เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ความน่าจะเป็น

ดัชนี ความน่าจะเป็น

วามน่าจะเป็น คือการวัดหรือการประมาณความเป็นไปได้ว่า บางสิ่งบางอย่างจะเกิดขึ้นหรือถ้อยแถลงหนึ่ง ๆ จะเป็นจริงมากเท่าใด ความน่าจะเป็นมีค่าตั้งแต่ 0 (โอกาส 0% หรือ จะไม่เกิดขึ้น) ไปจนถึง 1 (โอกาส 100% หรือ จะเกิดขึ้น) ระดับของความน่าจะเป็นที่สูงขึ้น คือความเป็นไปได้มากขึ้นที่เหตุการณ์นั้นจะเกิด หรือถ้ามองจากเงื่อนเวลาของการสุ่มตัวอย่าง คือจำนวนครั้งมากขึ้นที่เหตุการณ์เช่นนั้นคาดหวังว่าจะเกิด มโนทัศน์เหล่านี้มาจากการแปลงคณิตศาสตร์เชิงสัจพจน์ในทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในขอบเขตการศึกษาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ การเงิน การพนัน วิทยาศาสตร์ ปัญญาประดิษฐ์/การเรียนรู้ของเครื่อง และปรัชญา เพื่อร่างข้อสรุปเกี่ยวกับความถี่ที่คาดหวังของเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นอาทิ ทฤษฎีความน่าจะเป็นก็ยังนำมาใช้เพื่ออธิบายกลไกรากฐานและความสม่ำเสมอของระบบซับซ้อน.

สารบัญ

  1. 103 ความสัมพันธ์: Anchoringฟังก์ชันซีตาของรีมันน์ฟังก์ชันแกมมาฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์กฎของอุณหพลศาสตร์กฎของเมอร์ฟีการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จการพนันการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยการวิจัยดำเนินการการวิเคราะห์อภิมานการสืบเชื้อสายร่วมกันการอนุมานการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา)การปรับตัว (นิเวศวิทยา)การปัดเศษการแจกแจงความน่าจะเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้การเรียนรู้ของเครื่องการเข้ารหัสทางประสาทการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์กูกอลภาวะนามธรรม (คณิตศาสตร์)มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกีระบบรางวัลระดับพลังงานแฟร์มีรายชื่ออุบัติเหตุทางรถไฟในประเทศไทยรายชื่อความเอนเอียงทางประชานรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้รายนามนักประพันธ์และรายชื่อวรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ของประเทศไทยลูกเต๋าวิทยาการระบาดวิทยาศาสตร์เทียมสัจพจน์ของความน่าจะเป็นสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนสถิติศาสตร์หลักการสอดคล้องในตัวเองของนาวิคอฟหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อสมการของมาร์คอฟอสมการของเชบิเชฟอุบัติเหตุอุณหพลศาสตร์ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายจำนวนเฉพาะจุดผลิตน้ำมันสูงสุดทฤษฎีความน่าจะเป็นทฤษฎีคาดหวัง... ขยายดัชนี (53 มากกว่า) »

Anchoring

ในสาขาจิตวิทยา คำภาษาอังกฤษว่า Anchoring (แปลว่า การตั้งหลัก) หรือ focalism หมายถึงความเอนเอียงทางประชานของมนุษย์ ความมีแนวโน้มที่จะอิงข้อมูลแรกที่ได้มากเกินไป (โดยเป็น anchor คือเป็นหลัก) เมื่อทำการตัดสินใจ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราพิจารณาข้อมูลแรกที่ได้ในการประเมินค่าที่ไม่รู้ ซึ่งจะกลายเป็นหลักที่จะใช้ต่อ ๆ มา และเมื่อมีหลักตั้งขึ้นแล้ว การประเมินผลต่อ ๆ มาจะเป็นการปรับค่าใช้ข้อมูลที่เป็นหลักนั้น ดังนั้น จึงอาจเกิดความความเอนเอียงเพราะตีความข้อมูลต่อ ๆ มาเป็นค่าใกล้ ๆ หลักที่อาจจะไม่ได้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน โดยไม่สมเหตุผล ยกตัวอย่างเช่น ราคาที่เสนอเริ่มแรกในการซื้อขายรถมือสองจะกลายเป็นหลักที่ใช้ในการต่อราคาที่มีต่อ ๆ มา ดังนั้น ราคาตกลงซื้อที่น้อยกว่าราคาเสนอเบื้องต้นอาจจะดูเหมือนดีกว่าถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้ว อาจจะเป็นราคาที่สูงกว่ามูลค่าของรถจริง.

ดู ความน่าจะเป็นและAnchoring

ฟังก์ชันซีตาของรีมันน์

ฟังก์ชันซีตาของรีมันน์สำหรับจำนวนจริง ''s'' > 1 ในทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันซีตาของรีมันน์ (Riemann zeta function) เป็นฟังก์ชันที่นิยามโดย \zeta(s).

ดู ความน่าจะเป็นและฟังก์ชันซีตาของรีมันน์

ฟังก์ชันแกมมา

กราฟของฟังก์ชันแกมมาบนระนาบจำนวนจริง ฟังก์ชันแกมมา (Gamma function, G ตัวใหญ่) เป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่เป็นส่วนขยายของฟังก์ชันแฟกทอเรียลบนจำนวนเชิงซ้อน หรือสามารถกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ฟังก์ชันแกมมาเป็นการเติมเต็มฟังก์ชันแฟกทอเรียลของค่า n ที่ไม่ใช่จำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ สำหรับจำนวนเชิงซ้อน z ซึ่งส่วนจริงเป็นค่าบวก ได้นิยามไว้ว่า นิยามดังกล่าวทำให้ผลลัพธ์สามารถขยายไปได้ถึงระนาบจำนวนเชิงซ้อน ยกเว้นเมื่อส่วนจริงเป็นจำนวนเต็มลบ สำหรับกรณีถ้า z มีค่าเป็นจำนวนเต็มบวก จะได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับฟังก์ชันแฟกทอเรียล ฟังก์ชันแกมมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการกระจายและความน่าจะเป็นหลากหลายฟังก์ชัน นั่นหมายความว่าฟังก์ชันนี้นำไปใช้ได้ในเรื่องของความน่าจะเป็นและสถิต.

ดู ความน่าจะเป็นและฟังก์ชันแกมมา

ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์

ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ (mathematical physics) เป็นสาขาวิชาฟิสิกส์ที่ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือยุคแรกหรือยุคคลาสสิก ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์คิดค้นเพื่อใช้แก้ปัญหาทางกลศาสตร์ ทฤษฎีไฟฟ้าแม่เหล็ก และอุณหพลศาสตร์เป็นต้น.

ดู ความน่าจะเป็นและฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์

กฎของอุณหพลศาสตร์

กฎของอุณหพลศาสตร์ มีทั้งหมด 4 ข้อ โดยกฎข้อที่หนึ่งและข้อที่สองนั้น ถือว่าเป็นสองกฎที่สำคัญที่สุดของฟิสิกส์เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม กฎบางข้อ เช่น ข้อที่สอง จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อเมื่อมองธรรมชาติแบบมหภาคเท่านั้น แต่เมื่อมองในระดับจุลภาคหรือระดับอะตอม มีความน่าจะเป็นที่กฎข้อที่สองจะถูกฝ่าฝืน เพียงแต่ความน่าจะเป็นนั้นมีค่าน้อยมาก จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ในระดับมหภาคเท่านั้น.

ดู ความน่าจะเป็นและกฎของอุณหพลศาสตร์

กฎของเมอร์ฟี

กฎของเมอร์ฟี (Murphy's Law) เป็นภาษิตที่มีการกล่าวถึงการอย่างกว้างขวางว่า "ทุกสิ่งที่สามารถผิดพลาด จะผิดพลาด" (Anything that can go wrong, will go wrong) ภาษิตดังกล่าวยังใช้ในความหมายประชดประชันว่า เหตุการณ์ทั้งหลายมักไม่เป็นไปดังหวังหรือเกิดผิดพลาด หรือหากเจาะจงกว่านั้น อาจเป็นการสะท้อนแนวคิดคณิตศาสตร์ที่ว่า ภายใต้เวลานานระดับหนึ่ง เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากยิ่งจะมีโอกาสเกิดขึ้นอย่างแน่นอน (เนื่องจากความน่าจะเป็นมีค่ามากกว่า 0) แม้ว่า ส่วนใหญ่มักใช้กับเหตุการณ์แง่ร้ายมากกว่าแง่ดี.

ดู ความน่าจะเป็นและกฎของเมอร์ฟี

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ

สมมติฐานว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" จะพิสูจน์ว่าจริงได้อย่างไร? พิสูจน์ว่าเท็จได้หรือไม่? การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ หรือ การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiability, refutability) ของประพจน์ (บทความ, ข้อเสนอ) ของสมมติฐาน หรือของทฤษฎี ก็คือความเป็นไปได้โดยธรรมชาติที่จะพิสูจน์ว่ามันเป็นเท็จได้ ประพจน์เรียกว่า "พิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้" ถ้าเป็นไปได้ที่จะทำการสังเกตการณ์หรือให้เหตุผลที่คัดค้านลบล้างประพจน์นั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น เพราะปัญหาของการอุปนัย (วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม) ไม่ว่าจะมีจำนวนการสังเกตการณ์เท่าไร ก็จะไม่สามารถพิสูจน์การกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" แต่ว่า มันเป็นไปได้โดยตรรกะหรือโดยเหตุผลที่จะพิสูจน์ว่าเท็จ เพียงโดยสังเกตเห็นหงส์ดำตัวเดียว ดังนั้น คำว่า "พิสูจน์ว่าเท็จได้" บางที่ใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า "ตรวจสอบได้" (testability) แต่ว่าก็มีบางประพจน์ เช่น "ฝนมันจะตกที่นี่อีกล้านปี" ที่พิสูจน์ว่าเท็จได้โดยหลัก แต่ว่าทำไม่ได้โดยปฏิบัติ เรื่องการพิสูจน์ว่าเท็จได้กลายเป็นจุดสนใจเพราะคตินิยมทางญาณวิทยาที่เรียกว่า "falsificationism" (คตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จ) ของนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ-อเมริกัน.

ดู ความน่าจะเป็นและการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ

การพนัน

ร้านปาจิงโกะในญี่ปุ่น การพนันชนิดหนึ่ง การพนัน (gambling) หมายถึง การเล่นชนิดหนึ่งเพื่อเอาเงินหรือสิ่งอื่นใดด้วยการเสี่ยงโชค โดยการทำนายหรือคาดเดาผลที่เกิดขึ้นในอนาคต การพนันอาจแบ่งได้หลายอย่าง เช่น การพนันในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น เกมไพ่ เกมลูกเต๋า การพนันโดยการทำนายผลที่คาดว่าเกิดขึ้นในอนาคตเช่น การแทงบอล การแทงม้า และการพนันที่ไม่มีการแข่งขันโดยขึ้นกับความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เกิดเช่น หว.

ดู ความน่าจะเป็นและการพนัน

การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (เรียกสั้น ๆ ว่า ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา) เป็นระบบการรับสมัครบุคคลที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษามีการพัฒนามาตั้งแต่ปี..

ดู ความน่าจะเป็นและการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

การวิจัยดำเนินการ

การวิจัยดำเนินงาน บ้างเรียก การวิจัยปฏิบัติการหรือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรียกย่อ ๆว่า โออาร์ (Operations research) เป็นการใช้แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ สถิติ และขั้นตอนวิธีช่วยในการตัดสินใจ โดยปกติจะใช้การวิจัยดำเนินงานในการวิเคราะห์ระบบที่มีอยู่ในโลกจริงที่มีความซับซ้อน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่เหมาะสมที่สุด การวิจัยดำเนินงานถือเป็นสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ประยุกต์ คำว่าการวิจัยดำเนินงานและวิทยาการบริหารจัดการ นั้นปกติจะใช้ในความหมายใกล้เคียงกัน โดยวิทยาการบริหารจัดการนั้นปกติจะมีเฉพาะเจาะจงกับปัญหาทางด้านการบริหาธุรกิจมากกว่า ส่วนการวิจัยดำเนินงานจะเกี่ยวกับวิศวกรรมอุตสาหการซึ่งมองปัญหาเชิงวิศวกรรม โดยใช้เทคนิคโออาร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเหล่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดำเนินงานคือ สถิติ (statistics) การหาค่าเหมาะที่สุด (optimization) การสโทแคสติก (stochastic) ทฤษฎีแถวคอย (queuing) ทฤษฎีเกม (Game's theory) และ การจำลอง(simulation) และเนื่องจาก OR มีการใช้การคำนวณเชิงคอมพิวเตอร์จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ นักวิจัยดำเนินงานปกติจะต้องพัฒนาหรือปรับปรุงซอฟต์แวร์เอง การวิจัยดำเนินงานมีจุดเด่นตรงที่ความสามารถในการพัฒนาระบบทั้งระบบ ไม่เฉพาะเจาะจงกับการแก้ไขปัญหาย่อยเพียงอย่างเดียว โดยนักวิจัยดำเนินงานจะแก้ปัญหาโดยพิจารณาว่า วิธีหรือเทคนิคใดที่เหมาะสมกับธรรมชาติของระบบนั้น ๆ พิจารณาเป้าหมายของการปรับปรุง และ เงื่อนไขเประสิทธิภาพเชิงเวลา และโดยมากแล้วปัญหาทางเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเองมักไม่สามารถแก้ได้ด้วยเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเท่านั้น ต้องอาศัยเทคนิคอื่นมาร่วมแก้ไขปัญหาด้ว.

ดู ความน่าจะเป็นและการวิจัยดำเนินการ

การวิเคราะห์อภิมาน

การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) หมายถึงวิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดสิ่งที่พบเหมือน ๆ กัน สิ่งที่ต่างกัน และความสัมพันธ์ที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่อาจปรากฏด้วยการศึกษางานวิจัยหลาย ๆ งาน Meta-analysis สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการ "ทำการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาอื่นที่ทำมาแล้ว" โดยแบบที่ง่ายที่สุด Meta-analysis จะทำโดยกำหนดการวัดค่าทางสถิติที่เหมือนกันในงานวิจัยหลาย ๆ งาน เช่น ขนาดผล (effect size) หรือ p-value แล้วสร้างค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average) ของการวัดค่าที่เหมือนกัน โดยน้ำหนักที่ให้มักจะขึ้นอยู่กับขนาดตัวอย่าง (sample size) ของแต่ละงานวิจัย แต่ก็สามารถขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอย่างอื่น ๆ เช่นคุณภาพของงานศึกษาด้วย แรงจูงใจที่จะทำงานศึกษาแบบ meta-analysis ก็เพื่อรวมข้อมูลเพื่อจะเพิ่มกำลังทางสถิติ (statistical power) ของค่าที่สนใจ เมื่อเปรียบเทียบกับเพียงใช้ค่าวัดจากงานศึกษาเดียว ในการทำงานศึกษาเช่นนี้ นักวิจัยต้องเลือกองค์ประกอบหลายอย่างที่อาจมีอิทธิพลต่อผลงาน รวมทั้งวิธีการสืบหางานวิจัย การเลือกงานวิจัยตามกฏเกณฑ์ที่เป็นกลาง การแก้ปัญหาเมื่อมีข้อมูลไม่ครบ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ และการแก้ปัญหาหรือไม่แก้ปัญหาความเอนเอียงในการตีพิมพ์ การศึกษาแบบ Meta-analysis มักจะเป็นส่วนสำคัญของงานปริทัศน์แบบทั้งระบบ (systematic review) แต่ไม่เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น อาจจะมีการทำงานแบบ Meta-analysis โดยใช้ผลงานการทดลองทางคลินิก (clinical trial) เกี่ยวกับการรักษาทางแพทย์อย่างหนึ่ง เพื่อที่จะได้ความเข้าใจที่ดีขึ้นว่าการรักษาได้ผลแค่ไหน เมื่อใช้ศัพท์ต่าง ๆ ที่กำหนดโดยองค์กร Cochrane Collaboration คำว่า meta-analysis ก็จะหมายถึงวิธีทางสถิติที่ใช้ในการประมวลหลักฐาน โดยไม่รวมเอาการประมวลข้อมูลรูปแบบอื่น ๆ เช่น research synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์งานวิจัย) หรือ evidence synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์หลักฐาน) ที่ใช้ประมวลข้อมูลจากงานศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative studies) ซึ่งใช้ในงานปริทัศน์แบบทั้งร.

ดู ความน่าจะเป็นและการวิเคราะห์อภิมาน

การสืบเชื้อสายร่วมกัน

ในสาขาชีววิทยาวิวัฒนาการ การสืบเชื้อสายร่วมกัน หรือ การสืบสกุลร่วมกัน (Common descent) เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่ากลุ่มสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้สุด (most recent common ancestor, MRCA) อย่างไร มีหลักฐานว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน และในปี 2559 นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ระบุยีน 355 ตัวจากบรรพบุรุษร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันจะมีบรรพบุรุษร่วมกันในช่วงการเกิดสปีชีส์ ที่สปีชีส์ต่าง ๆ จะกำเนิดจากกลุ่มบรรพบุรุษเดียวกัน โดยกลุ่มที่มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้กันกว่า ก็จะเป็นญาติใกล้ชิดกันมากกว่า และสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดก็ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันที่เรียกว่า บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (LUCA) ซึ่งมีชีวิตประมาณ 3,900 ล้านปีก่อน (โดยโลกเกิดเมื่อ 4,450 ล้านปี ± 1% ก่อน) หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก 2 ชิ้นก็คือ.

ดู ความน่าจะเป็นและการสืบเชื้อสายร่วมกัน

การอนุมาน

การอนุมาน (inference) เป็นการคาดคะเนตามหลักเหตุผล ที่แบ่งออกเป็นแบบหลัก ๆ 3 อย่างคือ.

ดู ความน่าจะเป็นและการอนุมาน

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ดู ความน่าจะเป็นและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา)

การทดแทนคุณลักษณะ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ attribute ว่า "คุณลักษณะ" และของ substitution ว่า "การทดแทน (กลไกทางจิต)" (Attribute substitution) เป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่เชื่อว่า เป็นเหตุของความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) และการแปลสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัสผิด (perceptual illusion) หลายอย่าง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราต้องทำการประเมินคุณลักษณะเป้าหมาย (target attribute) ที่ต้องใช้การคำนวณที่ซับซ้อน แต่กลับใช้คุณลักษณะอีกอย่างหนึ่งแทนที่ ซึ่งเรียกว่า คุณลักษณะฮิวริสติก (heuristic attribute) ที่สามารถคำนวนได้ง่ายกว่า (เช่น การประเมินความน่าจะเป็นว่าอยู่ในกลุ่ม โดยใช้ความคล้ายคลึงของบุคคลกับกลุ่ม แทนที่จะใช้อัตราพื้นฐานของความน่าจะเป็น) การแทนที่เช่นนี้เชื่อว่าเกิดขึ้นในระบบการประเมินแบบรู้เอง (intuitive) ที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่ระบบที่ต้องอาศัยความคิดพิจารณาที่อยู่เหนือสำนึก ดังนั้น เมื่อเราทำความพยายามที่จะตอบปัญหาที่ยาก เราอาจจะกลับไปตอบปัญหาที่ต่างกันแต่เกี่ยวข้องกัน โดยที่ไม่รู้ว่ามีการแทนที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งอธิบายว่า ทำไมเราจึงไม่รู้ถึงความเอนเอียงต่าง ๆ ของตน และทำไมความเอนเอียงยังดำรงอยู่ได้แม้เมื่อมีการบอกให้รู้แล้ว และอธิบายอีกด้วยว่า ทำไมการตัดสินใจของมนุษย์บ่อยครั้งจึงไม่มีลักษณะของการถอยกลับไปสู่ค่าเฉลี่ย (regression toward the mean) ทฤษฎีนี้รวมทฤษฎีต่างหลายอย่างที่อธิบายความผิดพลาดในการคิดหาเหตุผลโดยอธิบายว่า มนุษย์แก้ปัญหาบางอย่างโดยใช้ฮิวริสติกซึ่งเป็นทางลัดในการคิดหาเหตุผล ที่ในบางสถานการณ์ให้คำตอบที่ผิดพลาด ต่อมา ทฤษฎีที่เสนอในปี..

ดู ความน่าจะเป็นและการทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา)

การปรับตัว (นิเวศวิทยา)

ในสาขานิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรม (behavioral ecology) พฤติกรรมปรับตัว (adaptive behavior) หรือ การปรับตัว เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการรอดชีวิตหรือความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของสัตว์ และดังนั้นจึงอยู่ใต้อิทธิพลของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น การมีความลำเอียงต่อญาติพี่น้องในพฤติกรรมเพื่อประโยน์ผู้อื่น (altruistic behavior), การเลือกสัตว์ตัวผู้ที่เหมาะ (fit) ที่สุดโดยสัตว์ตัวเมียซึ่งเป็นการคัดเลือกทางเพศ (sexual selection), การป้องกันอาณาเขต (territory), หรือการป้องกันกลุ่มสัตว์ตัวเมีย (harem) ของตน ในนัยตรงกันข้าม พฤติกรรมไม่ปรับตัว (non-adaptive behavior) เป็นพฤติกรรมหรือลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ที่มีผลร้ายต่อการอยู่รอดหรือความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของสัตว์ ซึ่งอาจจะรวมทั้งพฤติกรรมเพื่อประโยน์ผู้อื่นที่ไม่มีความลำเอียงเพื่อญาติพี่น้อง การรับลูกของผู้ไม่ใช่ญาติมาเลี้ยง และความเป็นรองในสังคมที่มีการจัดความเป็นใหญ่ความเป็นรอง (dominance hierarchy) โดยสามัญ การปรับตัว (Adaptation) หมายถึงคำตอบหรือการแก้ปัญหาทางวิวัฒนาการ ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการรอดชีวิตและการสืบพันธ์ ซึ่งเป็นปัญหาที่หมุนเวียนมาใหม่ไม่จบสิ้น ความแตกต่างในระหว่างบุคคลเกิดจากทั้งพฤติกรรมปรับตัวที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้และสืบทอดไม่ได้ มีหลักฐานว่า พฤติกรรมทั้งสองมีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของพฤติกรรมปรับตัวของสปีชีส์ แม้ว่า จะมีประเด็นต่าง ๆ รวมทั้ง.

ดู ความน่าจะเป็นและการปรับตัว (นิเวศวิทยา)

การปัดเศษ

การปัดเศษ หรือ การปัดเลข หมายถึงการลดทอนเลขนัยสำคัญของจำนวนจำนวนหนึ่ง ผลที่ได้จากการปัดเศษจะได้จำนวนที่มีตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่ศูนย์ลดน้อยลง และทำให้ความแม่นยำลดลง แต่สามารถนำไปใช้ต่อได้สะดวกยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น 73 สามารถปัดเศษในหลักสิบได้ใกล้เคียงที่สุดเป็น 70 เพราะว่า 73 มีค่าใกล้เคียง 70 มากกว่า 80 อย่างไรก็ตามกฎเกณฑ์ในการปัดเศษอาจมีวิธีแตกต่างกันออกไป.

ดู ความน่าจะเป็นและการปัดเศษ

การแจกแจงความน่าจะเป็น

ในความน่าจะเป็นและสถิติศาสตร์ การแจกแจงความน่าจะเป็นกำหนดความน่าจะเป็นให้เซตย่อยของผลลัพธ์การทดลองสุ่ม การสำรวจหรือวิธีอนุมานทางสถิติที่วัดได้ทั้งหมด ตัวอย่างการแจกแจงความน่าจะเป็นพบได้ในการทดลองที่ปริภูมิตัวอย่างไม่เป็นตัวเลข ซึ่งการแจกแจงจะเป็นการแจกแจงประเภท, การทดลองที่ปริภูมิตัวอย่างเข้ารหัสด้วยตัวแปรสุ่มวิยุต ซึ่งการแจกแจงสามารถระบุได้ด้วยฟังก์ชันมวลของความน่าจะเป็น, และการทดลองที่ปริภูมิตัวอย่างเข้ารหัสด้วยตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง ซึ่งการแจกแจงสามารถเจาะจงได้ด้วยฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็น การทดลองที่ซับซ้อนกว่า เช่น การทดลองที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสโทแคสติกที่นิยามในเวลาต่อเนื่อง อาจต้องใช้เมเชอร์ความน่าจะเป็นที่เจาะจงน้อยกว.

ดู ความน่าจะเป็นและการแจกแจงความน่าจะเป็น

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control) เป็นแน้วโน้มที่เรามีในการประเมินค่าสูงเกินไปว่า สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ คือ เราอาจจะคิดว่าเราควบคุมเหตุการณ์อะไรบางอย่างได้ แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเราจะไม่ได้มีส่วนควบคุม ชื่อของปรากฏการณ์นี้ตั้งขึ้น.ญ.

ดู ความน่าจะเป็นและการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

การเรียนรู้ของเครื่อง

การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เป็นสาขาหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนามาจากการศึกษาการรู้จำแบบ เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการสร้างอัลกอริทึมที่สามารถเรียนรู้ข้อมูลและทำนายข้อมูลได้ อัลกอริทึมนั้นจะทำงานโดยอาศัยโมเดลที่สร้างมาจากชุดข้อมูลตัวอย่างขาเข้าเพื่อการทำนายหรือตัดสินใจในภายหลัง แทนที่จะทำงานตามลำดับของคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเรียนรู้ของเครื่องมีเกี่ยวข้องอย่างมากกับสถิติศาสตร์ เนื่องจากทั้งสองสาขาศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทำนายเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับสาขาการหาค่าเหมาะที่สุดในทางคณิตศาสตร์ที่แงของวิธีการ ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ การเรียนรู้ของเครื่องสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหมาย ไม่ว่าจะเป็นการกรองอีเมล์ขยะ การรู้จำตัวอักษร เครื่องมือค้นหา และคอมพิวเตอร์วิทัศน.

ดู ความน่าจะเป็นและการเรียนรู้ของเครื่อง

การเข้ารหัสทางประสาท

การยิงศักยะงานเป็นขบวนหรือเป็นลำดับ ๆ ของเซลล์ประสาท การเข้ารหัสทางประสาท (Neural coding) เป็นการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองของเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ หรือของกลุ่มเซลล์ประสาท และความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทในกลุ่ม โดยอาศัยทฤษฎีว่า การทำงานของเครือข่ายเซลล์ประสาทในสมองจะเป็นตัวแทนข้อมูลทางประสาทสัมผัสและข้อมูลอื่น ๆ นักวิชาการจึงเชื่อว่า เซลล์ประสาทสามารถเข้ารหัสข้อมูลเป็นทั้งแบบดิจิตัลและแบบแอนะล็อก.

ดู ความน่าจะเป็นและการเข้ารหัสทางประสาท

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง

ร์วินให้เป็น '''ทฤษฎีวิวัฒนาการสังเคราะห์แบบปัจจุบัน''' (Modern evolutionary synthesis) การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (Genetic drift, allelic drift, Sewall Wright effect) เป็นการเปลี่ยนความถี่รูปแบบยีน (คือ อัลลีล) ในกลุ่มประชากรเพราะการชักตัวอย่างอัลลีลแบบสุ่มของสิ่งมีชีวิต คือ อัลลีลที่พบในสิ่งมีชีวิตรุ่นลูก จะเป็นตัวอย่างของอัลลีลที่ชักมาจากพ่อแม่ โดยความสุ่มจะมีบทบาทกำหนดว่า สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกนั้น ๆ จะรอดชีวิตแล้วสืบพันธุ์ต่อไปหรือไม่ ส่วน ความถี่อัลลีล (allele frequency) ก็คืออัตราที่ยีนหนึ่ง ๆ จะมีรูปแบบเดียวกันในกลุ่มประชากร การเปลี่ยนความถี่ยีนอาจทำให้อัลลีลหายไปโดยสิ้นเชิงและลดความแตกต่างของยีน (genetic variation) เมื่ออัลลีลมีก๊อปปี้น้อย ผลของการเปลี่ยนความถี่จะมีกำลังกว่า และเมื่อมีก๊อปปี้มาก ผลก็จะน้อยกว่า ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีการอภิปรายอย่างจริงจังว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติสำคัญเทียบกับกระบวนการที่เป็นกลาง ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงแค่ไหน.

ดู ความน่าจะเป็นและการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง

กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์

แสดงต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลังทำใน ปี ค.ศ. 1879 (ของ Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ ได้รับการพรรณนาว่าเป็นต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขาต่าง ๆ มากมายแยกออกจากลำต้นต้นเดียว แม้ว่าข้อมูลที่ใช้สร้างต้นไม้นี้จะล้าสมัยแล้ว แต่ก็ยังแสดงหลักการบางอย่างที่ต้นไม้ที่ทำขึ้นในปัจจุบันอาจจะทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจน "พุ่มไม้" ด้านบนขวาสุดเป็นพวกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์ กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ (timeline of human evolution) แสดงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์และของบรรพบุรุษมนุษย์ ซึ่งรวมคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับสัตว์บางประเภท บางสปีชีส์ หรือบางสกุล ซึ่งอาจจะเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ บทความไม่มุ่งจะแสดงกำเนิดของชีวิตซึ่งกล่าวไว้ในบทความกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต แต่มุ่งจะแสดงสายพันธุ์ที่เป็นไปได้สายหนึ่งที่ดำเนินมาเป็นมนุษย์ ข้อมูลของบทความมาจากการศึกษาในบรรพชีวินวิทยา ชีววิทยาพัฒนาการ (developmental biology) สัณฐานวิทยา และจากข้อมูลทางกายวิภาคและพันธุศาสตร์ การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์เป็นส่วนสำคัญของมานุษยวิท.

ดู ความน่าจะเป็นและกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์

กูกอล

กูกอล (อังกฤษ: googol) หมายถึง จำนวนมหาศาล (large number) จำนวนหนึ่งซึ่งมีค่าเท่ากับ 10100 นั่นคือมีเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีก 100 ตัวในเลขฐานสิบ หรือเท่ากับ 10,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000 คำนี้ถูกกำหนดขึ้นในปี ค.ศ.

ดู ความน่าจะเป็นและกูกอล

ภาวะนามธรรม (คณิตศาสตร์)

ในทางคณิตศาสตร์ ภาวะนามธรรม (abstraction) หมายถึง กระบวนการขยายความสาระสำคัญที่เป็นหลักพื้นฐาน ของแนวความคิดทางคณิตศาสตร์ โดยไร้ข้อผูกมัดของวัตถุในโลกแห่งความเป็นจริงซึ่งปกติอาจเชื่อมโยงกันอยู่ และเป็นการให้ความหมายทั่วไปของแนวความคิดนั้น เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น แขนงความรู้หลายอย่างของคณิตศาสตร์มาจากการศึกษาปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ก่อนที่กฎและแนวความคิดต่างๆ ที่เป็นหลักพื้นฐานจะถูกกำหนดขึ้นและนิยามไว้เป็นโครงสร้างนามธรรม ตัวอย่างเช่น เรขาคณิตมีจุดกำเนิดมาจากการคำนวณหาระยะทางและพื้นที่ในโลกแห่งความเป็นจริง สถิติมีจุดกำเนิดมาจากการคำนวณความเป็นไปได้ของการพนัน และพีชคณิตเริ่มต้นมาจากวิธีการต่างๆ ของการแก้ปัญหาในเลขคณิต.

ดู ความน่าจะเป็นและภาวะนามธรรม (คณิตศาสตร์)

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ.

ดู ความน่าจะเป็นและมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

ระบบรางวัล

ติดตั้งเป้าที่ศูนย์ความสุขในสมอง (รูปซ้าย) แสดงวิถีประสาทแบบโดพามีน คือระบบรางวัล วงจรประสาทเหล่านี้สำคัญในการตอบสนองต่อรางวัลตามธรรมชาติ เช่น การได้อาหารและเพศสัมพันธ์ (รูปกลางและขวา) แสดงการปล่อยสารสื่อประสาทโดพามีน รูปกลางแสดงการปล่อยเมื่อได้อาหาร รูปกลมสีส้มเป็นโดพามีน รูปขวาแสดงการปล่อยเมื่อได้โคเคนซึ่งปล่อยโดพามีนมากกว่าตามธรรมชาติเป็นการเปลี่ยนแปลงการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท วงกลมสีแดงคือโคเคน ระบบรางวัล หรือ ระบบการให้รางวัล (reward system) เป็นโครงสร้างทางประสาทที่จำเป็นเพื่ออำนวยผลของการเสริมแรง (reinforcement) พฤติกรรม คือเพิ่มความถี่ของพฤติกรรมนั้น ๆ ส่วนรางวัล (reward) เป็นสิ่งเร้าที่สร้างความหิวกระหายให้กับมนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ เพื่อให้เปลี่ยนพฤติกรรม โดยปกติทำงานเป็นตัวเสริมแรง (reinforcer) ซึ่งเป็นสิ่งที่เมื่อให้หลังจากมีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง จะทำให้พฤติกรรมนั้นมีโอกาสการเกิดเพิ่มขึ้น ให้สังเกตว่า แม้ว่าสิ่งหนึ่ง ๆ อาจจะเรียกว่ารางวัล แต่ไม่จำเป็นที่มันจะเป็นตัวเสริมแรง เพราะว่ารางวัลจะเป็นตัวเสริมแรงได้ก็ต่อเมื่อถ้าให้แล้วเพิ่มความน่าจะเป็นของพฤติกรรมนั้น ๆ รางวัลหรือการเสริมแรง เป็นเครื่องวัดที่เป็นกลาง ๆ เพื่อวัดคุณค่าที่บุคคลให้กับวัตถุ กับพฤติกรรม หรือกับสรีรภาพภายในอะไรอย่างหนึ่ง รางวัลปฐมภูมิ (Primary reward) รวมสิ่งที่จำเป็นต่อการรอดพันธุ์ของสปีชีส์ เช่น การได้อาหารและเพศสัมพันธ์ ส่วนรางวัลทุติยภูมิจะมีค่าสืบจากรางวัลปฐมภูมิ เงินทองเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่ง รางวัลทุติยภูมิสามารถสร้างได้ในการทดลองโดยการจับคู่สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (รางวัลทุติยภูมิ) กับรางวัลปฐมภูมิ บ่อยครั้ง สัมผัสที่เป็นสุขหรือว่าเสียงดนตรีที่ไพเราะจัดว่าเป็นรางวัลทุติยภูมิ แต่นี่อาจจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะว่า มีหลักฐานจำนวนหนึ่งที่แสดงว่า สัมผัสทางกาย เช่น การโอบกอดหรือการดูแลแต่งกายให้กันและกัน ไม่ใช่รางวัลที่ต้องเรียนรู้ คือเป็นรางวัลปฐมภูมิ รางวัลโดยทั่วไปมองว่าดีกว่าการทำโทษเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม.

ดู ความน่าจะเป็นและระบบรางวัล

ระดับพลังงานแฟร์มี

ระดับพลังงานแฟร์มี (Fermi level) คือระดับพลังงานศักย์ของอิเล็กตรอนภายในของแข็งแบบผลึกในสมมุติฐานทางทฤษฎี การที่อิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงานนี้จะหมายความว่า อิเล็กตรอนนั้นมีพลังงานศักย์เป็น \epsilon ซึ่งมีค่าเท่ากับพลังงานศักย์เคมี \mu ค่าทั้งสองนี้อยู่ในฟังก์ชันการกระจายตัวของแฟร์มี-ดิแรก (Fermi-Dirac distribution function) ซึ่งสามารถคำนวณความน่าจะเป็นที่อิเล็กตรอนซึ่งมีพลังงาน \epsilon สามารถครอบครองสถานะควอนตัมของอนุภาคเดี่ยวหนึ่งๆ ภายในของแข็งดังกล่าวนั้น T หมายถึง อุณหภูมิสัมบูรณ์ และ k คือค่าคงตัวของโบลทซ์มานน.

ดู ความน่าจะเป็นและระดับพลังงานแฟร์มี

รายชื่ออุบัติเหตุทางรถไฟในประเทศไทย

อุบัติเหตุ หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวังและไม่ตั้งใจในเวลาและสถานที่แห่งหนึ่ง เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าแต่มีสาเหตุและส่งผลกระทบที่สามารถชี้วัดได้ อุบัติเหตุเป็นผลเชิงลบของความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง ซึ่งควรจะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไว้แต่แรก โดยพิจารณาจากปัจจัยสาเหตุต่างๆ อันที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ อุบัติเหตุทางรถไฟ หมายถึง อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนรถไฟ สถานีรถไฟ หรือในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปัจจุบันมีอุบัติเหตุทางรถไฟในประเทศไทยมานับแล้วครั้งไม่ถ้วน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- สารบัญ: 2440 - 2500 • 2501 - 2545 • 2546 • 2547 • 2548 • 2549 • 2550 • 2551 • 2552 • 2553 • 2554 • 2555 • 2556 • อ้างอิง • แหล่งข้อมูลอื่น -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------.

ดู ความน่าจะเป็นและรายชื่ออุบัติเหตุทางรถไฟในประเทศไทย

รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive biase) เป็นความโน้มเอียงที่จะคิดในรูปแบบที่มีผลเป็นความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ จากความมีเหตุผลโดยทั่วไป หรือจากการประเมินการตัดสินใจที่ดี บ่อยครั้งเป็นประเด็นการศึกษาในสาขาจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม แม้ว่าความเอนเอียงเหล่านี้จะมีอยู่จริง ๆ โดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำได้ แต่ก็มักจะมีข้อโต้เถียงว่า ควรจะจัดประเภทหรืออธิบายความเอนเอียงเหล่านี้ได้อย่างไร ความเอนเอียงบางอย่างเป็นกฎการประมวลข้อมูล หรือเป็นทางลัดการประมวลผลที่เรียกว่า ฮิวริสติก ที่สมองใช้เพื่อการประเมินและการตัดสินใจ ปรากฏการณ์เหล่านี้เรียกว่า ความเอนเอียงทางประชาน ความเอนเอียงในการประเมินหรือการตัดสินใจ อาจจะเกิดจากแรงจูงใจ เช่นเมื่อความเชื่อเกิดบิดเบือนเพราะเหตุแห่งการคิดตามความปรารถนา (wishful thinking) ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะอธิบายได้โดยหลักทางประชาน (cognitive หรือที่เรียกว่า cold) หรือโดยหลักทางแรงจูงใจ (motivational หรือเรียกว่า hot) แต่เหตุทั้งสองสามารถเกิดร่วมกัน ยังมีข้อถกเถียงกันอีกด้วยว่า ความเอนเอียงเหล่านี้จัดเป็นความไม่สมเหตุผลโดยส่วนเดียว หรือว่า จริง ๆ มีผลเป็นทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ เรามักจะถามคำถามที่ชี้คำตอบที่ต้องการ ที่ดูเหมือนจะเอนเอียงไปเพื่อยืนยันสันนิษฐานของเราเกี่ยวกับบุคคลนั้น ๆ แต่ว่า ปรากฏการณ์ที่บางครั้งเรียกว่า ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) เช่นนี้ สามารถมองได้ว่าเป็นทักษะทางสังคมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ งานวิจัยในเรื่องความเอนเอียงเหล่านี้ มักจะทำในมนุษย์ แต่ผลที่พบในมนุษย์ บางครั้งก็พบในสัตว์อื่นเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น hyperbolic discounting (การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราให้ค่าของที่ได้ในปัจจุบันสูงกว่าที่จะได้ในอนาคต ก็พบด้วยในหนู นกพิราบ และลิง.

ดู ความน่าจะเป็นและรายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้เป็นระบบการจำแนกห้องสมุดประกอบด้วย 10 หมวดใหญ่ (class) แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็นสิบหมวดย่อย (division) แต่ละหมวดย่อยมีสิบหมู่ย่อย (section) ตัวอย่างเช่น หมวดใหญ่ 600 ("เทคโนโลยี") มีหมวดย่อย 630 ("เกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง") ซึ่งมีหมู่ย่อย 636 ("การเลี้ยงสัตว์") ในทางปฏิบัติ มีทั้งหมด 99 จาก 100 หมวดย่อยและ 908 จาก 1000 หมู่ย่อย เนื่องจากบางส่วนเลิกใช้แล้วหรือยังไม่กำหน.

ดู ความน่าจะเป็นและรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

รายนามนักประพันธ์และรายชื่อวรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ของประเทศไทย

right รายนามนักประพันธ์และรายชื่อวรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ของประเทศไทย เรียงจากปีล่าสุดไปถึงปีแรกโดยนักเขียนและผลงานที่ได้รับรางวัลจะเขียนด้วยตัวหนังสือหนาที่ตำแหน่งบนสุดของแต่ละปี ข้อมูลหนังสือแต่ละเล่มเรียงจาก นามนักประพันธ์, ชื่อวรรณกรรม และสำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์ในเวลาที่หนังสือได้รางวัล อนึ่ง คณะกรรมการคัดเลือก (Selection Committee) มีหน้าที่รับเรื่องที่มีผู้เสนอเข้าพิจารณา และพิจารณาคัดเลือกให้เหลือไม่เกิน 10 เรื่อง เสนอต่อคณะกรรมการตัดสิน (มีการปรับเพิ่มจำนวนผลงานรอบสุดท้าย จาก 7 เล่มเป็น 10 เล่ม ในปีพ.ศ.

ดู ความน่าจะเป็นและรายนามนักประพันธ์และรายชื่อวรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ของประเทศไทย

ลูกเต๋า

ลูกเต๋าธรรมดาสี่ลูก จัดวางให้เห็นหน้าที่แตกต่างกันทั้งหกหน้า ลูกเต๋า(douse)เป็นวัตถุทรงลูกบาศก์หรือทรงเรขาคณิตอื่นๆ ซึ่งแต่ละด้านกำกับด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ลูกเต๋าเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสุ่ม สำหรับเกมต่างๆ ทั้งที่เป็นเกมการพนันในกาสิโนหรือบ่อนการพนัน เช่น แครปส์ ไฮโล และเกมที่ไม่ใช่การพนัน โดยเฉพาะเกมกระดาน เช่น แบ็กแกมมอน งูตกบันได ลูกเต๋าธรรมดา เป็นลูกบาศก์ ขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร แต่ละด้านของลูกเต๋า (เรียกว่า หน้า) จะระบุตัวเลข แสดงเป็นจุดจำนวนต่าง ๆ กันตั้งแต่ 1 ถึง 6 เมื่อต้องการสุ่มตัวเลข ผู้ใช้จะโยนลูกเต๋าไปบนพื้นราบให้ลูกเต๋าหมุนหรือกลิ้ง (เรียกว่า ทอยลูกเต๋า หรือ ทอดลูกเต๋า) หรือใช้วิธีการอื่นใด เพื่อให้ลูกเต๋าหมุนหรือกลิ้งก็ได้ เมื่อลูกเต๋าหยุดหมุนหรือกลิ้งแล้ว ถือว่าตัวเลขที่สุ่มได้คือตัวเลขที่อยู่บนด้านบนสุดของลูกเต๋า เช่น หากทอยลูกเต๋าแล้ว หน้าที่แสดงเลข 4 อยู่บนสุด ถือว่าสุ่มได้เลข 4 หรืออาจเรียกว่า ออกเลข 4 ก็ได้ ในบางเกมจะใช้ลูกเต๋ามากกว่า 1 ลูก โยนพร้อมกัน แล้วถือว่าตัวเลขที่สุ่มได้คือผลรวมของเลขที่ออกทั้งหมด หากใช้ลูกเต๋าธรรมดาลูกเดียว ตัวเลข 1 ถึง 6 จะมีความน่าจะเป็นที่จะถูกสุ่มขึ้นมาได้เท่า ๆ กัน หากต้องการสุ่มสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเลข 1 ถึง 6 อาจใช้ลูกเต๋าชนิดอื่น ที่มีจำนวนหน้าหรือสัญลักษณ์แตกต่างจากลูกเต๋าธรรมดา และหากต้องการให้ความน่าจะเป็นที่ออกแต่ละหน้าไม่เท่ากัน อาจใช้ลูกเต๋าถ่วง ซึ่งโดยปกติแล้วการใช้ลูกเต๋าถ่วงถือเป็นการโกงอย่างหนึ่ง.

ดู ความน่าจะเป็นและลูกเต๋า

วิทยาการระบาด

วิทยาการระบาด เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชากร และเป็นพื้นฐานและตรรกะที่ทำให้เกิดแนวคิดความสนใจในสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน สาขาวิชานี้วิธีที่สำคัญพื้นฐานของงานวิจัยด้านสาธารณสุข และเกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์อิงหลักฐาน (evidence-based medicine) ในการหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด งานของนักวิทยาการระบาดที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ มีขอบเขตตั้งแต่การสืบค้นการระบาดของโรค (outbreak investigation) ไปจนถึงการออกแบบการศึกษา การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและการเตรียมผลการวิจัยเพื่อเสนอผลการวิจัย นักวิทยาการระบาดอาจอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเช่นชีววิทยาในการทำความเข้าใจการดำเนินโรค และระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร๋ เช่นสังคมศาสตร์และปรัชญาเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงและไกล.

ดู ความน่าจะเป็นและวิทยาการระบาด

วิทยาศาสตร์เทียม

วิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience) เป็นการกล่าวอ้าง, ความเชื่อ หรือการปฏิบัติ ที่แสดงตนเป็นวิทยาศาสตร์ แต่มิได้ยึดแบบแผนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขาดการสนับสนุนด้วยหลักฐาน หรือ หลักความเป็นไปได้ ไม่สามารถทำการตรวจสอบ หรือขาดฐานความเป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทียมมักมีลักษณะการอ้างที่ แผลง ขัดแย้ง เกินจริง หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือมีแต่แนวทางการพิสูจน์ว่าเป็นจริงโดยไม่มีแนวทางพิสูจน์แบบนิเสธ มักไม่ยินยอมรับการตรวจสอบจากผู้ชำนาญการอื่น ๆ และมักจะขาดกระบวนทรรศน์ในการสร้างทฤษฏีอย่างสมเหตุผล สาขา แนวปฏิบัติ หรือองค์ความรู้ใด สามารถจัดเป็นวิทยาศาสตร์เทียมได้ เมื่อมันถูกนำเสนอให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทั้งหลายแห่งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่พิสูจน์ได้ว่ามันไม่ผ่านบรรทัดฐานตามที่กล่าวอ้างCover JA, Curd M (Eds, 1998) Philosophy of Science: The Central Issues, 1-82.

ดู ความน่าจะเป็นและวิทยาศาสตร์เทียม

สัจพจน์ของความน่าจะเป็น

ัจพจน์ของความน่าจะเป็น (the axioms of probability) ถูกเสนอเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1936 โดยคอลโมโกรอฟ นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย1 ในทฤษฎีความน่าจะเป็นทางคณิตศาสตร์ ความน่าจะเป็นถูกนิยามด้วยฟังก์ชัน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกๆ ฟังก์ชันจะสามารถแปลความหมายเป็นฟังก์ชันของความน่าจะเป็นได้ทั้งหมด สัจพจน์ของความน่าจะเป็นจึงถูกนิยามมาเพื่อกำหนดว่าฟังก์ชันใดสามารถที่จะแปลความหมายในเชิงความน่าจะเป็นได้ กล่าวโดยสรุป ฟังก์ชันความน่าจะเป็น ก็คือ ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่มีคุณสมบัติตรงกับที่สัจพจน์คอลโมโกรอฟกำหนดไว้ทุกข้อ ในทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ สัจพจน์ของความน่าจะเป็นถูกเสนอ โดยบรูโน เด ฟิเนตติ นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียนและริชาร์ด คอกซ์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เด ฟิเนตติเสนอสัจพจน์โดยมีแนวคิดมาจากเกมส์การพนัน ส่วนคอกซ์เสนอสัจพจน์ของเขาโดยมีแนวคิดมาจากการขยายความสามารถของตรรกศาสตร์แบบอริสโตเติล สิ่งที่น่าทึ่งก็คือ ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปแล้ว2 สัจพจน์ของคอลโมโกรอฟ, เด ฟิเนตติ และคอกซ์ จะให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน (ทั้งๆ ที่ทั้งสามท่านมีแนวคิดเริ่มต้นต่างกันโดยสิ้นเชิง).

ดู ความน่าจะเป็นและสัจพจน์ของความน่าจะเป็น

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

รานุกรมไทยสำหรับเยาวชน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน.

ดู ความน่าจะเป็นและสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

สถิติศาสตร์

ติศาสตร์ (Statistic Science) เป็นการศึกษาการเก็บ การวิเคราะห์ การตีความ การนำเสนอและการจัดระเบียบข้อมูล ในการประยุกต์สถิติศาสตร์กับปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือสังคม ฯลฯ จำเป็นต้องเริ่มด้วยประชากรหรือกระบวนการที่จะศึกษา ประชากรเป็นได้หลากหลาย เช่น "ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่ง" หรือ "ทุกอะตอมซึ่งประกอบเป็นผลึก" สถิติศาสตร์ว่าด้วยทุกแง่มุมของข้อมูลซึ่งรวมการวางแผนการเก็บข้อมูลในแง่การออกแบบการสำรวจและการทดลอง ในกรณีไม่สามารถเก็บข้อมูลสำมะโนได้ นักสถิติศาสตร์เก็บข้อมูลโดยการพัฒนาการออกแบบการทดลองจำเพาะและตัวอย่างสำรวจ การชักตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนประกันว่าการอนุมานและการสรุปสามารถขยายจากตัวอย่างไปยังประชากรโดยรวมได้โดยปลอดภัย การศึกษาทดลองเกี่ยวข้องกับการวัดระบบที่กำลังศึกษา จัดดำเนินการระบบ แล้ววัดเพิ่มโดยใช้วิธีดำเนินการเดียวกันเพื่อตัดสินว่าการจัดดำเนินการดัดแปรค่าของการวัดหรือไม่ ในทางกลับกัน การศึกษาสังเกตไม่เกี่ยวข้องกับการจัดดำเนินการทดลอง มีการใช้ระเบียบวิธีสถิติศาสตร์สองอย่างหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติศาสตร์พรรณนา ซึ่งสรุปข้อมูลจากตัวอย่างโดยใช้ดัชนีอย่างค่าเฉลี่ยหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติศาสตร์อนุมาน ซึ่งดึงข้อสรุปจากข้อมูลซึ่งมีการกระจายสุ่ม (เช่น ข้อผิดพลาดสังเกต การกระจายการชักตัวอย่าง) สถิติศาสตร์พรรณนาส่วนใหญ่ว่าด้วยชุดคุณสมบัติของการกระจายสองชุด ได้แก่ แนวโน้มสู่ส่วนกลางซึ่งมุ่งให้ลักษระค่ากลางหรือตรงแบบของการกระจาย ขณะที่การกระจายให้ลักษณะขอบเขตซึ่งสมาชิกของการกระจายอยู่ห่างจากส่วนกลางและสมาชิกอื่น การอนุมานสถิติศาสตร์คณิตศาสตร์กระทำภายใต้กรอบทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งว่าด้วยการวิเคราะห์ปรากฏการณ์สุ่ม ในการอนุมานปริมาณไม่ทราบค่า มีการประเมินค่าตัวประมาณค่าตั้งแต่หนึ่งตัวโดยใช้ตัวอย่าง 1.สถิติ (Statistics) 2.เซตและการให้เหตุผล (Set and reasoning) 3.

ดู ความน่าจะเป็นและสถิติศาสตร์

หลักการสอดคล้องในตัวเองของนาวิคอฟ

หลักการสอดคล้องโดยตัวเองของนาวิคอฟ (Novikov self-consistency principle) หรือที่เรียกว่าเป็น หลักการคาดคะเนความสอดคล้องโดยตัวเองของนาวิคอฟ (Novikov self-consistency conjecture) เป็นหลักการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวรัสเซียชื่อ อิกอร์ ดมิทรีอาวิช นาฟวิคอฟ (Igor Dmitriyevich Novikov) ในกลางปี ​​1980 เพื่อที่จะแก้ปัญหาของพาราดอกซ์ หรือความขัดแย้งในเรื่องของการเดินทางข้ามเวลา, ซึ่งได้รับอนุญาตในทางทฤษฎีในการแก้ปัญหาบางอย่างของสัมพัทธภาพทั่วไป (การแก้ปัญหาที่ประกอบด้วยสิ่งที่เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น เส้นโค้งปิดของเวลาเสมือน (closed timelike curve)) หลักการที่อ้างว่าหากมีเหตุการณ์ใด ๆ ก็ตามเกิดขึ้นที่จะก่อให้เกิดปฏิทรรศน์ หรือ พาราดอกซ์ หรือ ความขัดแย้ง หรือเกิด "การเปลี่ยนแปลง" อย่างหนึ่งอย่างใดต่อเหตุการณ์อันเป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีต, ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์นั้นที่น่าจะสามารถเกิดขึ้นได้จะมีค่าเป็นศูนย์ มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างความขัดแย้ง หรือ ปฏิทรรศน์ของเวลา (time paradoxe) ให้เกิดขึ้นได้.

ดู ความน่าจะเป็นและหลักการสอดคล้องในตัวเองของนาวิคอฟ

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Scientific evidence) เป็นหลักฐานที่สนับสนุนหรือคัดค้านทฤษฎีหรือสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะต้องเป็นหลักฐานเชิงประสบการณ์ (empirical evidence) ตามระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานของหลักฐานต่างกันในสาขาวิชาต่าง ๆ แต่ความเข้มแข็งของหลักฐานโดยทั่วไปมีมูลฐานอยู่ที่กำลังของการวิเคราะห์ทางสถิติ (statistical analysis) และกำลังของกลุ่มควบคุม (scientific control) ที่ใช้ในการหาและอธิบายหลักฐาน.

ดู ความน่าจะเป็นและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

อสมการของมาร์คอฟ

ในทฤษฎีความน่าจะเป็น อสมการของมาร์คอฟ เป็นข้อความทางคณิตศาสตร์ที่ให้ขอบเขตบนของความน่าจะเป็นที่ตัวแปรสุ่มที่มีค่าบวกจะมีมากกว่าหรือเท่ากับจำนวนจริงบวกคงที่หนึ่งๆ ชื่อของอสมการตั้งตามนักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ อังเดร มาร์คอฟ อสมการของมาร์คอฟมีใจความดังต่อไปนี้: ให้ X \, เป็นตัวแปรสุ่มที่มีค่าไม่เป็นลบและ t \, เป็นจำนวนจริงใด ๆ ที่มากกว่าศูนย์ แล้ว เห็นได้ว่า อสมการของมาร์คอฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความน่าจะเป็นกับค่าคาดหมาย เนื่องจากตัวอสมการเองไม่ได้กำหนดว่าตัวแปรสุ่มต้องมีสมบัติพิเศษประการใดเลย ขอบเขตบนที่ได้จากอสมการของมาร์คอฟมักจะมีค่าสูงกว่าความเป็นจริงมาก อย่างไรก็ดีเราสามารถใช้อสมการของมาร์คอฟพิสูจน์ข้อความทางคณิตศาสตร์อื่นๆ ที่ให้ขอบเขตบนที่แน่นขึ้นได้ เช่น อสมการของเชบิเชฟ และขอบเขตเชอร์นอฟ.

ดู ความน่าจะเป็นและอสมการของมาร์คอฟ

อสมการของเชบิเชฟ

ในทฤษฎีความน่าจะเป็น อสมการของเชบิเชฟ เป็นข้อความทางคณิตศาสตร์ที่ให้ขอบเขตบนของความน่าจะเป็นที่ค่าของตัวแปรสุ่มตัวหนึ่งจะเบี่ยงเบนไปจากค่าคาดหมายของตัวแปรสุ่มนั้น อสมการของเชบิเชฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความน่าจะเป็นนี้กับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรสุ่มนั้น โดยมีใจความดังนี้ โดยทั่วไปแล้วอสมการของเชบิเชฟจะให้ขอบเขตบนที่แน่นกว่าอสมการของมาร์คอฟ เนื่องจากอสมการของเชบิเชฟใช้ความรู้เกี่ยวกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรสุ่ม อสมการของเชบิเชฟถูกใช้ในการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีแบบสุ่มหลาย ๆ ขั้นตอนวิธี เนื่องจากตัวแปรสุ่มในขั้นตอนวิธีนั้นมักเป็นตัวแปรสุ่มที่พบได้บ่อยและสามารถคำนวณส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ไม่ยาก.

ดู ความน่าจะเป็นและอสมการของเชบิเชฟ

อุบัติเหตุ

อุบัติเหตุแผงกั้นผู้ชมที่ขอบสนามกีฬาถล่ม อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวังและไม่ตั้งใจในเวลาและสถานที่แห่งหนึ่ง เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าแต่มีสาเหตุและส่งผลกระทบที่สามารถชี้วัดได้ อุบัติเหตุเป็นผลเชิงลบของความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง ซึ่งควรจะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไว้แต่แรก โดยพิจารณาจากปัจจัยสาเหตุต่างๆ อันที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ ในเรื่องของกำหนดการและการวางแผน อุบัติเหตุอาจหมายถึงเหตุการณ์หรือผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีการวางแผนรองรับมาก่อน หรือวางแผนไม่ครอบคลุม ซึ่งจะส่งผลต่อระบบและกำหนดการโดยรวมเมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้น ในอีกความหมายหนึ่ง อุบัติเหตุอาจหมายถึงเหตุการณ์ทางกายภาพที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของมนุษย์อาทิ รถชน ตกตึก มีดบาด ไฟลวก ไฟช็อต โดนพิษ ฯลฯ หรือหมายถึงเหตุการณ์ที่ไม่ใช่ทางกายภาพเช่น การลืมของ การลืมนัดหมาย ความเผอเรอ หรือการเปิดเผยความลับ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดก็ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้.

ดู ความน่าจะเป็นและอุบัติเหตุ

อุณหพลศาสตร์

แผนภาพระบบอุณหพลศาสตร์ทั่วไป แสดงพลังงานขาเข้าจากแหล่งความร้อน (หม้อน้ำ) ทางด้านซ้าย และพลังงานขาออกไปยังฮีทซิงค์ (คอนเดนเซอร์) ทางด้านขวา ในกรณีนี้มีงานเกิดขึ้นจากการทำงานของกระบอกสูบ อุณหพลศาสตร์ (/อุน-หะ-พะ-ละ-สาด/ หรือ /อุน-หะ-พน-ละ-สาด/) หรือ เทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics; มาจากภาษากรีก thermos.

ดู ความน่าจะเป็นและอุณหพลศาสตร์

ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ

ในสาขาจิตวิทยา ฮิวริสติก (heuristic พหูพจน์ "ฮิวริสติกส์") เป็นกฎที่ง่าย ๆ และมีประสิทธิภาพ ที่เรามักจะใช้ในการประเมิน และการตัดสินใจ เป็นวิธีลัดทางความคิดโดยเพ่งความสนใจไปยังส่วนหนึ่งของปัญหาที่ซับซ้อนแล้วไม่ใส่ใจในส่วนอื่น กฎเหล่านี้ทำงานได้ดีในสถานการณ์โดยมาก แต่สามารถนำไปสู่ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจเป็นความผิดพลาดโดยตรรกะ โดยความเป็นไปได้ หรือโดยความสมเหตุสมผล ความผิดพลาดเหล่านี้เป็นความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ซึ่งมีการค้นพบแล้วมากมายหลายแบบ เป็นความผิดพลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่นการประเมินราคาบ้านหรือการพิพากษาตัดสินคดี ฮิวริสติกปกติมักจะเป็นการตัดสินใจที่เป็นอัตโนมัติ เป็นการรู้เอง (intuitive) ที่ไม่ต้องอาศัยการคิด แต่อาจมีการใช้เป็นกลยุทธ์ทางความคิดอย่างจงใจได้ เมื่อต้องทำการตัดสินใจโดยมีข้อมูลที่จำกัด นักประชานศาสตร์ชาวอเมริกันเฮอร์เบิร์ต ไซมอนดั้งเดิมเป็นผู้เสนอว่า การตัดสินใจของมนุษย์ต้องอาศัยฮิวริสติก โดยใช้แนวความคิดจากวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 นักจิตวิทยาแดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ แสดงฮิวริสติก 3 ประเภทที่เป็นฐานของการตัดสินใจโดยรู้เองที่ใช้อย่างกว้างขวาง งานวิจัยเหล่านี้ จุดชนวนโปรแกรมงานวิจัยเกี่ยวกับ ฮิวริสติกและความเอนเอียง (Heuristics and Biases) ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในชีวิตจริงของมนุษย์ และศึกษาสถานการณ์ที่การตัดสินใจเหล่านี้ใช้ไม่ได้ คือไม่สมเหตุผล งานวิจัยในแนวนี้ได้คัดค้านไอเดียว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่กระทำตามเหตุผล และได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับการประมวลสารสนเทศ (information processing) ที่สามารถอธิบายวิธีการที่มนุษย์ใช้ในการประเมินผลหรือการตัดสินใจ เป็นแนวงานวิจัยที่เริ่มมีความสนใจในระดับสากลในปี..

ดู ความน่าจะเป็นและฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ

ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย

วริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย (ของข้อมูล) หรือ ฮิวริสติกโดยความพร้อมใช้งาน"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ availability ว่า "สภาพพร้อมใช้งาน" (availability heuristic) เป็นทางลัดการแก้ปัญหา (ฮิวริสติก) โดยอาศัยตัวอย่างต่าง ๆ ที่นึกขึ้นได้เป็นอย่างแรก วิธีแก้ปัญหาชนิดนี้อาศัยไอเดียว่า ถ้าเราสามารถระลึกถึงอะไรได้ง่าย ๆ สิ่งนั้นจะต้องมีความสำคัญ และเพราะเหตุนั้น เรามักจะให้น้ำหนักกับข้อมูลที่ใหม่ที่สุด ทำให้มีความคิดเห็นเอนเอียงไปทางข่าวล่าสุด นอกจากนั้นแล้ว สิ่งที่เรานึกได้เกี่ยวกับผลของการกระทำหนึ่ง ๆ จะมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเกี่ยวกับความสำคัญของผลนั้น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ผลของการกระทำยิ่งระลึกถึงได้ง่ายแค่ไหน เราก็จะรู้สึกว่าผลนั้นมีความสำคัญยิ่งขึ้นเท่านั้น คือ เราไม่ได้เพียงแค่พิจารณาถึงข้อมูลที่ระลึกได้เมื่อทำการตัดสินใจ แต่เรายังใช้ความยากง่ายในการนึกถึงสิ่งนั้นเป็นข้อมูลอีกอย่างหนึ่งในการตัดสินใจ ซึ่งมีผลเด่นที่สุดอย่างหนึ่งคือ เราจะใช้ข้อมูลที่ระลึกได้ในการตัดสินใจถ้าข้อมูลนั้นไม่ได้ทำให้เกิดความน่าสงสัยเพราะยากที่จะระลึกถึง มีหลักวิธีแก้ปัญหา 3 อย่างที่เราใช้เมื่อไม่แน่ใจ ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนในการประเมินความน่าจะเป็นหรือในการพยากรณ์ผล โดยใช้กระบวนการตัดสินใจที่ง่ายกว่า (ฮิวริสติก) คือ.

ดู ความน่าจะเป็นและฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย

จำนวนเฉพาะ

ในคณิตศาสตร์ จำนวนเฉพาะ (อังกฤษ: prime number) คือ จำนวนเต็มบวกที่มีตัวหารที่เป็นบวกอยู่ 2 ตัว คือ 1 กับตัวมันเอง ตรงข้ามกับจำนวนประกอบ ลำดับของจำนวนเฉพาะเริ่มต้นด้วย ดูบทความ รายชื่อจำนวนเฉพาะ สำหรับจำนวนเฉพาะ 500 จำนวนแรก สำหรับเลข 1 ไม่ถือว่าเป็นจำนวนเฉพาะตามนิยาม เซตของจำนวนเฉพาะทั้งหมดมักเขียนแทนด้วย \mathbb P เนื่องจาก 2 เป็นจำนวนเฉพาะตัวเดียวที่เป็นเลขคู่ ดังนั้นคำว่า จำนวนเฉพาะคี่ จะถูกใช้เพื่อหมายถึงจำนวนเฉพาะทั้งหมดที่ไม่ใช่ 2.

ดู ความน่าจะเป็นและจำนวนเฉพาะ

จุดผลิตน้ำมันสูงสุด

กราฟแสดงการผลิตน้ำมันโลก ทั้งข้อมูลตามประวัติและข้อมูลอนาคตตามที่คาดหมาย และตามที่เสนอโดยนักธรณีวิทยา ดร.

ดู ความน่าจะเป็นและจุดผลิตน้ำมันสูงสุด

ทฤษฎีความน่าจะเป็น

ทฤษฎีความน่าจะเป็น คือการศึกษาความน่าจะเป็นแบบคณิตศาสตร์ นักคณิตศาสตร์จะมองความน่าจะเป็นว่าเป็นตัวเลขระหว่างศูนย์กับหนึ่ง ที่กำหนดให้กับ "เหตุการณ์" (ความน่าจะเป็นที่เท่ากับ 0 ก็คือไม่มีโอกาสที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น แต่ถ้าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1 แสดงว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน) ที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ความน่าจะเป็น P(E) ถูกกำหนดให้กับเหตุการณ์ E ตามสัจพจน์ของความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ E จะเกิดขึ้น เมื่อ กำหนด ให้อีกเหตุการณ์ F เกิดขึ้น เรียกว่าความน่าจะเป็นมีเงื่อนไข ของ E เมื่อให้ F โดยค่าความน่าจะเป็นคือ P(E \cap F)/P(F) (เมื่อ P(F) ไม่เป็นศูนย์) ถ้าความน่าจะเป็นมีเงื่อนไขของ E เมื่อให้ F มีค่าเช่นเดียวกับความน่าจะเป็น (แบบไม่มีเงื่อนไข) ของ E เราจะกล่าวว่าเหตุการณ์ E และ F เป็นเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกันเชิงสถิติ เราจะสังเกตได้ว่าความสัมพันธ์นี้เป็นความสัมพันธ์สมมาตร ทั้งนี้เนื่องจากการเป็นอิสระต่อกันนี้เขียนแทนได้เป็น P(E \cap F).

ดู ความน่าจะเป็นและทฤษฎีความน่าจะเป็น

ทฤษฎีคาดหวัง

รางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 2002 สำหรับการคิดค้น Prospect theory ทฤษฎีคาดหวัง (Prospect theory) เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral economics) ที่แสดงวิธีที่มนุษย์เลือกระหว่างทางเลือกที่เป็นไปได้ ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงแต่รู้ค่าความน่าจะเป็นของทางเลือก ทฤษฎีกำหนดว่า มนุษย์ตัดสินใจขึ้นอยู่กับค่าความขาดทุน (ผลลบ) หรือผลกำไร (ผลบวก) ที่อาจจะมี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าผลที่ได้โดยที่สุด และมนุษย์ประเมินค่าความขาดทุนและผลกำไรโดยใช้ฮิวริสติกบางอย่าง แบบจำลองนี้เป็นแบบพรรณนา (descriptive) เป็นแบบจำลองของการเลือกการตัดสินใจที่มีในชีวิตจริง ๆ ไม่ใช่เป็นการตัดสินใจที่อาจจะเหมาะสำหรับสถานการณ์มากที่สุด (optimal decision) ทฤษฎีนี้สร้างขึ้นในปี..

ดู ความน่าจะเป็นและทฤษฎีคาดหวัง

ทฤษฎีเมเชอร์

ทฤษฎีเมเชอร์ (measure theory) เป็นสาขาทางคณิตศาสตร์ของคณิตวิเคราะห์เชิงจริง เพื่อใช้อธิบายนิยามทางคณิตศาสตร์ของ "ความยาว" "พื้นที่" "ปริมาตร" หรืออะไรก็ตามที่วัดได้ ตัวอย่างการนำทฤษฎีเมเชอร์ไปใช้ในสาขาอื่น คือ การที่นักคณิตศาสตร์หลายท่านมองว่าความน่าจะเป็นเหมาะสมเป็นปริมาณเมเชอร์ประเภทหนึ่ง จึงได้ใช้ทฤษฎีเมเชอร์ในการพัฒนาทฤษฎีความน่าจะเป็นเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical probability) (หรือทฤษฎีความน่าจะเป็นยุคใหม่) ขึ้น ก่อให้เกิดความก้าวหน้ากับทฤษฎีความน่าจะเป็นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์เริ่มต้นของการสร้างสาขาทฤษฎีเมเชอร์คือ การนำไปใช้กับทฤษฎีของปริพันธ์ เพื่อขยายทฤษฎีปริพันธ์ของรีมันน์ไปยังขอบเขตที่กว้างขึ้น โดยนักคณิตศาสตร์ที่มีส่วนสำคัญในการคิดค้นทฤษฎีเมเชอร์ในยุคแรก ๆ คือ จูเซ็ปเป้ เพียโน มารี คามิลเลอร์ จอร์แดน เอมีล โบเรล และอองรี เลอเบ็ก.

ดู ความน่าจะเป็นและทฤษฎีเมเชอร์

ทิกเกตทูไรด์ (เกมกระดาน)

หน้ากล่องของเกม ทิกเกตทูไรด์ ทิกเกตทูไรด์ (Ticket to Ride) เป็นเกมกระดานในรูปแบบของการสร้างทางรถไฟจำลอง ออกแบบโดย แอลัน อาร์.

ดู ความน่าจะเป็นและทิกเกตทูไรด์ (เกมกระดาน)

ขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์

ั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์ (Freivalds' algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม (randomised algorithm) ที่รูซินส์ มาร์ตินส์ เฟรย์วัลส์ (Rusins Martins Freivalds) นักวิทยาศาสตร์ชาวลัตเวีย นำเสนอขึ้นสำหรับใช้ตรวจสอบความเท่ากันของผลคูณของเมทริกซ์กับเมทริกซ์ต้นแ.

ดู ความน่าจะเป็นและขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์

ข้อความคาดการณ์จำนวนเฉพาะคู่แฝด

ข้อความคาดการณ์จำนวนเฉพาะคู่ (Twin Prime Conjecture) เป็นปัญหาที่โด่งดังในทฤษฎีจำนวนในเรื่องจำนวนเฉพาะ ซึ่งกล่าวว่า "มีจำนวนเฉพาะ p ซึ่ง p+2 เป็นจำนวนเฉพาะด้วย อยู่ไม่จำกัด" เรียกจำนวนเฉพาะสองตัวดังกล่าวว่า จำนวนเฉพาะคู่แฝด มีการวิจัยข้อความคาดการณ์นี้โดยนักทฤษฎีจำนวน และนักคณิตศาสตร์จำนวนมากก็คิดว่าข้อความคาดการณ์นี้เป็นจริง อาศัยจากหลักฐานทางจำนวนและความน่าจะเป็นการกระจายตัวของจำนวนเฉพาะ หมวดหมู่:ทฤษฎีจำนวน หมวดหมู่:ข้อความคาดการณ์.

ดู ความน่าจะเป็นและข้อความคาดการณ์จำนวนเฉพาะคู่แฝด

คริสต์สหัสวรรษที่ 2

ริสต์สหัสวรรษที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม..1001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..2000 ตามปฏิทินเกรกอเรียนUnited States Naval Observatory, (Washington, DC, June 14, 2011).

ดู ความน่าจะเป็นและคริสต์สหัสวรรษที่ 2

ความสมเหตุสมผลเชิงสถิติของข้อสรุป

วามสมเหตุสมผลเชิงสถิติของข้อสรุป (Statistical conclusion validity) เป็นระดับที่ข้อสรุปเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ จากข้อมูล เป็นข้อสรุปที่ถูกต้องหรือว่า "สมเหตุผล" ตอนต้น ๆ คำนี้เคยใช้เกี่ยวกับการสรุปทางสถิติที่ถูกต้องสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ แต่ปัจจุบันมักจะใช้กับข้อสรุปที่ "สมควร" "เหมาะสม" หรือ "มีเหตุผล" อาศัยข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเชิงสถิติ เชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ หลัก ๆ แล้ว งานศึกษาสามารถผิดพลาดได้สองอย่างคือ.

ดู ความน่าจะเป็นและความสมเหตุสมผลเชิงสถิติของข้อสรุป

ความจำเชิงกระบวนวิธี

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) เป็นความจำเพื่อการปฏิการงานประเภทใดประเภทหนึ่ง เป็นความจำที่นำไปสู่พฤติกรรมเชิงกระบวนวิธีต่าง ๆ เป็นระบบที่อยู่ใต้สำนึก คือเมื่อเกิดกิจที่ต้องกระทำ จะมีการค้นคืนความจำนี้โดยอัตโนมัติเพื่อใช้ในการปฏิบัติตามกระบวนวิธีต่าง ๆ ที่มีการประสานกันจากทั้งทักษะทางประชาน (cognitive) และทักษะการเคลื่อนไหว (motor) มีตัวอย่างต่าง ๆ ตั้งแต่การผูกเชือกรองเท้าไปจนถึงการขับเครื่องบินหรือการอ่านหนังสือ ความจำนี้เข้าถึงและใช้ได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมหรือความใส่ใจเหนือสำนึก (ที่เป็นไปใต้อำนาจจิตใจ) เป็นประเภทหนึ่งของความจำระยะยาว (long-term memory) และโดยเฉพาะแล้ว เป็นประเภทหนึ่งของความจำโดยปริยาย (implicit memory) ความจำเชิงกระบวนวิธีสร้างขึ้นผ่าน "การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธี" (procedural learning) คือการทำกิจที่มีความซับซ้อนนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งระบบประสาทที่เกี่ยวข้องจะสามารถทำงานร่วมกันโดยอัตโนมัติเพื่อให้เกิดการกระทำนั้น ๆ การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธีที่เป็นไปโดยปริยาย (คือไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ) เป็นสิ่งที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาทักษะทางการเคลื่อนไหวหรือแม้แต่ทักษะทางประชาน.

ดู ความน่าจะเป็นและความจำเชิงกระบวนวิธี

ความฉลาดแบบกลุ่ม

แสดงระยะห่างแบบเมตริก (ซ้าย) เทียบกับระยะห่างเชิงลำดับ (ขวา) ของฝูงปลา ปลาจะเกิดปฏิสัมพันธ์แบบไหนขึ้นอยู่กับระยะห่างในแบบเมตริก แต่ในเชิงลำดับ ปฏิสัมพันธ์จะเกิดขึ้นกับปลาจำนวนหนึ่งรอบๆ โดยไม่สนขอบเขตระยะห่าง ความฉลาดแบบกลุ่ม (swarm intelligence) คือกลุ่มพฤติกรรมของระบบแบบกระจายศูนย์ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านปัญญาประดิษฐ์ ระบบความฉลาดแบบกลุ่มโดยปกติแล้วจะประกอบขึ้นมาด้วย เอเจนต์ ซึ่งสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเอเจนต์ตัวอื่นหรือสภาวะแวดล้อมได้ เอเจนต์ในระบบทุกตัวจะปฏิบัติตัวตามกฎชุดหนึ่ง แม้ว่าจะไม่มีศูนย์สั่งการที่ควบคุมว่าเอเจนต์แต่ละตัวต้องปฏิบัติอย่างไร แต่การที่เอเจนต์แต่ละตัวมีปฏิสัมพันธ์กันก็ก่อให้เกิดรูปแบบความฉลาดในภาพรวมขึ้นมาซึ่งเอเจนต์แต่ละตัวไม่รู้ แรงบันดาลใจที่ช่วยผลักดันความฉลาดแบบกลุ่มนั้นมักจะมาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะจากระบบนิเวศวิทยา ตัวอย่างของความฉลาดแบบกลุ่มที่มาจากธรรมชาติได้แก่ ขั้นตอนวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดด้วยระบบอาณาจักรมด (Ant colony optimization), ขั้นตอนวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค (Particle Swarm Optimization), ขั้นตอนวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบนกดุเหว่า (Cuckoo search).

ดู ความน่าจะเป็นและความฉลาดแบบกลุ่ม

ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล

วามปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล หรือ การคิดตามความปรารถนา (Wishful thinking) เป็นการตั้งความเชื่อและการตัดสินใจ ตามสิ่งที่เราชอบใจ แทนที่จะตามหลักฐาน เหตุผล หรือความเป็นจริง เป็นผลของการแก้ความขัดแย้งกันระหว่างความเชื่อและความต้องการ งานศึกษาต่าง ๆ แสดงผลเหมือน ๆ กันว่า เมื่อตัวแปรอื่น ๆ เท่ากัน เราจะพยากรณ์ผลที่ดีน่าชอบใจว่า มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าผลร้าย แต่ก็มีงานวิจัยในปี..

ดู ความน่าจะเป็นและความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล

ความน่าจะเป็นเท่ากัน

วามน่าจะเป็นเท่ากัน (equiprobability) คือมโนทัศน์ทางปรัชญาในทฤษฎีความน่าจะเป็น ที่ยอมให้กำหนดความน่าจะเป็นปริมาณเท่า ๆ กันแก่ผลที่จะออกมา เมื่อผลเหล่านั้นได้ถูกพิจารณาแล้วว่ามีความเป็นไปได้เท่ากัน (equipossibility) ในการรับรู้บางสิ่ง บทบัญญัติอันเป็นที่รู้จักดีที่สุดของกฎดังกล่าวคือ หลักแห่งความไม่แตกต่าง (principle of indifference) ของลาปลัส ซึ่งกล่าวไว้ว่า "เราไม่มีสารสนเทศอื่นใดนอกเหนือไปจาก" เหตุการณ์ไม่เกิดร่วมจำนวน N เหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เราจึงจัดการกำหนดความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์เป็น การกำหนดความน่าจะเป็นแบบอัตวิสัยนี้ใช้เฉพาะในบางสถานการณ์อย่างเช่นการกลิ้งลูกเต๋าหรือการออกสลากกินแบ่ง เนื่องจากการทดลองเหล่านี้สนับสนุนโครงสร้างสมมาตร และสถานะความรู้ของผู้กำหนดจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงโดยชัดแจ้งภายใต้สมมาตรนี้.

ดู ความน่าจะเป็นและความน่าจะเป็นเท่ากัน

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ดู ความน่าจะเป็นและความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

ความเสี่ยงสัมพัทธ์

ในสถิติศาสตร์และวิทยาการระบาดเชิงคณิตศาสตร์ ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (relative risk, RR) คือความเสี่ยงของการเกิดเหตุการณ์ (หรือการเกิดโรค) สัมพัทธ์ต่อการสัมผัสปัจจัย (exposure) โดยเป็นอัตราส่วนของความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ในกลุ่มสัมผัสปัจจัยเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้สัมผัสปัจจัย (ratio of the probability of the event occurring in the exposed group versus a non-exposed group) ตัวอย่างเช่น หากความน่าจะเป็นที่ผู้ที่สูบบุหรี่จะป่วยเป็นมะเร็งปอดอยู่ที่ 20% และความน่าจะเป็นที่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่จะป่วยเป็นมะเร็งปอดอยู่ที่ 1% เป็น สามารถนำมาเขียนเป็นตาราง 2 × 2 ได้ดังที่แสดงไว้ด้านขวา ในกรณีนี้ a.

ดู ความน่าจะเป็นและความเสี่ยงสัมพัทธ์

ความเหมาะสม

วามเหมาะสม หรือ ค่าความเหมาะสม (Fitness, มักเขียนเป็น w ในสูตรพันธุศาสตร์ประชากร) เป็นแนวคิดหลักอย่างหนึ่งในทฤษฎีวิวัฒนาการ ในสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ๆ จะกำหนดโดยลักษณะทางพันธุกรรม (genotype) หรือลักษณะปรากฏ (phenotype) ก็ได้ ในกรณีแม้ทั้งสอง สามารถอธิบายได้โดยสามัญว่า เป็นความสามารถที่จะรอดชีวิตและสืบพันธุ์ได้ และมีค่าเป็น การให้ยีนของตนโดยเฉลี่ย เป็นส่วนของยีนทั้งหมดในประชากร (gene pool) รุ่นต่อไป โดยเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมหรือลักษณะปรากฏ เช่นนั้น ๆ กล่าวอีกอย่างคือ ถ้าความแตกต่างของอัลลีลที่พบในยีนหนึ่ง ๆ มีผลต่อความเหมาะสม ความถี่ของอัลลีลนั้นก็จะเปลี่ยนไปตามรุ่น คือ อัลลีลที่เหมาะสมมากกว่าจะมีความถี่สูงกว่า เป็นอัลลีลที่สามัญกว่าในกลุ่มประชากร กระบวนการนี้เรียกว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Darwinian fitness" มักจะใช้หมายถึงความเหมาะสมที่ว่านี้ โดยแตกต่างจากคำว่า "physical fitness" ซึ่งหมายถึงความแข็งแรงของร่างกาย ความเหมาะสมของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ จะปรากฏทางลักษณะปรากฏ โดยมีอิทธิพลทั้งจากสิ่งแวดล้อมและจากยีน และความเหมาะสมของลักษณะปรากฏนั้น ๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน อาจจะมีความเหมาะสมไม่เท่ากัน (เพราะอาจมีสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน) และเพราะว่า ค่าความเหมาะสมของลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ๆ เป็นค่าเฉลี่ย ดังนั้น ก็จะเป็นค่าสะท้อนความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่มีลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ๆ ในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ส่วนคำว่า "Inclusive fitness" (ความเหมาะสมโดยรวม) ต่างจากความเหมาะสมโดยบุคคล เพราะรวมเอาความสามารถของอัลลีลในแต่ละบุคคล ที่ส่งเสริมการอยู่รอดและการสืบพันธุ์ของบุคคลอื่น ๆ นอกจากตน ที่มีอัลลีลนั้นเหมือนกัน ให้เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่มีอัลลีลคนละอย่าง กลไกของความเหมาะสมโดยรวมอย่างหนึ่งก็คือ kin selection (การคัดเลือกโดยญาติ).

ดู ความน่าจะเป็นและความเหมาะสม

ความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) เป็นรูปแบบความคลาดเคลื่อนของการประเมินตัดสินใจ ที่การอนุมานถึงบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะเป็นไปโดยไม่สมเหตุผล คือ เราจะสร้างความจริงทางสังคม (social reality) ที่เป็นอัตวิสัย จากการรับรู้ข้อมูลที่ได้ทางประสาทสัมผัส เพราะฉะนั้น ความจริงที่เราสร้างขึ้นนี้ ซึ่งไม่ใช่ความจริงโดยปรวิสัย อาจจะกำหนดพฤติกรรมทางสังคมของเรา ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานอาจนำไปสู่ความบิดเบือนทางการรับรู้ การประเมินตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง การตีความที่ไม่สมเหตุผล หรือพฤติกรรมที่เรียกกันอย่างกว้าง ๆ ว่า ความไม่มีเหตุผล (irrationality) ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเชื่อว่า เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม คือเป็นเหตุให้เกิดการกระทำที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์บางอย่าง นอกจากนั้นแล้ว ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างสามารถทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ในสถานการณ์ที่ความเร็วมีความสำคัญมากกว่าความแม่นยำ ดังที่พบในเรื่องของฮิวริสติก ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะเป็น "ผลพลอยได้" ของความจำกัดในการประมวลข้อมูลของมนุษย์ ซึ่งอาจจะมาจากการไม่มีกลไกทางจิตใจที่เหมาะสม (สำหรับปัญหานั้น) หรือว่ามีสมรรถภาพจำกัดในการประมวลข้อมูล ภายใน 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดความเอนเอียงทางประชานเป็นจำนวนมาก เป็นผลจากงานวิจัยในเรื่องการประเมินและการตัดสินใจของมนุษย์ จากสาขาวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งประชานศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ความเอนเอียงทางประชานเป็นเรื่องสำคัญที่จะศึกษาเพราะว่า "ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ" แสดงให้เห็นถึง "กระบวนการทางจิตที่เป็นฐานของการรับรู้และการประเมินตัดสินใจ" (Tversky & Kahneman,1999, p.

ดู ความน่าจะเป็นและความเอนเอียงทางประชาน

ความเอนเอียงในการตีพิมพ์

วามเอนเอียงในการตีพิมพ์ (ผลงานวิจัย) (Publication bias) เป็นความเอนเอียง (bias) ในประเด็นว่า ผลงานวิจัยอะไรมีโอกาสมากกว่าที่จะได้รับการตีพิมพ์ ในบรรดางานทั้งหมดที่ได้ทำ ความเอนเอียงโดยธรรมชาติแล้วไม่ได้เป็นปัญหาทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ความเอนเอียงในการที่จะไม่ตีพิมพ์เรื่องไม่จริงเป็นความเอนเอียงที่พึงปรารถนา แต่ความเอนเอียงที่เป็นปัญหาก็คือความโน้มน้าวที่นักวิจัย บรรณาธิการ และบริษัทผลิตยา มักจะมีความประพฤติกับผลงานทดลองที่เป็น "ผลบวก" (คือ แสดงว่าประเด็นการทดลองมีความสัมพันธ์กับผลอย่างมีนัยสำคัญ) แตกต่างจากงานทดลองที่เป็น "ผลลบ" (null result หรือผลว่าง คือ ประเด็นการทดลองไม่มีความสัมพันธ์กับผลอย่างมีนัยสำคัญ) หรือว่าไม่มีความชัดเจน ซึ่งนำไปสู่ความเอนเอียงที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องนั้น ที่มีในบรรดางานที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งหมด ความเอนเอียงนี้มักจะเป็นไปในทางการรายงานผลที่มีนัยสำคัญ แม้ว่าจริง ๆ แล้วงานทดลองที่แสดงนัยสำคัญไม่ได้มีคุณภาพการออกแบบการทดลองที่ดีกว่างานทดลองที่แสดงผลว่าง คือ ได้เกิดการพบว่า ผลที่มีนัยสำคัญมีโอกาสที่จะได้รับการตีพิมพ์มากกว่าผลที่แสดงผลว่างมากกว่าถึง 3 เท่า และก็มีการพบด้วยว่า เหตุผลสามัญที่สุดของการไม่ตีพิมพ์ผลงานก็คือผู้ทำงานวิจัยปฏิเสธที่จะเสนอผลงานเพื่อพิมพ์ (เพราะว่า ผู้ทำงานวิจัยหมดความสนใจในประเด็นนั้น หรือว่าคิดว่า ผู้อื่นจะไม่สนใจในผลว่าง หรือเหตุผลอื่น ๆ) ซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงถึงบทบาทของนักวิจัยในปรากฏการณ์ความเอนเอียงในการตีพิมพ์นี้ เพื่อที่จะพยายามลดปัญหานี้ วารสารแพทย์ที่สำคัญบางวารสารเริ่มมีการกำหนดให้ลงทะเบียนงานทดลองก่อนที่จะเริ่มทำเพื่อว่า ผลที่ไม่แสดงความสัมพันธ์ของประเด็นงานวิจัยกับผลจะไม่ถูกกักไว้ไม่ให้พิมพ์ มีองค์กรการลงทะเบียนเช่นนี้หลายองค์กร แต่นักวิจัยมักจะไม่รู้จัก นอกจากนั้นแล้ว ความพยายามที่ผ่านมาที่จะระบุหางานทดลองที่ไม่ได้รับการพิมพ์ปรากฏว่า เป็นเรื่องที่ยากและมักจะไม่เพียงพอ อีกกลยุทธ์หนึ่งที่เสนอโดยผู้ทำการวิเคราะห์งานวิจัยต่าง ๆ ก็คือให้ระวังการใช้ผลงานทดลองทางคลินิกที่ไม่ใช่แบบสุ่ม (non-randomised) และมีตัวอย่างทางสถิติน้อย เพราะว่า เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อข้อผิดพลาดและความเอนเอียง.

ดู ความน่าจะเป็นและความเอนเอียงในการตีพิมพ์

ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน

วามเอนเอียงเพื่อยืนยัน (ความคิดฝ่ายตน)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ bias ว่า "ความลำเอียง, -เอนเอียง" หรือ ความลำเอียงเพื่อยืนยัน (Confirmation bias, confirmatory bias, myside bias) เป็นความลำเอียงในข้อมูลที่ยืนยันความคิดหรือทฤษฎีหรือสมมติฐานฝ่ายตน เรียกว่ามีความลำเอียงนี้เมื่อสะสมหรือกำหนดจดจำข้อมูลที่เลือกเฟ้น หรือว่าเมื่อมีการตีความหมายข้อมูลอย่างลำเอียง ความลำเอียงนี้มีอยู่ในระดับสูงในประเด็นที่ให้เกิดอารมณ์หรือเกี่ยวกับความเชื่อที่ฝังมั่น นอกจากนั้นแล้ว คนมักตีความหมายข้อมูลที่ยังไม่ชัดเจนว่าสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง มีการใช้การสืบหา การตีความหมาย และการทรงจำข้อมูลประกอบด้วยความลำเอียงเช่นนี้ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ รวมทั้ง.

ดู ความน่าจะเป็นและความเอนเอียงเพื่อยืนยัน

คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์

ัมภีร์โหราศาสตร์ ฉบับหลวงวิศาลดรุณกร คือ คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยฉบับมาตรฐานสมบูรณ์ของหลวงวิศาลดรุณกร(อั้น สาริกบุตร)ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาแก่ผู้สนใจศาสตร์แห่งการพยากรณ์ โดยการรวบรวมเรียบเรียง ตำราพยากรณ์ 153 คัมภีร์ ซึ่งมีมูลเหตุที่มาเป็นสำคัญ ผลงานการแต่งคัมภีร์หลวงวิศาลดรุณกรได้ระบุไว้ในคำอุทิศผลงาน ว่า เป็นงานเขียนทีได้กระทำขึ้นระหว่างปี..

ดู ความน่าจะเป็นและคัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์

คำให้การพิเศษ

ำให้การพิเศษ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ pleading ว่า "คำให้การ" (Special pleading, stacking the deck, ignoring the counterevidence, slanting, หรือ one-sided assessment) หรือ การไม่สนใจหลักฐานค้าน หรือ การประเมินผลข้างเดียว เป็นวิธีการให้เหตุผลเทียมแบบหนึ่ง ที่แสดงแต่หลักฐานรายละเอียดที่สนับสนุนสิ่งที่เสนอ และไม่ให้รายละเอียดที่คัดค้าน โดยอ้างว่า ต้องมีการพิจารณาบางกรณีเป็นพิเศษ แต่ไม่มีการวิเคราะห์ให้เหตุผลที่สมควรกับการพิจารณาพิเศษเช่นนั้น กล่าวอย่างย่อ ๆ ก็คือ เป็นการที่บุคคลหนึ่งพยายามยกว่าเหตุการณ์หลักฐานบางอย่างที่เกิดขึ้น เป็นข้อยกเว้นพิเศษจากเหตุการณ์ปกติหรือจากหลักการเป็นต้น โดยที่ไม่แสดงเหตุผลที่สมควรต่อข้อยกเว้นนั้น การไม่ได้ให้การวิเคราะห์หรือไม่ได้ให้เหตุผลอาจจะเป็นความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจ (เช่นอาจคิดว่า เป็นเรื่องสามัญสำนึก) หรือเป็นการกระทำที่มีอคติโดยใช้มาตรฐานการประเมินหลักฐานที่ไม่เหมือนกัน.

ดู ความน่าจะเป็นและคำให้การพิเศษ

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity.

ดู ความน่าจะเป็นและคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์การเงิน

วิศวกรรมการเงิน เป็นสาขาหนึ่งของพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ที่ศึกษาทางด้านการเงิน โดยอาศัยเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์ โดยธรรมชาติแล้วจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเศรษฐศาสตร์การเงิน แต่วิศวกรรมการเงินนั้นแคบกว่าและมีลักษณะเป็นนามธรรมมากกว่า วิศวกรรมการเงิน จะใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์โดยเฉพาะเครื่องมือทางสถิติ ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงิน และ ประเมินมูลค่าของตราสารทางการเงิน เช่น ตราสารอนุพัน.

ดู ความน่าจะเป็นและคณิตศาสตร์การเงิน

คณิตศาสตร์มูลฐาน

ณิตศาสตร์มูลฐาน เป็นหัวข้อวิชาคณิตศาสตร์ที่มักใช้สอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอยู่บ่อยๆ เริ่มตั้งแต่พื้นฐานคือเลขคณิตและเรขาคณิต และในขั้นถัดไปคือความน่าจะเป็นและสถิติ พีชคณิต ตรีโกณมิติ และความรู้พื้นฐานสำหรับแคลคูลัส (Precalculus) ตามลำดั.

ดู ความน่าจะเป็นและคณิตศาสตร์มูลฐาน

คณิตศาสตร์เชิงการจัด

ณิตศาสตร์เชิงการจัด คือสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ ที่ศึกษากลุ่มของวัตถุจำนวนจำกัดที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับเงื่อนไขบางประการ และมักสนใจเป็นพิเศษที่จะ "นับ" จำนวนวัตถุในกลุ่มนั้น ๆ (ปัญหาการแจกแจง) หรืออาจหาคำตอบว่า วัตถุที่มีคุณสมบัติที่ต้องการนั้นมีอยู่หรือไม่ (ปัญหาสุดขอบ) การศึกษาเกี่ยวกับการนับวัตถุ บางครั้งถูกจัดให้อยู่ในสาขาการแจกแจงแทน การเรียงสับเปลี่ยน และ การจัดหมู.

ดู ความน่าจะเป็นและคณิตศาสตร์เชิงการจัด

คดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์

ีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ (Monsanto Canada Inc v Schmeiser) 1 S.C.R. 902, 2004 SCC 34 เป็นคดีบรรทัดฐานของศาลสูงสุดของประเทศแคนาดา เรื่องสิทธิของสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยีชีวภาพ ระหว่างเกษตรกรผักกาดชาวแคนาดาคือ เพอร์ซี ชไมเซอร์ กับบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรมอนซานโต้ ศาลฯ นั่งพิจารณาปัญหาว่า พืชดัดแปรพันธุกรรมที่ปลูกโดยเจตนาของชไมเซอร์นั้นเป็น "การใช้" (use) เซลล์พืชดัดแปรพันธุกรรมที่จดสิทธิบัตรของมอนซานโต้หรือไม่ ศาลฯ มีคำวินิจฉัยชี้ขาดด้วยฝ่ายข้างมาก 5-4 ว่าเป็น คดีนี้ได้รับความสนใจจากชนทั่วโลก ที่เข้าใจผิดกันอย่างกว้างขวางว่า อะไรจะเกิดขึ้นถ้าไร่ของเกษตรกรเกิดปนเปื้อนโดยไม่ได้ตั้งใจด้วยเมล็ดพันธุ์ที่จดสิทธิบัตร ทว่าเมื่อพิจารณาคดี ข้อเรียกร้องที่เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์จดสิทธิบัตรในแปลงที่ถูกปนเปื้อนในปี 2540 ก็ล้วนถูกถอนไปหมดแล้ว และศาลเพียงแต่พิจารณาเรื่องเมล็ดพันธุ์ที่ปลูกในแปลงปี 2541 ซึ่งชไมเซอร์จงใจเก็บรวบรวมจากพืชผลแปรพันธุกรรมที่ได้อย่างไม่ได้ตั้งใจในปี 2540 แล้วปลูกโดยเจตนาในปีต่อมา และสำหรับพืชผลในปี 2541 ชไมเซอร์เองก็ไม่ได้พยายามสู้ความโดยอ้างว่าเกิดการปนเปื้อนโดยอุบัติเหตุเล.

ดู ความน่าจะเป็นและคดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์

ค่าคาดหมาย

ำหรับทฤษฎีความน่าจะเป็นแล้ว ค่าคาดหมาย (expected value, expectation) ของ ตัวแปรสุ่ม คือ ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average) ของทุกๆค่าที่เป็นไปได้ของตัวแปรสุ่ม โดยในการคำนวณการถ่วงน้ำหนักจะใช้ค่าฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็น (probability density function)สำหรับตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง หรือใช้ค่าฟังก์ชันมวลของความน่าจะเป็น (probability mass function) สำหรับตัวแปรวิยุต ค่าความคาดหมายนี้เมื่อพิจารณาจากกฎว่าด้วยจำนวนมาก ก็คือค่าลิมิตแบบ almost surely ของค่าเฉลี่ยที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง โดยที่จำนวนการสุ่มโตเข้าสู่ค่าอนันต์ หรือกล่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า ค่าความคาดหมายคือค่าเฉลี่ยจากการสุ่มวัดที่ทำหลายๆครั้งมาก.

ดู ความน่าจะเป็นและค่าคาดหมาย

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation: SD) ในทางสถิติศาสตร์และความน่าจะเป็น เป็นการวัดการกระจายแบบหนึ่งของกลุ่มข้อมูล สามารถนำไปใช้กับการแจกแจงความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม ประชากร หรือมัลติเซต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมักเขียนแทนด้วยอักษรกรีกซิกมาตัวเล็ก (σ) นิยามขึ้นจากส่วนเบี่ยงเบนแบบ root mean square (RMS) กับค่าเฉลี่ย หรือนิยามขึ้นจากรากที่สองของความแปรปรวน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคิดค้นโดย ฟรานซิส กาลตัน (Francis Galton) ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1860 เป็นการวัดการกระจายทางสถิติที่เป็นปกติทั่วไป ใช้สำหรับเปรียบเทียบว่าค่าต่างๆ ในเซตข้อมูลกระจายตัวออกไปมากน้อยเท่าใด หากข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ใกล้ค่าเฉลี่ยมาก ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก็จะมีค่าน้อย ในทางกลับกัน ถ้าข้อมูลแต่ละจุดอยู่ห่างไกลจากค่าเฉลี่ยเป็นส่วนมาก ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก็จะมีค่ามาก และเมื่อข้อมูลทุกตัวมีค่าเท่ากันหมด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจะมีค่าเท่ากับศูนย์ นั่นคือไม่มีการกระจายตัว คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้หน่วยอันเดียวกันกับข้อมูล แต่กับความแปรปรวนนั้นไม่ใช่ เมื่อตัวอย่างของข้อมูลกลุ่มหนึ่งถูกเลือกมาจากประชากรทั้งหมด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากรสามารถประมาณค่าได้จากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่างนั้น.

ดู ความน่าจะเป็นและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

งานศึกษาแบบสังเกต

ในสาขาวิทยาการระบาดและสถิติศาสตร์ งานศึกษาแบบสังเกต"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ observational methods ว่า "วิธีวิจัยแบบสังเกต" และ study ว่า "งานศึกษา, การศึกษา" (observational study) เป็นการศึกษาที่อนุมานผลของวิธีการรักษาที่เป็นประเด็นการศึกษาต่อคนไข้ ใช้เมื่อการจัดคนไข้เข้ากับกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ซึ่งแตกต่างจากการทดลองเช่นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ที่สามารถจัดผู้ร่วมการทดลองแต่ละคนให้อยู่ในกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมโดยสุ่มได้.

ดู ความน่าจะเป็นและงานศึกษาแบบสังเกต

ตรรกศาสตร์คลุมเครือ

ตรรกศาสตร์คลุมเครือ หรือ ฟัซซี่ลอจิก (fuzzy logic) พัฒนาจาก ทฤษฎีเซตวิภัชนัย โดยเป็นการใช้เหตุผลแบบประมาณ ซึ่งแตกต่างจากการใช้เหตุผลแบบเด็ดขาดในลักษณะ ถูก/ผิด ใช่/ไม่ใช่ ของ ตรรกศาสตร์แบบฉบับ (classical logic) ตรรกศาสตร์คลุมเครือนั้นสามารถถือเป็นการประยุกต์ใช้งานเซตวิภัชนัย เพื่อจำลองการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ ต่อปัญหาที่ซับซ้อน ค่าระดับความจริง ในตรรกศาสตร์คลุมเครือนั้นมักจะสับสนกับ ค่าความน่าจะเป็น ซึ่งมีแนวความคิดที่แตกต่างกัน ค่าระดับความจริงคลุมเครือนั้นใช้ในการระบุ ค่าความเป็นสมาชิก ของเซต แต่ค่าความน่าจะเป็นนั้นระบุความเป็นไปได้ของสภาพการณ์แต่ละรูปแบบที่อาจจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น สมมติว่า นาย ก กำลังเดินเข้าบ้าน สถานะของนาย ก ตามตรรกศาสตร์แบบฉบับ คือ "อยู่ในบ้าน" หรือ "อยู่นอกบ้าน" แต่หากเขากำลังยืนอยู่ระหว่างช่องประตู เราอาจพิจารณาได้ว่าเขา "อยู่ในบ้านบางส่วน" ระดับของสถานะกึ่งนี้ จะระบุด้วยค่าความเป็นสมาชิกของเซตวิภัชนัย สมมุติเขาเพิ่งจะก้าวปลายนิ้วเท้าผ่านข้ามธรณีประตูเข้าบ้าน เราอาจกล่าวว่า นาย ก นั้น 0.99 "อยู่นอกบ้าน" ซึ่งต่างจากความน่าจะเป็นของเหตุการณ์สุ่ม (เช่น ความน่าจะเป็นระบุผลลัพธ์ของการโยนเหรียญ แต่ผลลัพธ์จะออก หัว หรือ ก้อย) หากพิจารณาความน่าจะเป็นที่นาย ก "อยู่นอกบ้าน" และ "อยู่ในบ้าน" จะออกผลลัพธ์เป็น นาย ก อยู่นอกบ้าน หรือ ในบ้าน ไม่ได้จำลองสถานะกึ่ง คือ กำลังยืนอยู่ที่ประตู เซตวิภัชนัยนั้นมีหลักการพื้นฐานจากเซตที่มีขอบเขตคลุมเครือไม่ชัดเจน ไม่ได้มีพื้นฐานจากการสุ่ม ตรรกศาสตร์คลุมเครือนั้น สามารถระบุค่าความเป็นสมาชิกของเซต (set membership values) ด้วยค่าระหว่าง 0 และ 1 ทำให้เกิดระดับกึ่งในลักษณะของ สีเทา นอกจาก ขาว และ ดำ ซึ่งมีประโยชน์ในการจำลองระดับซึ่งสามารถระบุด้วยคำพูด "เล็กน้อย" "ค่อนข้าง" "มาก" โดยใช้ค่าความเป็นสมาชิกของเซตบางส่วน ตรรกศาสตร์คลุมเครือนี้มีความสัมพันธ์กับ เซตวิภัชนัย (en:fuzzy set) และ ทฤษฎีความเป็นไปได้ (en:possibility theory) ซึ่งคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ.

ดู ความน่าจะเป็นและตรรกศาสตร์คลุมเครือ

ตัวกรองของบลูม

ตัวกรองของบลูม (Bloom Filter) ถูกคิดขึ้นโดย เบอร์ตัน ฮาเวิร์ด บลูม ในปี..

ดู ความน่าจะเป็นและตัวกรองของบลูม

ตัวแปรกวน

แสดงตัวแปรกวนแบบง่าย ๆ คือถ้ารู้ "Z" ก็จะเห็นได้ว่า ''X'' ไม่สัมพันธ์กับ ''Y'' แต่ถ้าไม่เห็น ''Z'' ก็จะปรากฏความสัมพันธ์เทียมระหว่าง ''X'' กับ ''Y'' ซึ่งในกรณีนี้ ''Z'' จะเรียกว่า ปัจจัยกวนหรือตัวแปรกวน ในสถิติศาสตร์ ตัวแปรกวน (confounding variable) ปัจจัยกวน (confounding factor) หรือ ตัวกวน (confounder) เป็นตัวแปรนอก (extraneous variable) ในแบบจำลองทางสถิติที่มีสหสัมพันธ์โดยตรงหรือโดยผกผัน กับทั้งตัวแปรตาม (dependent variable) และตัวแปรอิสระ (independent variable) ความสัมพันธ์ปลอม (spurious relationship) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ที่ประเมินอย่างผิดพลาด เพราะไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยกวน เป็นการประเมินที่ประกอบด้วย omitted-variable bias (ความเอนเอียงโดยละเว้นตัวแปร).

ดู ความน่าจะเป็นและตัวแปรกวน

ตารางของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

รายการนี้จะถูกจัดระเบียบตาม "ความสัมพันธ์" มี Wikibooks สำหรับการใช้สัญลักษณ์ในแบบ LaTex และยังครอบคลุมถึงการอธิบายเรื่องสัญลักษณ์ LaTex สัญลักษณ์อาจจะถูกเพิ่มเข้าผ่านทางทางเลือกอื่นอย่างเช่นการตั้งค่าเอกสารขึ้นมาเพื่อสนับสนุนยูนิโค้ด (ป.ล.

ดู ความน่าจะเป็นและตารางของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์

''Table of Mechanicks'', 1728 ''Cyclopaedia''. ประวัติศาสตร์ของฟิสิกส์ คือ การศึกษาการเติบโตของฟิสิกส์ไม่ได้นำมาเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับโลกแห่งวัตถุ คณิตศาสตร์ และ ปรัชญา เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และการเปลี่ยนรูปแบบของสังคม ฟิสิกส์ถูกพิจารณาในแง่ของทั้งตัวเนื้อความรู้และการปฏิบัติที่สร้างและส่งผ่านความรู้ดังกล่าว การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นประมาณปี ค.ศ.

ดู ความน่าจะเป็นและประวัติศาสตร์ฟิสิกส์

ปราบดา หยุ่น

ปราบดา หยุ่น (เกิด 2 สิงหาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักเขียน ได้รับรางวัลซีไรต์ จากเรื่องความน่าจะเป็น เมื่อ พ.ศ. 2545.

ดู ความน่าจะเป็นและปราบดา หยุ่น

ปรากฏการณ์การวางกรอบ

ปรากฏการณ์การวางกรอบ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ framing ว่า "การวางกรอบภาพ" (framing effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่เรามีปฏิกิริยาต่อทางเลือกอย่างหนึ่งโดยต่าง ๆ กันไปขึ้นอยู่กับว่ามีการแสดงทางเลือกนั้นอย่างไร เช่นโดยเป็นการได้หรือการเสีย (ดูตัวอย่างในการหลีกเลี่ยงการเสีย) คือ เรามักจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเมื่อแสดงทางเลือกนั้นโดยเป็นการได้ และจะทำการเสี่ยงเมื่อแสดงทางเลือกนั้นโดยเป็นการเสีย การได้และการเสียสามารถวางกรอบได้โดยใช้คำแสดงผลต่าง ๆ กัน (เช่น จะมีการเสียชีวิตหรือจะมีการช่วยชีวิต คนไข้จะได้รับการรักษาหรือไม่ได้รับการรักษา) ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม โดยเฉพาะคือ Prospect theory แสดงว.

ดู ความน่าจะเป็นและปรากฏการณ์การวางกรอบ

ปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลาย ๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เช่น.

ดู ความน่าจะเป็นและปัญญาประดิษฐ์

ปัญหาการยุติการทำงาน

ในทฤษฎีการคำนวณได้นั้น ปัญหาการยุติการทำงาน คือปัญหาการตัดสินใจที่ถามว่า แอลัน ทัวริง (Alan Turing) พิสูจน์ในปี..

ดู ความน่าจะเป็นและปัญหาการยุติการทำงาน

ปัญหามอนตี ฮอลล์

ในการเลือกเปิดประตู ผู้เล่นเลือกประตูที่ 1 แล้วผู้ดำเนินรายการเปิดประตูที่ 3 ซึ่งมีแพะอยู่ด้านหลังให้ดู และให้โอกาสผู้เล่นเลือกว่าจะเปลี่ยนประตูที่ 1 ที่เลือกไว้กับประตูที่ 2 ที่เหลืออยู่หรือไม่ ปัญหามอนตี ฮอลล์ หรือ เกมประตูดวง (Monty Hall problem) นี้ตั้งชื่อตามชื่อผู้ดำเนินรายการ "มอนตี ฮอลล์" (Monty Hall) ในรายการเกมโชว์ในสหรัฐอเมริกา ชื่อ "Let's Make a Deal" ส่วนชื่อภาษาไทย มาจากปัญหาเดียวกันในรายการในประเทศไทย ชื่อ ประตูดวง เกมปัญหานี้เป็นปัญหาทางความน่าจะเป็น โดยในเกม จะมีประตู 3 สามประตูให้ผู้เล่นเลือก โดย มีหนึ่งประตูที่มีรางวัลอยู่หลังประตู (ซึ่งในรายการ "Let's Make a Deal" คือ รถยนต์) ส่วนอีกสองประตูที่เหลืออยู่นั้นจะไม่มีรางวัล (ในรายการ "Let's Make a Deal" นั้นจะมีแพะ) ผู้เล่นนั้นจะเลือกหนึ่งประตูและได้สิ่งที่อยู่ด้านหลังประตูนั้นเป็นรางวัล แต่ก่อนที่จะเปิดประตูที่ผู้เล่นเลือกไว้เพื่อดูว่ามีอะไรอยู่ด้านหลัง ผู้ดำเนินรายการจะเปิดประตูหนึ่งประตูที่มีแพะอยู่จากสองประตูที่เหลือ หลังจากนั้นผู้ดำเนินรายการจะให้โอกาสผู้เล่น เลือกเปลี่ยนประตูที่เลือกไว้แล้ว กับประตูที่เหลืออยู่ ปัญหา: ผู้เล่นควรจะเลือกเปลี่ยนประตูที่เลือกไว้แล้วกับอีกประตูหนึ่งที่เหลืออยู่หรือไม่ การเปลี่ยนประตูจะเพิ่มโอกาสถูกรางวัลมากขึ้นหรือไม่? คำตอบ: ผู้เล่นควรจะเลือกเปลี่ยนประตู เนื่องจากจะเพิ่มโอกาสถูกรางวัลมากขึ้นเป็น 2/3 ดังรายละเอียดด้านล่าง ปัญหานี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มอนตี ฮอลล์ พาราดอกซ์ (Monty Hall paradox) เนื่องจากคำตอบของปัญหานั้นค่อนข้างจะสวนกับสามัญสำนึก ถึงแม้ว่าปัญหานี้จะไม่ได้เป็น พาราดอกซ์ จริง ๆ ก็ตาม.

ดู ความน่าจะเป็นและปัญหามอนตี ฮอลล์

ปัญหาวันเกิด

ปัญหาวันเกิด หรือ ปฏิทรรศน์วันเกิด ในเรื่องทฤษฎีความน่าจะเป็น เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็นที่กลุ่มคนซึ่งถูกเลือกโดยการสุ่ม n คน จะมีบางคู่ในกลุ่มที่มีวันเกิดตรงกัน หากพิจารณาตามหลักรังนกพิราบ ความน่าจะเป็นดังกล่าวจะเป็น 100% ถ้าจำนวนคนในกลุ่มมี 367 คน (เนื่องจากวันที่เป็นไปได้ทั้งหมดมี 366 วัน รวม 29 กุมภาพันธ์ด้วย) อย่างไรก็ตาม ความน่าจะเป็น 99% จะเกิดกับกลุ่มคนเพียง 57 คน และความน่าจะเป็น 50% จะเกิดกับกลุ่มคนเพียง 23 คน การสรุปเหล่านี้ใช้พื้นฐานบนสมมติฐานว่า แต่ละวันของปีมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นวันเกิดอย่างเท่าเทียมกัน (ยกเว้น 29 กุมภาพันธ์) คณิตศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังปัญหานี้นำไปสู่ปัญหาการโจมตีทางวิทยาการเข้ารหัสลับอันเป็นที่รู้จักเรียกว่า การโจมตีวันเกิด ซึ่งใช้ตัวแบบความน่าจะเป็นนี้ลดความซับซ้อนในการเจาะฟังก์ชันแฮช กราฟแสดงความน่าจะเป็นโดยการคำนวณ ที่คนอย่างน้อยสองคนจะมีวันเกิดตรงกัน ในระหว่างกลุ่มคนตามจำนวนที่แน่นอน.

ดู ความน่าจะเป็นและปัญหาวันเกิด

นัยสำคัญทางคลินิก

ในการแพทย์และจิตวิทยา นัยสำคัญทางคลินิก (clinical significance) เป็นผลที่มีจริง ๆ ของการรักษา ว่ามันมีผลที่แท้จริง รู้สึกได้ สังเกตได้ในชีวิตประจำวัน.

ดู ความน่าจะเป็นและนัยสำคัญทางคลินิก

แบล็กแคต (ตัวละคร)

อะแบล็กแคต (Black Cat) หรือ เฟลิเซีย ฮาร์ดี (Felicia Hardy) เป็นตัวละครจากเรื่องสไปเดอร์แมน ซึ่งจัดพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ สร้างขึ้นมาโดยนักเขียน มาร์ฟ วูลฟ์แมน และนักวาด ไคธ์ พอลลาร์ด ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน ดิอแมซซิงสไปเดอร์แมน ฉบับที่ 194 (กรกฎาคม ค.ศ.

ดู ความน่าจะเป็นและแบล็กแคต (ตัวละคร)

แบ็กแกมมอน

แบ็กแกมมอน (Backgammon) คือ เกมกระดานสำหรับสองคนซึ่งใช้เบี้ยในการเดินและใช้ลูกเต๋าสองลูกในการเดินซึ่งผู้เล่นจะสลับกันเดินเพื่อนำเบี้ยของตนออกจากกระดาน.

ดู ความน่าจะเป็นและแบ็กแกมมอน

แผนภาพเวนน์

'''แผนภาพเวนน์''' แสดงตัวเขียนพิมพ์ใหญ่ที่ใช้ร่วมกันระหว่างอักษรกรีก อักษรละติน และ อักษรรัสเซีย แผนภาพเวนน์ หรือ แผนภาพเซต เป็นแผนภาพที่แสดงความเกี่ยวเนื่องเชิงตรรกศาสตร์ทั้งหมดระหว่างเซตจำนวนจำกัด จอห์น เวนน์ คิดแผนภาพเวนน์ขึ้นราวปี..

ดู ความน่าจะเป็นและแผนภาพเวนน์

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ดู ความน่าจะเป็นและโรคซึมเศร้า

ไพป์

ป์ (pipe) หรือ ขีดตั้ง (vertical bar) เป็นชื่อของสัญลักษณ์ของตัวอักษร ASCII ที่ตำแหน่ง 124 ตัวอักษรนี้ใช้สัญลักษณ์เส้นในแนวตั้ง (|) หรือในบางครั้งใช้เส้นตั้งที่มีแยกตรงกลาง (¦ - broken bar) ในคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม จะใช้สัญลักษณ์ broken bar เป็นส่วนมาก แต่อย่างไรก็ตาม broken bar เป็นตัวอักษรที่อยู่ต่างออกไปที่ตำแหน่งของ U+00A6 (¦).

ดู ความน่าจะเป็นและไพป์

เกมวัดดวง

กมวัดดวง เป็นรายการเกมโชว์ที่มีเนื้อหาคือ เป็นเกมการแข่งขันที่นำเอาโชคชะตาของผู้เข้าแข่งขันมาทำเป็นเกม ซึ่งทางรายการจะหาผู้ที่ดวงดีที่สุด จากผู้เข้าแข่งทั้งหมดในสัปดาห์นั้น ลักษณะเกมนั้นจะเป็นการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ ในแต่ละรอบ ทางรายการจะกำหนดกติกาเอาไว้ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่กำหนดว่าผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะ เข้ารอบ หรือ ตกรอบ โดยกติกาเหล่านี้จะไม่ตัดสินผู้เข้าแข่งขันด้วยความสามารถส่วนตัวใด ๆ เลย จะขึ้นอยู่กับ ดวง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และจะใช้หลักความน่าจะเป็น โดยมีคำขวัญว่า "คุณไม่ต้องพกอะไรนอกจากดวงเพียงอย่างเดียว" เกมวัดดวง ในระยะแรกผลิตรายการโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 23.05 - 23.55 น.

ดู ความน่าจะเป็นและเกมวัดดวง

เยื่อคลุม

ื่อคลุม (tectorial membrane ตัวย่อ TM) เป็นเนื้อเยื่อที่ไม่ใช่เป็นเซลล์เยื่อหนึ่งในหูชั้นใน โดยอีกเยื่อหนึ่ง (ที่เป็นเซลล์) ก็คือเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane, BM) เยื่อคลุมอยู่เหนือ spiral limbus กับอวัยวะของคอร์ติ และทอดไปตามยาวของคอเคลียขนานกับ BM ถ้าแบ่งตามด้านกว้าง (radial) เยื่อคลุมจะมีสามเขต คือ limbal zone, middle zone และ marginal zone โดย limbal zone เป็นส่วนบางที่สุดและอยู่เหนือ auditory teeth of Huschke และมีริมในยึดอยู่กับ spiral limbus ส่วน marginal zone จะเป็นส่วนหนาสุดและแบ่งจาก middle zone โดย Hensen's Stripe เยื่อคลุมโดยทั่วไปคลุมอยู่เหนือเซลล์ขนด้านใน (inner hair cell, IHC) ที่เป็นตัวรับเสียง และเหนือเซลล์ขนด้านนอก (outer hair cells) ที่เคลื่อนไหวได้เองอาศัยไฟฟ้า เมื่อเสียงวิ่งผ่านหูชั้นใน เยื่อคลุมก็จะขยับเร้า IHC ผ่านน้ำที่ล้อมอยู่ และเร้า OHC โดยตรงที่ stereocilia อันยาวสุดของ OHC ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมติดกับเยื่อคลุม.

ดู ความน่าจะเป็นและเยื่อคลุม

เหตุการณ์ (ความน่าจะเป็น)

ในทฤษฎีความน่าจะเป็น เหตุการณ์ คือเซตของผลลัพธ์ (สับเซตของแซมเปิลสเปส) ที่ถูกกำหนดสำหรับความน่าจะเป็นนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าแซมเปิลสเปสเป็นเซตจำกัด สับเซตใด ๆ ของแซมเปิลสเปสจะถือว่าเป็นเหตุการณ์ทั้งหมด (นั่นคือ สมาชิกทุกตัวของพาวเวอร์เซตเป็นเหตุการณ์) แต่อย่างไรก็ตามข้อความดังที่กล่าวมาก็ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป.

ดู ความน่าจะเป็นและเหตุการณ์ (ความน่าจะเป็น)

เหตุผลวิบัติของนักการพนัน

หตุผลวิบัติของนักการพนัน (gambler's fallacy) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เหตุผลวิบัติมอนตีคาร์โล (Monte Carlo fallacy) เป็นความเชื่อผิด ๆ ว่า ถ้าเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่าปกติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เหตุการณ์นั้นก็จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งน้อยลงในอนาคต หรือว่า ถ้าเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นน้อยกว่าปกติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เหตุการณ์นั้นก็จะเกิดบ่อยขึ้นในอนาคต เพื่อที่จะให้เกิดการสมดุลกัน แต่ว่าถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์สุ่ม คือเป็นการลองตามลำดับที่เป็นอิสระทางสถิติ (statistical independent trial) ของกระบวนการสุ่ม แม้ว่าความเชื่อนี้จะดึงดูดใจ แต่ก็จะไม่เป็นความจริง เหตุผลวิบัตินี้เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์จริง ๆ มากมาย แต่มักจะมีการกล่าวถึงในเรื่องของการเล่นการพนัน เพราะเป็นเหตุผลวิบัติที่คนเล่นการพนันมีโดยสามัญ ส่วนคำบัญญัติว่า "เหตุผลวิบัติมอนตีคาร์โล" มีกำเนิดมาจากตัวอย่างที่มีชื่อเสียงของเหตุผลวิบัตินี้ ซึ่งเกิดขึ้นในบ่อนกาสิโนมอนตีคาร์โลในปี..

ดู ความน่าจะเป็นและเหตุผลวิบัติของนักการพนัน

เหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเทกซัส

หตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเทกซัส (Texas sharpshooter fallacy) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยที่เกิดขึ้นเมื่อเราไม่ใส่ใจในความต่าง ๆ กันของข้อมูล แต่สนใจแต่ความคล้ายคลึงกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการสรุปข้อมูลอย่างผิดพลาด เป็นเหตุผลวิบัติที่สัมพันธ์กับ clustering illusion ซึ่งหมายถึงความโน้มเอียงของระบบประชานของมนุษย์ ที่จะตีความข้อมูลว่า มีรูปแบบ ทั้ง ๆ ที่ความจริงไม่มี ส่วนชื่อมาจากเรื่องตลกเกี่ยวกับชาวเทกซัสที่ยิงปืนเข้าที่ฝาของยุ้งข้าว แล้ววาดเป้ายิงปืนที่ตรงกลางของจุดที่มีลูกปืนยิงถูกมากที่สุด แล้วคุยว่า ตนเป็นนักแม่นปืน.

ดู ความน่าจะเป็นและเหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเทกซัส

เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน

หตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ base rate ว่า "อัตราพื้นฐาน" และของ fallacy ว่า "เหตุผลวิบัติ" (Base rate fallacy) หรือ การละเลยอัตราพื้นฐาน (base rate neglect) หรือ ความเอนเอียงโดยอัตราพื้นฐาน (base rate bias) เป็นเหตุผลวิบัติรูปนัย (formal fallacy) ชนิดหนึ่ง ที่เมื่อมีการแสดงทั้งข้อมูลเกี่ยวกับอัตราพื้นฐานที่อยู่ในประเด็นแต่ว่าเป็นข้อมูลแบบทั่ว ๆ ไป และทั้งข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงแต่กับบางกรณีเท่านั้น เรามักจะไม่สนใจข้อมูลทั่วไปแต่จะสนใจแต่ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่การประเมินผลที่มีความเอนเอียง.

ดู ความน่าจะเป็นและเหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน

เจโรลาโม การ์ดาโน

รลาโม การ์ดาโน (Gerolamo Cardano, บางครั้งใช้ Girolamo หรือ Geronimo; 24 กันยายน ค.ศ. 1501 – 21 กันยายน ค.ศ. 1576) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ชาวอิตาลี เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มวิชาความน่าจะเป็น, เป็นบุคคลแรก ๆ ที่แนะนำการใช้สัมประสิทธิ์ทวินาม, ทฤษฎีบททวินามและจำนวนลบในยุโรป รวมถึงร่วมคิดค้นเพลาขับและระบบล็อกแบบเข้ารหั.

ดู ความน่าจะเป็นและเจโรลาโม การ์ดาโน

เซลล์รับแสง

ซลล์รับแสง (photoreceptor cell) เป็นเซลล์ประสาท (นิวรอน) พิเศษในจอประสาทตาที่มีสมรรถภาพในการถ่ายโอนแสงไปเป็นพลังประสาท ความสำคัญทางชีวภาพของเซลล์รับแสงก็คือความสามารถในการแปลงแสงที่เห็นได้ไปเป็นสัญญาณที่สามารถเร้ากระบวนการต่าง ๆ ทางชีวภาพ จะกล่าวให้ชัดเจนกว่านี้ก็คือ มีโปรตีนหน่วยรับแสงในเซลล์ที่ดูดซึมโฟตอน ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในความต่างศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์ เซลล์รับแสงแบบคลาสิกก็คือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย แต่ละอย่างล้วนแต่ให้ข้อมูลที่ใช้ในระบบการมองเห็นเพื่อสร้างแบบจำลองของโลกภายนอกที่เห็นทางตา เซลล์รูปแท่งนั้นบางกว่าเซลล์รูปกรวย และมีความกระจัดจายไปในจอประสาทตาที่แตกต่างกัน แม้ว่า กระบวนการเคมีที่ถ่ายโอนแสงไปเป็นพลังประสาทนั้นคล้ายคลึงกัน มีการค้นพบเซลล์รับแสงประเภทที่สามในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ซึ่งก็คือ photosensitive retinal ganglion cell เป็นเซลล์ที่ไม่ได้มีส่วนให้เกิดการเห็นโดยตรง แต่เชื่อกันว่า มีส่วนช่วยในระบบควบคุมจังหวะรอบวัน (circadian rhythms) และปฏิกิริยาปรับรูม่านตาแบบรีเฟล็กซ์ เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยมีหน้าที่แตกต่างกัน คือ เซลล์รูปแท่งไวแสงเป็นพิเศษ มีปฏิกิริยาต่อโฟตอนเพียงแค่ 6 อนุภาค ดังนั้น ในที่มีระดับแสงต่ำ การเห็นเกิดจากสัญญาณที่มาจากเซลล์รูปแท่งเท่านั้น ซึ่งอธิบายว่า ทำไมเราจึงไม่สามารถเห็นภาพสีได้ในที่สลัว ซึ่งก็คือเพราะมีแต่เซลล์รูปแท่งเท่านั้นที่ทำงานได้ในระดับแสงนั้น และเซลล์รูปกรวยเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพสี ส่วนเซลล์รูปกรวยต้องใช้แสงระดับที่สูงกว่ามาก (คือต้องมีโฟตอนมากระทบมากกว่า) ก่อนที่จะเกิดการทำงาน ในมนุษย์ มีเซลล์รูปกรวยสามประเภท จำแนกโดยการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงที่ต่าง ๆ กัน การเห็นสี (ในภาพ) เป็นการประมวลผลจากสัญญาณที่มาจากเซลล์รูปกรวยสามประเภทเหล่านี้ โดยน่าจะผ่านกระบวนการ opponent process เซลล์รูปกรวยสามอย่างนี้ตอบสนอง (โดยคร่าว ๆ) ต่อแสงที่มีความยาวคลื่นขนาดสั้น (S) ขนาดกลาง (M) และขนาดยาว (L) ให้สังเกตว่า การยิงสัญญาณของเซลล์รับแสงนั้นขึ้นอยู่เพียงกับจำนวนโฟตอนที่ได้รับเท่านั้น (กำหนดโดยทฤษฎี principle of univariance) ส่วนการตอบสนองที่ต่าง ๆ กันของเซลล์รูปกรวยขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ของโปรตีนรับแสงของเซลล์ที่จะดูดซึมแสงที่ความยาวคลื่นนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เซลล์รูปกรวยแบบ L มีโปรตีนรับแสงที่ดูดซึมแสงที่มีความยาวคลื่นขนาดยาว (หรือออกสีแดง ๆ) แม้ว่า แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าอาจจะทำให้เกิดการตอบสนองในระดับเดียวกัน แต่จะต้องเป็นแสงที่สว่างกว่ามาก จอประสาทตามมนุษย์มีเซลล์รูปแท่งประมาณ 120 ล้านเซลล์ และมีเซลล์รูปกรวยประมาณ 6 ล้านเซลล์ สัตว์ต่าง ๆ สปีชีส์มีอัตราส่วนของเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า เป็นสัตว์กลางวันหรือสัตว์กลางคืน นอกจากเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยแล้ว ยังมี retinal ganglion cell (ตัวย่อ RGC) ประมาณ 1.5 เซลล์ในมนุษย์ และมี 1-2% ที่ไวแสง บทความนี้กล่าวถึงเซลล์รับแสงของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เซลล์รับแสงของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่นแมลงและมอลลัสกามีความแตกต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งในโครงสร้างและในกระบวนการเคมีชีว.

ดู ความน่าจะเป็นและเซลล์รับแสง

Representativeness heuristic

Representativeness heuristic (ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน) เป็นฮิวริสติกที่ใช้ประเมินความน่าจะเป็นของเหตุการณ์หนึ่งเมื่อมีความไม่แน่ใจ เป็นหลักการโดยทั่วไปที่เราตัดสินโอกาสเป็นไปได้ของเหตุการณ์ โดยพิจารณาว่าสมมุติฐานของเรานั้น เหมือนกับข้อมูลที่มีอยู่มากแค่ไหน การประเมินโดยวิธีนี้อาจจะทำให้เราละเลยอัตราพื้นฐาน (base rate) และ/หรือเกิดความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทนเป็นหนึ่งในกลุ่มฮิวริสติก (คือกฎที่ใช้เพื่อทำการประเมินและการตัดสินใจ) ที่เสนอโดยนักจิตวิทยา แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 มีการพรรณนาถึงฮิวริสติกว่าเป็น "ทางลัดในการประเมิน ที่โดยทั่วไปช่วยให้เราไปถึงที่หมายได้ และอย่างรวดเร็ว แต่มีราคาคือบางครั้งส่งเราไปผิดที่" ฮิวริสติกมีประโยชน์เพราะว่าช่วยทำการตัดสินใจให้ง่ายขึ้นและไม่ต้องใช้ทรัพยากรทางสมองมาก คำว่า "ความเป็นตัวแทน" (Representativeness) ในบทความนี้ใช้โดยสามารถหมายถึง.

ดู ความน่าจะเป็นและRepresentativeness heuristic

1

1 (หนึ่ง) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพที่แทนจำนวนนั้น หนึ่งแทนสิ่งสิ่งเดียว หน่วยในการนับหรือการวัด ตัวอย่างเช่น ส่วนของเส้นตรงของ "ความยาวหนึ่งหน่วย" คือส่วนของเส้นตรงของความยาวเท่ากับ 1.

ดู ความน่าจะเป็นและ1

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ProbabilitiesProbability

ทฤษฎีเมเชอร์ทิกเกตทูไรด์ (เกมกระดาน)ขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์ข้อความคาดการณ์จำนวนเฉพาะคู่แฝดคริสต์สหัสวรรษที่ 2ความสมเหตุสมผลเชิงสถิติของข้อสรุปความจำเชิงกระบวนวิธีความฉลาดแบบกลุ่มความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผลความน่าจะเป็นเท่ากันความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกความเสี่ยงสัมพัทธ์ความเหมาะสมความเอนเอียงทางประชานความเอนเอียงในการตีพิมพ์ความเอนเอียงเพื่อยืนยันคัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์คำให้การพิเศษคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์การเงินคณิตศาสตร์มูลฐานคณิตศาสตร์เชิงการจัดคดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ค่าคาดหมายค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานงานศึกษาแบบสังเกตตรรกศาสตร์คลุมเครือตัวกรองของบลูมตัวแปรกวนตารางของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์ปราบดา หยุ่นปรากฏการณ์การวางกรอบปัญญาประดิษฐ์ปัญหาการยุติการทำงานปัญหามอนตี ฮอลล์ปัญหาวันเกิดนัยสำคัญทางคลินิกแบล็กแคต (ตัวละคร)แบ็กแกมมอนแผนภาพเวนน์โรคซึมเศร้าไพป์เกมวัดดวงเยื่อคลุมเหตุการณ์ (ความน่าจะเป็น)เหตุผลวิบัติของนักการพนันเหตุผลวิบัตินักแม่นปืนชาวเทกซัสเหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐานเจโรลาโม การ์ดาโนเซลล์รับแสงRepresentativeness heuristic1