โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คลอง

ดัชนี คลอง

ลองในประเทศฝรั่งเศส คลอง (canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำเริ่มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนนและทางรถไฟ ทำให้คลองในหลายสถานที่ไม่ได้รับความดูแล เกิดความเน่าเสียได้ง่าย ในหลายๆเมือง ได้นำคลองมาใช้ในการนันทนาการแทนที่ โดยมีการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีความเชื่อว่าบนดาวอังคารได้มีคลอง.

88 ความสัมพันธ์: บันยิปพ.ศ. 2502พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกกสามเหลี่ยมใหญ่การขนส่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมกุ้งก้ามกรามกุ้งยับบี้น้ำจืดกุ้งตะกาดก๋วยเตี๋ยวเรือฝนมดคันไฟอิวิคต้ารายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558วัดพานิชธรรมิการามวัดญาณเวศกวันวัดคุ้งยางใหญ่วัดปรมัยยิกาวาสวัดโชติทายการามวงศ์ย่อยตะพาบวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยศึกลำน้ำเลือดสกีดามสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9สวนโบราณแห่งซูโจวออตตาวาอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้วอุโมงค์ธารน้ำถนนออร์ชาร์ดถนนเยาวราชทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยทะเลสาบสงขลาที่สุดในประเทศไทยคลองบนดาวอังคารคลองช็องกเยช็อนคลองขุดคลองเดินเรือสมุทรตลาดตะพาบสวนตำบลหลุมข้าว (อำเภอโคกสำโรง)ตี๋ใหญ่ซัปโปโระประตูระบายน้ำปลาบู่รำไพปลาพรมปลากระทิง (สกุล)ปลากระเบนอเมซอนหางยาว...ปลากริมปลาสังกะวาดปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ปลาจีดเขมราฐปลาที่มีครีบเป็นพู่ปลาคิลลี่ฟิชปลาตองปลาตะพัดปลาซิวหนวดยาวปลาน้ำกร่อยปลาน้ำฝายปลาน้ำจืดปลาแขยงจุดปลาแปบปลาไหลแดงปลาเสือพ่นน้ำนกอัญชันคิ้วขาวนากใหญ่ขนเรียบนากเล็กเล็บสั้นน้ำ (โมเลกุล)แม่น้ำแม่น้ำบางขามแม่น้ำตาปีแม่น้ำน้อยแยกบ้านขมิ้นแหล่งน้ำโครงสร้างพื้นฐานเกาะเกร็ดเม็กซิโกซิตีเส้นทางการค้าเหยี่ยวดำเทศบาลตำบลคูเต่าเทศบาลตำบลเนินมะปรางเขตจตุจักรเขตทวีวัฒนาเต่าบินเปอร์ซิวัล โลเวลล์25 เมษายน ขยายดัชนี (38 มากกว่า) »

บันยิป

ันยิป บนหนังสือพิมพ์ อิลลัสสเตรส ออสเตรเลียน นิวส์ ในปี ค.ศ. 1890 บันยิป หรือ เคียนปราตี (Bunyip, Kianpraty) เป็นชื่อเรียกสัตว์ประหลาดในตำนานพื้นบ้านของชาวอะบอริจินส์ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของออสเตรเลีย บันยิปถูกอธิบายถึงรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันมากมาย เช่น หน้าแบนเหมือนสุนัขพันธุ์บูลด็อกและหางเหมือนปลา หรือคอยาวและมีจะงอยปากเหมือนนกอีมูและมีขนแผงคอที่ห้อยย้อยลงมาเหมือนงูทะเล หรือแม้แต่กระทั่งเหมือนมนุษย์ โดยความเชื่อเรื่องบันยิปนี้มีกระจายไปทั่วออสเตรเลี.

ใหม่!!: คลองและบันยิป · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2502

ทธศักราช 2502 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1959 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คลองและพ.ศ. 2502 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: คลองและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษ.

ใหม่!!: คลองและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กกสามเหลี่ยมใหญ่

กกสามเหลี่ยมใหญ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Actinoscirpus grossus, coarse bullrush, greater club rush) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์กก มีอายุยืนหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม เจริญเติบโตเป็นกอ มีลำต้นใต้ดินแตกไหลได้ พุ่มสูงตั้งแต่ 1-2 เมตร ใบของกกสามเหลี่ยมใหญ่ค่อนข้างแข็ง แผ่นใบแคบ มีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อชนิดโคริมบ์ ประกอบด้วยช่อดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยไม่มีก้านดอก เกิดลักษณะเวียนรอบก้านดอกอย่างหนาแน่น เมื่อยังเป็นดอกอ่อนจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ดอกออกช่วงเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม แต่อาจถึงเดือนตุลาคมได้ ขยายพันธุ์โดยใช้ไหลหรือเมล็ด จากเว็บไซด์โครงการอนุรักษ์พันธู์พืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สืบค้นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553 กกสามเหลี่ยมใหญ่พบในบริเวณที่มีน้ำขัง อ่างเก็บน้ำ บ่อเลี้ยงปลา และตามคลองส่งน้ำ พบได้ตั้งแต่ประเทศตุรกี อินเดีย บังคลาเทศ เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา ภูฏาน จีน (มณฑลกวางตุ้งและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) ญี่ปุ่น กกสามเหลี่ยมใหญ่เป็นพืชท้องถิ่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงออสเตรเลีย (นอร์เทิร์นเทร์ริทอรีและรัฐควีนส์แลนด์) รวมทั้งประเทศไทยซึ่งพบได้ทุกภาค จาก Weed Science Society of America (WSSA), สืบค้นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553 กกสามเหลี่ยมใหญ่สามารถนำมาทอเสื่อ จักสานเป็นฝาบ้าน ฝ้าเพดานหรือหลังคาบ้าน นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็นตะกร้าและกระเป๋าได้.

ใหม่!!: คลองและกกสามเหลี่ยมใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

การขนส่ง

รถไฟฟ้า ระบบขนส่งมวลชน การขนส่ง คือการเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การขนส่งแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ดังนี้ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และ อื่น.

ใหม่!!: คลองและการขนส่ง · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

รงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ภาพ ''เหล็กและถ่านหิน'' โดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์, ค.ศ. 1855-60 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) คือช่วงเวลาตั้งแต..

ใหม่!!: คลองและการปฏิวัติอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกราม หรือ กุ้งก้ามคราม กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Palaemonidae มีเปลือกสีเขียวอมฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีสีครามหรือม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ในทุกประเทศของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลียและฟิลิปปินส์ โดยพบทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน, ตัวอ่อนของลูกน้ำ, ลูกไร, ลูกปลาขนาดเล็ก, ซากของสัตว์ต่าง ๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ แถบภาคกลางของไทย เช่น สุพรรณบุรี, นครปฐม, ฉะเชิงเทรา และต่างประเทศด้วย เช่น ที่สหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยที่กุ้งก้ามกรามชนิดที่พบในประเทศไทย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า M. dacqueti ส่วนชนิดที่ใช้ชื่อว่า M. rosenbergii เป็นชนิดที่พบในภูมิภาคปาปัวนิวกินี แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือเป็นชื่อพ้อง กุ้งก้ามกรามมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักราว 1 กิโลกรัม เป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ, เผา หรือทอด เป็นต้น เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบันยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามด้วย กุ้งก้ามกรามมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปมากมาย เช่น "กุ้งแม่น้ำ", "กุ้งหลวง" ขณะที่กุ้งตัวเมียที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า เรียก "กุ้งนาง" เป็นต้น.

ใหม่!!: คลองและกุ้งก้ามกราม · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งยับบี้น้ำจืด

กุ้งยับบี้น้ำจืด (Yabby, Maroon) เป็นสกุลของกุ้งน้ำจืดจำพวกเครย์ฟิชสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Cherax ในวงศ์เครย์ฟิชออสเตรเลีย (Parastacidae) กระจายพันธุ์ในประเทศออสเตรเลีย และบางส่วนในปาปัวนิวกินี มีรูปร่างโดยรวม คือ ตัวผู้มีก้ามขนาดใหญ่ แต่เรียวยาวไม่ใหญ่โตเหมือนเครย์ฟิชในวงศ์ Astacoidea และไม่มีหนามที่ก้าม ใต้ท้องตัวผู้จะมีอวัยวะเป็นรูปวงรีบริเวณโคนขาคู่ที่ 3 ซึ่งตัวเมียไม่มีและในวงศ์ Astacoidea ไม่มี ซึ่งอวัยวะส่วนนี้จะใช้สำหรับการผสมพันธุ์ และถ่ายสเปิร์มไปยังตัวเมีย โดยใช้เวลาผสมพันธุ์เพียงแค่ 1-2 นาทีเท่านั้น ตัวเมียวางไข่ได้ครั้งละ 300 ฟอง อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้ง คลอง, ลำธาร, แม่น้ำตลอดจนทะเลสาบ มีสีสันแตกต่างหลากหลายกันไป บางชนิดสามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้ในช่วงฤดูแล้ง ด้วยการฝังตัวเองลงใต้โคลน เพื่อจนฝนตกลงมาอีกครั้งจึงค่อยโผล่ออกมา เป็นกุ้งที่ใช้ในการบริโภค มีการเพาะขยายพันธุ์ในฟาร์มของเอกชนอย่างกว้างขวาง และมีการเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามแบบปลาสวยงามด้วย ซึ่งในบางชนิดก็มีการหลุดรอดออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นCrayfish คืออะไร???? หน้า 82-90 โดย นณณ์ ผาณิตวงศ์ นิตยสาร AQUA ฉบับเดือนกันยายน..

ใหม่!!: คลองและกุ้งยับบี้น้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งตะกาด

กุ้งตะกาด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Metapenaeus affinis) อยู่ในวงศ์ Penaeidae เป็นกุ้งขนาดกลาง กรียาวตรง มีฟันด้านบน 8-9 อัน ด้านล่างไม่มีฟัน สันท้ายกรียาวประมาณร้อยละ 75 ของเปลือกหัว สันที่ปล้องท้องตั้งแต่ปล้องที่ 4-6 ส่วนกลางของอวัยวะเพศเมียรูปวงรี ด้านข้างโค้งและยกตัวสูงขึ้นสี น้ำตาลอ่อน กรีและรยางค์ต่าง ๆ สีน้ำตาลแดง บางตัวมีสีแดงบริเวณด้านล่างของส่วนหัว ระยางค์และแพนหางสีแดงคล้ำ.

ใหม่!!: คลองและกุ้งตะกาด · ดูเพิ่มเติม »

ก๋วยเตี๋ยวเรือ

ก๋วยเตี๋ยวเรือ ก๋วยเตี๋ยวเรือ หรือ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก คือก๋วยเตี๋ยวแบบไทยชนิดหนึ่ง มีรสชาติจัดจ้าน น้ำก๋วยเตี๋ยวสีข้นคล้ายก๋วยเตี๋ยวเนื้อหรือก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น เพราะใส่เครื่องปรุงที่ต่างจากก๋วยเตี๋ยวชนิดอื่น คือ ซีอิ๊วดำ เต้าหู้ยี้ และ เครื่องเทศต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งยังมี น้ำตก คือ เลือดวัวหรือหมูผสมกับเกลือ สำหรับปรุงใส่ในน้ำก๋วยเตี๋ยว ก๋วยเตี๋ยวเรือ มีทั้งก๋วยเตี๋ยวเนื้อ และ ก๋วยเตี๋ยวหมู เป็นก๋วยเตี๋ยวที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมานาน ในสมัยก่อน จะขายในเรือพายตามคลอง จึงเป็นที่มาของชื่อ ชามที่ใส่จะมีลักษณะเล็ก ปัจจุบัน ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ก๋วยเตี๋ยวหันมาเปิดร้านบนบกในอาคารพาณิชย์แทน แต่ก็ยังไม่ละทิ้งสัญลักษณ์ของความเป็นก๋วยเตี๋ยวเรือ โดยจะใช้เรือตั้งอยู่หน้าร้าน และชามก็ยังใช้เป็นชามขนาดเล็กอยู่ การรับประทานก๋วยเตี๋ยวเรือ นิยมรับประทานกับกากหมูหรือแคบหมู และ ใบกะเพรา หรือ โหระพาเพื่อดับกลิ่นคาว แหล่งที่มีก๋วยเตี๋ยวเรือขึ้นชื่อ ได้แก่ รังสิต ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา และ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูม.

ใหม่!!: คลองและก๋วยเตี๋ยวเรือ · ดูเพิ่มเติม »

ฝน

ฝนกำลังตก ฝน เป็นการตกของน้ำจากฟ้าแบบหนึ่ง นอกจากฝนแล้ว น้ำยังตกในรูปหิมะ เกล็ดน้ำแข็ง ลูกเห็บ น้ำค้าง ฝนอยู่ในรูปหยดน้ำซึ่งตกมายังพื้นผิวโลกจากเมฆ ฝนบางส่วนระเหยเป็นไอก่อนตกลงถึงผิวโลก ฝนชนิดนี้เรียกว่า "virga" ฝนที่ตกเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของวัฏจักรของน้ำ ซึ่งน้ำจากผิวน้ำในมหาสมุทรระเหยกลายเป็นไอ ควบแน่นเป็นละอองน้ำในอากาศ ซึ่งรวมตัวกันเป็นเมฆ และในที่สุดตกเป็นฝน ไหลลงแม่น้ำ ลำคลอง ไปทะเล มหาสมุทร ปริมาณน้ำฝนนั้นวัดโดยใช้มาตรวัดน้ำฝน โดยวัดความลึกของน้ำที่ตกสะสมบนพื้นผิวเรียบ สามารถวัดได้ละเอียดถึง 0.25 มิลลิเมตร บางครั้งใช้หน่วย ลิตรต่อตารางเมตร (1 L/m².

ใหม่!!: คลองและฝน · ดูเพิ่มเติม »

มดคันไฟอิวิคต้า

มดคันไฟอิวิคต้า (Red imported fire ant) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solenopsis invicta; invicta เป็นภาษาละตินแปลว่า "ไม่อาจเอาชนะได้"อยู่ในวงศ์ Formicidae มดคันไฟอิวิคต้า ถูกตีพิมพ์โดยบูเรน(Buren) ในปี..

ใหม่!!: คลองและมดคันไฟอิวิคต้า · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ตัดกันระหว่างคลองบางน้อย กับคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน คลองในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1,161 คลอง และคูลำกระโดง จำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง ความยาว 2,604 กม.

ใหม่!!: คลองและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

ูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก..

ใหม่!!: คลองและฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

วัดพานิชธรรมิการาม

วัดพานิชธรรมิการาม เป็นวัดในตำบลหนองเต่า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: คลองและวัดพานิชธรรมิการาม · ดูเพิ่มเติม »

วัดญาณเวศกวัน

วัดญาณเวศกวัน (ซึ่งบางคนอ่านเป็น วัดดอนเมือง) ตั้งอยู่เลขที่ 10 หมู่ที่ 3 ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้รับอนุญาตเป็นทางการ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2532 เริ่มมีพระสงฆ์เข้าจำพรรษาในปีเดียวกันนั้น และมีประกาศตั้งเป็นวัดในปี พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2542 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นเจ้าอาวาสสืบมาแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ภายในเนื้อที่ 28 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา ร่มรื่นด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่ ผลิดอกออกใบอยู่ทั่วบริเวณ โอบล้อมด้วยบรรยากาศ แห่งธรรมชาติที่เกื้อกูลกันระหว่างสรรพชีวิต เป็นรมณียสถานที่ให้ความสดชื่นผ่อนคลาย สงบเย็น แก่ผู้ที่แวะเวียนเข้ามาพักพิง ด้วย ความตั้งใจที่จะให้อารามแห่งนี้เป็นป่าที่เหมาะแก่การเข้ามาแสวงหาความรู้ เจริญธรรม เจริญปัญญา สมดังชื่อ "ญาณเวศกวัน" อันมี ความหมายว่า "ป่าที่มีเรือนแห่งความรู้" หรือ "ป่าของผู้เข้าสู่ญาณ" พื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดจึงมีไว้สำหรับต้นไม้มากกว่าสิ่งปลูกสร้าง เพราะธรรมชาติที่อยู่รายล้อมรอบตัวคือแหล่งการศึกษาเรียนรู้อันกว้างใหญ่ ล้ำลึก เป็นธรรมะใกล้ตัวที่ผู้มีปัญญาจะพึงค้น.

ใหม่!!: คลองและวัดญาณเวศกวัน · ดูเพิ่มเติม »

วัดคุ้งยางใหญ่

วัดคุ้งยางใหญ่เป็นวัดในสังกัดของคณะสงฆ์มหานิกาย ที่มีประวัติความเป็นในนับแต่ครั้งอดีต และศูนย์กลางของชุมชนชาวพุทธที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ที่วัดคุ้งยางใหญ่พระพุทธรูปศิลปสุโขทัย ที่เป็นมรดกตกทอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย จำนวน 3 องค์ ที่ชาวบ้านสวนเรียกว่า "หลวงพ่อสามพี่น้อง" ซึ่งเป็นสิ่งการะและเคารพของชาวบ้านสวนนับแต่ครั้งอดีต.

ใหม่!!: คลองและวัดคุ้งยางใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

วัดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า "เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง" ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพญาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า "วัดของพระบรมอัยยิกา" สิ่งสำคัญภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประยุกต์ บานประตูหน้าต่างประดับ ลายปูนปั้นเขียนด้วยสี กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถมีลวดลายที่สวยงาม เป็นกำแพงเหล็กอย่างดีทำมาจากยุโรป อีกทั้งด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์รูปทรงแบบมอญซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหารามัญเจดีย์นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2427 และใกล้กันนั้นมีพระวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่เป็นที่สามในอำเภอปากเกร็ด ส่วนด้านหน้าพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่งพระปฏิมากรซานซิวซูนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมี "พระนนทมุนินท์" เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 1.65 เมตร หล่อด้วยโลหะ พระศาสนโสภณ (อ่อน) เจ้าคณะมณฑลกรุงเทพสร้างเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรี พระยาราชสงครามเป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ด้านใต้พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร มีประเพณีของเมืองสืบมาว่า เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ได้จัดพิธีรับอย่างเป็นทางการพร้อมมีพิธีนมัสการพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรีที่วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรีประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก ใต้พาไล ด้านหลังพระวิหารแห่งนี้ด้วย วัดมอญเก่าแก่แห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงามากมาย ทั้งยังมีม้านั่งสำหรับชมทัศนียภาพอันสวยงามริมเกาะอีกด้วย นับได้ว่า เป็นวัดที่เชิดหน้าชูตาของชาวเกาะเกร็ดเป็นอย่างมากทีเดียว.

ใหม่!!: คลองและวัดปรมัยยิกาวาส · ดูเพิ่มเติม »

วัดโชติทายการาม

วัดโชติทายการาม เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ที่ 1 ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก.

ใหม่!!: คลองและวัดโชติทายการาม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยตะพาบ

วงศ์ย่อยตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า ในวงศ์ใหญ่ Trionychidae หรือ ตะพาบ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychinae ลักษณะโดยรวมของตะพาบในวงศ์ย่อยนี้ คือ กระดูกฮัยโปพลาสทรอนไม่เชื่อมรวมกับกระดองท้อง และกระดองท้องไม่มีแผ่นกระดูกบริเวณต้นขา มีขนาดตั้งแต่ความยาวกระดองประมาณ 20-25 เซนติเมตร ไปจนถึง 1.5 เมตร หรือเกือบ ๆ 2 เมตร น้ำหนักนับร้อยกิโลกรัม มีพฤติกรรมหากินและอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นท้องน้ำ ว่ายน้ำเพื่อแสวงหาอาหาร เนื่องจากมีลำตัวแบนราบจึงว่ายน้ำได้ดี หรืออาจใช้วิธีการฝังตัวอยู่ใต้โคลนหรือทรายใต้พื้นน้ำเพื่อรอเหยื่อเข้ามาใกล้ บางครั้งอาจฝังตัวในแหล่งน้ำตื้นแล้วโผล่มาแค่ส่วนปลายหัวเพื่อหายใจรวมทั้งใช้ผิวหนังแลกเปลี่ยนแก๊สได้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ, ทะเลสาบ, คลอง มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในลำธารบนภูเขาด้วย แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, แอฟริกากลางไปจนถึงแอฟริกาตะวันตก, ทางใต้ของเอเชียไปจนถึงญี่ปุ่น และเกาะนิวกินี มีประมาณ 20 ชนิด ใน 10 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: คลองและวงศ์ย่อยตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Labyrinth fishes, Gouramis, Gouramies) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์ใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Osphronemidae (/ออฟ-โฟร-นิ-มิ-ดี้/) พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย, หนอง, บึง, นาข้าว หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลอง หรือ แม่น้ำ ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางชนิดตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีเช่น ปลากัด (Betta spendens), ปลากระดี่นางฟ้า (Trichogaster trichopterus) ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) และปลาแรด (Osphronemus goramy) สำหรับปลาแรดซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซี.

ใหม่!!: คลองและวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

ลเจ้าจุ้ยตุ่ย ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย หรือ จุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง (水碓斗母宫) เป็นศาลเจ้าจีนในจังหวัดภูเก็ต คนภูเก็ตเรียกศาลเจ้าว่า อ๊าม ตั้งอยู่ที่ ซอยภูธร ถนนระนอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยความหมาย ของคำว่า จุ้ยตุ่ย จุ้ยแปลว่า น้ำ ตุ่ย แปลว่า ครกตำข้าว สมัยก่อนนั้น หน้าบริเวณศาลเจ้า เป็นคลอง กว้าง มีน้ำมาก ชาวบ้านจึงสร้างกังหันขึ้น เพื่อใช้กำลังจากน้ำมาตำข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว.

ใหม่!!: คลองและศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย · ดูเพิ่มเติม »

ศึกลำน้ำเลือด

ึกลำน้ำเลือด (大運河; The Grand Canal) ซีรีส์จีนฟอร์มยักษ์จาก ทีวีบี ออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี 2530 เพื่อฉลองครบรอบ 20 ปี ของทีวีบีนำแสดงโดยดาราชื่อดังอย่าง เหลียง เฉาเหว่ย หลิวชิงหวิน หวงเย่อหัว.

ใหม่!!: คลองและศึกลำน้ำเลือด · ดูเพิ่มเติม »

สกีดาม

สกีดาม (Schiedam) เป็นเมืองและเทศบาลในจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นส่วนหนึ่งของเขตนครหลวงรอตเทอร์ดาม ตั้งอยู่ทางตะวันตกของรอตเทอร์ดาม ทางตะวันตกของเมืองวลาร์ดิงเงิน ทางใต้ของเมืองเดลฟท์ เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองศูนย์กลางประวัติศาสตร์ที่มีคลองมากมาย มีกังหันลมที่สูงที่สุดในโลก หมวดหมู่:เมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ หมวดหมู่:จังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์.

ใหม่!!: คลองและสกีดาม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9

มเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 347 หรือ พระเจ้าท้ายสระนามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 165 หรือ พระเจ้าภูมินทราชา หรือ พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: คลองและสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

สวนโบราณแห่งซูโจว

วนโบราณแห่งซูโจว เป็นสถานที่ที่มีสวน คลอง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มากมายแบบจีนในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน ซึ่งได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลกโดยโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) สวนโบราณแห่งซูโจวมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากว่า 2,000 ปี ตั้งแต่ก่อนศตวรรษที่ 6 ในยุคชุนชิว ชาวเมืองรู้จักการสร้างและจัดสวนมานานแล้ว ต่อมาช่วงกลางสมัยราชวงศ์หมิงการสร้างสวนของซูโจวเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น จนถึงต้นสมัยราชวงศ์ชิง (ศตวรรษที่ 11-19) มีสวนทั้งในและนอกเมืองซูโจวมากกว่า 200 สวน ซึ่งมักสร้างขึ้นโดยเหล่าเจ้านายชั้นสูง ขุนนาง เศรษฐี และมหาบัณฑิตต่าง ๆ สวนโบราณในเมืองซูโจว แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ สวนในที่พักอาศัย สวนในวัด และสวนชานเมือง โดยมีจำนวนสวนในที่พักอาศัยมากที่สุด ศิลปะในการสร้างสวนแห่งเมืองซูโจวนั้น เป็นผลงานสร้างสรรค์สวนที่มักจะจำลองมาจากธรรมชาติ เช่นหิน เนินเขา และแม่น้ำ โดยมีศาลาหรือเจดีย์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ตามข้อมูลขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) สวนในเมืองซูโจว "ได้แสดงถึงพัฒนาการทางด้านการออกแบบภูมิสถาปัตย์มานานกว่า 2,000 ปี (represent the development of Chinese landscape garden design over more than two thousand years)" นอกจากนั้น สวนเหล่านี้ยัง “เป็นสวนที่ปราณีตสวยงามที่สุด (most refined form)” ในด้านศิลปะการจัดสวน สวนของจีนมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาวัฒนธรรมประเพณีจีนโบราณ สิ่งที่ทำให้สวนซูโจวมีชื่อเสียงมากก็คือการรวมเอาลักษณะของศิลปะต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืนลงตัว ตั้งแต่สถาปัตยกรรม (เช่น ศาลา และสะพาน) สิ่งของตกแต่ง (เช่น ภาพเขียนพู่ำกันจีน ภาพปัก หรือการเขียนอักษรจีนด้วยพู่กัน) การจัดภูมิทัศน์ (เช่น การจัดวางตำแหน่งและรูปแบบของทะเลสาบ ลำธาร ที่สามารถสะท้อนแสงจากดวงจันทร์ได้ดี โดยสระน้ำในสวนจะไม่นิยมรูปแบบที่เป็นเรขาคณิต แต่จะออกแบบทำให้กลมกลืนไปกับส่วนอื่น ๆ โดยเน้นให้เกิดความรู้สึกอันสงบเงียบ) อีกทั้งในด้านการเลือกต้นไม้ที่มีชื่ออันเป็นมงคล (ไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ใบหลากสี รวมทั้งไม้กระถาง และไม้ดัด) โดยมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า สวนซูโจวเน้นเรื่องหินกับน้ำเพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิเหมือนกับสวนเซ็นของญี่ปุ่น มากกว่าจะเป็นการประดับประดาด้วยพันธุ์ไม้หลากสี ปัจจุบันมีสวนจำนวน 69 แห่งในซูโจวที่ได้รับการบูรณะใหม่ โดยสวนเหล่านี้ทุกแห่งได้รับการบันทึกให้เป็น "มรดกของชาติ (National Heritage Sites)" ในปี..

ใหม่!!: คลองและสวนโบราณแห่งซูโจว · ดูเพิ่มเติม »

ออตตาวา

นนในออตตาวา เมืองออตตาวา (Ottawa) เป็นเมืองหลวงของแคนาดาซึ่งเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยความปลอดภัยและด้วยความสวยงามของออตตาวา ทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ ซึ่งมีอยู่มากมายทั่วทั้งเมือง อีกทั้งยังตื่นตาตื่นใจไปกับความบันเทิงหลากหลายรูปแบบในเวลากลางคืน จากการล่องเรือในแม่น้ำออตตาวาช่วงหน้าร้อนไปถึงการเล่นสเกตน้ำแข็งที่คลองรีโด ในช่วงฤดูหนาว ทำให้ออตตาวาเป็นเมืองที่มีกิจกรรมให้ทำตลอดทุกฤดู อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีชีวิตชีวา ปลอดภัย และมีประเพณีต่างๆ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ อนุสาวรีย์ และสวนสาธารณะให้เที่ยวชมเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: คลองและออตตาวา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว

อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองบอน ตำบลช้างทูน ตำบลบ่อพลอย ตำบลนนทรีย์ และตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ก่อนได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานมีฐานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่และป่าเขาไฟไหม้) โดยได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตร.

ใหม่!!: คลองและอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

อุโมงค์

อุโมงค์ในเบลเยี่ยม เดิมเป็นทางรถไฟแต่ปัจจุบันเป็นทางเดินเท้าและจักรยาน ทางเข้าอุโมงค์ถนนในกวานาวาโต, เม็กซิโก อุโมงค์สาธารณูปโภคสำหรับท่อความร้อนระหว่าง Rigshospitalet และ Amagerværket ในโคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก อุโมงค์รถไฟใต้ดินไทเปในไต้หวัน ทางเข้าด้านใต้ยาว 421 เมตร (1,381 ฟุต) อุโมงค์คลอง Chirk อุโมงค์ คือ ทางสัญจรใต้ดิน ใต้น้ำ ที่ขุดลงไปใต้ดินหรือในภูเขา โดยทั่วไปแล้วจะมีความยาวอย่างน้อยมากกว่าความกว้าง 2 เท่า และมีผนังโอบล้อมทุกด้าน โดยมีปลายเปิดในส่วนหัวและส่วนท้าย อุโมงค์อาจเป็นทางเดินเท้าหรือจักรยานลอดใต้ถนนหรือเชื่อมต่ออาคาร แต่โดยทั่วไปเป็นทางสัญจรสำหรับรถยนต์ รถไฟ หรือคลอง บางที่อาจเป็นทางระบายน้ำ ทางส่งน้ำโดยเฉพาะที่ใช้สำหรับไฟฟ้าพลังน้ำหรือท่อระบายน้ำ หรือในวัตถุประสงค์อื่น เช่นงานสาธารณูปโภคได้แก่ท่อประปา ไฟฟ้า เคเบิลสำหรับโทรคมนาคม หรือแม้กระทั่งอุโมงค์ที่ออกแบบสำหรับเป็นทางเดินสัตว์ป่าสำหรับสัตว์ในยุโรป ที่อาจเป็นอันตราย บางอุโมงค์ลับก็ใช้สำหรับเป็นทางออกสำหรับหนีภัย อุโมงค์บางแห่งไม่ได้เป็นทางสัญจรแต่เป็นป้อมปราการก็มี อย่างไรก็ตามท่อที่ใช้ในการขนส่ง (transport pipeline) ไม่เรียกว่าเป็นอุโมงค์เนื่องจากบางอุโมงค์สมัยใหม่ได้ใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบ immersed tube (ทำท่อสำเร็จเป็นช่วง ๆ บนดินแล้วนำไปจมที่ไซท์งาน) แทนที่จะใช้วิธีขุดเจาะแบบเดิม.

ใหม่!!: คลองและอุโมงค์ · ดูเพิ่มเติม »

ธารน้ำ

ลำธารน้ำตก ลำธาร (Brook, Stream) เป็นแหล่งน้ำประเภทหนึ่ง ที่เป็นทางน้ำที่จัดได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำ ลำธารจะเป็นแหล่งน้ำที่ตาน้ำพุดน้ำไหลมาบนผิวดินหรือซึมออกจากดินให้ระบายลงสู่ลำน้ำและไหลไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นทางน้ำที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น คลอง ไปจนถึงเป็นแม่น้ำ โดยมากแล้ว ลำธารมักจะอยู่บนภูเขาในพื้นที่ ๆ เป็นป่าดิบชื้นหรือไหลลงมาจากน้ำตก โดยคุณภาพของน้ำในลำธารจะใส มีอุณหภูมิที่เย็น และมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำในอัตราที่สูง ในประเทศไทย พื้นที่เป็นที่ลำธารเหนือลุ่มแม่น้ำปิงมีพื้นที่รวมประมาณ 26,390 ตารางกิโลเมตร เมื่อมีฝนตกภายในพื้นที่ลุ่มน้ำดังกล่าว น้ำที่ไหลอยู่บนผิวดินรวมกับน้ำที่ไหลซึมออกจากดินก็จะไหลลงลำธาร และไหลลงสู่แม่น้ำปิงไปยังอ่างเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพล เป็นต้น.

ใหม่!!: คลองและธารน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนออร์ชาร์ด

นนออร์ชาร์ต ถนนออร์ชาร์ด (Orchard Road) เป็นถนนในสิงคโปร์ ที่เป็นศูนย์รวมของร้านค้าและสิ่งบันเทิง แหล่งช็อปปิ้ง ซึ่งได้รับความนิยมจากชาวสิงคโปร์และเช่นเดียวกันกับนักท่องเที่ยว มักจะเรียกบริเวณนี้อย่างง่ายว่า ออร์ชาร์ด ถนนถูกตั้งชื่อตามสวนพริกไทยและจันทน์เทศ แต่เดิมในช่วงปี 1840 โดยในอดีตเป็นที่ทำการเพาะปลูกพืชสวน มีเจ้าของชื่อ Scotts, Cairnhill และ Cuppage (ในปัจจุบันเป็นชื่อถนนในละแวกเดียวกัน) ต่อมาในปี 1900 เกิดโรคระบาดทำลายพืชผลเสียหายไป เจ้าของจึงต้องอพยพออกไป จนรัฐบาลเริ่มเข้ามาฟื้นฟูและขุดคลอง ในยุคปี 1970 มีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ขึ้นตามแนวถนน ไล่จาก C. K. Tangs, Plaza Singapura และโรงแรม the Mandarin Hotel จนเกิดเอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอมเพล็กซ์ ขึ้นมาในเวลาต่อม.

ใหม่!!: คลองและถนนออร์ชาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเยาวราช

รรยายกาศของเยาวราชยามค่ำคืนและร้านอาหารริมทาง ถนนเยาวราช (Thanon Yaowarat; 耀華力路) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2443 เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช" ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น วงเวียนโอเดียน, ถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ (สี่แยกเฉลิมบุรี), ถนนราชวงศ์ (สี่แยกราชวงศ์) และถนนจักรวรรดิ (สี่แยกวัดตึก) ข้ามคลองรอบกรุง (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สิ้นสุดที่แยกถนนพีระพงษ์ตัดกับถนนมหาไชยและถนนจักรเพชร บริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า, การเงิน การธนาคาร, ร้านทอง, ภัตตาคาร ร้านอาหาร, ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครโดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชนาทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และถือว่าเป็นไชนาทาวน์หรือชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: คลองและถนนเยาวราช · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างมากมาย และยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ แบ่งออกเป็น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรแร่ธาต.

ใหม่!!: คลองและทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบสงขลา

ทะเลสาบสงขลา หรือ ทะเลสาบพัทลุง หรือ ทะเลสาบลำปำ (ชื่อที่เรียกในเขตจังหวัดพัทลุง) เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกันถึง 3 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง อำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอควนขนุน, จังหวัดสงขลา ในเขตอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมืองสงขลา อำเภอควนเนียง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ทะเลสาบสงขลาตอนล่างมีเกาะขนาดใหญ่อยู่เกาะหนึ่ง คือ เกาะยอ และมีเกาะต่าง ๆ อีก ที่เป็นแหล่งสัมปทานเก็บรังนก คือ เกาะสี่ เกาะห้.

ใหม่!!: คลองและทะเลสาบสงขลา · ดูเพิ่มเติม »

ที่สุดในประเทศไทย

ติที่สุดในประเทศไทยเรื่องต่าง.

ใหม่!!: คลองและที่สุดในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

คลองบนดาวอังคาร

ลองบนดาวอังคาร เป็นความเชื่อในสมัยก่อนที่เข้าใจว่ามีคลองอยู่บนดาวอังคาร โดยในปี..1887 นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ จิโอวานนี่ สกายอาพาเลนลี ประกาศว่าเขาได้มองเห็นเส้นตรงขนาดยาวหลายเส้นบนดาวอังคารและเรียกสิ่งนี้ว่า 'คาแนล' ประมาณหลายปีต่อมา เพอร์ซิวาล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชวนให้ผู้คนเชื่อว่าเส้นยาวเหล่านี้เป็นคลองที่สร้างเพื่อทดน้ำโดยมนุษย์ดาวอังคารผู้มีสติปัญญาซึ่งเป็นเรื่องฮือฮากันถึงมนุษย์ต่างดาวที่อยู่ในระบบสุริยะอันเป็นที่มาของเรื่องวุ่นวายหลายๆเรื่อง ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ทุกคนทราบว่าเป็นความเข้าใจผิด เพราะไม่มีคลองบนดาวอังคารที่มองเห็นได้จากโลก ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ทราบว่าน้ำบนดาวอังคารมีจริงแต่อยู่ในรูปของน้ำแข็ง.

ใหม่!!: คลองและคลองบนดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

คลองช็องกเยช็อน

วลาค่ำคืน ใจกลางโซล คลองช็องกเยช็อน (청계천) เป็นคลองโบราณในสมัยราชวงศ์โชซ็อน อายุกว่า 600 ปี ความยาวประมาณ 5.84 กิโลเมตร ไหลผ่านย่านใจกลางโซล แต่ในช่วงค.ศ. 1957-ค.ศ. 1977 ได้มีการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด ทำให้คลองถูกถมลงเป็นถนนและทางด่วน เกิดตึกสูงมากมาย คลองช็องกเยช็อนก็เริ่มเน่าเสียและตื้นเขิน เรียงไปด้วยชุมชนแออัด กระทั่งปี ค.ศ. 2002 นายอี มย็อง-บักได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่าการโซล เขาได้เสนอโครงการฟื้นฟูคลองช็องกเยช็อน โดยมีพ่อค้าแม่ค้าและประชาชนต่อต้านจำนวนมาก จนต้องมีการประชุมร่วมกันมากกว่า 4,300 ครั้ง แต่โครงการก็เริ่มขึ้นได้ด้วยดีในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 โดยเริ่มทุบทางด่วน และรื้อถนนโดยรอบมากมาย จนแล้วเสร็จในปีค.ศ. 2005 มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ท่ามกลางประชาชนเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ใช้งบประมาณกว่า 380,000,000,000 วอน (3 แสน 8 หมื่นล้านวอน)หรือราว ๆ 1 หมื่นล้านบาท พร้อมกับฟื้นฟูธรรมชาติสองฝั่งคลอง ตลิ่งถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม และใช้วิธีขุดท่อผันน้ำจากแม่น้ำฮันเข้ามาที่ต้นคลอง แล้วไล่น้ำเสียออกทะเล มีการสร้างน้ำพุตลอดแนว เขื่อนชะลอความเร็วน้ำ ลานกิจกรรม ที่พักผ่อน และมีน้ำตกเป็นแนวกั้นน้ำฝน มีทางเดินเลียบคลอง และสะพานกว่า 22 แห่ง ซึ่งจัดให้ประชาชนร่วมออกแบบสะพานประกวด ทำให้สะพานทุกแห่งล้วนมีรูปแบบที่ไม่ซ้ำกัน และแสดงออกถึงความเป็นเกาหลี ส่งผลให้พื้นที่โดยรอบมีราคาเพิ่มสูงขึ้น กลายเป็นแหล่งที่อยู่ของคนรวย สำนักงานบริษัทชั้นนำ และคลองช็องกเยช็อนแห่งนี้ยังได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในโซล.

ใหม่!!: คลองและคลองช็องกเยช็อน · ดูเพิ่มเติม »

คลองขุด

ลองขุด อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คลองและคลองขุด · ดูเพิ่มเติม »

คลองเดินเรือสมุทร

ลองปานามา คลองเดินเรือสมุทร (Ship canal) เป็นคลองที่วางแผนเอาไว้โดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เรือที่ใช้มหาสมุทร ทะเล หรือทะเล.

ใหม่!!: คลองและคลองเดินเรือสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ตลาด

ตลาดสดในสิงคโปร์ ตลาด เป็นการชุมนุมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในภาษาทั่วไป ตลาดหมายความรวมถึงสถานที่ที่มนุษย์มาชุมนุมกันเพื่อค้าขาย ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ การค้าขายของไทยสมัยก่อนนั้น เน้นทางน้ำเป็นหลัก เพราะการคมนาคมทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของคนไทย ซึ่งอาจจะเห็นได้จากการมีตลาดน้ำต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการตามความถนัดของแต่ละครอบครัว เป็นแหล่งรายได้ที่สุจริตของแต่ละครอบครัว เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในชุมชนรวมถึงจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนด้วย และยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในระดับชุมชน รวมถึงการช่วยธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีในชุมชน ในกรณีของชุมชนที่มีวัฒนธรรมความเป็นมา จากการที่กลุ่มคนในชุมชนมีการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีด้วยกัน คำว่า "ตลาด" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ยี่สาร" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "บาซาร์" ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งแปลว่า "ตลาด" ตามชาวเปอร์เซียเริ่มเข้ามาในประเทศไทยสมัยพระเจ้าปราสาททอง.

ใหม่!!: คลองและตลาด · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบสวน

ตะพาบสวน หรือ ตะพาบธรรมดา หรือ ตะพาบไทย (อังกฤษ: Asiatic softshell turtle, Malayan softshell turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง เป็นตะพาบชนิดที่พบได้บ่อยและทั่วไปที่สุดในประเทศไทย นอกจากนั้นยังพบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, พม่า, สิงคโปร์, มาเลเซีย, บรูไน และอินโดนีเซีย จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Amyda ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน มีลักษณะสีกระดองสีเขียว ใต้ท้องสีขาว ขนาดกระดองเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 75 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 35 กิโลกรัม โดยมีบันทึกว่ามีน้ำหนักสูงสุดถึง 40 กิโลกรัมที่เวียดนาม เมื่อยังเล็กกระดองมีสีเทาเข้มหรือเกือบดำ และมีจุดสีเหลืองเล็ก ๆ ประปรายทั้งกระดอง บนกระดองยังมีลายคล้ายดาว 4 - 5 แห่ง ท้องมีสีขาว มีขนาดเล็กและอ่อนนุ่ม พบได้ทั่วไปในทุกภาค ในแม่น้ำลำคลองและในท้องร่องสวน ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาฝา" สถานภาพปัจจุบัน หาได้น้อยมาก ได้ถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ผู้คนโดยเฉพาะคนจีนนิยมบริโภคมาก เนื่องจากเชื่อว่าเป็นอาหารที่บำรุงร่างกาย แต่การเลี้ยงตะพาบสวนนั้นยังให้ผลผลิตไม่ดีสู้ ตะพาบไต้หวันไม่ได้ เนื่องจากโตช้ากว่า นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามเพื่อความเพลิดเพลิน โดยเฉพาะในตัวที่มีจุดกระเหลืองเป็นจำนวนมาก จะถูกเรียกว่า "ตะพาบข้าวตอก" หรือ "ตะพาบดาว" ซึ่งอาจจะมีจุดเหลืองเหล่านี้จวบจนโตโดยไม่หายไป ซึ่งตะพาบที่มีลักษณะเช่นนี้ จะถูกเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionyx nakornsrithammarajensis (วิโรจน์, 1979) ซึ่งมีรายงานว่าพบในภาคใต้ของไทย เช่นที่ จังหวัดนครศรีธรรมร.

ใหม่!!: คลองและตะพาบสวน · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลหลุมข้าว (อำเภอโคกสำโรง)

ตำบลหลุมข้าว เป็นตำบลในอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: คลองและตำบลหลุมข้าว (อำเภอโคกสำโรง) · ดูเพิ่มเติม »

ตี๋ใหญ่

ตี๋ใหญ่ เป็นอดีตจอมโจรชื่อกระฉ่อนของไทยในยุคระหว่างปี..

ใหม่!!: คลองและตี๋ใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ซัปโปโระ

ซัปโปโระ (ไอนุ: サッ ・ポロ ・ペッ ซัตโปโรเพต) เป็นศูนย์กลางของกิ่งจังหวัดอิชิกะริ ในจังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางความเจริญของเกาะ และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ และเป็นหนึ่งในเมืองใหม่ที่สุดในญี่ปุ่น มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน แต่เมื่อปี..

ใหม่!!: คลองและซัปโปโระ · ดูเพิ่มเติม »

ประตูระบายน้ำ

ประตูระบายน้ำ (ปตร.) คือ สิ่งก่อสร้างในบริเวณทางน้ำที่ใช้ควบคุมการไหลของน้ำ ใน แม่น้ำ คลอง ทะเลสาบ ฝาย อ่างเก็บน้ำ ประตูระบายน้ำจะใช้สำหรับในการปรับปริมาณน้ำที่ต้องการให้ไหลผ่าน ปรับความเร็วของน้ำ หรือใช้ในการกักเก็บน้ำได้ ในขณะเดียวกันประตูระบายน้ำยังช่วยป้องกันในกรณีที่มีพายุ ในกรณีของระบบป้องกันน้ำท่วม ประตูระบายน้ำใช้ในการลดระดับของผิวน้ำสำหรับแม่น้ำหรือคลองเส้นหลัก โดยให้น้ำไหลผ่านคลองลัดน้ำ เมื่อปริมาณระดับน้ำใกล้ล้นตลิ่ง.

ใหม่!!: คลองและประตูระบายน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบู่รำไพ

ปลาบู่รำไพ (Queen of Siam goby, Queen Rambai's goby) ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) มีลำตัวยาวทรงกระบอก หัวเล็ก ปากกว้างในตัวผู้ เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวมีสีคล้ำหรือสีน้ำตาล ขอบเกล็ดมีแต้มสีคล้ำหลังช่องเหงือกด้านบนมีดวงรีสีดำและขอบสีจาง ครีบหลังมีลายสีดำและขอบสีจาง ครีบหางมีลายเส้นสีคล้ำ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกลุ่มกันเป็นฝูงใหญ่ใต้ท้องน้ำ พบกระจายพันธุ์อยู่ในอินเดีย, พม่า, ไทย, มาเลเซียจนถึงอินโดนีเซีย ในบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นป่าจากหรือเป็นแหล่งน้ำกร่อย ในประเทศไทยพบได้ในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ทั้งฝั่งตะวันตก ส่วนฝั่งตะวันออกพบเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช ปลาบู่รำไพ ถูกค้นพบครั้งแรกในคลองสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และถูกอนุกรมวิธานโดย ดร.

ใหม่!!: คลองและปลาบู่รำไพ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพรม

ปลาพรม หรือ ปลาพรมหัวเหม็น (Greater bony-lipped barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลปลาสร้อยนกเขา มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไป คือ 40 เซนติเมตร มีลำตัวกว้างและแบนข้าง หลังโค้ง ท่อนหางสั้น เกล็ดมีขนาดเล็ก ลำตัวมีเทาปนเงิน ลำตัวตอนเหนือครีบอกมีลายสีดำจาง ๆ ขวางลำตัวเป็นลักษณะเด่น นัยน์ตาเป็นสีแดง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำ, คลอง หรืออ่างเก็บน้ำ ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค เป็นปลาที่หากินรวมกันเป็นฝูง ใช้ปากแทะตะไคร่น้ำตามโขดหินหรือตอไม้ใต้น้ำเป็นอาหารหลัก รวมทั้งกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น กุ้งหรือแมลง เป็นอาหารด้วย โดย ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกันได้บันทึกไว้ว่า การตกปลาชนิดนี้ใช้เบ็ดเกี่ยวที่เป็นข้าวสุกปั้นเป็นก้อนกลม หรือใช้กุ้ง หรือแมลงตกในแม่น้ำเจ้าพระยา เหตุที่ได้ชื่อว่า "พรมหัวเหม็น" เนื่องจากเนื้อมีกลิ่นเหม็นคาวเหม็นเขียว โดยเฉพาะส่วนหัว แต่กระนั้นก็ตามส่วนเนื้อลำตัวก็ยังใช้ประกอบอาหารได้ดีทั้งอาหารสดและทำเป็นปลาแห้ง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: คลองและปลาพรม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระทิง (สกุล)

ปลากระทิง เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ในสกุล Mastacembelus (/มาส-ตา-เซม-เบล-อัส/) อยู่ในอันดับปลาไหลนา วงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด จมูกคู่หน้ามีปลายแยกออกเป็นติ่งเนื้อเล็ก ๆ 2 ติ่ง และติ่งใหญ่ 2 ติ่ง มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังเป็นหนามแหลมสั้น ๆ เพื่อป้องกันตัวประมาณ 33–40 ก้าน สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลองและที่ลุ่มทั่วไป พบทั้งในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชียและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 60–80 เซนติเมตร หากินตามพื้นท้องน้ำด้วยการกินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็ก โดยมักจะซุกซ่อนตัวในโพรงไม้หรือวัตถุต่าง ๆ ใต้น้ำ มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการบริโภค ตกปลา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: คลองและปลากระทิง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนอเมซอนหางยาว

ปลากระเบนอเมซอนหางยาว (Long-tailed river stingray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดในวงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) เป็นปลากระเบนในวงศ์นี้ชนิดเดียวที่มีหางเรียวยาว มีเงี่ยงแหลมคมที่โคนหาง 2 ชิ้น มีลำตัวสีเทา มีจุดกลมสีขาวกระจายไปทั่วตัวจนถึงโคนหาง มักหากินร่วมกันเป็นฝูง ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีขนาดยาวเต็มที่ 58 เซนติเมตร พบเพียงแม่น้ำและลำคลองในตอนเหนือของประเทศบราซิลเท่านั้น กินสัตว์มีกระดอง สัตว์น้ำหน้าดินขนาดเล็ก และปลาซัคเกอร์ขนาดเล็กเป็นอาหาร จัดเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติถูกคุกคาม เป็นปลาที่เพิ่งถูกค้นพบและอนุกรมวิธานเมื่อปี ค.ศ. 1987 โดยนักมีนวิทยาชาวบราซิล จัดเป็นปลาที่หาได้ยากและไม่พบเลี้ยงหรือขายเป็นปลาตู้เหมือนเช่นปลากระเบนชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน.

ใหม่!!: คลองและปลากระเบนอเมซอนหางยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากริม

ปลากริม เป็นสกุลปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Trichopsis (/ไทร-ช็อป-ซิส/) ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลาในสกุลปลากัด (Betta spp.) แต่มีรูปร่างและขนาดที่เล็กกว่า ส่วนหัวจะแหลมกว่า จะมีแถบลายพาดขวางในแนวนอนประมาณ 2-3 แถบที่ข้างลำตัว และมีสีสันไม่สดเท่า ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยวยื่นออกมาเป็นเส้นยาว ครีบหางปลายแหลมคล้ายใบโพ ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 2-6 ก้าน และก้านครีบแขนง 19-28 ก้าน พบได้ทั่วไปในทุกแหล่งน้ำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในนาข้าว, ท้องร่องสวน จนถึงแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดเล็ก มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มีกัดกันเองบ้างในฝูง แต่ไม่ถึงขั้นกัดกันถึงตายเหมือนเช่นปลาในสกุลปลากัดบางชนิด อาทิ Betta spendens แต่มีจุดเด่น คือ สามารถส่งเสียงดัง "แตร็ก ๆ ๆ" ได้ พร้อมกับกางครีบ เมื่อต้องการขู่ผู้รุกราน ซึ่งเป็นเสียงของการเกร็งกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างถุงลม เป็นปลาที่จำแนกเพศได้ยากกว่าปลาในสกุลปลากัด แต่ทว่าก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ ตัวเมียจะมีขนาดเล็กและครีบต่าง ๆ สั้นกว่า รวมถึงสีสันก็อ่อนกว่าตัวผู้ เมื่อผสมพันธุ์จะจับคู่กันเองในฝูง โดยที่ตัวผู้เป็นฝ่ายก่อหวอดและเฝ้าดูแลไข่จนฟักเป็นตัว และเลี้ยงดูในระยะแรก ปัจจุบัน พบทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: คลองและปลากริม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสังกะวาด

ปลาสังกะวาด หรือ ปลายอน เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด โดยพบแล้วประมาณ 26 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Pangasius มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวลื่นไม่มีเกล็ด หัวโต ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง รูจมูกคู่หลังอยู่ใกล้รูจมูกคู่หน้ามากกว่านัยน์ตา และอยู่เหนือระดับขอบบนของลูกนัยน์ตา มีหนวด 2 คู่สั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด (ริมปากบน 1 คู่ และคาง 1 คู่) มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลางและชิ้นข้าง แต่ในบางชนิดอาจหดหายไปเมื่อปลามีอายุมากขึ้น รูปร่างอ้วนป้อม ครีบทั้งหมดโดยเฉพาะครีบหลังและครีบอกตั้งชี้ตรง และมีก้านแข็ง นัยน์ตาอยู่เหนือระดับมุมปากเล็กน้อย ท้องไม่เป็นสันคม ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 6 ก้าน มีขนาดรูปร่างที่แตกต่างออกไปตั้งแต่ 1 ฟุต ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1-1.5 เมตร เป็นปลาที่กินได้ทั้งเนื้อและพืชเป็นอาหาร รวมถึงซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยด้วย มีพฤติกรรมชอบอยู่เป็นฝูง ในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ พบตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้บริโภค ซึ่งมีการวิจัยพบว่าเนื้อปลาในสกุลนี้ มีสารโอเมกา 3 สูงกว่าปลาทะเลเสียอีก นอกจากนี้ยังใช้ตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในบางชนิด ในภาษาไทยจะเรียกปลาในสกุลนี้โดยรวมว่า "สวาย" ในปลาที่มีขนาดใหญ่ และในปลาที่มีขนาดเล็กมักจะเรียกรวม ๆ กันว่า "สังกะวาด" หรือ "สังกะวัง" ซึ่งซ้ำซ้อนกับปลาในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) สำหรับในภาษาอีสานจะเรียกว่า "ยอน" หรือ "ซวย" ในปัจจุบัน มีการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและข้ามสกุลกัน จนได้เป็นลูกปลาพันธุ์ผสมชนิดใหม่ที่ให้ผลผลิตดี โดยใช้ชื่อในทางการค้าว่า "ปลามรกต" หรือ "เขียวมรกต" นิยมเลี้ยงกันมากโดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย และในปัจจุบันนิยมทำเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อปลาสำเร็จรูป ในชื่อ "แพนกาเชียส ดอรี่" ปลาสวาย (''P. hypophthalmus'') เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเพื่อการบริโภค และเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: คลองและปลาสังกะวาด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์

ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (Freshwater pipefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ (Syngnathidae) วงศ์ย่อย Syngnathinae มีรูปร่างแปลกไปจากปลาทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกิ่งไม้ สัณฐานเป็นเหลี่ยม เกล็ดได้เปลี่ยนรูปกลายเป็น แผ่นกระดูกแข็ง เป็นข้อรอบตัว จะงอยปากยื่นแหลม ปลายปากคล้ายปากแตร ไม่มีฟัน ใช้ปากดูดอาหาร ลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว และมีลายดำเป็นวงทั่วตัว ว่ายน้ำเชื่องช้า อาหารได้แก่ แมลงน้ำ, ลูกกุ้ง, ลูกปลาขนาดเล็ก และแพลงก์ตอนสัตว์ มีความยาวประมาณ 16-47 เซนติเมตร ปลาในวงศ์นี้ โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีลักษณะเฉพาะ คือ เมื่อวางไข่ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้องโดยตัวเมียจะวางไข่ไว้ที่หน้าท้องตัวผู้ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลจนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ พบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองและหนอง, บึง ทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย สำหรับภาคใต้พบมากในส่วนของทะเลน้อยของทะเลสาบสงขลา โดยมักหลบซ่อนอยู่ใต้กอพืชน้ำหรือผักตบชวา ไม่ใช้สำหรับการบริโภค แต่ในสูตรยาจีน ใช้ตากแห้งเพื่อเป็นสมุนไพรทำยาเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เป็นชนิดที่เลี้ยงยากมาก เนื่องจากปากมีขนาดเล็ก ผู้เลี้ยงจึงหาอาหารให้กินได้ลำบาก.

ใหม่!!: คลองและปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจีดเขมราฐ

ปลาจีดเขมราฐ เป็นปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ในวงศ์ปลาจีด (Heteropneustidae) ปลาจีดเขมราฐ มีลักษณะลำตัวคล้ายปลาดุกที่อยู่ในสกุล Clarias แต่มีส่วนหัวที่แบนราบกว่า ตาและปากมีขนาดเล็ก มีหนวดยาว 4 คู่ ด้านหลังมีครีบหลังอันเล็ก ไม่มีครีบไขมันเช่นปลาในอันดับปลาหนังอื่น ๆ ครีบก้นยาว ครีบหางมีขนาดเล็กและปลายมน ครีบอกมีก้านแข็งแรงและแหลมคม ลำตัวมีสีน้ำตาลแดง ท้องสีขาวจาง และข้างลำตัวมีแถบสีขาวจาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 1 ฟุต นิยมอยู่เป็นฝูงใหญ่ โดยที่ครีบอกมีพิษที่ร้ายแรงกว่าปลาดุกในสกุล Clarias พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น แม่น้ำและหนองคลองบึงต่าง ๆ ในภาคกลาง, ภาคอีสานและภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีชื่อเรียกในภาษาใต้ว่า "ปลาเมง" นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจในบ่อในภาคใต้ เนื้อมีรสชาติอร่อย ขณะที่สถานภาพของปลาที่พบในธรรมชาติของภาคกลาง ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว.

ใหม่!!: คลองและปลาจีดเขมราฐ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีครีบเป็นพู่

ปลาที่มีครีบเป็นพู่ หรือ ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fishes) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii (มาจากภาษากรีกคำว่า σαρξ (sarx), "เนื้อ" และ πτερυξ (pteryx), "ครีบ") หรือในบางครั้งอาจใช้ชื่อว่า Crossopterygii (แปลว่า "Fringe-finned fish", มาจากภาษากรีก κροσσός krossos, "ชายขอบ") เป็นปลาที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาในชั้นอื่น ๆ คือ มีเกล็ดเป็นแบบ Cosmoid มีลักษณะเฉพาะ คือ ครีบที่บริเวณหน้าอกวิวัฒนาการจากครีบธรรมดา ๆ มาเป็นเสมือนอวัยวะที่ใช้เคลื่อนไหวได้เหมือนการเดินในน้ำ โดยลักษณะของครีบจะเป็นพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อ มีความแข็งแรงมาก โดยมีแกนกระดูก จึงเป็นเสมือนรอยต่อของการวิวัฒนาการของปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำอาศัยอยู่ในน้ำได้อย่างเดียว ขึ้นมาอยู่บนบกกลายเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำก่อนจะวิวัฒนาการเป็นสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ในชั้นอื่น ๆ ต่อไป ปลาที่มีครีบเป็นพู่ ถือกำเนิดมาในยุคซิลูเรียนตอนปลาย (418 ล้านปีก่อน) ในทะเลและค่อยคืบคลานสู่แหล่งน้ำจืดที่มีลักษณะเป็นหนองหรือคลองบึง สันนิษฐานว่าการที่พัฒนาเช่นนี้ คงเป็นเพราะต้องการหนีจากปลาที่เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ที่ครองพื้นที่ทะเลในขณะนั้น เช่น ดังเคิลออสเตียส เป็นต้น ปัจจุบัน ปลาในชั้นนี้ได้สูญพันธุ์หมดแล้ว คงเหลือไว้เพียง 2 จำพวกเท่านั้น คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว กับปลาปอด ที่กลายมาเป็นปลาน้ำจืดอย่างถาวร และได้มีพัฒนาถุงลมที่ใช้ในการว่ายน้ำและทรงตัวเหมือนปลาทั่วไป กลายเป็นอวัยวะที่ใช้ในการหายใจคล้ายกับปอดของสัตว์บก สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เป็นอย่างดี จึงทำให้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำแย่ มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้.

ใหม่!!: คลองและปลาที่มีครีบเป็นพู่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคิลลี่ฟิช

ปลาคิลลี่ฟิช (Killifish) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดเล็กหลายชนิด ในอันดับ Cyprinodontiformes ซึ่งเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว นับ 1,000 กว่าชนิด ในแทบทุกทวีปทั่วโลก แต่ปลาคิลลี่ฟิชจะเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยปลาคิลลี่ฟิช มีลักษณะโดยทั่วไป จะเป็นปลาขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะในตัวผู้ ในหลากหลายพฤติกรรม ในบางชนิดจะหากินและดำรงชีวิตอยู่บนผิวน้ำ, บางชนิดหากินและดำรงชีวิตอยู่ระดับพื้นน้ำ และบางชนิดจะรวมตัวกันเป็นฝูง และบางชนิดจะว่ายน้ำอย่างกระจัดกระจาย ปลาคิลลี่ฟิช เป็นปลาที่มักพบในแหล่งน้ำต่าง ๆ ตั้งแต่ ต้นน้ำตลอดจนไปถึง คลอง, บึง และแม่น้ำต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำถาวรและแหล่งน้ำชั่วคราวที่เหือดแห้งหายไปได้ตามฤดูกาล แม้กระทั่งแอ่งน้ำในรอยเท้าสัตว์ ซึ่งคำว่า "คิลลี่" (Killi) มาจากภาษาดัตช์คำว่า "kilde" หมายถึง "แหล่งน้ำขนาดเล็ก" โดยมีลักษณะการวางไข่หลากหลายแตกต่างออกไป เช่น วางไข่ทิ้งไว้ในพื้นดินและมีวงจรชีวิตที่สั้น หรือวางไข่ไว้กับใบของไม้น้ำ สำหรับในประเทศไทย มีปลาเพียงชนิดเดียวที่เข้าข่ายปลาคิลลี่ฟิช คือ ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilus panchax) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Aplocheilidae ที่พบได้ทุกแหล่งน้ำทั่วทุกภาค ปลาคิลลี่ฟิช เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมักจะนิยมเลี้ยงรวมเป็นฝูงหรือปะปนกับปลาชนิดอื่น ในตู้ไม้น้ำ และเลี้ยงเพื่อฟักลูกปลาให้ออกจากไข่ที่วางไว้ในดิน ซึ่งสามารถห่อส่งขายทางไปรษณีย์ได้ นับว่าเป็นความสนุกอย่างหนึ่งของผู้เลี้ยง โดยสกุลที่นิยมเลี้ยงได้แก่ Nothobranchius ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา และปลาหัวตะกั่วทองคำ (Aplocheilus lineatus) ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นต้น.

ใหม่!!: คลองและปลาคิลลี่ฟิช · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตอง

ปลาตอง (Clown knifefishes, Featherbackfishes) เป็นสกุลปลากระดูกแข็งที่อยู่ใน วงศ์ปลากราย (Notoperidae) อันดับปลาลิ้นกระดูก (Osteoglossiformes) ใช้ชื่อสกุลว่า Chitala (/ไค-ตา-ลา/).

ใหม่!!: คลองและปลาตอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพัด

ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า ปลาอาโรวาน่า (Malayan bonytongue fish, Arowana, Asian arowana, Arawana) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่สืบเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จัดได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไป ได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาสวยงาม ในฐานะของปลาสวยงาม ราคาแพง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: คลองและปลาตะพัด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหนวดยาว

ปลาซิวหนวดยาว (Flying barb, Striped flying barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาซิว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Esomus metallicus ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวยาวทรงกระบอก แบนข้าง นัยน์ตาโต ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบอกมีขนาดใหญ่ปลายแหลม ครีบหางปลายแยกเป็นแฉกลึก มีหนวดที่มุมปากยาวมากหนึ่งคู่เห็นได้ชัดเจน มีแถบสีดำยาวตามลำตัวจากหลังตาจรดปลายหาง มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 7.2 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำ หนอง คลอง บึง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมถึงนาข้าวหรือตามท้องร่องสวนผลไม้ต่าง ๆ ด้วย ในต่างประเทศพบได้จนถึงแหลมมลายู เป็นปลาที่ใช้บริโภคเป็นอาหารในพื้นที่ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: คลองและปลาซิวหนวดยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำกร่อย

ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: คลองและปลาน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำฝาย

ปลาน้ำฝาย เป็นปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Sikukia (/สี-กุก-เอีย/).

ใหม่!!: คลองและปลาน้ำฝาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: คลองและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแขยงจุด

ปลาแขยงจุด (Twospot catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากด (Bagridae) จัดเป็นปลาหนังขนาดเล็ก หรือปลาแขยง รูปร่างค่อนข้างสั้นมีหนวดยาว 4 คู่ ครีบอกและครีบหลังมีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันค่อนข้างสั้น ครีบหางเว้าลึกมีจุดสีดำที่ขอดหาง อันเป็นที่มาของชื่อ ตัวมีสีเทาอมเขียวเข้ม ขนาดที่พบยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 10-20 กรัม ปลาขนาดเล็กจะมีสีเหลืองนวล มักอยู่รวมกันเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำไหล เช่นแม่น้ำ, ลำคลอง, ลำธาร พบในภาคกลาง, ภาคตะวันออกและภาคใต้ ของไทย ในต่างประเทศ พบได้ที่กัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย พบในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำหรือก้อนหินใต้น้ำ เพื่อใช้เป็นที่หลบซ่อนอาศัย กินอาหารประเภท ตัวอ่อนของแมลงที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำ, ลูกกุ้ง, ไรน้ำ, ซากสัตว์ และพืชที่เน่าเปื่อย ปลาตัวเมียมีความกว้างลำตัวมากกว่าตัวผู้ และมีขนาดใหญ่กว่า และสามารถเห็นชัดเจนได้ในช่วงฤดูวางไข่โดยตัวเมียจะมีลำตัวกว้าง ท้องอูม เมื่อปลามีไข่ ส่วนตัวผู้จะมีลำตัวเรียวและมีขนาดเล็กกว่า ปลาแขยงจุดที่จับได้ในธรรมชาติพบว่ามีสัดส่วนตัวผู้ต่อตัวเมีย 1:1 เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ แต่มีความพยายามจากทางกรมประมงอยู.

ใหม่!!: คลองและปลาแขยงจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบ

ปลาแปบขาวหางดำ (''Oxygaster anomalura'') เป็นปลาแปบชนิดหนึ่งในสกุล ''Oxygaster'' ปลาแปบ หรือ ปลาท้องพลุ (Abramine, Sword minnow) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย CultrinaeBànàrescu, P.M. 1971: Further studies on the systematics of Cultrinae with reidentification of 44 type specimens (Pisces, Cyprinidae).

ใหม่!!: คลองและปลาแปบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลแดง

ปลาไหลแดง หรือ ปลาหล่อย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrotrema caligans อยู่ในวงศ์ปลาไหลนา (Synbranchidae) มีรูปร่างคล้ายปลาไหลหลาด (Ophisternon bengalense) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน แต่ปลาไหลแดงจะมีปลายหางที่แผ่แบนเป็นครีบเห็นได้ชัดเจนกว่า มีตาอยู่เยื้องมาทางด้านหน้า กระดูกเหงือกมี 4 คู่ เป็นปลาที่มีขนาดเล็กที่สุดในวงศ์ปลาไหลนาที่พบได้ในประเทศไทยทั้งหมด 3 ชนิด และจัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Macrotrema มีขนาดยาวที่สุดประมาณ 17–20 เซนติเมตร สีลำตัวเป็นสีแดง แต่สามารถปรับสีให้เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมได้ มักอาศัยอยู่ใต้โคลนตมหรือแหล่งน้ำที่มีใบไม้ทับถมกันเป็นจำนวนมาก พบในปากแม่น้ำหรือลำคลองในบริเวณภาคกลาง, ภาคใต้พบได้ที่ทะเลสาบลำปำ จังหวัดพัทลุง ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย และหายากที่สุดในวงศ์ปลาไหลนาที่พบในประเทศไท.

ใหม่!!: คลองและปลาไหลแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือพ่นน้ำ

ปลาเสือพ่นน้ำ (Archer fish, Blowpipe fish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม ปากกว้างมีขนาดใหญ่เฉียงลงด้านล่างและจะงอยปากยืดหดได้ มีตากลมโต เกล็ดสาก ครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะใสโปร่งแสง พื้นลำตัวสีขาวอมเหลือง มีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่ ประมาณ 3-4 จุด ซึ่งนับว่าปลาเสือพ่นน้ำชนิดนี้เป็นปลาเสือพ่นน้ำชนิดที่มีจุดวงกลมนี้มากที่สุด และเป็นปลาเสือพ่นน้ำที่พบได้มากและแพร่หลายที่สุด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-40 เซนติเมตร นิยมว่ายหากินอยู่ตามผิวน้ำเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 20 ตัว พบได้ตามแม่น้ำลำคลองทั่วไปจนถึงเขตน้ำกร่อยเช่น ป่าชายเลน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยด้วย สามารถฉีดพ่นน้ำจากปากใส่แมลงที่อยู่เหนือน้ำได้เหมือนปืนฉีดน้ำ นอกจากนี้แล้วยังกินสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น ปลาขนาดเล็ก, กุ้งฝอย เป็นต้น มีความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะของการนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: คลองและปลาเสือพ่นน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

นกอัญชันคิ้วขาว

นกอัญชันคิ้วขาวหนังสือคู่มือดูนกหมอบุญส่ง เลขะกุล,นกเมืองไทย,โดยคณะบุคคลนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล,หน้า136 (White-browed Crake)) จัดอยู่ในวงศ์นกอัญชัน (Rallidae) เป็นนกอัญชันขนาดเล็ก นกชนิดนี้หากินตาม ทะเลสาบ บึง หนอง พรุ นากุ้ง นาข้าว ห้วย คลอง หรือ พื้นที่ที่ชุ่มน้ำต่างๆที่มีพืชลอยน้ำปกคลุมหนาแน่นในพื้นที่ราบ อาหารของนกชนิดนี้ได้แก่เมล็ดของพืชน้ำ แมลง ไข่แมลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็ก ๆ ที่หาพบได้ตามกอพืชรก ๆ หรือบริเวณชายน้ำในแหล่งน้ำที่อาศัย โดยนกจะเดินจิกกินไปเรื่อย ๆ พร้อมกับกระดกหางขึ้น ๆ ลง.

ใหม่!!: คลองและนกอัญชันคิ้วขาว · ดูเพิ่มเติม »

นากใหญ่ขนเรียบ

นากใหญ่ขนเรียบ (smooth-coated otter) เป็นนากชนิดหนึ่ง จัดเป็นนากชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก มีลักษณะแตกต่างไปจากนากใหญ่ธรรมดา (Lutra lutra) และ นากจมูกขน (L. sumatrana) คือ มีหัวกลม แนวขนบนจมูกเป็นรูปตัววีคว่ำ ขนสั้น หูมีขนาดเล็กและมีลิ้นปิดหูเวลาว่ายน้ำเพื่อมิให้น้ำเข้าหู ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลปนสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน บริเวณท้องมีสีอ่อนกว่าบริเวณหลัง หางแบน และมีความยาวประมาณร้อยละ 60 ของลำตัว อุ้งเท้าและนิ้วเท้ามีขนาดใหญ่ มีความยาวลำตัวและหัว 65–75 เซนติเมตร ความยาวหาง 40–45 เซนติเมตร น้ำหนักเต็มที่ 7–11 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เนปาล, อินเดีย, ภาคตะวันตกของมณฑลยูนาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนามตอนใต้, มาเลเซีย และเกาะสุมาตรา มีพฤติกรรมอาศัยตามพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นที่ลุ่มต่ำ เช่น ริมทะเลสาบ ลำธาร คลอง ใช้หนวดเป็นประสาทสัมผัสในการรับรู้ เช่นเดียวกับนากชนิดอื่น ๆ โดยใช้หนวดทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ กินอาหารได้หลากหลายประเภท ทั้ง สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมทั้งนกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก เช่น หนู ด้วย ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน มักอยู่รวมกันเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ยกเว้นในสถานที่ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์อาจอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ มีเท้าและเล็บแข็งแรงจึงสามารถขุดรูริมตลิ่งได้ลึกถึง 3 เมตร เพื่อใช้การเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนากที่เกิดใหม่จะลืมตาภายในเวลา 10 วัน และออกหากินได้เองเมื่ออายุได้ 3 เดือน สำหรับในประเทศไทย พบได้ทั่วทุกภาค โดยพบได้แม้กระทั่งในเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองหลวงอย่าง กรุงเทพมหานคร ในแถบป่าชายเลน ในเขตบางขุนเทียน ฝั่งธนบุรี รวมถึงบริเวณพื้นที่พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้แล้วในประเทศสิงคโปร์ แถบหน้ามารีนาเบย์แซนส์ โรงแรมขนาดใหญ่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนที่เป็นที่รู้จักดี ก็มีฝูงนากใหญ่ขนเรียบอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างสง.

ใหม่!!: คลองและนากใหญ่ขนเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

นากเล็กเล็บสั้น

นากเล็กเล็บสั้น (oriental small-clawed otter, Asian small-clawed otter) เป็นนากขนาดเล็กที่สุดในโลก ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ขนตามลำตัวมีสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาล แต่สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่า แต่สามารถเปลี่ยนสีขนได้ตามฤดูกาล ลักษณะเด่นคือ พังผืดบริเวณนิ้วตีนจะมีขนาดเล็กลง ช่วยให้นิ้วเคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากขึ้น ใต้คอมีสีขาว มีจมูกที่สั้นมากกว่านากชนิดอื่น ๆ ตัวที่ยังไม่โตเต็มวัยจะมีจมูกยาว และโค้งกว่า เมื่ออายุได้ 5 สัปดาห์จมูกก็จะหดสั้นลง มีความยาวลำตัวและหางประมาณ 45-55 เซนติเมตร ความยาวหาง 25-35 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางทั้งในทวีปแอฟริกาและในทวีปเอเชีย ในทวีปเอเชียพบตั้งแต่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ, ภาคใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียวและเกาะชวา (แบ่งเป็น 3 ชนิดย่อย ดูในตาราง) นากเล็กเล็บสั้นมีความสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ลำธารขนาดเล็ก, ป่าชายเลน, ริมทะเลสาบ, ห้วย, หนอง, คลอง, บึง หรือแม้แต่ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นเขตเกษตรกรรมของมนุษย์ เช่น ตามท้องร่องสวนต่าง ๆ อาหารหลักได้แก่ สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ แต่ชอบกินปูมากที่สุด มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ นากเล็กเล็บสั้นไม่ได้ใช้หนวดเป็นประสาทสัมผัสในการรับรู้เหมือนนากชนิดอื่น ๆ เพราะมีประสาทสัมผัสอยู่ที่ขาหน้า ออกลูกตามโพรงไม้หรือโพรงหินที่มีอยู่แล้ว เพราะขาหน้าไม่แข็งแรงพอจะขุดโพรงริมตลิ่งได้เหมือนนากชนิดอื่น ๆ ออกหากินในเวลากลางคืน บางครั้งอาจพบได้ตั้งแต่ช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า นากเล็กเล็บสั้นหากนำมาเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็ก จะเชื่องและสามารถทำตามคำสั่งของมนุษย์ได้ จึงมีการนำมาแสดงโชว์ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ เช่น ซาฟารีเวิลด์ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แม้แต่กระทั่งพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยพบในพื้นที่แถบคลองบางมด เขตทุ่งครุ ฝั่งธนบุรี เป็นนากเล็กเล็บสั้นที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมขโมยกินปลาของเกษตรกรในพื้นที่ตามท้องร่องสวนในเวลากลางคืน.

ใหม่!!: คลองและนากเล็กเล็บสั้น · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ (โมเลกุล)

น้ำมี สูตรเคมี H2O, หมายถึงหนึ่ง โมเลกุล ของน้ำประกอบด้วยสองอะตอมของ ไฮโดรเจน และหนึ่งอะตอมของ ออกซิเจน เมื่ออยู่ในภาวะ สมดุลพลวัต (dynamic equilibrium) ระหว่างสถานะ ของเหลว และ ของแข็ง ที่ STP (standard temperature and pressure: อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นของเหลวเกือบ ไม่มีสี, ไม่มีรส, และ ไม่มีกลิ่น บ่อยครั้งมีการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็น ตัวทำละลายของจักรวาล และน้ำเป็นสารประกอบบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้นที่พบในธรรมชาติทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ.

ใหม่!!: คลองและน้ำ (โมเลกุล) · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: คลองและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำบางขาม

ลุ่มน้ำบางขาม ลพบุรี แม่น้ำบางขาม เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ มีความยาวเพียง 20 กิโลเมตร ซึ่งมีต้นกำเนิดจากคลอง ในเขตอำเภอบ้านหมี่ ไหลไปรวมกับแม่น้ำลพบุรี ในเขตอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ลุ่มแม่น้ำบางขาม ลพบุรี เป็นสายน้ำแห่งวิถีชีวิตของผู้คนซึ่งนักโบราณคดีเชือว่า เดิมชุมชนแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศักราช 1100- 1600 เป็นแหล่งอารยธรรมของมอญอาศัยอยู่ชื่อว่า "เมืองราม" เมื่ออิทธิพลขอมเรืองอำนาจ อาณาจักรทวารวดีล่มสลายลง และต่อมาชนเผ่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นผู้คนจาก จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดลพบุรี ได้พากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำบางขามและเนื่องจากริมแม่น้ำดังกล่าวมีต้นไผ่ซึ่งชาวบ้านปลูกไว้เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน และป้องกันลมจากชายน้ำ และมีจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่าเป็น บ้านวังไผ่ ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่บริเวณหมู่ที่ 4 ตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ลุ่มแม่น้ำบางขาม ประกอบด้วย ต.มหาสอน ต.บางพึ่ง ต.บ้านชี ต.บางขาม อ.บ้านหมี่ และต.

ใหม่!!: คลองและแม่น้ำบางขาม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำตาปี

แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่านเมืองสุราษฎร์ธานี แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่าน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช แม่น้ำตาปี เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และไหลสู่อ่าวไทยที่อ่าวบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี นักปราชญ์ชาวกรีกนามว่าปโตเลมี ได้กล่าวถึง แม่น้ำอัตตาบาส์ ซึ่งหมายถึง แม่น้ำตาปี.

ใหม่!!: คลองและแม่น้ำตาปี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำน้อย

แม่น้ำน้อย แม่น้ำน้อย เป็นแม่น้ำสาขาแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชุมชนปากแพรก อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท เป็นแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่ไหลผ่านอำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน และอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่น้ำน้อยมีความยาวทั้งสิ้น 145 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 80 เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี มีชื่อเรียกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ตอนที่ไหลผ่านอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเรียกว่า "คลองสีกุก" หรือ"แควสีกุก" หรือตอนที่ไหลผ่านอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเช่นกัน เรียกว่า "แม่น้ำแควผักไห่" เป็นต้น และยังมีแควสาขาเป็นคลองสายต่าง ๆ ที่ไหลและแยกตัวกันอีก เช่น คลองบางปลากด คลองศาลาแดง คลองไชโย เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว แม่น้ำน้อยยังเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการค้นพบปลาในสกุล Sikukia หรือปลาน้ำฝาย อันเป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดย ดร.

ใหม่!!: คลองและแม่น้ำน้อย · ดูเพิ่มเติม »

แยกบ้านขมิ้น

แยกบ้านขมิ้น (Ban Khamin Junction) เป็นสามแยกจุดตัดซอยอิสรภาพ 44 (ซอยแสงศึกษา) และถนนอรุณอมรินทร์ บริเวณเยื้องกับซอยวัดระฆังโฆสิตาราม ถัดจากจุดบรรจบระหว่างคลองวัดระฆังกับคลองบ้านขมิ้น (แนวคูเมืองกรุงธนบุรี) มาทางทิศเหนือ ในพื้นที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: คลองและแยกบ้านขมิ้น · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งน้ำ

ฟยอร์ดในประเทศนอร์เวย์ แหล่งน้ำ หรือ พื้นที่น้ำ (water body) คือบริเวณที่มีการสะสมของน้ำบนพื้นผิวโลกหรือบนผิวดาวเคราะห์ เช่น มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ไปจนถึง คลอง หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งน้ำแบ่งได้เป็นสองประเภทตามการกำเนิดคือ แหล่งน้ำที่เกิดโดยธรรมชาติเช่น มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ และแหล่งน้ำที่เกิดจากการสร้างโดยมนุษย์เช่น อ่างเก็บน้ำ คลอง นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งได้ตามการเคลื่อนที่ของน้ำ เช่น แม่น้ำ และคลอง กล่าวถึงแหล่งน้ำมีการไหลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ในขณะที่ ทะเลสาบ น้ำจะไม่มีการไหลไปแหล่งอื่น แหล่งน้ำที่มีการสัญจรจะถูกเรียกว่าทางน้ำ สำหรับส่วนบริเวณของภูมิประเทศที่มีน้ำเป็นจำนวนหนึ่งแต่ไม่เรียกว่าแหล่งน้ำเช่น น้ำตก และไกเซอร.

ใหม่!!: คลองและแหล่งน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างพื้นฐาน

นนบางนา-บางปะกง ถนนเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เป็นโครงสร้างทางกายภาพและโครงสร้างหลักของหน่วยงานสำหรับใช้งานภายในชุมชน หรือใช้บริการตามความจำเป็นเพื่อรูปแบบทางเศรษฐศาสตร.

ใหม่!!: คลองและโครงสร้างพื้นฐาน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเกร็ด

กาะเกร็ด เป็นเกาะแม่น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในท้องที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 4.2 ตารางกิโลเมตรหรือ 2,625 ไร่ เป็นที่อยู่ของชาวไทยเชื้อสายมอญที่มีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นส่วนใหญ่ เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คลองลัดดังกล่าวเรียกว่า "คลองลัดเกร็ดน้อย" หรือ "คลองเตร็ดน้อย"พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม.

ใหม่!!: คลองและเกาะเกร็ด · ดูเพิ่มเติม »

เม็กซิโกซิตี

ตราประจำกรุงเม็กซิโกซิตีตั้งแต่ ค.ศ. 1523 เม็กซิโกซิตี (Mexico City) หรือ ซิวดัดเดเมคีโก (Ciudad de México) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเม็กซิโก ตั้งอยู่ในหุบเขาเม็กซิโกบริเวณกึ่งกลางประเทศ เม็กซิโกซิตีมีพื้นที่ประมาณ 1,499 ตารางกิโลเมตร หรือถ้ารวมบริเวณมหานครด้วยจะมีพื้นที่รวมประมาณ 4,979 ตารางกิโลเมตร ประชากรในเม็กซิโกซิตี (ปี 2548) มี 8,605,239 คน ถ้ารวมเขตมหานครทั้งหมดมีประชากร 17,844,829 คน เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก.

ใหม่!!: คลองและเม็กซิโกซิตี · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางการค้า

้นทางการค้า (trade route) คือเส้นทางที่ในเครือข่ายที่บ่งว่าเป็นเส้นทางและจุดหยุดพักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าไปยังตลาดที่อยู่ในดินแดนที่ไกลออกไปจากต้นแหล่งที่ผลิตสินค้ามาก เส้นทางการค้าแต่ละเส้นทางก็จะประกอบด้วยถนนสายหลัก (Arterial road) ที่อาจจะมีเครือข่ายย่อยๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางการค้าและการคมนาคมมาบรรจบ ในประวัติศาสตร์ช่วงตั้งแต่ปี 1532 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ใหม่!!: คลองและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวดำ

หยี่ยวดำ (Black kite, Pariah kite) เป็นเหยี่ยวชนิดหนึ่ง จัดเป็นนกขนาดกลาง ขนาดลำตัวประมาณ 60-66 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกันคือ ลำตัวสีน้ำตาลเข้มอมเหลืองทั้งด้านบนและด้านล่าง ปีกสีน้ำตาลเข้ม หางเป็นแฉกตื้น ๆ มองดูคล้ายง่าม ปากสั้นสีดำแหลมคม ปลายปากเป็นขอ หัวค่อนข้างใหญ่ คอสั้น ปีกยาว ส่วนนกที่ยังไม่โตเต็มที่ ลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน พร้อมกับมีขีดสีเหลืองอ่อนทั่วทั้งตัว พบกระจายพันธุ์อยู่กว้างขวางในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ยูเรเชีย, ออสตราเลเชีย และโอเชียเนีย จึงทำให้มีชนิดย่อยหลากหลายถึง 5 ชนิด (ดูในตาราง) และเป็นนกอพยพในหลายพื้นที่ในช่วงฤดูหนาว ในประเทศไทยพบได้ในป่าทางภาคเหนือ, ภาคกลางและภาคใต้ มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางวัน ชอบบินอยู่ตามที่โล่งชายป่า ตามริมฝั่งทะเล หรือตามแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ เพื่อหาอาหาร เมื่อจับเหยื่อได้ก็มักกินบนพื้นดิน หรืออาจนำไปกินบนต้นไม้ พบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่หรือเป็นฝูง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ เหยี่ยวดำจะทำรังรวมกันเป็นกลุ่มบนต้นไม้สูง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันสร้างรังด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ นำมาขัดสานกัน จากนั้นทั้งคู่จะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อน นกจะใช้เวลากกไข่นานประมาณ 29-32 วัน ออกไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ปกติ 3 ฟอง ไข่ของเหยี่ยวดำ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ในการสำรวจในปี..

ใหม่!!: คลองและเหยี่ยวดำ · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลตำบลคูเต่า

มชนตำบลคูเต่า ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มตอนปลายของคลองอู่ตะเภาและส่วนหนึ่งติดชายฝั่งทะเลสาบสงขลา มีที่ราบลุ่มผืนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนาในอดีต และมีพื้นที่ทำสวนอยู่เล็กน้อยจากสภาพการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ดังกล่าวจึงทำให้คนส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำการเกษตร ทำนา ทำสวน และการประมงหาปลา แต่ในอดีตผู้คนจะทำมาหากิน เพื่อการเลี้ยงชีพเป็นส่วนใหญ่ เช่น เลี้ยงวัวไว้ไถนา เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ไว้กินเศษอาหารในครัวเรือน ทำนาเก็บข้าวไว้กิน ปลูกพืชผักไว้กินในครัวเรือน แทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีผลผลิตที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจในครัวเรือน หาปลาแลกข้าว เลี้ยงหมูไว้แบ่งปันกันกิน เป็นต้น ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนจะอยู่แบบเรียบง่าย มีการพึ่งพาอาศัยกันสูงมาก ฐานะของคนในชุมชน จึงเป็นลักษณะพออยู่พอกิน.

ใหม่!!: คลองและเทศบาลตำบลคูเต่า · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลตำบลเนินมะปราง

ทศบาลตำบลเนินมะปรางตำบลเนินมะปราง ตั้งอยู่ที่ อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเนินมะปราง ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลเนินมะปราง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีพื้นที่ 7.76 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: คลองและเทศบาลตำบลเนินมะปราง · ดูเพิ่มเติม »

เขตจตุจักร

ตจตุจักร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: คลองและเขตจตุจักร · ดูเพิ่มเติม »

เขตทวีวัฒนา

ตทวีวัฒนา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีลำคลองหลายสายที่สามารถนำน้ำไปใช้ในการทำสวนผลไม้ อย่างไรก็ตาม พื้นที่เกษตรเหล่านั้นกำลังถูกแทนที่ทีละน้อยด้วยโครงการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเรียงรายอยู่ตามถนนสายหลักในพื้นที.

ใหม่!!: คลองและเขตทวีวัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

เต่าบิน

ต่าบิน หรือ เต่าจมูกหมู หรือ เต่าฟลายริเวอร์ (Pig-nosed turtle, Fly river turtle) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carettochelys insculpta ซึ่งเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Carettochelyidae และสกุล Carettochelys รูปร่างทั่วไปคล้ายตะพาบ คือ กระดองหลังอ่อนนุ่ม แต่ไม่มีกระดูกในชั้นหนังเหมือนตะพาบ สีกระดองสีเทา ในวัยเล็กจะเป็นสีชมพูและจะค่อย ๆ เข้มขึ้นตามอายุ บริเวณขอบกระดอกเป็นหยักเหมือนเต่า ใต้ท้องสีขาว ขาทั้ง 4 ข้างแผ่แบนเป็นครีบ มีเล็บ แต่เล็บไม่อาจเคลื่อนไหวได้ เมื่อวายน้ำจะไม่เหมือนกับเต่าอื่น ๆ คือ จะใช้ครีบคู่หน้าเป็นตัวว่าย และครีบคู่หลังควบคุมทิศเหมือนหางเสือ คล้ายกับเต่าทะเลหน้า 359-360, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (พ.ศ. 2552) โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา ISBN 978-616-556-016-0 มีจมูกยื่นยาวมาและงุ้มหักลงคล้ายหมู จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร น้ำหนัก 55 กิโลกรัม แพร่กระจายพันธุ์อยู่ในแม่น้ำ, ลำคลอง หรือทะเลสาบที่มีความลึกไม่มากนัก ที่เกาะปาปัวนิวกินี และทวีปออสเตรเลียทางตอนเหนือ กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ หรือซากสัตว์ เนื่องจากเป็นเต่าที่มีสายตาไม่ค่อยดี สถานภาพปัจจุบัน ใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว เนื่องจากถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยและถูกจับมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นเต่าอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันมาก ซึ่งอุปนิสัยของเต่าบินไม่ดุมากนัก เมื่อเทียบกับเต่าหรือตะพาบชนิดอื่น แถมยังเชื่องกับผู้เลี้ยงอีกต่างหาก โดยในที่เลี้ยงสามารถจะเลี้ยงไว้ในน้ำได้ตลอดชีวิต ไม่ต้องขึ้นบกเหมือนเต่าหรือตะพาบทั่วไป แต่เต่าบินก็สามารถปีนขึ้นมาอาศัยอยู่บนบกได้ด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1979 เต่าบินถือเป็นเต่าที่หายากและมีราคาแพงมาก โดยทั่วโลกมีผู้ครอบครองเพียง 5 ตัว ใน 5 ประเทศเท่านั้น ในประเทศไทย มีเพียงตัวเดียวเป็นของ นาวาอากาศโท วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวไทยที่มีชื่อเสียง เป็นเต่าตัวผู้ มีราคา 25,000 บาท ซึ่งทาง น.ท.วิโรจน์ ตั้งใจจะหาเต่าตัวเมียมาผสมพันธุ์เพื่อแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป แต่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เต่าบินตัวนี้ได้ถูกผู้ขโมยไปและนำไปแกงเป็นอาหารรับประทาน แต่ในปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วที่อินโดนีเซีย โดยแม่เต่าจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 25 ปี โดยวางไข่ในเวลากลางคืน บนสันดอนฝั่งแม่น้ำช่วงฤดูแล้ง เอ็มบริโอที่เจริญเป็นเต่าวัยอ่อนโดยสมบูรณ์แล้วยังคงอยู่ภายในเปลือกไข่จนกระทั่งสันดอนถูกน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนจึงค่อยฟักตัวออกจาก.

ใหม่!!: คลองและเต่าบิน · ดูเพิ่มเติม »

เปอร์ซิวัล โลเวลล์

เปอร์ซิวัล โลเวลล์ กำลังสังเกตการณ์ดาวอังคารที่หอดูดาวของเขาเอง เปอร์ซิวัล โลเวลล์ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ (Percival Lowell; ค.ศ. 1855 - 1916) นักธุรกิจผู้มั่งคั่ง ได้หลงเสน่ห์ของดาวอังคาร เขาจึงสร้างหอดูดาวของตนเองที่เมืองแฟล็กสตาฟฟ์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาดาวอังคารโดยเฉพาะ โลเวลล์เชื่อว่า เขาเห็นระบบของเส้นที่ลากโยงไปมาจำนวนมากบนผิวของดาวอังคาร และคิดว่าเป็นคลองขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นมาสำหรับส่งน้ำ โดยชาวดาวอังคารผู้มีความรู้ความสามารถ คนทั่วไปเห็นด้วยกับความคิดของโลเวลล์ เป็นเวลานับแรมปีที่ผู้คนคิดว่าบนดาวอังคารอาจมีคนอยู่ ใน ค.ศ. 1897 เอช.จี. เวลส์ ได้เขียนนวนิยายเรื่อง วอร์ออฟเดอะเวิลด์ส (War of the Worlds) โดยมีเค้าโครงเรื่องตามความเชื่อของโลเวลล์ ทุกวันนี้เรารู้ว่าเส้นสายต่าง ๆ ที่โลเวลล์เห็นบนดาวอังคารนั้นไม่มีอยู่จริง หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2398 หมวดหมู่:นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:การสำรวจอวกาศ หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐแอริโซนา หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐแมสซาชูเซตส์.

ใหม่!!: คลองและเปอร์ซิวัล โลเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

25 เมษายน

วันที่ 25 เมษายน เป็นวันที่ 115 ของปี (วันที่ 116 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 250 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: คลองและ25 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ลำคลอง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »