
รูปแกะสลักโบราณครึ่งตัวของแซแนกาผู้ลูก (พิพิธภัณฑ์โบราณคดี เบอร์ลิน) แซแนกาผู้ลูก มีชื่อเต็มว่า ลูกิอุส อันไนอุส แซแนกา (Lvcivs Annaevs Seneca; ประมาณ พ.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและแซแนกาผู้ลูก
โลกตะวันตก
ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและโลกตะวันตก
โอเทลโล (วรรณกรรม)
อเทลโล (Othello, the Moor of Venice) เป็นนาฏกรรมอังกฤษที่มีชื่อเสียง ซึ่งประพันธ์โดยนักเขียนอังกฤษ นามว่า วิลเลียม เชกสเปียร์นำแสดงครั้งแรกวันที่ 1 พฤศจิกายน..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและโอเทลโล (วรรณกรรม)
โตเลโด
ตเลโด (Toledo; Toletum (โตเลตุม); طليطلة (ตุไลเตละห์)) เป็นเมืองและเทศบาลแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศสเปน ห่างจากกรุงมาดริดไปทางทิศใต้ประมาณ 70 กิโลเมตร โตเลโดเป็นเมืองหลักของจังหวัดโตเลโดและของแคว้นกัสติยา-ลามันชา ในปี ค.ศ.
ไอบีเรีย
อบีเรีย (Iberia) อาจหมายถึง.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและไอบีเรีย
ไครเซออร์
อร์ฟู ประเทศกรีซ ไครเซออร์ (Χρυσάωρ, Khrusaōr; Chrysaor; แปลว่า "ผู้มีอาวุธทองคำ") เป็นบุคคลในเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของโพไซดอน (Poseidon) เจ้าสมุทร กับเมดูซา (Medusa) อสุรกาย และเป็นพี่ชายของเพกาซัส (Pegasus) ม้ามีปีก ไครเซออร์มักปรากฏรูปโฉมเป็นบุรุษหนุ่ม สำหรับกำเนิดของไครเซออร์นั้น ย้อนไปถึงคราวที่เมดูซาเป็นหญิงรูปงาม แต่ได้ดูหมิ่นอะทีนา (Athena) เทวีแห่งการยุทธ์ ด้วยการสังวาสกับโพเซดอนในวิหารอะทีนา เทวีจึงสาปนางเป็นอสุรกายมีผมเป็นอสรพิษ บางตำราว่า อะทีนายังสาปให้นางมีปีกสีทองงอกออกมาจากศีรษะด้วย ครั้นเพอร์ซิอัส (Perseus) วีรบุรุษ มาตัดศีรษะเมดูซาไปถวายพระเจ้าพอลีเดกทิส (Polydectes) แห่งเกาะเซรีฟอส (Serifos) โลหิตเมดูซาไหลร่วงลงมหาสมุทร และไครเซออร์กับม้าเพกาซัสก็ผุดขึ้นมาจากมหาสมุทรนั้น บางตำราว่า ทันทีที่เพอร์ซิอัสตัดศีรษะเมดูซา โลหิตกระเด็นจากคอนางออกมาเป็นไครเซออร์กับเพกาซัส เทพปกรณัมว่า ต่อมา ไครเซออร์ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินไอเบียเรีย (Iberia) ฮีเซียด (Hesiod) กวีกรีก บรรยายเกี่ยวกับไครเซออร์ไว้ในงานเขียนเรื่อง ทีโอโกนี (Theogony) ว่า "ไครเซออร์สมรสกับคอลลีร์โรอี (Callirrhoe) ธิดาโอซีอานัส (Oceanus) ผู้รุ่งเรือง แล้วให้กำเนิดเกเรียน (geryon) ยักษ์สามหัว ทว่า เกเรียนถูกปลิดชีพด้วยกำลังอันมากล้นของเฮราคลิส (Heracles) ท่ามกลางฝูงโคกระบือที่เกเรียนพาไปเดินทอดน่อง ณ เกาะสมุทรล้อมเอรีทีส (Erytheis) ในวันที่เฮราคลิสขับไล่วัวควายเหล่านั้นเข้าสู่เมืองทีรินซ์ (Tiryns) อันศักดิ์สิทธิ์ ข้ามผ่านกระแสชลโอเคียนอส (Okeanos) และประหารออร์ทอส (Orthos) กับโคบาลยูรีเชียน (Eurytion) ณ ชายทุ่งที่รกทึบเหนือทะเลโอเชียนอส (Oceanos) อันเลื่องชื่อ".
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและไครเซออร์
เรกองกิสตา
“การยอมแพ้ของกรานาดา” (La rendición de Granada) (ค.ศ. 1882) โดยฟรันซิสโก ปราดียา อี ออร์ติซ เรกองกิสตา (สเปน, กาลีเซีย และอัสตูเรียส: Reconquista); เรกงกิชตา (Reconquista); เรกุงเกสตา (Reconquesta); เอร์เรกอนกิสตา (Errekonkista) หรือ อัลอิสติรดาด (الاسترداد) เป็นช่วงเวลา 800 ปีในยุคกลางที่อาณาจักรคริสเตียนในคาบสมุทรไอบีเรียได้รับการพิชิตคืนมาจากอำนาจของมุสลิม การพิชิตของฝ่ายมุสลิมในอาณาจักรวิซิกอทในคริสต์ศตวรรษที่ 8 (เริ่มในปี ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและเรกองกิสตา
เหล็กกล้า
นเหล็ก สายเคเบิลที่ทำจากเหล็กกล้า เหล็กกล้า (steel) คือ เหล็ก (สัญลักษณ์ทางเคมี: Fe) ที่ผ่านกรรมวิธีเพิ่มสารอื่นๆเข้าไปเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของเหล็กให้ดีขึ้น เป็นโลหะผสมที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนอยู่ระหว่าง 0.2 – 2.04% โดยน้ำหนักขึ้นกับคุณภาพ คาร์บอนเป็นวัสดุผสมที่ลดต้นทุนของเหล็กแต่ก็มีการใช้ธาตุอื่นๆ เช่น แมงกานีส โครเมียม วานาเดียม และทังสเตน คาร์บอนและธาตุอื่นๆเป็นตัวทำให้แข็ง การเปลี่ยนปริมาณธาตุที่ผสมในโลหะผสมที่พบในเหล็กกล้า มีส่วนในการควบคุมคุณภาพทั้งด้านความแข็ง การรีดเป็นแผ่นได้ และความตึงของเหล็กกล้าที่ได้ เหล็กกล้าที่มีคาร์บอนมากขึ้นจะแข็งแกร่งและมีความแข็งมากกว่าเหล็ก แต่จะเปราะ ค่าสูงสุดในการละลายของคาร์บอนในเหล็กเป็น 2.14% โดยน้ำหนัก เกิดขึ้นที่อุณหภูมิ 1149 องศาเซลเซียสในการอบใช้อุณหภูมิประมาณ950 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้หรือหรืออุณหภูมิต่ำกว่านี้จะเกิดลักษณะเป็นซีเมนต์ โลหะผสมที่มีคาร์บอนมากจะเป็นเหล็กที่มีความแข็งมาก เพราะมีจุดหลอมเหลวต่ำ และมีความแข็ง เหล็กกล้าต่างจากเหล็กบริสุทธิ์ที่มีอะตอมของธาตุอื่นน้อยมาก แต่มีกากแร่ 1-3% โดยน้ำหนักในรูปของอนุภาคอยู่ในทิศทางหนึ่ง ซึ่งมีความทนทานกว่าเหล็กกล้า และโค้งงอง่ายกว่าแบ่งเป็น.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและเหล็กกล้า
เอลซิด
อนุสาวรีย์เอลซิดในเมืองบูร์โกส ดาบของเอลซิด ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน La Real Armería ภาพเอลซิด ขณะอยู่ในอิริยาบถขี่ม้า เอลซิด (El Cid) เป็นขุนศึกชาวสเปนผู้เก่งกาจคนหนึ่ง เกิดใน พ.ศ.
เอสตาโด โนโว (โปรตุเกส)
อสตาโด โนโว (Estado Novo แปลว่า:"รัฐใหม่") หรือ สาธารณรัฐที่ 2คือระบอบเผด็จชาตินิยมโปรตุเกสก่อตั่งขึ้นในปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและเอสตาโด โนโว (โปรตุเกส)
เอนรีเกราชนาวิก
้าฟ้าชายเองริกึ ราชนาวิก (Henrique o Navegador) (4 มีนาคม ค.ศ. 1394 - 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1460) เป็น “อินฟันเต” (เจ้าชาย) แห่งราชวงศ์อาวิซ (House of Aviz) ผู้มีบทบาทสำคัญในจักรวรรดิโปรตุเกสยุคแรก โดยเฉพาะในการเดินทางทำสำรวจไปทั่วโลก เจ้าฟ้าชายเองริกึเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในพระเจ้าโจเอาที่ 1 แห่งโปรตุเกสผู้ก่อตั้งราชวงศ์อาวิซและฟิลิปปาแห่งแลงแคสเตอร์ธิดาของจอห์นแห่งกอนท์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ แห่งอังกฤษ เจ้าฟ้าชายเองริกึทรงยุให้พระราชบิดาพิชิตเซวตา (ค.ศ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและเอนรีเกราชนาวิก
เทือกเขาพิเรนีส
ทือกเขาพิเรนีสตอนกลาง ยอดเขาบูกาเตในเขตสงวนธรรมชาติเนอูวีเยย์ เทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees; Pirineus; Pyrénées; Pirineos; Pirinioak) เป็นทิวเขาในยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสเปน เทือกเขานี้ยังแบ่งคาบสมุทรไอบีเรียออกจากฝรั่งเศสและมีความยาวประมาณ 430 กิโลเมตร (267 ไมล์) จากมหาสมุทรแอตแลนติก (อ่าวบิสเคย์) จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (แหลมแกร็วส์) ส่วนใหญ่แล้ว ยอดเขาหลัก ๆ จะเป็นแนวพรมแดนฝรั่งเศส-สเปน ซึ่งมีอันดอร์ราแทรกอยู่ตรงกลาง ข้อยกเว้นหลักของกฎนี้คือ บัลดารันที่เป็นของสเปน แต่ตั้งอยู่ทางลาดเขาด้านเหนือของทิวเขา ส่วนข้อผิดปกติอื่น ๆ ได้แก่ ซาร์ดัญญา และดินแดนส่วนแยกของสเปนที่ชื่อยิบิอ.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและเทือกเขาพิเรนีส
เดอะ ร็อก
อะ ร็อก (The Rock) สามารถหมายถึง.
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและเดอะ ร็อก
เฆตาเฟ
นนหลักของเมืองเฆตาเฟ (ถนนมาดริด) เฆตาเฟ (Getafe) เป็นเมืองหนึ่งในเขตนครหลวงของกรุงมาดริด ประเทศสเปน อยู่ห่างจากย่านกลางเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 12 กิโลเมตร ในปี ค.ศ.
เซโกเบีย
รากรุซ เซโกเบีย (Segovia) เป็นเมืองหลักของจังหวัดเซโกเบียในแคว้นกัสติยาและเลออน ประเทศสเปน ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบระหว่างแม่น้ำเอเรสมา (Eresma) กับแม่น้ำกลาโมเรส (Clamores) ที่ตีนเขากวาดาร์รามา (Sierra de Guadarrama) และห่างจากกรุงมาดริดไปทางทิศเหนือโดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง มีประชากรจำนวน 55,586 คนอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล จากเดิมที่เคยเป็นเมืองเมืองหนึ่งของชาวเคลต์นั้น ต่อมาได้ถูกรวมเข้ากับจังหวัดฮิสปาเนียตาราโกเนนซิสของสาธารณรัฐโรมัน (และจังหวัดการ์ตากีเนียนซิสของจักรวรรดิโรมันตอนปลายในเวลาต่อมา) บนเส้นทางระหว่างเมืองเอเมรีตาเอากุสตา (เมรีดาปัจจุบัน) กับเมืองไกซาเรากุสตา (ซาราโกซาปัจจุบัน) โดยขณะที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวโรมันและชาวมัวร์ เมืองนี้มีชื่อเรียกว่า เซโกเวีย (Segovia) และ ชิกูบียะห์ (شقوبية, Šiqūbiyyah) ตามลำดับ สันนิษฐานว่าชื่อเมืองมีรากศัพท์มาจากภาษาของชาวเคลต์ว่า "เซโกบรีกา" (Segobriga) ซึ่งเกิดจากการประสมของคำว่า Sego แปลว่า "ชัยชนะ" และคำว่า -briga แปลว่า "เมือง".
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและเซโกเบีย
เนินปราสาท
ซิสเตอรงที่ตั้งอยู่เหนือตัวเมืองที่ตั้งอยู่ต่ำลงมารอบ ๆ ปราสาท โวบ็อง ซิทาเดลลาที่ตั้งอยู่บนเนินเหนือแม่น้ำดานูบที่บูดาเปสต์ในฮังการี เนินปราสาท (citadel) คือป้อมปราการสำหรับป้องกันเมือง บางครั้งก็จะมีปราสาทรวมอยู่ด้วย หรือบางครั้งก็อาจจะหมายถึงบริเวณที่สูงที่สุดของตัวเมือง ในภาษาอังกฤษคำว่า "citadel" มีรากจากภาษาละตินเช่นเดียวกับคำว่า "city" ว่า "civis" ที่แปลว่า "พลเมือง" ในระบบป้อมปราการที่มีมุขป้อมยื่นออกไป เนินปราสาทคือส่วนที่มั่นคงที่สุดของระบบ บางครั้งก็จะตั้งลึกเข้าไปจากกำแพงนอกและมุขป้อม แต่ก็มักจะมีส่วนหนึ่งที่ติดกับกำแพงด้านนอกเพื่อเป็นการประหยัดการสร้างกำแพงใหม่สำหรับตัวสิ่งก่อสร้างหลัก เนินปราสาทจะเป็นระบบการป้องกันขั้นสุดท้ายถ้าข้าศึกสามารถบุกเข้าในปราสาทจากกำแพงชั้นต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่รอบนอกได้ นอกจากนั้นในยุคกลาง "เนินปราสาท" เป็นคำที่ใช้เรียกส่วนที่สามของปราสาทที่มีกำแพงที่สูงกว่ากำแพงอื่น ๆ ของเมือง ซึ่งเป็นที่มั่นสุดท้ายของระบบการป้องกันก่อนที่จะถึงตัวหอกลาง โครงสร้างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบที่ใช้เป็นเนินปราสาทสร้างในสมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเมื่อเนินปราสาทถือว่าเป็นศูนย์กลางของการบริหาร แต่วัตถุประสงค์ของโครงสร้างก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แม้ว่าโครงสร้างที่พบที่ซากโมเฮนโจ-ดาโร (ภาษาสินธี: मोइन जो दड़ो) หรือ "เนินมรณะ" จะเป็นโครงสร้างที่มีกำแพงล้อมรอบ แต่ก็ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าจะเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นเพื่อการป้องกันการโจมตีจากข้าศึกหรือไม่ ข้อสันนิษฐานข้อหนึ่งคือเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสน้ำท่วม ในสมัยกรีกโบราณ เนินปราสาทอะโครโพลิสตั้งเด่นอยู่บนเนินสูงที่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้แต่ไกล อะโครโพลิสแห่งเอเธนส์ประกอบด้วยสถานที่สำหรับหลบภัย และ ที่มั่น ที่เป็นที่เก็บเสบียงและอาวุธ, เทวสถานสำหรับเทพเจ้า และ พระราชวัง อะโครโพลิสที่มีชื่อเสียงที่สุดคืออะโครโพลิสแห่งเอเธนส์ แต่อะโครโพลิสเป็นองค์ประกอบของการสร้างเมืองแทบทุกเมืองในสมัยกรีกโบราณ เช่นอะโครโพลิสแห่งคอรินท์ (Acrocorinth) ที่มีชื่อเสียงว่ามีระบบป้อมปราการที่มั่นคงที่แข็งแรง ในสมัยต่อมาเมื่อกรีซปกครองโดยจักรวรรดิละติน องค์ประกอบนี้ก็ได้รับการนำไปใช้โดยผู้ปกครองใหม่โดยมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน เนินปราสาทมีชื่อเรียกกันไปต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคเช่น "เครมลิน" (kremlin) ในรัสเซีย หรือ "อัลกาซาร์" (alcázar) ในคาบสมุทรไอบีเรีย ในเมืองในยุโรปคำว่า "citadel" และ "city castle" มักจะใช้สลับความหมายกันได้ หรือบางครั้งก็อาจจะใช้คำว่า "tower" แทนได้เช่น ทาวเวอร์ออฟลอนดอน หรือ ทาวเวอร์ออฟเดวิดในเยรูซาเลม ในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุคกลาง เนินปราสาทที่มีระบบการป้องกันทางการทหารอิสระจากกำแพงเมืองเป็นระบบการป้องกันขั้นสุดท้ายของข้าศึกที่มาล้อมเมือง เมืองจะเสียก็ต่อเมื่อเสียเนินปราสาท เช่นในปี..
ดู คาบสมุทรไอบีเรียและเนินปราสาท
CYP3A5
ซโทโครม P450 3A5 (Cytochrome P450 3A5; ชื่อย่อ: CYP3A5) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีน CYP3A5 ในมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP3A5 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q22.1 CYP3A5 เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเนื้อเยืื่อหลายชนิดในร่างกาย ส่วนมากมักอยู่ที่เนื้อเยื่อของเซลล์ตับ ต่อมลูกหมาก ทางเดินอาหาร ไต ต่อมหมวกไต อย่างไรก็ตาม CYP3A5 ที่อยู่ในเนื้อเยื่ออื่นที่นอกเหนือจากเซลล์ตับจะสามารถแสดงออกได้โดดเด่นมากกว่า หน้าที่หลักของ CYP3A5 คือ การเมแทบอไลซ์ยาและสารประกอบไขมันต่างๆ ในร่างกาย เช่น เทสโทสเทอโรน โปรเจสเตอโรน และแอนโดรสตีนีไดโอน อย่างไรก็ตาม การทำงานของ CYP3A5 นั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ โดยชาติพันธ์ุที่มีอัลลีลของ CYP3A5 เป็น CYP3A5*1 จะมีการทำงานของเอนไซม์ที่เป็นปกติ แต่ในบางกลุ่มชาติพันธ์ุที่มีอัลลีลเป็น CYP3A5*3 อย่างประชากรในแถบยุโรป เอเชียตะวันตก และเอเชียกลาง จะมีการทำงานของเอนไซม์นี้ลดลง และในบางกลุ่มประชากรอาจเกิดการกลายพันธุ์จากอัลลีล CYP3A5*1 มาเป็น CYP3A5*3 ได้.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Iberian Peninsula