โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คริสโตเฟอร์ เรน

ดัชนี คริสโตเฟอร์ เรน

ซอร์ คริสโตเฟอร์ เรน (Sir Christopher Wren) (20 ตุลาคม ค.ศ. 1632 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1723) เป็นสถาปนิกอังกฤษที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขารับหน้าที่ปรับปรุงโบสถ์ 51 แห่ง ในนครหลวงลอนดอน หลังเกิดเหตุเพลิงใหม้ครั้งใหญ่ ในปี..

18 ความสัมพันธ์: พระราชวังไวต์ฮอลพระราชวังเค็นซิงตันพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดราชสมาคมแห่งลอนดอนรายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรวังเบลนิมสถาปัตยกรรมบาโรกสถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษสถาปัตยกรรมจอร์เจียนสถาปนิกอาสนวิหารนักบุญเปาโลฮิว บอนเนวิลล์นิโคลัส ฮอคสมอร์เส้นเวลาของคณิตศาสตร์20 ตุลาคม

พระราชวังไวต์ฮอล

ระราชวังไวต์ฮอล (Palace of Whitehall) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ในลอนดอนในสหราชอาณาจักร ที่ประทับหลักของพระมหากษัตริย์อังกฤษในลอนดอนระหว่าง ค.ศ. 1530 - ค.ศ. 1698 ยกเว้นเมื่อตึกเลี้ยงรับรอง (Banqueting House) ที่สร้างโดยอินิโก โจนส์ (Inigo Jones) ในปี ค.ศ. 1622 เกิดเพลิงไหม้ ก่อนที่ไฟจะไหม่พระราชวังไวต์ฮอลเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปที่ประกอบด้วยห้องทั้งหมดกว่า 1,500 ห้อง ชื่อของวังใช้เป็นชื่อถนนที่เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริหารต่างๆ ของรัฐบาลอังกฤษ.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและพระราชวังไวต์ฮอล · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังเค็นซิงตัน

ระราชวังเค็นซิงตัน (ภาษาอังกฤษ: Kensington Palace) เป็นพระราชวังตั้งอยู่ที่โบโรเค็นซิงตันและเชลเซีย ลอนดอน ในสหราชอาณาจักร เป็นวังที่เดิมสร้างสำหรับดยุคแห่งนอตติงแฮม เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 พระราชวังเค็นซิงตันใช้เป็นที่ประทับของราชวงศ์อังกฤษมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ในปัจจุบันเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้าชายริชาร์ด ดยุคแห่งกลอสเตอร์ และเบอร์จีต ดัชเชสแห่งกลอสเตอร์; เจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุคแห่งเค้นทและแคทเธอริน ดัชเชสแห่งเค้นท; และเจ้าชายและเจ้าหญิงไมเคิลแห่งเค้นท และเจ้าหญิงไดอานาประทับจนกระทั่งปี..

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและพระราชวังเค็นซิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ราชสมาคมแห่งลอนดอน

นที่ตั้งของราชสมาคมแห่งลอนดอน ราชสมาคมแห่งลอนดอน (Royal Society หรือชื่อเต็มว่า The Royal Society of London for the Improvement of Natural Knowledge) เป็นสมาคมนักปราชญ์ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ รวมถึง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความเป็นไปได้ว่าเป็นสมาคมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงอยู่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและราชสมาคมแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร

สโตนเฮนจ์เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกสโตนเฮนจ์ เอฟเบอรี และสถานที่ใกล้เคียง ในสหราชอาณาจักรและอาณานิคมโพ้นทะเลมีแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกทั้งหมด 31 แห่ง โดยอยู่ในอังกฤษ 17 แห่ง, สกอตแลนด์ 5 แห่ง, อังกฤษและสกอตแลนด์ 1 แห่ง, เวลส์ 3 แห่ง, ไอร์แลนด์เหนือ 1 แห่ง และในดินแดนโพ้นทะเลเบอร์มิวดา หมู่เกาะพิตแคร์น เซนต์เฮเลนา และยิบรอลตาร์ที่ละ 1 แห่ง แหล่งมรดกโลกของสหราชอาณาจักรที่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2529 ได้แก.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

วังเบลนิม

วังเบลนิม (Blenheim Palace) หรือ คฤหาสน์เบลนิม เป็นคฤหาสน์ที่สร้างอย่างวังตั้งอยู่ที่เมืองเล็กๆ ชื่อวู้ดสต็อคในมลฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ สร้างโดยซาราห์ เชอร์ชิลผู้เป็นภรรยาของจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ และเป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ ระหว่างปี ค.ศ. 1705 ถึง ค.ศ. 1722 วังเบลนิมเป็นสถาปัตยกรรมแบบวัง โดยมี เซอร์จอห์น แวนบรูห์เป็นสถาปนิก วังเบลนิมเป็นคฤหาสน์ที่มิได้เป็นของราชวงศ์ แต่ก็ใช้คำนำหน้าว่า “วัง” ซึ่งเป็นแห่งเดียวในอังกฤษเพราะความยิ่งใหญ่ของสิ่งก่อสร้าง จุดประสงค์ของการก่อสร้างเมื่อเริ่มแรกเพื่อเป็นของขวัญสำหรับจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระเพื่อเป็นการตอบแทนในการนำกองทัพอังกฤษรบชนะฝรั่งเศสและบาวาเรีย แต่ต่อมาเบลนิมกลายเป็นปัญหาในการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเป็นผลทำให้ดยุกและดัชเชสแห่งมาร์ลบะระสิ้นอำนาจ รวมทั้งการเสียชื่อเสียงของสถาปนิกจอห์น แวนบรูห์ ตัววังสร้างเป็นแบบบาโรก ปฏิกิริยาหรือคุณค่าของสิ่งก่อสร้างจนบัดนี้ก็ยังไม่เป็นที่เห็นพ้องกันได้ เช่นเดียวกับในสมัยเมื่อเริ่มสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1720 ตัวสิ่งก่อสร้างเป็นลักษณะที่ผสมระหว่างที่อยู่อาศัย, ที่เก็บศพ และ อนุสาวรีย์ นอกจากนั้นสิ่งที่น่าสนใจคือเป็นที่เกิดของวินสตัน เชอร์ชิลอดีตนายกรัฐมนตรีคนสำคัญของอังกฤษ คำจารึกเหนือประตูใหญ่ทางตะวันออกบอกประวัติของสิ่งก่อสร้าง: แต่ตามความเป็นจริงแล้วความสำเร็จของการสร้างเบลนิมเป็นผลจากความทะเยอทะยานของซาราห์ เชอร์ชิลเป็นส่วนใหญ่ หลังจากสร้างเสร็จเบลนิมก็กลายเป็นที่พำนักของตระกูลเชอร์ชิลมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาได้ราว 300 ปี ในระหว่างนั้นตัววังและอุทยานก็ได้รับการเปลื่ยนแปลงมาโดยตลอด เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตระกูลมาร์ลบะระก็ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องขายทรัพย์สมบัติสำคัญๆ ไปบ้าง แต่การแต่งงานกับสตรีชาวอเมริกันก็ช่วยนำเงินมาบำรุงรักษาเบลนิมให้ยังอยู่ในสภาพดังเช่นเมื่อเริ่มสร้าง.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและวังเบลนิม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ

รงพยาบาลกรีนิช, ลอนดอนออกแบบโดยเซอร์คริสโตเฟอร์ เร็น, ค.ศ. 1694 สถาปัตยกรรมบาโรกอังกฤษ (English Baroque) เป็นคำที่ใช้กันอย่างหลวมๆ ที่อาจจะหมายถึงวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมอังกฤษที่เกิดขึ้นพร้อมกับการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมบาโรกบนแผ่นดินใหญ่ยุโรประหว่างเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน ค.ศ. 1666 (1666) และ สนธิสัญญาอูเทร็คท์ที่ลงนามกันในปี..

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและสถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์ ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1040 ถึงปี ค.ศ. 1540 กลุ่มสิ่งก่อสร้างยี่สิบห้าปีหลังที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ของการก่อสร้างที่เป็นของอังกฤษแท้ แม้ว่าสิ่งก่อสร้างจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดต่างก็มีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงจุดประสงค์เดียว ในการเป็นมหาวิหารอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารมุขมณฑลและเป็นที่ตั้งของคาเทดราJohn Harvey, English Cathedrals แม้ว่าลักษณะของสิ่งก่อสร้างแต่ละสิ่งจะเป็นลักษณะอังกฤษแต่ก็เป็นลักษณะที่ต่าง ๆ กันออกไปทั้งความแตกต่างจากกันและกัน และความแตกต่างภายในมหาวิหารเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากมหาวิหารสมัยกลางอื่น ๆ เช่นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่มหาวิหารและแอบบีย์ใหญ่ ๆ เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับกลุ่มชนเดียวกัน และการสืบประวัติของลักษณะสถาปัตยกรรมก็สามารถทำได้โดยศึกษาจากสิ่งก่อสร้างหนึ่งไปยังสิ่งก่อสร้างถัดไปภายในกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นของอารามเดียวกันAlec Clifton-Taylor, ‘’The Cathedrals of England’’ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของมหาวิหารอังกฤษก็คือประวัติของสถาปัตยกรรมสมัยกลางทั้งสมัยสามารถที่จะบรรยายได้จากสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียว ที่มักจะประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมเด่น ๆ ของแต่ละยุคโดยไม่มีการพยายามแต่อย่างใดในการพยายามผสานลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละสมัยที่สร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้น ฉะนั้นลำดับเหตุการณ์ของการก่อสร้างจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งในมหาวิหารเดียวกันจึงอาจจะย้อนกลับไปกลับมาภายในบริเวณต่างๆ ของสิ่งก่อสร้าง จะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่มหาวิหารซอลสบรีที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมตระกูลเดียวที่กลมกลืนกันไปทั้งตัวสิ่งก่อสร้าง เพราะเป็นการสร้างรวดเดียวเสร็จBanister Fletcher, ‘’History of Architecture on the Comparative Method.’’.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมจอร์เจียน

หาสน์แบบสถาปัตยกรรมจอร์เจียนทีซอลสบรีในอังกฤษ ดันเฟิร์มไลน์ในสกอตแลนด์ที่สร้างระหว่างระหว่างปี ค.ศ. 1807 ถึง ปี ค.ศ. 1811 สถาปัตยกรรมจอร์เจียน (Georgian architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1720 จนถึง ค.ศ. 1840 ซึ่งตรงกันกับรัชสมัยพระเจ้าจอร์จสี่พระองค์ในราชวงศ์แฮโนเวอร์ที่ครองราชย์ในสหราชอาณาจักร ได้แก่ พระเจ้าจอร์จที่ 1 พระเจ้าจอร์จที่ 2 พระเจ้าจอร์จที่ 3 และพระเจ้าจอร์จที่ 4 ผู้ทรงครองราชย์ระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1714 มาจนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1830.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและสถาปัตยกรรมจอร์เจียน · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารนักบุญเปาโล

“อาสนวิหารนักบุญเปาโลเดิม” ก่อน ค.ศ. 1561 ที่ยังมีมณฑป อาสนวิหารนักบุญเปาโล (St Paul's Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งบิชอปแห่งลอนดอน สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่นักบุญเปาโลอัครทูต ตั้งอยู่ในนครลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเชื่อกันว่าเป็นอาสนวิหารที่ 5 ตั้งแต่สร้างอาสนวิหารกันมา ณ ที่ตั้งนี้แต่อาจจะสูงกว่านั้นถ้านับการบูรณะเข้าไปด้ว.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและอาสนวิหารนักบุญเปาโล · ดูเพิ่มเติม »

ฮิว บอนเนวิลล์

ริชาร์ด ฮิว บอนเนวิลล์ วิลเลียมส์ (Hugh Richard Bonneville Williams) เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 เป็นนักแสดงอังกฤษ เขาเป็นที่รู้จักกันดีในบทบาท รอเบิร์ต รอว์ลีย์ ในละครชุด ดาวน์ตันแอบบี.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและฮิว บอนเนวิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

นิโคลัส ฮอคสมอร์

นิโคลัส ฮอคสมอร์ (Nicholas Hawksmoor) (ราว ค.ศ. 1661 - 25 มีนาคม ค.ศ. 1736) เป็นสถาปนิกของสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอังกฤษของในคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเฮาเวิร์ด โคลวินบรรยายฮอคสมอร์ว่าเป็นสถาปนิกผู้ "มีความมั่นใจในความรู้ทางคลาสสิกกว่าจอห์น แวนบรูห์ผู้ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการทางสถาปัตยกรรม, มีจินตนาการการเห็นการไกลมากกว่าผู้รอบรู้เช่นคริสโตเฟอร์ เร็น" ระหว่าง..

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและนิโคลัส ฮอคสมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของคณิตศาสตร์

้นเวลาของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ (timeline of mathematics).

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและเส้นเวลาของคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

20 ตุลาคม

วันที่ 20 ตุลาคม เป็นวันที่ 293 ของปี (วันที่ 294 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 72 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและ20 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Christopher Wrenคริสโตเฟอร์ เร็น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »