เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ความเห็นพ้อง

ดัชนี ความเห็นพ้อง

วามเห็นพ้อง, ฉันทานุมัติ หรือ ฉันทามติ (consensus) มาจากภาษาละตินว่า cōnsēnsus หรือ cōnsentiō หมายถึง ความรู้สึกร่วมกัน (feel together) โดยพจนานุกรมฉบับ Merriam-Webster’s ให้ความหมายของ consensus ไว้ว่าเป็นข้อตกลงร่วมกันที่มีลักษณะเป็นการยอมรับแบบเอกฉันท์ (unanimity) หัวใจของความเห็นพ้องมีสาระสำคัญอยู่ที่การประนีประนอมระหว่างกัน และจัดกระบวนการให้คนในสังคมหรือชุมชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เป้าหมายของความเห็นพ้องมีเพื่อเป็นเครื่องรับประกันว่าสมาชิกทุกคนในชุมชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและหาข้อตกลงร่วมกันได้ ความเห็นพ้องมักเชื่อมโยงกับการตัดสินใจ (consensus decision making) ซึ่งหมายถึงกระบวนการตัดสินใจโดยกลุ่มคนที่เน้นความยินยอมและเห็นชอบร่วมกันจากผู้มีส่วนร่วมทุกคน ดังนั้น ความเห็นพ้องในกระบวนการตัดสินใจจึงหมายถึงทางออกแห่งปัญหาซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ถึงแม้อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดในใจของคนทุกคน.

สารบัญ

  1. 1 ความสัมพันธ์: ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) เป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย โดยมีนัยหมายถึงกระบวนการทางประชาธิปไตยที่มีความเชื่อมั่นในพลังอำนาจจากการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองมากยิ่งขึ้น โดยการปรึกษาหารือ ร่วมถกแถลงอภิปรายข้อปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อโน้มน้าวพลเมืองคนอื่น และกลุ่มคนที่มีผลประโยชน์และความเห็นแตกต่างกันด้วยข้อมูลและเหตุผล อันจะนำไปสู่การแสวงหาทางออกที่เห็นพ้องต้องกัน หรือ ฉันทามติ ในการแก้ไขปัญหาสาธารณะ ตลอดจนการตัดสินใจทางการเมืองต่างๆ (Kurian, 2011: 385).

ดู ความเห็นพ้องและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ฉันทามติ